พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
ตอนที่ ๖๗๒
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อ.กุลวิไล มีผู้เขียนมาถามเพิ่มว่า “อารมณ์เป็นเหตุ หรือเป็นผลของจิต”
ท่านอาจารย์ อารมณ์คืออะไร?
ผู้ฟัง คือสิ่งที่จิตรู้
ท่านอาจารย์ สิ่งที่จิตรู้เพราะอะไร เพราะจิตเป็นธาตุรู้ ก่อนอื่นที่สำคัญที่สุดคือจิต ถ้าไม่มีจิตอะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ โลกก็ไม่ปรากฏ คน สัตว์ สิ่งของ วัตถุต่างๆ ก็ไม่ปรากฏ ความเดือดร้อนต่างๆ ก็ไม่มีถ้าไม่มีจิตเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นที่สำคัญที่สุดคือจิตซึ่งเป็นธาตุรู้ บังคับให้ไม่มีธาตุนี้ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ บังคับให้แข็งไม่เกิดเป็นแข็ง มีแข็งได้ไหม ไม่ได้ บังคับเสียงไม่ให้มีได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ฉันใด บังคับจิตซึ่งเป็นธาตุรู้ ไม่ใช่สี ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่กลิ่น ไม่ใช่รส ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่เย็น แต่มีธาตุอีกชนิดหนึ่งเป็นธาตุซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏด้วย ได้ยินเสียงไหม?
ผู้ฟัง ได้ยิน
ท่านอาจารย์ ได้ยินเมื่อเสียงปรากฏ ใช่ไหม แต่ถ้าไม่มีเสียงปรากฏจะบอกว่าได้ยินได้ไหม ไม่ได้ และถ้าจิตไม่เกิดขึ้นได้ยินเสียง เสียงนั้นจะปรากฏได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งที่จิตรู้ไม่ว่าจะอะไรก็ตามทั้งสิ้นเป็นอารมณ์ ซึ่งหมายความว่าเป็นสิ่งที่จิตกำลังรู้ด้วย เสียงในป่า เสียงในครัว เสียงตามถนน มีไหม
ผู้ฟัง เสียงในป่า เสียงในครัว เสียงตามถนน มี
ท่านอาจารย์ เสียงอะไรในป่าเวลานี้เป็นเสียงอะไร
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ เพราะจิตไม่ได้เกิดขึ้นรู้เสียงนั้น แม้มีเสียงนั้นเกิดเพราะการกระทบกันของของแข็ง แต่ขณะใดที่จิตไม่ได้เกิดขึ้นรู้เสียงนั้น เสียงนั้นไม่ปรากฏ จะอยู่ที่ไหนก็ตามถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้เสียงนั้นจะปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเป็นธาตุรู้ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งที่จิตรู้ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามเป็นอารมณ์ของจิต คำว่า “อารมณ์” หมายความว่าเป็นสิ่งที่จิตกำลังรู้
ผู้ฟัง กำลังรู้
ท่านอาจารย์ กำลังรู้ ภาษาบาลีใช้คำว่า “สัทท” สำหรับเสียง ทุกเสียงที่ไหนก็ได้ แต่สัททารมณ์เป็นคำรวมของสัททกับอารมณ์หมายความถึงเสียงที่จิตกำลังได้ยินเท่านั้น ไม่ใช่เสียงอื่น ขณะนี้เสียงเป็นสัททารมณ์เพราะจิตกำลังได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นอารมณ์เป็นสิ่งที่จิตรู้จะเป็นเสียงก็ได้ จะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาก็ได้ ต้องเข้าใจความหมายของคำที่ได้ยินซึ่งส่องถึงสภาพธรรมว่าเมื่อจิตเป็นธาตุรู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้
เพราะฉะนั้น คำถาม ถามว่าอะไร?
ผู้ฟัง คือว่าอารมณ์เป็นเหตุที่ทำให้จิตรู้ หรือว่าเป็นผล หรือว่าเป็นทั้งเหตุ และผล
ท่านอาจารย์ จิตเกิดโดยไม่มีปัจจัยได้ไหม อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นมา
ผู้ฟัง เกิดขึ้นมาลอยๆ
ท่านอาจารย์ เกิดขึ้นมาลอยๆ ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นที่อาศัย เกื้อกูล อุปถัมภ์ หรือเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น มีใช่ไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเวลาที่จิตเกิดขึ้นได้ยินเสียง ถ้าปราศจากเสียงที่ได้ยิน จิตได้ยินเกิดได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเสียงเป็นปัจจัยหนึ่งไม่ใช้คำว่า “เหตุ และผล” ต่อไปจะได้ยินอีกหลายคำซึ่งตรง โดยเสียงนั้นถ้าไม่มีจิต ได้ยินก็เกิดไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จิตได้ยินจึงต้องอาศัยเสียง ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ถ้าเสียงไม่กระทบหู จิตได้ยินเสียงนั้นเกิดได้ไหม?
