พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
ตอนที่ ๖๖๑
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ผู้ฟัง ลักษณะของความเป็นตัวตนก็ไม่ใช่ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง
ท่านอาจารย์ เห็นเป็นธรรม ไม่ใช่ความเห็นผิด เห็นเป็นธาตุที่เกิดขึ้นให้รู้ว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น นี่คือเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่ความเห็นผิด ได้ยินเสียง ขณะนั้นที่ได้ยินมีเสียงปรากฏแน่นอน ไม่ใช่เสียงอื่นด้วย เฉพาะเสียงนั้นแล้วก็ได้ยินเสียงนั้น ไม่ใช่ความเห็นผิด เพราะฉะนั้น จิตที่เห็น จิตที่ได้ยิน จิตที่ได้กลิ่น จิตที่ลิ้มรส จิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ทั้งหมดนี้ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เป็นแต่เพียงธาตุซึ่งอาศัยการเกิดขึ้น ”อุปัตติ” ของธรรมที่กระทบกันเป็นปัจจัยให้เกิดสภาพธรรมที่รู้ว่าขณะนั้นมีอะไร เช่นคุณสุกัญญาเดี๋ยวนี้มีตา หรือไม่
ผู้ฟัง มีค่ะ
ท่านอาจารย์ ทำไมรู้ว่ามี
ผู้ฟัง จำ คิดว่ามีตาแล้วก็เห็น
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น จะรู้ว่ามีตาไหม ความเป็นจริงขณะนั้นตาไม่มี เพราะอะไร เกิดแล้ว ดับแล้ว เฉพาะรูปหนึ่งรูปใดที่กำลังปรากฏ รูปนั้นจึงจะเป็นสิ่งที่เกิดแล้วยังไม่ดับ อย่างขณะนี้มีเห็น ถ้าสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ไม่กระทบจักขุประสาท ก็แสดงว่าต้องมีจักขุประสาทในขณะที่รูปกระทบ ใครรู้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ไม่ใช่ให้เราไปรู้เกินความสามารถ แต่ให้เข้าใจความจริงว่า ความจริงเป็นอย่างนี้ แล้วสามารถที่จะเข้าใจเรื่องราวของสภาพธรรมที่เป็นจริง แต่ปัญญาที่สามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดงโดยประการทั้งปวง ไม่ใช่วิสัยของคนหนึ่งคนใดที่ไม่ได้สะสมมาที่จะรู้อย่างท่านพระสารีบุตร หรือท่านพระมหาโมคคัลลาน หรือท่านพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยคุณพิเศษคือวิเศษ ไม่ใช่เพียงแต่บรรลุความเป็นพระอรหันต์เท่านั้น เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมเพื่อละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เพราะว่าตั้งแต่ขณะจิตแรกที่เกิด ตอนนั้นเป็นเรา หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เห็น หรือไม่ เราตอบได้ ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยกับจิตขณะแรกที่เกิด ถ้าศึกษาต่อไปจะพบความละเอียดว่าเพราะอะไร เพราะจิตขณะนั้นเป็นผลของกรรมหนึ่งผลของกรรม จิตที่มีกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดจิตนั้นเป็นวิปาก