ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1105
ตอนที่ ๑๑๐๕
สนทนาธรรม ที่ ร้านอาหารสำรับใต้
วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ จิตเป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ ส่วนสมองเป็นรูปธรรมซึ่งไม่รู้อะไร นี่คือจากการฟังมา แล้วก็จำ
ท่านอาจารย์ แต่ระหว่างฟังทั้งจิตเรา ทั้งสมองเรา และแก่แล้วจำอะไรไม่ค่อยได้เป็นเราหมด ไปยุติลงที่เราทั้งนั้น แต่ตรงข้ามถ้ารู้ว่าเดี๋ยวนี้แหละไม่ใช่เรา แต่มีธาตุรู้เกิดขึ้น ถ้าไม่มีธาตุรู้อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่าธาตุรู้ ๒ คำ ก็ต้องชัดเจน ธาตุจะเป็นอะไรได้ แข็งจะเป็นอะไรได้ หวานจะเป็นอะไรได้ ก็เป็นแต่ละธาตุ แต่ละหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นธาตุรู้จะเป็นใครไม่ได้เลยทั้งสิ้น ทุกคำของสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องนำไปสู่ความไม่ใช่เรา ไม่อย่างนั้นไม่มีประโยชน์เลย และความละเอียดก็ยิ่งมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งละคลายความเป็นเราเท่านั้น ขณะนี้มีธาตุรู้ก็ไม่รู้ ฟังจนกว่าจะรู้ ไม่ใช่ฟังแล้วจำว่าธาตุรู้เ ป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม รูปธรรมไม่ใช่สภาพรู้ แค่นี้จบ ไม่ได้อะไรเลย นอกจากชื่อ เดี๋ยวนี้เห็น เห็นไหม ธาตุรู้หรือเปล่า แค่นี้ก็ต้องไตร่ตรองแล้วใช่ไหม กำลังเห็นแท้ๆ เดี๋ยวนี้เป็นธาตุหรือเปล่า และรู้อะไรหรือเปล่า ถ้าไม่รู้ก็ไม่มีสิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ แต่เพราะมีสิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ ก็เพราะธาตุชนิดนี้เกิดขึ้นรู้อะไร ก็รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ว่าสิ่งที่ปรากฏนี่อย่างนี้นั่นแหละ รู้อย่างนี้แหละ นั่นคือธาตุรู้ เพราะฉะนั้นกว่าจะถึงวันที่ประจักษ์แจ้ง ว่าธาตุรู้ไม่ใช่เราก็ต้องอาศัยพระธรรมที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษา แล้วจะไปบอกใครให้ทำอะไร ไม่มีทาง ถ้าเขาไม่เข้าใจธรรม
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ถ้ามีคำที่กล่าวว่าถ้าเข้าใจธรรม แล้วจะเป็นสัญญาที่มั่นคง กับคำที่ว่าสัญญาก็เป็นอนัตตา สัญญาก็ไม่เที่ยง ต่างกันช่วงไหนบ้าง
ท่านอาจารย์ ต่างกันเพราะว่านี่เป็นคำที่เราเคยได้ยิน สัญญามีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ สัญญาคืออะไร
ผู้ฟัง สัญญาคือความจำได้ หมายรู้
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มั่นคงไหม
ผู้ฟัง บางทีก็ลืม คือไม่มั่นคง
ท่านอาจารย์ ก็เราก็รู้อยู่แล้วว่าไม่มั่นคง เพราะอะไร ถ้ามั่นคงก็คือเป็นธรรมที่กำลังเห็น นั่นแหละค่อยๆ รู้ค่อยๆ มั่นคงขึ้น ไม่ใช่ว่าจะไปมั่นคงอย่างไร ฟังแล้วไม่รู้มั่นคงอย่างไร ก็ความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น ทั้งๆ ที่บอกว่าเห็นเดี๋ยวนี้เป็นธาตุรู้ มั่นคงหรือยัง แล้วจะไปตอบแทนใครได้ไหม นอกจากคนนั้น วันนี้รู้บ้างไหมว่าเห็นเป็นธาตุรู้ วันนี้รู้บ้างไหมว่ากำลังได้ยินเป็นธาตุรู้ รู้บ้างไหมว่าเดี๋ยวนี้ที่กำลังคิดเป็นธาตุรู้ รู้บ้างไหมว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งสามารถจะรู้อะไรได้ในชีวิตเป็นธาตุรู้ทั้งหมด ไม่ต้องไปมีคำถามเรื่องอื่นเลย แต่มีสิ่งที่กำลังปรากฏนั่นแหละ เป็นเครื่องยืนยันว่ามั่นคงหรือเปล่า ว่าไม่ใช่เรา เป็นธรรม พอจะรู้ใช่ไหม สัญญาที่มั่นคงหมายความถึงอะไร ถ้าไม่มีสัญญาที่มั่นคงสติสัมปชัญญะที่จะรู้ยิ่งกว่านี้เกิดไม่ได้ แน่นอน
