ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1083
ตอนที่ ๑๐๘๓
สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ ลำพูน
วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ ธรรมทั้งหมดไม่ใช่เรา ต้องเป็นอย่างนี้กว่าจะไม่ใช่เราได้จริงๆ เพราะฉะนั้นมีใครบ้าง ทั้งวันเลยตั้งแต่เช้ามีเห็น เดี๋ยวก็มีเสียง เดี๋ยวก็มีกลิ่น เดี๋ยวก็มีรส เดี๋ยวก็มีเย็นร้อนทางกายปรากฏ มีใครบ้างที่ไม่ติด ไม่ยึดมั่นในขันธ์เหล่านั้น ไม่มี พระโสดาบันยังมี ฟังธรรมขั้นฟังเป็นปริยัติยังละกิเลสไม่ได้เลย จนกว่ามั่นคงเมื่อไหร่ มีปัจจัยพร้อมที่สติสัมปชัญญะจะเกิด เริ่มรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ชื่อว่า สติ แต่ไม่มีคำว่าไปทำสติ ใครทำได้ พระพุทธเจ้าทำได้ไหมเห็นไหมต้องมั่นคงว่าใครก็ทำไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดขึ้นก็ต้องมีปัจจัยที่ทำให้เฉพาะสิ่งนั้นเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ทุกคำ เมื่อเราเข้าใจละเอียดแล้วเราไม่สับสนเลย
พระโสดาบันละความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนไม่ใช่จากขั้นฟังแล้วเข้าใจ ต้องสติสัมปชัญญะเกิดเมื่อไหร่ ปัญญารู้เลย นั่นคือลักษณะของธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้น เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะที่สิ่งนั้นกำลังปรากฏ ขณะนี้มีแข็งปรากฏไหม เข้าใจแค่ไหน หรือไม่เข้าใจเลย ดับแล้ว ยังไม่ทันจะเข้าใจเลย เพราะฉะนั้นชื่อว่าประจักษ์แจ้งหรือยัง ไม่ใช่ ขั้นฟังให้รู้ว่าเกิดดับ แล้วฟังเท่าไหร่ก็จะไปให้ประจักษ์การเกิดดับก็ไม่ได้ เพราะว่าปัญญาอีกระดับหนึ่งซึ่งใช้คำว่า ปฏิปัตติ คนไทยใช้คำว่า "ปฏิบัติ" เลยเข้าใจผิดคิดว่า "ทำ" มีสำนักปฏิบัติให้คนไปนั่งทำ แต่ไม่เข้าใจอะไรเลย เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า
พระพุทธเจ้าสอนให้มีสำนักปฏิบัติหรือเปล่า สอนให้ไปสำนักปฏิบัติให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ มีหรือเปล่า ไม่มี เพราะฉะนั้นเริ่มเป็นผู้ที่มั่นคง เถระในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ยุคนี้สมัยนี้บางคนเข้าใจว่าสำนักปฏิบัติคือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถูกไหม เมื่อสิ่งนั้นไม่ถูกกล้าที่จะบอกไหมว่าไม่ถูก หรือว่าเกรงใจเขา เกรงใจใคร เกรงใจความเห็นผิดหรือ หวังดีหรือเปล่า ที่เกรงใจคือหวังดีหรือเปล่า ถ้าเป็นคนที่ตรงหวังดีจริงๆ คือต้องให้เข้าใจถูก ไม่ใช่ปล่อยให้ผิดไป ใครจะเข้าใจผิดเท่าไหร่ก็ปล่อยไป อย่างนั้นเป็นมิตรแท้ เป็นผู้หวังดี เป็นผู้ที่มีความเข้าใจถูกว่าอะไรควร อะไรไม่ควรหรือเปล่า
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์กล่าวว่าสำนักปฏิบัติ ไม่มีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เพราะว่าถ้าเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องนำไปสู่ความเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เลย มีสิ่งที่มีและไม่เคยเข้าใจ เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจทันที ที่ไหนก็ได้ที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดความเข้าใจไม่ใช่ว่าเฉพาะตรงนี้หรือตรงนั้น อยู่ตรงไหนความเข้าใจจะลบเลือนไปได้อย่างไร ถ้าเข้าใจแล้วแม้ในขั้นปริยัติ
