ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๐๐๕
สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ จ.ลำพูน
วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้เดี๋ยวนี้ใครก็รู้ว่าแข็งมี แต่ไม่เคยเข้าใจเลยว่าเป็นสิ่งที่มีจริงชั่วขณะที่ปรากฏเมื่อกระทบ ถ้าไม่กระทบไม่มีทางที่แข็งจะปรากฏ และเมื่อมีปัญญาเพิ่มขึ้นมั่นคงขึ้น เป็นวิปัสสนาญาณไม่ใช่คิด แต่เป็นการประจักษ์แจ้งตามลำดับขั้น ถ้าถึงขั้นที่ขณะที่กระทบ ประจักษ์การเกิดดับ เพราะปัญญารู้ทุกอย่างที่ปรากฏในความเป็นธาตุ สิ่งใดเป็นนามก็เป็นนาม สิ่งใดเป็นรูปก็เป็นรูป จนไม่สงสัย เพราะฉะนั้นปัญญานั้น ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ว่า ไม่มีใครสามารถไปทำสติสัมปชัญญะ ไปทำวิปัสสนา แต่ปัญญาค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ ละคลายความไม่รู้ ละความหวัง เพราะความหวังเมื่อไหร่คือตัวตนเมื่อนั้น หวังว่าเรามาฟังธรรม เราจะได้เข้าใจสติปัฎฐาน เราจะได้ไปทำวิปัสสนา นั่นคือไม่ได้เข้าใจธรรมว่าไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง การไต่ตรองก็ไม่ใช่วิปัสสนาใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เพราะเหตุว่าขั้นฟัง ฟังแล้วผ่านหู เข้าใจกี่คำ พระสูตรหนึ่งสูตรมีคำกี่คำที่สมควรจะรู้ และเข้าใจ ไม่ใช่ไปจำเรื่อง แต่ธรรมอะไรที่นั่นที่ควรรู้ ควรไตร่ตรอง ควรพิจารณา เพราะฉะนั้นเวลานี้ที่ฟังเข้าใจ มีสภาพธรรมที่ไตร่ตรองด้วย ถ้าไม่ไตร่ตรองปัญญาเกิดไม่ได้ เพราะปัญญาเป็นสภาพที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้นจึงมีมนสิการเจตสิก ปัญญาเจตสิก ซึ่งเจตสิกแต่ละ ๑ ไม่ใช่เจตสิกเดียวกัน แต่คล้ายกันบ้างก็ได้ ใกล้กันมากก็ได้ แต่ปัญญาสามารถรู้ทุกอย่าง ตามความเป็นจริง ถ้าไม่รู้ละไม่ได้ เพราะฉะนั้นใครที่หวังจะเป็นเป็นวิปัสสนา ทำวิปัสสนา ก็คือว่าไม่รู้จัก ไม่เข้าใจคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นเรื่องรู้จึงละ ไม่ใช่เรื่องไม่รู้แล้วไปละ เพราะสภาพที่รู้คือปัญญา ความเข้าใจถูก ต่างหากที่ละความไม่รู้
ผู้ฟัง เมื่อเกิดปัญญานั่นแสดงว่าในนั้นจะมีวิปัสสนาญาณอยู่ด้วย
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เข้าใจไหม
ผู้ฟัง ยังไม่เข้าใจ เห็นมีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง เห็นก็เป็นสัตว์ บุคคล ก็ยังเห็นเป็นคนอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นยังไม่ใช่วิปัสสนาแน่นอนใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่ ถ้าเมื่อไหร่เห็นว่าเป็นความว่าง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ว่าง ว่างก็ไม่มีอะไร แล้วจะรู้อะไร แต่ละคำต้องฟังด้วยความเข้าใจที่ละเอียดลึกซึ้ง แม้แต่ว่าง
ผู้ฟัง ที่ว่าไม่ใช่สัตว์บุคคล
ท่านอาจารย์ สิ่งนั้นมีจริง
ผู้ฟัง มีจริง แต่ว่า
ท่านอาจารย์ แต่ว่าใช่เรา และไม่ใช่ของเรา ถ้าไม่เข้าใจเลย จะสามารถพิจารณาไตร่ตรองเข้าใจขึ้นได้ไหม
ผู้ฟัง ถ้าฟังจนเข้าใจแล้ว
ท่านอาจารย์ เมื่อไหร่
ผู้ฟัง บอกไม่ได้
