พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
ตอนที่ ๖๘๗
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ท่านอาจารย์ รอบรู้ในเห็น หรือยัง ฟังแล้วเข้าใจ หรือยังว่าเห็นเป็นธรรม หรือฟังแล้วรู้ชื่อเรียกชื่อว่าขณะนี้เห็นเป็นธรรม แต่ยังไม่ได้เข้าถึงอรรถคือลักษณะจริงๆ ของเห็นว่า เห็นขณะนี้มีแน่นอนแต่ไม่มีรูปร่างใดๆ ที่จะพาให้เห็นเป็นสีดำ สีเขียว สีแดง หรือว่าเป็นกลิ่นเป็นรสต่างๆ เพราะว่าเป็นเพียงธาตุซึ่งไม่มีรูปใดๆ เจือปนทั้งสิ้น ไม่มีสี เสียง กลิ่น รสใดๆ ในจิต หรือว่าในธาตุรู้ แต่ขณะนี้กำลังมีธาตุที่กำลังเห็น
เพราะฉะนั้นเห็นขณะนี้ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แต่ถ้าไม่มีธาตุที่เกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้ก็ปรากฏไม่ได้ นี่คือธรรม รอบรู้ หรือยัง ถ้ายังไม่รอบรู้ ปฏิปัตติคือการถึงเฉพาะลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏด้วยปัญญาความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงตรงตามที่ได้ฟังก็เกิดขึ้นไม่ได้
จิตเห็น กำลังเห็นประกอบด้วยเจตสิกกี่ประเภทจำได้ใช่ไหม บอกได้ครบทั้ง ๗ เจตสิกแต่กำลังเข้าใจเห็นขณะนี้ หรือไม่ว่า เป็นธรรมซึ่งกำลังทำกิจเห็นเกิดขึ้นทำหน้าที่เห็น แล้วก็พ้นหน้าที่เห็น ก็เป็นหน้าที่ของจิตขณะต่อไปเกิดขึ้นทำกิจของจิตนั้นๆ นี่คือการศึกษาจนกระทั่งรอบรู้ ไม่ต้องห่วงเรื่องปฏิปัตติ เพราะเหตุว่าต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องรอบรู้จริงๆ และก็มีสัญญาความจำที่มั่นคงด้วยว่า ขณะนี้เป็นธรรมที่กำลังเกิด และทำกิจหน้าที่ของธรรมนั้นๆ
อ.กุลวิไล ความสันโดษที่ท่านแสดงเอาไว้ว่าเป็นมงคล พูดถึงความพอใจในสิ่งที่มี หรือสิ่งที่ได้จะเป็นความดีอย่างไร
ท่านอาจารย์ มงคลคือเหตุที่จะนำไปสู่ความเจริญทางด้านจิตใจทางคุณธรรม เพราะฉะนั้นทุกข้อของมงคลนี้ก็เพื่อการละอกุศล ละสิ่งที่ไม่ดีแล้วก็อบรมเจริญสิ่งที่ดีเพิ่มขึ้น เพราะว่าสิ่งที่ดีจะไม่นำความทุกข์มาให้ ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ไม่ดีที่ไม่สามารถที่จะนำความสุขใดๆ มาให้ได้ด้วย ด้วยเหตุนี้ต้องทราบว่าสิ่งที่ไม่ดีที่เป็นเหตุใหญ่ก็คือโลภะ โทสะ โมหะ
ทำไมกล่าวถึงโลภะ โทสะ โมหะ เพราะเหตุว่าเป็นชีวิตประจำวัน สำหรับคนที่ยังไม่มีปัญญาที่สามารถที่จะละอกุศลใดๆ ได้ บางครั้งกุศลเกิดจริงตามการสะสม แต่ส่วนใหญ่เมื่อสะสมอกุศลซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่ดีมามาก ในชีวิตประจำวันลองดูว่าขณะที่เป็นมงคลนั้นมากกว่า หรือน้อยกว่าขณะที่ไม่ใช่มงคล เพราะว่ามงคลต้องเป็นไปเพื่อการละอกุศล หรือละกิเลส โลภะความติดข้องนี้ลองคิดดู ดีไหม แต่กำลังมีโลภะ ดีไหม สนุกไหม
อ.กุลวิไล ไม่ดี ติดข้องอยู่ก็สนุก
ท่านอาจารย์ ชอบให้สนุก หรือว่าไม่อยากสนุก
