พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
ตอนที่ ๖๗๖
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ท่านอาจารย์ แต่ละอย่างก็เป็นแต่ละ ๑ ไม่เหมือนกัน อย่างจักขุวิญญาณธาตุ ใช้คำว่า “ธาตุ” ซึ่งเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาท ไม่ใช่โสตวิญญาณธาตุ เห็น หรือไม่ แสดงความเป็นธาตุที่หลากหลายมาก และแต่ละอย่างมีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับไปแล้วไม่กลับมาอีก เพราะฉะนั้นเมื่อสภาพธรรมที่ได้ฟังอย่างนี้ ฟังบ่อยๆ ฟังแล้วฟังอีก จนกว่าจะจรดเยื่อในกระดูก หรือเข้าไปถึงใจ ไม่ลืม จะเป็นปัจจัยทำให้สามารถค่อยๆ คลายการที่ไม่เคยเห็นประโยชน์ของการที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่เป็นปกติธรรมดาในชีวิต แต่ไม่เคยรู้มาก่อน สิ่งธรรมดาในชีวิตแต่ละ ๑ คือ ๑ ของสังสารวัฏฏ์ซึ่งเกิดดับสืบต่อยับยั้งไม่ได้
ทุกคนรู้ว่าเมื่อจากโลกนี้ไปแล้วถ้ายังมีกิเลสก็ต้องเกิด ถ้ายังไม่ใช่พระอรหันต์ สังสารวัฏฏ์ไม่สิ้นสุด เพราะก่อนจะตายก็มีสภาพธรรมซึ่งเกิดดับสืบต่อจนถึงขณะจุติจากโลกนี้ไปก็มีการเกิดดับสืบต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีการสิ้นสุด เพราะฉะนั้นแม้ ๑ ขณะนี้ก็เป็นสังสารวัฏฏ์ซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปแล้วก็ไม่กลับมาอีก
เพราะฉะนั้นก็จะเข้าใจความหมายของคำ “คัมภีร” ฟังอะไร เป็นคัมภีร์ที่มีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์ หรือความหมายของคัมภีร์ซึ่งไม่ต้องติดในชื่อเพราะว่าความหมายสำคัญกว่า ไม่มีใครมานั่งจัดระบบระเบียบว่าคัมภีร์นี้เป็นอย่างนี้ หรือว่าคัมภีร์นั้นเป็นอย่างนั้น ขึ้นอยู่กับความเห็นถูกความเข้าใจถูก อย่างกว้างที่สุดคือความจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามทุกระดับเป็นประโยชน์ เพราะว่าถ้ารู้ไม่จริง รู้ทำไม สิ่งนั้นไม่จริงไม่ได้มีประโยชน์ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่จริงไม่ว่าจะเป็นวิชาการใดๆ ทั้งสิ้นก็เป็นประโยชน์ เพราะว่าไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่เป็นสิ่งที่เป็นไป ตามเหตุตามผลของสิ่งนั้น
ผู้ฟัง ในอีกประเด็นหนึ่งที่กล่าวว่าฟังบ่อยๆ พอดีฟังเทปท่านอาจารย์จะกล่าวถึงวลีว่า “ฟังบ่อยๆ จนคล่องปากขึ้นใจ”
ท่านอาจารย์ ไม่ได้หมายความว่าไม่รู้เรื่อง ใช่ไหม ไม่ได้หมายความว่าฟังบ่อยๆ คล่องปากขึ้นใจไม่รู้เรี่อง ซึ่งอย่างนั้นก็ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าพระธรรมที่ทรงแสดงต้องไม่ลืม เป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยรู้ในสังสารวัฏฏ์แสนนานมาแล้ว แต่ก็มีผู้ที่อบรมเจริญปัญญาถึงการเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ก็เป็นความจริงซึ่งเป็นปัญญาที่เป็นปัญญาระดับขั้นของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งผู้ฟังไม่สามารถมีปัญญาระดับนั้นได้ เข้าใจสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้แล้วทรงแสดงแล้วก็เป็นสาวกคือผู้ฟัง
