พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
ตอนที่ ๖๘๐
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ท่านอาจารย์ ขณะที่มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตากระทบกับจักขุประสาทรูป ขณะนั้นมีโสตประสาทรูป หรือไม่
ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏทางตากระทบกับจักขุประสาทรูป
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นมีโสตประสาทรูป หรือไม่
ผู้ฟัง จิตเกิด หรือยัง
ท่านอาจารย์ สิ่งนี้คือเหตุผล การฟังธรรมไม่ใช่ถามแล้วคนอื่นตอบแล้วเราก็เชื่อ แต่จากการฟังต้องพิจารณาไตร่ตรอง แล้วเป็นผู้ที่ตรงต่อเหตุผล ตรงต่อความเป็นจริง เปลี่ยนความจริงไม่ได้ เมื่อสักครู่บอกว่ากัมมชรูปทุกรูปเกิดทุกอนุขณะของจิต เปลี่ยนได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ขณะนี้มีกัมมชรูปที่เกิด และก็ดับไป หรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เพราะว่ากัมมชรูปทั้งหมดเกิดทุกอนุขณะของจิต เพราะฉะนั้นในขณะที่กำลังเห็นมีโสตประสาทรูปไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วดับแล้ว ปรากฏ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ แล้วจะรู้อะไร รู้ได้ไหม ดับแล้วด้วย แล้วจะรู้อะไร แล้วคิดเรื่องอะไร คิดเรื่องสิ่งที่รู้ไม่ได้ หรือว่าขณะนี้มีสภาพธรรมที่ปรากฏให้รู้ได้ ให้เข้าใจได้ แล้วเมื่อไรจะรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏเมื่อคิดถึงเรื่องรูปอื่น เช่นโสตประสาทรูป ฆานประสาทรูปในขณะนี้ ในขณะที่กำลังเห็นแล้วเมื่อไรจะรู้ว่าเห็นมีจริงๆ เป็นธรรมที่เกิดแล้วก็ดับไปด้วย ถ้าไม่รู้เดี๋ยวนี้จะรู้เมื่อไร ไม่มีวันที่จะรู้ได้ ถ้าไม่เริ่มรู้ในขณะที่กำลังปรากฏ ในเมื่ออย่างอื่นไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้นเท่าที่ทุกคนจะเข้าใจได้กัมมชรูปเกิดทุกอนุขณะของจิต ใครทำ
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ แต่รูปนั้นเกิดเพราะกรรมแน่นอน ถ้าไม่มีเหตุคือกรรม รูปนั้นก็เกิดไม่ได้ และรูปที่เกิดทุกอนุขณะของจิตดับ หรือไม่
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ ดับ เมื่อไม่ปรากฏจะรู้ได้ไหม รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะรู้ได้เฉพาะสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ถ้าตราบใดยังไม่รู้สิ่งที่ปรากฏ จะไปคิดเรื่องประสาทรูปทั้งหลายซึ่งเกิดแล้วดับแล้ว แล้วก็ไม่รู้ แล้วคิดทำไม
ผู้ฟัง แต่มีจริงๆ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เมื่อกี้ตอบว่าอย่างไร
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ แล้วจริงๆ หมายความว่าอย่างไร มีไม่จริงด้วย หรือ
ผู้ฟัง คือไม่ได้ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ แต่จะบอกว่าไม่มี หรือ
ผู้ฟัง อย่างนั้นแค่ขณะ คือแค่กระพริบตาก็มีเยอะมาก
