พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
ตอนที่ ๖๗๘
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ท่านอาจารย์ เสียงมีจริง มีแล้วไม่มีแล้วก็ไม่กลับมาอีกในสังสารวัฏฏ์ นี่คือความจริงซึ่งถ้าไม่ลืมก็จะสะสมจนกระทั่งสามารถที่จะเกิดที่ไหน อย่างไร เห็นอะไร ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า ความจริงของสิ่งที่ปรากฏก็เป็นเพียงสิ่งที่เกิดปรากฏแล้วหมดไปเท่านั้น นี่คือธรรม เพราะฉะนั้นก็หลากหลายมีทั้งเสียง มีทั้งสีที่ปรากฏทางตา มีทั้งกลิ่น มีทั้งคิดนึก มีทั้งสุขทั้งทุกข์ ศึกษาธรรมเพื่อให้เข้าใจความจริงให้รู้ความจริงว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง เสียงมีจริงแต่ถ้าไม่มีได้ยิน เสียงก็ปรากฏไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นความรู้เพิ่มขึ้นแล้วใช่ไหม จากเสียงมีจริงแล้วเสียงปรากฏได้อย่างไร ก็จะมีความเข้าใจว่าถ้าไม่มีสภาพที่ได้ยินเสียง ก็มีเสียงปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีได้ยินกับเสียง ขณะที่มีได้ยินกับเสียงจะมีคนโน้นคนนี้นั่งอยู่ที่นี่ไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ มีมูลนิธิ มีโต๊ะ มีเก้าอี้ มีประตูหน้าหน้าต่างไหม ไม่มี ความจริงเป็นอย่างนี้ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ต้องรู้อย่างนี้ ถึงจะรู้ความจริง ต้องเริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งมั่นคง
ผู้ฟัง แต่เสียงกับได้ยินเป็นคนละสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ แน่นอน เริ่มพิจารณาแล้วไม่ใช่มีแต่เสียง เดี๋ยวนี้ที่เสียงปรากฏ เดี๋ยวนี้เลยที่เสียงปรากฏ ไม่ใช่มีแต่เสียงแต่มีธาตุที่กำลังได้ยินเสียง ปรากฏพร้อมกันได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ต้องอย่างใดอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นขณะนี้ หรือทั่วๆ ไปเสียงจะปรากฏ ถูกต้อง หรือไม่
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แต่ลืมธาตุที่ได้ยินเสียงว่าต้องได้ยินขณะที่เสียงปรากฏ มิฉะนั้นเสียงนั้นปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้นกว่าความเข้าใจจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่าไม่ใช่มีแต่เฉพาะเสียง แต่มีธรรมซึ่งเป็นธาตุใช้คำว่า “ธาตุ” คือเป็นลักษณะของธรรมซึ่งต้องเป็นอย่างนั้น ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้