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าธรรมดาสิ่งที่มีอย่างนี้แล้วก็ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ปัญญาเพิ่มขึ้นระดับไหนที่จะเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่หมายความว่าคล่องปาก ปรมัตถธรรมมี ๔ อะไรบ้างจิต เจตสิก รูป จิตมีเท่าไร นั่นคล่องปาก เดี๋ยวนี้จิตอะไร เจตสิกอะไร รูปอะไร คล่องปากแต่ไม่รู้อะไรสักอย่างเดียว จะมีประโยชน์ไหมอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ทั้งหมดต้องรู้ความเป็นสัมมาสัมพุทธ ผู้รู้จึงให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ถ้าไม่ใช่ผู้ที่รู้จริงๆ จะสามารถให้ผู้อื่นรู้ตามได้ไหม ก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้นพระธรรมที่ทรงแสดงสาวกผู้ฟังไม่ใช่ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง แต่ประโยชน์ของการฟัง ฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ไม่ใช่ไปคิดต่อเรื่องอื่นยาวมาก แต่ว่าไม่ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟัง เพราะฉะนั้นเหมือนไม่ได้ฟัง ใช่ไหม เสียงกระทบหูแล้วก็คิดเรื่องอื่นต่อไปเรื่อยๆ ก็ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ฟังเพื่ออะไร
ผู้ฟัง รู้ว่าไม่รู้ความจริงก็มาฟัง ฟังให้รู้ความจริง
ท่านอาจารย์ ก็เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ฟัง และจะให้เป็นอย่างอื่นได้อย่างไร ทุกคนก็มาฟังสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง
ผู้ฟัง สิ่งที่กำลังฟังท่านอาจารย์หมายถึงว่าเห็นสิ่งที่ปรากฏขณะนี้
ท่านอาจารย์ พูดถึงเห็น เห็นมี เพราะฉะนั้นผู้ฟังรู้ด้วยตัวเอง เริ่มเป็นปัญญาของตัวเองที่จะรู้ว่าได้ยินว่าเห็น มี รู้ว่าเห็นเกิดแล้วก็ดับไปก็ยังไม่ได้รู้ความจริงอย่างนี้ ฟังต่อไปจะรู้ได้ไหม จะเข้าใจขึ้นอีกได้ไหม ผู้ที่สามารถจะรู้ความจริงโดยไม่ฟังมีมาก่อน ไม่เป็นพหุสุตมาก่อน ไม่รู้เรื่องธรรมที่กำลังปรากฏมาก่อน แล้วก็จะรู้แจ้งความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ได้ไหม เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้ที่ไม่หลอกตัวเอง ฟังเพื่อเข้าใจ ๑ ขณะในสังสารวัฏฏ์ยังมีโอกาสได้ยินได้ฟัง
ผู้ฟัง สภาพธรรมเมื่อเกิดขึ้นหมายถึงว่าเป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะฉะนั้น ปัญญานี่ก็ต้องมีลักษณะที่ปรากฏได้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วเข้าใจไหม
ผู้ฟัง เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจอีกชื่อก็คือปัญญา อีกชื่อก็คือความเห็นถูก ไม่อย่างนั้นไปหาชื่อแล้วก็ไม่รู้ว่าปัญญาเกิด หรือยัง เป็นปัญญา หรือไม่ก็อยู่ที่เข้าใจ หรือไม่ เข้าใจถูก หรือไม่ ถ้าเข้าใจถูกจะไม่ใช่ปัญญาได้ไหม
ผู้ฟัง คือสภาพธรรมบังคับให้เกิดก็ไม่ได้ แล้วก็สตินี้ก็สามารถที่จะระลึกในสภาพธรรมนั้นได้ทุกอย่างทุกประเภท
ท่านอาจารย์ คือถามด้วยความเข้าใจตั้งแต่ต้นว่าทุกอย่างบังคับบัญชาไม่ได้ นี่คือคำพูดที่ได้ยิน ไม่ใช่เพียงจำ เห็นไหม ความต่างคือรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างบังคับบัญชาไม่ได้นี้แน่นอน ด้วยเหตุนี้ได้ยินคำว่าอะไรก็ตามแต่เป็นธรรมมีจริง หรือไม่ ถ้ามีจริงบังคับบัญชาได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นแต่ละคำที่ใช้ไม่ควรที่จะใช้โดยไม่เข้าใจความจริง เช่นใช้คำว่า “สติ” มีจริงๆ หรือไม่
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ ทำไมรู้ว่ามี