ท่านอาจารย์ ที่ตัวก็มี นอกตัวก็มี ในป่าก็มี ที่ไหนก็มี เมื่อมีปัจจัยที่อะไรจะเกิดก็เกิด ใช่ไหม มีปัจจัยที่จะเกิด ถ้ากรรมเป็นปัจจัยให้เกิดก็ต้องเกิด ถ้าจิตเป็นปัจจัยให้เกิดก็ต้องเกิด และจิตไม่ได้มีที่นี่แห่งเดียว นิดเดียว คนเดียว ตั้งเยอะแยะไป
ผู้ฟัง และเมื่อเกิดขึ้นกระทบก็มีไม่กระทบก็มี ถึงเวลาเกิดก็เกิด ถึงเวลาดับก็ดับใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เวลานี้มีมากมาย สุดที่จะรู้ได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ใช่
ผู้ฟัง ในขณะที่ได้ยิน ก็มีอาการของการที่โสตประสาทที่ได้กระทบกับเสียงนั้นด้วย ทีนี้ในลักษณะนี้ก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย หรืออย่างไร ที่ว่าโอกาสที่ผู้ใดที่มีความเข้าใจจะระลึกได้ อาจระลึกได้ถึงการได้ยินก็ได้ หรืออาจระลึกได้ว่ามีเสียงอย่างนี้เป็นต้น
ลักษณะนั้นจะเกิดพร้อมกัน จะมีสาเหตุอย่างไร หรือว่ามันเป็นเหตุปัจจัยเองที่จะได้ยิน หรือได้ระลึกเสียง
ท่านอาจารย์ ได้ยินบ่อยๆ แต่ว่าถ้าไม่เคยฟังพระธรรม สามารถที่จะมีการรู้ลักษณะที่ได้ยินกับเสียง หรือไม่ เพราะเหตุว่าที่ใช้คำว่า “ระลึก” นี่ไม่ใช่ระลึกเรื่องอื่นเป็นเรื่องราว แต่หมายความว่าเพราะได้มีความเข้าใจธรรม และก็รู้ว่าในขณะที่กำลังฟังก็มีธรรม แต่ว่าไม่ได้รู้ลักษณะที่แท้จริงของธรรมที่กำลังปรากฏเกิดขึ้น และดับไป เพียงแต่กำลังฟังเรื่องราวของธรรมทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเห็น หรือเรื่องได้ยิน เรื่องเสียง หรือสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็กำลังฟังให้เข้าใจ แต่ว่ามีใครบ้างที่กำลังระลึกคือกำลังเข้าใจตรงลักษณะที่เป็นธรรมที่กำลังได้ยินในขณะนี้
เพราะฉะนั้นต้องมีความเข้าใจก่อนจึงสามารถที่จะเป็นปัจจัยให้เริ่มเข้าใจเมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกำลังปรากฏ เพราะว่าขณะนี้ก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏแต่ก็ไม่ได้เข้าใจสักอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาให้เห็น หรือว่ากำลังเห็น หรือว่าเสียง หรือว่าคิดนึก ไม่ได้มีความเข้าใจทั้งๆ ที่สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เกิดปรากฏ ต่อเมื่อได้ฟังธรรมเข้าใจแล้วก็จะรู้ว่าแม้ขณะที่กำลังฟัง สภาพธรรมต่างๆ เหล่านี้ก็มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วดับไป โดยที่เพียงฟังเรื่องของสภาพธรรมนั้น จนกว่าจะเริ่มเข้าใจลักษณะตรงลักษณะเพียงแต่ละลักษณะหนึ่งที่ปรากฏ
ไม่ใช่ระลึกเฉยๆ แต่ขณะนั้นที่ใช้คำว่า “ระลึก”เพราะกำลังเข้าใจ เริ่มเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงในขณะนั้นว่าสิ่งนี้มีจริงๆ ตรงกับคำว่า “ธรรม” คือสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้นแทนที่จะไปนึกถึงชื่อธรรมแต่เริ่มรู้ว่า ขณะนี้สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้เป็นจริงอย่างนี้ตามที่ได้ฟัง แต่ก็จะต้องเริ่มเข้าใจขึ้นทีละลักษณะ
