ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1064
ตอนที่ ๑๐๖๔
สนทนาธรรม ที่ บ้านทันตแพทย์หญิงวิภากร พงศ์วรานนท์
วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ เรากำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริง ที่สามารถพิสูจน์ได้ เข้าใจได้ ทุกขณะ เพราะฉะนั้น คำว่า ขันธ์ ถ้าใครรู้ว่า พูดถึงสิ่งที่มีจริง ซึ่งต้องเกิด เมื่อเกิดแล้วก็ดับ ทั้งหมด ทั้งปวง ทั้งสิ้น ไม่เหลือเลย อะไรก็ตามที่เกิด และดับ เป็นขันธ์ทั้งหมด เห็นไหมว่า ถ้าเราพูดอย่างนี้ เราก็เข้าใจ ไม่เคลือบแคลงในคำว่า ขันธ์เลย ได้ยิน เมื่อไหร่เราก็สามารถที่จะเข้าใจได้ว่ากำลังพูดถึงความจริงของสิ่งที่มีจริง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับทุกขณะ แล้วไม่กลับมาอีกเลย ความเข้าใจของเรา จากสิ่งที่ไม่เคยรู้เลย เมื่อได้ยินคำนี้กระจ่างแจ้งชัดเจน ขันธ์ ที่อยู่ภายในก็มี ใช่ไหม ที่ตัวเรา ข้างนอกก็มี ใช่ไหม เพราะฉะนั้นขันธ์ ก็ไม่ว่าอะไรทั้งหมด ภายในก็เป็นขันธ์เกิดดับ ภายนอกก็เป็นขันธ์เกิดดับ ที่เกิดดับ ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี ที่เลวก็มี ที่ปราณีตก็มี ได้ยินอย่างนี้ ก็อยากรู้อีก หยาบอย่างไร ปราณีตอย่างไร เลวอย่างไร อยากรู้ไปหมดเลย แต่ฟังแล้วเข้าใจว่ามี แต่ความรู้ของเรา และสามารถจะรู้ตรงนั้นที่หยาบหรือไม่ ตรงนั้นที่ละเอียดหรือไม่ หรือเรารู้ว่าเนื่องจากขันธ์ นี่มีทั้งหมดเลยที่ปรากฏ นี่เป็นขันธ์ทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น หลากหลายมากหลากหลาย ก็แสดงโดยนัยประมวลมา ถึงหลากหลายอย่างไร ก็เกิดดับ เป็นอดีต เป็นอนาคต และกำลังเป็นปัจจุบัน เดี๋ยวนี้มีทั้งไกล ใกล้ มีทั้งหยาบ ละเอียด มีทั้งเลว ปราณีต เป็นต้น ให้เราเข้าใจว่า นี่ คือ สิ่งที่เรากำลังพูดถึง คือสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ นั่นคือ ความเข้าใจคำว่า ขันธ์ ถ่องแท้ไม่ว่าจะที่ไหน ในพระไตรปิฏก พระวินัยก็มี พระสูตรก็มี พระอภิธรรมก็มี เพราะคำของพระองค์เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หมายความถึง สิ่งที่มีจริง จะเปลี่ยนขันธ์นี้ไม่ให้เกิดดับ และขันธ์ นั้นเป็นอย่างไร ขันธ์นี้เป็นอย่างไรก็ไม่ได้ และทำไมทรงแสดงขันธ์ ๕ ตามอุปทาน ความยึดมั่นว่าจริงๆ เราเกิดมา เราไม่รู้เลย ความไม่รู้ ทำให้เกิดอกุศลทั้งหลาย ยึดมั่นในสิ่งซึ่งแท้ที่จริงไม่มีอะไร เพียงแค่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปแล้วไม่เหลือ แต่เรายึดมั่นในอะไรบ้าง ในวันหนึ่ง วันหนึ่ง ทั้งๆ ที่กำลังยึดมั่น ก็ไม่รู้ตัวเลยว่ายึดมั่นอะไร ยึดมั่นในรูปที่ปรากฏให้เห็น ที่มีจริง ทางตาติดข้องแล้ว ทางหูติดข้องแล้ว แม้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่รู้อะไร แค่เกิดมาให้เห็นแล้วหมดไปก็ไม่รู้ แต่ก็ติดข้อง