เพราะฉะนั้นธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลุ่มลึก แล้วก็ที่ใช้คำว่ากระทำให้ตื้น ให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นตามลำดับได้ ไม่ใช่กระโจนพรวดเดียวไปถึงมหาสมุทร แต่ต้องแต่ละคำ เพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจได้ตามลำดับ ตามลำดับคือสัญญาคืออะไร คือความจำ เวลานี้จำว่าเป็นเรา แต่คำว่าสัญญาเป็นธรรม ไม่มั่นคงจึงเป็นเรา เพราะฉะนั้นตอนนี้เราก็เข้าใจถูกต้องด้วยตัวเอง ใช่ไหม ไม่ใช่เพียงแต่ชื่อว่าคืออะไร ได้ยินมาว่าสัญญาที่มั่นคงคืออะไร ก็มั่นคงว่าเป็นธรรม แต่เวลานี้เห็นไม่เป็นธรรม ก็ไม่มั่นคง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์อาจจะเป็นเพราะว่าเมื่อก่อนเราได้ยินว่าสัญญาไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เพียงแค่สัญญา อะไรอีกที่ไม่เที่ยง
ผู้ฟัง ขันธ์ ๕ ทั้งหมดเลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่สงสัยเลย ใช่ไหม ว่าแม้สัญญาก็ไม่เที่ยง ปัญญาเที่ยงไหม
ผู้ฟัง ไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่ามั่นคงหรือเปล่า จนกว่าจะเกิดบ่อยๆ แล้วก็ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อไหร่ก็ระลึกได้เมื่อไรก็รู้ ถ้าจะมีคนบอกเราว่านั่นไม่มั่นคง ได้หรือ ในเมื่อรู้จริงๆ บ่อยๆ จริงๆ เข้าใจจริงๆ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ วันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมง อาจจะระลึกถึงว่าเป็นธรรมได้สักเสี้ยววินาที
ท่านอาจารย์ บางทีไม่ระลึกเลย ฟังธรรมจริง นามขันธ์ รูปขันธ์ก็ฟัง วิทยุเช้าค่ำ ฟังหมด แต่จะรู้ไหมว่าขณะนี้เป็นธรรม เพราะฉะนั้นปัญญาต้องอบรมระดับไหน แล้วจะไปเที่ยวบอกให้คนอื่นเขาประพฤติดี ตามพระธรรมวินัย ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นทุกคนรู้ด้วยตัวเอง เข้าใจเลยพระโพธิสัตว์ ผู้ที่ข้องในการเข้าใจความจริง สัตว์เป็นผู้ที่ข้อง สัตว์โลกข้องอยู่ในโลก รูป สียง กลิ่น รส ตีนขึ้นมาก็คิดนั่นเห็นนี่ ดูอะไรต่ออะไรไป ก็เป็นสัตว์ที่ข้องอยู่ในโลก เป็นสัตวโลก แต่นี่เป็นโพธิ ไม่ได้ข้องอยู่ในโลก ข้องอยู่ในการที่จะเข้าใจความจริง ของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ แม้แต่การตรึก ที่จะคิดว่าเพื่อที่จะเข้าใจซึ่งเป็นสิ่งที่ยากไหม เดี๋ยวนี้เป็นอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสทุกอย่าง แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นได้เคยฟังมาแล้วจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ รู้ความยาก ความลึกซึ้ง แต่ก็ไม่หยุดที่จะตั้งใจที่จะเป็นโพธิสัตว์ ผู้ที่จะตรัสรู้ด้วยตัวเอง เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่ออะไร อนุเคราะห์คนอื่น ซึ่งเขาไม่สามารถที่จะบำเพ็ญคุณความดีได้ ถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราทำความดีได้นิดหน่อย คิดถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กว่าจะทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา ยิ่งกว่าใครทั้งวัน ตั้งแต่เช้าตื่นขึ้นมาก็พิจารณาแล้ว ควรที่จะไปสงเคราะห์ใครที่เขาสามารถรับฟังได้ พิจารณาด้วยพระญาณ พระมหากรุณาสมาบัติ อยู่ไกลแสนไกลก็ไป แม้ก่อนบิณฑบาตตอนเช้า เพราะฉะนั้นแต่ละคำไม่ใช่จะได้มาโดยง่ายเลย แล้วเรามาคิดง่ายๆ ฟังง่ายๆ ทำอะไรง่ายๆ สำนักปฏิบัติก็เป็นการทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นทุกคำต้องละเอียด ต้องลึกซึ้ง และต้องเพื่อความเข้าใจถูก เพื่อความไม่ใช่เรา และต้องรู้ว่าสิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นผล สิ่งใดเป็นไปไม่ได้ สิ่งใดไร้สาระ สิ่งใดเป็นการทำด้วยความหวัง ความเขลา หรือว่าทำด้วยการเข้าใจที่ถูกต้อง