นี่เป็นศรัทธาที่ไม่หวั่นไหว หรือไม่ ฟังอย่างนี้ มีสิ่งที่ปรากฏสามารถจะรู้ได้ด้วยแต่ต้องเพราะเริ่มเข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟัง ซึ่งเป็นเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้นั่นเอง แต่จะเข้าใจมากน้อยแค่ไหน และเริ่มจะรู้ลักษณะจริงๆ ของธรรมตรงกับที่ได้ฟังเมื่อไร นั่นก็เป็นเรื่องของอนัตตา แล้วก่อนที่จะถึงอย่างนั้นก็คือว่ากำลังฟังอย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้ รู้ว่าเป็นจริงอย่างนี้ แล้วมั่นคงไม่หวั่นไหวที่จะฟังให้เข้าใจขึ้น เพราะรู้ว่าสิ่งที่มีในขณะนี้ ผู้ที่ได้ทรงแสดงทุกคำเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะทำให้ เข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย
และสำหรับข้อสงสัยเรื่องคิหิสูตร คิหิคือคฤหัสถ์ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกะไปเฝ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขของคฤหัสถ์ เราคฤหัสถ์ใช่ไหม อยู่เป็นสุข หรือยัง หรืออยู่เป็นสุขทุกวันแล้วไม่ต้องฟังพระธรรมก็เป็นสุข ไม่ใช่อย่างนั้น เดือดร้อนไหมแม้แต่จะสงสัย แม้แต่จะคิด แม้แต่ควรจะทำอย่างนี้ หรือควรจะทำอย่างนั้น หรือจะต้องทำอย่างนั้นจะต้องทำอย่างนี้ นี่ก็คือสุข หรือไม่ สงสัยนี่สุขไหม ไม่สุข
เพราะฉะนั้นจะคลายความสงสัย จะละความสงสัยทีละเล็กทีละน้อยได้ด้วยการเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง ซึ่งเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงจากการที่ทรงตรัสรู้ ไม่ใช่คิดเอง เพราะฉะนั้นขณะที่ฟังมีความเข้าใจที่มั่นคงขึ้นว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง ที่สามารถที่จะเข้าใจตามที่ทรงแสดงได้ เมื่อมีความเข้าใจก็ไม่หวั่นไหว นี่ยังไม่ถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรม เพียงแค่ไม่หวั่นไหวในความจริงที่ได้ฟัง ในสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ว่าเป็นจริงอย่างนี้ สามารถรู้ได้แต่ต้องเข้าใจขึ้น ไม่ใช่ว่ารู้ได้แค่นี้ก็พอแล้ว นี่คือหวั่นไหวไหม ไม่รู้ว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่ออะไร เพื่ออนุเคราะห์คนที่ได้ยินได้ฟังให้เกิดความรู้ความเข้าใจของตนเอง ไม่ว่าใครจะพูด พูดอย่างไรก็ตามแต่ฟังแล้วพิจารณาไตร่ตรองเป็นความเข้าใจในสิ่งที่มีจริงที่กำลังได้ฟังเมื่อไร นั่นจึงจะค่อยๆ มั่นคงในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะรู้พระคุณจริงๆ
