พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๗๑

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓


    ท่านอาจารย์ เวลาที่ใช้คำภาษาบาลีก็ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยน คือจิตจะเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ มีจิตทั้งวันทั้งคืน หรือไม่ ขณะไหนที่ไม่มีจิตบ้าง?

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่มี เพราะไม่ใช่คนตาย หลับก็ต้องมีจิต แต่จิตขณะนั้นไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ไม่รู้สิ่งที่กำลังกระทบ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมนั้นเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง คือเป็นมรรคปัญญา ที่จะทำให้เริ่มเห็นถูกเข้าใจถูกจนกระทั่งประจักษ์ความจริงซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็ว่างเปล่า ทุกขณะได้

    ผู้ฟัง แล้วปัจจุบันขณะคืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ปัจจุบันเป็นภาษาอะไร?

    ผู้ฟัง ภาษาไทย

    ท่านอาจารย์ ภาษาไทยหมายความว่าอะไร?

    ผู้ฟัง ตามความเข้าใจก็หมายถึงเดี๋ยวนี้ ขณะนี้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้อะไรปรากฏ ต้องใช้ปัจจุบันไหม ถ้าใช้คำว่าเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวก็ปัจจุบันคุณสุกัญญากำลังใส่รองเท้า พอไปถึงปัจจุบันคุณสุกัญญากำลังเดิน แล้วก็ปัจจุบันคุณสุกัญญากำลังเขียนหนังสือ ก็เป็นปัจจุบันไปหมดถ้าจะใช้คำนั้น แต่ถ้าเดี๋ยวนี้กำลังฟังธรรมใช้ได้ไหม หรือว่าปัจจุบันกำลังฟังธรรมต้องใช้คำว่าปัจจุบันจึงจะเข้าใจ

    นี่เป็นเพียงภาษาซึ่งก็ปิดบังทำให้คุณสุกัญญาเกิดความสงสัยคำว่า “ปัจจุบัน” แต่ก่อนนี้ไม่เห็นสงสัย

    ผู้ฟัง คือธรรมก็เป็นเรื่องละเอียด แล้วก็คำว่า “ปัจจุบันขณะ” น่าจะมีความละเอียดลึกซึ้งมากกว่านี้ไม่ใช้เพียงแค่กำลังพูด

    ท่านอาจารย์ ถ้าบอกว่าเดี๋ยวนี้เห็น จะเป็นขณะอื่นไหม?

    ผู้ฟัง ก็ต้องเป็นขณะที่เห็น

    ท่านอาจารย์ ตรงกับความหมายที่คุณสุกัญญาเข้าใจไหมว่าขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ปัจจุบัน

    ผู้ฟัง ยังมีความรู้สึกว่าน่าจะละเอียดกว่านี้อีก แต่ว่าไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ละเอียดคือสิ่งที่เป็นปัจจุบันเดี๋ยวนี้ดับแล้ว และสิ่งที่เกิดกำลังเป็นปัจจุบันแล้วก็ดับอีก และสิ่งที่เป็นอนาคตเมื่อเกิดก็เป็นปัจจุบัน นี่คือความละเอียด สั้นแสนสั้นคือสิ่งที่เพียงเกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นทันทีที่ขณะนี้สิ่งนั้นเกิดแล้วดับปราดไปหมดไม่เหลือเป็นอดีต

    ผู้ฟัง ถ้าสิ่งที่ปรากฏรู้ลักษณะจริงๆ กับธาตุรู้แล้วรู้ลักษณะจริงๆ เมื่อปรากฏขึ้นก็เป็นปัจจุบันใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ จิตรู้ ธาตุรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้เกิดแล้วต้องรู้ ใช่ไหม?

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ไม่รู้ได้ไหม?

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จิตรู้อะไรได้บ้าง?

    ผู้ฟัง จิตรู้ได้หมดทุกอย่าง

    ท่านอาจารย์ รู้ได้หมดทุกอย่าง สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จิตกำลังรู้เป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ได้เข้าใจความหมายของคำว่า “อารมณ์" หรือ "อารัมมณะ" หรือ "อาลัมพนะ" ในภาษาบาลี เราก็จะไม่รู้ว่าขณะนี้จิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะรู้อะไร เช่นขณะนี้ เดี๋ยวนี้จิตรู้แจ้งอะไร

    ผู้ฟัง เห็น

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นเป็นอารมณ์ หรืออารัมมณะคือสิ่งที่จิตกำลังรู้ และอะไรอีก

