ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
ตอนที่ ๙๖๖
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ท่านอาจารย์ จิตเป็นธาตุรู้ไม่มีรูปร่างใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น แต่ที่เราบอกว่าแมวเห็น พูดถึงรูปร่างที่เป็นแมวใช่ไหม เราก็บอกว่าแมวเห็น แต่จิตเห็นไม่ใช่แมว จิตเป็นจิต จะเป็นอื่นไม่ได้เลย จิตจะเป็นคน จะเป็นแมว จะเป็นงูไม่ได้ จิตเป็นจิตเป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเทวดาเห็น พรหมเห็น มนุษย์เห็น สัตว์ทุกประเภทเห็น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็น เห็นของพระองค์ก็ประกอบด้วยเจตสิก ๗ เท่ากันกับจิตเห็นอื่นๆ ทุกขณะหมด นี่คืออนัตตาไม่มีใครเป็นเจ้าของ เพราะฉะนั้นธรรมต้องเป็นธรรม ตรงไม่มียกเว้น แต่ว่าความละเอียดมากกว่านั้น เพราะเหตุว่าจิตเห็นของแต่ละคน เห็นแจ้งสิ่งที่ปรากฏ แต่สิ่งที่สะสมมาในจิตนั้นต่างกัน เพราะฉะนั้นพอเห็นเสร็จต่างคนต่างคิดใช่ไหม คนนั้นชอบคนนี้ไม่ชอบก็แล้วแต่จะสะสมมาอย่างไร แต่ว่าจิตเห็นก็เห็น แล้วก็สิ่งที่สะสมมา ดี และชั่วที่สะสมที่เกิดแล้ว ไม่ได้สูญหายไปไหนเลย ติดอยู่ที่จิตนั่นเอง แกะก็ไม่ออก เอาไปทิ้งก็ไม่ได้ มีปัญญาเท่านั้นที่จะค่อยๆ ชำระล้างอกุศลตามประเภทของอกุศลนั้นๆ ถ้าไม่มีปัญญาใครจะไปดับกิเลส ไปนั่งทำอะไรกัน นั่นคือไม่รู้ความจริง ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องเป็นเรื่องละ แต่ที่ไปนั่ง นั่นอยากได้อะไรหรือเปล่า อยากรู้อะไรหรือเปล่า เพราะฉะนั้นนั่นก็คือว่าไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะกล่าวคำว่ามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แต่ไม่ได้พึ่งเลย เพราะเหตุว่าไม่ได้ฟังพระธรรม แล้วก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจในความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
อ.คำปั่น ในช่วงแรก ภัยที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา ก็คือภิกษุรับเงิน และทอง และสำนักปฏิบัติ ก็กราบเรียนท่านอาจารย์ว่า ทั้งสองอย่างนี้เป็นภัยร้ายอย่างไรต่อพระพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์ สำหรับข้อแรก ภิกษุรับเงิน และทอง ทำลายความเป็นภิกษุในธรรมวินัย เพราะเหตุว่าภิกษุในธรรมวินัยเป็นผู้ที่สละทุกอย่าง ทั้งญาติพี่น้องครอบครัว ชีวิตคฤหัสถ์ ทรัพย์สมบัติเงินทองทั้งหมด เพราะฉะนั้นถ้าภิกษุรับเงิน และทองจึงไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัย เพราะเหตุว่าพระธรรมวินัยทรงบัญญัติ เพื่อที่จะให้ผู้ที่ประสงค์ที่จะมีชีวิตที่ได้ศึกษาธรรม และขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิตได้ประพฤติปฏิบัติตาม เพราะเหตุว่าพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ที่ทรงตรัสรู้ความจริง ทรงรู้เหตุที่ว่าแม้กายวาจาที่ไม่งามแม้เพียงเล็กน้อยเกิดจากอะไร เกิดจากอกุศลจิต ธรรมดาทุกคนก็มีอกุศลจิต ไม่ใช่ไม่มี แต่ก็นั่งนิ่งๆ ก็ไม่มีการเคลื่อนไหวทางกายทางวาจาใดๆ ก็เป็นอกุศล แต่ถ้าถึงกับกาย และวาจาเคลื่อนไหว ประพฤติเป็นไปตามกิเลสที่มีกำลัง แล้วจะขัดเกลากิเลสได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้คำสอนเป็นคำจริง ไม่ใช่เป็นคำเท็จที่ว่า ให้เปลี่ยนสภาพอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่งได้ ถ้าสะสมมาที่จะเป็นอย่างนี้ ตั้งแต่เกิดมาก็เป็นอย่างนี้ แต่ละคนก็ต่างๆ กันไป ก็เพราะเหตุว่าสะสมมาหลายชาติกว่าจะเป็นคนนี้วันนี้เดี๋ยวนี้