ผู้ฟัง เพราะว่า สติเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่ง
ท่านอาจารย์ ได้ยินแต่ชื่อ ใช่ไหม เพราะว่าหลายคน คนนั้นไม่มีสติ คนนั้นสติแตก หรืออะไรก็พูดกันไป แต่ว่ารู้จักสติ หรือไม่ หรือคิดเองว่าสติเป็นอย่างนั้น สติเป็นอย่างนี้ ด้วยเหตุนี้แต่ละคำมีคำตอบที่ชัดเจน แต่ไม่ใช่ให้คิดเอง ต้องศึกษาพระธรรมโดยความเคารพ โดยละเอียดอย่างยิ่ง เคารพคือไม่เปลี่ยน หรือว่าไม่เอาความคิดของเรามาเพิ่มเติม แต่เป็นการที่ได้ฟังพระธรรมแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น เวลาที่ฟังธรรมก็จะรู้ว่าแต่ละคำที่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เป็นสิ่งที่มีโดยที่เราไม่รู้ว่าชื่ออะไร ใช่ไหม
เช่น โกรธอย่างนี้ถ้าไม่มีคนบอกเป็นเด็กเล็กๆ จะรู้ไหม เขากำลังโกรธด้วยซ้ำไป อาจกำลังร้องไห้ แต่เด็กจะรู้จักคำนี้ไหม เด็กที่เพิ่งเกิดแล้วก็ร้องไห้จะไม่รู้จักคำว่าโกรธแต่ว่าสภาพลักษณะของความไม่พอใจเกิดแล้ว เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีทั้งหมดก็แล้วแต่ว่าจะใช้ชื่อในภาษาอะไร แต่เวลาที่คนไทยเราก็ใช้คำจากภาษาบาลีมาก คุณคำปั่น โกรธมาจากคำไหน
อ.คำปั่น โกรธเป็นภาษาไทย แต่ว่าเมื่อแปลมาจากภาษาบาลีแล้วก็มีคำให้ใช้อยู่หลายคำ อย่างเช่นโกธะ เป็นภาษามคธ เป็นภาษาบาลี โกธะก็แสดงถึงความโกรธ ปฏิฆะซึ่งเป็นการกระทบกระทั่งก็เป็นลักษณะของความโกรธเช่นเดียวกัน หรือแม้กระทั่งโทสะก็แสดงถึงความโกรธด้วย นี้คือเมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ภาษาเดิมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมให้เข้าใจตามความเป็นจริงนั้น ความโกรธก็มาจากคำหลายคำอย่างที่กล่าวแล้ว
ท่านอาจารย์ ก็จะรู้ความต่างของภาษาที่เป็นภาษามคธ ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร คนไทยก็ใช้คำที่มาจากภาษาอื่น แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้องรู้ว่าหมายความถึงธรรมอะไร ภาษาอาจต่างจากโกธะ โกโธ เป็นโกรธ มีตัว “ร” มีอะไรที่ต่างจากภาษาบาลี แต่ก็ยังมีเค้าใช่ไหม เพราะฉะนั้น สติเป็นภาษาอะไร
ผู้ฟัง ภาษาบาลี
ท่านอาจารย์ ตอนนี้รู้แล้ว ไม่ใช่ภาษาไทย หรือ คนไทยใช้แต่ใช้ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมก็คือศึกษาให้เข้าใจธรรมโดยคำ โดยชื่อในภาษาบาลี แต่สภาพธรรมมีอยู่แล้วจะไม่ต้องเรียกชื่ออะไร หรือจะใช้ภาษาอื่นก็ได้ เพราะฉะนั้นเวลาใช้คำว่า “สติ” ตอนก่อนที่จะได้ศึกษาถูก หรือผิด
ผู้ฟัง ผิด
ท่านอาจารย์ ผิด พอศึกษาจึงรู้ว่าผิดใช่ไหม พอศึกษาแล้วสติเป็นอกุศลได้ไหม
ผู้ฟัง สติเป็นกุศล
ท่านอาจารย์ เป็นอกุศลไม่ได้ นี่คือเราเข้าใจธรรมให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ตรงกับคำแรกที่คุณสุกัญญาบอกว่าทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีใครบังคับบัญชาได้ เพราะฉะนั้นลืมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นโกรธ ไม่ว่าจะเป็นสติ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็คือเป็นธรรมแต่ละอย่าง เกิดเมื่อมีเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป กำลังเข้าใจถูกต้องมีสติไหม
ผู้ฟัง มี ต้องเกิดร่วมด้วย ทีนี้สภาพธรรมที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ว่าเป็นอะไร เห็น มี หรือไม่
ผู้ฟัง มี แต่เลือกไม่ได้
