ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1081
ตอนที่ ๑๐๘๑
สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ ลำพูน
วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ กำลังอยู่ตรงนี้เลย แต่พอถึงพรุ่งนี้ไม่เหลือเลย จำหมดได้ไหมว่าทำอะไรบ้างตั้งแต่เช้ามา เพราะฉะนั้นชาติก่อนก็อย่างนี้แหละ ชาติไหนๆ ก็อย่างนี้แหละ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ไม่สามารถที่จะออกจากสังสารวัฎฏ์เพราะเหตุว่าสภาพธรรมใครจะไปบังคับให้หยุดเกิดได้ไหม ไม่ให้จิตเกิดได้ไหม ไม่ให้เจตสิกเกิดได้ไหม ไม่ให้รูปเกิดได้ไหม ใครจะห้ามก็ห้ามไม่ได้ ห้ามฝนตกห้ามฟ้าร้อง ห้ามอะไรไม่ได้เลย เพราะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แต่พอดับเหตุปัจจัย ดับเหตุของทุกข์ รู้ด้วยว่าอะไรเป็นเหตุของทุกข์ ถ้าไม่รู้ก็ดับไม่ได้
เพราะฉะนั้นต้องดับความไม่รู้ซึ่งเกิดพร้อมกับความติดข้องที่ยึดถือว่าเป็นเราก่อนที่กิเลสอื่นจะดับได้ ใครจะไปดับกิเลสนี้อย่าหวัง ถ้ายังไม่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงที่ประจักษ์แจ้ง ก็ดับกิเลสอะไรก็ไม่ได้ ปล่อยเสีย วางเสีย ละเสีย ไม่มีความหมายเลย คำนั้นไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ต้องเป็นคำที่ทำให้คนฟังเกิดปัญญาตามลำดับ
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ให้ความเข้าใจว่าหนทางนี้ก็ต้องเป็นหนทางแห่งการที่จะรู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นการที่จะไปทำด้วยความเป็นเราอย่างเช่น ปล่อยวาง หรือว่าจะทำให้จิตนั้นเป็นกุศลได้เวลาใกล้ตาย ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าเป็นไปด้วยความติดข้อง และก็ไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งการเข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ก็เป็นหนทางเดียวแน่นอน และก็เป็นไปเพื่อความมั่นคงในการที่จะรู้ธรรมที่ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ ศึกษาธรรมต้องทีละคำ ได้ยินคำว่าปล่อยวาง ปัญญาเกิดหรือเปล่า รู้อะไรหรือเปล่า แต่ปล่อยวางในที่นี้ ความเป็นตัวตนจะทำอะไรสารพัด เพราะฉะนั้นแค่คำว่าปล่อยวางก็ไม่มีคำอธิบายแล้ว จะปล่อยวางอะไรแล้วปล่อยวางได้หรือ ในเมื่อพยายามทำทุกอย่างขณะนั้น แต่ไม่รู้ว่าไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นธรรมที่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้นต้องเป็นปัญญาอย่างเดียว ได้ยินคำอะไรก็คือว่าต้องไตร่ตรองทีละคำทีละคำไป ปล่อยวางเป็นไปไม่ได้เพราะวางอะไร ถามคนที่ปล่อยวางว่าวางอะไร
อ.กุลวิไล เขาก็อุปมาให้เห็นว่าเหมือนแบกเอาไว้ คือแบกทุกข์
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นปล่อยวางอะไร คนก็มุ่งไปที่ความโกรธ ความโลภ แต่จริงๆ แล้วปล่อยวางความเป็นเรา ไปที่ไหนก็เรานั่นแหละนั่งปฏิบัติ ๗วัน ๘วันไม่ได้ปล่อยวางอะไรเลย เพราะไม่รู้ว่าไม่ใช่เราแล้วจะไปปล่อยวางอะไรได้ หลงคิดว่ากำลังปล่อยวาง แต่เป็นตัวตนต่างหากขณะนั้น ซึ่งไม่ได้วางเลยเพราะไม่มีปัญญาที่จะรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคำที่ละเอียดทุกคำ สามารถที่จะเข้าใจขึ้นได้เมื่อมีการสนทนา อย่างใครบอกว่าปล่อยวาง เราต้องถามว่าปล่อยอะไร วางอะไร คำตอบของเขา คือวางโลภะหรือวางโทสะ แต่เขาไม่รู้ว่าปล่อยวาง ต้องวางความเป็นเรา หรือความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
อ.กุลวิไล ถ้าไม่รู้ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เขาก็ไม่รู้ว่าธรรมนั้นเกิดแล้ว จะไปวางตอนไหน
