ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1056
ตอนที่ ๑๐๕๖
สนทนาธรรม ที่ บริษัทสยามแฮนด์ส จ.นครปฐม
วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ ท่านรู้ว่าสิ่งนี้มี สามารถเข้าใจความจริงของสิ่งนี้ได้ และท่านก็เคยฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ มาแล้ว จนกระทั่งสามารถที่จะเห็นประโยชน์ ของการที่จะถึงการประจักษ์แจ้งความจริง ไม่ใช่เพียงแค่ฟังเฉยๆ ถ้าฟังเฉยๆ ดับทุกข์ไม่ได้ ทำอย่างไรก็เป็นเรา นั่งอยู่ที่นี่ เห็นก็เป็นเรา ไหนว่าเห็นเกิดแล้วดับ ทั้งๆ ที่มีได้ยินก็ไม่รู้เลยว่าเห็นต้องดับไปก่อน แล้วได้ยินถึงจะเกิดขึ้นได้ ธรรมต้องมีปรากฏให้รู้ได้เพียงทีละหนึ่งเท่านั้น นี่ก็สิ่งซึ่งจะทำให้เราไม่ประมาทในการฟังพระธรรมว่าเราไม่รู้ แล้วเราฟังแล้วเข้าใจน้อยมาก กับการที่ผู้ที่ได้ฟังในครั้งสมัยโน้น ก่อนที่จะถึงพระพุทธเจ้าสมัยนี้ อย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่ได้รับคำพยากรณ์ว่าอีก ๔ อสงไขยแสนกัป จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคตมะ ที่เราใช้คำว่าโคดม ผ่านพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ แล้วเราพบบ้างไม่พบบ้าง ไม่รู้ กี่องค์ก็ไม่รู้ แต่ปัญญาความเข้าใจเป็นเครื่องวัดว่าฟังมากหรือน้อย เข้าใจมากหรือน้อย ถ้าใครคิดว่าไม่ต้องพบเลย แค่ฟังธรรมประเดี๋ยวเดียวก็รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นไปได้อย่างไร ต่อให้ใครจะไปทำอะไรมากมายมหาศาล อยู่ป่าสักร้อยปี นั่งนิ่งๆ สงบบ้าง ๒๐ - ๓๐ ปี ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะอะไร อยู่ที่นั่นแล้วจะรู้หรือ ไม่รู้เลยชีวิตประจำวันทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้ชีวิตประจำวันทั้งหมดเป็นธรรมที่ถูกปกปิด เพราะฉะนั้นถ้าจะเปิดก็เปิดจากธรรม ชีวิตประจำวันนี่แหละ ไม่ใช่ไปเปิดอย่างอื่น เปิดให้ค่อยๆ เข้าใจว่านี่เป็นสิ่งที่เป็นธาตุรู้ แค่นั้นเอง เกิดขึ้นก็มีเห็น ก็รู้ว่าเป็นอย่างนี้ ได้ยินก็รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ได้กลิ่นก็เป็นอย่างโน้น คือมีธาตุรู้ทั้งวัน ทั้งคืน ทั้งเดือน ทั้งปี ขาดไม่ได้เลย อย่างที่ถามว่ากำลังนอนหลับ มีธาตุรู้ไหม ไม่มีอะไรปรากฏ แล้วมีธาตุรู้หรือเปล่า แสดงความลึกลับลึกซึ้งของธรรม ว่าธาตุรู้ถ้าจะปรากฏว่ารู้ก็ต้องอาศัยตา หรือหู หรือจมูกหรือลิ้น หรือกาย หรือใจ ถ้าไม่ได้อาศัยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แม้ธาตุรู้เกิดดับก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้นในขณะที่นอนหลับสนิท ไม่ใช่คนตาย ตายแล้วไม่มีธาตุรู้เลย มีแต่รูปอย่างเดียว แต่ธาตุรู้ระหว่างที่ยังไม่ตาย แม้ไม่มีอะไรปรากฏเลย เช่นขณะที่หลับสนิท ใครจะหยั่งรู้ว่าขณะนั้น จิตเกิดดับสืบต่อดำรงภพชาติ ใช้คำว่าภวังค์ มาจากคำว่า ภว กับ อังคะ คือ องค์ ภวะ ความเป็น ที่ยังมีความเป็นอยู่ ก็เพราะเหตุว่ามีธาตุรู้ ซึ่งกำลังทำกิจดำรงภพชาติเป็นภวังค์ ยังไม่ตาย เพราะว่าเดี๋ยวก็ตื่น มีแล้ว มาแล้ว โลกปรากฏแล้ว แต่ก่อนที่จะตื่นมาเจอโลก หลับสนิท เหมือนตอนเกิดไหม เกิดก็ไม่รู้ อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ เกิดแล้วก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นตอนเกิดเป็น ๑ ขณะ ซึ่งโลกไม่ปรากฏ ขณะที่หลับสนิทโลกไม่ปรากฏ แล้วก็ขณะตายจิตขณะเดียว ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้หมายความว่าทันทีที่ดับ พ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้โดยสิ้นเชิง ไม่เหลืออะไรอีกเลย เพราะว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับแล้ว ดับไปแล้วหมดไปแล้ว