เพราะฉะนั้น ก็สะสมความติดข้อง แม้ความติดข้อง ก็เป็นขันธ์ด้วย ถ้าเรามีความเข้าใจแล้ว เราก็เข้าใจตลอดไปหมด นามธรรมใดเป็นขันธ์อะไร หรือนามธรรมทั้งหมดรูปธรรมทั้งหมด ที่เกิดขึ้นเป็นขันธ์ทั้งนั้น ก็แจกออกไปเท่านั้นเอง คือ พูดถึงสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ ให้เข้าใจขึ้น ไม่ใช่เรา แต่มีจริงๆ แล้วก็หมดไปด้วย ไม่ใช่ยังเหลืออยู่ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ลืม ไม่ว่าที่ไหน เมื่อไหร่ ฟังธรรมเพื่อเข้าใจ ฟังเพื่อเข้าใจเท่านั้น ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปหวังอะไร เมื่อไหร่จะหมดกิเลส แล้วจะให้ทำอย่างไร แล้วจะให้พูดอย่างไร ตามอย่างไร ไม่ใช่เลย ทั้งสิ้น ฟังเพื่อเข้าใจ และความเข้าใจนั่นเอง เป็นสภาพธรรมที่ค่อยๆ ละความไม่รู้ และความไม่เข้าใจ ให้น้อยลงตามกำลังของความเข้าใจ ไม่มีเราไปทำอะไรได้อีก ต่างหากเพราะไม่มีเรา
ผู้ฟัง ในภาษาบาลี มีความเข้าใจ และมีความลึกซึ้ง อย่างไร เพื่อประกอบความเข้าใจว่า ทุกอย่างเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ให้ท่านพระสารีบุตร พูดภาษาไทยได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราจะพูดภาษาบาลีอย่างท่านได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ คนละภาษา แต่สิ่งที่มีจริง ไม่ต้องเรียกอะไรเลย ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของคนนั้นว่า จะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไรในภาษาไหน เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ที่จริงเราไม่ได้เข้าใธรรม ใช่ไหม ไม่ใช่ว่าเราต้องไปเรียนภาษาบาลี ถึงเรียนภาษาบาลีจบแล้ว ก็ไม่ได้เข้าใจธรรม เพราะเพียงแต่รู้ว่า จะพูดอย่างไร จะถามอย่างไร เหมือนกับที่ภาษาชาวบ้านที่ใช้กันเท่านั้น เพราะฉะนั้น แม้แต่ชาวมคธ ก็ยังต้องไปเฝ้าฟังธรรม ก็แสดงให้เห็นว่าแม้ใช้คำภาษาเดียวกัน แต่ธรรมลึกซึ้ง ซึ่งจะเข้าใจได้ ในภาษาของตน ของตน แต่เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นภาษานั้น เปลี่ยนไม่ได้ แต่ต้องให้เข้าใจให้ถูกต้องว่าคำนั้น หมายความถึงอะไร ด้วยเหตุนี้ เราจึงพูดถึงคำนั้นให้เข้าใจในภาษาของเรา ทีละคำ เมื่อเข้าใจแล้วยังจะต้องไปใช้คำนั้น ในเมื่อทุกวันเราไม่ได้พูดคำนั้นหรือ แต่เวลาเรียนเราก็ต้องเรียนให้ถูกต้อง ตามที่ได้ทรงแสดงไว้ ในภาษามคธี ภาษาบาลี ว่าคำนั้นคืออะไร ไม่ใช่ว่าเราไปคิดเอาเอง แต่ต้องรู้ความลึกซึ้งของคำนั้นด้วย เหมือนกับที่เรากล่าวว่าถ้าเราเข้าใจแล้วว่าธรรม คือ สิ่งที่มีจริง แค่นี้ คนไทยทุกคนเข้าใจหรือ ถ้าไม่อธิบายไว้ แล้วอะไรแล้วจริง ก็คือเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของการศึกษาธรรม ที่มีอยู่ในภาษาของตน