ท่านอาจารย์ ที่สำคัญที่สุดคือไม่รู้ว่าเป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้นคำว่าอัตตาหมายถึงสิ่งที่รวมกันเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด จึงมีอัตตานุทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ ถ้าอัตตานุทิฏฐิก็เห็นเป็นดอกไม้ เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ ความจริงก็เป็นแต่ละหนึ่งรูปที่ประชุมรวมกันมีรูปร่างสัณฐาน เป็นนิมิตปรากฏให้เข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้นขณะนั้นก็มีความเข้าใจผิดเพราะไม่รู้ความจริง
อ.คำปั่น คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำไม่ทำให้หลงผิด แต่ว่าเป็นไปเพื่อปัญญา เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงจะเข้าใจได้ก็ต้องมีการฟังมีการศึกษา มีความอดทน มีความเพียร มีความมั่นคง จริงใจว่าศึกษาธรรมเพื่ออะไร ก็ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น แต่ว่าเพื่อการค่อยๆ สะสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย เก็บเล็กผสมน้อยจากทุกครั้งที่มีโอกาสได้ยินได้ฟังคำจริง ซึ่งก็เป็นการสะสมในสิ่งที่ประเสริฐ เพราะว่าปัญญาไม่สูญหายไปไหน สะสมสืบต่อ เป็นที่พึ่งอยู่ในจิตทุกๆ ขณะ แม้แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร ก็แสดงถึงความชัดเจนว่าชาวเมืองในสมัยนั้นเป็นผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้วก็เห็นถึงความยาก เห็นถึงความต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนานในการสะสมอบรมเจริญปัญญา จึงไม่ท้อถอย เพราะว่าโอกาสข้างหน้าก็ยังมีพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อๆ ไปที่จะมีโอกาสได้ยินได้ฟังคำจริงจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ถ้าไม่เคยฟังเลยจะไม่มีทางคิดอย่างนั้น ก็รอไปด้วยความหวังด้วยความต้องการ แต่ว่าไม่มีทางที่จะเข้าใจธรรมได้เลย เพราะฉะนั้นจึงเป็นขณะที่มีค่าอย่างยิ่งเลยในการได้ค่อยๆ สะสมความเข้าใจจากการที่มีโอกาสได้ยินได้ฟังคำจริง เป็นการได้เริ่มรับมรดกที่ล้ำค่าจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกครั้งที่เริ่มฟังพระธรรม
ท่านอาจารย์ แล้วคนในครั้งพระทีปังกรอยู่ไหน ไม่สามารถจะรู้ได้ใช่ไหม แต่ผู้ใดที่มีความเห็นที่ถูก เข้าใจถูก แล้วก็รู้ว่าธรรมเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องที่ต้องตรงกับความเป็นจริงว่ามีความเข้าใจแค่ไหน พอหรือยัง จะต้องสะสมความเห็นถูกความเข้าใจถูกต่อไป ก็คือผู้ที่เคยเห็นอย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้ในครั้งพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ถ้าใครเห็นผิด เช่นครูทั้ง ๖ ในครั้งโน้น ก็มีลูกศิษย์มาก พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่มาเฝ้าเลย เขาไปหาครูอาจารย์เหล่านั้น หันหลังให้พระสัทธรรมในครั้งนั้นฉันใด ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ใครที่ไม่สนใจที่จะฟังพระธรรมให้เข้าใจก็ไปสู่สำนักอื่น คำของอาจารย์อื่นที่มีการประพฤติปฏิบัติเช่น ง่ายๆ เลย ให้ปล่อยวาง แต่ไม่บอกว่าอะไรปล่อย อะไรวาง วางอะไร ปล่อยอะไร และใครกำลังปล่อยวาง ไม่มีความเข้าใจเลยทั้งสิ้น แล้วหนทางที่จะวางคือวางอะไรได้ เพราะดับแล้ว คนในครั้งนั้นรู้ไหมว่ากว่าสุเมธดาบสจะได้รู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ แต่ละพระองค์นานกว่าจะบังเกิดขึ้นมีการตรัสรู้ทีละหนึ่งพระองค์ เห็นไหมว่าปัญญาสามารถที่จะรู้ได้ว่าแล้วแต่เหตุปัจจัย