อ.กุลวิไล ส่วนใหญ่ก็ต้องชอบความสนุก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกคนปฏิเสธไม่ได้ ชอบโลภะแต่ไม่ชอบชื่อโลภะ พอใครบอกว่าคนนี้มีโลภะ ไม่ชอบใช่ไหม แต่จะอยู่โดยไม่มีโลภะต้องเป็นพระอรหันต์ ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ก็ต้องรู้ตามความเป็นจริง ยังเป็นผู้ที่หนาแน่นด้วยกิเลสสะสมมามากมายมหาศาล กาลเวลาที่ยาวนานมากไม่สามารถที่จะประมาณได้ว่าอกุศลมีมากแค่ไหน
เพราะฉะนั้นการฟังธรรมให้มีความเข้าใจเพื่อที่จะละอกุศลนี้เป็นทางเดียวแต่ก็น้อยมากถ้าไม่มีกำลังพอ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นประโยชน์เห็นคุณของความดีของกุศลว่าเป็นสิ่งเดียวซึ่งถ้าค่อยๆ สะสม ค่อยๆ เพิ่มขึ้นก็สามารถที่จะละทางฝ่ายอกุศลได้
เพราะฉะนั้นทุกคนมีโลภะใช่ไหม ตามกำลังของการสะสม แม้ว่าจะเป็นพี่น้องมิตรสหายก็มองเห็นโลภะได้ว่าใครมีโลภะระดับไหน แสดงออกมาทางกาย หรือว่าทางวาจาก็เป็นทางออกของโลภะ เพราะว่าถ้าอยู่ในใจก็ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้แต่เพราะเหตุว่ามีกาย วาจาจึงทำให้รู้ได้ว่ามีโลภะระดับไหน
ด้วยเหตุนี้พระธรรมทั้งหมดนำไปสู่การดับโลภะแต่ดับทันทีไม่ได้ ดับน้อยลงทีละเล็กทีละน้อยก็ต้องด้วยปัญญาจริงๆ เพราะฉะนั้นสันโดษไม่ได้หมายความว่าไม่มีโลภะ เพราะเหตุว่ามีหลายระดับขั้นใช่ไหม ตามกำลังของโลภะ ถ้าคนที่ไม่สันโดษเพราะเหตุว่าไม่พอใจในสิ่งที่มีแล้ว คิดถึงสิ่งยังไม่มีเมื่อไร ขณะนั้นก็เป็นโลภะ สันโดษไหม ยังไม่ได้มา ยังไม่มี แต่ก็อยากแล้ว จะมาก หรือจะน้อยก็ตามกำลัง
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นกำลังของโลภะแม้แต่เพียงคิด คิดด้วยโลภะ หรือไม่ คิดอยากได้ คิดดูยังไม่ได้ก็อยากได้ ใช่ไหม แล้วเวลาที่อยากได้นี้โดยสุจริต หรือทุจริตก็เป็นเครื่องวัดโลภะ วัดกำลังของกิเลสได้ว่ากิเลสนี้มากน้อยแค่ไหน ด้วยเหตุนี้กว่าจะหมดสิ้นโลภะ อวิชชา หรือกิเลสใดๆ ทั้งหมดความเจริญขึ้นของปัญญาก็ทำให้ทางฝ่ายธรรมที่เป็นกุศลเจริญขึ้น ค่อยๆ เจริญขึ้นตามลำดับ
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ตรงก็คือผู้ที่รู้ว่ายังมีทั้งอวิชชาความไม่รู้ และโลภะซึ่งเป็นเหตุให้เกิดโทสะความขุ่นเคืองซึ่งเป็นแกนของอกุศลกรรมทั้งหลายทางกาย วาจา ที่ทำให้เกิดปัญหา เพราะว่ากุศลไม่ทำให้เกิดปัญหาใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่อกุศลทั้งหมดเป็นปัจจัยทำให้เกิดปัญหาทั้งแต่เล็กจนถึงปัญหาที่ใหญ่ได้นั้นเพราะอกุศล
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ฟังพระธรรมจึงเป็นผู้ที่รู้จักตนเองไม่ได้ไปคิดว่ากำลังฟังธรรมนี้ไม่มีโลภะ ไม่มีความไม่รู้ แต่รู้แล้วเริ่มเห็นโทษของธรรมที่เป็นอกุศล ถ้าไม่มีความไม่รู้ หรือความไม่รู้นั้นน้อยลงอกุศลก็ต้องน้อยลง แต่คนที่มีอกุศลมากๆ เพราะว่าเขาไม่รู้อะไรจริงๆ ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่รู้ว่าอะไรดี ไม่รู้ว่าอะไรไม่ดี เพราะฉะนั้นอกุศลก็เพิ่มพูนมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ได้ยินคำว่า “สันโดษ” ไม่ได้หมายความว่าหมดโลภะแล้ว แต่ว่าเห็นโทษของโลภะ เพราะเหตุว่าบางคนนี้ไม่ได้เข้าใจธรรมแต่กล่าวว่าเข้าใจธรรมสันโดษ หรือไม่