ท่านอาจารย์ ฟังว่าขณะนี้ ไม่มีเรา เข้าใจไหม
ผู้ฟัง เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีแต่ธรรมทั้งหมด แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ พอรวมแล้วก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เข้าใจก็ไม่ใช่เรา เข้าใจก็เกิดดับ จะเกิดเองไม่ได้ พยายามให้เกิดก็ไม่ได้ หวังให้เกิดก็ไม่ได้ ต่อเมื่อมีปัจจัยฟังอีก เข้าใจอีก ปัญญาก็เจริญขึ้น
ผู้ฟัง แสดงว่าการฟังนี่จะทำโดยที่ว่าไม่ต้องไปหวังอะไร ฟังไปเรื่อยเรื่อย
ท่านอาจารย์ ฟังเพราะรู้ว่าไม่รู้ใช่ไหม ฟังแล้วเข้าใจ เข้าใจถูกก็คือรู้ รู้ว่ามีกิเลสไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ กิเลสนี้จะดับได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ อะไรดับกิเลส
ผู้ฟัง ปัญญา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นฟังทั้งหมดเพื่อไม่ใช่เรา
อ.คำปั่น อาจารย์ธิดารัตน์ การตั้งต้นในการศึกษาธรรมที่จะเป็นไป เพื่อความเข้าใจสิ่งที่มีจริง ควรที่จะเป็นอย่างไร
อ.ธิดารัตน์ เราไม่ใช่ศึกษาแค่เพียงชื่อใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็นคำว่าจิต หรือว่าคำว่าเจตสิก คำว่าสติเหล่านี้มีลักษณะ ลักษณะของสติเป็นยังไง ลักษณะของจิตเป็นยังไงต้องศึกษา แล้วก็เข้าใจลักษณะของธรรมแต่ละอย่างด้วย แล้วก็เข้าใจด้วยว่าก็เป็นลักษณะของธรรม แต่ละอย่าง แต่ละอย่าง ที่ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ นี่คือตั้งต้นที่จะฟังคำเดียว ทีละคำ ธรรมคืออะไร ถ้าแจ่มแจ้ง ก็แสดงว่าเราเข้าใจ เริ่มเข้าใจว่าสิ่งนั้นมีจริง ไม่ได้พูดถึงสิ่งที่ไม่มี แต่สิ่งที่มีจริง ทำไมว่าเป็นธรรม เพราะเหตุว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย แต่ละ ๑ ธรรม มีลักษณะเฉพาะของตนของตน เพราะฉะนั้นก็คลายการที่เคยคิดรวมกัน ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ยั่งยืน
อ.คำปั่น กล่าวถึงว่าตั้งต้นที่คำว่าธรรมนี่ พอได้ฟังไป ฟังไป จะไม่ได้มีเฉพาะคำว่าธรรม ก็จะมีหลากหลายคำมาก ปัญญา สติ แล้วก็เมื่อสักครู่นี้ก็เป็นวิปัสสนาญาณ จากการตั้งต้นที่คำว่าธรรมคำเดียว จะนำไปสู่ความเข้าใจที่เจริญขึ้นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ธรรมมีจริงไหม
อ.คำปั่น มีจริง
ท่านอาจารย์ เยอะไหม
อ.คำปั่น เยอะ
ท่านอาจารย์ เห็นไหม แล้วจะให้พูดคำเดียวได้ยังไง เพราะฉะนั้นเมื่อธรรมจริงๆ หลากหลาย ก็ทรงแสดงความจริงของธรรม ที่หลากหลาย สุดที่จะประมาณได้ เพื่อให้เข้าใจมั่นคงว่า สักอย่างหนึ่งก็ไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมแน่นอน มีจริงแน่นอน เกิดปรากฏแน่นอน และก็ไม่ใช่เราแน่นอน เห็นเป็นเห็น คิดเป็นคิด กลิ่นเป็นกลิ่น รสเป็นรส เป็นธรรมแต่ละ ๑ เพราะฉะนั้นทั้งหมดเป็นธรรม เดี๋ยวนี้มีธรรมไหม มีแน่นอน อะไรเป็นธรรม ตอบได้เลยแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ เพราะฉะนั้นไม่มีข้อสงสัยอีกแล้ว ว่าทุกอย่างที่มีเป็นสิ่งที่มีจริงๆ แต่ไม่ใช่เรา จึงใช้คำว่าธรรม