ผู้ฟัง ถ้าเราเข้าใจพระธรรมจริงๆ ชีวิตจะมีความสุขจริงๆ เพราะจะเข้าใจการปรุงแต่งของเจตสิกที่เกิดขึ้น ท่านอาจารย์พอจะขยายตรงนี้ได้ไหม
ท่านอาจารย์ ฟังดูแล้ว ก็คิดว่าสมควรที่จะเข้าใจถูกต้อง ได้เมื่อเข้าใจทีละคำชัดเจน นี่เข้าใจไหมน้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ แล้วก็เอามารวมกันใช่ไหม เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่ความชัดเจน เพราะฉะนั้นถ้าเป็นความชัดเจนจริงๆ ต้องทีละคำอย่างมั่นคง ธรรมชัดเจนหรือยัง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงๆ ไม่เว้นเลยชัดเจนหรือยัง
ผู้ฟัง ชัดเจน
ท่านอาจารย์ เห็นเป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ คิดเป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ชอบเป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ โกรธเป็นธรรมหรือเปล่า แข็งเป็นธรรมหรือเปล่า ทุกอย่างที่มีจริง มีลักษณะของตน ที่ปรากฎว่าจริง แล้ว ก็มีในขณะนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้นี่คือธรรม เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าใจธรรม คำนี้เวลาใครเขาพูดถึงว่า วันนี้จะมีการสนทนาธรรม เข้าใจไหมว่าเขาจะทำอะไรกัน วันนี้จะสนทนาธรรมเข้าใจไหมว่าเขาจะทำอะไรกัน ถ้าเราเข้าใจคำว่าธรรม แสดงว่าเขาไม่ได้สนทนาเรื่องอื่นใช่ไหม แต่เรื่องสิ่งที่มีจริงๆ แต่ถ้าปรากฏว่าคำสนทนานั้นไม่ใช่เรื่องนี้ เราก็รู้ว่าเขาไม่ได้สนทนาธรรม เพราะเราเข้าใจคำว่าธรรม เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องชัดเจนมาก เปลี่ยนแปลงธรรมไม่ได้เลย ธรรมต้องเป็นธรรม ถ้าสนทนาเรื่องอื่น ทันทีเขาไม่ได้สนทนาเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ จึงไม่ใช่สนทนาธรรม แต่ถ้าสนทนาธรรมก็คือพูดเรื่องสิ่งที่มีจริง ให้เข้าใจชัดเจนขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงเข้าใจทีละคำ แล้วก็แต่ละคำ เมื่อครู่นี้คุณพัฒน์นรีพูดถึงเรื่องทวารใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ทวารคืออะไร ถ้าไม่เข้าใจว่าคืออะไร ไม่ต้องฟังต่อไปอีกแล้ว เพราะว่าฟังอย่างไรก็ไม่เข้าใจ หรือคิดว่าเข้าใจแต่ความจริงไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นถ้าจะเข้าใจจริงๆ ต้องทวารคืออะไร ชัดเจนหมด จึงสามารถที่จะเข้าใจคำต่อไปได้ เพราะเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่คำของคนธรรมดา พูดง่ายๆ แต่งตำราออกมาง่ายๆ ใครอ่านจบแล้วดีนะ ทำให้เราไม่โกรธ ทำให้เราเบาบางอย่างนั้นอย่างนี้ นั่นไม่ใช่ แต่ไม่ได้รู้ความจริงของสิ่งที่มี เพราะฉะนั้นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องต่างกับคำของคนอื่น ยิ่งเข้าใจยิ่งลึกซึ้ง แล้วทวารคืออะไร
ผู้ฟัง ทางรับอารมณ์
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถึงไม่มีทางรับอารมณ์ จิตก็รู้อารมณ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นนี่คือความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่าเราพูดถึงทวาร เมื่อสิ่งนั้นเป็นสิ่งซึ่งจิตอาศัยเกิดขึ้นรู้ อย่างตา มีจริงๆ หรือเปล่า
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ใครเป็นคนทำให้ตาเกิดขึ้นมา
ผู้ฟัง กรรมทำให้เกิด