    ผู้ฟัง ได้ยิน

    ท่านอาจารย์ เห็นไหมคุณสุกัญญาก็บอกได้หมด กำลังได้ยินก็บอกได้ว่าปัจจุบัน หรือเดี๋ยวนี้ กำลังเห็นก็บอกว่าปัจจุบันคือกำลังเห็น และก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นถูกได้ยินด้วย เมื่อจิตเป็นสภาพรู้เป็นธาตุรู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ด้วย นี่เป็นมรรคปัญญา หรือไม่

    ผู้ฟัง สภาพของเจตสิกก็เป็นธาตุรู้อย่างหนึ่ง ทีนี้ธาตุรู้ก็คือจะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ถ้าเป็นสภาพรู้ที่เป็นจิตคือรู้แจ้งในอารมณ์พอจะเข้าใจ แต่ว่าเจตสิกก็ต้องรู้แจ้งในอารมณ์ด้วยใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องเห็นประโยชน์ของการที่จะเข้าใจธรรมจริงๆ โดยความละเอียด ฟังแล้วคิดเอง หรือไม่ เมื่อสักครู่เราใช้คำว่าจิตเป็นนามธาตุเป็นธาตุรู้ที่ รู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ปัญญา เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็ไม่เผินคือปัญญาไม่ใช่จิตแน่นอน เพราะว่าจิตเป็นสภาพที่ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นอย่างนี้ ซึ่งจิตกำลังรู้แจ้งในลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ

    นามธาตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย จะมีแต่ธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏเพียงอย่างเดียวไม่ได้ต้องมีธาตุซึ่งเป็นนามธาตุเกิดร่วมกัน ถ้าใช้คำว่านามธาตุที่เกิดจะต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือไม่

    ผู้ฟัง นามธาตุจะต้องรู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเป็นนามธาตุเป็นธาตุรู้สิ่งที่กำลังปรากฏจะเกิดขึ้นตามลำพังไม่ได้ ต้องมีธาตุซึ่งเป็นนามธาตุเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นนามธาตุที่เกิดกับจิตจะรู้อะไร หรือไม่

    ผู้ฟัง ก็ต้องรู้

    ท่านอาจารย์ จิตกับเจตสิกเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกันแล้วขณะที่เกิดจิตรู้อะไร เจตสิกที่เกิดกับจิตจะรู้อย่างอื่นได้ไหม เพราะเจตสิกนั้นเกิดกับจิต ไม่ได้แยกกันใช่ไหม ไม่อย่างนั้นจิตเห็นสี เจตสิกไปได้ยินเสียงอย่างนั้น หรือ?

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นคำว่า “เจตสิก” หมายความถึงเกิดในจิต เกิดกับจิต ซึ่งสภาพธรรมที่เป็นนามธาตุที่เกิดกับจิตที่เป็นเจตสิกเป็นธาตุรู้ และเมื่อเกิดพร้อมกันก็รู้สิ่งเดียวกันไม่ได้แยกกันรู้ เกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกันแล้วก็ดับพร้อมกันด้วย ถ้าศึกษาต่อไปก็จะทราบว่าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ คือมีรูปด้วย จิตจะต้องเกิดขึ้นที่รูปหนึ่งรูปใด จะเกิดนอกรูปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาศึกษาธรรมต้องรู้ว่า เจตสิกเป็นนามธาตุเกิดกับจิต เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต

    ผู้ฟัง สภาพรู้ รู้นามธรรม สภาพความพอใจปรากฏก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้คือความพอใจเกิดขึ้นปรากฏ จะปฏิเสธไม่ได้เพราะว่าความพอใจต้องปรากฏแน่นอน และก็ต้องมีธาตุรู้ รู้แจ้งในลักษณะของความพอใจที่ปรากฏนั้น