สุกงอมพร้อมที่กรรมจะทำให้จิตประเภทนั้นเกิดขึ้นทำกิจนั้น เพราะฉะนั้นขณะแรกที่เกิดก็คือกรรมหนึ่งเป็นปัจจัยสุกงอมพร้อมที่จะให้วิบากจิตเกิดขึ้นเป็นขณะแรกสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน ขณะนั้นเป็นผลของกรรมที่ทำให้เกิดไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก ถ้าเป็นความละเอียดจะรู้ว่าขณะนั้นไม่มีความเห็นผิดใดๆ เกิดร่วมด้วย เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่เป็นอกุศลต้องเกิดขณะที่เป็นอกุศล จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ หมายความว่าโลภะเกิดเมื่อไรเป็นอกุศล ลักษณะของโลภะไม่เป็นอย่างอื่น ไม่เป็นวิบาก ไม่ใช่ผลแต่เป็นตัวเหตุ เพราะฉะนั้นแยกความละเอียดว่าการเกิดของแต่ละคนก็ทำให้เป็นบุคคลต่างๆ กันไป แต่ไม่ว่าจะเป็นใคร วิบากจิตจะไม่เกิดกับทิฏฐิ หรือความเห็นผิด เพราะฉะนั้นคุณสุกัญญาบอกว่าจะมีความเห็นผิดขณะนั้นขณะนี้ ก็เพราะเหตุว่าเพียงฟังเผินๆ และรู้ว่ายังไม่ได้ดับความเห็นผิด เพราะฉะนั้นก็มีความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด และเป็นเรา เป็นเขา เป็นเรื่องราวต่างๆ ในขณะนั้น ก็เพราะเหตุว่าไม่รู้ความจริง แต่ขณะใดก็ตามที่ความเห็นผิดเกิด ดับแล้ว ปัญญาไม่ได้รู้ความจริง เพราะฉะนั้นปัญญาสามารถที่จะรู้ลักษณะของความเห็นผิดซึ่งกำลังเห็นผิดในขณะนั้น จึงชื่อว่ารู้จักว่าเป็นความเห็นผิด ไม่ใช่พูดรวมๆ ว่าเห็นแล้วก็ยึดถือว่าสภาพธรรมว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยความเห็นผิด นี่คือความละเอียดของธรรมซึ่งต้องอาศัยการฟัง แม้แต่เพียงสิ่งเดียวจนกระทั่งเข้าใจจริงๆ
ผู้ฟัง ตอนเช้าตื่นลืมตาขึ้นมาก็รู้ว่ามีตัวตื่น
ท่านอาจารย์ ตื่นกับลืมตาพร้อมกัน หรือไม่
ผู้ฟัง ตื่นถึงแม้ไม่ลืมตา ก็รู้ว่ามีตัวตื่น
ท่านอาจารย์ คุณสุกัญญาบอกตื่นแล้วลืมตา หมายความตื่นขณะนั้นไม่ได้ลืมตา ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ถูก
ท่านอาจารย์ ลืมตาเพราะจิตอะไร ถ้าไม่มีความต้องการที่จะลืมตา ตาซึ่งหลับอยู่จะมีอะไรไปทำให้ลืมขึ้นมาได้ ทำไม่ได้ ใช่ไหม แต่โลภะความต้องการ จิตที่ต้องการทำให้เกิดรูปที่ทำให้รูปนั้นไหวไปที่จะทำให้ตาซึ่งหลับ หรือปิดอยู่ลืมขึ้น หรือเปิด แค่นี้เราก็ไม่รู้ และก็ความเป็นตัวตนอยู่ตรงไหนเราก็ไปรวมกันหมด ใช่ไหม เกิดความคิดว่าเป็นเรา หรือการจำได้ว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้นคำพูดทั้งหมดที่ได้ฟังเป็นเรื่องจริงแต่ละเอียดมาก และปัญญาสามารถที่จะรู้ลักษณะของธรรมแต่ละหนึ่งที่ไม่ปะปนกันจึงจะชื่อว่าเป็นปัญญา ที่สามารถที่จะเห็นถูกว่าขณะนั้นเป็นอะไร