ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๐๑๐
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมนิวซีซั่น หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร เห็นไหม เราไม่ต้องไปลำดับอะไรเลย สิ่งที่เราได้ฟังทั้งหมด ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องแล้ว ไม่ว่าจะกล่าวโดยนัยของธาตุ ธาตุโดยนัยของขันธ์ โดยนัยของอายตนะ โดยนัยของอริยสัจจะ ต้องมาจากความเข้าใจ ถูกต้องตั้งแต่ต้น ไม่เช่นนั้นไม่สามารถที่จะเข้าใจถูกต้องได้เลย เพราะความจริงที่กล่าวทั้งหมด ต้องมีพื้นความเข้าใจตั้งแต่ต้นถูกต้อง ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงใช่ไหม ความไม่รู้แต่ไม่ใช่ความไม่รู้อย่างสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่มีลักษณะซึ่งไม่สามารถจะรู้ แข็งไม่สามารถจะรู้ เสียงไม่สามารถจะรู้ แต่สิ่งนี้ไม่รู้โดยเกิดขึ้น เป็นสภาพชนิดหนึ่งซึ่งมีจริงเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งมี ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่อ่อน ไม่ใช่เย็น ไม่ใช่ร้อน เพราะฉะนั้นก็เป็นธรรมฝ่ายนามธรรม ไม่มีรูปร่าง แต่ไม่สามารถรู้ไม่เข้าใจ สิ่งที่กำลังมีได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะบอกว่าหลงบุญคืออะไร ก็ง่ายใช่ไหม แต่ว่าถ้าจะให้เข้าใจแม้คำเดียวว่า หลงก่อนแล้วก็ไม่ได้หลงเฉพาะบุญ หลงไปหมด ขณะที่ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม ก็ทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจแม้คำเดียว ลึกซึ้งขึ้น ละเอียดขึ้น มั่นคงขึ้น แล้วก็เห็นประโยชน์อย่างยิ่งว่า เมื่อไม่รู้ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ที่เคยไม่รู้ กับเวลารู้แล้วเริ่มชำระจิตที่ไม่บริสุทธิ์เลย เต็มไปด้วยความไม่รู้ ความดำมืด แล้วก็สกปรกโสโครก เป็นแผลเน่าเรื้อรังสารพัด ถ้าออกมาเป็นรูปลักษณะต้องเป็นอย่างนั้น แต่นี่เป็นธาตุรู้ และหนักมากด้วย ยิ่งกว่าจักรวาลเพราะกิเลสหนัก ขณะที่ไม่มีกิเลสขณะนั้นจะไม่หนักเลย แต่ก็ไม่รู้อีก ไม่รู้ไปหมดเลย จนกว่าจะได้ฟังทีละคำ แล้วก็เริ่มรู้ว่าแต่ละคำ ค่อยๆ ทำให้พ้นจากความไม่รู้ทีละเล็กทีละน้อย ทีละเล็กทีละน้อย สิ่งที่ไม่รู้มามากมายมหาศาล จะหมดไปได้ก็ต่อเมื่อความเข้าใจ ในสิ่งที่ได้ฟังที่ถูกต้องนี่มั่นคงขึ้น ไม่ใช่ไปนั่งปฏิบัติเห็นไหมตรงกันละ เพราะฉะนั้นการที่จะรักษาคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ ด้วยความเคารพสูงสุดก็คือว่า พูดสิ่งที่ถูกต้องตามความเป็นจริงเหมือนพระองค์ ทรงพระมหากรุณาแสดงธรรมให้เราเข้าใจ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีความเป็นเพื่อนกับใคร เราก็อยากให้คนที่เป็นเพื่อน ได้สิ่งที่ถูกต้อง ด้วยความหวังดี และความเป็นมิตรไม่ได้จำกัดเลยจะรู้จักกันหรือไม่รู้จักกัน จะอยู่ไกลแสนไกลหรือใกล้เพียงใดก็ตาม ความหวังดีเกิดขึ้น เป็นมิตรกับทุกสิ่งที่มีชีวิต นี่ก็คือว่าเห็นค่าสูงสุด คือการให้เขาได้เข้าใจถูกต้องในแต่ละคำ อย่าเพิ่งรีบไปคิดว่าเข้าใจแล้ว แต่สิ่งที่คิดว่าเข้าใจนี่ยังมีความลึกซึ้งมาก เช่นขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่รู้อะไรเลย นามธรรมก็ไม่รู้ รูปธรรมก็ไม่รู้ เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เป็นเรา เป็นคน นานแสนนานจนกว่าจะเป็นผู้ที่รู้ตัวเอง ว่าไม่รู้มากมายแล้วค่อยๆ รู้ขึ้น เพราะฉะนั้นหลงทุกอย่าง ด้วยความไม่รู้
