ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1103
ตอนที่ ๑๑๐๓
สนทนาธรรม ที่ กรมวิชาการเกษตร
วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ สภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง ก็คือจิตภาษาบาลีก็จะออกเสียงว่าจิตต จะใช้คำว่าวิญญาณก็ได้ ธาตุรู้ทั้งหมดที่เป็นใหญ่เป็นประธานก็คิดจิต แต่สภาพธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้แต่เกิดกับจิต แต่ไม่ใช่สภาพที่รู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ มีลักษณะเฉพาะตนแต่ละหนึ่ง คือเจตสิก คนไทยก็ออกเสียงว่าเจตสิก เคยอ่านเรื่องของจิตที่เขียนโดยนักปราชญ์นักจิตวิทยาไหม เขาพูดถึงคำนี้หรือเปล่า ไม่ไม่มีเลย เพราะไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สามารถที่จะรู้ธาตุ ๒ อย่าง ซึ่งเป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น แยกกันไม่ได้เลยคือจิต และเจตสิก เพราะฉะนั้นธรรมมี รูป ๑ จิต ๑ เจตสิก ๑ ในวันหนึ่งๆ ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ก็คือว่าไม่ใช่เรา เพราะเป็นอะไร เป็นรูปธรรมชนิดหนึ่ง หรือว่าเป็นจิต หรือว่าเป็นเจตสิกทั้งหมดมีปัจจัยเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป ปัจจัยก็คือสภาพธรรมที่อาศัยกัน และกันปรุงแต่ง ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น เป็นอย่างนั้น ดินแข็ง แต่ดินเป็นที่รองรับของความร้อนหรือความเย็น ธาตุไฟ แล้วก็สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้โดยอีกธาตุหนึ่งคือธาตุลม อ่อนหรือแข็งมีจริงไหม
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นธาตุ หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธาตุ
ท่านอาจารย์ เพราะมีลักษณะที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตนๆ เปลี่ยนไม่ได้ ก็เป็นธาตุ เพราะฉะนั้นจะกล่าวว่าธรรมหรือธาตุก็ได้ เพราะธรรมทุกอย่างก็คือธาตุแต่ละหนึ่งๆ นั่นเอง แต่รวมเรียกก็คือว่าเป็นธรรม หรือเป็นธาตุ ธาตุดินอ่อนหรือแข็ง ธาตุไฟเย็นหรือร้อน ธาตุลมตึงหรือไหว เพราะฉะนั้นความเข้าใจธรรมจะกว้างขวาง และละเอียดขึ้น โดยการที่ไตร่ตรอง ไม่ใช่ว่าเพียงแค่ตอบได้นี่คือเราเข้าใจธรรมแล้ว ชาวพุทธแล้ว ยังไม่พอ ยังจะต้องเข้าใจละเอียดถึงแต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งหลากหลายมากแต่เป็นความจริงทั้งหมด ให้รู้ว่าทั้งหมดไม่มีอะไรนอกจากธรรม
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราพูดถึงธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ธาตุเย็น ธาตุร้อน ธาตุอ่อน ธาตุแข็ง ธาตุตึง ธาตุไหว กี่ธาตุแล้ว เย็นหรือร้อน ๑ อ่อนหรือแข็ง ๑ ตึงหรือไหว ๑ กี่ธาตุแล้ว เหลืออีก ๑ ใช่ไหม ธาตุน้ำ เราใช้คำว่าธาตุน้ำ แต่ความจริงไม่ใช่น้ำที่เราดื่ม แต่เป็นธาตุที่ซึมซาบ เกาะกลุ่ม ธาตุทั้ง ๓ ไว้ไม่แยกจากกัน เพราะฉะนั้นทั้ง ๔ ธาตุแยกจากกันไม่ได้เลย แต่เวลากระทบสัมผัสทีไร ไม่ได้กระทบสัมผัสธาตุน้ำเลย จะกระทบสัมผัสเพียงเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว เพราะฉะนั้น ๑ ใน ๓ เวลากระทบต้องปรากฏทีละหนึ่ง แต่ในเมื่อมี ๓ ธาตุ ที่สามารถกระทบกาย แล้วปรากฏได้ จึงรวมเรียกว่าโผฎฐัพพะ เราสามารถเข้าใจได้เมื่อเราค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจ ทีละคำสองคำ เช่นรูปที่ปรากฏในชีวิตประจำวันทุกวันมี ๗ รูป สิ่งที่ปรากฏทางตา