เพราะฉะนั้นก็เห็นได้เลยว่าไม่มีใครสามารถที่จะไปเปลี่ยนแปลงความเป็นธรรมดา หรือความเป็นธรรมได้เลย ด้วยเหตุนี้เมื่อเป็นผู้ที่จริงใจ เห็นการมีชีวิตอย่างคฤหัสถ์ ไม่สะดวกที่จะขัดเกลากิเลส ศึกษาพระธรรมได้เท่ากับเพศบรรพชิต เพราะอะไร มีพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นแบบเป็นตัวอย่าง เป็นที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ละคลายกิเลสประพฤติกายวาจาอย่างไร ก็ทูลขออุปสมบท ทรงอนุญาต และก็ให้ภิกษุเหล่านั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า เมื่อจะเป็นภิกษุก็ต้องเป็นภิกษุอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นถ้าผู้ใดไม่สามารถที่จะขัดเกลากิเลส ที่จะค่อยๆ คล้อยตามปัญญาที่เจริญขึ้นจนกระทั่งดับกิเลสได้ ผู้นั้นก็ไม่จำเป็นต้องเป็นภิกษุ เป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นภิกษุต้องจริงใจ เพราะฉะนั้นเมื่อทูลขอให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ทรงอนุญาตแล้วก็มีการที่ภิกษุยังมีกิเลส เพราะฉะนั้นที่ยังมีกิเลสแล้วก็จะไม่กระทำผิด ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เมื่อมีภิกษุรูปหนึ่งรูปใดมีความประพฤติที่ไม่สมควร คฤหัสถ์นี่เอง อุบาสกอุบาสิกาเป็นผู้เห็นเป็นผู้รู้ เพราะฉะนั้นก็เพ่งโทษภิกษุทำอย่างนี้ได้อย่างไร เมื่อเพ่งโทษแล้วก็ติเตียน การกระทำอย่างนี้ไม่เหมาะไม่ควรแก่เพศภิกษุ และโพนทะนาประกาศให้รู้กระจายข่าวทั่วไป ให้ทราบทั่วกันว่าความประพฤติอย่างนี้ไม่เหมาะสม ถึงกับได้ไปทูลพระผู้มีพระภาค และก็พระผู้มีพระภาคก็ทรงประชุมสงฆ์ พระองค์ทรงรู้แจ้งทุกอย่าง แม้แต่เหตุที่จะให้กายวาจาเป็นไปต่างๆ แต่เพื่อให้สงฆ์ซึ่งจะเป็นภิกษุอยู่ร่วมกันต่อไป ได้อยู่ด้วยความผาสุก ก็ให้ทุกคนมีความเห็นร่วมกัน ประชุมสงฆ์แล้วก็ให้เห็นว่า การประพฤติอย่างนี้เหมาะควรไหมแก่เพศบรรพชิต เมื่อพระภิกษุร่วมกันทุกคนเห็นพ้องกันว่า เป็นความประพฤติที่ไม่สมควร ก็ทรงบัญญัติเป็นพระวินัย เพื่อขัดเกลาอย่างยิ่งว่าเป็นภิกษุทำอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้เลย ล้อเล่นได้ไหม ถ้าล้อเล่นก็ไม่ต้องเป็นพระภิกษุ ใช่ไหม จะทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เหมือนเดิมไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์ก็ควรที่จะได้ทราบ เพียงผู้นั้นมีศรัทธาที่ได้สะสมมาที่ถึงการที่จะสละอาคารบ้านเรือนได้ ก็ควรแก่การกราบไหว้อย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าเป็นผู้ที่จะได้ศึกษา แล้วก็ได้เผยแพร่คำสอนต่อๆ ไปในภายภาคหน้าด้วย จึงเป็นรากแก้วของพระศาสนา เพราะเหตุว่าเป็นหลักสำหรับผู้ที่สละอาคารบ้านเรือน และก็สะสมขัดเกลากิเลสจนกระทั่งเป็นหัวหน้าของพุทธบริษัท ถ้าหัวหน้าของพุทธบริษัทประพฤติไม่ดี รากแก้วขาด พระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ไหม แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ภิกษุมีหลายความหมาย ภิกษุไม่ใช่แต่เพียงหมายความว่า ผู้ขอ ผู้ขอในที่นี้ ไม่ใช่ขอด้วยปาก ด้วยการเลียบเคียง ด้วยการแสดงนิมิตเครื่องหมายให้รู้ ไม่ได้เลย เพราะบางคนพูดกันไม่รู้เรื่องใช่ไหม ก็จะขออาหารก็ทำมือหยิบใส่ปาก นั่นก็คือการขอโดยนิมิต โดยการแสดงกิริยาอาการ บางครั้งก็กิเลสทำให้ไม่ทำอย่างนั้น แต่ทำให้พูดเลียบเคียงอยากได้อะไรก็ไม่พูดตรงๆ คฤหัสถ์บางคนหลายคน ส่วนใหญ่ส่วนน้อยก็แล้วแต่ ก็เป็นอย่างนั้นใช่ไหม แต่เป็นคฤหัสถ์ แม้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งไม่น่าทำเลย แต่เมื่อไม่ได้เป็นพระภิกษุก็ไม่ต้องโทษเพราะล่วงพระวินัย แต่ว่าผู้ที่สำนึกก็ค่อยๆ ขัดเกลากิเลส เพราะฉะนั้นพระพุทธศาสนาแสดงถึงความเป็นอนัตตา ไม่มีการบังคับให้ใครทำอะไรเลยทั้งสิ้น ทรงแสดงพระธรรมให้เข้าใจในเหตุ และในผลว่า ความประพฤติอย่างนั้น