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นเสียงที่เกิดแล้วกระทบโสตประสาทที่ยังไม่ดับ เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นได้ยินเสียง เสียงนั้นเราไม่รู้ว่ากระทบโสตประสาทแล้วเป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิดขึ้นได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นเสียงนั้นเป็นปัจจัยโดยเป็นอารมณ์จึงใช้คำว่า “อารัมมณปัจจัย”
ผู้ฟัง โดยเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ ของจิตเท่านั้น
ผู้ฟัง แต่ไม่ใช่เหตุ
ท่านอาจารย์ ต่อไปจะรู้ว่าเหตุได้แก่อะไร ผลได้แก่อะไร เพราะฉะนั้นเวลานี้ให้ทราบว่าเมื่อจิตเกิดขึ้นเป็นสภาพรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ จะปราศจากสิ่งที่ถูกรู้ซึ่งเป็นอารมณ์ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้อารมณ์จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำเกิดเฉพาะเสียงประเภทหนึ่ง ประเภทหนี่ง เช่นเสียงจะไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตเห็น แต่เสียงจะเป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิดขึ้นได้ยินเสียงนั้นที่กระทบโสตประสาทด้วย ถ้าไม่กระทบโสตประสาทจิตจะเกิดขึ้นได้ยินเสียงไม่ได้
ผู้ฟัง การกระทบกันก็เป็นปัจจัย
ท่านอาจารย์ เป็นปัจจัย ต่อไปก็จะทราบว่าชั่วขณะหนึ่งที่แสนสั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง แม้แต่จะได้ยินเสียงเลือกได้ไหมว่าจะได้ยินเสียงอะไร
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ บางคนได้ยินเสียงที่น่าพอใจ บางคนได้ยินเสียงที่ไม่อยากได้ยิน ใช่ไหม แต่ก็ต้องได้ยินเพราะมีปัจจัยคือกรรมเป็นปัจจัย ถึงเวลาที่จะต้องได้ยินเสียงก็ต้องได้ยินเสียง ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมเสียงที่ไม่น่าพอใจมีบ่อยๆ แต่ว่าไม่มีปัจจัยที่จะทำให้โสตประสาทรูปกระทบเสียงนั้น แต่พอถึงกาลที่กรรมจะให้ผล โสตประสาทรูปซึ่งเกิดดับก็กระทบกับเสียงที่ไม่น่าพอใจ เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ เป็นธรรมซึ่งไม่มีใครบังคับบัญชา ทั้งหมดเกิดเพราะปัจจัย เสียงก็เกิดเพราะปัจจัยแต่เสียงมี ๒ สมุฏฐาน เกิดจากจิตก็ได้ เกิดจากอุตุก็ได้ นี่คือความละเอียดของธรรมทั้งหมด การศึกษาธรรมคือเพื่อว่าเป็นรู้ธรรมไม่มีเรา เพราะเกิดแล้วดับแล้วเราจะอยู่ที่ไหน หมดไปๆ ทุกขณะเป็นธรรมทั้งหมด
ผู้ฟัง คำว่า “เหตุกับปัจจัย” ขอถามโดยภาษา ความหมายเดียวกันไหม ที่ชอบพูดกันว่าเหตุ และปัจจัย
ท่านอาจารย์ ในภาษาไทยใช้คำรวมกันทั้งสองอย่าง แต่เหตุที่เป็นปัจจัยก็มี ปัจจัยทึ่ไม่ใช่เหตุก็มี เพราะเหตุได้แก่เจตสิกอะไรบ้าง สิ่งนี้ก็เป็นเรื่องที่ค่อยๆ เรียนไป เพราะว่าถ้าเรารีบร้อนแล้วเราคิดเองผิดหมด และก็จะมีตำราหลายเล่มถ้าเราเขียนด้วยความคิดของเราแต่ว่าไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องเป็นคนที่ละเอียด และไม่ประมาท และรู้ว่าปัจจัยครอบคลุมทุกอย่าง แม้เหตุก็เป็นปัจจัย
อ.วิชัย ขอสนทนากับคุณคนิต ขอถามนิดนึงว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีแล้วไม่เกิดจากปัจจัยได้ไหม ไม่ได้เป็นผลของปัจจัยใดๆ ทั้งสิ้นมีไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