อ.กุลวิไล ถ้าเขาให้ปฏิบัติธรรมด้วยการที่เป็นเราที่ทำ นั่นก็คือไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ แค่ได้ยินชื่อว่าสำนักปฏิบัติ รู้ไหมว่าคืออะไร ถูกหรือผิด เห็นไหมไม่ใช่ว่าเขาบอกว่าสำนักปฏิบัติ ก็ไปเลย ปฏิบัติเลย นั่นคือความไม่รู้ ความไม่รู้คืออวิชชา ความเห็นผิดคือคิดว่าไปแล้วจะรู้ ผิดเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บอกผู้ที่ไปเฝ้าพระองค์ให้ไป แล้วจะไปรู้ที่โน่นที่นี่ แต่ฟังคำของพระองค์และมีความเข้าใจเกิดขึ้นในขณะที่ได้ยินคำนั้นๆ ซึ่งไม่เคยเข้าใจมาก่อน เพราะเป็นคำที่กล่าวถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้ที่หวังดีจริงๆ จะกล่าวคำที่ถูกต้อง เพื่อให้เขาได้เข้าใจถูกไหม เขาจะโกรธเขาจะเกลียดเขาจะไม่ชอบ ไม่เห็นสำคัญเลย เขาไม่สามารถที่จะลบล้างความหวังดีของเราได้ที่รู้ว่าเพราะไม่เข้าใจใช่ไหมจึงผิด แต่ถ้าเข้าใจแล้วก็คือว่าช่วยให้เขาพ้นจากความเข้าใจผิด ทั้งชาติ ตามที่ได้สะสมความเข้าใจผิดมาแล้ว ไม่เคยได้เข้าใจถูกเลย แล้วเป็นประโยชน์มหาศาลไหม เพราะเหตุว่าไม่ใช่แค่ชาตินี้ชาติเดียว ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องก็จะไม่ผิดต่อๆ ไป แต่ถ้ามีความเข้าใจผิดแต่ละชาติมาแล้ว และชาตินี้ยังผิดต่อไปอีก ชาติหน้าก็ต้องผิดต่อไปอีก แล้วเป็นคนที่หวังดีหรือเปล่า ใจร้ายหรือว่าใจดีกันแน่ เห็นไหม
เพราะฉะนั้นผู้ที่รู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่า เกิดมาแล้วสิ่งที่เป็นมรดกเหนือสิ่งอื่นใดที่ได้จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือความเข้าใจ แล้วจะไม่ให้คนอื่นได้มีความเข้าใจด้วยหรือ ถ้าเขาสามารถที่จะฟังแล้วพิจารณาไตร่ตรอง เขาก็ย่อมที่จะเข้าใจได้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้ที่หวังดีจริงๆ ใช้คำว่ากัลยาณมิตร คำว่ามิตรหรือเมตตามีความหมายอย่างเดียวกัน คือหวังดี พร้อมที่จะทำประโยชน์เกื้อกูล ไม่รีรอเลย ทุกโอกาส ผู้ที่หวังดีก็จะกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับผู้นั้นทุกโอกาส ไม่ว่าจะโดยการพูด โดยการช่วยเหลือประการใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นกัลยาณคือดีงาม มิตรที่ดีงามต้องรู้ว่าไม่หวังร้ายกับใคร ไม่ปล่อยให้เขาผิดก็ผิดไป อย่างนั้นหวังดีหรือเปล่า แต่ถ้าหวังดีคือเขาผิด ให้เขาได้เข้าใจถูกเมื่อไหร่เป็นประโยชน์กับเขาเมื่อนั้น นี่คือความหวังดี
เพราะฉะนั้นใครเป็นกัลยาณมิตรสูงสุด มีข้อความนี้ในพระไตรปิฏกเลยว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นกัลยาณมิตรที่ประเสริฐสุด เพราะทุกคำของพระองค์เพื่อให้คนที่ได้ฟังมีความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยพระมหากรุณา เพราะรู้ว่าสัตว์โลกไม่มีทางที่จะรู้ เข้าใจสิ่งที่กำลังมีได้เลย ถ้าไม่ได้ยินได้ฟังคำที่พระองค์ได้ตรัสด้วยพระองค์เองถึงสิ่งที่มีจริงจนกระทั่งเขาเข้าใจ เพราะฉะนั้นคนที่ฟังธรรมแล้ว ใช้คำว่าอาจหาญร่าเริง ทำสิ่งที่ถูกต้อง จะกลัวอะไรจะเกรงอะไร พูดคำจริง และพูดคำถูกด้วย กลัวอะไร มีใครกลัวไหม คำนั้นเป็นคำจริงควรที่คนอื่นจะได้ฟังไหม