อ.กุลวิไล ถ้าปล่อยวางจริงๆ คือปล่อยวางความเป็นเราอย่างไร
ท่านอาจารย์ ตัวตนปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ เข้าใจคือปัญญา ปัญญาต่างหากที่ทำหน้าที่ละ ตัวตนไปละก็คือผิดเลย เพราะฉะนั้นถ้าปัญญายังไม่พอ ละไม่ได้ คนที่เข้าใจตามความเป็นจริงก็รู้ว่าตราบใดที่ปัญญายังไม่พอก็ละไม่ได้ เพราะฉะนั้นฟังธรรมเพื่ออะไร เพื่อเข้าใจ เข้าใจเพิ่มขึ้นแค่ไหนก็ละไปแค่นั้น
ผู้ฟัง ผู้ที่จะประจักษ์ความไม่มีเราก็ต้องเป็นผู้ที่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ว่าเป็นสภาพธรรมที่ปกปิดเพราะว่าคนทั่วไปไม่สามารถที่จะรู้ความไม่มีเราได้
ท่านอาจารย์ ต้องรู้ว่า อะไรที่รู้
ผู้ฟัง ปัญญา
ท่านอาจารย์ ปัญญา ปัญญาไม่ใช่เรา แต่ปัญญาเกิดจากการฟังเข้าใจ โดยละเอียดทีละคำไม่ประมาทเลย ไม่ว่าจะพูดถึงคำไหน พูดถึงคำนั้นโดยนัยต่างๆ ที่จะให้เข้าใจขึ้น แม้แต่กรรม เป็นนามธรรม เป็นเจตสิก เกิดกับจิตทุกขณะ แต่ว่าจิตต่างกัน เท่าที่คนส่วนใหญ่รู้จักก็รู้จักแค่กุศลเจตนาซึ่งเป็นกุศลกรรม และอกุศลเจตนาซึ่งเป็นอกุศลกรรม แต่ความต่างกันของแม้เจตนาก็มีมาก แค่เราลุกขึ้นยืนก็มีเจตนาแล้วใช่ไหม แต่ขณะนั้นจะต่างกับขณะที่เห็นไหม ซึ่งเห็นก็มีเจตนา เห็นไหมว่าเห็นมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย กับเวลาที่เราจะลุกขึ้นยืนก็มีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ต่างกันไหม สภาพจงใจที่เกิดกับเห็น ขวนขวายกระทำกิจที่จะให้เจตสิกอื่นกระทำกิจร่วมกันเกิดขึ้นเห็นเท่านั้นเอง โดยกรรมเป็นปัจจัย เพราะต้องรู้ก่อนว่าจิตเห็นเป็นวิบาก
เพราะฉะนั้นการที่จะศึกษาธรรมต้องละเอียด ก่อนที่จะไปถึงข้อความในพระไตรปิฏกที่จะเข้าใจได้ ต้องรู้ว่าทรงแสดงจิตโดยนัยต่างๆ เช่น โดยนัยของชาติการเกิดขึ้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศลซึ่งเป็นเหตุ และเกิดขึ้นเพราะเหตุที่ได้กระทำแล้วเป็นจิตและเจตสิก ซึ่งต้องเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย เป็นวิบาก และก็มีสภาพธรรมซึ่งไม่ใช่เหตุและไม่ใช่ผล แต่เป็นเพียงกิริยา ซึ่งไม่เป็นปัจจัยให้เกิดผล และไม่ใช่เหตุด้วยก็เป็นเจตนาที่เป็นกิริยา เพราะฉะนั้นความละเอียดของธรรมมีมาก แต่ทั้งหมดก็คือฟังมากๆ เพื่อที่จะเข้าใจว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่อย่างอื่น ไม่ใช่จะไปทำอะไร แต่ฟังเพื่อให้รู้จริงๆ ว่าไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง การเป็นปุถุชนก็ยังมีความทุกข์อยู่ เนื่องจากการยึดติดข้อง ก็คืออุปาทานขันธ์เป็นทุกข์
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ ไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ใครทำให้เกิดขึ้น
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครทำให้เกิดแต่ก็เกิดแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าขณะนี้ใครมีทุกข์ ใครทำให้เกิดขึ้น
ผู้ฟัง สภาพธรรม ไม่มีใครทำให้เกิด
ท่านอาจารย์ คือเราไปติดตัวหนังสือกับติดคำ แต่ความจริงแล้วทุกคำหมายความถึงขณะนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนเลย เพราะฉะนั้นทุกคำก็เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง ซึ่งหลากหลายมากมายมาก เมื่อสักครู่นี้ ธรรมก็มากมายเกิดแล้วดับแล้วหมด เดี๋ยวนี้ขณะนี้เองธรรมก็มีมากมายเกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ เพราะฉะนั้นจะไปพูดถึงคำว่าขันธ์ จะไปพูดถึงคำว่าอะไรก็ตามแต่ ต้องให้เข้าใจให้ถูกต้องว่าหมายความถึงเดี๋ยวนี้ สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีเห็นไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ใครทำให้เกิดขึ้น