ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1136
ตอนที่ ๑๑๓๖
สนทนาธรรม ที่ สำนักงานเขตสะพานสูง
วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารบ์ ละเอียดมากใช่ไหม เพราะเห็นเกิดแน่นอน แต่ไม่ได้เห็นตลอดเวลา ก็หมายความว่าเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ ไม่กลับมาอีกเลยไม่ว่าจะเห็นอะไรทั้งสิ้น สิ่งที่ถูกเห็น และเห็น หมดไม่กลับไปอีก ถ้าเห็นใหม่สิ่งนั้นต้องเกิดใหม่ ทั้งสิ่งที่ถูกเห็น และเห็นด้วย แต่ที่นี้ก่อนนั้นอีก เพียงแค่เห็นแล้วดี กับเห็นแล้วไม่ดี ละเอียดกว่านั้นอีก เพราะฉะนั้นทุกคนอยากดี ทุกคนอยากมีความสุข แต่ความสุขต้องมาจากความดี นั่นเป็นเหตุหรือตัวดีนั่นแหละเป็นสุข แต่ว่าเห็นแล้วดีหรือไม่ดี
ผู้ฟัง บางครั้งก็ดี บางครั้งก็ไม่ดี
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมดาใช่ไหม ขณะไหนที่ดีต้องดี ขณะไหนที่ไม่ดีก็ต้องไม่ดี รวมกันไม่ได้ ดีกับไม่ดีรวมกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องเป็นหนึ่งอย่าง เห็นแล้วดีหรือเห็นแล้วไม่ดี
ผู้ฟัง ข้อแรกก่อน ที่เข้าใจ เห็นแล้วดีเหมือนแบบเห็นแล้วเรามีความชอบ เรามีความพอใจในสิ่งที่เราเห็น
ท่านอาจารย์ ชอบ ดีหรือไม่ดี
ผู้ฟัง ก็ดี
ท่านอาจารย์ ชอบก็ดี พอชอบแล้วอยากได้ไหม
ผู้ฟัง อยากได้
ท่านอาจารย์ ต้องไปหาไหม
ผู้ฟัง ต้องไปหา
ท่านอาจารย์ แล้วไปหา แล้วยิ่งชอบใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แล้วถ้าสิ่งนั้นหมดไปเป็นอย่างไร สิ่งที่เราชอบมากๆ หายไปเลย หมดไปก็ได้ เป็นอย่างไร แค่รู้สึกอย่างไร
ผู้ฟัง เสียใจ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ชอบเราจะไม่เสียใจ แต่เสียใจเพราะชอบสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วสิ่งนั้นหมดสิ้นไป สูญหายไป เพราะฉะนั้นชอบดีหรือเปล่า เพราะนำมาซึ่งความเสียใจ นำมาซึ่งความทุกข์
ผู้ฟัง ไม่ดี
ท่านอาจารย์ ไม่ดี ตกลงเห็นแล้วชอบไม่ดี
ผู้ฟัง พอเข้าใจขึ้น ก็ว่าสิ่งนั้นยังไม่ดี
ท่านอาจารย์ มีอีกไหม เห็นแล้วชอบก็ไม่ดี แล้วเมื่อไหร่จะดีสักทีมีแต่เห็นแล้วไม่ดีทั้งนั้นเลย ชอบก็ไม่ดี และอะไรอีก เห็นแล้วไม่ชอบ ดีไหม
ผู้ฟัง ก็ไม่ดีอีก
ท่านอาจารย์ ไม่ชอบก็ไม่ดี เห็นแล้วไม่ดีทั้งนั้นเลยหรือ
อ.คำปั่น ขออนุญาตคุณบงกชรัตน์ ที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงก็กล่าวถึงความเป็นจริงของธรรม ที่จะให้เข้าใจถึงสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ถ้ากล่าวถึงเห็นก็มีเห็นใช่ไหม เพียงแค่เห็นเท่านั้น แต่ว่าหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นใช่ไหม มีความติดข้อง ชอบ พอใจ ก็คือไม่ดี เพราะว่าเป็นอกุศลที่เกิดขึ้นเป็นไป ใช่ไหม ขณะที่เกิดความไม่พอใจ ก็ต่างกันกับความติดข้อง แต่ก็ไม่ดี เพราะว่าความขุ่นเคืองใจความไม่พอใจก็เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่ไม่ดี แล้วขณะไหนจึงจะดี นี่คือประเด็นที่ท่านอาจารย์จะได้ถามให้คิดพิจารณาใช่ไหม เห็นแล้วไม่ดีเป็นอย่างหนึ่ง เห็นแล้วดีเป็นอีกอย่างหนึ่ง ขณะที่มีความเข้าใจถูก เห็นถูก ในสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ดีไหม นี่ก็เข้ามาอีกขั้นหนึ่งแล้วใช่ไหม ขณะที่เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ ปัญญาเป็นธรรมที่ดีงาม ดีในขณะที่ปัญญาเกิดขึ้น นี่ก็เป็นตัวอย่างของขณะที่ความดีเกิดขึ้น เห็นแล้วดีก็ในลักษณะอย่างนี้ เห็นแล้วไม่รู้ว่าเห็นหมดแล้ว ดีไหม แค่เห็นแล้วเห็นหมดไป ดีไหม