กิริยาอาการอย่างนั้นสมควรไหมแก่การที่จะเป็นภิกษุ เมื่อไม่สมควรก็ทรงบัญญัติพระวินัยมากมาย แต่ว่าข้อต้นๆ ก็คือว่าไม่รับเงิน และทอง เพราะเหตุว่าเงิน และทองนำมาซึ่งความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ชีวิตประจำวันของเรา เต็มไปด้วยความติดข้อง ถ้าไม่มีรูปที่ปรากฏให้เห็นทางตาจะติดข้องไหม จะไปติดข้องได้อย่างไร ไม่มี แต่โลกนี้เป็นโลกของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งทรงใช้คำว่ากามคุณ หมายความว่า เป็นสภาพที่น่าใคร่มีใครบ้างที่ไม่ชอบ สีสันวรรณะไม่ได้มีสีเดียวเลย เหลืองอ่อน เขียวแก่ แดงม่วงสารพัดอย่าง ชอบทั้งนั้น ติดข้องทั้งนั้น เพราะไม่รู้ความจริงว่า จากไม่มี แล้วก็มี แล้วก็หามีไม่ มีสำหรับให้ติดข้องด้วยความไม่รู้
ด้วยเหตุนี้โลกนี้เป็นโลกของกามคุณของสภาพธรรมคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งน่าใคร่น่าพอใจ ที่ใช้คำว่าโผฏฐัพพะ หมายความว่ารูปที่อ่อนหรือแข็งบ้าง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว กระทบสัมผัส ไม่มีพ้นจากอ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อนตึงหรือไหว เพราะฉะนั้นรวม ๓ รูปนี้เรียกว่าโผฏฐัพพะ คือรูปที่สามารถจะกระทบปรากฎได้ทางกาย ถ้าเราไม่เคยฟังธรรมเลย เราก็รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส สัมผัสก็คือกระทบเย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหว เป็นสิ่งที่ปรากฏเมื่อกระทบได้ จึงใช้คำว่าโผฏฐัพพะ เด็กเล็กๆ ได้ยินคำว่าโผฏฐัพพะจะไม่รู้เลย ผู้ใหญ่เปิดวิทยุแล้วก็มีรายการธรรม แล้วก็มีคำว่าโผฏฐัพพะ เขาก็ถามว่าโผฏฐัพพะคืออะไร แต่ว่าสำหรับเราที่ได้ฟังธรรมแล้วก็รู้ว่าโลกนี้ก็เต็มไปด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย เพราะฉะนั้นเงิน และทองนำมาซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ใช่ไหม ทำไมเราอยากมีเงินมากๆ เราจะได้สิ่งที่เราพอใจจะเห็น ภาพเขียนโบร่ำโบราณ หรือว่าเพชรนิลจินดา หรืออะไรก็ตามแต่ เอามาเองได้ไหม ไปหยิบไปฉวยเอามาเองได้ไหม ไม่ได้ แต่เงิน และทอง สิ่งที่เป็นวัตถุที่สามารถที่จะนำมาซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถที่จะซื้ออะไรก็ได้ นอกจากปัญญา
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้จริงๆ ว่า เพราะเหตุว่าเงิน และทองนำมาซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แสดงว่าบุคคลนั้นติดข้องใช่ไหม จึงต้องการเงิน และทอง สามารถที่จะนำมาซึ่งสิ่งที่น่าพอใจ ด้วยเหตุนี้เมื่อสละแล้วจากคฤหัสถ์ แล้วจะเอาเงินไปให้ภิกษุทำอะไร แล้วท่านจะใช้ทำอะไร ท่านก็ทำสิ่งที่ต้องการคือ ซื้อหาสิ่งที่พอใจทางตาหูจมูกลิ้นกายเป็นต้น สมควรไหมแก่เพศบรรพชิต สำหรับการติดข้องในรูปเสียงกลิ่นรส ไม่มีลดน้อย มีแต่เพิ่มขึ้น เมื่อวานนี้กับวันนี้ เมื่อวานนี้ก็ชอบ มีอาหารที่อร่อย วันนี้อาหารก็อร่อยอีกชอบอีก เมื่อวานนี้กับวันนี้เพิ่มขึ้นแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้ายิ่งเป็นผู้ที่ไม่เห็นโทษภัยของความติดข้อง จนเกินหรือว่าไม่เหมาะควร เป็นวิสมโลภะ คือภาษาบาลี ท่านจะแสดงคำตามระดับขั้น อย่างความติดข้องระดับหนึ่งใช้คำหนึ่ง พอความติดข้องนั้นเพิ่มระดับขึ้นจนกระทั่งทำให้กายวาจาเป็นไปในทางที่ไม่สมควร ก็ใช้คำอีกคำหนึ่งให้รู้ว่าถึงระดับนี้แล้ว เพราะฉะนั้นสำหรับพระภิกษุ สิ่งที่นำมาซึ่งโทษต่อการเป็นภิกษุคือเงิน และทอง แต่ถ้าสละจริงๆ ไม่มีการที่จะต้องมีภาระอย่างนั้นเลย เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้ว ภาระมีมากอยู่แล้วที่จะต้องมีชีวิตดำรงไป ทุกคนมีภาระในการที่จะมีชีวิตอยู่ แต่จะอยู่แบบไหน แบบภาระมากมาย หรือว่าง่ายๆ สบายๆ พอสมควร นี่ก็เป็นอัธยาศัยที่ต่างกัน ด้วยเหตุนี้ธรรมเป็นเรื่องที่ตรงแล้วก็จริง เมื่อเป็นภิกษุแล้วต้องต่างจากคฤหัสถ์ กิจใดๆ หน้าที่ที่เคยทำในฐานะคฤหัสถ์ทำไม่ได้ ไม่ใช่หน้าที่ของพระภิกษุ
เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์ที่ไม่รู้ เห็นพระตักอาหารแจกคน ชื่นชม ผิดพระวินัย เพราะว่าไม่ใช่กิจของท่าน เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลยที่จะรู้ว่าใครเป็นภิกษุ แล้วใครไม่ใช่ภิกษุ เพียงภายนอกก่อน ยังไม่กล่าวถึงภายใน ขณะใดก็ตามที่ไม่ใช่ผู้สงบ แต่งตัวไม่เรียบร้อย จีวรไม่เรียบร้อย ทุกอย่างไม่เรียบร้อย นั่นหรือภิกษุ คฤหัสถ์ทำได้ ตามแบบสมัยนิยมต่างๆ ภิกษุสมัยนิยมไม่มี มีสมัยเดียวตลอดตั้งแต่ ๒,๕๐๐ กว่าปี จนถึงสมัยไหนก็คือจีวร ๓ ผืน เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์ควรที่จะศึกษา และเข้าใจพระวินัย เพื่อดำรงรักษาพระศาสนา ให้รู้ว่าสิ่งใดที่ไม่ควร ไม่ทำ ไม่ส่งเสริม ทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภิกษุในธรรมวินัย ต้องประพฤติอย่างพระองค์ตามแบบของพระองค์ จึงสมควรที่จะเป็นบุตรที่เกิดจากพระอุระ คือปัญญาที่ได้ทรงตรัสรู้ถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นทุกคนอย่าคิดว่า เราไหว้พระมาตั้งแต่เกิด พ่อแม่ปู่ย่าตายายสอนให้ไหว้พระ แต่ไม่รู้ว่าพระคือใคร เพราะฉะนั้นการที่จะรู้จักพระที่จะไหว้ เราก็ต้องศึกษาให้รู้จักพระวินัยด้วย และขณะเดียวกันเราก็ต้องเข้าใจธรรมด้วย ไม่ใช่มีแต่พระวินัย แต่พระธรรมทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านำออกซึ่งกิเลส ธรรมนำออกซึ่งความไม่รู้หรือเปล่า นำออกซึ่งกิเลสซึ่งเกิดเพราะความไม่รู้หรือเปล่า วินัยนำออกพิเศษอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่ากายวาจาจะต้องขัดเกลามากกว่าคฤหัสถ์ พระธรรมทั้งหมดนำออกซึ่งกิเลส เพราะฉะนั้นพระธรรมเป็นวินัย พระวินัยก็เป็นพระธรรมหรือเป็นธรรมด้วย เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีความเข้าใจจะเป็นวินัยได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเพราะเข้าใจจึงเป็นพระวินัย ที่ประพฤติปฏิบัติในเพศบรรพชิต
อ.คำปั่น ถ้าพูดถึงพระภิกษุที่ท่านรับเงิน และทอง ก็แน่นอนว่าท่านล่วงละเมิดพระวินัย เป็นผู้ที่ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงความประพฤติอย่างนี้ ก็เป็นเครื่องบ่งบอกแล้วว่า ท่านเป็นผู้ที่ไม่เข้าใจธรรมไม่สามารถที่จะกล่าวคำจริงให้ผู้อื่นได้เข้าใจอย่างถูกต้องได้ เพราะว่าตัวท่านเองก็ไม่มีความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจธรรมจะล่วงพระวินัยไหม เมื่อเป็นภิกษุไม่ล่วงเลย และถ้าล่วง พระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณาเห็นว่า การที่จะดำรงเพศภิกษุไม่ง่าย เพราะฉะนั้นผู้ใดสำนึก สามารถที่จะแสดงโทษความผิดที่ได้ล่วงพระวินัยบัญญัติ ปลงอาบัติคือทำให้อาบัตินั้นตกไปหมดสิ้นไป สามารถที่จะเข้าเป็นภิกษุในคณะสงฆ์ในหมู่คณะของภิกษุได้ เพราะสงฆ์คือหมู่คณะ แต่ถ้าภิกษุใดละเมิดพระวินัยแล้วไม่ปลงอาบัติ อันตรายแค่ไหน
อ.คำปั่น ถ้าไม่ปลงอาบัติ ไม่แสดงอาบัติ ไม่แสดงโทษ ไม่กระทำคืน ยังปฏิญาณตนว่าเป็นพระภิกษุอยู่ ถ้ามรณภาพลงก็คือภพถัดไปก็คือเกิดในอบายภูมิ