จะเอารูปรวมกับอารมณ์ก็ได้เป็นรูปารมณ์ ดีไหมรู้ภาษาบาลีทีละคำ ดีกว่าไม่รู้เลย พอได้ยินเรารู้ แล้วหมายความถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา รูปซึ่งเป็นอารมณ์ รวมความว่ารูปารมณ์ ไม่ต้องพูดว่าสิ่งที่ปรากฏทางตายาวๆ แต่พอบอกว่ารูปารมณ์ ก็สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ถ้าเสียงภาษาบาลีใช้คำว่าสัททะเฉพาะเสียงที่จิตรู้ เป็นสัททารมณ์ เป็นคำรวมของคำว่าสัททะกับอารมณ์ กลิ่น คันธะ เฉพาะกลิ่นที่ปรากฏที่จิตกำลังรู้ รวม ๒ คำ คันธะกับอารมณ์ก็เป็นคันธารมณ์
ผู้ฟัง แล้วก็มีรส
ท่านอาจารย์ รส ต้องรวมกับคำว่าอารมณ์ ก็เป็นรสารมณ์ จิตที่รู้เป็นชิวหาวิญญาณ รู้รสารมณ์ ๓ รูปที่เรากล่าวแล้ว ๓ คือ อ่อนหรือแข็ง ปฐวีธาตุธาตุดิน ธาตุไฟเตโชธาตุ ธาตุลมวาโยธาตุ แต่ทีละหนึ่งรูป แต่ว่าทั้งหมด ๗ รูป โดยที่รูปอื่นก็มี แต่ไม่ปรากฏเป็นอารมณ์ในชีวิตประจำวัน รู้ไหมรูปอะไร ถ้าคิดก็รู้ ถ้าเข้าใจก็รู้ ไม่ใช่ปัญญาของคนอื่น ของคนฟังนั่นแหละ เริ่มมีแล้ว เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องที่จะละความไม่รู้ เริ่มที่จะค่อยๆ ดับกิเลส
มีรูปอื่นซึ่งมีแน่นอน ทุกคนรู้ ไม่ต้องบอก ไม่ต้องพูด ก็รู้ว่ามีแต่ว่าคิดไม่ถึง ว่าแม้รูปนั้นมีก็ไม่ได้ปรากฏในชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวัน รูปมี ๒๘ รูป แต่ที่ปรากฏคือ ๗ รูป แต่รูปอื่นมีแต่ไม่ปรากฏในชีวิตประจำวัน และทุกคนก็รู้ด้วยแต่คิดไม่ถึง มีทุกคน ตา จักขุ ตาเป็นรูปใช่ไหม อยู่ไหน ทุกคนรู้ใช่ไหม ตาอยู่ไหน นั่นแหละเป็นรูปพิเศษ ที่สามารถกระทบเฉพาะสิ่งที่กำลังปรากฏ กระทบเสียงไม่ได้กระทบกลิ่นไม่ได้ แต่รูปไม่เห็นอะไร สภาพที่เป็นรูปแล้วไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย รูปธรรมไม่รู้แต่มี แต่มีรูปหลากหลายมากเป็น ๒๘ รูป ใช่ไหม เรากล่าวไปแล้ว ๗ ตาอีก ๑ รูป เป็น ๘ แล้ว รูปพิเศษจริงๆ ในบรรดาธรรมีทั้งหมด มีสิ่งเดียวที่เห็นได้ คือสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืม รูปอื่นมีจริงแต่มองไม่เห็น เห็นไม่ได้เลย จิตก็มองไม่เห็น เจตสิกก็ไม่เห็น ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ เริ่มเข้าใจให้ถูกต้อง มีสิ่งเดียวคือสิ่งที่กำลังปรากฏซึ่งเป็นรูปที่สามารถกระทบตา เพราะฉะนั้นตาไม่ใช่รูปที่กระทบตา ตาเป็นตา มองไม่เห็น เป็นรูปพิเศษที่สามารถที่จะกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏ ใช้คำว่าจักขุปสาทรูป เป็นรูปซึ่งเรียกว่าปสาท ผ่องใสยิ่ง ที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กระทบทางตาในขณะนี้ เหมือนเราดูกระจกใช่ไหม ถ้าเราผ่านฝาผนังธรรมดาที่ไม่ใช่กระจกเงา ไม่ปรากฏ ไม่มีอะไรเลย แต่พอผ่านกระจกมีสิ่งต่างๆ ปรากฏทั้งห้องทั้งคนเต็มไปหมด เหมือนกับจักขุปสาทรูปเป็นรูปพิเศษ ในบรรดารูปทั้งหมด ๒๘ รูป ที่สามารถที่จะกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ แต่ยังคงเป็น
เพราะฉะนั้นรูปไม่ได้แยกกันเป็นแต่ละหนึ่ง รูปเกิดอย่างน้อยที่สุดรวมกัน ๘ รูป แม้ว่าจะย่อยให้เล็กที่สุดเพียงใดก็ตามแต่ จากการที่ตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า รูปที่แยกกันอีกไม่ได้เลยต้องเกิดรวมกันมี ๘ รูป ธาตุดิน ๑ ธาตุน้ำ ๑ ธาตุไฟ ๑ ธาตุลม ๑ เป็นมหาภูต รูป ที่ใช้คำว่ามหาภูต หมายความว่าถ้ารูป ๔ รูปนี้ไม่มี รูปอื่นมีไม่ได้เลย รูปอื่นทั้งหมด ต้องอาศัยเกิดกับรูปนี้ เพราะฉะนั้น ที่ใดที่มีธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ต้องมีอีก ๔ รูปคือ สิ่งที่สามารถกระทบตา เราเรียกสั้นๆ ว่า สีสันวรรณะต่างๆ ก็ได้ เพราะปรากฏ เป็นสีแดง สีเขียว สีเหลือง หรือไม่ปรากฏเป็นสีเลย แต่ก็กระทบตาได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่กระทบตาได้ก็เป็นรูปหนึ่งที่มีจริง แล้วก็เสียง ก็เป็นสิ่งที่มีจริง แต่ว่าขณะใดก็ตามที่เป็นรูปที่เกิดรวมกันแยกกันไม่ได้ ไม่มีเสียงรวมอยู่ด้วย แต่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ๑ มีกลิ่น ๑ มีรส ๑ และก็มีอาหารรูป รูปที่เมื่อกลืนกินเข้าไปแล้ว ทำให้รูปอื่นเกิดขึ้น นี่เป็นสิ่งที่เราต้องรับประทานอาหาร ไม้กินได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ เพราะมีอาหารใช่ไหม กินจริงๆ ได้ ปลวกก็กินได้ ก็แสดงให้เห็นว่าในบรรดารูปทั้งหมดที่แยกอีกไม่ได้แล้ว เล็กที่สุดปานใดก็ตามต้องมีรูปรวมกัน ๘ รูป ดินน้ำไฟลม มีสี มีกลิ่น มีรส และมีโอชารูป ใช้คำว่าโอชารูปหมายความถึง เมื่อรูปนี้กลืนกินเข้าไปแล้ว ก็จะทำให้รูปอื่นเกิดอีกกลุ่มหนึ่ง ภาษาบาลีใช้คำว่ากลาป โต๊ะมีกี่กลาป กี่กลุ่ม นับไม่ถ้วน โดยมีอากาศธาตุแทรกคั่นอยู่ อากาศธาตุเป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ มีจริงหรือเปล่า
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอากาศธาตุไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่อ่อน ไม่ใช่เย็น ไม่ใช่ร้อน ไม่ใช่รูปใดๆ เลย แต่มีแทรกอยู่ในทุกกลาปของรูป นี่แสดงให้เห็นความจริงทั้งหมดว่าเป็นธรรม แต่เราไม่รู้เลย เป็นเรา เป็นเรื่องราวต่างๆ จบชาตินึงด้วยความเป็นเรา แต่ว่าก่อนนั้นเป็นใครก่อนจะเป็นคนนี้ แล้วจากคนนี้เป็นใคร เพราะฉะนั้นเตรียมจากคนนี้ จะไม่มีคนนี้อีกต่อไปเลย เพราะฉะนั้นคนนี้ที่เคยเป็น ถ้าเป็นชาติหน้าเป็นอย่างไรบ้าง ดีแค่ไหน เลวแค่ไหน รู้แค่ไหน ไม่รู้แค่ไหน ไม่มีใครทำได้เลย นอกจากธรรมซึ่งเกิดจากการสะสมซึ่งละเอียดมาก เพราะเหตุว่าธาตุรู้ คือจิต และเจตสิก ที่เกิดแล้วดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ แต่ละหนึ่งขณะ ถ้าเป็นกุศลก็สะสมกุศลนั้นไป ถ้าเป็นอกุศลก็สะสมอกุศลนั้นไป ถ้ากระทำกรรมใดๆ สำเร็จลงแล้ว แรงของกรรมสามารถที่จะทำให้เกิดที่ไหนก็ได้ จากคนไปสู่นรกอเวจีได้เลย เป็นนกก็ได้ เป็นหนูปูปลาได้หมด
ก็มีการทบทวนได้ ถ้าสนใจคำที่ได้ฟังแล้ว จากการที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน เช่นคำว่า ธรรม นามธรรม รูปธรรม จิต เจตสิก รูป ธาตุดิน น้ำไ ฟ ลม แล้วก็สิ่งที่ปรากฏทางตา รูปารมณ์ หูก็สัทธารมณ์ คันธารมณ์ พวกนี้สามารถที่จะคิดเองแล้วก็จำได้ โดยที่ว่าไม่ต้องไปท่องเลย แต่ถ้าไม่ฟังบ่อยๆ อาจจะลืม แต่พอได้ยินอีกรู้เลย เพราะว่าเคยได้ฟังมาแล้ว เพราะฉะนั้นคนที่ได้เคยฟังธรรมในชาติก่อนๆ จะต่างกับคนที่ฟังมาน้อย อย่างท่านพระสารีบุตร ท่านฟังไม่กี่คำท่านสามารถที่จะรู้ความจริงได้ เพราะว่าท่านสามารถที่จะเข้าใจคำนั้นได้ อย่างสภาพธรรมเกิด ดับ เกิดจริงๆ ดับจริงๆ กับปัญญาที่ได้สะสมมาแล้ว เพราะฉะนั้นท่านสามารถที่จะรู้อริยสัจจธรรมเป็นพระโสดาบันได้