อ.วิชัย แสดงว่าสิ่งที่เกิดทุกอย่างต้องมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้น
ผู้ฟัง ใช่ ต้องมี
อ.วิชัย ดังนั้นจิตก็ต้องมีปัจจัย เพราะจิตขณะนี้ก็กำลังมี ใช่ไหม แสดงว่าจิตก็ต้องมีปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นซึ่งเมื่อกล่าวถึงปัจจัยก็ต้องกล่าวถึงผล จิตก็คือเป็นผลของปัจจัยใช่ไหม
ผู้ฟัง จิตเป็นผลของปัจจัย
อ.วิชัย ก็คือกล่าวถึงอารมณ์ อารมณ์เป็นเหตุ ใช่ไหม จิตก็เป็นผลเกิดเพราะอารมณ์เป็นปัจจัย แม้กล่าวถึงอารมณ์ มีธรรมเป็นธรรมไหม
ผู้ฟัง อารมณ์เป็นธรรม
อ.วิชัย เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ใช่ไหม
ผู้ฟัง มีจริง
อ.วิชัย ก็ต้องเกิดเพราะปัจจัยด้วยใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
อ.วิชัย ก็ต้องมีความละเอียดว่าเกิดจากปัจจัยอะไร เพราะทุกอย่างที่มีจริงที่เกิดขึ้นต้องมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่มีเว้น
ผู้ฟัง เกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ทุกอย่างในโลกนี้
อ.วิชัย แน่นอน สิ่งที่มีจริงทุกอย่าง เมื่อเกิดขึ้นต้องมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ รู้อย่างนี้เพื่ออะไร
ผู้ฟัง คือเหมือนกับจะให้ตัวเองเข้าใจว่า มีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นมาลอยๆ
ท่านอาจารย์ ก็ยังมีเราอยู่ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่ก็ยังคงมีเรา
ท่านอาจารย์ รู้อย่างนี้ก็ยังดี
ผู้ฟัง รู้เพื่อละความเป็นเรา
ท่านอาจารย์ ทั้งๆ ที่ทุกสิ่งอย่างจะเกิดขึ้นต้องมีปัจจัยทำให้เกิด ก็ยังมีเรา
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เป็นไปได้อย่างไร เห็นไหม ความลึกความละเอียดของธรรม ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ก็ยังไม่รู้
ผู้ฟัง ยังไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าฟังเพื่อที่จะบอกตัวเองบ้าง ไม่ต้องบอกตัวเอง เข้าใจเมื่อไรก็คือเข้าใจ
ผู้ฟัง เข้าใจเป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ไม่มีตัวเองที่จะต้องไปบอกใช่ไหม
ผู้ฟัง สิ่งที่เราบอกตัวเองนี่คือ
ท่านอาจารย์ ตัวเองอยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง จิต
ท่านอาจารย์ ดับแล้ว เกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นรู้อย่างนี้เพื่ออะไร จะได้ตรง
ผู้ฟัง เพื่อเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจอะไร
ผู้ฟัง เข้าใจในสภาพความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ เข้าใจในสิ่งที่มีจริง เข้าใจว่าอย่างไร
ผู้ฟัง ว่ามันเป็นจริง
ท่านอาจารย์ ว่าเป็นจริงเป็นธรรมซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แล้วก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราด้วย
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ นี่คือความจริง
ผู้ฟัง ขอบคุณท่านอาจารย์มาก
ผู้ฟัง ในขณะที่อธิบายที่ว่าอย่างไรที่เจตนาไม่รวมอยู่ในมรรคแล้ว ทำไมจึงเรียกว่า มรรคเจตนา