นี่ก็คือความจริงซึ่งเป็นโลก เป็นชีวิตประจำวัน แต่ไม่เข้าใจเลย อยู่ไปวันๆ แต่ว่าความเข้าใจวันนี้มีเท่าไหร่ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเลยก็อยู่ไปวันๆ ด้วยไม่รู้ไปวันๆ ไปเรื่อยๆ ในสังสารวัฏ เราออกไปจากห้องนี้แล้วเราก็มากลับมาที่นี่ แล้วเดี๋ยวก็ออกไป หยุดยั้งอะไรได้ หยุดยั้งอะไรไม่ได้เลยสักอย่างเดียว เพราะไม่มีเราที่จะทำอะไร แต่เป็นธรรมทั้งหมด ที่ทำหน้าที่ของธรรมแต่ละอย่าง เช่นในขณะที่หลับสนิท ไม่ให้มีจิตได้ไหม ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา จะหลับแล้วบอกไม่มีจิตนะ ไม่ให้รู้อะไรนะ ก็ไม่ได้ แต่รู้ว่าขณะนั้นจะต้องมี ที่เราใช้คำว่าหลับไม่ฝัน ก็คือจิตขณะนั้นพักผ่อน ไม่ได้ทำการงานทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ไม่ใช่ว่าพักจริงๆ เพราะเกิดดับ ทำกิจการงานดำรงภพชาติ ซึ่งไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่ได้กลิ่น ไม่ใช่ลิ้มรส ไม่ใช่รู้สิ่งที่กำลังกระทบสัมผัสเดี๋ยวนี้ที่อ่อนหรือแข็ง แล้วก็ไม่ใช้กำลังคิดนึก
เพราะฉะนั้นจิต หรือธาตุรู้ จิต เจตสิก เกิดขึ้นทำกิจการงานใช่ไหม ไม่ใช่เรา แต่เป็นจิต เจตสิก ทั้งหมดที่กำลังทำกิจการงาน บางคนอาจจะคิดว่าแล้วจิตเหนื่อยไหม เพราะเราชอบถามใช่ไหม เหนื่อยไหมบ่อยเหลือเกิน น่าจะไปถามจิต ตั้งแสนโกฎกัลป์มาแล้วหนื่อยไหม แต่ว่าจะเหนื่อยได้อย่างไร แค่เกิดแล้วดับ เท่านั้นเอง แค่เกิดมาเท่านั้นไม่ได้ทำกิจหนักหนามหาศาลมากมายอะไรเลย แต่ละหนึ่งจิตก็ทำกิจเฉพาะของตน ของตน เช่น จิตเห็นเดี๋ยวนี้ เกิดมาเห็นแล้วก็ดับ เหนื่อยไหม ดับแล้วแค่เห็น กำลังได้ยินเดี๋ยวนี้ จิตเกิดขึ้นได้ยิน ดับแล้ว เหนื่อยไหม เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจธรรมจริงๆ อะไรเหนื่อย ใช่ไหม ขณะไหนเหนื่อย แต่เหนื่อยมี มาอีกแล้ว ต้องรู้ใช่ไหม ถ้าไม่รู้ก็เป็นเรา ไม่ว่าอะไรทั้งนั้นเลยที่มีจริงๆ ไม่รู้เมื่อไหร่เป็นเราทันที แต่รู้เมื่อไหร่ เริ่มเข้าใจว่าไม่ใช่เรา แต่ก็แสนยาก เพราะว่าแค่ได้ยิน แต่ถ้าจะดับกิเลสได้จริงๆ ต้องตรงกับที่ตรัสไว้ สภาพธรรมขณะนี้เกิดขึ้น แล้วดับไป เมื่อนั้นจะเป็นเราได้อย่างไร ชัดเจนมั่นคงว่าไม่ใช่เรา
แต่เดี๋ยวนี้ถึงพูดอย่างไรสภาพธรรมก็ยังไม่ได้ประจักษ์ที่จะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปจริงๆ ก็ยังคงเป็นการฟังด้วยความเข้าใจ ที่ค่อยๆ มั่นคงขึ้นว่าไม่ใช่เราในขั้นคิด ในขั้นจำ แต่ยังไม่ใช่ขั้นประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้นไม่เหมือนกันใช่ไหม ไม่รู้จักดอกไม้ชนิดนี้เลย เขาบอกว่ารูปร่างเป็นอย่างนี้ สีเป็นอย่างนี้ กลิ่นเป็นอย่างนี้ ก็จำไว้ จนกว่าจะเห็นเมื่อไหร่ ก็ใช่ นี่คือสิ่งที่เราได้ฟังมาแล้ว รู้แล้วว่าเป็นดอกไม้ชนิดนั้น ชนิดนั้น