ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1137
ตอนที่ ๑๑๓๗
สนทนาธรรม ที่ สำนักงานเขตสะพานสูง
วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ท่านอาจารย์ เวลานี้ธรรมจะเป็นอะไรไม่ได้เลย นอกจากธรรมเป็นธรรม สิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นบุญมีจริงไหม
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ แต่พูดว่าเป็นธรรม เท่านั้นพอไหม
ผู้ฟัง ไม่พอ
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าธรรมทุกอย่างเป็นธรรม แต่ว่าธรรมทำไมหลากหลายเหลือเกิน มากมายเหลือเกิน ชอบก็เป็นธรรม ไม่ชอบก็เป็นธรรม ขยันก็เป็นธรรม ขี้เกียจก็เป็นธรรม เรียกว่าทุกอย่างในชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายมีจริงๆ เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง มากมายอะไรอย่างนี้ แล้วก็ไม่กลับไปอีกเลย นับได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครจะไปประมาณได้เลย แม้เดี๋ยวนี้ถ้ารู้ความจริงประมาณไม่ได้เลย กว่าจะเห็นเป็นดอกไม้สักดอกหนึ่ง มีกี่กลีบ สีอะไรบ้าง ต้องเห็นทีละหนึ่ง ทีละหนึ่ง ทีละหนึ่ง แล้วเอามารวมกัน ด้วยความรวดเร็วสุดที่จะประมาณได้ ไม่รู้เลยว่านี่คือธรรม ซึ่งใครก็ยับยั้งไม่ได้ ต้องเกิดดับรวดเร็วอย่างนี้ แล้วก็ลวงให้เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เหมือนไม่ดับเลย เพราะฉะนั้นไม่รู้อย่างนี้มานานเท่าไหร่ ถ้าไม่ฟังอย่างนี้จะรู้ไหมว่ากำลังฟังธรรม เรื่องจริง นี่เรื่องจริงไม่มีใครไปแต่งขึ้นมาเลย ความจริงทั้งหมด เดี๋ยวนี้ก็เป็นจริงอย่างนี้ แต่ว่าถ้าไม่ได้ยินไม่ได้ฟังไม่มีทาง รู้ว่านี่คือธรรม ทุกคำ เพราะฉะนั้นธรรมมากมายแต่ต่างกันเป็น ๒ ประเภท ธรรมอย่างหนึ่งมีจริงๆ แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ แข็งอย่างนี้ ใครจะไปจับ ไปต้อง ไปตี แข็งไม่รู้สึกอะไรเลย แต่มีแข็งเกิดขึ้นเป็นแข็งเป็นอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นแข็งเป็นธรรมที่เป็นรูปธรรม ภาษาบาลี ซึ่งเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงธรรมกับชาวมคธ ใช้ภาษามคธี ทรงบัญญัติว่าธรรมที่ไม่ใช่สภาพรู้ เป็นรูปธรรมทั้งหมด
ผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์ สมมติว่าถ้าเราเริ่มที่จะเข้าใจในความเป็นแข็ง หรือว่าในสี ในอ่อน เหมือนว่าถ้าเราเริ่มเข้าใจ ก็เป็นเพียงแต่ว่าให้เราได้แค่เข้าใจ ให้รู้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครอนุญาต หรือจะบอกให้ทำอะไรเลยทั้งสิ้นแต่เข้าใจก็คือขณะนั้น สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น ถูกต้อง แข็งเป็นแข็งจะเป็นอื่นไม่ได้ แล้วก็แข็งก็ไม่ใช่เรา และไม่ใช่ของเรา ที่ตัวเรากระทบสัมผัสตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า แข็งหรืออ่อนเท่านั้น ไม่ใช่ของเรา และไม่ใช่เราด้วย เพราะว่าแตกย่อยละเอียดยิบได้ แต่พอมารวมกันก็ยึดถือว่าเรา หรือของเรา เพราะฉะนั้นก็ให้ทราบว่าธรรมแต่ละหนึ่ง แยกละเอียดยิบ แต่มารวมกันแล้วก็เข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เที่ยงยั่งยืน ไม่เกิดดับ ดอกไม้นี้ก็อยู่ที่นี่ทั้งวันเลย ใช่ไหม แต่ความจริงเกิดดับตลอดเวลา
ผู้ฟัง แต่ว่าถ้าเราเข้าใจในลักษณะอย่างนี้ ก็จะทำให้สิ่งที่เราติดข้องในสิ่งนั้น ลดน้อยลงใช่ไหม ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ความไม่รู้มีมากใช่ไหม แต่พอเริ่มเข้าใจ ความไม่รู้ก็ค่อยๆ น้อยลง ไม่มีใคร แต่เพราะไม่รู้มานาน พอรู้ ขณะนั้นความไม่รู้ที่เคยไม่รู้ก็ลดน้อยลงไป แต่ความไม่รู้นี้มากมายมหาศาล
ผู้ฟัง ก็ต้องอาศัยการฟัง