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่าไม่ต้องกลัวเขาเกลียด ไม่ต้องกลัวเขาโกรธ อันนี้ก็พอได้ แต่บางสถานที่บางบุคคล กลัวเขาทำร้าย แสดงว่ายังไม่อาจหาญร่าเริงพอ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคำพูดที่ดีก็เป็นคำพูดที่ชั่ว ถ้าไม่เหมาะด้วยกาลและเทศะ เขาไม่อยากฟัง เขากำลังสนุกสนานร้องเพลงกัน เราพูดธรรม เป็นอย่างไร ใครจะฟัง คำดีทั้งหมดกลายเป็นคำชั่ว พูดอะไร เขากำลังสนุกสนานร่าเริงกันแล้วมาพูดอย่างนี้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นแม้เป็นคำจริงก็ต้องรู้ว่าคำนั้นต้องตรงถูกต้องตามกาลเวลาที่สมควร เทศะคือสถานที่ที่เหมาะสมด้วย แล้วก็คำพูดนั้นเป็นประโยชน์จึงควรพูด ถ้าไปพูดท่ามกลางคนชั่ว แล้วบอกเขาให้ละชั่ว เขาจะทำไหม บอกให้เขาเข้าใจธรรม เขาก็ไม่ต้องการจะเข้าใจเลย เกิดมาแล้ว ธรรมธรรมโมอะไรไม่สนใจหมด สนใจแต่ลาภยศสรรเสริญ แล้วจะเอาอะไรไปให้เขาสนใจ เพราะฉะนั้นก็ไม่เหมาะใช่ไหม เพราะฉะนั้นต้องเป็นคำจริงที่เป็นประโยชน์ แล้วเหมาะแก่กาล และเทศะ ขณะที่พูดต้องเป็นคำที่น่าฟัง ไม่บาดใจคนฟัง ไม่ใช่พูดคำแรงๆ กระแทกกระทั้น โง่บ้างอะไรบ้าง อย่างนั้น ไม่ใช่ แต่ว่าให้เขาได้เข้าใจตามความเป็นจริงถึงความหวังดี
เพราะฉะนั้นการแสดงธรรมไม่ใช่ไปแสดงตามตลาด เขากำลังขายของซื้อของกัน หรือกำลังสนุกสนานรื่นเริง แต่ต้องเป็นที่ที่เขาพร้อมที่จะฟัง เดี๋ยวเรารับประทานอาหารกัน ใครพูดธรรม บางคนไม่ฟังเลย อาหารนี้กำลังอร่อย จานนี้ก็ดี จานโน้นก็ดี คำดีดีผ่านหูไปเลย เพราะว่าไม่ใช่กาลใช่ไหม เป็นสิ่งที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียดอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าสำหรับคนที่ไม่ได้สะสมมาที่จะเห็นคุณค่าของคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดชีวิตเขาไม่ฟัง มีมากไหม มาก ส่วนที่ฟังมีน้อยไหม น้อย ส่วนที่ต้องการที่จะเข้าใจจริงๆ รู้ความจริงว่าคำผิดไม่เอา ทิ้งไปเลยมีมากไหม ก็ต้องน้อยกว่าคนที่เหมือนฟังธรรม แต่ฟังเพื่อได้ ฟังแล้วได้อะไร สบายใจ มาแล้ว อยากได้นักหนาคือสบายใจ แต่ไม่รู้หรอกว่าแล้วสบายใจเป็นคำของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า หมายความถึงอะไร คือไม่มีการต้องการความเข้าใจอะไรเลยทั้งสิ้น มีแต่ความอยาก เพราะฉะนั้นโลภะเป็นธรรมซึ่งมีจริง เป็นสภาพที่ติดข้อง คนที่ไม่รู้เป็นทาสของโลภะ ใช้คำว่าตัณหาทาโส โลภะมีหลายคำ โลภะก็ได้ นันทิก็ได้ ราคะก็ได้ อาสาก็ได้ ทั้งหมดนี้เป็นการที่แสดงถึงความติดข้อง เพราะไม่รู้
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะได้ฟังธรรมก็เป็นทาสของตัณหาโลภะตั้งแต่ลืมตา ค่อยๆ รู้ความจริงใช่ไหมว่าใครเป็นนาย ตลอดชีวิตด้วย ไม่เคยขาดเลย ให้ทำอะไรทำหมดเลย ที่ทำหมดทุกขณะนี่แหละนายทั้งนั้น โลภะ ไม่มีการรู้สึกตัวเลยว่าเป็นทาส ยอมทำตามโดยดีตลอดกาล ตราบใดที่ไม่เห็นว่าทาสของสิ่งที่ไม่ดี ความไม่ดีนั่นแหละเป็นเจ้านายที่ทำให้ทำสิ่งที่ไม่ดีตลอด เพราะฉะนั้นแต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องเข้าใจก่อน ถ้าไม่ใช้คำว่าปฏิจจสมุปบาท แต่ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ไม่มีใครสามารถที่จะทำให้เกิดขึ้นได้เลย และสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ คือความไม่รู้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นปฏิจจสมุปบาทคืออะไร