หรือแม้แต่คน เราได้ยินใครพูดถึงใคร ยังไม่เคยรู้จัก ยังไม่เคยเห็นเลย หายสงสัยไหม เป็นไปไม่ได้เลย รูปร่างหน้าตาอย่างไร นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เรายังไม่ได้ประจักษ์แจ้ง จะหมดสงสัยไม่ได้ คิดไปเถอะ ต่อให้จะเป็นภาพวาดภาพถ่ายหรืออย่างไรก็ตาม ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าตัวจริงจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า ยิ่งยุคนี้สมัยนี้ยิ่งหลอกกันง่ายใช่ไหม ทำภาพต่างๆ ได้
เพราะฉะนั้นจะหมดความสงสัย ความยึดถือว่าเป็นเรา ก็ต่อเมื่อสภาพนั้นปรากฏจริงๆ กับปัญญาเท่านั้น ที่ได้อบรมแล้วจากขั้นการฟัง เพราะฉะนั้นทุกคนก็ต้องพิจารณาว่าถ้าไม่มีการฟังเลย จะเข้าใจตรงลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ไหมไม่มีทาง แต่ฟังแล้วปัญญายังไม่พอที่จะถึงเฉพาะเพียงลักษณะหนึ่ง ทีละอย่าง ทีละอย่างได้อย่างไร มีทั้งเห็นด้วย มีทั้งเสียงด้วย แล้วจะเอาอย่างไหนทีละอย่างไปเลือก เป็นตัวตนแล้ว เพราะฉะนั้นตัวตนลึกสุดที่จะประมาณเหนียวแน่น ยากที่จะพ้นไปได้ ถ้าไม่ใช่ความเข้าใจเท่านั้น เพราะฉะนั้นในบรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ปัญญาประเสริฐสุด เพราะสามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมี ซึ่งสภาพธรรมอื่นรู้ไม่ได้
สภาพที่จำ มีใช่ไหม ภาษาบาลีใช้คำว่าสัญญา เป็นธรรมที่มีจริง ก็ต้องเป็น ๑ ใน ๓ ของปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นสัญญาที่จำเป็นอะไร เราเริ่มเป็นความเข้าใจของเราแล้ว จากการที่ไม่ต้องให้เขามาบอกเราให้หมดทุกอย่างเลย แต่ว่าเพียงได้ยินก็สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่มีได้ ถ้าเป็นคนที่ไม่ลืม เพราะฉะนั้นสัญญาไม่ใช่รูป รูปจำอะไรไม่ได้ สัญญาไม่ใช่จิต เพราะจิตเป็นสภาพที่เห็นลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แต่จำลักษณะของสิ่งที่ปรากฏไม่ใช่จิต เป็นเจตสิก ชื่อที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติเรียก ก็คือสัญญาเจตสิก เดี๋ยวนี้มีไหม เกิดกับจิตทุกประเภท ทุกขณะ ไม่เว้นเลย แยกกันไม่ได้ด้วย เพราะว่าเจตสิกจะเกิดกับสภาพธรรมอื่นไม่ได้เลย เกิดได้กับจิตเท่านั้น
เพราะฉะนั้นในหนึ่งขณะที่จิตเกิด มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อย ๗ ประเภท ต่างประเภทก็เกิดพร้อมกัน รู้จักกันหรือเปล่า ต่างประเภทต่างเป็นหนึ่ง แต่เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อย่างเดียวกัน แล้วเป็นนามธรรมด้วย เพราะฉะนั้นเข้ากันได้สนิท ไม่มีทางที่จะแยกออกจากกันได้เลย ถ้าเราคิดถึงแกงชนิดหนึ่ง แกงเผ็ด พริก กะปิ หอม กระเทียม ตะไคร้ มะกรูด อะไรก็แล้วแต่ ตำละเอียดยิบ เกลือน้ำตาลใส่เข้าไป ผสมกับกะทิ หาไม่เจอสักอย่าง ใช่ไหม แต่มีครบทุกอย่าง นั่นคือรูปธรรม แล้วนามธรรมไม่มีรูปร่างเลย แล้วจะเข้ากันสนิทระดับไหน เอาแม่น้ำ ๕ สาย ๖ สายอะไรก็ได้ มาใส่รวมกันแยกออกได้ไหมว่า ไหนมาจากแม่น้ำสายไหน รวมกันแล้วอยู่ตรงนั้นทั้งหมด เพราะฉะนั้นจิต เจตสิก ขณะนี้ก็เช่นเดียวกัน ธาตุรู้เกิดขึ้นพร้อมกัน ทำหน้าที่ของตนๆ จิตก็ทำหน้าที่ของจิต เจตสิกแต่ละหนึ่งก็ทำหน้าที่ของเจตสิกแต่ละหนึ่ง จึงไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นก็เดี๋ยวก็ลืมใช่ไหม เพราะฉะนั้นจึงอาศัยการฟังบ่อยๆ พอเข้าใจแล้ว ถึงฟังอีกก็เข้าใจ แต่ถ้าเป็นคนที่เพิ่งเริ่มฟัง จะเห็นได้เลยว่าเพิ่งเริ่มเข้าใจ แล้วก็ลืม เพราะฉะนั้นถ้าไม่ฟังอีก ลืมแน่นอนเลยใช่ไหม แต่ความเข้าใจแม้สักเล็กน้อยก็ยังอยู่ ถ้าเป็นความเข้าใจจริงๆ ว่าสิ่งที่มีจริงนี่แหละ ภาษาไทยใช้คำว่าสิ่งที่มีจริง ก็หมายความถึงสิ่งที่มีจริง ใช้คำว่าธรรมคำเดียว แทนคำยาวๆ ก็ได้ใช่ไหม เพราะว่าทุกอย่างแต่ละหนึ่งก็เป็นธรรมะทั้งหมด เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ไม่ลืม ก็คือเป็นธรรม แต่ลืมรับรองได้ว่าลืม เพราะว่าความเข้าใจยังไม่พอ แต่ถามว่าเข้าใจไหม บอกว่าเข้าใจ จำได้ รู้ด้วย แต่ไม่ได้นึกถึง นึกถึงดอกกุหลาบ แทนที่จะเป็นธรรมแค่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้
เพราะฉะนั้นจากดอกไม้ จากอาหาร จากทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏให้เห็น ถึงขณะที่เพียงเป็นสิ่งที่ปรากฏเท่านั้นเอง คิดว่าต้องนานเท่าไหร่ ระดับไหน ปัญญาขั้นนั้นยังไม่ใช่วิปัสสนา ยังไม่ใช่ปัญญาที่เห็นแจ้ง วิ คือ ชัดเจน ประจักษ์แจ้งในลักษณะที่เป็นจริงอย่างนั้น ตามที่ได้ฟัง ตรงกันทั้งหมด ไม่ตรงไม่ได้เลย กล่าวถึงสิ่งใดก็คือต้องเป็นสิ่งนั้นที่สามารถที่จะเข้าใจในสิ่งซึ่งเดิมไม่เคยเข้าใจเลย และความเข้าใจก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น จากสิ่งที่มีตามปกติทุกวัน ค่อยๆ รู้ขึ้น รู้ขึ้น รู้ขึ้น
เพราะฉะนั้นธรรมต้องเป็นชีวิตประจำวัน เพราะว่าชีวิตประจำวันเป็นธรรม มิเช่นนั้นจะกล่าวว่ารู้จักธรรมไม่ได้เลย ไม่เห็นยากเลย ใช่ไหม ขั้นฟัง ใช่ไหม ขั้นฟังไม่ยากเลย ฟังดีๆ แล้วก็เข้าใจทุกคำที่ได้ยิน จะไม่เข้าใจได้อย่างไร ใช่ไหม ถ้าฟังดีๆ และเข้าใจแต่ละคำที่ได้ฟัง ก็ต้องเข้าใจ แต่เพราะเหตุว่าการฟังของเราเป็นอีกแบบหนึ่ง เราสะสมความเห็นอื่นไว้มาก ความคิดของเราเองก็มากมาย และยังผสมกับของคนอื่นอีก แต่ละคนอีก ทับถมเข้าไป ศาสตร์นั้น วิชานี้ ปรัชญา จิตวิทยา อะไรก็แล้วแต่ผสมกันไปหมดเลย เพราะฉะนั้นไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาจะให้ความเข้าใจเราได้หรือ ในเมื่อเพียงแค่คิด ทุกคนที่เป็นตำรับตำราทั้งหลาย เจ้าตำหรับตำราทั้งหลาย แค่คิดทั้งนั้นเลย ไม่ใช่ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นจะกล่าวอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ดีแล้วได้หรือ นั่นจากการทรงตรัสรู้ ตรัสรู้หมายความว่าไม่ใช่รู้จากคิด ไม่ใช่รู้จากประเมินเอา ประมาณเอา แต่เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งเปลี่ยนไม่ได้เลย เพราะสิ่งนั้นปรากฏความเป็นจริงของสิ่งนั้น
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าใครจะเขียนตำรามากมาย ใครจะบอกว่าหนังสือเล่มนั้นดีเล่มนี้ดีนะ ไม่มีเวลาอ่าน เพราะว่าแม้แต่คำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ก็ยังไม่มีเวลาพอที่จะอ่าน ที่จะเข้าใจได้ แล้วยังไปอ่านอะไรที่ไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจะให้เข้าใจได้แค่ไหน พูดไปก็ไม่เห็นบอกเลยว่า จิตใต้สำนึกไหน สำนึกอยู่ตรงไหน แล้วอยู่ใต้ตรงไหน ไหนจิตใต้สำนึก