ท่านอาจารย์ เลือกไม่ได้ ไม่ใช่คิดใช่ไหม เป็นผลของกรรมที่ได้กระทำไว้
ผู้ฟัง แต่ถ้าเป็นสภาพธรรมที่จะเป็นลักษณะที่ปรากฏ แม้เป็นสติที่ปรากฏก็ได้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ว่าธาตุที่เป็นใหญ่ในการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นจิต ใช้คำว่า “มนินทรีย์” ถ้าปราศจากจิตอะไรๆ ก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจิตสามารถจะรู้ได้ทุกอย่าง นี่เป็นคำตอบซึ่งลืมไม่ได้ จะไม่มีคำถามนี้อีก ใช่ไหม เพราะว่าเมื่อจิตสามารถที่จะรู้ทุกอย่างได้ก็แล้วแต่ว่าจิตประเภทนั้นรู้อะไร ถ้าขณะนั้นเป็นสิ่งที่เป็นกุศลก็จะมีสภาพของธรรมที่เป็นฝ่ายดีเกิดร่วมด้วย ถ้าเป็นอกุศลขณะนั้นก็เป็นธรรมที่เป็นฝ่ายไม่ดีเกิดร่วมด้วย แต่จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ได้ทุกอย่าง แล้วแต่ว่าขณะนั้นมีปัจจัยที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อะไร
ผู้ฟัง ลักษณะของปัญญาก็ปรากฏได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จิตรู้ได้ทุกอย่าง รู้ เป็นใหญ่เป็นประธาน อกุศลจิตรู้ได้ทุกอย่างไหม
ผู้ฟัง ไม่
ท่านอาจารย์ เห็น หรือไม่ นี่คือการฟังให้เข้าใจความละเอียด และก็เป็นความจริง ก็ต้องเริ่มตามลำดับซึ่งก็ไม่ต่างกับประโยคที่ว่า “จิตรู้ได้ทุกอย่าง” ไม่ได้กล่าวถึงจิตหนึ่งจิตใด จิตทั้งหมด ใช่ไหม เป็นธาตุรู้เป็นใหญ่ในการรู้ แต่ก็จำแนกออกเป็นจิตหลากหลายมาก กุศลเหตุ อกุศลเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดจิตที่เป็นผลคือวิบาก เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นวิบากก็มี และจิตที่ไม่ใช่ทั้งกุศลไม่ใช่อกุศลไม่ใช่วิบากก็ยังมี เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ แต่ก็ต่างกันไปตามสภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วยคือเจตสิก
ผู้ฟัง ถ้าจิตที่เป็นกุศลคือรู้ได้ทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ว่ากุศลประเภทไหน ถ้าเป็นรูปาวจรกุศลรู้อะไรได้ เห็นไหม จะไปรู้ได้ทุกอย่างไหม รู้นิพพานได้ไหม รู้มหากุศลได้ไหม ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง มีอยู่ตลอดตั้งแต่แสนโกฏิกัปป์ในสังสารวัฏฏ์ แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปด้วยความไม่รู้ ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้นการฟังจึงต้องฟังด้วยความเคารพอย่างยิ่งที่จะไม่ทำให้พระธรรมคลาดเคลื่อนแล้วก็ต้องตรงสอดคล้องกันทั้งหมด เพราะว่าความจริงเปลี่ยนไม่ได้ ความจริงถึงที่สุดคือเป็นปรมัตถธรรม เปลี่ยนไม่ได้ ใครก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนสภาพธรรมนั้นได้ แต่เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงได้
ผู้ฟัง อย่างนั้นปัญญาขั้นความเข้าใจ ขั้นการฟังกับขั้นที่รู้ลักษณะ
ท่านอาจารย์ สองขั้นแล้วใช่ไหม ก็เป็นขั้นเดียวไม่ได้
ผู้ฟัง ต้องมีความต่างกันแน่นอน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง จะให้ช่วยอธิบายถึงรายละเอียดสักนิดได้ไหม
ท่านอาจารย์ กำลังพูดถึงเห็นคุณสุกัญญาคิดอะไร
ผู้ฟัง คิดว่าเห็นมีจริง
ท่านอาจารย์ แต่ไม่ได้กำลังรู้เห็นที่กำลังปรากฏ พูดถึงเสียงคุณสุกัญญาคิดอะไร
ผู้ฟัง เสียงมีจริง