เพราะฉะนั้นได้ยินมีจริงๆ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เกิดได้ยินแล้วก็ดับไป นี่คือการไม่ลืมว่าขณะนี้ที่เสียงปรากฏเพราะมีธาตุได้ยินซึ่งกำลังได้ยิน เพียงแค่ได้ยิน หมดแล้ว เราจะอยู่ที่ไหน โลกจะอยู่ที่ไหน ขณะนั้นมีแต่เพียงธาตุได้ยินเกิดขึ้นได้ยินแล้วก็ดับไป ทีละนิดทีละหน่อยแต่ว่ามั่นคง แล้วพอพูดถึงธรรมก็กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏ หรือไม่ ถ้ายังก็หมายความว่าความเข้าใจยังไม่พอ ถ้าพูดถึงธรรมก็คือพูดถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ที่กำลังปรากฏนั่นเอง
ผู้ฟัง เสียงกับได้ยิน จะต้องเป็นสภาพธรรมที่ต่างกันแน่นอน
ท่านอาจารย์ อธิบายได้ไหม ต่างกันอย่างไร
ผู้ฟัง กำลังจะเรียนถามท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ เสียงไม่สามารถจะได้ยิน ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ เสียงคิดได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แต่สภาพที่ได้ยิน ไม่ใช่เสียง เพราะได้ยินไม่ใช่เสียง นี่คือค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ พิจารณาสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ซึ่งถูกปกปิดไว้ด้วยความไม่รู้ อวิชชามากมาย ขณะใดที่ไม่ได้ฟังธรรม ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็ฟังให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ให้ถูกต้อง ขณะนั้นก็ไม่ใช่โอกาสที่จะเข้าใจธรรมที่มีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นขณะนี้เองขณะที่กำลังฟังจะเป็นขณะที่ทำให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ตามปกติ
ผู้ฟัง ได้ยินมีจริงๆ
ท่านอาจารย์ ถามใครนอกจากตัวเอง
ผู้ฟัง บอกท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ได้ยินเป็นสิ่งที่มีจริง ถูกต้อง
ผู้ฟัง เพราะว่าถ้าไม่ได้ยิน เสียงไม่ได้ยินแน่
ท่านอาจารย์ นี่เริ่มเข้าใจแล้ว
ผู้ฟัง แต่ว่าสภาพได้ยิน เราจะไม่คุ้นเคย
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพียงแค่ฟังก็ไปหาตัวได้ยินแล้วอยู่ที่ไหน แต่กำลังได้ยินนี้คือธาตุนั้น ธาตุนั้น “ธาตุ” มีสภาพที่รู้คำนี้ “นั้น” มีสภาพที่รู้คำนี้ ไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีแม้คิดเรื่องธาตุนั้น
เพราะฉะนั้น สภาพรู้ สภาพคิด ก็เป็นธาตุรู้ที่สามารถรู้ได้ทุกอย่าง คิดก็ได้คือรู้คำที่คิด เห็นอะไรก็คือรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรแล้วก็คิดถึงรูปร่างสัณฐาน คุณสุกัญญาเมื่อวานนี้เข้าใจอย่างนี้ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ แต่วันนี้ก็มีชีวิตอยู่จากเมื่อวานนี้แล้วก็สามารถที่จะได้ฟังได้เข้าใจขึ้น นี่คือประโยชน์ของการมีชีวิต แม้ว่าจะมีเห็น มีได้ยินเมื่อวานนี้ แต่วันนี้ก็ยังเข้าใจสภาพธรรมมากกว่าเมื่อวานนี้ ถ้ามีชีวิตต่อไปพรุ่งนี้ เข้าใจขึ้นอีกใช่ไหม