อ.กุลวิไล ไม่สันโดษ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมีสันโดษแม้ในธรรมด้วยในปริยัติ ในปฏิบัติ และก็ในอธิคม ปริยัติคือการศึกษาธรรม อธิคมคือการบรรลุธรรม เพราะฉะนั้นถ้าไม่สันโดษเราก็จะเห็นได้จากอกุศลซึ่งเกิดแล้วมีแล้วในใจปรุงแต่งให้เกิดกายวาจาต่างๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ถ้าจะกล่าวถึงทางโลกธรรมดา สันโดษก็คือว่าผู้ยังมีโลภะอยู่แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามกำลังของโลภะที่จะทำให้คนอื่นเดือดร้อนเพราะเหตุว่าพอใจในสิ่งที่มีอยู่ กับพอใจในสิ่งที่สามารถจะมีได้นี่ก็ต่างกันแล้วใช่ไหม และก็พอใจในสิ่งซึ่งไม่สามารถจะมีได้ยิ่งกว่านั้นอีก
ด้วยเหตุนี้ก็จะเห็นได้ว่าเราเป็นบุคคลประเภทไหน แต่ว่าในกาลไหนด้วย เพราะว่าถ้ากุศลไม่เกิด มาแล้วอกุศลกองใหญ่ระงับไม่ได้เกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัย แต่ประโยชน์มีได้เมื่อมีความเห็นถูกว่าขณะนั้นเป็นธรรมซึ่งเกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัย
เพราะฉะนั้นการที่จะละคลายธรรมไม่ใช่โดยไม่รู้แล้วก็ไปบังคับ จะไม่พบปะใคร จะไม่ไปสังคม จะอยู่คนเดียว จะฟังธรรมอย่างเดียวเป็นสิ่งซึ่งด้วยโลภะ หรือไม่ ด้วยความเป็นเรา หรือไม่ ด้วยความต้องการให้เราเป็นคนดีอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่ คือยังมีความไม่รู้ และยังมีความติดข้องอยู่
ด้วยเหตุนี้ธรรมจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดมากในแต่ละคำ ถ้าไม่พูดถึงสันโดษในปริยัติ สันโดษในอธิคมคือการรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง ก็คือชีวิตประจำวันเราก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า เดี๋ยวนี้เรามีอะไร และเราพอใจในสิ่งที่เรามีแล้ว และมีอยู่ หรือไม่ ลองคิดดูยาก หรือง่าย เพราะมักจะคิดถึงสิ่งอื่น สิ่งที่มีแล้วธรรมดา มีแล้วจะต้องการอะไรแต่ต้องการสิ่งที่ยังไม่มี ใช่ไหม
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่ามีความต้องการในสิ่งที่ไม่มีขณะใด ก็เป็นการเตือนให้รู้ว่าขณะนั้นเป็นความปรารถนา หรือเป็นความอยาก ถ้ามีกำลังเพิ่มขึ้นก็จะมีการกระทำซึ่งไม่เสมอเป็นปกติในชีวิตประจำวันคือเป็นอกุศลกรรมเกิดขึ้น ไม่ใช่สมโลภะ
สมโลภะคือโลภะธรรมดาเป็นปกติ ชอบอาหารอร่อยไม่ได้ทำทุจริตกรรม ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนด้วย แต่ถ้ากล่าววาจาติเตียนคน ทำมาแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอย่างยิ่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกันไปจากขณะหนึ่งไปอีกขณะหนึ่งแล้วก็สะสมเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล
ด้วยเหตุนี้สันโดษตามลำดับขั้น ถ้าสันโดษจริงๆ มากขึ้นคือในสิ่งที่มีแล้ว แต่ก็มีคนเอามาให้อีก ใช่ไหม ไม่ชอบได้ไหม ชอบแล้ว มีใครบ้างไม่ชอบสิ่งที่น่าพอใจ แม้ไม่ได้ซื้อหาแต่ก็มีคนเอามาให้ ขณะนั้นก็มีความพอใจเกิดขึ้นแน่ๆ ใช่ไหม เป็นสิ่งที่ถูกใจชอบ ทำผิดอะไร หรือไม่ ไม่ได้ทำอะไรผิดเลยใช่ไหม แต่ขณะนั้นต้องเป็นผู้ที่ตรงว่ามีโลภะ แต่โลภะในสิ่งที่มีแล้ว คือในสิ่งได้แล้วไม่ใช่ในสิ่งที่เราไปแสวงหาด้วยความปรารถนาว่าชอบมากขนาดไหน บางทีชอบแล้วไม่ลืมยังคิดต่อไปอีกสองสามวัน ยังคิดต่อไปอีกจนกว่าจะได้สิ่งนั้นมา สันโดษ หรือไม่
ถ้าไม่ใช่ในทางอกุศลกรรมก็เป็นในสิ่งที่สามารถจะมีได้ ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องของความจริงซึ่งต้องเป็นตามความจริงอย่างนั้น นี่ก็คือทางโลกธรรมดาซึ่งไม่มีใครไม่มีโลภะ ไม่ว่าจะมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏให้เห็นละเอียดยิ่งกว่านั้นก็คือก็ว่าติดข้องแล้วในสิ่งที่ปรากฏเพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้จะบอกว่าไม่ติดข้องในสิ่งนั้นไม่ได้ แต่ว่าเป็นความติดข้องอย่างอ่อนอย่างเร็วไม่ปรากฏลักษณะของความติดข้อง ซึ่งถ้ามีความติดข้องในสิ่งนั้นทับถมเพิ่มขึ้นอาการของความติดข้องนั้นก็ปรากฏให้รู้ได้ แล้วตอนนี้ก็มีปัญญาพอที่จะรู้สันโดษของตนเองใช่ไหมว่าสันโดษในอะไร และก็ระดับไหน
อ.กุลวิไล ท่านผู้ถามถามต่อถึงพระสูตรในมงคลสูตร “เรียนถามท่านอาจารย์สุจินต์ว่าถ้าฟังเข้าใจว่าไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรมแต่ละขณะแต่ละทางจนสติเกิดระลึกรู้ลักษณะตามความเป็นจริง เมื่อปัญญาเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญขึ้นไปตามลำดับ พระสูตรมงคลสูตรที่ได้ยินได้ฟังก็จะค่อยเกื้อกูลให้ปัญญาเจริญขึ้น เจริญขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างนั้นใช่ไหม ขอให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบายเพิ่มเติม”
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เฉพาะแต่มงคลสูตร คำใดก็ตามที่ทำให้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ก็ทำให้ปัญญาเจริญขึ้นได้
อ.กุลวิไล การศึกษาธรรมมีประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร
ท่านอาจารย์ ทุกคนเกิดแล้วก็ตาย แล้วก็ไม่มีใครรู้ด้วยว่าจะจากโลกนี้ไปเมื่อไร วันไหน เพราะฉะนั้นเกิดมาแล้วมีอะไรที่เที่ยงที่ยั่งยืนที่เป็นของใครอย่างแท้จริง ขณะนี้ทุกคนรู้สึกว่ามีเรา ร่างกายของเรา แข็งแรงดี กำลังนั่งอยู่ที่นี่ จะเดินก็ได้ จะพูดก็ได้ จะไปไหนทำอะไรก็ได้หมดเพราะมีจิตที่เกิดแล้วดับ แล้วก็เกิดดับอย่างไม่สิ้นสุด
ต่อเมื่อใดถ้ารูปร่างกายในขณะนี้ปราศจากจิต เป็นอย่างไร ทำอะไรไม่ได้เลยสักอย่างเดียว คิดว่าจะไปไหนก็ไปไม่ได้ จะรับประทานอาหาร หรืออะไรไม่มี เหมือนท่อนไม้ ซึ่งไม่มีแม้แต่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ต่อจากนั้นก็เน่าเฟะ เหม็น เขียว คล้ำ พอง บวมก็แล้วแต่ สิ่งที่มีอยู่ขณะนี้เป็นอย่างนี้เดี๋ยวนี้แล้วก็เวลาที่ปราศจากจิตเป็นอย่างไร