ผู้ฟัง ไม่ดี
ท่านอาจารย์ แต่ถ้ารู้ความจริงว่านี่แหละเป็นธรรมดาในชีวิต ชีวิตเกิดมาแล้วต้องเป็นอย่างนี้ มีสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเลือกไม่ได้ อยากจะเห็นแต่ก็ได้ยินเสียงอะไรก็ไม่รู้ เลือกไม่ได้เลย ไม่ให้ได้ยินก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นทุกอย่าง มีเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดขึ้น แต่เราไม่ได้คิดถึงว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร เพราะฉะนั้นเราก็มีแต่ทุกข์ เพราะไม่รู้ว่าเหตุของทุกข์คืออะไร เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วทุกวันเห็นแล้วไม่รู้ว่า เห็นแค่เห็น เห็นทำอะไรไม่ได้เลย เห็นคิดได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเห็นเป็นเห็น หนึ่งล่ะในชีวิตประจำวัน คิดเป็นคิด ขณะที่เห็นไม่คิด ใช่ไหม ขณะที่กำลังคิดต้องไม่เห็นด้วย แต่คิดถึงสิ่งที่เห็นได้ แต่ไม่ใช่เห็น เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่งขณะในชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นอย่างนี้ไม่ว่าจะชาติไหน ประเทศไหน โลกไหน สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิด เกิดแล้วก็หมดไป เกิดแล้วก็หมดไปเกิดแล้วก็หมดไป คนที่ไม่รู้ก็โศกเศร้ามาก เสียดายมาก เป็นทุกข์มาก แต่คนที่รู้ รู้ว่าเป็นธรรมดา ธรรมคือสิ่งที่มีจริง แต่ส่วนใหญ่ภาษาไทยเราก็ใช้ธรรมในเรื่องอื่น แต่ไม่ได้เข้าใจว่าสิ่งที่มีจริงทุกอย่างนั่นแหละอีกภาษาหนึ่งใช้คำว่าธรรม สิ่งที่มีจริง มีลักษณะว่าสิ่งนั้นมีจริงๆ สิ่งนั้นเป็นธรรม อย่างเสียงมีจริงๆ เพราะเสียงเป็นสิ่งที่ดัง ที่จิตเกิดขึ้นได้ยิน และรู้ว่านั่นคือสภาพที่มีจริงอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปหมดไป
ชีวิตคือสิ่งที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป บังคับบัญชาไม่ได้ ถ้ารู้อย่างนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ต้องมีเหตุที่จะให้สิ่งนั้นเกิด แล้วก็หมดไป บังคับให้อยู่ต่อไปไม่ได้เลย เป็นธรรมดา ภาษาไทยใช้คำว่าธรรมดามาจากภาษาบาลี ธรรมกับตา ตาคือความเป็นไปของธรรม ธรรมก็เป็นอย่างนี้แหละ ที่นั่งอยู่นี่เป็นธรรมหรือเปล่า เป็น ถูกต้องเลย ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรมทั้งหมด ถ้าบอกว่าเป็นธรรม เปลี่ยนไม่ได้เลย สิ่งที่มีจริงทั้งหมด ไม่มีใครสามารถที่จะไปเปลี่ยนแปลงได้เลยทั้งสิ้น สิ่งนั้นต้องเป็นเฉพาะสิ่งนั้น สิ่งเดียวแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นพอตอบว่า ที่นั่งอยู่นี่เป็นธรรมหมายความว่าไม่มีเรา ใช่ไหม ตอบว่าเป็นธรรม แล้วจะบอกว่าเป็นเราได้อย่างไร ก็ไม่ตรง ใช่ไหม เพราะฉะนั้นกำลังนั่งอยู่ที่นี่เป็นธรรมทั้งหมด ใช่ไหม แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่งด้วย ทีละหนึ่ง ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า คิ้วก็ไม่ใช่นิ้วเท้า ใช่ไหม แต่ละหนึ่ง ละเอียดมาก แล้วก็มีอากาศธาตุช่องว่าง คั่นอยู่ละเอียดยิบ แตกทำลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยจนเล็กที่สุดได้ไหม ได้ แล้วไหนเรา ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เป็นเราหรือเปล่าเป็นของเราหรือเปล่า ขณะนี้แขนเราใช่ไหม ตัดแขนออกได้ ขาเราก็ตัดขาออกไปได้ ผมเราพอตัดผมออกไปก็ไม่เห็นว่าผมจะเป็นเราอีกต่อไป เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วทั้งหมดเป็นธรรม เริ่มเข้าใจคำที่เราได้ยินไหม เปลี่ยนไม่ได้เลย เป็นความจริงถึงที่สุด เพราะฉะนั้นทุกอย่างเป็นธรรม