ถ้าไม่มีการบำเพ็ญพระบารมี ไม่ทรงตรัสรู้ ไม่มีใครจะได้ยินแต่ละคำที่กำลังได้ยินในขณะนี้ว่าเป็นธรรม เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรมมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ว่างเปล่าจริงๆ เพียงเกิดแล้วก็ดับแล้วก็ไม่กลับมาอีก นี่คือแต่ละคำซึ่งจะทำให้เข้าใจมั่นคงขึ้นในความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สิ่งนี้ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด ที่ก็ได้มีการประชุมวิชาการว่าพระองค์นั้นพระองค์ไหน ช่างสงสัยไปหมดเพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นจากการที่เราค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจจนกระทั่งมั่นคง มีความมั่นคงในพระปัญญาคุณ ในปริยัติที่ได้ยินได้ฟังย่อมทำให้สามารถที่จะถึงกาลที่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะเข้าใจจากการฟังแล้ว ถ้าไม่มีการเข้าใจจากการฟังไม่มีทางที่จะเริ่มเข้าใจความเป็นจริงของธรรมที่ได้ยินได้ฟังว่าเป็นอย่างนี้ แต่ยังไม่เริ่มที่จะรู้ลักษณะจริงๆ ที่เป็นอย่างนี้ เพราะว่าต้องเป็นไปตามลำดับ จนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์แจ้ง เมื่อนั้นความไม่หวั่นไหวในศรัทธาต่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อพระธรรม และต่อพระอริยสงฆ์
ไม่ได้หมายความว่าให้ใครไปเคารพในพระรัตนตรัยอย่างที่เราบอกว่า “ควรกราบไหว้บูชาพระรัตนตรัย” แต่ถ้าไม่มีการศึกษาให้เข้าใจ กราบด้วยอะไร มีความศรัทธา มีความเคารพมั่นคงแค่ไหน เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้มีความเข้าใจธรรมนั่นเองเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจากการที่ได้เข้าใจธรรมจนกระทั่งได้ประจักษ์แจ้งความจริงของธรรม
คุณธรรมนั้นคือว่ามีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหวในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ เพราะถึงความเป็นสงฆ์ หรือความเป็นพระอริยบุคคลด้วยตนเอง อย่างท่านอนาถบิณฑิกะ ท่านจะเลื่อมใสแต่เฉพาะพระพุทธเจ้า และพระธรรมเท่านั้น หรือ อย่างบางคนก็สงสัยว่า ท่านก็เป็นพระอริยบุคคล และท่านจะต้องเลื่อมใสในพระอริยบุคคลอื่นด้วย หรือ
พระอริบุคคลทั้งหลายไม่ใช่ใคร แต่เป็นธรรมที่เป็นปัญญาที่สามารถจะรู้แจ้งสภาพธรรม เพราะฉะนั้นเลื่อมใสในปัญญาที่ถึงความสามารถเห็นความจริง รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เพราะฉะนั้นความเลื่อมใสใครก็เลื่อมใสได้ ไม่ใช่ว่าเป็นพระอริยบุคคลแล้วไม่เลื่อมใสอะไร แต่ก็เลื่อมใสในสิ่งที่ควรเลื่อมใส และในขณะที่มีความมั่นคงเพราะรู้แจ้งอริยสัจธรรมดับกิเลสแล้วจึงเป็นผู้ที่มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขโดยมีศีล ๕ บริบูรณ์สำหรับพระโสดาบันบุคคล นี่ก็แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ให้ใครไปเคารพ ไม่ใช่ ๔ อย่างนี่เพื่อเคารพแต่ว่าเป็นคุณธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขของผู้ที่เป็นพระอริยบุคคล
