ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1061
ตอนที่ ๑๐๖๑
สนทนาธรรม ที่ บริษัทสยามแฮนด์ส จ.นครปฐม
วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ แสดงให้เห็นว่า จะไม่โกรธเป็นไปไม่ได้ เพราะโกรธเกิดแล้ว แต่สามารถเข้าใจโกรธได้ ตรงตามที่ได้ฟังว่า เป็นสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา เป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตา และก็เกิดขึ้น โดยที่ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ ทำไมเราเห็นบางคนดีมากเลย บางคนก็ร้ายมาก อยากจะเป็นอย่างไร
อ.วิชัย อยากจะเป็นคนดี
ท่านอาจารย์ อยากจะเป็นคนดี แล้วทำไมโกรธ
อ.วิชัย ก็เกิดแล้ว
ท่านอาจารย์ บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะไม่โกรธ ก็ต่อเมื่อรู้ว่า ไม่ใช่เรา แล้วจะโกรธทำไม ใช่ไหม อย่างนี้ คิดว่าเป็นคุณวิชัยนั่งอยู่ที่นี่ แต่ถ้าไม่มีสิ่งที่กระทบตา อย่างเร็วมาก เกิดดับสืบต่อ จะไม่ปรากฏเป็นรูปร่าง สัณฐานต่างๆ ที่จะให้จำได้ เพราะคิ้ว ตา จมูก ปาก กว่าจะมารู้ว่าเป็นใคร แต่ละหนึ่ง คนที่นี่ความเกิดดับของจิตเร็วแค่ไหนประมาณไม่ได้เลย
นี่คือลวงให้เห็นว่า ยังไม่ดับไปเลย เป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใดถูกลวงมาอย่างนี้ นานแสนนานจนกว่า จะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อไหร่เริ่มรู้ว่า ผู้นี้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถจะทำให้ปัญญาความรู้เกิดขึ้น จากการไม่เคยรู้เลย และความรู้นี้จะเจริญขึ้นอีก ถ้าเราฟังต่อไปอีก เราจะรู้ว่าคำของพระองค์ เป็นความจริง ซึ่งทำให้เรา พ้นจากความไม่รู้ ตามลำดับขั้น จนกระทั่ง สามารถที่จะเห็นความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยเหตุนี้ ไม่ใช่ไปหาวิธีให้ไม่โกรธ ใครไปหาวิธีให้ไม่โกรธ แล้วมีใครบอกวิธีให้ไม่โกรธ คนนั้นผิด ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเขาไม่ได้ให้ผู้นั้นเกิดปัญญาของตนเอง ที่จะทำให้ค่อยๆ ละความโกรธ ละอกุศลทั้งหลายได้
เพราะฉะนั้น เห็นความต่างกัน ของหนังสือเล่มต่างๆ ของคนพูดอย่างนั้นอย่างนี้ต่างๆ ให้ปฏิบัติอย่างนั้น ให้ทำอย่างนี้ เพื่อที่จะได้ไม่โกรธ เป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อถึงอย่างไร รู้จักโกรธหรือไม่ว่าไม่ใช่ต้องไปโกรธรุนแรงมากมายแค่ขุ่นใจนิดเดียว ก็เป็นธรรมที่มีจริงประเภทหนึ่ง ใช้คำว่า โทสะเจตสิก
ตอนนี้เรามาถึงอีกคำหนึ่งแล้วใช่ไหม เมื่อครู่นี้เรามีคำว่า จิต เพราะกว่าจะรู้จักจิต เราก็ต้องฟังเสียก่อน ตอนต้นๆ อาจจะเบื่อมากเลย กว่าจะนำมาสู่การที่ว่า ก็กำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริงนี่เอง แต่เพราะเคยไม่รู้มานานแสนนาน กว่าจะเข้าใจได้ แต่ละคำ แต่ละคำ ยาก เช่นเห็นอย่างนี้ ธาตุรู้ที่กำลังรู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น คืออะไร เห็นไหม นี่ คือ ธาตุเห็น หลับตาไม่มี ลืมตามี ใครบังคับบัญชาได้ ถ้าหลับตาแล้วตาบอด ลืมตาอีกครั้ง ก็ไม่มีแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ซึ่งแสดงความเป็นอนัตตา ทุกขณะแต่ไม่รู้
เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรม ก็เพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นเป็นปัญญาของตนเอง เรารู้คำว่าจิต ธาตุรู้ สภาพรู้ มี ใช่ไหม เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง คิดบ้าง แต่ว่าต้องไม่ลืม สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะเกิดขึ้น ต้องอาศัยปัจจัย คือ สภาพธรรมที่เกื้อกูล อุปการะให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นพร้อมกันก็ได้ แสดงว่า เมื่อเราพูดถึงอย่างหนึ่ง เราไม่รู้อีกหลายๆ อย่าง ซึ่งมีอยู่ในที่นั้น ซึ่งเป็นปัจจัยให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น ขณะนี้เราพูดถึงจิต เห็น เป็นจิต แต่เห็นแล้วชอบ หรือไม่ชอบ หรือ ไม่ชอบ ไม่ใช่จิต เห็นก็เห็น แต่ชอบเป็นอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นธาตุรู้ด้วยกัน แตกต่างกัน ก็คือธาตุหนึ่ง คือ จิต เป็นสภาพรู้ ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ
ได้ยินเสียง เสียง คน หลากหลายมาก ไม่เหมือนกันเลย แค่ไม่เห็นหน้า ได้ยินเสียงทางโทรศัพท์ ก็ยังรู้เลยว่าเสียงใครใช่หรือไม่ นี่ก็แสดงความหลากหลายของเสียง แต่ละคน ลองพูดออกมา คนละเสียงหมด นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ต้องมีปัจจัยที่จะทำให้เสียงหลากหลาย ต่างกันไปด้วย
เพราะฉะนั้น จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้ง จึงรู้ความหลากหลายของสิ่งที่ปรากฏ เพราะว่ารู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏ เพชรแท้ เพชรเทียม คนไม่รู้ ก็มี ใช่หรือไม่ แต่คนที่รู้ เห็นจากสิ่งที่ปรากฏ เขาสามารถที่จะรู้ได้ว่า อันไหนแท้ อันไหนเทียม เพราะฉะนั้น จิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ หน้าทีเดียวของจิต ไม่ทำอะไรอย่างอื่นเลยทั้งสิ้น เห็นนี้คือ จิตกำลังเห็น ได้ยิน คือ จิตกำลังได้ยิน ได้กลิ่น กลิ่นมีแต่หลายกลิ่น ไม่เห็นกลิ่นใช่ไหม ขณะใดที่กลิ่นปรากฏ ก็มีธาตุรู้ ซึ่งเป็นจิตเกิดขึ้น รู้กลิ่นในขณะนั้น
เพราะฉะนั้น แม้คำว่าจิต เราคุ้นเคย แต่ธาตุรู้เราไม่คุ้นเคย เห็นไหม ความยากคือว่า ให้เข้าใจว่าจิตเป็นธาตุรู้ ยากแค่ไหน คำว่า จิตง่ายๆ เห็นก็เป็นจิต ได้ยินก็เป็นจิต ได้กลิ่นก็เป็นจิต ลิ้มรสก็เป็นจิต แต่จิตเป็นธาตุรู้ ไม่ใช่เรา คำว่าเป็นธาตุ ก็บ่งแล้วว่าไม่ใช่ใครทั้งสิ้น เป็นลักษณะของสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น ทุกคำเนี่ย ประกอบกันทั้งหมด เกื้อกูลกันทั้งหมด เมื่อมีความเข้าใจแล้ว ไม่ต้องท่องเลย แต่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้ยินแต่ละคำเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง จิตเกิดตามลำพังไม่ได้เลย และสภาพธรรมซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ เรียกว่า เจตสิก คนไทยก็เรียกสั้นๆ ว่าเจตสิก ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาใดๆ ทั้งสิ้น คำสอนของศาสนาใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีคำนี้ คือ ไม่มีคำว่า เจตสิก ได้แต่คิดว่า สิ่งนั้นเกิดแล้ว