ผู้ฟัง ในคำว่าหลงบุญที่ท่านอาจารย์อธิบายเนี่ย จริงๆ แล้วมันไม่ใช่วัตถุ บุญคือสภาพจิตใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แล้วถ้าจะไตร่ตรอง ยิ่งเห็นความลึกซึ้งไหม หลงทุกอย่างแม้แต่สิ่งที่คิดว่าดี เห็นมั้ย ก็ยังหลง เพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่าเราฟังพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่ออะไร เพื่อเข้าใจ ไม่ได้หวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งสิ้น เพราะหวังอยาก แม้แต่ไม่ใช้คำว่าบุญ เพียงแต่อยากอะไรก็เป็นความติดข้อง เป็นความไม่รู้แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าฟังด้วยความหวัง และยังเติมเข้าไปหวังบุญ เพราะคิดว่าเข้าใจธรรมนี่แหละเป็นบุญ ยิ่งเพิ่มความต้องการบุญเข้าไปอีก ก็ผิด เพราะฉะนั้นเพียงแค่ฟัง เพราะไม่รู้เพื่อที่จะได้รู้ขึ้น แต่ถ้าบอกว่าฟังธรรมนี้เป็นบุญนะ อยากได้บุญละจึงฟัง บางคนก็คิดว่าไปวัดได้บุญ พูดได้ไหม ไปวัดกับไปตลาด เพื่อไปที่ไหน มีอะไรที่นั่น มีเห็น มีได้ยิน มีทุกอย่างแล้วเข้าใจไหม ไปที่ที่จะให้ความเข้าใจ แต่ถ้าที่นั่นมีมหรสพ มีการรื่นเริง มีตลาดนัด มีอะไรอย่างนั้น จะให้ความเข้าใจที่ถูกต้องไหม เพราะแม้ตรงนั้นก็ไม่ได้มีความเข้าใจว่าวัดคืออะไร สถานที่นั้นคืออะไร เพราะฉะนั้นเกิดมาถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ด้วยความไตร่ตรอง เข้าใจจริงๆ คิดว่าเข้าใจ คิดว่าเป็นบุญ แต่ไปวัดเป็นบุญหรือเปล่า ถ้าเป็นพระอารามที่รื่นรมย์ ที่สงบจากความไม่รู้ เพราะที่นั่นเป็นที่ที่ให้ความรู้ความเข้าใจ ความเข้าใจเกิดเมื่อไหร่ ละความไม่รู้แค่นี้ แม้เพียงนิดเดียวก็สะอาดขึ้นหน่อยหนึ่ง บริสุทธิ์ขึ้นมาหน่อยหนึ่ง เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า ต้องเป็นผู้ตรง ไม่ใช่เป็นผู้ที่หลงบุญ หรือว่าหลงทุกอย่างด้วยความคิด ความเข้าใจว่า ไม่รู้ก็คือหลง ยิ่งเข้าใจว่าดี แต่ความจริงไม่ดี หลงมากแค่ไหน
ผู้ฟัง เมื่อภาคเช้านี้ ดิฉันได้ยินคำว่าสังคายนา จากท่านอาจารย์ตั้งหลายครั้ง สงสัยว่าสังคายนานี้คืออะไร พูดมาบ่อยมากเลย
ท่านอาจารย์ ก็ดีนะ คือได้ยินคำไหน อย่าเพิ่งคิดว่าเข้าใจทั้งหมดแล้ว แต่ต้องตั้งต้นตั้งแต่คำนี้ไม่ใช่ภาษาไทย เพราะฉะนั้นคำเดิมมีความหมายว่าอะไร
อ.คำปั่น สังคายนาหมายถึง การกล่าวพร้อมกัน ตรงกัน อันนี้คือด้วยความหมาย กล่าวพร้อมกันตรงกัน ตามพระธรรมคำสอน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งในความเป็นไป อย่างเช่นที่กล่าวถึง การสังคายนาครั้งที่ ๑ ซึ่งท่านพระมหากัสสปะเป็นประธาน ของคณะสงฆ์ที่ประชุมกัน ณ ตรงนั้น ที่มีการกระทำดังกล่าว ท่านก็จะถามอย่างเช่นในส่วนของพระวินัย ท่านก็จะถามท่านพระอุบาลีเถระ ซึ่งเป็นผู้ที่เลิศในทางทรงพระวินัย ก็จะถามเป็นลำดับลำดับไปว่าสิกขาบทนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน ทรงปรารภใคร ใครเป็นต้นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ แล้วพระภิกษุทั้งหมดที่ประชุมนั้น ก็กล่าวพร้อมกัน รับรองตามความเป็นจริงอย่างนั้น นี่คือยกตัวอย่างในส่วนของพระวินัย