ผู้ที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจธรรมก็เห็นความห่างไกลกันมาก มีความมั่นคงในพระปัญญาคุณ ในพระบริสุทธิคุณ ในพระมหากรุณาคุณที่ทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียดโดยประการทั้งปวง ซึ่งถ้าเป็นผู้ที่ได้อบรมเจริญปัญญามาแล้วอย่างท่านพระสารีบุตร ฟังสั้นๆ นิดหน่อยก็รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แต่ทำไมทรงแสดงถึงความจริงโดยละเอียดยิ่งเช่นแต่ละขณะจิต ตั้งแต่ปฏิสนธิมีปัจจัยอะไร มีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วย และความเป็นไปตั้งแต่ปฏิสนธิจนกว่าจะถึงจุติ ก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยโดยละเอียดยิ่ง เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใครแต่เป็นธรรม หรือเป็นธาตุ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นพวกเราๆ นี่ก็คงไม่ได้อยู่ด้วยความเป็นสุข
ท่านอาจารย์ เมื่อไรมีพระรัตนตรัยเป็นที่เคารพขณะนั้นเป็นสุขแน่ แต่มั่นคง หรือยัง หวั่นไหว หรือไม่ ไม่ฟังธรรมกับฟังธรรมมีไหม ท่านที่ฟังธรรมทุกคนฟังอย่างอื่นด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง ฟัง
ท่านอาจารย์ ฟัง ก็ฟังอย่างด้วย ก็เป็นปกติใช่ไหม เพราะฉะนั้นเป็นสุขเมื่อได้ฟังธรรม เข้าใจธรรมไม่ใช่ในขณะอื่น แม้แต่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขก็ต้องในขณะที่มั่นคงในพระรัตนตรัย ในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ และในศีลที่เมื่อไม่กระทำทุจริต เพราะไม่ใช่วิสัยของผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรมที่จะกระทำทุจริตที่จะเป็นการล่วงศีล ๕ เพราะฉะนั้นขณะใดที่ไม่ล่วงเป็นสุขไหม
ผู้ฟัง เป็นสุข แต่ว่าบางครั้งเราฟังธรรมก็จะรู้สึกจะเบื่อแล้ว นี่ก็คงไม่เรื่องของความมั่นคงแน่นอน
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นไม่มั่นคง แต่ห้ามไม่ให้เบื่อได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เห็นความเป็นอนัตตาไหม เพราะฉะนั้นถึงจะอย่างไรก็ตามก็ไม่ลืมว่าเป็นอนัตตา ถ้าสามารถที่จะเข้าใจได้มั่นคง ไม่ได้ห้าม ไม่ได้บังคับ ไม่ใช่ควรจะทำอย่างไร ฟังอย่างไรถึงจะเข้าใจ ฟังอย่างไรสติปัฏฐานถึงจะเกิด ควรคิดอย่างไร ควรทำอย่างไร ไม่ใช่ เข้าใจให้ถูกต้องว่าเป็นธรรมที่เป็นอนัตตา
ผู้ฟัง คือในขณะที่เราได้ยิน ไม่ใช่เราได้ยิน ขณะที่ได้ยิน หรือว่า
ท่านอาจารย์ ต้องใช้คำว่า “เรา” ไม่ใช่คนอื่น คุณวีระได้ยิน
ผู้ฟัง คือเราได้ยิน หรือว่า เราได้รู้เสียงที่ปรากฏบางครั้งการที่จะไปตั้งใจที่จะไปรู้เสียง หรือรู้ได้ยินนี่ เหตุการณ์อื่นก็อาจเกิดขึ้น หรือแม้ขณะฟังท่านอาจารย์ก็คิดไปอย่างอื่นได้
ท่านอาจารย์ เห็นไหม อนัตตา กลับอยากจะไปไม่เป็นอย่างนี้ แทนที่จะเข้าใจความจริงว่าเกิดแล้วดับแล้ว บังคับบัญชาไม่ได้ และต่อจากนี้ขณะต่อไปอะไรจะเกิดก็ไม่รู้จนกว่าจะเกิด นี่คือความมั่นคง
อ.กุลวิไล มีคำถามจากท่านผู้ถามว่า “เป็นผู้เที่ยวกลางคืนไม่ว่าจะไปคนเดียว หรือไปกับบุตร ภรรยาก็มีโทษทั้งสิ้นใช่ไหม”