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้อะไรที่เคยชอบเคยพอใจเคยยึดถือว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นของเรา แท้ที่จริงแล้วก็ไม่ใช่ของใครเลยสักคนเดียว เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปแล้วก็ต้องเป็นอย่างนี้ทุกคน สิ่งที่มีชีวิตที่มีจิต รูป ร่างกายซึ่งเกิดเพราะกรรม เกิดเพราะจิต อุตุ อาหารพวกนี้ไม่เหมือนอย่างต้นไม้ใบหญ้า ต้นไม้ใบหญ้าเกิดแล้วตายก็ไม่มีกลิ่นที่น่ารังเกียจเท่ากับซากศพ หรือว่ารูปร่างลักษณะของต้นไม้ที่เกิดแล้วก็ตายไปก็ไม่ได้น่ารังเกียจเท่ากับรูปร่างกายของคนซึ่งปราศจากชีวิต
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้เกิดมาแล้วก็มีความต้องการแล้วก็มีความพอใจด้วยความไม่รู้ในสิ่งซึ่งวันหนึ่งก็ต้องเป็นอย่างนี้ แต่ขณะนี้ยังไม่เป็น แต่จะเป็นเมื่อไร แล้วก็เลือกไม่ได้ด้วยว่าเมื่อจากโลกนี้ไปแล้วไม่รู้ว่าต้องเกิดอีก แต่จะเกิดเป็นอะไรก็แล้วแต่การกระทำคือกรรมที่ได้กระทำไว้แล้ว ไม่มีใครสามารถที่จะเลือกได้ เหมือนอย่างกับมาจากไหนก็ไม่รู้ใช่ไหม มาเกิดแล้วในโลกนี้ จากโลกนี้แล้วจะไปไหนก็ไม่รู้
เพราะฉะนั้นก็อยู่ในโลกด้วยความไม่รู้ ด้วยความหลง ด้วยความติดข้อง ด้วยความยึดถือ เพราะฉะนั้นผลจะเป็นอย่างไร คือส่วนใหญ่จะไม่คิดถึงผลข้างหน้า แต่จะมีชีวิตอยู่ และคิดถึงเฉพาะวันหนึ่งๆ พรุ่งนี้ เดือนนี้เท่านั้น แต่ลืมว่าธรรมเป็นธรรม ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร
ขณะแรกที่จิตสภาพธรรมเกิดเป็นธาตุรู้ และก็มีรูปธรรมเกิดด้วยไม่ได้เลือกว่าจะมาเป็นอย่างนี้ จะเป็นคนอย่างนี้ รูปร่างหน้าตาอย่างนี้ ผิวพรรณอย่างนี้ ก็ไม่ได้เลือก แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็เป็นจิตอีกระดับหนึ่งซึ่งเกิดเพราะอกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ก็ไม่ได้เลือกว่าจะเป็นช้าง หรือว่าจะเป็นมด หรือว่าจะเป็นผีเสื้อ หรือจะเป็นงู หรือจะเป็นกระต่าย ไม่มีใครสามารถที่จะเป็นเราที่จะบังคับ หรือทำอะไรได้ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นก็มีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งๆ ตามการสะสม และก็ตามกรรมที่กระทำแล้วที่ให้ผล ทำให้เกิดมาแล้วทุกคนต้องเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ทั้งวันก็วนเวียนอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่กระทบสัมผัสกายที่มีลักษณะที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หรือตึง ไหว โดยไม่รู้ว่าติดข้องแล้ว และก็เป็นทาสของสิ่งที่ปรากฏทุกวันไม่สามารถที่จะพ้นไปได้ ไม่เป็นอิสระ เป็นไปตามกำลังของโลภะบ้าง โทสะบ้างตามความไม่รู้
เพราะฉะนั้นเกิดมาก็เป็นอย่างนี้ และก็เป็นอย่างนี้มาแล้วด้วย และต่อไปก็จะเป็นอย่างนี้อีก ไม่เบื่อ ใช่ไหม มีคนหนึ่งเค้าก็บอกว่าพอฟังว่าตายแล้วเกิดเค้าก็ดีใจนะเพราะว่าจะได้เปลี่ยนใหม่เสียที คือว่าเบื่อเหลือเกินแล้วโลกนี้เรื่องนี้เรื่องเก่าอย่างนี้ ใหม่ๆ ก็คงจะดีกว่าแต่ว่าดีกว่า หรือไม่ดีกว่าใครจะรู้ว่าจะเกิดที่ไหน