และยังมีคำประกอบว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ก็ยิ่งมั่นคงเปลี่ยนไม่ได้เลย จะเอาธรรมมาเป็นเราได้ยังไง เห็นเกิดแล้วดับแล้ว คิดเกิดแล้วก็ดับแล้ว แล้วเราอยู่ไหน ต้องฟังละเอียด และก็มีความเข้าใจที่มั่นคงืจะทำให้เข้าใจคำต่อๆ ไป แล้วก็สามารถที่จะเป็นปัจจัยที่จะให้สติสัมปชัญญะเกิดรู้ เฉพาะสิ่งที่กำลังปรากฏ ตรงตามที่ได้ฟัง โดยไม่ใช่เราไปทำ โดยไม่ใช่เราหวังด้วย ถ้าหวังไม่ใช่อนัตตา เกิดเพราะเราหวัง แต่นี่โดยไม่หวัง เหมือนเสียงเกิดโดยไม่หวังเลย ใครหวังให้จิตได้ยินเกิด หวังได้ไหม แต่เมื่อได้ยินเกิดแล้ว ก็รู้ว่าเกิดเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นสติสัมปชัญญะเกิดแล้ว เพราะมีปัจจัย คือความเข้าใจที่มั่นคงว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นความเข้าใจนี่แหละ จะเป็นปัจจัยให้มีธาตุที่เป็นสภาพที่ระลึกรู้ ใช้คำว่าตามรู้ แต่คนอ่านเผินมาก คิดว่าเรานั่นแหละจะตามรู้ และตามรู้แล้วคิดว่าห่างกันใช่ไหม เขาอยู่หน้า เกิดแล้วดับแล้ว เราก็ไปตามรู้สิ่งที่เกิดแล้วดับ แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ตามรู้คือทันทีที่สิ่งนั้นยังไม่ดับ ใกล้ชิดอย่างนั้น เพราะว่าปกติดับไปโดยไม่รู้เกิดดับไปโดยไม่รู้ เกิดดับไปโดยไม่รู้ แต่ว่าที่เกิดดับ เกิดดับ มีปัจจัยที่จะทำให้ใช้คำว่าตามรู้ คือทันทีที่สิ่งนั้นยังไม่ได้ดับ สภาพของจิตก็สามารถที่จะประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ รู้สิ่งที่ยังไม่ดับ แต่สิ่งที่ยังไม่ดับขอให้ทราบว่าเป็นแต่เพียงนิมิตตะของสิ่งนั้น แสดงความเร็วอย่างยิ่งของสิ่งนั้น ว่าไม่สามารถที่จะไปรู้เฉพาะ ๑ ได้
อ.ธิดารัตน์ แล้วนิมิตของนามธรรมก็เหมือนกันใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเกิดดับเร็ว ที่ใช้คำว่านิมิตเพราะไม่สามารถที่จะรู้เพียง ๑ ว่าเร็วแค่ไหนเดี๋ยวนี้ อยู่ที่นี่ตั้งกี่คนหมายความว่าจิตเกิดดับเท่าไหร่ กว่าจะเป็นคนหนึ่งทั้งคิ้ว ตา จมูก ปาก เสื้อผ้า สารพัด และมีตั้งกี่คนนับดู แล้วปรากฏพร้อมกันทีเดียวความเร็วแค่ไหน เพราะฉะนั้นนี่คือนิมิต เพราะฉะนั้นสภาพธรรมของโลก คือโลกนิมิต ใช้คำว่ามายาก็ได้ หลอกลวงว่าเที่ยง หลอกลวงว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ความจริงตัวจริงธาตุแท้ๆ เกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ ไม่ว่าจะเป็นสติ ไม่ว่าจะเป็นปัญญา ไม่ว่าจะเป็นจิต ไม่ว่าจะเป็นรูป ไม่ว่าจะเป็นเจตสิกใดๆ ไม่สามารถที่จะรู้เฉพาะ ๑ ที่เกิด และก็ดับ แต่สามารถจะรู้การเกิดดับที่ปรากฏเป็นนิมิต เวลาที่สภาพธรรมปรากฏ ทำให้ปัญญาเข้าใจถูกต้อง ในลักษณะที่เป็นธรรมนั้นๆ
ผู้ฟัง ก็อยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า จริงจริงแล้วปฏิบัติคืออะไร
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ต้องย้อนไปถามอีก แล้วอะไรปฏิบัติ
ผู้ฟัง หากถ้าเข้าใจก็คือธรรมปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ ธรรมมีเยอะ ธรรมอะไร อกุศลปฏิบัติได้ไหม
ผู้ฟัง อกุศลก็ปฏิบัติของอกุศล