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นกำลังรู้เฉพาะเสียงไม่มีอย่างอื่นเลยปรากฏ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นนี่เป็นความเข้าใจต่างขั้น เพราะทุกคนฟังแล้วก็รู้ เสียงก็เกิดแล้วก็ดับ ได้ยินก็ไม่ใช่เสียง ได้ยินเกิดขึ้นแล้วก็ดับ แต่ว่าไม่ได้รู้ลักษณะที่กำลังเกิดเป็นอย่างนั้นแล้วก็ดับไป นี่ก็แสดงให้เห็นถึงปัญญาต่างขั้น ถ้าไม่รู้จริงๆ ก็ได้แต่พูดว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ พูดได้ แต่เดี๋ยวนี้ทุกอย่างที่เกิดดับจริงๆ ก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นปัญญาต่างขั้น
ผู้ฟัง แล้วปัญญาขั้นความเข้าใจก็ยังมีหลายระดับ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน ทุกคนมาที่นี่ เข้าใจเหมือนกัน หรือไม่ เท่ากัน หรือไม่ คนที่มาครั้งแรกก็ไม่รู้ว่าเห็นเป็นธรรม ได้ยินอย่างปกติธรรมก็เป็นธรรมแล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าไม่ใช่ตัวตน
ธรรม คือสิ่งที่เป็นธาตุที่มีจริงเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไป ถ้าไม่มีการเข้าใจอย่างนี้จะรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏได้อย่างไร
ผู้ฟัง ที่นี้พอเข้าใจถึงขั้นว่าทุกอย่างเป็นธรรม แล้วก็รู้ว่าเห็นก็เป็นธรรมแต่ว่าไม่ได้มั่นคงเพียงพอ และก็ไม่ได้ประจักษ์ลักษณะจริงๆ จะคิดเอาเองว่ามันเกินขั้นฟังไปแล้ว
ท่านอาจารย์ คิดเอง เกินขั้นฟังไปถึงขั้นไหน
ผู้ฟัง ก็ขั้นอีกระดับหนึ่ง
ท่านอาจารย์ แล้วขั้นไหน มีขั้นฟังสุตมยญาณ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา หรือว่าปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ กำกับไว้หมด ปริยัติไม่ใช่ปฏิปัตติ ปฏิปัตติไม่ใช่ปฏิเวธ ไม่ใช่ปริยัติเป็นปฏิเวธ เพราะฉะนั้นเลยไปถึงขั้นไหนมี ๓ ขั้น เดี๋ยวนี้เข้าใจธรรมไหน
ผู้ฟัง ก็แม้แต่ฟัง ได้ยินก็หมดไปอย่างนี้
ท่านอาจารย์ นั่นคือคิด
ผู้ฟัง คือคิด แต่ว่าก็หมดไปจริงๆ
ท่านอาจารย์ นั่นคือคิดจริงๆ แยกคิดกับสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาได้ไหม เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาต้องดับก่อนแล้วจึงคิด
ผู้ฟัง อธิบายจุดนี้อีกนิดได้ไหม
ท่านอาจารย์ มีสิ่งที่ปรากฏทางตาไม่เป็นอื่น นอกจากเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นแล้วก็ดับไป หลังจากนั้นก็รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แต่ไม่ใช่ในขณะที่กำลังเห็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็น โดยไม่มีคิดเลยในขณะนั้น
ผู้ฟัง แต่สภาพธรรมเป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะฉะนั้นคือจะให้เข้าใจทางตาก่อน
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ให้เข้าใจ ทุกคนที่ฟังไม่ใช่ให้เข้าใจ ฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง หรือไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง แต่ไม่มีใครไปให้เข้าใจ แต่ความจริงเป็นอย่างนี้ ได้ยินอย่างนี้ ไตร่ตรองพิจารณาเข้าใจอย่างนี้ หรือไม่ แต่ไม่ใช่ให้เข้าใจอย่างนี้ ไม่ใช่ไปว่าต้องเข้าใจอย่างนี้ เข้าใจอย่างอื่นไม่ได้ แต่ความจริงเป็นอย่างนี้จะเข้าใจอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นอย่างนี้ หรือจะให้สิ่งที่เป็นอย่างนี้เป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้