    ท่านอาจารย์ นี่คือคำถามแรกของคุณสุกัญญาเหมือนกับว่าเวลาที่จิตเกิดแล้วมีความพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด จิตจะรู้ลักษณะของความพอใจที่เกิดกับจิตไหม ใช่ไหม หรือไม่ได้ถามอย่างนี้ จิตเกิดพร้อมเจตสิก จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้ง เฉพาะรู้แจ้งเท่านั้นไม่ทำหน้าที่อื่น รู้สิ่งที่ปรากฏ และเจตสิกที่เกิดกับจิตแต่ละเจตสิกก็ทำหน้าที่ของเจตสิกนั้นๆ จิตเจตสิกเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกันเปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อจิตกำลังรู้แจ้งสิ่งหนึ่งสิ่งใด และเจตสิกที่พอใจเกิดร่วมกับจิตที่กำลังรู้ทางตาถ้าเห็นสิ่งนั้นใช่ไหม เกิดพร้อมกันแล้วก็ดับพร้อมกันไม่ได้เปลี่ยนอารมณ์ เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่ปรากฏความติดข้องความพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏไม่ใช่สิ่งที่กำลังเป็นอารมณ์อย่างอื่น แต่ต้องเป็นลักษณะของความพอใจซึ่งจิต และเจตสิกกำลังรู้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นจิต และเจตสิกที่รู้ความพอใจ ความพอใจนั้นเป็นอารมณ์ของจิต และเจตสิกแน่นอนที่กำลังรู้ และความพอใจเกิดกับจิตไหน จิตเกิดแล้วก็ดับไปทีละ ๑ ขณะแล้วแต่ว่าจะมีอะไรเป็นอารมณ์

    เวลาโกรธเกิดแล้วก็รู้ลักษณะที่โกรธ โกรธเกิดกับจิตทำให้จิตนั้นเป็นจิตที่มีความโกรธเกิดร่วมด้วยจะใช้คำว่า “โทสมูลจิต” ก็ได้ หมายความว่ามีโทสะเป็นเหตุให้เกิดเป็นความไม่สบายใจเป็นสภาพธรรมที่มีโทสะเกิดร่วมด้วย ดับแล้ว ๑ขณะ ใครรู้ แสนสั้น แต่ที่ปรากฏคือการเกิดดับสืบต่อของความโกรธ บางทีเราบอกว่าโกรธนานใช่ไหม ไม่หายสักที วันนี้อาจนึกถึงอะไรแล้วก็ยังโกรธอยู่ ใช่ไหม ลืมว่าเห็นไม่ใช่โกรธ ได้ยินไม่ใช่โกรธ เพราะว่าลักษณะของความโกรธปรากฏว่าโกรธนาน

    เมื่อเช้านี้มีใครโกรธใครบ้าง หรือเปล่า แค่ ๑ ขณะจิต หรือหลายขณะจิตจนกระทั่งลักษณะของความโกรธนั้นปรากฏ เพราะฉะนั้นเมี่อมีความโกรธเกิดขึ้น ปรากฏว่าเป็นความโกรธ ความโกรธดับไปแล้วสืบต่อจนกระทั่งจิตสามารถที่รู้ลักษณะที่โกรธ แต่ไม่ใช่โทสมูลจิตที่รู้ลักษณะของโทสเจตสิกที่พร้อมกับจิตนั้น เพราะว่าทั้งจิต และเจตสิกต้องมีอารมณ์เดียวกัน แต่ให้ทราบการเกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก จนสามารถที่จะปรากฏเป็นนิมิต มิฉะนั้นแล้วอะไรๆ ก็ไม่ปรากฏเพียง ๑ ขณะแต่ต้องหลายๆ ขณะซ้ำกัน

    ด้วยเหตุนี้รูปที่ปรากฏขณะนี้ทางตามีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เร็วแค่ไหน เพราะว่าระหว่างนี้เหมือนเห็นกับได้ยินพร้อมกัน แต่จิตเห็นกับได้ยินต่างกันเกิน ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นรูปที่กำลังเหมือนปรากฏว่าไม่ได้ดับ ความจริงก็คือเกิดดับสืบต่อเป็น “รูปนิมิต” ให้รู้ว่ารูปนี้ปรากฏเป็นอย่างนี้ไม่เป็นอย่างอื่น

    เวลาที่เห็นรูปแล้วรู้สึกอย่างไร ดอกไม้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ชอบ ความชอบนั้นหลายขณะไหม จึงปรากฏลักษณะที่ชอบ โดยจิตอื่นไม่ใช่จิตที่เกิดพร้อมกับจิตที่ชอบนั้นรู้ลักษณะของเจตสิกที่เกิดร่วมกัน มิฉะนั้นแล้วเปลี่ยนอารมณ์แล้ว ใช่ไหม ถ้าจิตรู้เจตสิกที่เกิดร่วมกันแปลว่าจิตนั้นเปลี่ยนอารมณ์ เพราะว่าจิตกำลังเห็นมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์แล้วก็ชอบ แล้วก็ดับ จนกระทั่งสามารถที่จะรู้ในลักษณะที่ชอบที่เกิดดับสืบต่อเป็นนิมิต แต่ไม่ใช่ไปรู้เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตในขณะนั้นที่กำลังมีสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ เพราะว่าถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือเปลี่ยนอารมณ์แล้ว ใช่ไหม จิตเจตสิกเกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน

    เพราะฉะนั้นความชอบที่เกิดกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้น ความชอบเปลี่ยน หรือว่าจิตนั้นจะไปมีความชอบนั้นเป็นอารมณ์ไม่ได้ ต้องรู้สภาพธรรมที่เกิดกับจิตอื่น เจตสิกใดๆ ก็ตามที่เกิดกับจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อปรากฏเป็นนิมิตที่ทำให้รู้ว่าลักษณะนั้นเป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ต้องเป็นจิตคนละขณะ

    ท่านอาจารย์ แน่นอน จิตเจตสิกมีรูปเดียวกันเป็นอารมณ์ และจิตก็ทำหน้าที่รู้แจ้ง เจตสิกก็เพลิดเพลินติดข้องในอารมณ์ เพราะฉะนั้นจะเปลี่ยนจิตที่กำลังรู้อารมณ์ให้มารู้เจตสิกคือความชอบที่เกิดในขณะนั้นได้ไหม ไม่ได้ ก็ชัดเจนแล้ว ใช่ไหม

    ผู้ฟัง แต่ความชอบนี่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ สืบต่อ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับเหมือนรูปขณะนี้ เกิดดับ เกิดดับปรากฏเป็นนิมิต เพราะฉะนั้นอยู่ในโลกของนิมิตของสิ่งที่มีจริงซึ่งเกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก แต่ก็ยังจะปรากฏให้รู้ว่าเป็นลักษณะของสภาพของธรรม ไม่ใช่อย่างเดียวกัน แต่ละอย่าง มายากลไหม

    ผู้ฟัง รูป หรือว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสภาพธรรมคนละอย่างกับความชอบ

    ท่านอาจารย์ รูปที่ปรากฏทางตาเป็นธาตุชนิดหนึ่งปรากฏให้เห็นได้ โลภะความติดข้องเป็นรูป หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ผู้ฟัง เมื่อสักครู่ที่ฟังท่านอาจารย์ก็อยากจะให้อธิบายเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง ในขณะที่เป็นนิมิตสืบต่อแล้วจิตที่รู้ไปตรงนั้น อยากจะให้ท่านอาจารย์ให้รายละเอียดตรงนี้อีกซักนิดหน่อย

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่มีจริงเกิดดับสืบต่อ นิมิตก็ไม่มี

    ผู้ฟัง สิ่งนี้เข้าใจแล้ว แต่ว่าเวลามีโลภะเกิดกับจิตเป็นธาตุรู้แล้วก็รู้กับโลภเจตสิกพร้อมกันแล้วอะไรที่รู้จิตนั้นว่าเป็นอย่างนี้ การที่นิมิตสืบต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นจิตต่างขณะกันที่รู้นิมิตนั้นๆ ตรงนี้ก็อยากจะให้ท่านอาจารย์อธิบายเพิ่มเติม

    ท่านอาจารย์ ถ้าทราบว่าจิตเกิดดับเร็วมาก ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏคือนิมิต แต่ถ้าไม่มีจิตเกิดดับนิมิตก็ไม่มี

    ผู้ฟัง ใช่ สิ่งนี้เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะนี้ไม่ว่าจะกำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตาเหมือนไม่ดับ ใช่ไหม แต่ความจริงแม้สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เกิดดับสืบต่อปรากฏเป็นนิมิตเพราะยังมีสภาพธรรมนั้นเกิดดับอยู่ อย่างเห็นดอกไม้ไม่ดับ เห็นคนไม่ดับ ใช่ไหม แต่ความจริงรูปที่ปรากฏ สีสันวัณณะที่ต่างกันทำให้มีนิมิตต่างกันโดยที่ไม่ปรากกฏการเกิดดับ แต่ถ้าไม่มีสภาพ หรือสภาพธรรมนั้นนิมิตก็มีไม่ได้ เช่นถ้าคุณชุณห์เดินออกไปข้างนอก ใครเห็นคุณชุณห์ในห้องนี้บ้าง