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ทุกท่านกำลังฟังพระธรรม เพราะฉะนั้นคงไม่ลืมว่าประโยชน์สูงสุดของการฟังแต่ละครั้งคือความเข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ที่อ่านพระไตรปิฎกโดยที่ยังไม่มีความเข้าใจพอ สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้อ่าน หรือไม่ เพราะเหตุว่าพระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมดละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งกล่าวถึงสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ แต่ผู้ฟังต้องเป็นผู้ที่ละเอียด เป็นผู้ที่มีสัจจะความจริงใจ และความตรงว่าที่ได้ฟังมาหลายคำ และแต่ และคำเข้าใจดี หรือยัง หรือว่าบางคำอาจยังไม่เข้าใจ
บางคนได้ยินคำว่า “มรรค” ภาษาไทยเราก็ใช้มรรคคือหนทาง แต่ทางเดิน หรือหนทางที่เราเข้าใจกันในภาษาไทยกับทางเดิน หรือหนทางที่ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก เช่น ทางแห่งความบริสุทธิ์นี้ก็ต้องไม่ใช่หนทางธรรมดาที่เดินกัน แต่ข้อสำคัญที่สุดคือไม่ควรที่จะประมาทพระธรรม คิดว่าเมื่อได้ยินคำไหนแล้วก็เข้าใจคำนั้นได้ แต่ถ้าศึกษาธรรมโดยละเอียดทีละคำด้วยความจริงใจ ด้วยความตรงว่าเข้าใจคำที่ได้ฟังจริงๆ หรือไม่ และก็เข้าใจลึกซึ้งแค่ไหนด้วย มิฉะนั้นก็จะเสียเวลาในการฟังซึ่งก็ได้ยินคำมากมาย จริงๆ แล้วก็ยังไม่ได้เข้าใจอะไร
เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมก็ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด อย่างที่คุณชุณห์ถามถึงคำว่า “มรรคเจตนา” ได้ยินคำว่า “มรรค” ได้ยินคำว่า “เจตนา” คนไทยที่ไม่ได้ศึกษาธรรมก็เข้าใจอย่างงูๆ ปลาๆ เพราะเหตุว่าไม่ได้เข้าใจว่า ขณะนี้มีเจตนา หรือไม่ และเจตนาคืออะไร เมื่อกำลังพูดถึงเจตนาโดยไม่รู้เรื่องเจตนาขณะนี้แล้วจะไปเข้าใจมรรคเจตนาได้อย่างไร เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมต้องละเอียด และก็ต้องเป็นผู้ที่ตรงคือ ขณะที่ฟังมีความเข้าใจ หรือยังไม่เข้าใจ ถ้าเข้าใจพอ หรือยัง ถ้ายังไม่พอก็ศึกษาขวนขวาย ฟังพิจารณาต่อไปเพื่อที่จะได้เข้าใจ
เจตนาในภาษาไทยเราก็บอกว่าตั้งใจ เช่นเวลาที่ทำอะไรผิดก็ขอโทษบอกว่าไม่ได้เจตนา นี่คือความเข้าใจของภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ความจริงถ้าศึกษาพระธรรมโดยละเอียดจะรู้ว่ากล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ซึ่งคนอื่นไม่สามารถที่จะรู้ได้ถ้าไม่มีการศึกษาพระธรรมไม่ใช่เพียงอ่านพระไตรปิฏก แต่ต้องศึกษพระธรรมโดยละเอียดทุกคำ เพื่อเข้าใจจริงๆ ขณะนี้ถ้าถามว่ามีเจตนา หรือไม่ เห็นไหมฟังเรื่องนี้แล้ว ได้ยินคำนี้แล้ว แต่ถ้าถามว่าขณะนี้มีเจตนา หรือไม่ จะตอบว่าอย่างไร มี เพราะเมื่อสักครู่ได้ยินว่าเจตนาหมายความถึงความจงใจ และความตั้งใจ ซึ่งขณะนี้จะรู้ หรือไม่รู้ก็ตามมีสภาพที่จงใจขวนขวายกระทำกิจการงานเกิดกับจิตทุกขณะ ก็ไม่รู้อีกว่าจิตคืออะไร คือทุกคำฟังเผินๆ เข้าใจว่ารู้แล้วเป็นสิ่งซึ่งไม่ได้ศึกษาพระธรรม เพราะฉะนั้นก็ไม่มีทางเข้าใจพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะว่าไม่เข้าใจ แต่เมื่อไรที่มีความเข้าใจในความละเอียดของธรรม เมื่อนั้นก็จะเห็นพระคุณจริงๆ