ถ้าในส่วนของธรรมที่กล่าวถึงพระสูตรต่างๆ รวมถึงพระอภิธรรม ท่านพระมหากัสสปะก็ได้ถามพระอานนท์เถระ ท่านพระอานนท์ก็กล่าวตามที่พระมหากัสสปะได้ถามว่า พระสูตรนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ที่ไหนปรารภใคร ธรรมแสดงไว้ว่าอย่างไร ทั้งหมดตามความเป็นจริง แล้วพระภิกษุที่ประชุมพร้อมกันนั้นก็กล่าวตรงกันตามนั้น นี่คือการกล่าวตรงกัน ในพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ตกไม่หล่นเลยแม้แต่คำเดียว
ท่านอาจารย์ แล้วอีกคำหนึ่งคุณคำปั่น สังคีติ
อ.คำปั่น ในพระไตรปิฎกก็จะมีพระสูตร ที่ชื่อว่าสังคีติสูตร ด้วยความหมายอย่างเดียวกัน ก็คือการกล่าวพร้อมกันตรงกัน ในส่วนนี้ก็จะกล่าวถึงพระสูตรที่เป็นหัวข้อธรรมต่างๆ หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ เป็นต้น ก็เป็นการกล่าวในสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแม้ก่อนจะมีการสังคายนาโดยพระภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ก็มีสังคีติแล้วใช่ไหม เห็นไหม หมายความว่าธรรมวินัยเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง ใครคนหนึ่งคนไหนพูด ถูกต้องไหม คนอื่นเห็นด้วย รับรองว่าถูกต้องทั้งหมดไหม หรือมีใครที่บอกว่าไม่ใช่ นี้ไม่ถูกต้อง ก็จะได้แสดงเห็นชัดว่าความถูกต้องนั้นคืออะไร นี่เป็นที่มาของสังคายนา หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานแล้ว แสดงให้เห็นว่าธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดอย่างยิ่ง ไม่ใช่ใครอยากจะกล่าวอย่างไรก็ได้ หรือคนไม่รู้ก็กล่าวได้ เพราะฉะนั้นคนไม่รู้แม้พระภิกษุที่ไม่รู้จะทำการสังคายนาได้ไหม ไม่ได้เลย จึงมีการกระทำสังคายนาครั้งที่ ๒ และครั้งต่อๆ ไปเพื่อให้รู้ว่าพระภิกษุที่รู้ ต่างกับพระภิกษุที่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นพระภิกษุที่กระทำผิด จนกระทั่งต้องมีการกระทำสังคายนา เพื่อจะให้เห็นว่าธรรมข้อใด ที่เป็นธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงทรงบัญญัติไว้ ชัดเจนถูกต้องละเอียดเพียงไร ก็จะได้มีการสังคายนาให้รู้ว่าต้องเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น พระภิกษุรับเงินรับทองไม่ได้กี่ครั้งที่สังคายนา ก็ต้องรับเงินรับทองไม่ได้ โดยผู้ที่รู้โดยพระอรหันต์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นพระภิกษุที่ไม่เข้าใจพระธรรม ไม่ได้ศึกษาธรรม ทำสังคายนาได้ไหม ก็ไม่ได้ ต้องเป็นผู้ที่ตรง
เพราะฉะนั้นผู้ที่ศึกษาธรรมมีความเข้าใจ ไม่ตื่นเต้น ไม่หวั่นไหว ไม่คล้อยตามความผิดใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเหตุว่ามีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า พระธรรมพระวินัยต้องตรัสโดยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ใครจะคิด ใครจะเปลี่ยนแปลง ใครจะแก้ไขได้ เพราะฉะนั้นเป็นการถูกต้อง ที่พุทธบริษัทควรที่จะตื่นจากความหลับ รู้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะดำรงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ คือความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยการศึกษาด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ด้วยความละเอียด ไม่ใช่โดยคิดว่าอ่านจบแล้ว จะเปลี่ยนพระวินัยอย่างไรก็ได้ เพราะฉะนั้นสังคยานาต้องเป็นผู้รู้ ในครั้งที่ ๑ อย่างที่กล่าวถึงหลังปรินิพพาน ๓ เดือน สมควรแล้ว แค่ ๓ เดือนนั้นที่จะต้องสังคายนาดูเหมือนระยะเวลาไม่นานเลย แต่ความลึกซึ้งของพระธรรม ซึ่งแม้ในครั้งนั้นก็มีผู้ที่ประมาทกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย ที่ใช้คำว่าจ้วงจาบ คือพูดไม่จริง ไม่ถูกต้อง ทำให้คนอื่นเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะฉะนั้นก็มีการที่ท่านพระมหากัสสปะ ซึ่งพระพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงรู้ ว่าท่านนี่แหละ เป็นผู้ที่จะกระทำสังคายนา หลังจากที่พระองค์ปรินิพพานแล้ว โดยการที่ว่าถ้าแม้พระองค์จะตั้งสาวกที่ ๓ นอกจากพระอัครสาวกทั้งสอง ก็คือท่านพระมหากัสปะ แต่ว่าพระอัครสาวกก็มีเพียง ๒ คือ ผู้ที่เลิศทางปัญญาท่านพระสารีบุตร และท่านผู้เลิศทางอิทธิฤทธิ์ คือท่านพระมหาโมคัลลานะ เพราะฉะนั้นก็มีแต่พระมหาสาวก ซึ่งไม่ใช่พระอัครสาวก แต่เป็นเลิศในทางต่างๆ กัน ซึ่งถ้าศึกษาพระไตรปิฏกจะเห็นความละเอียดอย่างมาก แม้แต่เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าอีก ๑๐๐๐ ปีอีก ๒๐๐๐ ปี อีก ๓๐๐๐ ปี อีกเท่าไหร่ก็ตามแต่ เพราะฉะนั้นเพียงแค่นี้ ใครจะกล้าเปลี่ยนพระธรรม และพระวินัยมีอย่างเดียว เห็นประโยชน์อย่างยิ่ง ของการที่พุทธศาสนิกชน พุทธบริษัท ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ จะศึกษาพระธรรมวินัยให้ถูกต้อง แต่ไม่ใช่ไปแก้ไขพระวินัย หรือว่าไปแก้ไขพระธรรม
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ ที่กล่าวว่าตทาลัมพนกิจ เป็นวิบัติเดียวกันกับสันตีรณะไหม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าฟังธรรมทีละคำจะทำให้ชัดเจน เพราะว่าธรรมละเอียดมากมาย นับประมาณไม่ถ้วน จิตหนึ่งที่มีปัจจัยเกิดแล้วดับไป ไม่กลับมาอีกเลย แต่ว่าจิตทุกจิตไม่ได้เกิดขึ้นมาเฉยๆ แค่เกิด เกิดมาแต่ละจิตทำหน้าที่ของจิตนั้นจิตนั้น เพราะฉะนั้นถ้าการถึงชื่อเช่น ตทาลัมพนะเป็นต้น หมายความถึงทรงแสดงจิตหลากหลายชนิด ซึ่งเกิดดับสืบต่อกันตามลำดับว่า จิตใดเกิดก่อน ถ้าไม่มีจิตเห็น จิตอื่นๆ จะเกิดต่อได้มั้ย ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะได้ยินคำว่าสันตีรณะ ได้ยินคำว่าตทาลัมพนะเป็นต้นก็คือกิจของจิต ซึ่งกล่าวไว้ว่าในเมื่อจิตนี่หลากหลาย มากมายนับไม่ถ้วน แต่ทรงประมวลไว้เป็นประเภทต่างๆ ว่าจิตนี้ ลักษณะนี้ ประกอบด้วยเจตสิกเท่าไหร่ และทำกิจอะไร ในขณะไหน แปลว่าไม่ใช่จิตเก่า กลับมาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เลย และการเกิดดับของจิต ต้องตามลำดับ ก่อนเห็นมีจิตไหม เห็นไหม ต้องเป็นผู้ที่เพื่อจะศึกษาเรื่องใด ก็ต้องเฉพาะเรื่องนั้นจริงๆ เห็นเป็นหน้าที่ของจิต ๑ จิตเดียวที่ทำกิจเห็น คิดไม่เห็น เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ จิต ถ้าได้ศึกษาเพื่ออะไร เพื่อให้มีความเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อยสะสมไป ให้รู้ว่าไม่ใช่เราโดยนัยใดๆ ก็ตามทั้งสิ้น ทรงกล่าวถึงโดยละเอียด เพื่อค่อยๆ พิจารณา จนกว่าจะประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่าไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นเริ่มต้นจากการฟังว่าเป็นธรรม คือสิ่งที่มีจริงเกิดดับ แล้วไม่กลับมาอีก เพราะฉะนั้นถ้ากล่าวถึงตทาลัมพนะ แต่หมายความถึง จิตที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำกิจเห็น ไม่ได้ทำกิจได้ยิน แต่ทำกิจตทาลัมพนะ ซึ่งจะต้องสืบต่อตามวาระว่า จิตใดจะเกิดก่อนสลับกันไม่ได้เลย ตามเหตุตามปัจจัย เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ใครก็บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม ต้องด้วยการไตร่ตรอง ไม่ใช่ฟังชื่อ ฟังเขาบอก ฟังหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ แต่ทุกคำต้องคิด และไตร่ตรอง จนกระทั่งเป็นความเข้าใจว่า จิตก่อนที่จิตเห็นเนี่ยมีไหม มี จิตก่อนจิตเห็นเห็นรึเปล่า เห็นไหม ใครรู้ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงการเกิดดับ ของจิตอย่างละเอียดว่า ก่อนเห็นเนี่ยก็มีจิตซึ่งเกิดก่อนแต่ไม่เห็น แต่ว่ามีอารมณ์กระทบจักขุประสาท ทำให้รู้ว่าขณะนั้น มีสิ่งที่กระทบ ไม่ใช่ไม่รู้ อย่างนอนหลับสนิทเนี่ยรู้อะไรไหม สนิทเลย อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ชื่ออะไรก็ไม่รู้ มีเงินมีทอง แก้วแหวน ทรัพย์สมบัติอะไรบ้าง ก็ไม่รู้ ไม่รู้เลย ไม่มีอะไรปรากฏเลยแต่มีจิต เพราะยังไม่ตาย และใครรู้จิตนั้น ว่าเป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นต้องรู้ แต่สิ่งที่รู้นั้นไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตาให้เห็น ไม่ใช่เสียงที่กำลังได้ยินเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่กลิ่น ไม่ใช่รส ไม่ใช่อะไรเลย แต่ต้องมีจิตซึ่งเกิดขึ้น การศึกษาธรรมต้องตรงทุกคำ ตั้งแต่คำแรกจนถึงคำสุดท้าย จิตเป็นธาตุรู้เป็นสภาพรู้ ไม่ให้จิตเกิดได้ไหม ก็เกิดแล้ว ใช่ไหม ยังไงยังไงก็มีแน่ๆ แล้วก็มีแล้ว จะไม่มีจิตได้เป็นไปไม่ได้เลย จะไปทำให้จิตเกิด ก็ทำไม่ได้ เพราะเกิดแล้ว ไม่มีใครสามารถทำอะไรได้เลย แต่มีแล้ว ไม่รู้
เพราะฉะนั้นผู้ที่ทรงตรัสรู้ลักษณะ ของจิตทุกประเภททุกขณะตามลำดับขั้น รวมทั้งกิจหน้าที่ของแต่ละจิตด้วย เพราะฉะนั้นในขณะที่หลับสนิท ไม่ใช่คนตาย ทำไมว่าไม่ตาย ก็ยังไม่ตายมีจิต ทำไมรู้ว่ามีจิต และบอกด้วยว่าเขาหลับ หลับหมายความว่าอะไร หลับหมายความว่าไม่เห็นใช่ไหม ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึกด้วย หลับสนิท ถ้าคิด ไม่ได้หลับสนิท เพราะฉะนั้นถึงไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิด ไม่ฝัน ฝันก็ไม่ฝัน ขณะนั้นจิตเกิดขึ้นดับไหม เห็นไหมฟังธรรมทุกคำ เปลี่ยนใหม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ฟังก็เริ่มไตร่ตรอง เรื่องจิตเป็นสภาพรู้ซึ่งเกิด ใครบังคับบัญชา ไม่ให้เกิดไม่ได้ ไม่ให้ดับไม่ได้ จิต ๑ ขณะเป็นธาตุรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ไหม ตอนหลับมีจิตไหม เห็นไหม ต้องตรง แต่เราไม่สามารถจะรู้ได้ว่า จิตซึ่งเป็นธาตุรู้ในขณะที่หลับสนิทนี่รู้อะไร แต่รู้ได้แน่นอนว่าไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่ใช่คิดนึก เพราะฉะนั้นขณะนั้นเป็นจิตที่เกิดดับสืบต่อ โดยมีกรรมเป็นปัจจัย ยังสิ้นสุดความเป็นบุคคลนั้นไม่ได้ เกิดมาแล้ว จิตที่ทำกิจปฏิสนธิที่เกิดขึ้นเป็นขณะแรกขณะเดียว