    ผู้ฟัง ก็ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่มีสภาพธรรมซึ่งเกิดดับซึ่งเป็นนิมิตให้จำได้ว่าเป็นคุณชุณห์ ถ้าเอาดอกไม้นี้ไปทิ้งหมด จะยังเห็นดอกไม้ไหม ก็ไม่เห็น แต่ตราบใดที่ยังเหมือนเห็นเป็นดอกไม้เพราะมีรูปซึ่งเกิดดับสืบต่อปรากฏเป็นนิมิตของสิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้นอยู่ในโลกของนิมิต ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแม้เ สียง บางคนก็บอกว่าพอจะรู้ว่าเสียงเกิดแล้วดับ แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะว่าทันทีที่เสียงปรากฏ เพราะจิตได้ยินเกิดขึ้นโดยอาศัยโสตประสาท ก่อนที่เสียง และโสตปสาทจะดับซึ่งมีอายุ ๑๗ ขณะ จะมีความยินดีติดข้องเป็นอกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด หรือเป็นกุศลเกิดแล้ว แล้วรู้ หรือความเร็วอย่างนั้นที่จะบอกว่าพอจะรู้ว่าเสียงเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นแม้ขณะนั้นก็เป็นนิมิตของเสียง นี่คือแสดงความเกิดดับของสภาพธรรมอย่างเร็วมาก

    เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมก็คือศึกษาให้เข้าใจความจริงว่าขณะนี้ก็มีสิ่งที่ปรากฏเป็นนิมิตทั้งหมด รูปก็เป็นนิมิต ความรู้สึกอย่างหนึ่งอย่างใดก็เป็นนิมิต ถ้าเกิดกับจิตขณะเดียวดับแล้วไม่มีทางจะรู้ได้ เหมือนทันทีที่เสียงปรากฏแล้วยังไม่ดับมีความติดข้อง หรือความไม่พอใจในเสียงนั้นโดยที่ไม่ทันรู้ หรือใครรู้ ก็ต้องปรากฏการเกิดดับสืบต่อจนเป็นนิมิตของเสียงนั้น เช่น เราบอกว่าไม่ชอบเสียงฟ้าร้อง ก็นิมิตแล้วใช่ไหม ที่จะปรากฏให้รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เพราะฉะนั้นอยู่ในโลกของนิมิตไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือแม้จิตขณะนี้ จะบอกว่าจิตเห็นก็ไม่ใช่ ๑ ขณะ จิตเห็นเกิดดับสืบต่อทำให้สามารถรู้ว่าเป็นธาตุที่กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ไม่ใช่ธาตุอื่น ธาตุนี้เท่านั้นที่เกิดเพราะอาศัยการกระทบกันของสิ่งที่กระทบจักขุประสาทเป็นปัจจัยให้มีการเห็นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเร็วมาก แต่เพราะเกิดดับสืบต่อเร็วจึงเป็น “วิญญาณนิมิต” ไม่รู้ว่าจิตเห็นดับ ยังไม่ทันที่จะมีจิตเห็นขณะต่อไปต้องมีสัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพนนจิต ชวนจิต ตทาลัมพนจิต ภวังคจิต คั่นผ่านทางมโนทวารแล้วถึงจะมีวาระทางจักขุทวารที่กำลังเห็นเหมือนไม่ดับอีกได้ นี้คือการศึกษาเพื่อให้เข้าใจว่าความไม่รู้ของคนที่ไม่ได้ศึกษาธรรมไม่รู้ขนาดไหน ไม่ใช่เฉพาะชาตินี้ หรือวันนี้นานแสนนานมาแล้ว

    เพราะฉะนั้นมรรคปัญญา กว่าจะรู้หนทางที่ทำให้สามารถรู้ความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ ก็ต้องอาศัยขั้นต้นคือการฟัง เข้าใจยังไม่ต้องไปคิดถึงสติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน กายานุปัสสนา หรืออะไรทั้งสิ้น ตราบใดที่ยังไม่มีความเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่กำลังปรากฏว่าเพียงปรากฏแล้วก็เป็นนิมิตต่างๆ เพราะฉะนั้น ถ้ามีปัญญาจริงๆ แม้ในขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตา “เป็นเพียงอาศัยระลึก” คือสติเกิดแล้วรู้ความจริงว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้

    ผู้ฟัง ในขณะที่เป็นนิมิตสืบต่อไป ในขณะนั้นก็มีจิตเกิดดับนับจำนวนไม่ถ้วน

    ท่านอาจารย์ นับไม่ได้

    ผู้ฟัง สัญญาก็จำ

    ท่านอาจารย์ สัญญาเกิดกับจิตทุกขณะ

    ผู้ฟัง ใช่ สัญญาที่เกิดกับจิตขณะนั้นก็จะจำว่าเป็นดอกไม้เป็นอะไรไป ก็เห็นเป็นคน เป็นคนนี้คนนู้นไป