เพราะฉะนั้น “อายุบวร” มีอายุที่ยืนยาวเพื่อที่จะได้เข้าใจพระธรรม เพราะว่าต่อไปไม่แน่ใช่ไหม จะได้ฟังอีก หรือไม่ จะได้สะสมความรู้ที่มั่นคงขึ้นอีก หรือไม่ แต่สิ่งที่เข้าใจไม่สูญหาย เพียงแต่จะถูกกลบทับถมด้วยอกุศล ด้วยอวิชชา ด้วยความติดข้อง ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในเรื่องราว ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสุขจนกว่าจะมีโอกาสได้เข้าใจธรรมเมื่อไร ความเข้าใจนี้ก็ไม่สูญหาย แต่เมื่อเปรียบเทียบก็น้อย เพราะฉะนั้นจึงเห็นประโยชน์ของความเข้าใจ ไม่ใช่ฟังมาก ฟังน้อยแต่เข้าใจมากได้ จากการที่ฟังบ่อยๆ และก็เข้าใจมากขึ้นจนกระทั่งมีกำลังกว่าฝ่ายอกุศล
ผู้ฟัง ธาตุรู้เสียง หรือว่าได้ยิน จะไม่สามารถอธิบายออกมาได้ หรือ
ท่านอาจารย์ ถ้าอธิบายไม่ได้ก็เข้าใจไม่ได้
ผู้ฟัง ให้อธิบายสักหน่อย
ท่านอาจารย์ นอนหลับสนิท ทำไมว่าตื่น หลับสนิทไม่มีอะไรปรากฏ ไม่รู้ว่ามีธาตุอะไร มีธรรมอะไรเกิดดับทั้งสิ้น ไม่มีอะไรปรากฏให้รู้ หลับสนิทจริงๆ แล้วทำไมบอกว่าตื่น ถ้าไม่มีธาตุรู้เกิดขึ้นจะตื่นไหม วันนี้ลองดู หลับแล้วเมื่อไรก็ตาม ตื่นเป็นอย่างไร มีธาตุรู้ หรือบางคนอาจจะสงสัยว่าเราอยู่ที่ไหนใช่ไหม รู้ไหม ขณะนั้นคือความสงสัยเกิดแล้ว มีแล้ว ไม่ใช่ตอนที่หลับสนิทแล้วไม่รู้อะไร
เพราะฉะนั้นเพราะมีธาตุรู้ จึงตื่น แต่ตื่นด้วยอะไร ด้วยความสงสัย ด้วยความไม่รู้ แต่ถ้ามีการฟังที่มีความเข้าใจขึ้น ก็จะรู้ว่าขณะนั้นก็เป็นธรรม เห็น หรือไม่ “ธรรมคือสิ่งที่มีจริง” ลืมไม่ได้มีแน่นอน และก็หลากหลายด้วย ท่านที่เดินทางบ่อยๆ หรือจะไม่บ่อยก็ตามแต่ แต่พอตื่น ก่อนอื่นใดก็แล้วแต่ ขณะนั้นจะเป็นอะไร คุณอรรณพมีตัวอย่างใช่ไหม คุณอรรณพก็เดินทางบ่อย
อ.อรรณพ เดินทาง เราก็นอนหลับ ก็พักผ่อนเช้าขึ้นขยับตัวตื่นมาความเป็นเราก็มาแล้ว บางทีก็นึกไม่ออกว่า เราอยู่จังหวัดไหน
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นธาตุรู้ หรือไม่
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกอย่าง ทุกขณะจะไม่ขาดธาตุรู้ เพียงแต่ไม่รู้ว่าขณะนั้นมีธาตุรู้เกิดขึ้นแล้วปรากฏให้รู้ว่ามี ซึ่งตอนหลับสนิทไม่ได้ปรากฏว่ามี ปรากฏไม่ได้ตอนหลับสนิท แม้ความคิดว่าเราก็ไม่มี แต่พอตื่นแล้วมีใช่ไหม เราอยู่ที่ไหน นี่คือความหลากหลายของธรรมซึ่งเป็นธาตุแต่ละอย่าง
อ.กุลวิไล ซึ่งผู้ที่เขียนมาก็ถามสอดคล้องกับที่คุณสุกัญญาถามว่า “สภาพรู้ ธาตุรู้ มีอาการอย่างไร”
ท่านอาจารย์ คนนั้นไม่รู้ ต้องเป็นปัญญาจึงสามารถที่จะเริ่มเข้าใจสภาพรู้ซี่งกำลังรู้ในขณะนี้ได้