ถ้าเห็นเป็นธาตุที่กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏขณะนี้ว่าเป็นอย่างนี้ไม่เป็นอย่างอื่น กำลังเห็นชั่วขณะนั้นไม่ใช่ความเห็นผิด นี้คือการศึกษาธรรมต้องละเอียดที่จะนำไปสู่การรู้จริงๆ ในลักษณะของธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ แต่ถ้ามีคำถามว่า เมื่อไร ถูก หรือผิด เพราะว่าไม่ใช่ใครคนหนึ่งคนใด แต่ปัญญาเกิดบ้างไหม เข้าใจอะไรไหม ขณะนี้มีธรรมแล้วเป็นเพียงขั้นฟังยังไม่ได้รู้ลักษณะของธรรมแต่ละอย่างซึ่งกล่าวถึง เพราะว่าแม้เมื่อกี้ก็มีคนกระพริบตา จิตอะไร เกิดแล้ว ดับแล้ว มีความต้องการเกิดขึ้นก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นความเป็นไปของธรรมที่คนใดก็ตามที่ไม่ได้อบรมปัญญามาไม่สามารถที่จะรู้ตามความเป็นจริงได้เพราะว่าเกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้
ผู้ฟัง อย่างนั้นถ้าเกิดว่าไม่ได้รับการอบรมจริงๆ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมได้
ท่านอาจารย์ อะไรเข้าใจ
ผู้ฟัง ก็ต้องเป็นปัญญา
ท่านอาจารย์ แล้วมาจากไหน
ผู้ฟัง มาจากการฟัง และอบรม
ท่านอาจารย์ ก็เป็นคำตอบที่ชัดเจน ฟังธรรมเพื่ออะไร เพื่อเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง ธรรมที่ได้ฟัง ไม่ใช่ให้ไปทำอย่างอื่น ไม่ใช่ไปหวังให้หมดกิเลส หรือให้ประจักษ์การเกิดดับ เป็นไปไม่ได้เพราะไม่ได้ละอะไร ยังคงเป็นความไม่รู้เพราะขณะนั้นมีความต้องการเกิดขึ้น
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วไม่ทราบเลยว่าพอตื่นขึ้นมาโลภะมาทันที
ท่านอาจารย์ เรียก เรียกว่าโลภะมาทันที
ผู้ฟัง แต่ว่าจริงๆ แล้วมีความสงสัยว่า ความเป็นตัวตนพอตื่นมาก็รู้จักว่าเป็นตัวเรา
ท่านอาจารย์ ด้วยความสงสัย
ผู้ฟัง จะบอกว่าไม่มีตัวเรา บอกไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถ้ารู้แล้วไม่สงสัย คือรู้ว่าขณะนั้นเป็นอะไร
ผู้ฟัง คือจริงๆ ก็ต้องรู้ว่าเป็นความไม่รู้อย่างยิ่ง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการฟังปริยัติจะนำไปสู่ปฏิปัตติ จะนำไปสู่ปฏิเวธ เราใช้คำเผินโดยที่เราไม่ได้เข้าใจความหมาย แม้แต่ปริยัติ หรือปฏิปัตติ และปฏิเวธ ปริยัติเราอาจคิดว่าเรียนภาษาบาลี แต่ว่าความจริงไม่ใช่เรียนคำ หลักไวยากรณ์ที่จะพูด หรือที่จะเข้าใจประโยค หรือคำ แต่ว่าพระพุทธพจน์ ศึกษาพระพุทธพจน์ขณะใดขณะนั้นเป็นปริยัติ พระพุทธพจน์เป็นภาษบาลี แต่ว่าภาษาบาลีนั้นหมายความถึงสภาพธรรมที่มีจริงในภาษาใดก็ได้ ถ้าพูดกับคนไทยใช้ภาษามคธ หรือภาษามคธีเหมือนอย่างคนที่เกิดในแคว้นมคธไม่ได้ ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ภาษาใดที่จะทำให้เข้าใจธรรมขณะนั้นศึกษาพระพุทธพจน์ด้วยภาษานั้น แต่ถ้าศึกษาภาษาบาลี ภาษามคธีซึ่งเป็นภาษาที่ดำรงพระศาสนาเพราะว่าพระผู้มีพระภาคตรัสเป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธี ก็เลยใช้คำเรียกภาษามคธีว่า ภาษาบาลี “ปาล” คือ ดำรงรักษาพระธรรมคำสอนไว้