ผู้ฟัง ความหมายเบื้องต้นของคำว่า สังขาร
ท่านอาจารย์ สังขาร หมายความว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะเกิด เกิดเองตามลำพังได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ต้องอาศัยสภาพธรรมอื่นใช่ไหม อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น ปรุงแต่ง สิ่งนั้นจึงเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ นั่นคือ ความหมายของสังขาร ซึ่งเกิดขึ้นต้องมีปัจจัยปรุงแต่ง
ผู้ฟัง รู้สึกว่าในพระไตรปิฏก มีความหมายหลายๆ อย่าง เช่น สังขาร ๓ แล้วก็สังขารที่เป็นอภิสังขาร เหล่านี้ ก็ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานของเขา แต่ละหนึ่งขึ้นไป
ท่านอาจารย์ อย่าลืม เข้าใจธรรม ไม่ใช่เข้าใจเพียงชื่อ เห็นไหม เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะมีกี่ชื่อ เข้าใจธรรม เช่น ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเกิดได้ต้องอาศัย มีการปรุงแต่งอาศัยกัน และกันใช่ไหม ถ้าใช่ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เกิดแล้ว ปรากฏเป็นธรรมที่เป็นสังขารธรรมทั้งนั้นใช่ไหม นี่คือเริ่มเข้าใจมั่นคงว่า ธรรม คืออะไร สังขาร คืออะไร แต่ในบรรดาสิ่งที่ปรุงแต่งเกิดขึ้นหลากหลายมาก เพราะฉะนั้น ทรงแสดงให้ชัดยิ่งขึ้นว่า ธรรมใด เป็นสังขารขันธ์ ในบรรดาขันธ์ ๕ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เกิดดับ เป็นขันธ์ทั้งหมดเลย แต่ทำไมแสดงไว้ ๕ แสดงไว้ ๘๙ ได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ ร้อย ๑๒๐ ได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ พันหนึ่งได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ หมื่น แสน ล้าน ได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ ก็ต้องได้ เมื่อมีความเข้าใจ ไม่ใช่ว่า ไม่ได้ตรัสไว้ ก็ไม่ได้ อย่างนั้นจะเป็นความเข้าใจหรือ เพราะฉะนั้น ทุกคำที่ตรัสแสดงถึงความจริง หลากหลาย ละเอียดมาก พระโสดาบันมีกี่ประเภท เห็นไหม แสดงไว้หมด เราก็รู้แค่พระโสดาบัน แต่ทุกสิ่งทุกอย่างในพระไตรปิฎก กว้างขวาง สุดที่จะประมาณได้ ไม่มีใครที่สามารถจะเข้าใจได้ทั้งหมดแน่นอน แม้แต่พระคำภีร์เล่มเดียว จะเป็นพระสูตรเล่มไหนก็ได้ มีใครที่กล่าวได้ว่า เข้าใจตลอดหมดทั้งเล่ม เป็นไปไม่ได้เลย ความเข้าใจน้อยมาก เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า เราไม่ประมาท ในความเข้าใจ ว่าจะต้องเข้าใจจริงๆ เข้าใจขึ้น ให้ตรง ให้ชัด ให้ละเอียด ให้ถูกต้อง ไม่สับสน เพราะฉะนั้น ถ้าสับสนก็ผิด เพราะฉะนั้น จึงมีคำว่า สังขารธรรม สังขารขันธ์ ต้องตระหนักแล้วว่า ๒ คำนี้ต่างกันอย่างไร สังขารธรรมรวมทั้งหมดเลย แต่ทำไมเป็นสังขารขันธ์ เพราะในบรรดาธรรมทั้งหมด ทรงจำแนกออกเป็นขันธ์ เป็นที่ตั้งของความติดข้อง ยึดถือ อย่างมั่นคงคือ อุปาทาน