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร ลวงคนอื่นหรือเปล่าว่าเป็นภิกษุ ทั้งๆ ที่ละเมิดพระวินัย เพราะเหตุว่าภิกษุไม่ได้ทำงาน ถูกต้องไหม หน้าที่ราชการไม่มี ไม่มีเงินเดือน ไม่มีเงินที่จะได้มา ไม่เป็นพ่อค้า ไม่เป็นอะไรทั้งสิ้น แล้วก็ยังทำงานของคฤหัสถ์ เช่น หุงต้มก็ไม่ได้ ถ้าหุงต้มได้ก็เป็นคฤหัสถ์ เป็นทำไมภิกษุ เพราะฉะนั้นก่อนจะเป็นภิกษุ ผู้นั้นต้องเข้าใจพระธรรมก่อน ไม่ใช่ไม่รู้เลยทั้งสิ้น แล้วก็อยากจะบวช อันตรายอย่างยิ่ง เพราะบวชไปทำไม ในเมื่อไม่รู้ว่าบวชแล้วจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร และก็ไม่มีความเข้าใจธรรมด้วย ทั้งไม่เข้าใจธรรม และไม่ประพฤติตามพระวินัย แล้วบวชทำไม โทษผิดตั้งแต่ต้น ลวงคนอื่นให้เห็นว่าเป็นผู้ที่ละกิเลส สละเพศคฤหัสถ์ อบรมเจริญปัญญาในเพศบรรพชิต ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่ได้ประพฤติตามพระวินัย แต่มีเงินทองมากมายมาจากไหน แล้วอย่างไรจะกราบไหว้ไหม พระภิกษุซึ่งล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติรับเงินรับทอง ไม่ศึกษาพระวินัย แล้วเป็นภิกษุทำไม จะกราบไหว้ไหม หรือกราบไหว้หมดเลย ทั้งๆ ที่ไม่รักษาพระวินัย แต่ก็ไม่ใช่หน้าที่ของคฤหัสถ์ แม้ภิกษุณียังสอนพระภิกษุไม่ได้ตามพระวินัย โดยเพศที่ว่าท่านเป็นหัวหน้าของพุทธบริษัท
เพราะฉะนั้นสิ่งเดียวที่ทำได้ กล่าวทุกคำตามพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครจะติ ใครจะไม่เห็นด้วย ใครจะว่า เขากำลังพูดถึงใคร ติใคร ว่าใคร เพราะว่าทั้งหมดนั้นเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่ศึกษาก็ไม่รู้ใช่ไหม แต่ว่าเมื่อศึกษาแล้วรู้ว่าเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดทั้งพระธรรม และวินัย แล้วใครจะติพระองค์ ใครจะแก้ไขสิ่งที่พระองค์ได้ทรงบัญญัติแล้ว เคารพหรือเปล่า เก่งกว่าหรือเปล่า บางคนก็บอกว่ายุคสมัยเปลี่ยนไป พระภิกษุต้องรับเงินทอง มีเงินทองสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตรัสรู้หรือว่า อนาคตกาล เหตุการณ์ต่างๆ จะเป็นอย่างไร แม้อดีตกาลแสนโกฏกัปมาแล้วยังทรงตรัสรู้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ใครก็คิดไม่ได้ ไม่สามารถจะคิดคาดคะเนใดๆ ได้เลย คือพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ เพราะฉะนั้นสำหรับคฤหัสถ์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาพระวินัย และพระธรรมด้วย ไม่ใช่ศึกษาแต่พระธรรม หรือว่าถ้าศึกษาแต่พระวินัยก็จะไม่รู้เหตุผลว่าเพราะอะไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติด้วยข้อความต่างๆ ละเอียดอย่างยิ่งตามเหตุการณ์ที่หัวข้อใหญ่เป็นอย่างนั้นได้ตามอาบัติแต่ละข้อ แต่ยังมีข้อปลีกย่อยอีกต่างหากแม้ในข้อเดียวกัน ซึ่งทำให้ความผิดนั้นมากน้อยต่างกัน
อ.คำปั่น ในประเด็นที่สองก็คือเรื่องของสำนักปฏิบัติ ซึ่งแน่นอนหลายท่านได้ยินคำนี้ แต่ว่าความจริงแล้วคืออย่างไร ทำไมถึงแสดงว่าสำนักปฏิบัติเป็นภัยร้ายของพระพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์ ในครั้งพุทธกาลมีสำนักปฏิบัติไหม
อ.คำปั่น ไม่มี
ท่านอาจารย์ แล้วใครทำให้มีสำนักปฏิบัติ ใครตั้งสำนักปฏิบัติ
อ.คำปั่น ผู้ไม่รู้ความจริง
ท่านอาจารย์ แล้วไม่ทำลายคำสอนหรือ เพราะสอนสิ่งซึ่งไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เพราะอะไร ไม่รู้อะไรเลยก็ชวนกันไปปฏิบัติ นี่หรือพระพุทธศาสนา ควรเคารพไหมแบบนี้ ถ้าเข้าใจว่านี่คือพระพุทธศาสนา คือไม่รู้อะไรเลย แล้วก็ไปปฏิบัติ ทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 961
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 962
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 963
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 964
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 965
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 966
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 967
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 968
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 969
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 970
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 971
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 972
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 973
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 974
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 975
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 976
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 977
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 978
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 979
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 980
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 981
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 982
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 983
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 984
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 985
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 986
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 987
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 988
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 989
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 990
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 991
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 992
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 993
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 994
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 995
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 996
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 997
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 998
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 999
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1000
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1001
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1002
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1003
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1004
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1005
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1006
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1007
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1008
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1009
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1010
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1011
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1012
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1013
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1014
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1015
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1016
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1017
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1018
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1019
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1020