ผู้ฟัง อย่างนั้นก็ต้องเข้าใจว่าขณะคิดก็คือคิด
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แล้ววันก่อนก็ฟังในขณะที่พูดเรื่องเห็นแล้วก็กำลังเห็น วันนี้ก็เหมือนกันมีกำลังเห็น แล้วก็พูดว่าเห็นก็เป็นสิ่งมีจริงเกิดตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีใครไปบังคับบัญชาได้ เห็นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ว่าการเกิดดับเป็นไปอย่างเร็ว ฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่ฟังเพื่อไปรู้อย่างนั้น ถ้าฟังแล้วคิดว่าจะต้องไปรู้อย่างนั้น หรือเพื่อรู้อย่างนั้น ไม่ได้ละอะไร เป็นความอยาก เป็นความต้องการซึ่งไม่รู้ว่า ขณะนั้นเมื่อฟังแล้วก็อยากจะรู้อย่างนั้น แต่ความถูกต้องก็คือฟังเข้าใจ ยิ่งเข้าใจขึ้นยิ่งค่อยๆ คลายความเป็นเรา แต่ว่าการคลายความเป็นเราไม่ใช่จะปรากฏในวันสองวัน เพียงแต่สามารถที่จะมีการระลึกได้เมื่อไรก็แสดงว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังก็ยังเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดการเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ
ก็จะเห็นความต่าง ฟังเรื่องเห็นหลายครั้งเป็นแรมเดือน แรมปี แรมชาติก็ได้ แต่ว่าขณะนี้กำลังเริ่มเห็นว่าเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่คิดเป็นคำก็เป็นสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่ง แค่เป็นเพียงสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่ง ค่อยๆ ทำลายความเป็นเราทีละเล็กทีละน้อยเมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ถ้าไม่มีอย่างนี้ก็ไม่มีทางที่จะเป็นธาตุที่เพียงปรากฏแล้วหมดไป และเราก็ไม่มีในขณะที่กำลังเห็น ซึ่งเป็นความลึกซึ้งขึ้นอีกเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นสิ่งนั้นเกิดแล้วดับ หรือไม่
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ กลับมาอีกได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ มีสาระตรงไหน นอกจากว่างเปล่า นั่นคือความหมายของสิ่งที่เกิดแล้วก็ดับไป ทุกขันธ์ว่างเปล่า เพราะว่าหมดแล้วจะไปหาอะไรมาได้อีกไม่มีเลย เพราะฉะนั้นเสียงเป็นขันธ์ หรือไม่
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เกิดขึ้น หรือไม่
ผู้ฟัง เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ดับไป หรือไม่
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ เสียงเดี๋ยวนี้เป็นเสียงก่อน หรือไม่
ผู้ฟัง เสียงเดี๋ยวนี้เป็นเสียงไม่ใช่เสียงก่อน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขันธ์ทุกขันธ์ก็คือสิ่งที่เกิดแล้วก็ดับ ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรม หรือนามธรรม รวมทุกอย่างที่เกิดดับเป็นขันธ์ เสียงนกมีไหม
ผู้ฟัง เสียงนกมี
ท่านอาจารย์ เสียงดนตรีมี หรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เสียงหมูมี หรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ อะไรหยาบ อะไรละเอียดต้องมานั่งแยกแยะ หรือไม่ หรือว่าขณะนั้นสภาพธรรมนั้นเกิดปรากฏเป็นอย่างนั้นหลากหลายในตัว ถ้าไม่หลากหลายก็หยาบเหมือนกันหมด หรือว่าละเอียดเหมือนกันหมด
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720