อ.คำปั่น ปฏิจจสมุปบาทก็คือธรรมที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย เพราะสิ่งนี้มีจึงเป็นปัจจัยให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ก็เป็นการกล่าวถึงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ตรงกันกับคำว่าขันธ์ สอดคล้องกันหมด เพราะว่าขันธ์ก็คือธรรมที่เกิดแล้วดับ ทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่า ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่จะเกิดขึ้นบังคับบัญชาให้เกิดขึ้นไม่ได้ แต่เกิดเพราะอาศัยปัจจัย
ท่านอาจารย์ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คืออะไร อวิชชา ความไม่รู้ เพราะไม่รู้จึงเกิด แล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ไม่สิ้นสุด จนกว่าจะถึงปัญญาที่ดับเหตุที่จะให้เกิด คือรู้ตรงกันข้ามกับไม่รู้ จากไม่รู้ก็เป็นค่อยๆ รู้ขึ้น เพราะฉะนั้นความรู้สามารถที่จะดับความไม่รู้ แต่ถ้าไม่ใช่ความรู้ดับอวิชชาไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นแค่คำเดียวเพียงแค่นี้ ปฏิจจสมุปบาทยังไม่ต้องไปไกลให้ครบ ๑๒ องค์ เพราะว่าปัญญาต้องเกิดขึ้นตามลำดับว่าไม่รู้ใช่ไหม หรือใครรู้แล้ว ไม่รู้ก็เกิด มีทุกสิ่งทุกอย่างทั้งโลภะ โทสะ ทั้งทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไป จนกว่าจะได้ฟังคำ ซึ่งค่อยๆ รู้ขึ้นตามลำดับ แต่ตราบใดที่ยังมีอวิชชาก็ยังมีสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ จนกว่าดับอวิชชาหมดเมื่อไหร่ อะไรๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงมีพระอรหันต์ซึ่งใช้คำว่าปรินิพพาน ยากไหม ถ้าไม่ยากจะเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม
เพราะฉะนั้นในครั้งโน้นฟังพระธรรมแล้วเข้าใจ จนกระทั่งมีการจารึกเป็นตัวอักษรสืบเนื่องต่อๆ มา แต่ไม่ใช่ว่าความเข้าใจไปอยู่ในหนังสือ แต่ต้องอยู่ที่แต่ละคำเหมือนได้ฟังจากพระโอษฐ์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ตรงนี้หรือตรงไหนเข้าไปนั่งใกล้ความหมายของแต่ละคำเพื่อที่จะเข้าใจขึ้น ความหมายของอุบาสกอุบาสิกา คือผู้ที่นั่งใกล้เพื่อที่จะได้ฟัง แต่ว่าต้องเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจคำนั้นก็ไม่เป็นประโยชน์ แต่พอเข้าใจแล้วประโยชน์ไหม ได้ยินคำว่าธรรมคำเดียว รู้ว่าทุกอย่างที่มีเป็นธรรมทั้งหมด แต่ละหนึ่งด้วย เกิดขึ้นและดับไปด้วย แล้วก็ไม่กลับมาอีก ไม่ซ้ำกันเลย เพราะฉะนั้นประมาณได้ไหมว่าจิตมีเท่าไหร่ เจตสิกมีเท่าไหร่ รูปมีเท่าไหร่ แต่สามารถจะประมวลแสดงจำแนกโดยประเภทของสภาพธรรมนั้นๆ แต่ว่าแต่ละหนึ่งที่เกิดดับแล้วไม่กลับมาอีกเลย เมื่อวานนี้จะเป็นวันนี้ได้ไหม ไม่ได้ พรุ่งนี้จะเป็นวันนี้ได้ไหม เพราะฉะนั้นวันนี้มีแค่วันนี้ จากไปทุกขณะจนถึงพรุ่งนี้ก็จะไม่เป็นวันนี้หรือเมื่อวานนี้อีกเลย ฟังธรรมมีวันจบไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะเข้าใจขึ้น พอไหมแค่วันเดียว