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคำว่าปฏิบัติคืออะไร ปฏิปัตติใช่ไหม เป็นปัญญาหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าไปทำครัวกับข้าวไม่รู้อะไรเลย ก็กำลังปฏิบัติธรรม ใช่ไหม ความไม่รู้จะเป็นการรู้ธรรมไม่ได้เลย ทำอะไรทุกอย่างในชีวิตทั้งหมด ที่ทำมาแล้วก็ไม่ใช่ปฏิบัติธรรม ไม่อย่างนั้นก็คิดว่าเป็นปฏิบัติธรรมหมด แต่ปฏิบัติธรรมหมายความว่าไม่ใช่เราปฏิบัติ แล้วอะไรปฏิบัติ มรรคมีองค์ ๘ องค์ที่ ๑ สัมมาทิฏฐิ ปัญญา ไม่มีปัญญาเลยแล้วก็ขณะนี้กำลังจัดดอกไม้ ปฏิบัติธรรมหรือเปล่า ถามอย่างนี้หรือ เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่าถ้าเป็นเรื่องของปฏิปัตติธรรม หมายความว่าปัญญาระดับหนึ่งซึ่งสูงกว่า เพราะเข้าใจมากกว่าขั้นปริยัติ ขั้นฟังทุกคนก็เข้าใจ ตอบได้หมด จิตมีเท่าไหร่ เจตสิกมีเท่าไหร่ ปัจจัยมีเท่าไหร่ อาศัยปัจจัยเท่าไร จิตประเภทไหน เป็นยังไง ตอบได้หมดเลย แต่ว่าไม่ใช่เป็นปฏิปัติ ถ้าไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นศึกษาธรรมเพื่ออะไร เพื่อสอบได้ ไม่ใช่จะนำไปสู่ปฏิปัติ เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจก่อนว่าปฏิบัติในภาษาไทย มาจากคำภาษาบาลีว่าปฏิปัติ เป็นปัญญาที่สูงกว่าขั้นปริยัติ เพราะฉะนั้นจะเอาปริยัติมาเป็นปฏิบัติไม่ได้ปริยัติคือเดี๋ยวนี้รู้ว่าจิตเกิดดับ แต่ไม่ประจักษ์แจ้งเลย และการที่จะประจักษ์แจ้งได้ต้องเป็นปฏิเวธ อีกขั้นหนึ่งสูงกว่าขั้นปฏิบัติ
เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีความเข้าใจในขั้นปฏิบัติจริงๆ ว่าอะไรปฏิบัติ ก็คิดว่าอย่างนี้ใช่ปฏิบัติไหม อย่างนี้ถือว่าปฏิบัติไหม อย่างนี้ปฏิบัติหรือเปล่า เพราะว่าต้องการจะรู้คำว่าใช่ไหม ใช่ไหม แต่การศึกษาธรรมไม่ใช่อย่างนั้น ศึกษาธรรมให้รู้ความจริงว่า ที่ได้ฟังว่าเห็นเกิดดับจริง จริงแต่ยังไม่ประจักษ์ เพราะฉะนั้นยังไม่ใช่ปฏิปัติ และไม่ใช่ปฏิเวธ ต้องรู้ตรงตามความเป็นจริงว่าแค่ฟัง แล้วสติสัมปชัญญะเกิด สภาพธรรมขณะนี้มีหลายอย่างถูกไหม เห็นก็เห็น ชอบก็มี คิดก็มี แล้วปฏิปัติไม่ใช่เรา จะเลือกกำหนดลมหายใจ ไม่ใช่ แต่เพราะปัญญาที่สะสมมาพร้อมที่จะให้สติซึ่งต่างกับสติขั้นฟัง แต่เป็นสติสัมปชัญญะประกอบด้วยปัญญา ที่เข้าใจแล้ว ไม่ใช่ไม่เข้าใจเลย แล้วไปสำนักปฏิบัติ ไปนั่งปฏิบัติ แต่ปฏิปัติ ต้องหมายความถึงปัญญาระดับที่เข้าใจแล้วจากปริยัติ พอที่จะมั่นคงเดี๋ยวนี้เป็นธรรม ไม่ต้องไปไหน ถ้าปัญญาจะเกิดก็เกิดเดี๋ยวนี้ ถ้าสติจะเกิดก็เกิดเดี๋ยวนี้ แต่ทำไมไม่เกิด ยังไม่เข้าใจพอที่จะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะ หรือสติปัฎฐานเกิดต่อเมื่อใดมีความมั่นคง ความมั่นคงคิดดูสิ ต้องต่อสู้กับความติดข้องสักแค่ไหน อยากจะทำ อยากจะรู้ อยากจะอย่างนั้น อย่างนี้ใช่ไหม อย่างนั้นใช่ไหมถึงหรือยัง ล้วนเป็นเรื่องอยากทั้งนั้น แต่ธรรมเป็นเรื่องละ..เพราะรู้ ...