ท่านอาจารย์ คนอื่นทำได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ คนตาบอดอยากเห็น อยากให้มีตาสักเท่าไหร่ ทำให้ตาเกิดได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไปเอาอะไรมาปรุงแต่ง ใช้ยาสารพัดให้ตาเกิดขึ้น ตาเกิดขึ้นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แม้แต่อุตุ ความเย็นความร้อน พืชพรรณทุกชนิด ที่จะมาอาศัยเป็นยารักษาให้มีตาเกิดขึ้นก็ไม่ได้ กินอาหารกินอย่างนี้ๆ แล้วจะมีตา ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งเดียว ที่ตาเวลานี้เกิดมีขึ้นเพราะกรรม การกระทำที่ได้กระทำแล้วในอดีต เป็นปัจจัยให้ต้องมีตาเพื่ออะไร
ผู้ฟัง มีตาเพื่อรับผลของกรรม
ท่านอาจารย์ เพื่อเห็น ทางไหน ผลของกรรมตั้งแต่เกิด และขณะแรกที่เกิดก็เป็นผลของกรรม และเกิดต่างที่ ต่างครอบครัว ต่างเชื้อชาติ ต่างประเทศนี่ก็เป็นผลของกรรม และยังภายภาคหน้าจะเกิดอะไรขึ้น จะเห็นอะไร จะได้ยินอะไร ก็ต้องเป็นผลของการอีกแล้ว เพราะฉะนั้นผลของกรรมมีอยู่ตลอดเวลา แต่ผลไหน ผลให้เห็น หรือผลให้ได้ยิน หรือผลให้ได้กลิ่น หรือผลให้ลิ้มรส หรือผลให้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ด้วยเหตุนี้ที่ตัวของเรามีรูปพิเศษ ซึ่งสามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เพราะรูปนั้นกระทบกับสิ่งนี้ เป็นปัจจัยให้ธาตุรู้เกิดขึ้นเห็น ตัวตาไม่เห็น สิ่งที่กระทบตาที่กำลังปรากฏให้เห็นก็ไม่เห็น สิ่งเดียวที่เห็นคือธาตุรู้เกิดขึ้นกำลังเห็น เพราะฉะนั้นถ้าไม่อาศัยตาเป็นทาง จิตเห็นเกิดไม่ได้ แต่จิตเห็นไม่ได้อยู่นานเลย เพียง ๑ ขณะ ก่อนจิตเห็นมีจิตไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มีอารมณ์ไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ จิตเป็นธาตุรู้ เกิดขึ้นต้องรู้ จะอาศัยทวารหรือไม่อาศัยทวารก็เป็นจิต แล้วต้องเกิดขึ้นรู้ จะไม่รู้ไม่ได้เลย ธาตุรู้เกิดขึ้นต้องรู้ ด้วยเหตุนี้ขณะแรกที่เกิดอาศัยทวารหรือเปล่า
ผู้ฟัง ปฎิสนธิจิตใช่ไหม ไม่อาศัยทวาร
ท่านอาจารย์ ไม่อาศัยทวาร รู้อารมณ์หรือเปล่า
ผู้ฟัง เมื่อมีจิตเกิดต้องรู้ว่าอารมณ์
ท่านอาจารย์ นี่คือความเข้าใจ ต้องมั่นคงจริงๆ สัญญามั่นคงหรือยัง ต้องถามใครหรือเปล่า และต้องมั่นคงถึงระดับไหน ถึงจะเป็นปัจจัยให้ปฏิปัตติ หรือสติสัมปชัญญะเกิดได้ เราไม่ใช่คนที่เหมือนหุ่นยนต์หรือถูกสะกดจิต เขาบอกให้นั่งก็นั่ง เขาบอกให้เดินก็เดิน เขาบอกให้หลับตาก็หลับตา เขาบอกให้เคลื่อนไหวก็เคลื่อนไหว ไม่ใช่อย่างนั้น นั่นไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำ ทำให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่มี ไม่ใช่ไม่เคยมี แต่ไม่เคยเข้าใจ เพราะแท้ที่จริงสิ่งนั้นไม่ใช่เรา แต่มีปัจจัยจึงเกิดได้ ถ้าไม่มีปัจจัยก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่มีจิตสักขณะเดียวที่ไม่รู้อารมณ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ขณะเกิด จิตรู้อารมณ์หรือเปล่า
ผู้ฟัง รู้
ท่านอาจารย์ ขณะสุดท้ายที่จะจากโลกนี้ไป จิตรู้อารมณ์หรือเปล่า
ผู้ฟัง รู้
ท่านอาจารย์ รู้ นี่คือความที่ถูกต้อง ถ้าจิตใดที่อาศัยทวาร จิตนั้นเป็นวิถีจิต เพราะฉะนั้นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต เพราะไม่ต้องอาศัยทวาร ก็คือขณะเกิด ขณะตาย และขณะที่กำลังหลับสนิท ไม่มีอารมณ์ปรากฏไม่อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเลย ค่อยๆ เข้าใจทีละคำแล้วจะไม่สับสน ต้องรู้ว่าจิตเป็นสภาพรู้ อันนี้แน่นอนที่สุด จะหลับ จะตื่น จะเป็น จะตาย จะเกิดใหม่ หรือเมื่อไหร่ก็ตาม ธาตุรู้เกิดขึ้นไม่ใช่เรา เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นรู้ แต่เพราะไม่รู้จึงคิดว่าเราเกิด ความจริงธาตุรู้เกิดต่างหากขณะนั้น