ผู้ฟัง ไม่พอ
ท่านอาจารย์ ตลอดชีวิตถ้ามีโอกาส เพราะว่าแต่ละคำที่ฟังแล้ว เมื่อเข้าใจแล้วแม้ไม่ได้ยินก็นึกถึงได้ ใช่ไหม ไตร่ตรองได้ เพราะฉะนั้นปัญญาที่เกิดจากการฟังเข้าใจ แม้ไม่ได้ฟังก็มีการระลึกถึงพิจารณาไตร่ตรอง เพิ่มความเข้าใจขึ้น มั่นคงขึ้นได้ แต่ก็ไม่พอจนกว่าจะได้ฟังแล้วก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง จนกว่าจะปรินิพพานใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แม้เป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านจะอยู่เปล่าๆ ทำไม แต่ท่านรู้ว่าผู้ที่รู้ยิ่งกว่าท่านมี คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่คำที่พระอรหันต์คิดเอง แต่ละคำ เพราะฉะนั้นประโยชน์สูงสุดก็คือว่าชีวิตที่ยังเหลือจะฟังอะไร จะทำอะไร นอกจากการแสดงธรรม การสนทนาธรรมแล้ว ท่านก็ไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทูลถามปัญหาซึ่งคนไม่คิดเลยว่าพระอรหันต์จะถามอย่างนั้น เช่น ถามว่า ป่าโคสิงคสาลวันเป็นป่าแห่งหนึ่ง งามเพราะอะไร แค่นี้พระอรหันต์ถาม คนธรรมดาอาจจะคิดว่าแค่นี้ไม่รู้เหรอ แต่พระอรหันต์รู้ว่าใครรู้ที่สุด เพราะว่าต่างคนก็ต่างคิดใช่ไหม มีคำตอบไหม
อ.คำปั่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ว่า งาม เพราะภิกษุนั้นมีการอบรมเจริญปัญญาจนสามารถที่จะประจักษ์แจ้งความจริงถึงความเป็นผู้ดับกิเลส จนถึงความเป็นพระอรหันต์ นี่คือสูงสุด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคำตอบของพระอรหันต์แต่ละท่านถูกต้องไหม เห็นไหม ถูกต้องทุกคำ ต่างคนก็ต่างกล่าวแต่ละนัย
อ.กุลวิไล ความเป็นผู้ตรง ตรงแม้แต่คำที่กล่าว ที่ท่านอาจารย์ให้ความเข้าใจว่าสำนักปฏิบัติ ถ้าเราไม่รู้ว่าสำนักคืออะไรปฏิบัติคืออะไร เพราะฉะนั้นไม่มีแน่นอนสำนักปฏิบัติ เพราะว่าปฏิบัตินั้นเป็นปัญญาที่เกิดจากการอบรมความเห็นถูกนั่นเอง แต่สำนักก็คือที่อยู่ เพราะฉะนั้นที่อยู่ไม่ใช่ ปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ ตอนนี้เข้าใจปฏิบัติหรือยัง ปริยัติ ปฏิปัตติ แต่เพราะการไม่ได้ศึกษาก็คิดง่ายๆ ว่า ปฏิปัตติ คือปฏิบัติ ซึ่งเข้าใจว่าทำ แต่ความจริง ปฏิ แปลว่าเฉพาะ ปัตติแปลว่าถึง สภาพธรรมที่เกิดขึ้นจากการที่ได้ฟังมามาก ว่า ขณะนี้เป็นธรรมทั้งหมด แต่ยังไม่ถึงเฉพาะลักษณะที่เป็นธรรมสักอย่าง เพราะว่าเกิดดับรวมกันทั้งหมด ต่อเมื่อใดขณะนั้นสิ่งที่ปรากฏตามปกติเป็นแต่ละหนึ่งใช่ไหม สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นหนึ่งใช่ไหม ปรากฎเมื่อเห็นใช่ไหม เป็นอื่นไม่ได้ เป็นเสียงไม่ได้ เป็นกลิ่นไม่ได้ เป็นเฉพาะที่กำลังปรากฏอย่างนี้แหละ แล้วปัญญาที่ได้ฟังจนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจได้ว่าสิ่งนี้มี เพียงปรากฏให้เห็น เห็นไหมว่าต้องมั่นคงว่าเห็นคืออะไร มีสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็น มั่นคงไหมว่าไม่ใช่อะไรทั้งหมด ต้องเป็นเพียงธาตุ หรือสิ่งที่กระทบตา และจิตเกิดขึ้นเห็น