อ.กุลวิไล ธรรมก็เป็นปกติในชีวิตประจำวันนั่นเอง เพราะว่าเราก็มีทางที่ให้รู้ธรรมที่ปรากฏ ๖ ทางในชีวิตประจำวันคือทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เพราะฉะนั้นสภาพรู้ ธาตุรู้ต้องมี ถ้าอย่างนั้นเราจะบอกไม่ได้ว่าเรารู้อะไร
กราบเรียนท่านอาจารย์ มีคำถามท่านเขียนมาถามว่า “ขณะที่มีเรื่องราวเป็นอารมณ์ขอทราบว่าขณะนั้นมีปรมัตถ์เพียงหนึ่งเดียวคือจิตที่กำลังรู้เรื่องราวใช่ไหม”
ท่านอาจารย์ ทบทวนอีกครั้งทุกคนจะได้ฟังแล้วก็พิจารณาคำถามด้วย
อ.กุลวิไล ขณะที่มีเรื่องราวเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ใช่ไหม ธรรมต้องเดี๋ยวนี้ไม่อย่างนั้นก็ไม่เข้าใจ ฟังจบไปแล้วก็จำได้ไม่หมด ไม่รู้ด้วยว่าเมื่อไร แต่เดี๋ยวนี้กำลังมีเรื่องราวเป็นอารมณ์ คือเป็นสิ่งที่จิตเกิดขึ้น ไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้ยิน แต่กำลังนึกคิดเรื่องราวต่างๆ
อ.กุลวิไล ขอทราบว่าขณะนั้นมีปรมัตถ์เพียงหนึ่งเดียวคือจิตที่กำลังรู้เรื่องราวใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ใช้คำว่า “ปรมัตถ์”ขอเชิญคุณธิดารัตน์ ปรมัตถ์หนึ่งแล้วก็ยังบอกชื่อด้วย
อ.ธิดารัตน์ คำว่า “ปรมัตถ์ หรือว่าปรมัตถธรรม” หมายถึงธรรมที่มีสภาพจริงๆ ที่ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ ท่านผู้เขียนก็ยกตัวอย่างมาว่าขณะนั้นมีจิต แต่ถ้าเราจะเข้าใจละเอียดขึ้น จิตเป็นปรมัตถธรรมก็เป็นจิตปรมัตถ์ แต่จะมีจิตอย่างเดียวโดยไม่มีเจตสิกปรมัตถ์ได้ไหม เพราะฉะนั้นถึงแม้มีจิตขณะเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่ามีแค่เพียงจิตปรมัตถ์เกิดขึ้นเพียงปรมัตถ์เดียว หรือว่าหนึ่งเดียว
จิต ๑ ดวง หรือว่า ๑ ขณะจิตจะต้องประกอบด้วยเจตสิกต่างๆ ขึ้นอยู่กับว่าจิตดวงนั้นเป็นจิตประเภทไหน เพราะขณะที่มีเรื่องราวเป็นอารมณ์เป็นโลภะก็ได้ เป็นโทสะก็ได้ เป็นกุศลก็ได้ซึ่งจิตแต่ละประเภท ก็มีเจตสิกคือสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมเป็นเจตสิกปรมัตถ์มีจริงตามลักษณะของเขา เกิดประกอบกับจิต เกิดพร้อมจิตดับพร้อมจิตต่างๆ กัน ไม่เท่ากัน ก็ต้องเป็นเรื่องลายละเอียดที่ต้องศึกษา
แม้กระทั่งขณะที่มีเรื่องราวเป็นอารมณ์ เรื่องราวไม่มีสภาพธรรม ไม่ใช่สภาพธรรมเป็นบัญญัติเป็นเรื่อง ไม่มีลักษณะจริงๆ เรื่องราวจึงไม่ใช่ปรมัตถธรรมใดๆ เพราะว่าเป็นบัญญัติ แล้วจะมีแค่เพียงจิต และเจตสิกโดยไม่มีที่เกิดก็ไม่ได้ด้วย จิตเจตสิกก็ต้องอาศัยที่เกิดซึ่งเป็นรูปธรรม เป็นรูปมัตถ์อยู่ ซึ่งลายละเอียดก็มาก นี่ก็กล่าวโดยคร่าวๆ ว่าจะมีเพียงแค่จิตซึ่งเป็นปรมัตถ์เดียวไม่ได้ อย่างน้อยก็ต้องมีเจตสิกปรมัตถ์ ถ้าอาศัยที่เกิดก็ต้องมีรูปปรมัตถ์ในขณะนั้นด้วย