และธาตุรู้ขณะนั้นโลกนี้ไม่ปรากฏเลย เป็นผลของกรรมที่ทำให้จิตขณะนั้นเกิดขึ้นรู้อารมณ์แน่ แต่อารมณ์นั้นไม่ปรากฏ ถ้าพระสัมมาส้มพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงว่า แล้วจิตขณะเกิดรู้อารมณ์อะไร เพราะใครรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ แต่คนอื่นบอกไม่ได้เลย และกรรมทำให้ปฏิสนธิจิต จิตที่ทำกิจเกิดขึ้นครั้งแรกใช้คำว่าปฏิสนธิ สืบต่อจากจุติจิต จิตขณะสุดท้ายของชาติก่อนหมายความว่าอะไร หมายความว่าทันทีที่ตาย จิตนั้นทำกิจเคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนั้นดับ จิตอันเกิดสืบต่อทันที ไม่มีระหว่างคั่น เพราะฉะนั้นเราเป็นใครชาติก่อน ไม่รู้หมด เราจะเป็นคนนี้อีกไม่นานใช่ไหม ตายแล้วจะมาเป็นคนนี้อีกได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้แล้ว
ท่านอาจารย์ เป็นคนนี้ได้แค่นี้ แค่นี้จริงๆ หู ตา จมูก ลิ้น กาย อะไรๆ จะเป็นได้ก็แค่ชาตินี้ ชาติต่อไปก็ไม่รู้แล้วว่ากรรมใดจะทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ปฏิสนธิจิตเกิดดับหรือเปล่า เกิดดับ แล้วจิตอะไรเกิดต่อ
ผู้ฟัง ภวังคจิต
ท่านอาจารย์ ทำไมใช้คำว่าภวังค์ ภว กับอังค จึงรวมกันเป็นภวังค์ ภว คืออะไร อังคหรือองค์คืออะไร
ผู้ฟัง ดำรงภพชาติ
ท่านอาจารย์ ภวคือความเป็น เกิดมาเป็นเลย เป็นอะไรก็เป็นเลยใช่ไหม ทันทีที่เกิดไม่เป็นไม่ได้ ต้องเป็น เพราะฉะนั้นมีความเป็นที่จะต้องเป็นต่อไป ไม่ใช่แค่ขณะเกิดขณะเดียว เพราะฉะนั้นกรรมทำให้จิตซึ่งเกิดสืบต่อ เป็นจิตประเภทเดียวกันเลย เพราะกรรมเดียวกันยังไม่สิ้นสุดผลของกรรม ที่ให้เป็นบุคคลนี้ จะเป็นบุคคลอื่นทันทีไม่ได้ ต้องอาศัยกรรมที่จะทำให้เป็นบุคคลนี้ต่อไป จนกว่าจะถึงขณะสุดท้าย ก็จะพ้นความเป็นบุคคลนี้ จะกลับมาเป็นคนนี้อีกสักขณะเดียวก็ไม่ได้ แม้อารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฏในขณะเกิดดับไปขณะเดียว จิตสืบต่อก็เป็นจิตประเภทเดียวกันด้วย เพราะฉะนั้นก็อารมณ์ไม่ปรากฏเหมือนกัน เพราะเป็นผลของกรรมเดียวกัน ที่จะทำให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นดำรงความเป็น ภว ~ อังค ทำกิจภวังค์
การฟังธรรม ทำให้เป็นคนที่ตรงต่อความจริง และเหตุผล ว่าจิตที่อาศัยทวารทั้งหมด ไม่ใช่ ๑ ขณะ หลายขณะก็จริง เพราะสิ่งที่ปรากฏเห็นเป็นรูป มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูปรูปหนึ่งจึงดับไป เพราะฉะนั้นรูปที่ยังเหลืออยู่หลังจากจิตเห็น ก็จิตอื่นที่เกิดต่อ ก็รู้รูปนั้นแหละที่ยังไม่ได้ดับ นี่เป็นเรื่องที่ละเอียด แต่ว่าธรรมถ้าไม่พูดให้ละเอียดก็เข้าใจผิดๆ แล้วก็ไม่สามารถที่จะละความเป็นเราได้ แล้วก็คิดเองต่อเติมก็ผิดไปเลย นี่คือความบกพร่อง นี่คือการที่จะทำลายพระศาสนา คือไม่เข้าใจธรรมให้ถูกต้อง แต่ว่าไปคิดเองแล้วก็ คร่าวๆ เผินๆ แสดงธรรมก็เผินมากเลยใช่ไหม ไม่ได้แสดงถึงความจริงถึงที่สุดซึ่งเป็นธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม ยิ่งใหญ่ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ บรม ปรมะ เหมือนกัน อภิธรรมก็เป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง เกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ไม่มีใครรู้นั่นแหละ อภิธรรม ลึกซึ้งแค่ไหน ได้ยิน เสียงยังไม่ทันดับ ติดข้องแล้วก็ไม่รู้ นี่ก็คือสิ่งซึ่งผิวเผินไม่ได้เลย
ผู้ฟัง ที่ดิฉันบอกว่าการฟังพระธรรม พอเราได้รับสิ่งที่กระทบทางตาก็ตาม หูก็ตาม
ท่านอาจารย์ ตอนนี้ก็เปลี่ยนแล้ว ไม่มีเราได้รับสิ่งที่กระทบแล้ว