เพราะฉะนั้นละความหวัง แล้วก็เข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น ความเข้าใจขึ้นนั่นเองเป็นปัจจัยที่ทำให้สติสัมปชัญญะเกิด โดยความเป็นอนัตตา ไม่ใช่เราไปทำ แต่ปัญญาที่ได้สะสมมา ถึงเวลาที่จะทำให้เป็นปัจจัย ให้สติสัมปชัญญะเกิด รู้อะไรใครจะไปเลือกให้ได้ จะไปรู้ลมหายใจ อยากที่อยากจะรู้ลมหายใจก็ไม่ถูก เพราะว่าสติเกิดโดยความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นสติจะระลึกรู้อะไรก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ใครไปเรียกว่าจะรู้ลมหายใจ อย่างนั้นไม่ใช่อนัตตา เพราะฉะนั้นปฏิปัติเป็นความรู้อีกขั้นหนึ่ง ซึ่งเพราะเข้าใจมั่นคง ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ความต่างของสติขั้นฟังกับขั้นปฏิปัติ ก็คือว่าการที่มีความเข้าใจขั้นฟัง จะค่อยๆ สะสมเป็นพื้นฐาน ที่จะทำให้ที่เราเรียกว่ามรรคมีองค์ ๘ เกิด แต่ว่าถ้าไม่มีความเข้าใจเลย ปัญญา สัมมาทิฏฐิซึ่งเป็นมรรค ที่นำสภาพธรรมอื่น ให้เป็นไปตามปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาแล้วอะไรจะเป็นนำ ให้มีความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งเกิดพร้อมกับเจตสิกอื่นๆ เช่นสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่สติขั้นฟัง เข้าใจ ขณะนี้เห็นเป็นธรรม ไม่ใช่เรา นี่คือเข้าใจมั่นคงที่เรียกว่า รู้เลยว่าโลกนี้เป็นธรรมทั้งหมด ไม่มีอะไรที่จะเป็นเรา ได้เลยสักอย่างเดียว แต่ความเป็นเรามากมายมานานเพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นถ้ามีความมั่นคงว่า เป็นธรรมเป็นสิ่งซึ่งไม่ใช่เรา เป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกรู้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดเดี๋ยวนี้ โดยความเป็นอนัตตา ไม่มีใครไปจัดการให้สติระลึกตรงนั้นรู้ตรงนี้ได้เลย ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือไม่ใช่ปฏิบัติ
เพราะฉะนั้นปฏิปัติก็มาจากปริยัติ ซึ่งปริยัติเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา ที่สามารถที่จะเข้าถึงการที่จะอบรมให้เกิดปัญญา ที่รู้จริงๆ ตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้นพอเป็นปฏิปัติ สติมีเกิดขึ้นรู้ลักษณะของสภาพธรรม ดับไหม ดับ อยากให้เกิดบ่อยๆ ไหม ก็ผิดอีก เพราะฉะนั้นหนทางนี้เป็นหนทางละกิเลส โดยตลอด โดยปัญญารู้ ไม่ใช่เรา จะไปพยายามไม่ให้มีกิเลส เพราะฉะนั้นปัญญาเป็นใหญ่ ถ้าไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจอะไรได้เลย สติเกิดสติก็เป็นไปในทานเป็นไปในศีล ไม่ได้เข้าใจว่าขณะนั้นไม่ใช่เราที่ให้ทาน เพราะฉะนั้นเรื่องของปัญญา ต้องเป็นไปตามลำดับจริงๆ เพราะฉะนั้นไม่ต้องถามว่า และนี่เป็นปฏิบัติหรือยัง นั่นเป็นหรือไม่เป็น จะให้ใครตอบ แต่ว่าความรู้พอที่จะรู้ว่าขณะนั้นเป็นปริยัติหรือเป็นปฏิบัติ ถ้าเป็นปฏิบัติก็คือว่าเป็นสติปัฎฐาน เพราะฉะนั้นจะมีคำว่าธัมมานุธัมปฏิปัติ หมายความว่า ธรรมทั้งหลายที่อบรมจากขั้นฟัง และจะเป็นปัจจัยให้ถึงการรู้แจ้งธรรมคือนิพพาน เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช้การที่จะเข้าใจธรรมเดี๋ยวนี้ ก็จะถึงสภาพธรรมที่ดับกิเลสไม่ได้ นี่เป็นสิ่งซึ่งละเอียดยิ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องละเอียดในการฟังแล้วก็ค่อยๆ รู้ การละคลายกิเลสว่า ไม่ใช่เป็นไปด้วยความเป็นเรา เพราะฉะนั้นภาวนาคืออะไร