ลองยกมาเดี๋ยวนี้มีหรือเปล่า ก็ไม่มีความชัดเจน แต่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ละคำชัดเจน ละเอียด ลึกซึ้ง ธาตุรู้มีแน่นอน กล่าวถึงธาตุรู้ ธาตุรู้มี ๒ อย่าง ธาตุหนึ่งเป็นธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ คือรู้แจ้งอารมณ์ ต้องไม่ลืมคำนี้ อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ เดี๋ยวนี้อะไรปรากฏ หมายความจิตต้องรู้สิ่งนั้น รู้แจ้งไหม ไม่แจ้งจะรู้ได้อย่างไรว่านี่ดอก นั่นใบ นั่นกิ่ง นั่นก้าน แม้แต่รสต่างๆ ก็รู้แจ้งใช่ไหม รสหวานไม่ใช่รสเค็ม รสเปรี้ยว เปรี้ยวแค่ไหน จืดแค่ไหนก็รู้หมด
เพราะฉะนั้นจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งเท่านั้น แต่ประกอบด้วยเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน ทำหน้าที่ของตนๆ เช่นสัญญาเจตสิต สภาพจำ รสหวานจำได้ไหม ไม่ได้ปนกับรสขม ใช่ไหม พอพูดถึงรสหวาน ก็นึกออกเลยว่ารสอะไร เพราะฉะนั้นแต่ละเสียง เป็นไปตามความหมายของสิ่งที่มีจริง เมื่อเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำ เสียงแต่ละเสียง แสดงความจริงของสภาพธรรม ทุกเสียงเป็นไปตามความหมาย ถึงแม้แต่เราเองยังไม่ได้ศึกษาธรรม พอบอกว่าไป เรานั่งหรือเปล่า เราก็ไม่นั่งใช่ไหม ก็บอกว่าไป บอกว่ายืน แล้วนอนหรือเปล่า เราก็ไม่นอน เพราะว่าบอกว่ายืน อย่างนี้คือทุกเสียงเป็นไปตามความหมายของเสียงนั้นๆ นี้ก็แสดงให้เห็นว่าทำไมเราพูดกันคนละภาษาต่างกัน แต่ละเสียงก็เป็นไปตามความหมายของแต่ละภาษา
ด้วยเหตุนี้ ธรรมที่จะมีโอกาสได้ฟังอีกในชาตินี้ เป็นประโยชน์ไหม จากการที่เราไม่เคยฟังมาก่อนเลย แล้วก็ได้ฟังว่านี่แหละชีวิตจริงๆ ของเราทุกวันนี้แหละ ไม่ได้บอกเรื่องอื่นเลย ไม่ได้บอกให้เราต้องเดินทางไปค้นหาที่ไหนแสนไกล กำลังเผชิญหน้าแต่ไม่รู้ ความไม่รู้หนาแน่นระดับไหน กำลังเผชิญหน้ากับทุกอย่างกับสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น กับเสียง กับกลิ่น กับรส กับแข็ง กับคิด เผชิญหน้ากับทุกอย่างโดยไม่รู้ความจริง ถูกลวง ถูกหลอก ด้วยการเกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ เสมือนว่าสิ่งนั้นยังอยู่ ที่ภาษาธรรมใช้คำว่าเที่ยง มั่นคงไม่แตกสลาย แต่ความจริงทุกอย่างที่เกิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใครไม่เคยได้ยิน ใครไม่เคยพูด แต่เข้าใจแค่ไหน ทุกขัง ทุกขณะ หมายความถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่มีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา เป็นสิ่งที่ควรพอใจไหม ไม่มี แค่เกิดมาจากไม่มี แล้วมี แล้วหามีไม่ นี่ภาษาธรรม จากไม่มี แล้วก็มี แล้วก็หามีไม่ ไม่เหลือเลย ยังพอใจอยู่ได้อย่างไร ในเมื่อไม่มี เห็นความไม่รู้ ว่าแค่ไหน ไม่มีเลย แต่มีสภาพธรรมที่เกิดสืบต่อทันทีเหมือนเดิม แต่ความจริงไม่ใช่อันเก่าเลย แต่ละหนึ่งเปลี่ยนอย่างเร็วสุดที่จะประมาณได้ ลวงตลอดเวลา เพราะไม่รู้ ก็ยังคงเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เป็นนิจจัง สุขขัง อัตตา เดี๋ยวนี้แหละ คือถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมก็จะเป็นอย่างนี้ไป แล้วก็เพิ่มขึ้นมากขึ้น ยากแก่การที่จะไถ่ถอน