ผู้ฟัง อยากจะเข้าใจความหมายของธรรม ที่ถูกต้องที่จริงคืออะไร
ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริงทั้งหมด สิ่งที่มีจริงหมายความว่ามีลักษณะของสิ่งนั้นปรากฏให้รู้ว่ามีจริงๆ อย่างเสียง ทุกคนได้ยินเสียงเสียงจริงใช่ไหม เป็นธรรม ได้ยินมีจริงๆ ขณะที่เสียงปรากฏ แสดงว่ามีธาตุที่สามารถได้ยิน คือรู้เสียงนั้น ว่าเสียงนั้นเป็นอย่างนั้น ขณะนั้นธาตุรู้เสียงที่เราใช้คำว่าได้ยิน ก็มีจริง ก็เป็นธรรม และมีอะไรบ้างที่ไม่ใช่ธรรม ธรรมทั้งหมด ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตาหมายความว่าไม่ใช่ของใคร และไม่ใช่ใครด้วย แล้วก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครด้วย อัตตาหมายความว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างแก้วน้ำเป็นแก้ว เอาไปทุบให้ละเอียดยิบ แก้วก็ไม่มีแล้ว ดอกไม้ใบไม้ ต้นไม้ ไม่ว่าอะไรทั้งหมด ทั้งโลก สามารถที่จะแตกย่อยละเอียดยิบไม่เหลือเลย เพราะฉะนั้นอีกความหมายหนึ่งของ โลกหรือโลกะหมายความถึงสิ่งที่เกิดดับ ถ้าไม่เกิดมีโลกไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ แต่เกิดแล้วจะไม่หมดไป ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ พันปีก่อน เหลือที่ไหน เมื่อวานนี้เหลือที่ไหน ไม่เหลือเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีเมื่อวานนี้ไม่เหลือถึงวันนี้ เมื่อครู่นี้ก็ไม่ใช่เดี๋ยวนี้ แต่ละขณะเร็วสุดที่จะประมาณได้ ถ้ารู้อย่างนี้จะค่อยๆ สบายใจขึ้นไหม ว่าเป็นธรรมดาเกิดแล้วก็ต้องตาย เกิดแล้วก็ต้องเจ็บบ้าง สุขบ้างทุกข์บ้าง ได้ลาภบ้าง เสื่อมลาภบ้าง ได้ยศบ้าง เสื่อมยศบ้างได้สรรเสริญบ้าง นินทาบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นธรรมดา เป็นธรรมดาเพราะสุขก็เป็นธรรม ทุกก็เป็นธรรม ลาภคืออะไร ลาภคือสิ่งที่ได้มา ทางตาได้เห็นสิ่งที่น่าพอใจ กำลังเห็นสิ่งที่น่าพอใจ อาจจะเข้าใจของเรา รถยนต์คันใหม่ของเรา แต่ความจริงก็คือสิ่งนั้นได้มาโดยการที่ต้องเห็น เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้ทั้งหมด ต้องเห็น ปรากฏให้เห็นว่ามี แล้วเข้าใจว่าได้มา ถ้าเป็นสิ่งที่ดีก็บอกว่าลาภ ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดีก็บอกว่าเสริมลาภ ยศ เสื่อมยศ สุขเปลี่ยนเป็นทุกข์ สรรเสริญก็เป็นนินทา ก็ต่างกัน โลกธรรม ธรรมประจำโลก ลาภยศสรรเสริญสุข แล้วก็เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ใครบ้างไม่ประสบ แม้ผู้ที่เลิศที่สุด พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังมีคนที่ด่าว่าพระองค์ด้วยด้วยความโกรธ ไปเฝ้าใช้คำหยาบคาย เพราะฉะนั้นก็เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจคำว่าธรรมดา เป็นธรรมต้องเป็นธรรม และต้องเป็นไปอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไม่ได้ นั่นคือธรรมดา เพราะฉะนั้นเห็นแล้วดีเมื่อไหร่ และเห็นแล้วไม่ดีเมื่อไหร่
ผู้ฟัง แล้วจะทำอย่างไร ให้เรารู้ธรรม ตามความเป็นจริงได้