ผู้ฟัง อบรม อบรม กุศลจิตทุกชนิดในชีวิตประจำวัน สูงสุดก็ต้องฟังธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไปทำภาวนาได้ไหม หรือคิดว่าภาวนาคือการทำได้
ผู้ฟัง ถ้าไม่มีปริยัติ และมีความเข้าใจ ก็ผิดหนทางทั้งนั้น
ท่านอาจารย์ แล้วภาวนาต้องเป็นอนัตตาหรือเปล่า หรือว่าเราจะไปทำภาวนา
ผู้ฟัง ส่วนใหญ่ก็กำหนด ก็เหมือนกับถูกทาง ความไม่รู้กับโลภะ
ท่านอาจารย์ ใช้คำว่ากำหนด และกำหนดคืออะไร
ผู้หัง กำหนดลมหายใจ อย่างที่ว่า
ท่านอาจารย๋ นั่นสิ กำหนดยังไง เอาล่ะ ลมหายใจเป็นลมหายใจ และกำหนดลมหายใจ กำหนดทำยังไง
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไหน ลองกำหนดสิ ยังไม่รู้เลยว่ากำหนดคืออะไร แต่ก็พูดกันตามๆ กันเหมือนคนตาบอด
ผู้ฟัง ฟังท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องของความละ ความสละ ส่วนใหญ่ก็จะติดข้อง แม้แต่ศึกษาธรรม ก็อยากจะมีให้มากๆ อยากได้สติไวไว อยากรู้ไวๆ ซึ่งมันก็เป็นเครื่องเนิ่นช้า เป็นเรื่องยากจริงๆ ที่จะสละความไม่รู้ และความเป็นเรา
ท่านาจารย์ ศึกษาธรรมเพราะไม่รู้ เมื่อฟังพระพุทธพจน์ แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นหนทางละ เป็นหนทางรู้ เพราะว่าไม่ใช่เราละ แต่ต้องเป็นปัญญาที่เข้าใจตามลำดับขั้น
สนทนาธรรมที่โรงแรมนิวซีซั่น หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วันที่ ๗ มีนาคมพุทธศักราช ๒๕๖๐
ผู้ฟัง ได้สนทนากับท่านผู้หนึ่ง ท่านได้บวชชีพราหมณ์ ท่านก็บอกว่า ที่ท่านบวชท่านประสบปัญหากับชีวิต แล้วก็มีความทุกข์มากๆ บวชเพื่อแก้กรรม แล้วก็อุทิศกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร พอฟังเรื่องราวของท่านผู้นี้ ก็ระลึกนึกถึงคำของพระอาจารย์ที่กล่าวไว้ว่า ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ถ้าไม่เข้าใจคำสอน ไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเป็นชาวพุทธได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ การที่จะเข้าใจความจริง ไม่สามารถที่จะคิดเองได้แน่นอน ด้วยเหตุนี้ผู้ใดที่ได้ฟังคำพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องรู้ว่าเป็นคำพิเศษอย่างยิ่ง เพราะว่าคำนี้ไม่ใช่สำหรับทุกคน แต่ต้องเป็นคนเดียวในสากลจักรวาล ที่สามารถที่จะรู้ความจริงทุกอย่าง ซึ่งความจริง นี่เดี๋ยวนี้จริงแต่ลึกซึ้งอย่างยิ่งที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นการที่จะเป็นผู้เข้าใจธรรม ต้องเป็นผู้ตรงทุกคำ บวชได้ยินคำๆ นี้แค่คำเดียวก่อน อยู่ดีๆ ก็บวชหรือว่าบวชเพราะอะไร และก่อนที่จะบวชรู้ไหมว่าบวชคืออะไร ถ้าบวชยังไม่รู้ เพียงแต่ได้ยินเขาบอกว่า บวชชีพราหมณ์ ก็อยากจะบวช เพราะเหตุว่าเพื่อที่จะได้พ้นทุกข์ แต่จริงจริงแล้วไม่สามารถที่จะพ้นทุกข์ได้ เพราะไม่รู้ ด้วยเหตุนี้แม้คำเดียวต้องตรง บวชคืออะไรคะคุณคำปั่น