เพราะฉะนั้นฟังธรรมเพื่ออะไร เพื่อเข้าใจ แต่ไม่ใช่เพื่อไปเป็นพระโสดาบันโดยไม่รู้อะไรเลย ไม่เข้าใจอะไรเลย ใช่ไหม ต่างกันลิบลับเลย สุดที่จะประมาณได้ระหว่างรู้กับไม่รู้ เข้าใจกับไม่เข้าใจ ติดข้อง และ ละ ถ้าไม่รู้ ติดข้องหมดเลย ทุกอย่างน่าพอใจทั้งนั้น เพราะดูเหมือนยั่งยืน ดอกไม้ก็สวย อาหารก็อร่อย ทุกสิ่งทุกอย่าง อากาศก็ดี ใช้คำอย่างนี้แล้วไม่ติดมีหรือ ติดข้องแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นตรงกันข้ามกับความเป็นจริงซึ่งอนิจจัง ไม่มีแล้วก็หลอก คือเกิดมาเหมือนกับว่าฉันมี ยังอยู่ แต่ความจริงเกิดมาให้เห็นนิดหนึ่งแล้วก็หมด แล้วได้ยินนิดหนึ่งก็หมด ทุกอย่างแสนสั้นแล้วก็หมดไป เพราะฉะนั้นกว่าปัญญาจะถึงระดับที่เราติดข้องในสิ่งที่ไม่มี รู้หรือยังในสิ่งที่หมดไปแล้วไม่เหลือเลย รู้หรือยัง แล้วก็มีสิ่งใหม่เกิดขึ้นให้ติดข้องต่อไป ก็เลยลืมว่าอันเก่าไม่เหลือ เหมือนกับมีอันใหม่ซึ่งทำให้เราติดข้องต่อไปอยู่เรื่อยๆ นี่คือสังสารวัฏ แล้วจะทำอย่างไร บางคนอาจจะถาม ทำได้หรือ ก็เข้าใจไหมว่าความจริงเป็นอย่างนี้ ความเข้าใจนั่นต่างหากที่จะทำหน้าที่ละ เพราะว่าปัญญาละ เพราะรู้ ความติดข้องคือโลภะ ติดข้องเพราะไม่รู้ ฟังเดี๋ยวก็ลืมแน่นอน ของธรรมดา แต่เข้าใจไม่ลืม ถ้าเข้าใจแล้วไม่ลืม ถ้าไม่เข้าใจ อารมณ์คืออะไร ปรมัตถธรรมคืออะไร จิตคืออะไร กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อัพยากตา ธัมมา คืออะไร นั่นคือไม่เข้าใจ แต่ถ้าเข้าใจแล้ว ได้ยินเมื่อไหร่ก็รู้ทันทีกำลังพูดถึงสิ่งที่มีขณะนั้น ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหนเลย ไม่ต้องไปเดือดร้อนหาเงินซื้อใช่ไหม ไม่ต้องซื้อก็มี อยากได้ไหม ไม่อยากได้ก็ได้ เอาไหม เอาเพราะไม่รู้
เพราะฉะนั้นเรื่องละ เป็นเรื่องยาก แต่เป็นเรื่องเบาสบาย เพราะเหตุว่าทุกข์เพราะติดข้อง อันนี้แน่นอนที่สุด ลองคิดดู ถ้าไม่ติดข้อง เราจะทุกข์ไหม ทุกข์ไม่มี แต่พอติดข้องทุกข์มาแล้ว แสวงหาแล้ว มีใครไม่แสวงหาบ้าง ไม่มี แสวงหาอะไร หาสิ่งที่พอใจ ได้มาไหม ได้ ลาภะมาแล้ว ติดข้องพอใจในสิ่งที่ได้ ไม่พ้นเลย ตั้งแต่เพียงเห็นก็พอใจ รูปฉันทะ ทำให้มีความเร่าร้อน ภาษาบาลีจะใช้คำ รูปฬาหะ ไม่รู้สึกร้อนเลยหรืออย่างไร แต่ว่าความจริงถ้าไม่มี ไม่ต้องติด ไม่ต้องหา ไม่ต้องเดือดร้อน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1021
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1022
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1023
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1024
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1025
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1026
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1027
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1028
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1029
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1030
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1031
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1032
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1033
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1034
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1035
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1036
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1037
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1038
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1039
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1040
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1041
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1042
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1043
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1044
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1045
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1046
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1047
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1048
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1049
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1050
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1051
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1052
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1053
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1054
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1055
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1056
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1057
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1058
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1059
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1060
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1061
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1062
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1063
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1064
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1065
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1066
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1067
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1068
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1069
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1070
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1071
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1072
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1073
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1074
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1075
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1076
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1077
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1078
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1079
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1080