อ.คำปั่น เป็นธรรม ทุกขณะของชีวิตก็ไม่พ้นไปจากธรรม ซึ่งทุกท่านที่ได้ฟังธรรม ได้ฟังรายการแนวทางเจริญวิปัสสนาที่ท่านอาจารย์ได้นำพระสูตรชื่อว่า “สิงคาลกสูตร” มาแสดง ท่านก็คงจะทราบว่าอบายมุขซึ่งเป็นบาป หรือเป็นทางแห่งความเสื่อม เสื่อมทั้งโภคะ และก็เสื่อมทั้งคุณธรรม เสื่อมจากคุณธรรมด้วยว่ามีอะไรบ้าง
ซึ่งอบายมุขมี ๖ ประการ ประการที่ ๑ คือดื่มสุรา ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ประการที่ ๒ คือเที่ยวกลางคืน ประการที่ ๓ เที่ยวดูการละเล่น ประการที่ ๔ เล่นการพนัน ประการที่ ๕ คบคนชั่วเป็นมิตรเป็นสหาย และประการที่ ๖ ประการสุดท้ายเป็นผู้ที่เกียจคร้าน นี้เป็นทางแห่งความเสื่อม
ซึ่งคำถามซึ่งท่านผู้ถามได้ถามเป็นเรื่องของการเที่ยว ซึ่งจะเห็นได้ว่าธรรมเป็นอนัตตา ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ถึงแม้จะบอกว่าตั้งใจจะฟังธรรมตลอด ในช่วงเวลาที่มีโอกาสก็จะฟังตลอด แต่บางครั้งบางคราวก็ไม่ได้ฟัง แล้วแต่อะไรจะเกิดขึ้นแต่อย่างไรก็ตามผู้ที่เห็นประโยชน์ก็จะไม่ทอดทิ้งในการที่จะฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา อย่างเช่นในขณะนี้เป็นผู้ที่ไม่เกียจคร้านใช่ไหม สละเวลาสละความสุขมาเพื่อที่จะฟังพระธรรม ฟังความจริง ในการฟังแต่ละครั้งก็เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา จากที่ไม่เคยรู้ก็จะค่อยๆ รู้ขึ้นเข้าใจขึ้นจากการฟังในแต่ละครั้ง
ท่านอาจารย์ คุณคำปั่นคะ เพราะว่าตามความเป็นจริงจะไปเที่ยวกลางคืน กลางวัน เช้า สาย บ่าย ค่ำเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล จะไม่เที่ยวไป เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล
เพราะฉะนั้นความเป็นจริงก็คือควรจะรู้ความจริงซึ่งเป็นปัญญา แต่ถ้าให้คนนั้นสามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าขณะใดก็ตามแม้แต่ขณะนี้ที่กำลังฟังพระธรรม เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ตลอดไป หรือว่าชั่วครั้งชั่วคราว ใช่ไหม
อ.กุลวิไล ก็ชัดเจน เพราะว่าก็คือสภาพจิตนั่นเองเป็นบาป หรือเป็นบุญ แต่เราจะไปมุ่งถึงการกระทำ แต่ขณะนั้นถ้าเป็นอกุศลแม้แต่อยู่ที่บ้านไม่ได้ไปเที่ยวไหนแต่จิตเป็นอกุศล
กราบเรียนท่านอาจารย์ มีท่านผู้ถามส่งคำถามมาว่า “ผมคิดว่าผมไม่มีเจตนาเหยียบมดตายแต่ก็เหยียบมดตายโดยไม่มีเจตนาจะเหยียบให้มดตาย ถูกไหม ผมควรจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูก”
ท่านอาจารย์ ถูกไหม มาอีกแล้วคือถามคนอื่น เจตนาที่จะมาฟังธรรมมี ใช่ไหม ไม่ได้ไปเที่ยว ไปหาเพื่อน ไปธุระอื่น แต่เจตนาที่จะฟังธรรมคือสิ่งซึ่งคิดเองไม่ได้ ต้องอาศัยพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงแสดงไว้แล้ว เพราะฉะนั้น เจตนาที่จะเข้าใจธรรมจากการฟัง ตอบเองได้ไหมว่าเป็นเจตนาที่ดี หรือว่าเป็นเจตนาที่ไม่ดี แทนที่จะถามคนอื่น แล้วเป็นกุศล หรือไม่