ก็จะต้องปฏิบัติอย่างไร ทำอย่างไร แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า จิตหลากหลาย เพราะ เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตโดยฐานะที่ว่าจิตแค่เป็นใหญ่ เกิดเมื่อไหร่ ก็รู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ แต่เจตสิกในขณะที่เกิดกับจิตและหลากหลายมากทำให้จิตต่างกัน เป็นประเภทต่างๆ ถึง ๘๙ ประเภท ถ้าโดยกว้างขว้าง ละเอียดขึ้น โดยพิเศษก็คือ ๑๒๑ ประเภท ทั้งหมดอยู่ที่ไหน กำลังนั่งอยู่นี่ ทั้งนั้นเลย จิตทุกขณะ ไม่มีใครรู้เลยว่า เป็นประเภทไหนแต่ความจริงก็คือ จิตต่างประเภทกัน เช่น จิตเห็น ได้ยินไม่ได้เลย จิตเกิดขึ้นเห็น และดับ จิตได้ยินเกิดขึ้นได้ยิน และดับ จิตคิดเกิดขึ้นคิด และดับ เพราะฉะนั้น แต่ละหนึ่งขณะนี้ไม่ใช่ขณะเดียวกันทั้งสิ้น และเป็นจิตที่หลากหลายประเภทด้วย
อ.ธิดารัตน์ กล่าวถึงเจตสิก นอกจากความโกรธ ความชอบ ไม่ชอบ เหล่านี้ ยังมีความรู้สึก เช่น ทุกข์กาย หรือว่า เจ็บ เจ็บ เป็นเจตสิก ซึ่งเป็นความรู้สึกเจ็บ ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ ก็เป็นความรู้สึก เป็นเจตสิกที่ไม่ใช่จิต ดีใจก็เป็นความรู้สึกดีใจ
เพราะฉะนั้น ธรรมที่เกิดขึ้น ถ้าไม่มีการศึกษาอย่างละเอียด ก็จะเป็น เราเจ็บ เราดีใจ เราเสียใจ ก็เป็นตัวเราหมดเลย แต่จริงๆ แล้วเป็นธรรม ซึ่งเป็นความรู้สึกต่างๆ เฉยๆ ก็เป็นความรู้สึก ความรู้สึกเฉยๆ เพราะว่าจิต เป็นสภาพรู้อย่างเดียว แต่ถ้าเป็นความรู้สึก เป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จิตเป็นธรรม เกิดเพราะเหตุปัจจัย และปัจจัยที่ทำให้จิตเกิดก็คือเจตสิก เห็นหรือไม่ ก็ชัดเจนว่า แต่ละคำที่เราได้ยิน และเราเข้าใจว่าจิตเกิด โดยไม่มีเจตสิกไม่ได้เลย เพราะเหตุว่า เจตสิกก็เป็นธาตุรู้ จิตก็เป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ที่เข้ากันได้สนิท อาศัยกันและกันเกิดขึ้น คือ ถ้าไม่มีเจตสิก จิตก็เกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีจิต เจตสิกก็เกิดไม่ได้ ยืนยันการที่สิ่งหนึ่ง สิ่งใดเกิดขึ้น ต้องมีปัจจัย ที่อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น
ทุกคำในพระไตรปิฎก สอดคล้องกันหมด เพระเหตุว่า เป็นความจริงถึงที่สุด ด้วยเหตุนี้ แล้ววันนี้จะรู้ได้อย่างไร ว่าเมื่อไหร่เป็นจิต เมื่อไรเป็นเจตสิก ถ้าขณะนั้นไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่ได้กลิ่น ไม่ใช่ลิ้มรส ไม่ใช่กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสตรงๆ กำลัง กระทบแข็ง ขณะนั้นแข็งปรากฏ เพราะจิตรู้แข็ง ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ให้รู้ว่ามีคน มีสัตว์ เพราะมีสิ่งนั้นที่ กระทบตา
เพราะฉะนั้น เห็นเป็นจิต แต่อย่างอื่นทั้งหมดต่างจากเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแล้ว เป็นเจตสิกทั้งหมด เพราะฉะนั้น เราก็รู้ว่าที่ว่าเป็นเรา ก็คือจิต และเจตสิก นั่นเอง ใช่หรือไม่ ที่ว่าใจของเรา เราบอกว่าคนนั้นใจดี ก็จิต เจตสิก จิตเป็นสภาพรู้ประกอบด้วยเจตสิกที่ดีขณะนั้นเป็นกุศลจิต ถ้าขณะนั้นเป็นเจตสิกที่ไม่ดี ขณะนั้นเกิดกับจิต จิตนั้นก็เป็นอกุศลจิต คือ จิตที่ไม่ดี ไม่มีเราเลย อนัตตา ตรงไหม กับคำที่ได้ตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาทุกคำ ต้องสอดคล้องกันหมด เพราะว่าเป็นสิ่งซึ่งเปลี่ยนไม่ได้จากการที่ทรงตรัสรู้ถึงที่สุด