อ.คำปั่น ท่านอาจารย์ บวชหมายถึงความเป็นผู้เว้นทั่ว เว้นจากความติดข้อง ต้องการ เว้นจากชีวิตคฤหัสถ์ทุกประการ ซึ่งเป็นเรื่องของความจริงใจ ในการที่จะขัดเกลากิเลสในเพศที่สูงยิ่ง แล้วก็ยุคนี้สมัยนี้ผู้ที่จะบวชได้ ก็เฉพาะผู้ชายเท่านั้น
ท่านอาจารย์ บวชหมายความว่าละ สิ่งที่เราเคยไม่รู้ เรามีความติดข้อง เพราะฉะนั้นคนที่มีความทุกข์ ติดข้องในความสุขหรือเปล่า เพราะฉะนั้นจึงไม่อยากจะมีความทุกข์เลยเพราะติดข้องในสุข โดยที่ไม่รู้ความจริงเลยว่าทุกข์ ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเลยแต่เกิดเพราะอะไร ด้วยเหตุนี้ถ้ายังไม่สามารถที่จะเข้าใจความจริงได้ หนียังไงก็ไม่พ้นทุกข์ ทุกข์ที่สุดก็คือว่าไม่ใช่เพียงแค่พลัดพราก เจ็บไข้ได้ป่วย แต่ก็ต้องจากโลกนี้ไปทุกกว่าอะไรทั้งหมดหรือเปล่า จากทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยมีทั้งหมด ไม่เหลือเลยแม้แต่ร่างกายที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา นี่เพียงทุกข์เพราะเหตุเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่สมใจหวัง ไม่เป็นไปตามความต้องการ ก็เป็นทุกข์โดยคิดที่จะเพียงแค่พ้นทุกข์ โดยไม่รู้ว่า พ้นทุกข์ไม่ได้ ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริง ต้องมีทุกข์ตั้งแต่เกิด ทุกคนต้องมีทุกข์มาก ทุกข์น้อย ทุกข์เรื่องอะไรก็ต้องมีกันทุกคน แล้วก็หนีไม่พ้นด้วย แม้พระผู้มีพระภาคก่อนที่จะดับขันทปรินิพพานทรงประชวร แล้วใครจะพ้นทุกข์ ใครจะพ้นจากสิ่งที่ต้องมีต้องเกิด โดยการที่ว่ามีเท่าไหร่ ถ้าไม่มีปัญญาที่เข้าใจความจริงก็ไม่พ้น เพราะเหตุว่าทุกข์มีเพราะความไม่รู้ หรือทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะไม่รู้ ไม่ใช่เพียงแต่ความทุกข์อย่างเดียว สุขเกิดขึ้นเพราะอะไร รับประทานอาหารอร่อยเท่านั้นหรือ หรืออะไรมีความสุขตั้งหลายอย่างแต่ไม่รู้ว่าสุขนั้นชั่วคราว แล้วทุกข์ไหม ที่จะพ้นแต่สิ่งที่เราติดข้องอย่างมาก เพราะว่าสิ่งนั้นเป็นจริงเพียงชั่วขณะ ที่ปรากฏที่แสนสั้น และก็หมดไป ด้วยเหตุนี้ถ้าไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่หยั่งรู้ถึงว่าถ้าไม่มีการฟังพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ ใครก็ไม่สามารถที่จะพ้นจากทุกข์ได้ ทุกข์ต้องติดตามคนนั้นไป เพราะจริงๆ แล้ว ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เกิด ทุกข์ดับไป ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย จะเป็นทุกข์ไหม แต่นี่เป็นเรื่องที่ละเอียด เป็นเรื่องที่กว่าจะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าใจธรรมเผิน เพราะมีคนที่กล่าวเผินมาก เพียงแต่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง เท่านั้นพอไหม ที่จะละความทุกข์ได้ แค่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง แต่ต้องเข้าใจละเอียด และลึกซึ้งกว่านั้นมาก เพราะฉะนั้นผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 962
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 963
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 964
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 965
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 967
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 968
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 971
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 972
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 973
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 974
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 975
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 977
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 978
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 979
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 980
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 981
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 982
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 983
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 984
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 986
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 987
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 988
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 989
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 991
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 992
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 993
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 994
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 996
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 997
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 998
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1000
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1001
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1003
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1004
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1006
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1007
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1008
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1009
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1011
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1012
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1013
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1014
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1015
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1016
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1017
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1018
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1019
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1020