เพราะฉะนั้น ใช้คำว่าอุปาทานขันธ์ พอมีคำว่า อุปาทาน เข้ามาก็ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ในบรรดาธรรมทั้งหมด พอเป็นขันธ์ ๕ แล้วก็ตอบว่า ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ใช่ไหม แต่ถ้าถามว่าความยึดมั่น ยึดมั่นในอะไร ในขันธ์ ขันธ์ อะไร ตอบว่าขันธ์ ๕ ใช่ไหม แต่ความจริง ยึดมั่นในขันธ์ทุกขันธ์ เห็นไหม เราลืมเลย ทุกขันธ์ ไม่เว้นมีหรือ ที่จะไม่ยึดมั่น ยึดมั่นในทุกขันธ์ แต่ในทุกขันธ์ที่ยึดมั่น จำแนกให้รู้ว่า มี ๕ อย่าง ที่ต่างกันเท่านั้นเอง เราก็ไปจำชื่อ อุปาทานขันธ์ ขันธ์ เป็นสิ่งที่มี ยึดมั่นในขันธ์ ๕ จำมาเสร็จเลย ๕ ขันธ์ แต่ถ้าถามกลับนิดเดียว ยึดมั่นในขันธ์อะไร แต่ความจริง ขันธ์ ๕ นั่นเอง คือ ทุกขันธ์ แต่ว่าจำแนกทุกขันธ์ ออกไปเป็น ๕ ประเภท ให้รู้ว่ามีความยึดมั่นอย่างไรเท่านั้นเอง ให้ชัดเจน เห็นไหม การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจ ถ้าเข้าใจ แล้วน้อยนิดหนึ่ง ก็ยังมั่นคงถูกต้อง สืบต่อไป ถึงกี่ชาติเราก็ไม่เปลี่ยน เพราะเราเป็นความเข้าใจแล้ว ได้ยินอีก รู้เลย ถ้าเคยฟังมาแล้ว แม้ว่าตอนแรกอาจจะไม่เข้าใจ แต่เมื่อได้ยินคำ คือ คำอธิบายในภาษาของตน ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าหมายความถึงอะไร เพราะถ้าความเข้าใจตรงนี้ เราไม่ใช่ชาวมคธ เราเข้าใจในภาษาไทย ถ้าถามภาษาบาลี เราไม่รู้เรื่องเลย แต่พอถามเป็นภาษาไทย ตอบได้ไหมล่ะ แสดงให้เห็นว่าความเข้าใจของเรามั่นคง แค่ไหน ถ้าเราตอบไม่ได้ หมายความว่าความเข้าใจนั้นยังไม่มั่นคง เพราะว่ามีแต่ความเข้าใจว่า เรายึดมั่นในขันธ์ ๕ แต่พอถามว่าขันธ์ไหน อะไรบ้างไม่รู้ แต่ว่ายึดมั่นในทุกขันธ์ และในทุกขันธ์นี่ จำแนกเป็น ๕ แสดงให้เห็นชัดๆ ว่าอะไรบ้าง ที่ยึดมั่นเป็นประเภทใดบ้างต่างๆ กันเท่านั้นเอง นี่คือความเข้าใจธรรม
เพราะฉะนั้น เราจึงต้องมีการสนทนาธรรม มีการสอบถาม มีการใช้คำที่จะเป็นเครื่องช่วยว่า คนนั้นเข้าใจแค่ไหน เพราะว่าถ้าเข้าใจแล้ว ตอบได้ถึงที่สุด ไม่ว่าจะถามว่าอะไร ก็ตอบได้ เพราะเข้าใจถูกต้อง เพราะฉะนั้น ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ก็คือ ยึดมั่นในทุกขันธ์
ผู้ฟัง ในเมื่อเรารู้ว่า เรายึดมั่นในทุกขันธ์แล้วแล้วความเข้าใจว่า ที่จะละคลายแต่ละขันธ์ ต้องมีความรู้เช่นไร ที่จะไปละคลาย
ท่านอาจารย์ รู้เช่นไร หมายความว่าอะไร
ผู้ฟั ความรู้ที่ว่าแต่ละขันธ์ที่เกิดขึ้น แล้วดับไปก็จริง แต่ว่าแต่ละหนึ่ง ที่จะดับไป ความเข้าใจเช่นไรว่า..