เพราะฉะนั้นในชาติหนึ่ง จิตขณะแรกเกิด จิตขณะสุดท้ายตาย มีเพียง ๑ ขณะ เกิดก็ ๑ ขณะ ตายก็ ๑ ขณะ และระหว่างนั้นล่ะ มีจิตรึเปล่าก็มี มีทั้งจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส จิตคิดนึก แล้วจิตที่ไม่ได้ทำกิจเหล่านี้เลย แต่ต้องเกิดสืบต่อจากปฏิสนธิขณะแรก เพราะฉะนั้นเมื่อกรรม ทำให้จิตที่เป็นผลของกรรมเกิดขึ้น แล้วแต่ว่าจะเป็นผลของกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมใดๆ ก็ตามเลือกไม่ได้ ในแสนโกฏฏ์กัปป์ สามารถที่จะเป็นปัจจัยให้ผลเกิดขึ้น เห็นขณะนี้เป็นผลของกรรม ต้องรู้ด้วยว่าจิตไหนเป็นเหตุ จิตไหนเป็นผล ถ้าเป็นกุศล และอกุศล เป็นเหตุให้เกิดผล คือกุศลหรือวิบากที่ภาษาไทย เรียกว่าวิบากผลของกรรม ถ้าเป็นผลของอกุศลจิตนั้นเป็นจิตที่เมื่อจิตที่เป็นเหตุได้กระทำแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้จิตที่เป็นผล ต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุที่ได้กระทำ เพราะฉะนั้นเป็นจิตประเภทวิบาก วิปากคือเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่พอใจก็มี ไม่น่าพอใจก็มี เลือกไม่ได้ เพราะแล้วแต่กรรม ผลของกุศลของอกุศล ตั้งแต่ขณะแรกที่เกิด เลือกได้ไหม เกิดเป็นนก เกิดเป็นหนอน เกิดเป็นคน เกิดภูมิอื่นก็ได้เป็นเทพ เป็นพรหมแล้วแต่เหตุ ถ้าตราบใดที่ยังมีเหตุอยู่ ผลต้องมี และก็เราไม่สามารถที่จะรู้ได้เลย ถ้าไม่มีผู้ที่ทรงตรัสรู้ โลกวิธู คำว่าโลกตั้งแต่เล็กที่สุด จนถึงทั่วกี่จักรวาลก็ตามแต่ เล็กที่สุดคือ ๑ ขณะจิตที่เกิดเป็นโลก เพราะถ้าไม่มีจิตหรืออะไรก็ตามเกิดขึ้นเลยโลกก็ไม่มี แต่ที่มีโลกนี่ก็เพราะมีสิ่งที่เกิดขึ้น ใช่ไหม เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ ที่เกิดนั่นแหละเป็นโลก ๑ โลก ๑ โลก ๑ ซึ่งเกิดดับ ก็ไม่มีใครรู้เลยว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรม ที่เป็นโลก โลกียะ เนื่องกับโลกคือเกิดแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิต ๑ ขณะเกิดแล้วดับ กรรมไม่ได้ทำให้เพียงแค่ปฏิสนธิจิตเกิด ยังสืบต่อไปที่จะให้ดำรงความเป็นบุคคลนั้น ตราบเท่าที่กรรมนั้นยังให้ผลเป็นบุคคลนั้นอยู่ จะเป็นอื่นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ จิตขณะแรกดับไปเพราะกรรมเป็นปัจจัยให้เกิด ไม่ใช่ ๑ ขณะ กรรมยังเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไป เกิดสืบต่อจากจิตขณะแรก โดยเป็นผลของกรรมประเภทเดียวกัน แต่ยังไม่ทันเห็น ยังไม่ทันได้ยินเลย แต่ดำรงภพชาติ โดยไม่ต้องเห็น ไม่ต้องได้ยิน จนกว่าจะสิ้นสุดกรรมที่จะทำให้เป็นบุคคลนี้ ไม่ทำกิจดำรงภพชาติต่อไป แต่ทำกิจเคลื่อนพ้นจากความเป็นบุคคลนี้ เพราะกรรมทำให้สิ้นสุด เป็นสิ่งซึ่งเดี๋ยวนี้เราคิดว่ามีเรา มีคนล้าสมัย มีคนทันสมัย มีคนคิดจะเปลี่ยนแปลงพระธรรมวินัยหรืออะไรต่างๆ แต่ก็ไม่รู้ความจริงเลยว่าไม่ใช่เรา ไม่มีเรา แต่เป็นธรรมที่เป็นเหตุบ้าง เป็นผลบ้าง เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เป็นผลของกรรมบ้าง ด้วยเหตุนี้ถ้าจะกล่าวถึงจิตโดยกิจ กิจทั้งหมดของจิตมี ๑๔ กิจ แต่จิตมีหลากหลายมาก เพราะฉะนั้นบางจิตทำได้กิจเดียว บางจิตทำได้หลายกิจ เพราะฉะนั้นจิต ๑ ก็จะมีชื่อต่างกัน ตามกิจหน้าที่ เช่นถ้าทำกิจเกิดต่อจากสัมปฏิฉันนะ ซึ่งเกิดต่อจากจักขุวิญญาณเป็นต้น ขณะนั้นก็เป็น สันตีรณะจิต
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 962
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 963
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 964
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 965
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 967
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 968
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 971
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 972
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 973
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 974
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 975
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 977
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 978
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 979
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 980
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 981
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 982
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 983
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 984
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 986
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 987
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 988
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 989
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 991
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 992
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 993
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 994
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 996
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 997
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 998
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1000
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1001
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1003
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1004
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1006
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1007
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1008
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1009
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1011
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1012
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1013
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1014
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1015
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1016
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1017
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1018
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1019
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1020