ท่านอาจารย์ เข้าใจเมื่อไหร่ก็ค่อยๆ ละความไม่รู้ความไม่เข้าใจเมื่อนั้น
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นถ้าเราเป็นคนที่ไม่ชอบฟัง หรือว่าฟังแต่ไม่เข้าใจ ความเข้าใจในสิ่งตรงนี้เราก็ยังไม่เข้าใจอีกใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่มีความเข้าใจ ไม่มีความเห็นถูกต้อง คิดเองได้อย่างไร แต่ฟังแล้วไตร่ตรองว่าถูกไหม ไม่มีใครบังคับ แต่ว่าคิดดีๆ ไตร่ตรองดีๆ เป็นความจริงหรือเปล่า เพราะว่าแต่ละคำขยายออกไปอีกมาก ให้รู้ว่าความจริงเป็นอย่างนั้น แต่ว่าเราเหมือนกับ ดอกไม้นี่จะเกิดดับได้อย่างไร แต่ขยายออกไปจนกระทั่ง เข้าใจถูกต้องจริงๆ ว่าเกิดแน่นอนดับแน่นอน และสามารถที่จะรู้ความจริงอย่างนี้ด้วยเพราะเป็นจริงอย่างไรก็ต้องรู้อย่างนั้น
อ.คำปั่น คำหนึ่งที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงก็คือบุญ หมายถึงสภาพธรรมที่ดีงาม ที่ชำระจิตให้สะอาด แล้วก็เป็นสภาพธรรมที่ให้ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นี่คือความหมาย เป็นธรรมที่ดีงามที่ชำระจิตให้สะอาด แล้วก็เป็นธรรมที่เป็นเหตุ ที่จะนำมาซึ่งผลที่ดี นี่คือความหมาย ทีนี้เมื่อเป็นธรรมแล้ว ทำได้ไหม ทำบุญได้ไหม ก็ต้องกลับมาที่ว่าธรรมเป็นธรรม ไม่มีใครทำอะไรได้ แต่ขณะที่ความดีเกิดขึ้น อย่างเช่นมีการให้ทาน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลอื่น เป็นอะไรก็คือเป็นธรรมนั่นแหละที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของธรรม ก็คือธรรมฝ่ายดีเกิดขึ้นทำกิจธรรมของฝ่ายดี แต่ว่าโดยโวหารหรือโดยคำพูดก็กล่าวว่า คนนั้นคนนี้ทำบุญ คนนั้นคนนี้ทำความดี เพราะว่ามีความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้วว่า เพราะมีธรรมเกิดขึ้นเป็นไป จึงหมายรู้จึงหมายเรียกได้ว่าเป็นอะไร นี่คือความเป็นจริงของธรรม ยิ่งถ้าได้ศึกษาในพระสูตร ก็จะมีข้อความหนึ่งที่แสดงถึงความชัดเจนว่า ไม่ใช่คนที่กระทำ แต่ว่าเป็นกิริยาของบุญ ใช่ไหม บุณยกิริยาก็คือการกระทำของบุญ ซึ่งก็คือเป็นกิจหน้าที่ของธรรมฝ่ายดีนั่นแหละที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เพราะฉะนั้นความเข้าใจพระธรรม จะทำให้เข้าใจอย่างมั่นคง แล้วก็ไม่เปลี่ยนแปลงในความเป็นจริงนั้น บุญเป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นธรรมที่ดีงามที่เกิดขึ้นเป็นไป
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วเข้าใจใช่ไหม
ผู้ฟัง เริ่มเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำว่าจิตใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ คืออะไร
ผู้ฟัง จิตเป็นธาตุรู้
ท่านอาจารย์ ฟังมาใช่ไหม ถ้าไม่ฟังก็ไม่รู้ใช่ไหม
ผู้ฟัง อ่านบ้างฟังบ้าง
ท่านอาจารย์ ธาตุคืออะไร เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราจะรู้คำมาก แต่ว่าเราต้องรู้ว่าคำนั้นจริงๆ เราเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า หรือว่าได้ยินแค่นี้เหมือน เหมือนเข้าใจ แต่ถ้าถามซักไซร้ให้พิจารณา ถ้าตอบถูกเมื่อไหร่แสดงว่าเข้าใจ แต่ถ้ายังตอบไม่ได้เพราะแค่ได้ยินผ่านหู ใครๆ ก็มีจิตอย่างนี้ แค่นี้ ก็เหมือนเข้าใจจิต แต่จิตคืออะไร ถามอะไรง่ายๆ หรือเปล่า ง่ายมากเลยพูดกันทุกวัน แล้วก็มาถามอย่างนี้ เพื่ออะไรเพื่อให้เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เผินๆ เพราะฉะนั้นจิตคืออะไร ทุกคนฟังใช่ไหม เมื่อครู่นี้ได้ยินคำนี้ใช่ไหม คนพูดพูดหลายครั้ง ใช่ไหม แต่ว่าฟังแล้วรู้จักจิตไหม จิตคืออะไร
ผู้ฟัง จิตก็เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะอะไรจึงว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ท่านอาจารย์ เกิดเมื่อไหร่