เพราะฉะนั้นการเข้าใจธรรมแต่ละหนึ่งขณะ ประมาทไม่ได้เลย กำลังนำไปสู่การดับกิเลส กำลังนำไปสู่ปัญญาที่จะค่อยๆ เข้าใจความจริง จะมากจะน้อย จะช้าจะเร็ว ต้องอยู่กับเหตุ ไม่ได้หมายความว่าใครสามารถที่จะไปเร่งรัดให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมภายใน ๗ วัน ๑๐ วัน ไปที่นู่น มาที่นี่ได้ แต่ต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า ความไม่รู้ที่มีมาก ค่อยๆ น้อยลงเมื่อได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเกิดความเข้าใจถูกความเห็นถูกของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ตรงตามที่ได้ฟัง เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่ดับกิเลสแล้ว จะดับเองก็ไม่ได้ ต้องเป็นปัญญาที่มีความเห็นถูกต้อง จนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์การเกิดดับ และรู้จริงๆ ว่าแท้ที่จริงแล้วไม่มีอะไร แน่นอนถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่มีอะไร เพราะฉะนั้นจากไม่มีแล้วก็มีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไปเหมือนเดิม ไม่เหลือเลย เหมือนกับไม่มีอะไร ถ้ามีความเข้าใจที่มั่นคงว่า อยู่ไปทุกวันนี้ ก็คือว่าแท้ที่จริงแล้วหลงเข้าใจว่ายังมี แต่สิ่งที่มีชั่วคราวที่ปรากฏแล้วดับไปแล้วไม่กลับมาอีก สู่ความไม่มีอะไร
เพราะฉะนั้นนิพพาน ก็ต้องต่างจากสภาพธรรมซึ่งเกิดดับ ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่มีสาระอะไรเลยทั้งสิ้น ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ ปัญญาต่างหากที่รู้ว่านิพพานคืออะไร แล้วก็จะถึงนิพพานได้ ประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพานได้ ด้วยปัญญาที่รู้ตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้นไม่ใช่เราพยายาม หรือเราหวัง แต่ต้องเป็นการที่เข้าใจคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงไว้อย่างมั่นคง ธรรมทั้งหลายไม่ใช่เรา ไม่มีเราพยายาม แต่พยายามมีไหม พยายามมี แต่พยายามไม่ใช่เรา ทุกอย่างที่มีเป็นธรรมแต่ละหนึ่งๆ ซึ่งไม่ใช่เรา เมื่อไหร่ที่จะคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ก็จะสามารถรู้ความจริงซึ่งถูกปิดบังไว้ เช่น เห็นขณะนี้กำลังเกิดดับ ถ้าไม่ประจักษ์แจ้งอย่างนี้จริงๆ จะกล่าวคำนี้ได้ไหม เพราะฉะนั้นคำนี้ใครกล่าว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสด้วยพระองค์เอง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง เห็นนี่แหละไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป สิ่งที่ปรากฏก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้น แล้วดับไป ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นอย่างนี้ ผู้ที่ทรงตรัสรู้แล้วเท่านั้นจึงกล่าวว่าความจริงเป็นอย่างนี้ แต่คนที่ไม่ได้เห็นประจักษ์แจ้งอย่างนี้ ก็ยังไม่สามารถที่จะรู้ว่า เดี๋ยวนี้ไม่มีอะไร แล้วก็มี แล้วก็หามีไม่ แต่ละหนึ่งๆ หลากหลายตลอด ขณะนี้เป็นอย่างนี้ ถ้าไม่รู้อย่างนี้ก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่า มีธรรมซึ่งไม่เกิดต่อเมื่อไม่มีปัจจัยที่จะให้เกิด เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังมีกิเลสเป็นปัจจัยก็ยังต้องเกิด แต่ตราบใดที่หมดกิเลส เกิดอีกไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ทั้งหลายจึงปรินิพพานไม่มีการเกิดอีก เพราะเหตุว่าดับกิเลสหมดแล้ว
เพราะฉะนั้นแต่ละคำ เป็นสิ่งซึ่งลึกซึ้งต้องค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจแต่ต้องไม่ลืมว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาเป็นเบื้องต้น ความเพียรมีจริง ความเพียรผิดมีไหม มี ความเพียรถูกก็มี จะให้ความเพียรผิดเป็นความเพียรถูกก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นแต่ละคำมีค่า ถ้าเห็นประโยชน์ ค่อยๆ สะสมไป วิชาอื่นยังเรียนได้ แล้วทำไมธรรมมีอยู่ตลอดเวลาไม่เข้าใจ ควรจะเข้าใจก็ไม่เข้าใจถ้าไม่เห็นประโยชน์ เท่าที่ได้ฟังแล้วเป็นประโยชน์ไหม