วันนี้ก็มีคำว่า ธรรม ใช่ไหม มีคำว่าจิต เจตสิก และธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา มีใครจะค้านบ้างไหม ไม่จริง ไม่ใช่ ไม่เชื่อ มีไหม แสดงความคิดเห็นได้ ความคิดเห็น มีจริงไหม มีจริง เป็นธรรม หรือไม่ เป็น มีความเห็นถูก และความเห็นผิด เพราะเหตุว่า จิต คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้นกาย มีไว้ทำไม มีตาสำหรับให้จิตเห็นเกิดขึ้น ถ้าไม่มีตา จิตเห็นก็เกิดไม่ได้ มีหูไว้ทำไม ก็เพื่อจิตได้ยิน จะเกิดขึ้นได้ยินเสียง มีจมูกไว้ทำไม ก็เพื่อจิตเกิดขึ้นได้กลิ่น มีลิ้นไว้ทำไม ก็เพื่อจิตเกิดขึ้นลิ้มรส เพราะฉะนั้น อร่อยขณะนั้น จิตกำลังลิ้มรสที่ชอบ ก็บอกว่าอร่อย ไม่ใช่เรา ทุกคำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้าน้อมไปสู่ความเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ก็สอดคล้องกันหมด ไม่ว่าจะได้ยินคำว่าอะไร
ด้วยเหตุนี้ ตอบได้ เมื่อครู่นี้ ความเห็นมีใช่ไหม คนโน้นเห็นอย่างนี้ ที่ว่าเห็นต่างกันไม่ใช่ว่าความเห็นไม่มี เพราะฉะนั้น ความเห็นเป็นอะไร ความเห็นมีจริง เห็นถูกเป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ความเห็น เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง ถ้าเป็นทางฝ่ายอกุศล เป็นมิจฉาทิฎฐิ ความเห็นในทางภาษาบาลีใช้คำว่า " ทิฏฐิ " เป็นคำกลางๆ แค่เห็นผิดก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเห็นถูกก็เป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เจตสิกอะไร ถ้าเห็นผิด เป็นเจตสิกอะไร
อ.วิชัย เป็นทิฏฐิ ความเห็นผิด
ท่านอาจารย์ ความเห็นผิดใช้คำว่าทิฏฐิ แต่หมายความถึง มิจฉา เพราะฉะนั้น เห็นถูกจะใช้คำว่ามิจฉาไม่ได้ ต้องใช้คำว่าสัมมา เพราะฉะนั้น สัมมาทิฎฐิ ก็คือ ปัญญาเจตสิก เห็นไหม เราเริ่มมีการรู้ว่าที่เรากล่าวว่า ปัญญา ปัญญาคืออะไร ปัญญาก็คือความเห็นที่ถูกต้อง ไม่เห็นผิดถ้าเห็นผิด จะเป็นปัญญาได้อย่างไร แต่ห้ามไม่ให้เห็นผิดก็ไม่ได้ เพราะเห็นผิดมีจริง เพราะฉะนั้น ความเห็นผิด เกิดขึ้นเป็นอกุศล เป็นอกุศลเจตสิก ใช้คำว่า ทิฏฐิเจตสิก แต่ต้องหมายความถึงอกุศล
ขณะนี้สบายหรือไม่ ไม่ได้ถามถึงคนอื่น ถามถึงทุกคน ที่กำลังนั่งอยู่ตรงนี้ สบายไหม สบายมีจริงเห็นไหม ถ้าตอบก็สบาย ก็หมายความสบายต้องมีจริง ไม่มีจริง จะตอบได้อย่างไรว่าสบาย เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เกิดจนตาย เราพูดคำที่เราไม่รู้จักเลย ว่า คืออะไร จนกว่าจะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สบายไหม มี สบายมีจริงๆ เป็นจิตหรือเป็นเจตสิก เป็นเจตสิก ภาษาบาลีใช้คำว่า เวทนาเจตสิก คนไทยเราพูด น่าเวทนา รู้สึกว่าน่าสงสารเหลือเกิน แต่ความจริงไม่ใช่ เราใช้คำภาษาบาลีไม่ครบ และไม่ตรง แล้วแต่ว่าเราอยากจะใช้ในความหมายอะไรเราก็ใช้ตามๆ กันมา แต่ความหมายจริงๆ ของเวทนาซึ่งออกเสียงว่า เว-ทะ-นา ไม่ใช่ เวด -ทะ-นา เวทนาเจตสิก เป็นสภาพรู้สึก บางครั้งรู้สึกเฉยๆ บางครั้งรู้สึกดีใจ บางครั้งรู้สึกเสียใจ เห็นไหม ไม่ใช่เราเลย แต่มีจริงๆ เป็นธรรม แล้วก็ไม่ใช่จิต แต่เป็นเจตสิก บางครั้งก็รู้สึกทุกข์กาย เจ็บตรงนั้น เมื่อยตรงนี้ คันตรงโน้น และบางครั้งก็รู้สึกสบายกาย อากาศร้อนๆ อาบน้ำใหม่ๆ ก็รู้สึกสบาย ความรู้สึกสบาย ก็เป็นธรรม ต้องไม่ลืมว่า ทุกอย่างเป็นธรรม เริ่มรู้จักว่าที่ว่าเป็นเราก็คือ ธรรมทั้งหมด
เพราะฉะนั้น รูปธรรมคือสิ่งที่ไม่รู้อะไรเลย เป็นเวทนาได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ สภาพรู้ทั้งหมดซึ่งไม่ใช่รูปธรรม หลากหลาย แต่ก็เป็นจิตและเจตสิก เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท จำมีจริงหรือไม่ เป็นธรรมหรือไม่ เราเริ่มทบทวนสิ่งที่เราได้ฟัง ไม่งั้นก็ไม่มีการคิด และก็จำแค่ จำ จำ จำ ก็ไม่มีประโยชน์เท่ากับความเข้าใจ แต่ว่าชีวิตจริงๆ ทั้งหมด เมื่อไหร่ เมื่อพูดถึงธรรม เข้าใจได้ทันทีเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น เวลานี้ จำมีแน่นอน นี่คุณวิชัย คุณวิชัยพูดว่าอะไร จำแล้ว ใช่ไหม เมื่อครู่นี้ พูดเรื่องอะไร พูดเรื่อง ความรู้สึกเวทนา ทุกคนได้ยินคำว่าเวทนาจำได้ เพราะฉะนั้น สภาพจำมีจริงแน่นอน แต่ไม่ใช่เรา เป็นสภาพรู้ เพราะเหตุว่าสามารถจำได้ ด้วยเหตุนี้ สภาพจำ ภาษาบาลี ใช้คำว่า สัญญาเจตสิก สภาพจำไม่ใช่เราเลย กำลังจะให้รู้ว่าทั้งหมด เป็นธรรมตรงกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรม ทั้งหลาย ก็ต้องทั้งหลาย ไม่ได้ว่าคนนั้น คนนี้ ชาตินั้น ชาตินี้เลย แต่พูดถึงตัวธรรม ว่าธรรมทั้งหลาย เราก็ต้องเข้าใจในธรรมสภาพที่มีจริงที่เป็นแต่ละหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ใครทั้งสิ้น มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สภาพใดก็ตามที่เกิดดับ ไม่เที่ยง รูปเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่เร็วมากจนกระทั่ง เหมือนกับว่าไม่ดับเลยรวมกันเป็นสิ่งใดให้เข้าใจว่าเป็นคนบ้าง เป็นดอกไม้บ้าง เป็นโต๊ะบ้าง แต่ว่าความจริง ก็คือสภาพที่ไม่รู้อะไรทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะกล่าวถึงเสียง กลิ่นพวกนี้ไม่ใช่สภาพรู้ เกิดดับ หนึ่งแล้ว เรากล่าวถึงรูป และเรากล่าวถึงความรู้สึก สิ่งที่เป็นรูปนี้ นำมาซึ่งความรู้สึก ชอบหรือไม่ชอบ แสวงหาอย่างยิ่ง แสวงหาสิ่งซึ่งน่าพอใจ ที่จะทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นสุข ใช่หรือไม่ ตั้งแต่เกิดมา ทุกคนแสวงหาความรู้สึก ซึ่งความรู้สึกก็เพียงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้น เราพูดถึงรูป พูดถึงเวทนา ความรู้สึก พูดถึงสัญญาสภาพจำว่ามีจริงๆ รู้ไหมว่า เรากำลังพูดเรื่อง ขันธ์ ๕ ที่ชินหู แต่ไม่มีใครมาแจกแยกให้เข้าใจได้ว่า ขันธ์ ๕ แท้ที่จริงหมายความถึงอะไร เขาบอกว่าขันธ์ ๕ เราขันธ์ ๕ ด้วยไม่ได้ เพราะเดี๋ยวนี้ เป็นขันธ์ ๕ แต่ละหนึ่ง ซึ่งแยกเป็น รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เพราะคำว่า ขันธ์ หมายความถึงสิ่งใดก็ตามซึ่งเกิดแล้วดับ จึงเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต ไกล ใกล้ หยาบ ละเอียด เป็นต้น ภายใน ภายนอก ก็คือว่า ชีวิตประจำวันทั้งหมด ทำไมทรงแสดงละเอียด ๔๕ พรรษา โดยนัยประการต่างๆ ทั้งๆ ที่เรื่องรูป ทรงแสดงไว้มาก ความรู้สึกก็แสดงไว้มาก ความจำก็แสดงไว้มาก โดยนัยต่างๆ เพราะว่า กว่าจะละความยึดถือว่าเป็นเรา ไม่ง่าย ไม่สามารถที่ละได้ เพียงเขาบอก แต่ต้องเป็นความตรง ความจริงใจว่าเราเข้าใจจริงๆ หรือไม่ ถ้ายังไม่เข้าใจ อย่าไปคิดว่าใครสามารถจะทำให้เราละกิเลส และดับกิเลสได้
ด้วยเหตุนี้ ขันธ์ คือ สิ่งที่มีจริง ซึ่งเกิดดับ รูปก็มีจริง เกิดดับ รูปจึงเป็นรูปขันธ์ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ที่ตัวมีไหม รูปขันธ์ สภาพที่ไม่รู้สึกเลย เวลาที่กระทบแข็ง แข็งไม่รู้สึก แต่ความรู้สึกเจ็บ ถ้ามีใครตีแรงๆ ความรู้สึกเจ็บ ไม่ใช่แข็ง แต่การกระทบกันอย่างแรงของแข็ง ๒อย่าง ทำให้เกิดความรู้สึก ซึ่งเป็นเวทนา เป็นเจตสิกเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น รูปธรรม และนามธรรม เรามี ขณะนี้อาศัยกัน และกันเกิดขึ้นละเอียดมาก พูดอย่างไรก็ไม่จบ ตลอดชีวิต ก็ไม่จบ กี่ชาติ ก็ไม่จบ จนกว่าปัญญาจะเพิ่มขึ้น มั่นคงขึ้นจนสามารถที่จะถึงปฏิปัตติ สภาพที่เป็นปัญญาพร้อมสติที่เกิดขึ้นเพราะความเข้าใจ โดยทั่ว โดยปริยัติ โดยรอบรู้ โดยเป็นสัจจะญาณทำให้สติสัมปชัญญะ เกิดได้ และรู้เฉพาะสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ ทีละหนึ่ง เพื่อที่จะได้ประจักษ์การเกิดดับด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยการไม่รู้อะไร ขณะนั้นจึงเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งต้องเกิดจากการฟังเข้าใจก่อน
เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรม มีปัญญา ๓ ระดับขั้นปริยัติ เคยได้ยินหรือไม่ ปริยัติเคยได้ยิน ก็ไม่รู้ว่าอะไร แต่ตอนนี้ รู้ละ ทุกคำที่ได้ยิน ต้องเข้าใจ ปริยัติ คือ การฟังพระพุทธพจน์ ไม่ใช่ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง แต่เข้าใจพระพุทธพจน์ โดยรอบรู้ไม่ว่าจะกล่าวโดยนัยใดๆ ก็สามารถที่จะเข้าใจถูก จนเป็นสัจจะญาณ มั่นคง ว่าขณะนี้เดี๋ยวนี้เป็นธรรม เพราะฉะนั้น ปัญญาที่จะรู้ความจริงของเดี๋ยวนี้ สามารถที่จะมีได้โดยเหตุปัจจัยที่ว่า ต้องเข้าใจเสียก่อน จึงใช้คำว่า ปฏิปัตติ ปฏิแปลว่า เฉพาะ ปัตติ แปลว่า ถึง ปัญญาสามารถรู้เฉพาะ สิ่งที่กำลังปรากฏ พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะตามปกติทีละหนึ่ง และประจักษ์ความจริง ของสภาพธรรมเป็นปฏิเวธด้วยปัญญาที่เพิ่มขึ้น
เพราะฉะนั้น ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ควรค่าอย่างยิ่ง ต่อการที่จะรู้ในความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้เราเข้าใจตั้งแต่ต้น ซึ่งไม่เคยเข้าใจเลย จนกระทั่ง สามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย โดยในสมัยพุทธกาล ก็มีการฟัง เป็นการศึกษา สิกขา คือ ฟังพระพุทธพจน์ในสมัยโน้นเฉพาะพระพักตร์ก็มี ไม่ใช่เฉพาะพระพักตร์ก็มีคือโดยสาวกที่ได้ไปเผยแพร่คำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระองค์ตรัสไว้ว่า คำจริงทุกคำ เป็นคำของพระองค์ ไม่ว่าจะกล่าวถึงธรรม โดยนัยใดๆ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า " ปริยัติ " ต้องมีก่อน แล้วถึงจะมี " ปฏิปัตติ " แล้วถึงจะมีการรู้แจ้งสภาพธรรม ตามลำดับ