ผู้ฟัง เกิดเมื่อมีเหตุ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้จิตทำอะไร
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้จิตกำลังเห็น
ท่านอาจารย์ ขณะที่เห็นนี่แหละเป็นจิต เมื่อครู่นี้เราพูดถึงธาตุรู้ ไม่ใช้คำว่าจิตได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ เพราะรูนี่ กำลังเห็นนี่ เรียกอะไรก็ได้ ไม่เรียกก็ได้ภาษาไหนก็ได้ แต่เปลี่ยนลักษณะเห็นไม่ได้ เห็นคือเห็น ธรรมอย่างหนึ่ง คำว่าธา ~ ตุ เป็นคำขยายคำว่าธรรม หมายความว่าธรรมสิ่งที่มีจริง เป็นธาตุ คือใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นธาตุไฟร้อน แล้วอุ่นๆ ล่ะเป็นธาตุไฟหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็น เพราะฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่ามีคำมากมายหลายอย่าง แต่ว่าต้องเข้าใจจริงๆ ทีละคำๆ แล้วเราก็จะได้รู้ว่าปัญญาคือความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีจริงๆ แต่ไม่เคยรู้มานานมากตั้งแต่เกิด จนกว่าจะได้ฟังเรื่องหรือคำที่แสดงความจริงของสิ่งนี้ เพราะฉะนั้นอะไรเป็นจิตอีกค่ะนอกจากเห็น
ผู้ฟัง ได้ยิน
ท่านอาจารย์ อะไรอีก
ผู้ฟัง ได้กลิ่น
ท่านอาจารย์ อะไรอีก
ผู้ฟัง ได้รส
ท่านอาจารย์ อะไรอีก
ผู้ฟัง กระทบสัมผัส
ท่านอาจารย์ รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส และอะไรอีก
ผู้ฟัง คิด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้มีได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ กลับมาหาธรรมอีกแล้ว เป็นสิ่งที่มีจริงใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แล้วก็ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย จิตเป็นธาตุหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เพราะไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงจิตเห็นให้เป็นอย่างอื่นได้เลย เพราะฉะนั้นธรรมก็คือธาตุ แล้วก็แสดงโดยนัยที่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ เกิดมีแต่ไม่รู้ เป็นรูปธาตุหรือรูปธรรม แต่ว่าถ้าไม่มีธาตุรู้เกิดขึ้น อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ ใช่ไหม ต่อเมื่อไหร่ธาตุรู้เกิดรู้ จึงมีสิ่งที่ถูกรู้ปรากฏ ถ้าธาตุรู้ไม่เกิดขึ้นรู้ จะไม่มีสิ่งที่ถูกรู้เลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นทั้งวัน คิดถึงสิ่งที่จิตรู้ทั้งนั้นเลย กำลังปรากฏ ใช่ไหม ถ้าจิตไม่รู้คือไม่เห็น สิ่งนี้จะปรากฏว่าเป็นดอกไม้ เป็นต้นไม้ได้ไหม ก็ไม่ได้ ใช่ไหม ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นได้ยินเสียง เสียงก็ปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้นโลกนี้เป็นโลกของรูป ที่ปรากฏให้เห็นทางตา เป็นสีสันวรรณต่างๆ ใช่ไหม โลกนี้ก็มีรูปที่ปรากฏให้รู้ได้ คือเห็นได้ทางตา มีเสียง มีกลิ่น มีรส และก็มีสิ่งที่กระทบสัมผัสกายให้รู้ว่าเย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว และเมื่อกระทบตรงไหน เมื่อไหร่ ภายในภายนอก ทั้งหมดเลย สิ่งที่เป็นรูปก็จะเป็นลักษณะที่ถ้าเป็นกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ก็จะเป็นลักษณะที่เย็นหรือร้อนอ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว เย็นๆ นี่เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เป็นของเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ทำไมรู้ว่ามี ทำไมรู้ว่าเย็น
ผู้ฟัง กระทบ
ท่านอาจารย์ อะไรรู้
ผู้ฟัง ธาตุ