การฟังให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงแล้วไม่เคยรู้มาก่อน และรู้ว่าถ้าฟังแล้วสามารถที่จะเริ่มเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นก็เห็นประโยชน์ของการเข้าใจสิ่งที่มีตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งไม่เคยเข้าใจ ขณะนั้นการศึกษาเพื่อที่จะได้เข้าใจถูกต้องในสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ เป็นเจตนาที่ดี หรือไม่ดี ให้คิด และก็ตอบได้เอง ใช่ไหม
ไม่ได้เจตนาที่จะไม่เข้าใจสิ่งที่มี คนที่ไม่ต้องการที่จะเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏทีมีจริงๆ มีมากไหม เสียเวลา ฟังอะไร ในเมื่อสิ่งนี้ก็เป็นปกติ และทำไมจะต้องมีการฟังให้เข้าใจอะไรอีก บางคนก็อาจคิดอย่างนั้น แต่คนที่เห็นประโยชน์ว่าเกิดมาแล้วมีสิ่งที่ปรากฏ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวได้ลาภ เสื่อมลาภ ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร มาจากไหน อย่างไร แต่มีผู้ที่สามารถที่จะรู้โดยละเอียด แสดงความจริงให้คนอื่นได้เข้าใจได้ เพราะฉะนั้นควรแก่การที่จะเข้าใจ คิดอย่างนี้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล เป็นกุศล
ความตั้งใจ ดับไหม ถ้าศึกษาว่าธรรมใดๆ ก็ตามเพราะมีปัจจัยจึงเกิดเป็นตามปัจจัยไม่เป็นอื่น เมื่อเกิดแล้วก็คือไม่เที่ยง เกิดแล้วเท่านั้นเอง แค่เกิดแล้วก็ดับ นี่คือความจริงเป็นสัจธรรม เพราะฉะนั้นแม้แต่ความตั้งใจที่เป็นกุศลที่จะฟังธรรม มีขณะใด ขณะนั้นเกิดเป็นอย่างนั้นแล้วก็ดับไป ไม่กลับมาอีกด้วย
เพราะฉะนั้นขณะที่มีความตั้งใจที่จะฟังธรรมเป็นกุศลดับแล้ว ต่อจากนั้นอะไรจะเกิดใครรู้บ้าง เตรียมให้กุศลเกิดได้ไหม ไม่มีทาง นี่คือการรู้ความจริงว่าทุกอย่างไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา เพราะฉะนั้นกำลังเหยียบมดมีเจตนา หรือไม่ที่จะให้มดตายเพราะรู้ภายหลัง ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ แต่ถ้าขณะนั้นเห็นมด ตอนนี้จะเหยียบให้ตาย หรือว่าจะไม่เหยียบมดก็ขึ้นอยู่กับเจตนา หรือความจงใจ ถ้าจะให้ตายเป็นกุศลไม่ได้ เบียดเบียนทำร้าย แม้สิ่งซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อนคือมดตัวนั้น ใครเคยเห็นมดตัวนั้น โกรธมดตัวนั้นมาก่อนที่จะพยาบาทอาฆาต หรือไม่
แต่ความที่สะสมมาที่จะทำร้าย ประทุษร้าย จากที่ไม่เคยรู้จักไม่เคยเห็นก็ยังสามารถที่จะทำร้ายจนกระทั่งถึงชีวิตได้ นี่แค่มด แล้วถ้าเป็นคน ไม่เคยพบกัน ไม่เคยรู้จักว่าเขาเป็นใคร ครอบครัวเขาเป็นอย่างไร แต่ก็มีเจตนาในขณะที่กำลังประทุษร้าย เพราะฉะนั้นก็แสดงกำลังของเจตนา และความไม่รู้ และความเป็นสภาพธรรมที่สามารถประทุษร้ายคนอื่นได้ เป็นอกุศลระดับไหน เพราะฉะนั้นก็จะเห็นความจริงว่าธรรมให้เราเข้าใจ สิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันตามความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้ไม่เห็นมด ใช่ไหม เพราะมารู้ภายหลังว่ามดตาย เพราะฉะนั้นในขณะนั้นไม่มีเจตนาที่จะฆ่า
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720