ผู้ฟัง ทุกอย่างเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นเองตามธรรม ไม่ให้รูปที่กายเกิดได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ รูปที่กายเกิดดับหรือเปล่า
ผู้ฟัง เกิดดับ
ท่านอาจารย์ รูปที่กายนี้เป็นแผ่นเดียวกันตลอดทั้งตัว หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ละเอียดยิ่งกว่าผงที่เรามองเห็น และมีอากาศธาตุแทรกคั่นอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเราใช้คำว่าทวารกับรูปอะไรบ้างที่ตัว
ผู้ฟัง จักขุปสาท ๑ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทำไมเรียกว่า จักขุปสาท
ผู้ฟัง เพราะรับได้แต่สี แสง
ท่านอาจารย์ ที่จริง หมายความว่าเป็นรูปพิเศษ ต่างกับรูปอื่นเพราะรูปอื่นไม่สามารถกระทบอารมณ์ นอกจากรูปที่เป็นปสาทรูป ปสาทคือใส หรือผ่องใส อุปมาเหมือนกระจกเงา ผ่านกระจกเงาเห็นผ่านกำแพงไม่มีอะไรปรากฏ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สามารถกระทบกันได้ ก็คือรูปพิเศษ ที่ตามีรูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น เพราะฉะนั้นใช้คำเรียกว่าจักขุ สำหรับตา ปสาทแสดงให้เห็นถึงความใสของรูปนั้น ที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ สิ่งที่กำลังปรากฏเป็นจักขุปสาท หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ แต่เป็นรูปที่สามารถกระทบจักขุปสาท มีสิ่งที่กำลังกระทบกับตา ใช่ไหม เดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เป็นปัจจัยให้ธาตุรู้ คือจิตเห็น เฉพาะจิตประเภทเดียว ทำหน้าที่อื่นไม่ได้เลย แค่เกิดขึ้นเห็น กำลังเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ นี่แหละคือความจริงซึ่งปกปิดไว้นานแสนนาน ทำให้หลงเข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด จนกว่าจะเข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น จึงจะสามารถละคลายการยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วก็เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ทุกคำต้องเข้าใจ อย่างมหาภูตรูปมีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง มหาภูตรูปมี ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
ท่านอาจารย์ มหาภูตรูปมีมากกว่านี้ไหม ไม่มี เพราะ ๔ รูปนี้ ใช้คำว่า มหา (ใหญ่) ภูตะ (ปรากฏ) เป็นรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธานปรากฏ ส่วนใหญ่ก็เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ที่ตัวเรากระทบสัมผัส แต่รูปทั้งหมดมีมากกว่า ๔ มหาภูตรูป ธาตุดินกระทบตาได้ไหม
ผู้ฟัง ธาตุดินไม่ได้
ท่านอาจารย์ ธาตุไฟกระทบตาได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ธาตุน้ำกระทบตาได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ธาตุลมกระทบตาได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จำ เข้าใจว่ามหาภูตรูป เป็นใหญ่เป็นประธานเป็นที่ตั้งอาศัยของรูปอื่นทั้งหมด ถ้า ๔ รูปนี้ไม่มี รูปอื่นมีไม่ได้เลยเสียงเป็นรูปหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ ธาตุดินกระทบตาได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธาตุไฟกระทบตา ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วอะไรกระทบตา
ผู้ฟัง สี