เพราะฉะนั้น การที่เราเพียงเข้าใจคำ หรือความหมายนั้นไม่ได้หมายความว่าเราเข้าถึงพระพุทธพจน์ หรือความหมายที่ทรงแสดงธรรมให้คนสามารถที่จะเข้าใจได้ในภาษานั้น ณ กาลครั้งนั้น เพราะฉะนั้นสมัยนี้ปริยัติคือการฟังพระพุทธพจน์ ภาษาอะไรก็ได้ให้เข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเรื่องอะไร เพราะฉะนั้นขณะนี้ที่กำลังเห็นพระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องเห็น หรือไม่ ให้เข้าใจให้ถูกต้อง ตรัสเรื่องสภาพธรรมที่ปรากฏให้เห็น หรือไม่ว่าความจริงเป็นเพียงสิ่งที่เป็นธาตุที่สามารถกระทบกับจักขุประสาทรูป ซึ่งเป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ใครก็ทำให้รูปนั้นเกิดไม่ได้ ถึงกาลที่ผลของกรรมจะเกิดเห็น เห็นไหม ไม่มีใครไปทำอะไร จัดสรรอะไรไม่ได้ แต่ถึงกาลที่กรรมนั้นสุกงอมพร้อมที่จะให้จิตเห็นเกิดขึ้น ในเมื่อสิ่งที่กระทบจักขุประสาทเป็นสิ่งที่น่าดูก็เป็นปัจจัยให้กาลที่กุศลกรรมจะทำให้จิตเกิดขึ้นเห็นสิ่งนั้นเป็นกุศลวิบาก เป็นผลของกรรมที่ทำให้เห็นสิ่งที่ดี ตรงกันข้ามกับเวลาที่เห็นสิ่งที่ไม่ดีก็เป็นผลของอกุศลกรรมที่เป็นปัจจัยทำให้อกุศลวิบากเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ
เพราะฉะนั้นทั้งหมดก็เป็นธรรม เป็นกรรม และผลของกรรม และสะสมกิเลสความไม่รู้ก็มีทั้งกรรม วิบาก และกิเลส กิเลสก็เป็นปัจจัยให้กระทำกรรม กรรมก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิบาก เมื่อวิบากเกิดแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส มีใครบ้างเห็นแล้วไม่เกิดกิเลส มีใครบ้างได้ยินแล้วไม่เกิดกิเลส มีพระอรหันต์ และขณะนี้ไม่มี ใช่ไหม แต่ว่าเมื่อปัญญาสามารถที่จะดับกิเลสได้หมดสิ้นไม่มีเชื้อของกิเลสที่จะทำให้เกิดอีกได้ในสังสารวัฏฏ์ ไม่ว่าเมื่อไร ขณะไหน ชาติไหน
เพราะฉะนั้นเมื่อมีการเห็นเกิดขึ้น เห็นเป็นเห็น เห็นของใครก็คือเห็นประกอบด้วยเจตสิกเท่าไร ไม่มีทิฏฐิเจตสิกร่วมด้วยก็ต้องเป็นอย่างนั้น แต่เมื่อเห็นดับไปแล้วคนอื่นไม่รู้ความจริงก็เกิดอกุศล แต่พระอรหันต์ทั้งหลายเพราะอบรมปัญญาสามารถที่จะเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงจนดับกิเลสไม่เหลือเลยแม้เห็นก็ไม่เกิดกิเลสใดๆ ทั้งสิ้น นี่คือปัญญา เพราะฉะนั้นปัญญาประเสริฐสุด แม้ทีละเล็กทีละน้อยที่สะสมไปก็เป็นผู้ที่มีความเห็นที่ถูกต้องจนกระทั่งสามารถที่จะดับกิเลสได้ตามลำดับ