สิ่งที่กระทบตาปรากฏให้เห็นแล้วก็ดับไป จึงจะเห็นว่าไม่มีเรา แต่เดี๋ยวนี้ยังเป็นดอกไม้ ยังเป็นคนอยู่ แสดงว่ายังห่างไกลกับความเข้าใจระดับนั้นแค่ไหน ซึ่งจะมีได้ก็ต่อเมื่อมีการฟังจนกระทั่งเข้าใจ ขณะนี้เข้าใจใช่ไหม เริ่มฟังใช่ไหมว่าแค่หลับตาก็ไม่มีสิ่งนี้ปรากฏแล้ว แต่ลืมตาก็มีแล้ว เพราะฉะนั้นกำลังมีสิ่งที่ปรากฏขณะที่ลืมตา เหมือนอย่างนั้นเลย แต่ปัญญารู้เฉพาะการเกิดขึ้นของสิ่งที่กระทบตาแล้วก็ดับไปได้ ตามความเป็นจริงนั่นคือปฏิปัตติ เริ่มถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ได้ฟัง
ทุกคนกระทบแข็ง เดี๋ยวนี้ก็มีแข็งปรากฏ ไม่รู้อะไรเลย อวิชชาใช่ไหม ปฏิจจสมุปบาทเริ่ม ไม่รู้ จึงมีความคิดต่างๆ นานา ว่า นั่นดอกไม้ นี่โต๊ะ มาแล้วใช่ไหม การที่เข้าใจยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏซึ่งเกิดดับโดยไม่เห็นการเกิดดับว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เพราะฉะนั้นก็เป็นปัจจัยให้มีการคิดเป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้างใช่ไหม เพราะฉะนั้นอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ถ้าไม่ศึกษาทีละคำตามลำดับ ได้แต่เอ่ยชื่อคล่องหมดเลยทั้ง ๑๒ องค์ของปฏิจจสมุปบาท แต่ไม่รู้ แต่จากการฟังเรามีความเข้าใจจริงๆ ว่าอวิชชาเป็นปัจจัยอย่างไร ทำให้เกิดความคิดความไตร่ตรองว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม
เพราะฉะนั้นเมื่อฟังพระธรรมแล้ว กำลังกระทบมีจริงไหม เป็นนิ้ว เป็นมือ เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ หรือเป็นอะไร เห็นไหมว่าเป็นแค่แข็ง จะกระทบอะไรก็ตามแต่ ต้องมีลักษณะนั้นปรากฏก่อน คือแข็ง แล้วจึงจะคิดว่าเป็นโต๊ะ หรือเป็นเก้าอี้ หรือเป็นดอกไม้ หรือเป็นสมุด หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ต้องตามลำดับ เหมือนกับเดี๋ยวนี้ พอกระทบสิ่งที่กระทบตาได้กระทบ จิตเห็นเกิดขึ้น แล้วคิดต่อ เร็วสุดที่จะประมาณได้ถึงรูปร่างของนิมิตต่างๆ ซึ่งปรากฏเพราะการเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วของธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด สารพัดอย่างเลยที่ปรากฏ เป็นกระไดก็ได้ เป็นหลังคาก็ได้ เป็นกระเบื้องก็ได้ เป็นอะไรก็ได้หมดทุกอย่างตามความทรงจำ เร็วสุดที่จะประมาณได้
เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้อะไรว่าเป็นอะไรก็ต้องอาศัยการฟังแล้วฟังอีก และก็มั่นคงขึ้น เพราะฉะนั้นก่อนฟังมีแต่แข็ง แต่เมื่อฟังแล้วยังไม่ถึงเฉพาะลักษณะแข็งว่าขณะนั้นต้องไม่มีอย่างอื่นเลย แม้ความคิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็เกิดไม่ได้ในขณะที่แข็งปรากฏ แล้วก็เริ่มเข้าใจแข็ง จนกว่าแข็งเกิดและดับ เพราะว่าถ้าไม่เป็นความเข้าใจขั้นฟัง ก็เป็นโต๊ะ เราก็เห็น เดี๋ยวเราก็กระทบโต๊ะอีก เดี๋ยวเราก็ยกโต๊ะอีก เดี๋ยวเราก็ทำอะไร ก็โต๊ะนั่นแหละที่ฝังแน่นอยู่ในใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเฉพาะลักษณะที่แข็งว่าเป็นแค่แข็งเกิดดับ เพราะฉะนั้นทุกอย่างเกิดดับเมื่อปัญญาสามารถที่จะถึงเฉพาะเพียงลักษณะหนึ่งว่าแต่ละหนึ่งเป็นหนึ่งจริงๆ และเริ่มเข้าใจ จึงเป็นปฏิปัตติ เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่มีปัจจัยที่จะเข้าใจคนนั้นรู้เองใช่ไหม เพราะปัญญาที่เกิดจากการฟังเป็นปัจจัย ถ้าไม่มีปัญญาขั้นฟังจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่านี่คือแข็ง และต่อไปก็แข็งเกิดและดับ เพราะแข็งกำลังเกิดดับ แต่ถูกปกปิดไว้ด้วยความไม่รู้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1081
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1082
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1083
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1084
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1085
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1086
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1087
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1088
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1089
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1090
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1091
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1092
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1093
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1094
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1095
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1096
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1097
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1098
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1099
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1120
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1121
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1122
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1123
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1124
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1125
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1126
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1127
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1128
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1129
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1130
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1131
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1132
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1133
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1134
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1135
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1136
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1137
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1138
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1139
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1140