คำว่า “ปรมัตถธรรม” ก็คือสภาพธรรมที่กำลังมีอยู่ในขณะนั้น และก็มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ ทุกคนคิดบ่อยไหม ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไปว่าบ่อยขนาดไหน แต่ถ้าจะรู้เพียงแค่เห็นแล้วก็คิดต่อ ความคิดจากเห็น จากได้ยิน จากได้กลิ่น จากลิ้มรส จากรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสนี้จะมากสักแค่ไหน และแม้ไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสิ่งที่กระทบสัมผัส ก็ยังคิด
เพราะฉะนั้นคิดมีจริงแน่นอนเป็นธรรม ยังไม่ต้องติดคำว่า “จิต” หรือว่ายังไม่ต้องไปติดคำว่า “นามธรรม” เพียงแค่รู้ว่าคิด มี เป็นธรรมแน่นอน มองเห็นไหมว่าคิดเป็นอย่างไร ก็ไม่เห็น เพราะฉะนั้นเราจะใช้ชื่อก็ได้ไม่ใช้ชื่อก็ได้ แต่ถ้าใช้ชื่อเราจะไปติดที่ชื่อ เป็นจิตแล้วก็เป็นนามธรรม แต่ถ้าคิดเกิดขึ้นรู้ ทันทีที่คิดก็รู้ ขณะนั้นก็เป็นคิดเป็นธรรมอย่างหนึ่งไม่ต้องเรียกชื่อ ก็จะค่อยๆ คุ้นกับลักษณะของจิต ไม่ใช่เรียกชื่อว่าจิต ปรมัตถธรรมมี ๔ คือจิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ว่าเดี๋ยวนี้จิตคิดก็ไม่รู้ว่าเป็นจิตที่คิด และจิตจะเกิดตามลำพังไม่ได้ ไม่มีสภาพธรรมใดที่จะเกิดขึ้นโดยไม่อาศัยธรรมอื่นเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้นที่จิตเกิดแต่ละขณะต้องมีสภาพธรรมซึ่งเป็นนามธรรม อาศัยกันเกิดขึ้นรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดพร้อมกันด้วย และก็ดับพร้อมกันด้วย
เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ กำลังเห็นเดี๋ยวนี้มีเห็น เป็นธาตุที่กำลังเห็นเป็นใหญ่เป็นประธานในการเห็นเฉพาะรู้สิ่งที่ปรากฏนั่นคือจิต สิ่งอื่นจากนี้ทั้งหมดเป็นเจตสิกซึ่งมองไม่เห็น เช่นเจตนาเจตสิก ความจงใจตั้งใจมีไหมวันหนึ่งๆ ก็มองไม่เห็น เกิดโดยไม่มีจิตได้ไหม ไม่ได้ โดยไม่มีอารมณ์ปรากฏว่ามีความจงใจตั้งใจอะไรได้ไหม ก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่อาศัยกัน และกันเกี่ยวข้องกันเกิดขึ้นเป็นไปทุกขณะอย่างรวดเร็ว ซึ่งการศึกษาต้องตามลำดับว่าสภาพธรรมที่จะเกิดตามลำพังไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตไม่ว่าเกิดที่ไหนต้องมีนามธาตุซึ่งเกิดแต่ไม่ใช่จิต หลากหลายต่างกับจิตเป็นเจตสิกประเภทต่างๆ เกิดพร้อมกันแล้วก็ดับพร้อมกัน ถ้าเข้าใจอย่างนี้จะเปลี่ยนไหม จะมีคำถามไหมว่าขณะที่เห็นมีจิตแล้วก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือไม่ เพราะฉะนั้นก็จะไม่มีแต่ว่าสภาพธรรมจะปรากฏเพียงทีละหนึ่งอย่างให้รู้ได้
อ.กุลวิไล ขอเชิญคุณวิชัยร่วมสนทนาในประเด็นนี้
อ.วิชัย ถ้าเราพิจารณาในขณะที่คิดมีความรู้สึกไหม บางครั้งก็คิดแล้วมีความรู้สึกที่เสียใจก็มี หรือว่าดีใจก็มี หรือว่าเฉยๆ ก็มี ขณะนั้นก็เป็นธรรมขณะนั้นไม่ใช่จิต แต่เป็นธรรมอีกอย่างหนึ่งที่เกิดร่วมกันกับจิตคือความรู้สึก เสียใจบ้าง ดีใจบ้าง หรือว่าเฉยๆ บ้าง และก็มีความหมายรู้คือสัญญาความจำในสิ่งที่กำลังคิดด้วย
เพราะฉะนั้นถ้าศึกษาละเอียดก็เป็นธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น แล้วก็มีปัจจัยปรุงแต่งให้ธรรมแต่ละขณะ แต่ละขณะเกิดขึ้น ดังนั้นถ้าศึกษา และพิจารณาธรรมที่มีที่กำลังปรากฏขณะนี้ก็จะเข้าใจ และก็ไม่สงสัยว่าขณะที่จิตกำลังคิดถึงเรื่องราวก็มีธรรมที่เกิดร่วมกันกับจิตด้วยเป็นเจตสิกประเภทต่างๆ
ส่วนรูปก็เป็นธรรมที่ไม่รู้อะไร เกิดขึ้นโดยสมุฏฐาน โดยกรรม โดยจิต โดยอุตุ โดยอาหาร รูปเป็นธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะต่างๆ แบ่งออกเป็น ๒๘ ประเภท อย่างเช่นรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธานเรียกว่า “มหาภูตรูป” มี ๔ รูปด้วยกันคือธาตุดิน ขณะที่แข็งขณะนั้นเป็นลักษณะของธาตุดิน แต่ขณะที่รู้แข็ง ธาตุรู้เป็นจิต แข็งเป็นรูป แต่ขณะที่รู้แข็งเป็นจิตกำลังเกิดขึ้นรู้แข็ง ซึ่งต้องมากระทบกับที่กาย จะกระทบตรงส่วนอื่นภายนอกกายก็ไม่รู้ ขณะที่ยังไม่จับโต๊ะก็ไม่รู้ว่าแข็งอย่างไร แต่ว่าเมื่อแข็งมากระทบกับกายประสาทรูป กายประสาทรูปนั้นเป็นทวารให้จิตเกิดขึ้นรู้แข็ง
สิ่งนี้ก็จะเป็นธรรมแต่ละอย่างๆ เมื่อศึกษาละเอียดก็จะรู้ว่ารูปก็คือเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ก็มีหลายประเภท ธาตุดินมีลักษณะคือแข็ง อ่อน ธาตุน้ำก็เกาะกุม หรือเอิบอาบ ธาตุไฟก็เย็นร้อน ส่วนธาตุลมก็ตึงไหว มีลักษณะของรูปแต่ละรูปที่สามารถที่จะเข้าใจได้ก็เป็นปรมัตถธรรม
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำว่า “จิต” ปรมัตถธรรมคือสิ่งที่มีจริงแม้ไม่บอกว่าจิตเป็นปรมัตถธรรมแต่ก็เข้าใจ ปรมัตถธรรมคือสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้น จิตก็เป็นปรมัตถธรรม ต้องเรียกว่าจิตปรมัตถ์ไหม เรียกได้ไหม เรียกก็ได้ ไม่เรียกก็ได้ ขอให้เข้าใจ
เพราะฉะนั้นเวลาพูดถึงเจตสิกความจริงทุกคนคุ้น แต่ไม่รู้ว่าเป็นเจตสิก เวลาที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วชอบ วันนี้มีดอกค้างคาวก็น่ารัก ไม่ทราบว่ามีใครรู้บ้างว่าเป็นดอกค้างคาว เหมือนไหม เป็นดอกไม้ที่มีรูปร่างเป็นค้างคาวได้ คิดดู นี้คือคิดแล้วใช่ไหม เห็นเพียงแค่สี กลายเป็นดอกไม้แล้วยังมีรูปร่างเป็นค้างคาวด้วย ก็แสดงว่าขณะนั้นจิตเป็นธาตุที่รู้แจ้งจนกระทั่งปรากฏว่าสิ่งนี้เป็นอะไร พอรู้แล้วชอบไหม เพราะฉะนั้นความชอบ หรือไม่ชอบหลังจากที่เห็นแล้วไม่ใช่จิต แต่เป็นเจตสิก