ท่านอาจารย์ นี่ไง นี่ไง มาแล้ว หาวิธีแล้ว หาวิธีละ คลาดเคลื่อนแล้ว หลงได้ตลอด เพราะฉะนั้น คนที่ศึกษาธรรม แม้ในครั้งพุทธกาล หลงลาภก็มี หลงชื่อเสียง ก็มี เพราะไม่ได้เข้าใจว่า ทั้งหมดไม่มีอะไร
ผู้ฟัง เป็นความจริง ย์ รู้สึกว่าจะลึกซึ้งมากจริงๆ แม้กระทั่งว่า จะเรียนรู้ว่าวิธีที่จะให้คลายความยึดมั่น ก็ยังอยากที่จะต้องหา
ท่านอาจารย์ นี่ไง ตัวตนจะไปคลายความยึดมั่นทำไมเล่า บอกว่าไม่มีตัวตน ไม่ฟัง ใช่ไหม เห็นหรือไม่ เริ่มผิดแล้ว คือเพราะไม่รู้ใช่ไหม จึงยึดถือสภาพธรรม เพราะฉะนั้น จะละได้ก็ต้องด้วยความรู้ มิใช่หรือ จะเอาไปละ ถ้าไม่ใช่ความรู้ แค่นี้ ก็ยังต่อ แต่ง เติมไปด้วยสารพัดเรื่อง จะอย่างไรบ้าง จะอันไหนบ้าง จะอย่างโน้น อย่างนี้บ้าง ต่อ แต่ง เติมทั้งนั้น
ผู้ฟัง ถึงแม้ว่าได้คำตอบแล้ว ทุกอย่าง ก็เป็นขันธ์ พอได้คำตอบแล้ว ที่อยากจะเป็นตัวเรา ที่จะรู้ ที่จะทำ
ท่านอาจารย์ เป็นเครื่องขัดขวางเนิ่นช้าของที่จะละความติดข้อง เพราะระหว่างทาง ก็มีความติดข้องเพิ่มขึ้น เปลี่ยนจากรูป รส กลิ่น เสียง โผฎฐัพพะ มาติดข้องในชื่อ มาติดข้องในเรื่อง มาติดข้องในคำ ด้วยความเป็นตัวตน ลืมว่าศึกษาธรรม เพื่อเข้าใจธรรม เพราะเมื่อเข้าใจธรรม ก็ไม่มีเรา แต่ถ้าไม่เข้าใจ ก็เป็นเรา
ผู้ฟัง กว่าจะถึงตอนนั้น ก็ต้องค่อยอบรมไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ที่ชัดเจน มั่นคง ฟังเพื่ออะไร เพื่อเข้าใจถูก เพื่อลาภ เพื่อยศหรือไม่ เห็นไหม ไม่มีทางที่จะเป็นอย่างนั้นได้เลย เมื่อเป็นธรรมต้องเพื่อธรรม เพื่อความเข้าใจ ขัดเกลาความไม่รู้ไปแล้วบ้าง ใช่ไหม รู้ตัวหรือไม่ ขัดเกลาความไม่รู้ และความติดข้อง เมื่อเข้าใจ ตรงที่เข้าใจ นั่นเอง
ผู้ฟัง คุณหมอวิภากรพูดว่า เวลาเหลือไม่มากแล้ว ถ้าจะเป็นเครื่องเตือนใจ ที่ถูกต้อง มากกว่า ที่จะไปทำสิ่งที่ผิดๆ เช่น ต้องรีบขวนขวาย มุ่งมั่น ศึกษาพระธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่า รีบขวนขวาย เป็นความเข้าใจ หรือว่าพูดเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นจริงๆ รีบขวนขวาย แค่ได้ยินคำนี้ รู้เลยว่าบังคับบัญชาไม่ได้ เห็นไหม กว่าจะเป็นอย่างนั้น กว่าจะมีความเป็นตัวตน รีบไปทำ แต่รีบในขณะนั้น คือเข้าใจถูกดีกว่าไหม ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่อย่างนั้นตัวตนก็รีบมาจัดการเลย เร็วมากเลย ความเป็นตัวตน เร็วจนกระทั่ง ไม่รู้ เข้าใจว่าขณะนั้น ถูกต้อง แต่ความจริง เวลามีไม่มาก แค่นี้ ให้เข้าใจ เพราะเป็นความจริงที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าเวลามีไม่มากแต่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็ต้องแล้ว แต่ว่าจะมีความเข้าใจระดับไหน แต่ไม่ใช่ว่า เวลามีไม่มากแล้ว รีบใหญ่เลยใช่ไหม ด้วยความเป็นเรา แค่นี้ก็ผิด เรื่องผิดจะมีมากทีเดียว ถ้าปัญญาไม่เกิดขึ้นไม่รู้ด้วยว่าผิด แต่ปัญญาสามารถ ที่จะรู้ทุกอย่างตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นการกระทำเป็นเครื่องบ่งบอกว่าเวลามีไม่มาก ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เวลามีไม่มาก เวลาเป็นเครื่อง บ่งบอก เดี๋ยวเราจะมีการร้องเพลง ไหนลองสอดคล้องกับเวลามีไม่มากซิ ใช่ไหม เห็นไหม ถ้าเข้าใจผิด คิดว่าไม่สอดคล้อง แต่ถ้าเข้าใจถูก กำลังร้องเพลงเป็นธรรมหรือไม่
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ บังคับได้ไหม ไม่ให้เป็น เป็นแน่นอน เพราะฉะนั้น ปัญญาสามารถเข้าใจได้ไหม อยู่ตรงนี้ ไม่ใช่ให้เราไปเลือกไปอยู่ในที่เงียบๆ ไม่มีเสียงเพลง ไม่มีอะไรเลย เข้าใจว่าขณะนั้น ปัญญาเกิด แต่ปัญญาจริงๆ สามารถรู้สิ่งที่ปรากฏ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏในขณะนั้น เป็นจริงอย่างไร ขณะนั้น ไม่มีเรา ที่จะไปทำอะไรได้เลย แต่ปัญญาเข้าใจเลย เพราะว่าฟังมามาก อบรมมามาก จนกระทั่งไม่ว่าอะไรเกิดที่ไหน ขณะไหนเป็นอย่างไร ก็ไม่เคยรู้ล่วงหน้ามาก่อน ใครรู้บ้างว่า พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร ใครรู้บ้างว่า เย็นนี้จะเป็นอย่างไร
เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะเกิด ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น เร่งรีบที่นี่ไม่ได้หมายความว่าด้วยความเป็นเรา เพราะฉะนั้น คำนี้ เป็นคำที่ต้องเข้าใจให้มั่นคงว่ารีบ ที่นี่ก็คือในขณะนั้นมีความเข้าใจตรงนั้นหรือยัง ถ้าไม่มีความเข้าใจตรงนั้นว่า ไม่ใช่เรา ให้เข้าใจได้ไหม ก็ไม่ได้อีก บังคับไม่ให้ฟังตรงนี้ไม่ได้ ทำอย่างนั้นให้เข้าใจธรรมได้ไหม ก็ไม่ได้ แต่เข้าใจจริงๆ ต่อเมื่ออะไรเกิดตรงนั้นเอง สามารถเข้าใจได้ในความเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น จะหวั่นไหวไหม ไม่ว่าอะไรจะปรากฏ เพราะฉะนั้น ความเป็นเรามีมาก ฟังดูเหมือนกับว่าเป็นผู้ประมาท คนอื่นดู ต้องว่า คนนี้ประมาท แน่เลย ไม่รีบขวนขวาย ไม่ศึกษา ไม่ทำโน่น ทำนี่ แต่เข้าใจอะไรหรือไม่ สำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจ
เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องของการอบรม ความเข้าใจถูก นานมากแสนนาน กว่าจะรู้จริงๆ และก็ตรงจริงๆ ที่รู้ว่า ขณะนั้น เป็นธรรม มิฉะนั้นแล้วโลภะ ก็เข้ามาแทนที่ ความเป็นตัวตน เข้ามาวิธีต่างๆ ที่จะให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้ และเข้าใจว่าได้อย่างนั้น ได้อย่างนี้ด้วย หลงไป โดยที่ไม่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้ว แล้วรู้สิ่งที่กำลังมี หรือไม่ นี่เป็นเครื่องวัดเข้าใจสิ่งที่กำลังมีหรือไม่ว่า ขณะนั้น ไม่ใช่เรา เป็นธรรมแล้ว ไม่ต้องพูดออกมาเป็นคำๆ ด้วยเพราะเหตุว่า ถ้าคิดเป็นคำ ก็คือเป็นธรรมที่คิด ไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้น กว่าจะหมดความเป็นเราจริงๆ ก็ต้องมีความเข้าใจ ที่มั่นคงจริงๆ ว่า ไม่มีการที่จะไปจัดการอะไรทั้งสิ้น แต่ฟัง และความเข้าใจในค่อยๆ สะสมค่อยๆ มั่นคงค่อยๆ เข้าใจ ในความจริงที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็จะรู้ได้เลย ว่าเป็นการอบรมความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ตามความเป็นจริง ถูกต้องหรือไม่ หรือว่าเป็นตัวเรา ที่ไปนั่งอบรม นั่งทำ เพื่อจะให้รู้อย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งไม่มีทางจะรู้ได้เลย ในความไม่ใช่เรา นี่ก็ต่างกันแล้ว การฟังธรรม ก็ฟังแล้ว เรื่องจิตก็ฟังแล้ว เรื่องเจตสิกก็ฟังแล้ว เรื่องรูปก็ฟังแล้ว แต่ความประมาทและความไม่รู้อยู่ตรงไหน ประมาทที่คิดว่าตัวเองได้ศึกษาธรรมมาก แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ เดี๋ยวนี้เป็นธรรมหรือไม่ และที่ศึกษามาแล้ว จิตมีเท่าไหร่ ตอบได้เลย ๘๙ จำนวนแม่นมาก ไม่ลืม แต่เดี๋ยวนี้จิตอะไร ไม่รู้ แสดงให้เห็นว่า การที่เราศึกษา เราต้องรู้จุดประสงค์ ว่าไม่ใช่เพื่อจะมารู้ตรงนี้ แต่เพื่อเข้าใจถูก ในสิ่งที่กำลังมี เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ความเป็นเรา ต้องการจะรู้ ตรงนี้หรือตรงไหน เพื่อจะได้เราเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ต้องละตั้งแต่ต้น มีความเข้าใจที่มั่นคงว่า เมื่อไม่ใช่เราแล้ว จะเป็นเราได้อย่างไร ก็ต้องไม่เป็นเรา เพราะฉะนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นทั้งหมด ดี ชั่ว ประการใดทั้งหมดก็ตาม ขณะนั้นปัญญาสามารถที่จะเข้าใจได้ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เป็นเพียงคิด และจำ แต่ขณะนี้ที่กำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏ จะไม่ใช่เราจริงๆ ก็ต่อเมื่อฟังเข้าใจแล้วละ ไม่ใช่ฟังแล้วเข้าใจแล้ว อยากรู้ว่าเมื่อไหร่จะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ จะรู้ได้อย่างไร นั่นคือผิดทันที