ผู้ฟัง เป็นประโยชน์ จากสิ่งที่ไม่รู้เราได้รู้ก็คือประโยชน์
ท่านอาจารย์ ถ้าฟังมากกว่านี้ ประโยชน์ก็ต้องมากกว่านี้
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ แต่ละส่วนของโพชฌงค์มีไว้เพื่ออะไร ทำอะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทำไมต้องมี
ท่านอาจารย์ โพชฌงค์ เป็นองค์ธรรม หมายความถึงเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งเป็นองค์ของการที่จะรู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ละคำเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แม้แต่องค์ของปัญญาที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม โพชฌังค องค์ของการที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ก็ต้องหมายความถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ ซึ่งในบรรดาสภาพธรรมทั้งหลาย สภาพธรรมทั้งหมดไม่ใช่สามารถที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ แต่เฉพาะสภาพธรรมที่เป็นโพชฌงค์ ที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม แต่ว่าธรรมดา สิ่งต่างๆ ที่กำลังปรากฏ ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ความจริงได้ แต่กว่าจะรู้ความจริง ต้องอาศัยคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละคำที่จะทำให้ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มีในขณะนี้ได้ กว่าจะถึงโพชฌงค์
เพราะฉะนั้นก็ต้องประกอบด้วยธรรมหลากหลายมากมาย เพราะว่าธรรมดาของธรรมที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นธรรมที่ไม่ดี แต่โพชฌงค์ต้องเป็นธรรมฝ่ายดี เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ ถ้ายังไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะไหนเป็นธรรมที่ไม่ดี ที่ควรที่จะละ ควรที่จะเว้น ขณะนั้นก็ไม่สามารถที่จะอบรมเจริญธรรมที่ดี จนกว่าจะเป็นองค์ คือถึงภาวะที่สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรม โดยรู้ความจริงตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้นโพชฌงค์ก็เป็นธรรมที่มาจากการที่ต้องได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้เข้าใจก่อน ว่าทั้งหมดเป็นสิ่งที่มีจริง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่าไม่ใช่เรา ก่อนอื่นฟังธรรม นี่ต้องฝืนกระแสที่เคยเป็น เคยเป็นเราตลอดมาแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา และก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นแต่ละคำ ต้องมั่นคงว่าธรรมไม่ใช่เรา กว่าจะถึงโพชฌงค์ เพราะว่าถ้าไม่มีการที่จะเข้าใจสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ทีละเล็ก ทีละน้อย ก็ไม่สามารถ ที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม เพื่อเข้าใจถูกต้องว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นโพชฌงค์ ก็คือปัญญากับสภาพธรรม ที่เกิดร่วมกัน ที่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่มีในขณะนี้ ว่าไม่ใช่เรา ทีละเล็กทีละน้อย จนกว่ามั่นคง และก็สามารถที่จะค่อยๆ ถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมแต่ละหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มากมายหลายอย่างยังไม่ได้รู้เฉพาะแต่ละหนึ่งเลย เพราะฉะนั้นการที่จะรู้อะไรจริง ต้องรู้หนึ่ง ถ้าหลายๆ อย่างพร้อมกันไม่สามารถที่จะรู้ชัดเจนได้ จะรู้ชัดเจนได้ต่อเมื่อรู้ทีละหนึ่ง เพราะฉะนั้นขณะนี้ทีละหนึ่ง เป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา
เพราะฉะนั้นหนทางของการฟังธรรมที่จะเข้าใจความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือทรงตรัสรู้ว่าธรรมที่มี ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สนใจที่จะศึกษาไหม เพื่อที่จะรู้ว่าไม่มีเรา ถ้าไม่มีสภาพธรรมใดเกิดขึ้นเลย ก็ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น แต่เมื่อมีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ หมายความว่าสภาพธรรมนั้นต้องเกิด ไม่เกิดก็ไม่ปรากฏ การเกิดขึ้นของธรรม ถ้ายังไม่ถึงโพชฌงค์ ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะนี้สภาพธรรมกำลังเกิด แต่กว่าจะเป็นโพชฌงค์ ก็จะต้องเข้าใจธรรมตามลำดับขั้น คือขั้นฟังอย่างละเอียดมาก ที่จะเข้าใจแต่ละหนึ่งว่าไม่ใช่เรา ไม่ว่าจะพูดถึงอะไรก็ตาม แต่ละหนึ่งต้องฟังด้วยความเคารพ รู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นการฟังธรรมแต่ละหนึ่ง ก็คือว่าฟังให้เข้าใจว่าธรรมนั้นไม่ใช่เรา จนกว่าจะถึงโพชฌงค์
อ.วิชัย ท่านอาจารย์ การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงธรรมโดยประการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมที่เป็นไปเพื่อการตรัสรู้ หรือโพธิปักขิยธรรม ก็ไม่ใช่พระองค์ตรัสเรื่องของโพชฌงค์อย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของสติปัฐาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ สัมปทาน ดังนั้นคำต่างๆ เหล่านี้จะเป็นการแสดงความเป็นไปของธรรมฝ่ายดีงาม เพื่อจะเป็นการตรัสรู้อย่างไร ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็นความเห็นถูก ความเข้าใจถูก เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือผู้ที่ทรงตรัสรู้ด้วยพระปัญญา เพราะฉะนั้นคนฟังคำของพระองค์ ก็เริ่มจะมีปัญญาทีละเล็กทีละน้อย จากการที่ฟังคำของพระพุทธเจ้า ซึ่งทุกคำทำให้มีความเห็นที่ถูกต้อง ซึ่งก็คือปัญญานั่นเอง เพราะฉะนั้นขณะนี้ยังไม่เป็นโพชฌงค์ แน่นอน แต่เป็นการเริ่มฟังธรรม ทุกคำต้องมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ฟังธรรมต้องค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรอง จนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น ขณะนี้ไม่มีเรา ไม่มีใคร ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยทั้งสิ้นแต่มีธรรม คือมีสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง ซึ่งปรากฏแต่ละทาง เช่น สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอย่างหนึ่ง เสียงที่ปรากฏทางหูเป็นอย่างหนึ่ง คิดเป็นอย่างหนึ่ง จำเป็นอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นตั้งแต่เกิดจนตายเป็นธรรมทั้งหมด ซึ่งถ้าไม่มีการฟังพระธรรมเลย ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ว่าไม่ใช่เราเลยทั้งสิ้น ไม่มีใครบอกด้วย เพราะเกิดมาก็ไม่เห็นมีใครบอกเราเลยว่า นี้นะไม่ใช่เราเป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง จนกระทั่งโตมาแล้วแต่ว่าใครมีโอกาสที่จะได้ฟังคำนี้เมื่อไหร่ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บางคนก็ผ่านไปเลยแต่ว่าผู้ที่ละเอียด ธรรมเป็นธรรม แล้วก็เป็นอนัตตาด้วย เพราะฉะนั้นก็เริ่มมีความมั่นคง ที่สำคัญที่สุด คือธรรมฟังแล้วมั่นคง เข้าใจไม่เปลี่ยนแปลง จึงสามารถที่จะเพิ่มความเข้าใจขึ้นได้ แต่ถ้าเปลี่ยนแปลง ฟังแล้วก็ยังคิดว่าเราทำได้ หรือเป็นตัวตน ขณะนั้นก็ไม่มั่นคงในความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นจะไม่เป็นหนทางนำไปสู่โพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่นำไปสู่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ซึ่งรวมทั้งโพชฌงค์ด้วย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1081
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1082
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1083
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1084
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1085
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1086
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1087
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1088
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1089
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1090
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1091
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1092
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1093
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1094
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1095
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1096
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1097
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1098
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1099
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1120
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1121
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1122
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1123
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1124
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1125
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1126
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1127
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1128
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1129
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1130
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1131
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1132
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1133
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1134
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1135
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1136
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1137
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1138
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1139
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1140