เพราะฉะนั้นในขณะนี้จะพูดถึงคำอะไรเหมือนรู้ เหมือนเข้าใจ แต่ความจริงถ้ายังไม่ได้ศึกษาก็ยังไม่ได้เข้าใจจริงๆ ถึงแม้ศึกษาแล้วก็ยังยาก เพราะเหตุว่าพระธรรมที่ทรงแสดง ทรงแสดงเรื่องของของสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ตามลำดับ คือให้รู้ว่าธรรมคือสิ่งทีมีจริง แค่นี้คนที่ไม่ได้ศึกษาก็ไปคิดว่าธรรมต้องเป็นธัมโม เป็นเรื่องนั้นเรื่องนี้ ที่กล่าวไว้เท่านั้นแต่ความจริงไม่ใช่เท่านั้น เป็นภาษาที่ชาวมคธใช้เป็นภาษามคธี เป็นภาษาประจำวัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องการรับประทาน การเป็นอยู่ การทำงานต่างๆ ก็ใช้ภาษาของชาวเมืองคือภาษามคธี แต่เวลาที่คนที่ไม่ได้ใช้ภาษานั้นได้ยินก็สงสัยว่าคำนั้นหมายความว่าอะไร แล้วก็หยิบมาเฉพาะคำๆ แต่ไม่รู้ว่าแท้จริงก็คือภาษาประจำท้องถิ่นในชีวิตประจำวัน
เหมือนภาษาไทย คนไทยก็พูดภาษาไทยทั้งวัน ทุกวันด้วย เพราะฉะนั้นชาวมคธก็พูดภาษามคธทั้งวันทุกวันไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม เพราะฉะนั้นภาษาที่ทรงแสดงธรรมเมื่อเป็นภาษามคธีภาษาที่ชาวมคธใช้ ก็เป็นภาษาปกติในชีวิตประจำวันแต่มีความลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นถ้าคนไทยจะเข้าใจธรรมก็ใช้ภาษาไทย แต่มีความเข้าใจในความลึกซึ้งในภาษาไทยที่ใช้อธิบายให้เข้าใจความหมายนั้นด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่พูดถึงธรรม คำเดียว ชาวมคธจะสงสัยไหม เพราะเขาใช้คำนั้นอยู่แล้ว
แต่คนไทย ธรรมคืออะไร ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ถ้าไม่ใช่สิ่งที่มีจริงก็ไม่ต้องศึกษาไม่ต้องเข้าใจ จะไปรู้อะไรกับสิ่งที่ไม่มีจริง เพราะฉะนั้นแต่ละคำที่ได้ฟังแล้วใน “เชตวนสูตร” เป็นสิ่งที่มีจริงทั้งหมด แต่มีความละเอียดมีความลึกซึ้งที่แสดงให้เห็นว่าอย่าคิดเอง หรือเข้าใจว่ารู้แล้ว แต่ความจริงต้องเป็นการเข้าใจทุกคำจริงๆ ตามลำดับ เช่นคำว่า “ธรรม” เป็นสิ่งที่มีจริง ชาวมคธถ้าถูกถามถึงเรื่องจักขุวิญญาณ คนไทยงง ใช่ไหม จักขุวิญญาณ แต่ถ้าพูดว่าเห็น จะงงไหม ไม่งง ทั้งๆ ที่ขณะนี้กำลังเห็น พูดถึงสิ่งที่มีจริงคือเห็น แต่ความลึกซึ้งพระผู้มีพระภาคทรงแสดงในพระไตรปิฎกถึงสิ่งที่มีจริงคือจักขุวิญญาณ คือเห็นอย่างนี้ แต่เพราะคนไม่รู้ความจริงของเห็นที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งที่มีจริงซึ่งคนที่เกิดมาแล้วตายไป โดยที่ว่าไม่รู้สิ่งที่มีจริงๆ เต็มไปด้วยความคิดเรื่องอื่นทั้งหมด และเข้าใจว่าเป็นปัญญาที่รู้สิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ตามความเป็นจริงก็คือไม่ได้รู้ความจริงขณะนี้ ขณะนี้คือเห็น เพราะฉะนั้นถ้าใครสามารถที่จะรู้ความจริงของเห็น ผู้นั้นมีความเห็นที่ถูกต้อง