ท่านอาจารย์ กำลังฟังเรื่องสิ่งที่มีจริง ใช่ไหม ฉะนั้นเวลาที่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างนี้ ดีกว่าไม่รู้ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ คนที่ญาติพี่น้องเสียชีวิต ร้องไห้เป็นธรรมดา ไม่มีใครหรอก นอกจากผู้ที่มีปัญญาดับกิเลสหมด ถึงจะไม่มีการโศกเศร้าเสียใจ แต่ว่าธรรมดาก็คือว่าเพราะมีความยินดีในสิ่งที่พลัดพรากจากไป พอพลัดพรากจากไปก็ต้องเสียใจเป็นธรรมดา รู้ความจริงว่าชีวิตก็คืออย่างนี้แหละ ดีกว่าไม่รู้ใช่ไหม นี่ก็เริ่มรู้ว่า ดีขึ้นเล็กๆ น้อยๆ ทีละนิดทีละหน่อย จนกว่าจะดียิ่งกว่านี้มาก เป็นไปได้แน่เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น อย่างรู้ว่าเห็นขณะนี้ เป็นเราหรือเปล่า เมื่อครู่นี้ไม่ลืมเป็นธรรมทั้งหมดเลย เปลี่ยนคำได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเห็นเดี๋ยวนี้ เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม นี่เริ่มรู้จักธรรมแล้ว เต็มโลกไปหมด ก็คือสิ่งที่มีจริงทั้งนั้น เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นเห็นต้องเกิด แล้วเห็นก็ดับไปเป็นธรรมดา รู้อย่างนี้แล้ว ดีกว่าไม่รู้ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เริ่มดีขึ้น เพราะฉะนั้นการที่มีความเข้าใจที่ถูกต้องทีละเล็กทีละน้อย ก็จะทำให้รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง แล้วก็จะค่อยๆ เข้าใจถูกขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะรู้ถึงขณะที่เห็นเกิด แล้วเห็นดับเป็นไปได้ไหม น่าคิดใช่ไหม ก็เห็นเกิดจริงๆ แล้วก็เห็นมีจริงๆ ไม่ใช่ไม่มีเห็น ก็เห็นมีจริงๆ เมื่อเห็นเกิดขึ้น แล้วเห็นก็ดับไปจริงๆ ด้วย เพราะฉะนั้นถูกต้องไหมที่เห็นเกิดขึ้นแล้วดับไป
ผู้ฟัง ถูก
ท่านอาจารย์ สิ่งที่เกิดแล้ว ดับแล้ว เป็นของใคร ไม่มีทางเลยเพราะความหมายของดับ ก็คือว่าไม่ได้กลับมาอีกเลยในสังสารวัฎ จะเกิดดับไปอีกกี่ร้อยพันปีก็ตามแต่ สิ่งที่เกิดแล้ว ดับแล้ว ไม่ได้กลับมาอีกสักอย่าง สิ่งที่เกิดใหม่ไม่ใช่อันเก่า เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิด ดับหมด ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ก็เป็นธรรมดา ไม่ใช่เรา แต่ว่าเราเห็นนี้ เราก็ได้ยินด้วย แสดงว่าถูกหรือผิด
ผู้ฟัง ผิด
ท่านอาจารย์ ผิด ถ้าถูกก็คือว่า เห็นไม่ใช่เรา ได้ยินไม่ใช่เรา เห็นเกิดแล้วดับ ได้ยินเกิดแล้วดับ นั่นคือความถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ต้องเป็นผู้ที่ตรง จึงสามารถที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ จนกระทั่งสามารถประจักษ์แจ้ง สภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ ชัดเจนว่าไม่ใช่เรา เกิดขึ้นแล้วก็หมดไป รู้ได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ ใครรู้ ไม่ใช่เราแน่ๆ ที่รู้ แต่ความเข้าใจ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น จนค่อยๆ รู้ความจริงของสิ่งที่ถูกปิดกั้น ด้วยความไม่รู้มาแสนนาน ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยรู้เลย ต่อไปก็ไม่รู้ ถ้าไม่มีโอกาสได้ฟังความจริง แล้วไตร่ตรองจนกระทั่งมีความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นความเข้าใจถูกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด อีกคำหนึ่งก็คือว่าปัญญานั่นเอง ประเสริฐกว่าสิ่งทั้งหมด ในบรรดาสิ่งที่เกิดขึ้น ปัญญาประเสริฐสุด เพราะสามารถที่จะรู้ความจริงได้
ผู้ฟัง แล้วทำอย่างไรที่เราจะได้มีปัญญา
ท่านอาจารย์ ไม่มีเราเลย ปัญญาเป็นปัญญา เพราะฉะนั้นถ้าไม่ฟังเมื่อครู่นี้เลยจะเข้าใจไหม
ผู้ฟัง ไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นปัญญาเกิดจากอะไร
ผู้ฟัง เกิดจากความเข้าใจถูก
ท่านอาจารย์ จากอะไร ทำไมถึงได้เข้าใจถูกได้
ผู้ฟัง จากการได้ฟัง
ท่านอาจารย์ แน่นอน ก่อนฟังเราไม่เข้าใจอย่างนี้เลย แต่พอฟังแล้วเริ่มเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นความเข้าใจถูกยิ่งขึ้นมาจากไหน การฟังบ่อยขึ้น เข้าใจขึ้น ละเอียดขึ้น ลึกซึ้งขึ้น นี่คือเริ่มต้น ยังไม่ถึงปีเลยยังไม่ถึงวันด้วย แค่ไม่กี่นาที เราก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าความจริงถูกซ่อนเร้น และปิดบัง ไม่มีใครกล่าวถึงเลย แล้วจะไปรู้ได้อย่างไรด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย นอกจากมีผู้ที่ได้รู้ความจริงนี้ แล้วก็แสดงความจริงนี้ให้คนอื่นได้เข้าใจถูกต้องด้วย ดีไหม
ผู้ฟัง ดี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความเข้าใจถูกนั่นแหละประเสริฐที่สุด
ผู้ฟัง การที่จะมีโอกาสได้ฟังคำจริง ฟังแล้วให้เราเข้าใจ เราจะฟังจากใครได้ที่ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ ถ้าคำนั้นพูดถึงสิ่งที่มีจริงๆ สามารถที่จะเข้าใจได้ทันทีนั่นคือคำที่ถูกต้อง ไม่ต้องไปทำอะไรเลย เดี๋ยวนี้เองพูดถึงสิ่งที่มีจริงให้เข้าใจถูกต้อง เพราะฉะนั้นคำไหนที่ไหนไม่ว่ากันเลย ขอให้พูดถึงสิ่งที่มีให้เป็นความเข้าใจขึ้น และความจริงเป็นอย่างนั้นซึ่งปฏิเสธไม่ได้ เพราะถูกก็คือถูก ผิดก็คือผิด
ผู้ฟัง แต่การที่ปัญญายังเป็นเราอยู่
ท่านอาจารย์ ที่เห็นเป็นเราไม่ใช้ปัญญา เพราะฉะนั้นความเห็นมี ๒ อย่าง ความเห็นถูกกับความเห็นผิด ความเห็นธรรมดาใช้คำว่าทิฏฐิ ความเห็น ถูกหรือผิดก็แล้วแต่ ถ้าเป็นความเห็นผิดก็ใช้คำว่ามิจฉา ผิด มิจฉาทิฎฐิ ถ้าเห็นถูกก็สัมมา ถูก คือสัมมา เพราะฉะนั้นมีทิฏฐิกลางๆ ยังไม่ได้บอกยังไม่รู้ว่าผิดหรือถูก ถ้ามิจฉาทิฎฐิก็เห็นผิดจากความเป็นจริง แต่ถ้าสัมมาทิฏฐิก็เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงเราเปลี่ยนอะไรไม่ได้ เปลี่ยนเห็นให้เป็นได้ยินไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ต้องเป็นสิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งอื่น เห็นก็ต้องเป็นเห็น แล้วเห็นก็ต้องเกิด แล้วเห็นก็ต้องดับ แล้วเห็นก็ไม่ใช่ของเรา แล้วเห็นก็ไม่ใช่ของเรา แล้วเห็นก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย ดับแล้วหมดเลยไม่กลับมาอีก แล้วจะเป็นของเราได้อย่างไร
เริ่มค่อยๆ เข้าใจคำว่าธรรมเป็นธรรม ไม่ใช่เราได้ฟัง มีโอกาสได้ยินก็ไม่ฟัง ใช่ไหม แย่กว่านั้นอีก ไม่ได้โอกาสที่จะได้ยิน นี่ยาก แม้มีโอกาสได้ยินก็ยังไม่ฟัง มีเหตุด้วยว่าทำไมไม่ฟัง เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏโดยเราไม่รู้เลยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ผู้ที่รู้ก็ทรงแสดงความจริงให้เข้าใจถูกต้อง แต่ละหนึ่ง ว่ากว่าหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ จะต้องอาศัยอะไรบ้าง ที่เป็นปัจจัยที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้ชั่วคราวแล้วก็ดับไป