ผู้ฟัง ดังนั้น หากหวังปัญญา หากหวังได้พระธรรมมากๆ รู้ธรรมมากๆ เพราะเขาไปฟังที่อื่น เพียง ๖ เดือน ไม่เหมือนที่มาเรียนที่นี่ หลายปีก็ ยังไม่ได้เนื้อหาธรรมนั้น มากมายไปหมด
ท่านอาจารย์ ธรรมอยู่ไหน
ผู้ฟัง ธรรม อยู่ ณ ขณะนี้
ท่านอาจารย์ เข้าใจอะไร เดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง ถ้าไม่มีความเข้าใจ ก็ดูเหมือนดี ที่มีศัพท์มากมาย มีความรู้มากมาย แต่ขณะที่เข้าใจแล้ว ได้พบเห็นถึงการเรียนศึกษาเพื่อหวังจะได้ ไม่ใช่เพื่อละ
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วธรรม เป็นเรื่องเข้าใจ เพราะฉะนั้น ถามได้เลย มากมายอย่างนั้น แล้วเข้าใจอะไร ทีละคำด้วย เพราะฉะนั้น ธรรมไม่ใช่สำหรับจำชื่อมากๆ เหมือนกับรู้มากๆ ตอบได้ มีคำถามต่างๆ จาก เล่มนั้น เล่มนี้ ปัจจัยนั้น ปัจจัยนี้ หรืออะไรก็ตามแต่ทั้งหมดในปิฏก แต่ว่าเดี๋ยวนี้ ที่เข้าใจจะอยู่ไหนหรือแค่จำ เดี๋ยวนี้ เป็นธรรมอะไร แค่นั้น เป็นชื่ออะไรบ้าง ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เป็นสติปัฏฐาน หรือไม่ เป็นสติพละหรือไม่ เป็นโพธิปักขิยธรรมธรรมหรือไม่ เป็นพวกโพชฌงค์หรือไม่ แล้วอยู่ที่ไหนแต่ละคำนั้นอยู่ที่ไหน ไม่ใช่ว่าไม่มี แต่ไม่ใช่อยู่ในหนังสือ ไม่ใช่อยู่ที่ชื่อ แต่อยู่ที่เดี๋ยวนี้ รู้อะไร ตรงตามแต่ละคำที่ได้ฟังไหม เพราะว่าธรรมเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ให้ไปรู้ตัวหนังสือ แต่ให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมี เมื่อไหร่ศึกษาแล้ว เข้าใจสิ่งที่กำลังมี นั่นคือ เข้าใจธรรม เพราะธรรม คือ สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้เอง
ผู้ฟัง ความยากในการอ่านพระไตรปิฏก คือ การตีความเพื่อความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ หมายความว่า สิ่งที่มีนี่ ลึกซึ้งใช่ไหม อย่างเห็นเกิดดับ เห็นไม่ใช่เราแค่นี้ เพราะฉะนั้น ถ้าจะศึกษาอายตนะ ก็เดี๋ยวนี้ ถ้าไม่มีตา จักขุประสาทเป็นจักขายตนะ ประชุม หมายความอยู่ตรงนั้น ก่อตั้งให้สิ่งนั้นปรากฏเกิดขึ้น เป็นจิตเห็น และมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ถ้าจิตไม่เห็น สิ่งที่ปรากฏให้เห็น ไม่มีเลย โลกนี้ว่างเปล่า ไม่มี สีสัน วรรณะ ไม่มีขอบ ไม่มีสัณฐานต่างๆ ที่จะเป็นขอบเขตให้รู้ว่านี่ คืออะไร นั่นคืออะไร ไม่มีเลย มืดสนิท แต่เพราะเหตุว่า มีธาตุนี้เกิดขึ้นใช่ไหม สิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงปรากฏ พิสูจน์ได้ไม่ยาก แค่หลับตา คนหายไปไหนแล้ว เมื่อครู่นี้มีคนเต็มห้อง พอหลับตาไปไหน ไม่มี
เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจสิ่งที่กำลังมี ให้ถูกต้องว่า ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ แต่มีรูปร่าง นิมิตรต่างๆ เพราะธาตุที่กระทบตาเกิดดับ มากมาย มหาศาล นับประมาณไม่ได้ จนกระทั่ง ปรากฏเป็นรูปร่าง สัณฐานต่างๆ สำหรับภาพที่จำ เกิดขึ้นจำไว้ สภาพธรรมทั้งหมดอยู่ตรงนี้ เดี๋ยวนี้ แต่ว่าถ้าไม่มีการฟังธรรมให้เข้าใจ ก็เป็นตัวหนังสือไปหมดแล้ว ได้อะไร ถ้าไม่เขารู้ว่า ขณะนี้ ไม่ใช่เรา ไม่มีอะไรด้วย เป็นแต่ธรรมทั้งหมด
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1021
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1022
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1023
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1024
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1025
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1026
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1027
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1028
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1029
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1030
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1031
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1032
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1033
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1034
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1035
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1036
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1037
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1038
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1039
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1040
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1041
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1042
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1043
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1044
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1045
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1046
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1047
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1048
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1049
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1050
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1051
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1052
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1053
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1054
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1055
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1056
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1057
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1058
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1059
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1060
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1061
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1062
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1063
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1064
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1065
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1066
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1067
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1068
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1069
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1070
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1071
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1072
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1073
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1074
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1075
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1076
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1077
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1078
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1079
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1080