ท่านอาจารย์ ธาตุชนิดหนึ่งเกิดขึ้นรู้ แต่รู้ไหม ที่บอกว่าธาตุรู้มี ๒ อย่าง ประเภทใหญ่ๆ ธาตุหนึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ชี้แจงสิ่งที่ปรากฏ ใช้คำว่าจิต จะใช้คำว่าวิญญาณ ภาษาบาลีก็ต้องออกเสียงว่า วิญ-ญา-ณะ ก็ได้ หทยก็ได้ มโนก็ได้ มนัสก็ได้ แล้วแต่ว่าเราจะหมายความถึงอะไร หทยก็คือภายในถึงที่สุดคือจิต อยู่ไหน จิตขณะใดที่ปรากฏอยู่ภายในไม่ได้ภายนอก บางคนก็หาไม่เจอ ในจนหาไม่เจอว่าอยู่ไหน ใช่ไหม แต่ความจริงก็คือขณะที่รู้นั่นแหละ ไม่ใช่เรา แค่แข็งปรากฏ นี่คือจิตกำลังรู้แข็ง แค่เสียงปรากฏก็คือจิตกำลังได้ยินเสียง รู้เสียง ได้ยินก็คือรู้เสียงว่าเสียงนั้นเป็นอย่างนี้ ใครก็เปลี่ยนเสียงนั้นไม่ได้ เราถึงได้จำได้ เสียงนกก็จำได้ เสียงถ้วยชามกระทบกัน อะไรก็ได้ของแข็ง เสียงแตรรถยนต์ จำได้หมดเลย จำมีจริงไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นเรา หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นสัญญา
ท่านอาจารย์ เป็นธาตุ หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ วันนี้สัญญาอะไรกับใครหรือเปล่า สัญญาว่าจะมาฟังธรรมที่นี่ ใช่ไหม สัญญากันไว้วันก่อนนู้น ตั้งอาทิตย์หนึ่ง สองอาทิตย์มาแล้ว ใช่ไหม นั่นคือภาษาไทย แต่ว่าลักษณะของธรรม ที่เป็นภาษาบาลี ภาษาที่ดำรงไว้ซึ่งคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัญญาหมายความว่าธรรมอย่างหนึ่ง จำต้องมีจริงๆ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นธรรมอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่จิต เป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิต แต่ว่าไม่ใช่จิต สภาพธรรมที่เกิดกับจิตแต่ไม่ใช่จิต ใช้คำว่า เจ-ตะ-สิก-กะ คนไทยก็ออกเสียงว่าเจตสิก ไม่ว่าเราจะไปเปิดตำราจิตวิทยาปรัชญาอะไร ของใครสักเท่าไหร่ นานมาแล้วสักเท่าไหร่ ไม่มีคำนี้ เพราะเขาไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว ธาตุรู้มี ๒ อย่างคือจิตกับเจตสิก อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น เกิดเองไม่ได้ เจตสิกเกิดเองไม่ได้ เจตสิกเกิดกับจิตจิตเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีเจตสิก ซึ่งเป็นปัจจัยให้จิตเกิด เพราะฉะนั้นขณะที่ได้ยินเสียง จิตรู้เสียงใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ได้ยินเสียง แต่ถ้าไม่มีเจตสิกหนึ่งซึ่งกระทบเสียง ธาตุรู้ ผัสสะคือกระทบ ผัสสเจตสิกกระทบแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง ไม่ว่ากระทบอะไร จิตรู้อย่างนั้น ถ้าขณะนี้ได้ยินเสียง จิตเป็นสภาพที่ได้ยิน ผัสสเจตสิกเกิดพร้อมจิตได้ยินเลย แต่เป็นธาตุหรือธรรมที่กระทบกับสิ่งที่จิตรู้ ทำให้จิตเกิดขึ้นรู้ ค่อยๆ ยากขึ้นแต่ก็เป็นชีวิตประจำวันซึ่งจะต้องรู้ ว่าถ้าไม่ฟังไม่มีโอกาสจะเข้าใจได้เลย เพราะฉะนั้นรู้กับไม่รู้ ๒ อย่าง จะรู้หรือไม่รู้ ถ้ารู้ดีก็รู้ต่อไป ฟังต่อไป เข้าใจต่อไป ถ้ารู้ไม่ดีรู้ทำไม ขณะนั้นก็ไม่ฟังต่อไป แต่ถ้ารู้ว่าไม่เคยรู้แล้วสามารถจะรู้ได้โดยการฟัง แล้วไตร่ตรองก็เข้าใจได้
เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ เห็นแล้วเป็นอย่างไร เห็นแล้วโกรธ โกรธเป็นเจตสิก เห็นแล้วชอบเป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง ใช่ไหม ไม่ใช่จิต เพราะฉะนั้นทั้งหมดในวันนี้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งไม่ใช่จิตแล้ว แล้วเข้าใจว่าเป็นเราทั้งหมด เป็นสภาพรู้คือเจตสิกทั้งหมดน ทั้งหมดมีเจตสิก ๕๒ ประเภท เราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสภาพธรรมก็มีจิต เป็นธาตุรู้ เป็นใหญ่เป็นประธาน และมีเจตสิกซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น และก็มีรูป ทั้งโลกไม่ว่าโลกไหน จะไม่พ้นไปจากสภาพธรรม ที่เป็นรูปหรือเป็นนาม จิต เจตสิก เป็นธาตุรู้ไม่มีรูปร่าง ใช้คำว่านามธรรม ดอกไม้มีจิตไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ แก้วมีจิตไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ นกมีจิตไไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มดมีจิตไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นเป็นนก หรือเป็นมด หรือเป็นคน