ผู้ฟัง แล้วถ้าในชีวิตประจำวัน วันหนึ่งๆ ที่เพลิดเพลินไปกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เต็มไปด้วยความไม่รู้ตัว
ท่านอาจารย์ มีปัจจัยที่จะเป็นอย่างนั้น หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ สะสมมาที่จะเป็นอย่างนั้น หรือไม่
ผู้ฟัง ก็เป็นอย่างนี้ ซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่ในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ แล้วก็สะสมอย่างนี้อีกเพิ่มขึ้นอีก หรือไม่
ผู้ฟัง ก็อย่างหนา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแต่ละคนก็สะสมมาทั้งกุศล และอกุศล แต่ถ้าประมาทก็สะสมปัจจัยที่จะให้เกิดอกุศลเพิ่มขึ้น เพราะว่าวันหนึ่งๆ กุศลเกิดน้อยกว่ามาก
ผู้ฟัง ถึงแม้จะฟังธรรม ก็ไม่ได้รู้ตัวว่าสภาพธรรมที่เกิดขึ้นจริงๆ เป็นสภาพธรรม และเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ แต่อย่างน้อยก็มีการจำว่าทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม จำอย่างนี้ไปอีกนานเท่าไรก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า เมื่อไรความเข้าใจนี้จะเจริญขึ้นด้วยการฟัง และการพิจารณา ไม่ละเลย ไม่ประมาทในการฟัง เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้ฟังอีก เดี๋ยวนี้ได้ฟังแน่ ขณะต่อไปแน่ไหม
ผู้ฟัง ไม่แน่
ท่านอาจารย์ แค่ขณะต่อไปก็ไม่แน่แล้ว การที่พูดถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มี ไม่ว่าจะตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เห็น โกรธ ชอบ รักอะไรก็สารพัดอย่างเพื่อให้รู้ว่าเป็นธรรม ฟังจนกว่าจะเข้าใจจริงๆ อย่างที่ได้จำไว้ว่าทุกอย่างเป็นธรรม อย่างน้อยที่สุดก็จำคำนี้ได้ แต่ว่าไม่ได้รู้จักธรรม จนกว่าไม่ใช่เพียงจำแต่ว่าเข้าใจขึ้นในขณะนี้ว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง แต่ว่ามีความรู้สึกว่าเกิดความประมาทในชีวิต
ท่านอาจารย์ ใครประมาท
ผู้ฟัง เรา
ท่านอาจารย์ ก็ไม่พ้น จนกว่าจะเข้าใจลักษณะที่กำลังปรากฏขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ต้องไปคิดถึงเราตอนโกรธว่าเป็นธรรม แต่ขณะนี้ที่มีเห็นเป็นธรรมแน่นอนเพราะว่าเกิดแล้วไม่มีใครบังคับบัญชา เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และเห็นก็เกิดขึ้นเห็นเท่านั้น ทำอะไรไม่ได้ เป็นธรรมจริงๆ ค่อยๆ เข้าใจไปทีละอย่าง เพราะฉะนั้นเวลาที่เริ่มจะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่พร้อมกันหลายอย่าง ทุกอย่างขณะนี้เป็นธรรม เพราะฉะนั้นจะเริ่มรู้ลักษณะ ตรงลักษณะที่เป็นลักษณะของธรรมนั้นก็ต้องทีละอย่าง
ผู้ฟัง ที่ศึกษาธรรมนี่ไม่มีเรา
ท่านอาจารย์ ศึกษาธรรมไม่มีเรา ใครว่าไม่มีเรา