อ.คำปั่น สนทนาถึงว่าเหตุที่จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องใช่ไหม ท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวถึงความสำคัญจริงๆ ก็คือการที่มีโอกาสได้เห็นได้ฟังพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งก็แสดงถึงความสำคัญจริงๆ เพราะเหตุว่าการอุบัติขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การทรงแสดงธรรมของพระองค์ แล้วก็การที่บุคคลนั้นได้เกิดมาเป็นมนุษย์ จะบรรจบพร้อมกันไหม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยยากในโลก เพราะฉะนั้นได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ถ้าหากว่าเป็นผู้ที่ได้สะสมเหตุที่ดีมา เห็นประโยชน์ของพระธรรม แล้วก็ได้สะสมความเข้าใจจากคำแต่ละคำที่ได้ยินได้ฟัง
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดไหม ฟังแล้วไม่คิดอะไรเลยก็ผ่านไป แต่ถ้าเป็นคนละเอียดก็จะรู้ได้เลย ว่าเราเข้าใจแค่ไหนในสิ่งที่เราได้ฟัง และเคยพูดมาแล้วเมื่อครู่นี้ มีคำหนึ่งซึ่งทุกคนจะได้ยินบ่อยๆ คุ้นหู แต่จะมีคำถามถึงคำนี้เสมอคือคำว่าบุญ บางคนก็ถามว่าทำอย่างนี้เป็นบุญไหม หมายความว่าเขาไม่รู้จักบุญใช่ไหม ทำอย่างนั้นเป็นบุญหรือเปล่า ก็ไม่รู้จักบุญอีก แต่พูด ใช่ไหม เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าเราจะเผิน ธรรมเผินไม่ได้ เพราะว่าความจริงละเอียดอย่างยิ่ง ลึกซึ้งด้วย แล้วก็ถูกปิดบัง ถ้าไม่มีใครพูดถึงสิ่งที่มีจริงเลย จะไม่มีการเปิดเผยว่าความจริงมีอะไรบ้าง และจริงอย่างไร ความจริงนั้นมีลักษณะอย่างไร แม้แต่บุญกับบาป เราพูดบ่อยเหมือนรู้ใช่ไหม แต่ถ้ารู้แล้วทำไมถาม ว่าทำอย่างนี้เป็นบุญหรือเปล่า ก็ต้องหมายความว่าไม่รู้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่ควรที่จะประมาท แล้วก็คิดว่ารู้แล้ว ทุกคำต้องละเอียด บุญคืออะไร เพราะฉะนั้นความละเอียดของการที่จะเข้าใจอย่าเพิ่งไปไกล สนทนากันตั้งหลายชั่วโมง ยาวมาก เรื่องต่างๆ แต่ไม่รู้ว่าคืออะไรสักคำ นั่นคือไม่เข้าใจแล้วก็ไม่เป็นประโยชน์ด้วย เพราะว่าเผินมาก เพราะฉะนั้นต้องพูดทีละคำ และเข้าใจทีละคำ บุญได้ยินแล้วใช่ไหม คืออะไร
ผู้ฟัง เมื่อก่อนยังไม่ได้ฟังก็เข้าใจว่าไปทำบุญไปวัด
ท่านอาจารย์ แล้วทำอย่างไร ทำบุญ
ผู้ฟัง ก็ไปไหว้พระ ใส่บาตร
ท่านอาจารย์ ไหว้พระเป็นบุญอย่างไร
ผู้ฟัง ก็มีความรู้สึกว่า ไปไหว้แล้วมีความสุข
ท่านอาจารย์ นั่นแหละไม่ใช่บุญ เพราะต้องการมีความสุข โดยที่ไม่รู้ว่าไหว้ใคร แม้แต่ไหว้ก็ยังไม่รู้เลยว่าไหว้ใคร แต่ไหว้แล้วยังหวังอีกด้วย ไหว้แล้วมีความสุข ง่ายมากอยากได้ความสุขไปไหว้อย่างนั้นหรือ เราไม่ได้มีเหตุผล เพราะเหตุว่าเราไม่ได้เข้าใจ เราไม่ได้ศึกษาเราไม่ได้ไตร่ตรอง เราไม่ได้คิดจนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เขาว่าเราก็ว่าตาม เขาว่าไปทำบุญก็ไปทำบุญกับเขา แต่ถามหรือเปล่าว่าบุญคืออะไร และทำบุญทำอย่างไร เพราะฉะนั้น ต้องฟัง เริ่มต้นจากธรรมมีจริง แต่ไม่ใช่เรา ทำไมต้องเป็นธรรม เห็นเป็นเห็น เห็นดับ แล้วเราจะอยู่ที่ไหน ถ้าเป็นเราก็ไม่มีใช่ไหม เพราะฉะนั้นทุกอย่างเกิดแล้วดับหมด ก็ไม่มีเรา มีแต่สิ่งที่เกิดแน่ๆ แต่ต้องมีปัจจัยที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิด อาศัยกัน และกันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ต้องเข้าใจละเอียดจริงๆ แล้วก็แต่ละคำผ่านไม่ได้เลย แม้แต่บุญ ไม่โลภเป็นบุญไหม