ผู้ฟัง เห็นเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ธรรมเปลี่ยนไม่ได้เลย ธรรมต้องเป็นธรรม แต่พอมีรูปร่าง เราก็บอกว่าคนเห็น นกเห็น มดเห็น ช้างเห็น แต่ความจริงเห็นเป็นเห็น ไม่ว่าเห็นที่ไหน เห็นเมื่อไหร่ เห็นกี่พันปีมาแล้ว เห็นต่อไปข้างหน้า เห็นเป็นอื่นไม่ได้เลยนอกจากเป็นเห็น นี่คือธรรม เป็นธาตุซึ่งเปลี่ยนไม่ได้เลย
ผู้ฟัง แต่ในสภาพที่ยังไม่เข้าใจ เราก็ยังคิดว่าอันนี้เป็นมด
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีรูปร่าง มดอยู่ไหน เห็นแต่รูปร่าง นี่บอกว่าคนเห็น เห็นรูปร่างอย่างนั้นก็บอกว่านกเห็น เห็นรูปร่างนั้นบอกว่าปลาเห็น แต่เมื่อเอารูปออกหมด ธาตุเห็นไม่มีรูปร่างเลย ใช้คำว่านามธรรม หมายความว่าไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น ล้วนๆ เลย มี แต่ไม่มีอาการที่จะปรากฏให้รู้ว่าอยู่ไหน ตรงไหน เพราะเกิดขึ้นรู้เท่านั้นเอง เพียงเกิดขึ้นรู้ แล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง ก็เข้าใจตรงนั้น แต่ยังอาศัย
ท่านอาจารย์ ความคลาดเคลื่อน เมื่อเราเข้าใจไม่มั่นคง เมื่อเข้าใจไม่ถูกต้อง ความเป็นเรายังมีอยู่แน่นอน เพียงแต่ว่าไม่เคยรู้มาก่อนว่าไม่ใช่เรา และไม่มีเรา แต่ถึงฟังแล้วก็ยังเป็นเรา กว่าจะหมดความเป็นเรา ปัญญาต้องเกิดขึ้นอีกมากเท่าไหร่ ถึงจะรู้ความจริง ของทุกคำที่เราได้กล่าวถึงแล้ว
ผู้ฟัง เมื่อได้พิจารณา ในชีวิตประจำวัน ว่าอันนี้ไม่ใช่เราน่ะหรืออะไรนี้ เพราะฉะนั้นความโกรธหรือว่าความขุ่นข้อง ที่เจอในปัจจุบันขณะที่ทำงานก็จะพยายามมีเวลาที่จะมองว่า อันนี้เกิดขึ้นเพราะว่าต้องมีเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นเหตุคืออะไร เมื่อเข้าใจเหตุก็คือค่อยๆ แก้ไข ซึ่งอันนี้คิดว่าเป็นส่วนที่ทำมา คือชีวิตประจำวันจริงๆ
ท่านอาจารย์ ก็เป็นตัวอย่าง ที่ว่าอาศัยการที่ได้ฟังแล้วก็ไม่ประมาท ก็ทำให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นในความละเอียด เพราะเหตุว่าได้ยินคำหนึ่งซึ่งใครๆ อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา สภาวธรรม สภาพธรรมได้ยินไหม
ผู้ฟัง เคยได้ยิน
ท่านอาจารย์ คืออะไร ทุกอย่างต้องสัมพันธ์กัน ต้องเกี่ยวเนื่องกันต้องทำให้มั่นคง แล้วก็เข้าใจขึ้น เพราะว่าไม่ใช่ภาษาไทยใช่ไหม สภาวธรรม ภาษาไทยคนไทยเราใช้คำว่าสภาพธรรม ธรรมเข้าใจแล้วแล้วก็สภาพหรือสภาวะ คืออะไร เว้นไม่ได้เลย ทุกคำจะทำให้เราได้เข้าใจมั่นคงขึ้น เพราะฉะนั้นผ่านหูไปแล้วแล้วก็อาจจะลืมไปแล้ว และไม่คิดถึง แต่ถ้าไม่เผิน ฟังแล้วจะมีคำหลายคำที่ทำให้เราไตร่ตรองแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ทำไมว่ามีจริง เพราะว่ามีลักษณะที่เป็นอย่างนั้น นี่คือภาษาไทย ภาษาบาลีก็คือภาวะ ความมีความเป็น ธรรมต้องมีความมี ความเป็น เฉพาะของตน ของตน แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นสภาวธรรม ธรรมที่มีภาวะของตน ก็เข้าใจขึ้นมาอีกนิดหนึ่งใช่ไหม ไม่ใช่ว่าพูดบ่อยๆ สภาพธรรม หรือจะใช้คำว่าสภาวธรรมก็ได้ เพราะว่าใช้"ว"กับ"พ"แทนกันได้ บางครั้งก็ใช้"ว"บางครั้งก็ใช่"พ" แต่ส่วนใหญ่ภาษาบาลีเป็น"ว"หรือเปล่า เพราะฉะนั้นคนไทยเราก็พอจะเปลี่ยนได้ ถ้าเราได้ยินคำไหนคุ้นหู เราก็เปลี่ยนภาษาบาลีได้ สภาวธรรมก็คือธรรม แต่ขยายว่าเป็นสิ่งที่มี"ส" ภาวะความเป็นอย่างนั้นๆ เฉพาะตน เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย
ผู้ฟัง จะสอบถามอาจารย์ว่าการฟัง จำเป็นที่จะต้องแยกแต่ละเรื่อง เพื่อให้เข้าใจในแต่ละคำ หรือว่าควรจะศึกษา ๑.เป็นธรรม เป็นคำ คือแต่ละคำๆ ก่อนหรือว่า ๒.จะต้องเป็น ในแนวทางเจริญวิปัสสนา ในหัวข้ออะไรก่อนหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างต้องมีการตั้งต้นใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสังเกตดูจากคนที่ฟังวิทยุ เขาไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้น ตอนกลางบ้าง ตอนปลายบ้าง ตอนเริ่มไปแล้วบ้างใช่ไหม เพราะฉะนั้นความเข้าใจไม่พอ ไม่ชัดเจน ทุกอย่างต้องตั้งต้นอย่างมั่นคง เข้าใจจริงๆ ทุกคำ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาที่ไปที่ไหน ก็รู้ว่ามีทั้งคนใหม่ซึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังธรรมเลย แล้วไปพูดเรื่องที่คนเก่าหรือว่าคนที่เคยฟังมามากแล้ว คนใหม่เขาจะไม่ได้อะไรเลยทั้งสิ้นใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็พูดให้คนที่เหมือนไม่เคยได้ฟังเลย แต่ว่าฟังแล้วฟังอีก สภาพธรรมกำลังมีเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นความเข้าใจของคนที่เริ่มฟัง ฟังเรื่องราว ฟังคำ ฟังความหมาย แต่คนที่ฟังมาบ่อยๆ พอพูดถึงแข็งใช่ไหม ฟังมาแล้วรู้้ว่าแข็งมี และแข็งกำลังมีขณะนั้น สามารถที่จะเข้าใจตรงนั้นได้
เพราะฉะนั้นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำ แม้ว่าจะเป็นคำตั้งต้น แต่ขึ้นอยู่กับปัญญาของผู้ฟัง ทุกอย่างมีจริง อย่างเห็นอย่างนี้เกิดหรือเปล่า ดับหรือเปล่า เกิดดับขั้นฟัง แต่ผู้ที่ฟังมานานมาก สามารถกำลังเข้าใจภาวะ ธรรมที่เกิดรู้ขณะนี้ รู้จึงมีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ว่าเป็นอย่างนี้ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย เพราะฉะนั้นไม่ประมาทต้องฟังคำทุกคำให้เข้าใจตั้งแต่ต้น
อ.คำปั่น ซึ่งก็ได้ฟังข้อความที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง ก็แสดงถึงพระมหากรุณาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ ว่ากว่าที่พระองค์จะได้ทรงตรัสรู้ กว่าที่พระองค์จะมีคำแต่ละคำให้พวกเราได้ยินให้ฟัง พระองค์ทรงใช้เวลาที่ยาวนานในการสะสม อบรมคุณความดี จนกว่าจะถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราในฐานะที่เป็นผู้ฟังจะต้องอดทนไหม ก็ต้องอดทนด้วย ใช่ไหม เพราะว่าปัญญาเป็นพืชที่โตช้า ต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนานในการที่จะค่อยๆ สะสมความเข้าใจในความเป็นจริงของธรรม จากคำแต่ละคำที่ได้ยินได้ฟัง อย่างวันนี้ก็ได้ยินคำว่าธรรม ได้ยินคำว่าธาตุ ธาตุก็เป็นอีกคำหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นจริงของธรรม ก็คือทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจากคำแต่ละคำ ก็ทำให้เข้าใจมั่นคงในความเป็นจริงของธรรมยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะฟังในส่วนใดก็ตาม ก็ต้องไม่ลืมว่าเพื่อเข้าใจความเป็นจริงของธรรม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1081
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1082
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1083
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1084
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1085
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1086
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1087
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1088
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1089
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1090
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1091
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1092
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1093
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1094
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1095
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1096
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1097
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1098
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1099
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1100
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1101
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1102
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1103
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1104
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1105
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1106
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1107
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1108
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1109
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1110
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1111
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1112
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1113
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1114
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1115
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1116
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1117
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1118
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1119
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1120
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1121
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1122
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1123
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1124
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1125
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1126
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1127
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1128
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1129
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1130
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1131
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1132
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1133
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1134
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1135
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1136
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1137
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1138
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1139
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1140