ลองคิดถึงสภาพของจิตทั้งวัน หรือว่าส่วนใหญ่ หรือตั้งแต่เกิดจนตาย มีความชอบมากไหม ชอบไปหมด สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นเสื้อผ้าก็ชอบ เป็นอาหารก็ชอบ เป็นอะไรๆ ก็ชอบ โต๊ะ เก้าอี้ทุกอย่างขอให้ปรากฏ มีความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจะรู้จักลักษณะของความชอบไหม ก็ในเมื่อทุกคนก็ชอบ แล้วจะบอกว่าไม่รู้จักชอบ ไม่ได้เลย ใช่ไหม แต่ไม่รู้ว่าชอบเป็นธรรมซึ่งมีลักษณะที่ติดข้อง ซึ่งเกิดเมื่อไรก็เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้ แล้วก็ไม่ใช่เราด้วย และก็ไม่ใช่ของเราด้วย แล้วกว่าจะรู้ว่าเป็นความติดข้อง จริงๆ แล้วดี หรือไม่ เห็นไหม ไม่รู้
ด้วยเหตุนี้จิตก็เป็นธาตุที่เกิดขึ้นแล้วรู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏ แต่ไม่เป็นอย่างอื่นนอกจากรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ และก็มีเจตสิกที่เกิดกับจิตที่หลากหลาย แต่ให้ทราบว่าที่บ่อยมากเป็นปกติก็คือความไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ความไม่รู้ภาษาบาลีก็ใช้คำว่า “อวิชชา” ไม่รู้ความจริง เห็นไหมดอกค้างคาวอย่างนี้แล้วจะไปรู้อะไร ในสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็น แล้วก็ยังคิดนึก แล้วก็เป็นสิ่งต่างๆ แล้วก็เรียกชื่อ
พอพูดว่า “ดอกค้างคาว”นี่ทุกคนมองแล้วใช่ไหม ความละเอียดไม่ใช่มีแต่เพียงลักษณะของปีกที่เหมือนค้างคาว ยังมีอะไรๆ อีกตั้งหลายอย่าง ก็แสดงให้เห็นว่าโลภะติดข้องโดยไม่รู้ตัวพร้อมอวิชชาคือไม่รู้ความจริงว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ เมื่อธาตุรู้เกิดขึ้น ถ้าจิตไม่เกิดเห็นจะไม่มีอะไรที่จะปรากฏให้เห็นได้สักอย่างแม้ว่าสิ่งนั้นจะมีจริง
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมไม่ว่าจะใช้คำว่า “จิต” ไม่ว่าจะใช้คำว่า “เจตสิก” ก็คือชีวิตประจำวันซึ่งมีแต่ไม่เคยรู้ เพราะฉะนั้นเวลานี้ก็สามารถที่จะรู้ธาตุที่ต่างกันคือธาตุที่เป็นจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่ปรากฏ และความไม่รู้ หรือความชอบความไม่ชอบก็เป็นเจตสิก รู้สึกว่าโลภะความติดข้องไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนถ้าน้อยใช่ไหม แต่ถ้ามากมีใครอยากได้ต้นนี้ไปบ้านบ้าง เอาไปปลูกก็คงจะดี ไม่ต้องมาดูที่นี่ หรืออะไรอย่างนั้น ใช่ไหม
เพราะฉะนั้นโลภะทำให้เกิดความเดือดร้อน หรือไม่ ถ้ามากแล้วก็ไม่ได้สิ่งที่ต้องการสบายใจ หรือไม่ โทสะทั้งหลายเกิดเพราะความติดข้อง
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720