ปัญญาคือความเห็นถูกความเข้าใจถูก ขณะนี้ไม่ได้มีแต่เห็นใช่ไหม ได้ยินก็มี ถ้าใครสามารถที่จะเข้าใจได้ยินตามความเป็นจริงคนนั้นมีปัญญา หรือไม่ มีความเห็นถูก หรือไม่ เพราะว่าสามารถจะเข้าใจความจริงของสิ่งมีจริงๆ ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ด้วยเหตุนี้การศึกษาธรรมต้องรู้ว่า เพื่อเข้าใจความจริงไม่ใช่เป็นการอ่านพระไตรปิฏกแล้วก็เข้าใจตามความคิดของตนเอง แต่ต้องเข้าใจความละเอียดทุกคำ และก็สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่ทรงแสดงในครั้งโน้นแต่ผู้ที่มีปัญญาสามารถที่จะฟังแล้วเข้าใจได้ แต่ความห่างไกลของคนในครั้งพุทธกาลกับคนในครั้งนี้มากมายระดับไหน
แม้ในครั้งพุทธกาล คนที่ไม่ได้สะสมความเข้าใจจริงๆ ว่าเกิดมาแล้วตายไป แล้วมีประโยชน์อะไรจากการที่เกิดมาเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง คิดนึกบ้าง สุขทุกข์บ้าง มีญาติพี่น้อง มีทรัพย์สมบัติ แต่เสร็จแล้วก็จากไปไม่กลับมาอีก เพราะฉะนั้นคนในยุคนั้นสมัยนั้นเห็นประโยชน์ของการที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ และเมื่อรู้ว่ามีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ พุทธ ผู้ทรงตรัสรู้ความจริง ผู้ตื่นจากความไม่รู้ ผู้เบิกบานที่เป็นอิสระพ้นจากความไม่รู้ เพราะฉะนั้นผู้ที่มีศรัทธาที่ได้สะสมมาแล้วอย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี บุคคลในครั้งโน้น ใครว่าคนในครั้งโน้นไม่ฉลาดบ้าง ใครคิดว่าคนยุคนี้ฉลาดกว่าบ้าง หรือว่ามีปัญญากว่าบ้าง นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะเหตุใด
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเพียงได้ยินคำว่า “พุทโธ” ความปีติของท่านมากมาย ใคร่ที่จะได้ฟังสิ่งที่ผู้ตรัสรู้ รู้ และทรงแสดง เพราะรู้ว่าสามารถที่ทำให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงตั้งแต่เกิดจนตายในชีวิตประจำวันจริงๆ ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่ผู้ใดก็ตามสะสมการที่จะเห็นประโยชน์ของการฟังจากผู้รู้ ผู้เลิศ ผู้ประเสริฐซึ่งไม่มีบุคคลใดเทียบเท่า ไม่ใช่เฉพาะในโลก เทวดา หรือพรหมโลกในสากลจักรวาล ก็ไม่มีใครที่จะเสมอกับพระองค์ได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ต้องการเข้าใจมีปัญญาที่จะรู้ความจริง เพราะรู้ว่าชีวิตสั้นมาก เล็กน้อยมาก อยู่ในโลกเพียงชั่วคราวแล้วก็จะจากไปทุกคนโดยความรู้ หรือโดยความไม่รู้
เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมอย่างที่คุณชุณห์ถาม มรรคเจตนา เจตนาในวันหนึ่งๆ ไม่ได้สังเกตเลยใช่ไหม แม้การมาฟังธรรมก็เป็นเจตนาด้วย ความตั้งใจที่จะฟัง การรับประทานอาหารชีวิตประจำวันมีเจตนาไหม มี การทำงานมีเจตนาไหม มี การพูดมีเจตนาไหม การเดินมีเจตนาไหม การยกมือมีเจตนาไหม มีเจตนาทั้งหมดแต่ว่าเจตนาเหล่านั้นไม่ใช่มรรคเจตนาที่ทรงแสดงในพระสูตรนี้ เพราะว่าในพระสูตรนี้เป็นเจตนาของผู้ที่มีปัญญาที่ใคร่ที่จะเข้าใจหนทางที่จะทำให้พ้นจากความทุกข์ ซึ่งขณะนี้ทุกคนกำลังนั่งที่นี่ได้ยินคำว่า “ทุกข์” มีทุกข์ หรือไม่ กำลังเป็นทุกข์ หรือไม่ ทุกคำนี่จะตอบไม่ได้เลยถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม และต้องเป็นผู้ที่ตรง และจริงใจ
ขณะนี้มีทุกข์ หรือไม่ คนที่ศึกษาแล้วบอกว่า มี ถ้าถามคนที่ตอบว่า มี จะถามว่าอะไรเป็นทุกข์ ใช่ไหม ถ้าบอกว่ามีต้องตอบได้ ธรรมไม่ใช่เพียงแต่สำหรับตอบ
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720