ฟังธรรมแล้วก็ต้องรู้ว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง เพราะเดี๋ยวนี้ก็มีสิ่งที่มีจริงแต่ไม่มีใครรู้ความจริงของสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น จนกว่าจะมีการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือไม่ใช่รู้อื่นเลย แต่คือรู้สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ซึ่งใครก็ไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มเข้าใจให้ถูกต้องว่า เมื่อวานนี้เดี๋ยวนี้มีไหม เมื่อวานนี้เดี๋ยวนี้ไม่มีเลย เมื่อสักครู่นี้เดี๋ยวนี้มีไหม คือความค่อยๆ เข้าใจ ไม่ใช่ว่าเราอยากจะไปรู้คำนั้นคำนี้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส แต่ต้องเข้าใจว่าเดี๋ยวนี้มีสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน แล้วค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณาจนเข้าใจแต่ละคำอย่างมั่นคงว่า ขณะนี้สิ่งที่มีจริงภาษาบาลีใช้คำว่าธรรม ทำไมว่ามีจริง เพราะมีความเป็นแต่ละอย่างแต่ละอย่างซึ่งหลากหลายต่างกัน เช่นเสียงก็มีจริง เสียงก็ไม่ใช่แข็ง เพราะฉะนั้นเสียงก็จริง แข็งก็จริง ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรมทั้งหมดหลากหลายต่างกันมาก
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าที่เคยไม่รู้มาก่อน ก็คือเข้าใจว่ามีดอกไม้ ทางตามองเห็น ถ้าจะดมกลิ่น กลิ่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เสียง เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่งเป็นแต่ละหนึ่งจริงๆ เริ่มเข้าใจแต่ละหนึ่ง ที่เข้าใจว่ามีคน อะไรเป็นคน ตาเป็นคนหรือเปล่า หูเป็นคนหรือเปล่า แยกออกไปเป็นแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่งก็คือให้เข้าใจว่าแต่ละหนึ่งเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่เคยเข้าใจ เมื่อรวมกันแล้วก็เป็นการยึดถือว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งต้องเกิดขึ้น ขณะนี้ถ้าไม่เกิดก็ไม่มี ค่อยๆ ฟังค่อยๆ คิดว่าใหม่หรือไม่ ที่เราจะได้ยินคำ ซึ่งคำสอนอื่นไม่ได้กล่าวถึงความจริงของสิ่งที่มี แต่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เริ่มรู้จักสิ่งที่มีตลอดเวลาแต่ไม่เคยรู้จักว่าเป็นอะไร ไม่ใช่สิ่งนั้นไม่มี มีตลอดเวลาแต่ไม่เคยรู้จัก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประจักษ์ความจริงของสิ่งที่มี และให้คนอื่นเข้าใจตามความเป็นจริงด้วยว่ามี ไม่ใช่เพียงแต่ชื่อให้เราจำ ให้เราคิด แต่ให้รู้ว่าเดี๋ยวนี้เป็นอะไร เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เป็นสิ่งที่มีจริงหลากหลายมาก แล้วก็ดับไปแล้วทั้งหมดเร็วสุดที่จะประมาณได้ จนไม่เห็นการเกิดดับเลย ถูกต้องไหม ถ้าเห็นไม่เกิดจะมีเห็นไหม ถ้าได้ยินไม่เกิดจะมีได้ยินไหม กำลังเป็นอย่างนี้แท้ๆ เลย ถ้าเห็นไม่เกิดขึ้นก็ไม่มีเห็น ถ้าได้ยินไม่เกิดขึ้นก็ไม่มีได้ยิน แต่เห็นก็ไม่ใช่ได้ยิน แต่เห็นก็มีเมื่อเกิดขึ้น ได้ยินก็มีเมื่อเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีเช่น สภาพเห็น ขณะที่ได้ยิน จะมีสภาพเห็นด้วยไม่ได้เลย ต้องไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตาเพราะกำลังมีเสียงปรากฏ จะมีสิ่งที่ปรากฏทางตาด้วยไม่ได้ แต่ความรวดเร็วทำให้เข้าใจว่ามีทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมกัน ผิดหรือถูก เริ่มรู้ว่าไม่รู้ความจริงของสิ่งซึ่งกำลังเกิดดับสืบต่อเร็วสุดที่จะประมาณได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดดับสืบต่อ มีลักษณะที่ต่างกันเป็นสองอย่าง อย่างหนึ่งเกิดขึ้นไม่รู้อะไรเลย ดับด้วย แล้วก็มีปัจจัยเกิดอีก แล้วก็ดับอีก ไม่ซ้ำกัน แล้วก็ไม่ใช่อันเก่ากลับมาด้วยสักอย่างเดียว สภาพธรรมที่มีแต่ไม่รู้ ใช้คำว่ารูปขันธ์ เพราะเหตุว่าคำว่าขันธ์หมายความถึงสิ่งที่เกิดและดับ ต้องเข้าใจก่อนว่าขันธ์คืออะไร ขันธ์คือสิ่งที่ไม่มี แล้วก็เกิดมี แล้วก็หามีไม่ คือจากไม่มีก็มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นปรากฏแล้วก็หมดไป
เพราะฉะนั้นคำว่าขันธ์ที่เป็นอดีตมีไหม ที่หมดไปแล้วคืออดีตมีไหม และที่กำลังมีเดี๋ยวนี้มีไหม มี และที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ดับหรือเปล่า ดับ ก็เป็นอดีตไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่เกิดซึ่งเป็นอนาคตก็เกิดขึ้นเป็นปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่งของธรรมก็เป็นแต่ละหนึ่ง ใช้คำว่าขันธ์ได้ไหม เพราะฉะนั้นธรรมที่มี และเกิดดับเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตทั้งหมด แม้สภาพที่ไม่รู้อะไรเลยทั้งหมดเป็นรูปก็ต้องเป็นรูปขันธ์ เพราะรูปที่ไม่เกิดไม่มี รูปที่ไม่ดับไม่มี ทุกรูปเกิดและดับ ทุกรูปจึงเป็นแต่ละหนึ่งรูปขันธ์ เสียงเป็นขันธ์หรือเปล่า เป็น เป็นอะไร เป็นรูปขันธ์ เพราะฉะนั้นเข้าใจคำว่าขันธ์ ในโลกนี้มีแต่ธรรม ธรรมแต่ละหนึ่ง มีลักษณะความเป็นไปของตนซึ่งเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นธาตุแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่ง เพราะเหตุว่าทรงไว้ซึ่งความเป็นสิ่งนั้นเปลี่ยนเป็นสิ่งอื่นไม่ได้เลย แข็งต้องเป็นแข็งตลอด เกิดเมื่อไหร่ก็เป็นแข็งจะเป็นอื่นไม่ได้
เพราะฉะนั้นแข็งก็เป็นธาตุชนิดหนึ่งใช้คำว่า ปฐวีธาตุ อ่อนหรือแข็งก็ได้ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เป็นขันธ์หรือเปล่า เป็น เพราะฉะนั้นพอเข้าใจธรรมเราก็เข้าใจตลอดเลย กำลังพูดถึงอะไร พูดถึงสิ่งที่ไม่มีแล้วก็เกิดขึ้น มีแล้วก็ดับไปตลอดเวลาโดยไม่รู้ความจริงว่าเป็นอย่างนี้ จึงยึดมั่นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้นสภาพที่ติดข้องยึดมั่นมีจริงไหม มีจริง ก็ไม่ใช่เราอีก คือให้ฟังว่าจากเดิมที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเลยทั้งสิ้น ก็ค่อยๆ เข้าใจถูกต้องว่าสิ่งที่มีทั้งหมดเป็นธรรมที่มีแต่ละหนึ่ง ซึ่งเกิดดับ ทรงสภาพของความเป็นสิ่งนั้นโดยความเป็นธาตุซึ่งเปลี่ยนไม่ได้ การเกิดและดับไปถ้าไม่มีปัจจุบันแล้วก็ดับไป เราจะรู้ไหมว่าเรากำลังพูดถึงอะไร กำลังพูดถึงสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ เสียงกำลังปรากฏแล้วดับไป เพราะฉะนั้นจึงหมายความว่าเราพูดถึงเสียงก่อน เป็นอดีตแล้ว เสียงที่ยังไม่เกิดจะเกิดเป็นอนาคต เวลาเกิดขึ้นก็เป็นปัจจุบัน กำลังปรากฏเมื่อไหร่เป็นปัจจุบันเมื่อนั้น
เพราะฉะนั้นเรากำลังพูดถึงสิ่งที่เกิดแล้วดับไปตลอดเวลา โดยนัยอีกคำหนึ่งก็คือขันธ์ พอพูดถึงขันธ์ที่ไม่เกิดไม่มี เกิดแล้วต้องดับไปด้วย เพราะฉะนั้นขันธ์ก็คือสภาพธรรมซึ่งเกิดดับ แต่เพราะไม่รู้ความจริง จึงเข้าใจสิ่งที่เกิดดับแต่ละหนึ่งรวมกันว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด การที่เข้าใจยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ชื่อว่าอุปาทานขันธ์ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้ามีรูปร่างกายไหม มีและดับแล้วใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เป็นอดีตแล้วจะมีปัจจุบันต่อไปอีกไหมหลังจากที่ปรินิพพานแล้ว