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่ว่าสัญญานั้นเกิดกับจิตอะไร

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ นี่คือสิ่งที่อยู่ในความมืด มืดจริงๆ เพราะว่าธรรมทั้งหมดมีสิ่งเดียวที่ปรากฏให้เห็นได้คือสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา

    ผู้ฟัง ใช่ แต่ในขณะที่เป็นปัญญา ปัญญาก็ปรากฏเป็นแสงสว่าง ในขณะที่ปัญญารู้ต่างกับจิตรู้ ปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง แล้วปัญญาที่รู้ในลักษณะแสงสว่างเหมือนตาเห็นจะเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ คิดถึงความจริงว่าจิตเจตสิก และสภาพธรรมทั้งหมดเว้นสิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงๆ แต่อยู่ในความมืดสนิท แต่ปัญญายังสามารถที่จะเห็นอย่างถูกต้องในความเป็นจริงของธรรมนั้นแต่ละอย่างซึ่งต่างกันไป นั่นคือแสงสว่างที่แม้ในความมืดก็ยังมีความเห็นที่ถูกต้องได้

    ความยากของการฟังธรรม ก็คือธรรมเป็นอีกโลกหนึ่งซึ่งไม่เคยพบไม่เคยเข้าใจถูกต้อง เพราะฉะนั้นเวลาที่ได้ยินแล้วก็เอาความคิดทางโลกเดิมๆ มาเป็นความพยายามที่จะเข้าใจธรรมซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นในขณะที่ศึกษาธรรมก็จะรู้ได้ว่า ต้องฟังอย่างละเอียด และต้องเข้าใจอย่างละเอียดทุกคำที่ได้ยิน อย่างธาตุ หรือธรรมหมายความถึงสิ่งที่มีจริง อะไรก็ได้ทั้งหมด ทำไมว่ามีจริง มีลักษณะที่ปรากฏให้รู้ได้ว่ามีจริงๆ ไม่ใช่ฝัน หรือคิดเลื่อนลอย

    อย่างขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้จริงๆ หรือไม่ มีจริงๆ หรือไม่ เมื่อมีจริงสิ่งนี้เป็นธรรมเพราะมีจริงๆ และสิ่งนี้ที่มีจริงที่กำลังปรากฏให้เห็น ถ้าไม่มีการเห็นไม่มีธาตุที่สามารถจะเห็น สิ่งนี้จะปรากฏได้ไหม นี่อีกโลกหนึ่งซึ่งไม่ใช่โลกของสัตว์ บุคคล ตัวตน เรื่องราวต่างๆ แต่เป็นโลกของสิ่งที่เป็นธรรมที่มีจริงแต่ละลักษณะ เพราะฉะนั้น คนที่เริ่มฟังธรรมครั้งแรกทุกคนจะสงสัยทุกอย่าง เพราะว่าไม่ใช่สิ่งที่เคยคิดเคยเข้าใจ อย่างเรื่องของความโกรธมีจริงเป็นธรรม หรือไม่ เห็นไหม ถ้าคนที่เพียงฟังครั้งเดียวนิดเดียวก็จะสงสัย แต่ถ้าฟังด้วยความเข้าใจที่มั่นคง สิ่งที่มีจริงเป็นธรรมเพราะมีลักษณะที่ปรากฏให้รู้ได้ เป็นสภาพธรรมที่มีจริงแต่ละลักษณะ เพราะฉะนั้นโกรธมีจริงไหม เป็นธรรม หรือไม่ นี่คือเริ่มที่จะรู้จักธรรม เป็นเรา หรือไม่ เป็นเรื่องราวอะไร หรือไม่ หรือว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งขุ่นข้องไม่พอใจ เวลาเกิดก็รู้ว่าลักษณะนั้นเป็นอย่างนั้น แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม เป็นโลกของเรา เป็นโลกของบุคคล สัตว์ต่างๆ แต่ถ้าศึกษาธรรมก็คือไม่ใช่ของใคร และไม่ใช่ใครด้วย

    อ.กุลวิไล มีผู้เขียนมาถามเพิ่มว่า “อารมณ์เป็นเหตุ หรือเป็นผลของจิต”

    ท่านอาจารย์ อารมณ์คืออะไร?

    ผู้ฟัง คือสิ่งที่จิตรู้

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่จิตรู้เพราะอะไร เพราะจิตเป็นธาตุรู้ ก่อนอื่นที่สำคัญที่สุดคือจิต


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 183
    24 ธ.ค. 2566