ท่านอาจารย์ สิ่งที่สามารถกระทบตาได้มีรูปเดียว ถ้าเราไม่เรียกชื่อนั้นสั้นๆ มันก็ยาว ใช่ไหม เพราะฉะนั้นภาษาบาลีใช้คำว่า วรรณะรูปบ้าง หรือว่ารูปารมณ์บ้าง หมายความว่ารูปซึ่งเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ คือจิตที่กำลังเห็นใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ลองหลับตา มีรูปนี้ไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ลืมตาแล้วทำไมมี เพราะมีจริงๆ อยู่ที่มหาภูตรูป เพราะฉะนั้นมหาภูตรูป ๔ แต่มีรูปที่ต้องเกิดพร้อมมหาภูตรูปอีก ๔ รูป แต่ไม่ใช่มหาภูตรูป ขาดไม่ได้เลยอีก ๔ รูปนั้นก็เคยได้ยินได้ฟังมาแล้ว ใช่ไหม สีหรือวรรณะ หรือสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏทางตาอยู่ไหน ก็ต้องอยู่ที่มหาภูตรูป ไม่ว่ารูปใดๆ ทั้งสิ้น ต่อไปนี้ที่ได้ยิน ต้องเกิดกับมหาภูตรูป ไปเกิดตามลำพังไม่ได้เลย อย่างเสียง เกิดตามลำพังได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ต้องมีมหาภูตรูป แต่เราไม่รู้ใช่ไหม เพราะว่าสามารถกระทบหู โดยมหาภูตรูปกระทบหูไม่ได้ เฉพาะตัวธรรมที่มีจริง ที่เป็นเสียงที่เกิดที่มหาภูตรูปนั้นแหละ ที่กระทบกับหูได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1081
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1082
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1083
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1084
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1085
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1086
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1087
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1088
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1089
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1090
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1091
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1092
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1093
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1094
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1095
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1096
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1097
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1098
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1099
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1120
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1121
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1122
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1123
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1124
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1125
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1126
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1127
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1128
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1129
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1130
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1131
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1132
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1133
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1134
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1135
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1136
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1137
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1138
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1139
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1140