ผู้ฟัง จริงๆ ไม่มีเรา
ท่านอาจารย์ คนที่รู้แล้ว และคนที่ยังไม่รู้ก็แค่พูดว่าไม่มีเรา แต่ก็เป็นเราที่กำลังพูด
ผู้ฟัง ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์ จากความไม่รู้ ปุถุชนหนามากด้วยกิเลสสู่ความเป็นพระอริยบุคคลผู้เจริญด้วยปัญญาความเห็นที่ถูกต้องก็มีความเห็นถูกตามลำดับขั้น ตั้งแต่ในขั้นของการฟังพระพุทธพจน์ คือพูดถึงสิ่งที่มีจริงๆ ให้เข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่ให้ไปหวังว่าจะหมดกิเลส หรือหวังว่าจะถึงนิพพาน หรือหวังว่าจะประจักษ์การเกิดดับ แต่รู้กำลังของปัญญาในขณะที่ฟังว่า ฟังเพื่อสะสมความเห็นถูกความเข้าใจถูกของสิ่งที่มีจริงในชีวิตว่า แต่ละอย่างไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ไม่ว่าจะเกิด จะตาย จะเจ็บ จะสุข จะทุกข์ ทุกอย่างมีเหตุปัจจัยที่จะเกิดขึ้นเมื่อไรก็เป็นอย่างนั้น เมื่อนั้นแล้วก็หมดไป ไม่เที่ยง และก็เป็นอย่างนี้ตลอดไปตราบใดที่ไม่รู้ความจริง ไม่มีทางที่จะสิ้นสุด หรือยุติการเกิดดับของสภาพธรรมได้ แต่ความเข้าใจธรรมนั้นสามารถที่จะฟังแล้วเข้าใจได้ เพราะว่าสะสมความเข้าใจ ซึ่งสะสมอยู่ในจิตไม่ได้ออกไปจากจิต จิตหนึ่งขณะไม่ว่าจะรัก จะโกรธ จะสุข จะทุกข์อย่างไร มีความเมตตามีความเข้าใจธรรมระดับไหนก็อยู่ในจิตทั้งนั้น สะสมอาสยานุสยะทั้งฝ่ายกุศลธรรม และอกุศลธรรม แต่ไม่รู้ตราบใดที่ยังไม่เกิดขึ้นปรากฏ
ผู้ฟัง ขณะที่ปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงก็ต้องมีสัญญาเจตสิกเกิดขึ้นจำสภาพนั้นด้วยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะเหตุว่าสัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นปัญญาก็สามารถที่จะเจริญขึ้นได้ตามลำดับเพราะว่าสัญญาเจตสิกได้จำสภาพนั้นแล้ว
ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเข้าใจเพิ่มขึ้นขณะนั้นก็คือการเจริญขึ้นของปัญญา
ผู้ฟัง สภาพจำ
ท่านอาจารย์ กำลังจำ ธรรมไม่ไกลตัว พอพูดถึงชื่อไกลมาก กุศลญาณสัมปยุตอยู่ไหนก็ไม่รู้ ใช่ไหม ไกลไป แต่ว่าถ้าพูดถึงสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ใกล้ๆ อย่างนี้จะเข้าใจกว่าไหม สัญญาขณะนี้กำลังจำ มิฉะนั้นคุณสุกัญญาเห็นใครก็จำแล้วลืม จำแล้วลืมแต่นี่ก็ยังจำได้
ผู้ฟัง แต่ว่าการที่สภาพจิตที่เกิดขึ้นสะสมทุกอย่างทั้งสภาพธรรมที่ดี และสภาพธรรมที่ไม่ดี
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง สัญญาเป็นเจตสิกหมายความถึงธรรมที่เกิดกับจิตแต่ไม่ใช่จิต สภาพใดๆ ที่เกิดกับจิตแต่ไม่ใช่จิตสภาพธรรมนั้นใช้ชื่อว่า”เจ ตะ สิ กะ” เพราะเหตุว่าอาศัยกัน เกิดกับจิต เกิดในจิต แยกกันไม่ได้ เจตสิกต้องเกิดกับจิตจะเกิดที่อื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตเกิดเมื่อไร ที่ไหน เป็นจิตประเภทใด ก็มีสัญญาเจตสิก หรือสภาพจำเกิดร่วมด้วยแต่ว่าสัญญาเจตสิกไม่ใช่จิต เพราะว่าจำไม่ใช่คิด ไม่ใช่ตรึก ไม่ใช่จรด เวลาที่กุศลจิตเกิดมีวิตกเจตสิกไหม