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ ไม่ติดข้อง สละได้ ช่วยเหลือคนอื่นได้ ไม่หวงแหนใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าถ้าเขาบอกเราเพียงแค่นี้ เราก็จำเพียงแค่นี้ บุญก็คือว่าเสียสละ ไม่หวงแหน ช่วยคนอื่นได้ ทำความดีคิดแค่นั้นใช่ไหม แต่ก็ไม่รู้ว่าบุญ คืออะไร ยังเข้าใจว่าเราทำบุญ เพราะฉะนั้นเรื่องของความเข้าใจธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด ขอให้มั่นคงตั้งแต่คำแรก ทีละคำ ทีละคำ ทีละคำ ถ้าเข้าใจอย่างมั่นคงทีละคำจะไม่พลาด เพราะเหตุว่าความไม่รู้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้มากมาย แล้วก็นำไปสู่ผิดยิ่งขึ้นตลอด ด้วยเหตุนี้การถูกต้อง ต้องถูกต้องอย่างมั่นคงถึงที่สุด เวลานี้ธรรมจะเป็นอะไรไม่ได้เลยนอกจากธรรมเป็นธรรม สิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นบุญมีจริงไหม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1081
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1082
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1083
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1084
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1085
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1086
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1087
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1088
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1089
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1090
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1091
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1092
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1093
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1094
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1095
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1096
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1097
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1098
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1099
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1120
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1121
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1122
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1123
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1124
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1125
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1126
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1127
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1128
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1129
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1130
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1131
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1132
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1133
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1134
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1135
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1136
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1137
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1138
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1139
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1140