วันนี้กล่าวแล้วกี่ขันธ์ รูปขันธ์หนึ่ง เวทนาขันธ์หนึ่ง เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก สัญญาขันธ์ คือ ความจำหนึ่ง สำคัญไหม รูปก็สำคัญ แสวงหาแต่รูปที่น่าพอใจ คิดดู ทางตา ต้องสวย ทางหูต้องเพราะ ทางจมูกต้องหอม ทางลิ้นต้องอร่อย ทางกายต้องสบายๆ ร้อนหน่อยก็จะทนไม่ได้ เพราะฉะนั้น รูป เป็นรูปขันธ์เกิดดับ เวทนาความรู้สึกเป็นเวทนาขันธ์เกิดดับ สัญญาขันธ์ ความจำเกิดดับ เจตสิกที่เหลืออีก ๕๐ เพราะเจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ เจตสิกที่เหลือ เป็นสังขารขันธ์ ปรุงแต่งให้จิตแปรไปเป็นต่างๆ นานา ตามสภาพของความรู้สึก และความจำ ถ้าจำไม่ได้ เราจะไปรู้สึกพอใจในสิ่งนั้น ก็ไม่ได้ใช่ไหม ลืมแล้วจำไม่ได้แล้ว แต่สิ่งที่จำไว้ขนาดนั้น ก็ต้องจำได้ด้วยความรู้สึก จำด้วยความโกรธก็ได้ ทุกข์เหลือเกิน เห็นไหม หมดแล้ว ก็ยังจำ คิดดูว่าไม่รู้แค่ไหนแล้วจะพ้นทุกข์ได้ไหม ไปหาตำราไหน มาทำให้พ้นทุกข์ได้ไหม ไม่ได้ นอกจากปัญญาจะรู้ว่า ไม่เที่ยง ทุกสิ่ง ทุกอย่างแค่ชั่วคราวสั้นๆ สุดท้ายก็คือ วิญญาณขันธ์ คือ จิต เป็นใหญ่ ทุกอย่างเป็นไปตามอำนาจของจิต เพราะว่า แม้คิด ก็เป็นจิต เลือกให้คิดก็ไม่ได้ พยายามให้คิดก็ไม่ได้ แต่คิดเกิดแล้วทั้งหมด เดี๋ยวนี้กำลังคิด ใช่หรือไม่ เห็นไหม
ประโยชน์ของการฟังธรรม คือ เข้าใจเดี๋ยวนี้ สิ่งที่มี ต่อไปนั่งที่อื่น ไปที่ไหน ก็มีการรู้ได้ว่า นั่นคือ ธรรม และธรรมอะไร ที่เคยฟังแล้วก็ค่อยๆ สะสมไป เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เพราะรู้สึก และจำในสิ่งนั้น ก็ปรุงแต่ง เจตสิกทั้งหมด มีด้วยกัน ๕๒ ประเภท แต่เวทนาความรู้สึก เป็นเจตสิกหนึ่ง สัญญาความจำ เป็นเจตสิกหนึ่ง เจตสิกที่เหลือ วันนี้ทั้งหมดที่เป็นไป ที่ไม่ใช่รูป และจิต และเจตสิก๒ นั้นก็เป็นสังขารขันธ์
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1021
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1022
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1023
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1024
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1025
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1026
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1027
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1028
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1029
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1030
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1031
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1032
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1033
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1034
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1035
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1036
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1037
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1038
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1039
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1040
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1041
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1042
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1043
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1044
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1045
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1046
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1047
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1048
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1049
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1050
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1051
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1052
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1053
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1054
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1055
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1056
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1057
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1058
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1059
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1060
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1061
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1062
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1063
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1064
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1065
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1066
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1067
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1068
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1069
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1070
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1071
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1072
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1073
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1074
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1075
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1076
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1077
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1078
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1079
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1080