ผู้ฟัง กุศลจิตเกิด มี
ท่านอาจารย์ สะสมไหม เพราะว่าถ้าเจตสิกเกิดกับจิตที่ดีหมายความว่าจิตเป็นปัณฑระสภาพของจิตเองไม่ใช่ทั้งกุศล และอกุศล ถ้าไม่มีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเป็นกุศลบ้างเป็นอกุศลบ้าง เพราะฉะนั้นขณะใดที่อกุศลเจตสิกเกิดกับจิต จิตเป็นปัณฑระแต่มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเราก็ก็เรียกชื่อว่า ”โลภมูลจิต” เพราะว่ามีโลภะเป็นมูล ถ้าขณะนั้นไม่มีโลภะเกิดร่วมด้วย “โมหมูลจิต” ตัวจิตก็ยังคงเป็นจิตแต่ว่ามีโมหะเกิดเป็นมูลเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย ซึ่งเป็นเหตุเป็นมูลของอกุศลประเภทอื่นๆ ซึ่งเกิดร่วมกัน อกุศลทั้งหลายก็เกิดเพราะมูล ๓ คือโลภะมูล ๑ โทสะมูล ๑ โมหะมูล ๑ โดยที่เจตสิกที่เป็นอกุศลอื่นๆ ไม่ใช่มูล ไม่ใช่เหตุ แต่เฉพาะ ๓ เจตสิกที่เป็นมูลเป็นเหตุที่จะให้อกุศลเจตสิกอื่นเกิดร่วมด้วย และทั้งหมดก็เกิดกับจิตแม้ว่าจะดับไปแล้วกุศล และอกุศลที่เกิดก็ไม่หายไปไหน ก็สะสมสืบต่ออยู่ในจิต
ผู้ฟัง แล้วสัญญาก็จำใช่ไหม
ท่านอาจารย์ สัญญาเกิดเมื่อไร ก็จำ
อ.กุลวิไล จะกราบเรียนท่านอาจารย์ถึงความสำคัญของการที่จะรู้ตัวจริงของธรรมที่ปรากฏมากกว่าเรื่องราวของธรรม
ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่ชอบชื่อ ใช่ไหม มากกว่าลักษณะของสภาพธรรม ความจริงถ้าพูดถึงโลภะเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นสภาพที่ติดข้องพอใจ แต่พอชื่อเข้าไปใส่ เป็นคุณสุกัญญา หรือว่าเป็นคุณบุษกร เห็นไหมว่าชื่อมาก่อน ชอบใคร เห็นไหมบอกไม่ได้แต่มีชื่อเข้ามาแล้วคุณบุษกร หรือว่าคุณเมตตา เห็นไหมถ้าพูดถึงอกุศลธรรม ความไม่ดีต่างๆ ทั้งโลภะทั้งโทสะ ความริษยาต่างๆ ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาแต่พอมีชื่อเข้าใส่มีความรุนแรงเกิดขึ้นไหมเพียงแต่เอ่ยชื่อ ความไม่ดีสารพัดอย่างก็มาแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงแต่ชื่อโลภะ แล้วพูดถึงชื่อโทสะ แล้วพูดถึงสภาพธรรมที่เป็นโลภะ สภาพธรรมที่เป็นโทสะก็เป็นธรรมซึ่งไม่ใช่ของใคร ไม่ทำให้ใจขุ่นเคืองเดือดร้อนมาก ใช่ไหม ถ้าพูดถึงโทสะพอมีชื่อเข้ามาใส่ความเดือดร้อนเพิ่มขึ้น ความไม่ชอบเพิ่มขึ้น เพียงแค่ชื่อก็ทำให้ลืมนึกถึงว่าแท้ที่จริงก็กำลังเป็นสภาพธรรม เพราะฉะนั้นโลกนี้ปราศจากชื่อได้ไหม แม้ว่าทั้งหมดเป็นธรรม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720