ไม่มี เพราะฉะนั้นดับขันธ์ แต่ใครก็ไม่สามารถที่จะดับขันธ์ได้ เพราะเหตุว่าขันธ์กำลังเกิดดับสืบต่ออยู่ทุกขณะ เพราะความไม่รู้ เพราะความติดข้อง ด้วยเหตุนี้ ความติดข้องมีในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอุปาทานขันธ์ของคนนั้น นี่คือการฟังว่าเรากำลังฟังอะไรฟังเรื่องที่มี แต่ละหนึ่งต้องชัดเจน และก็เปลี่ยนไม่ได้ ก่อนปรินิพพานพระพุทธเจ้ามีรูปร่างกายไหม เพราะฉะนั้นเป็นรูปขันธ์ซึ่งเกิดดับใช่ไหม แม้แต่รูปของพระพุทธเจ้าหรือรูปของใครก็ต้องเกิดดับทั้งนั้น ไม่เว้นเลยธรรมคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะเหตุว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงถึงที่สุด คำใดที่ตรัสไว้กล่าวถึงสภาพนั้นตามความเป็นจริงซึ่งเปลี่ยนไม่ได้ สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้นเมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นไม่รู้ ดับแล้ว ถูกต้องไหม ที่ไม่ดับไม่มี เสียงไม่รู้อะไรเลย เกิดเสียงแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นเสียงเป็นรูปธรรมเพราะไม่รู้ เกิดหรือเปล่า ดับหรือเปล่า เพราะฉะนั้นขันธ์หมายความว่าทุกอย่างที่เกิดแล้วดับไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิด แล้วดับเป็นอดีตแล้ว ไม่อยางนั้นเราจะกล่าวได้อย่างไร ว่าเมื่อวานนี้ เมื่อสักครู่นี้ เมื่อสักครู่ที่เห็นกับเห็นเดี๋ยวนี้ก็คนละเห็นแล้ว เพราะฉะนั้นก็ต้องเข้าใจตามความเป็นจริงเมื่อดับเราก็กล่าวถึงอดีตได้ เมื่อกำลังมีอยู่เราก็กล่าวถึงปัจจุบันได้ และสิ่งที่มีปัจจุบันในขณะนั้นก็ดับด้วย เพราะฉะนั้น เราก็กล่าวถึงอนาคตคือจะต้องมีสิ่งที่มี แล้วยังไม่มี เสร็จแล้วก็สิ่งนั้นก็มีเป็นปัจจุบัน
เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่เกิดดับ เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อดีตคือล่วงแล้ว อนาคตคือยังไม่เกิด ปัจจุบันซึ่งเดี๋ยวนี้กำลังมี นี่คือความหมายของขันธ์ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ก่อนปรินิพพานพระพุทธเจ้ามีรูปไหม รูปนั้นเกิดหรือเปล่า ดับหรือเปล่า เพราะฉะนั้นเป็นขันธ์หรือเปล่า ก็ต้องเป็นขันธ์ ที่พูดอย่างนี้เพื่อต่อไปนี้ได้ยินคำว่าขันธ์จะได้หมดความสงสัย ได้เห็นขันธ์ที่ไหน ข้อความไหนในพระไตรปิฏกพระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก พระอภิธรรมปิฏก มีความหมายหลายอย่าง เช่นเดียวกับภาษาไทย เราบอกว่าขัน หมายความถึงอะไรที่ตักน้ำก็ได้ หัวเราะก็ขัน ใช้คำเดียวกัน เพราะฉะนั้นข้อความในพระไตรปิฏกในภาษามคธีซึ่งเป็นภาษาของชาวมคธก็เหมือนภาษาทั่วไป คำเดียวมีความหมายหลายอย่างก็ได้ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมก็คือต้องให้เข้าใจสิ่งที่กำลังพูดถึง ซึ่งจะกล่าวโดยนัยประการอื่นๆ เป็นคำอื่นๆ แต่สภาพธรรมเปลี่ยนไม่ได้
เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจคำว่าธรรม สิ่งที่มีจริงที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยประการทั้งปวงโดยสิ้นเชิงถึงที่สุดในทุกสิ่งทุกอย่าง นี่คือความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นไม่มีใครสามารถที่จะเปรียบได้เลย แม้เทวดาและพรหมก็ยังไม่ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องมาเฝ้ากราบทูลถาม เพราะฉะนั้นแต่ละคำที่เราได้ยิน ซึ่งเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความเคารพสูงสุดว่าฟังแล้วจะเข้าใจทันทีได้ไหม แค่อ่านจะเข้าใจหมดได้ไหม เป็นไปไม่ได้เลย หนังสือเล่มอื่นเราอ่านเข้าใจได้ แต่พระไตรปิฏกทุกคำ แม้แต่คำว่าขันธ์ก็ยังต้องเข้าใจ ไม่ใช่ว่าผ่านไปว่าขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์เข้าใจแล้ว ไม่ได้ ต้องมีความเข้าใจมั่นคงจริงๆ ว่าเดี๋ยวนี้มีขันธ์ไหม มี เพราะมีสิ่งที่ปรากฏ เพราะเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นรูปของใครทั้งหมดไม่ว่ารูปเทวดา รูปพรหม รูปมนุษย์ รูปสัตว์เดรัจฉาน รูป (รู-ปะ) หมายความถึงสิ่งที่มี ซึ่งไม่ใช่ธรรมที่รู้อะไร เกิดเมื่อไหร่ก็ต้องไม่รู้นั่นแหละ จะรู้ไม่ได้เลย เป็นรูปขันธ์ เพราะฉะนั้นที่ว่าเป็นมนุษย์คือมีรูปขันธ์ด้วยใช่ไหม ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าเป็นรูปธรรม เป็นรูปขันธ์ กำลังเกิดดับหรือเปล่า รู้ไหม แค่ฟัง แต่เดี๋ยวนี้ใครจะรู้ว่ารูปไหนเกิดรูปไหนดับ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1081
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1082
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1083
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1084
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1085
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1086
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1087
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1088
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1089
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1090
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1091
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1092
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1093
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1094
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1095
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1096
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1097
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1098
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1099
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1120
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1121
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1122
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1123
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1124
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1125
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1126
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1127
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1128
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1129
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1130
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1131
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1132
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1133
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1134
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1135
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1136
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1137
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1138
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1139
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1140