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจเรื่องเหตุกับผล สำหรับผู้ที่ต้องการความจริง แต่สำหรับคนที่ไม่ได้สะสมมาที่จะรู้ความจริงเค้าก็คิดว่าไม่มีประโยชน์ที่จะรู้ความจริง แต่ว่าถ้าไม่รู้ความจริงแล้วชีวิตจะเป็นอย่างไร ทุกคนหวังสุข แต่ทุกวันนี้สุข หรือไม่ ถ้ายังสุขอยู่สุขนั้นมาจากไหน ผลที่ได้รับที่ยังไม่ใช่การเจ็บไข้ได้ป่วย การไม่ได้ถูกนินทาว่าร้าย หรืออะไรต่างๆ เหล่านี้มาจากไหน ต้องมาจากเหตุดีที่ได้กระทำแล้วแต่เหตุไม่ดีที่ได้กระทำแล้วก็ต้องมีผล
เพราะฉะนั้นวันไหนป่วยไข้ วันไหนได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ ได้กลิ่นที่ไม่น่าพอใจก็รู้ได้ว่าถึงเวลาที่จะต้องเป็นอย่างนั้น เพราะเกิดแล้วเป็นอย่างนั้นแล้วไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่สะสมมาว่าจะเห็นประโยชน์ของการที่เกิดมาแล้วรู้ความจริงของชีวิต หรือว่าเกิดมาแล้วก็เป็นเราชั่วขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และก็ไม่รู้ด้วยว่าจากโลกนี้ไปแล้วนี้ ที่ว่าเป็นเราจริงๆ เนี่ยเป็นอย่างไร
อีกประการหนึ่งวิชาความรู้ทั้งหมดมีประโยชน์ หรือไม่ ต้องเป็นประโยชน์ตามสมควรแก่ความรู้นั้นๆ แต่ความรู้เรื่องชีวิตเป็นความรู้ที่ประเสริฐสุดเพราะว่าเป็นการรู้ความจริง เพราะถ้าไม่มีสภาพธรรมที่มีจริงชีวิตก็มีไม่ได้
อ.กุลวิไล และความรู้ในชีวิตก็คือความรู้ความจริงที่มีในขณะนี้เองเป็นปัญญาที่จะสะสมไป และเป็นอริยทรัพย์ด้วย เงินทองที่เราหาได้ในชาตินี้เอาไปไม่ได้ แต่สิ่งที่สะสมไปได้ก็คือความดี หรือความไม่ดีนั่นเอง
มีผู้เขียนมาถามว่า “สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ใดๆ ในเรื่องธรรมเลย แต่เริ่มสนใจศึกษาธรรมควรจะเริ่มต้นอย่างไร”
ท่านอาจารย์ ก็ฟังเดี๋ยวนี้ ก็เริ่มเดี๋ยวนี้
อ.กุลวิไล ต้องเริ่มจากการฟังเดี๋ยวนี้
ท่านอาจารย์ คิดเองไม่ได้ ใช่ไหม
อ.กุลวิไล คิดเองไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่ฟังธรรมแล้วคิดต่อด้วย
ท่านอาจารย์ ก็รู้ว่าคิดต่อถูก หรือผิด ที่คิดต่อ
อ.กุลวิไล แล้วเราจะได้สาระจากพระธรรมอย่างไรสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาธรรม
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วก็เข้าใจสิ่งที่ฟัง ไตร่ตรองว่าเป็นความจริง หรือไม่ และก็เป็นความเข้าใจของตัวเองไม่ใช่เพียงฟังแล้วไม่รู้เรื่องก็จำแล้วก็พูดถึงชื่อนั้น
อ.กุลวิไล บางครั้งฟังแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนี้คือธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเพราะว่ามีผู้แสดงมากมาย
ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องคิดถึงชื่อ ใดๆ ทั้งสิ้นว่าใครพูด แต่คำที่พูดที่ได้ยินเป็นคำจริง หรือไม่ พูดถึงสิ่งที่มีจริง หรือไม่มีแล้วก็มาพูดๆ ๆ ๆ โดยที่สิ่งนั้นไม่มี ใช่ไหม อย่างขณะนี้มีเห็น หรือไม่
อ.กุลวิไล มี
ท่านอาจารย์ พูดเรื่องเห็น พูดเรื่องจริง หรือไม่ มีจริงๆ หรือไม่ สามารถที่จะเข้าใจได้ไหมว่าใครก็บังคับเห็นให้เกิดขึ้นไม่ได้เลยสักคนเพราะเป็นธรรม
สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามขณะนี้ปรากฏเพราะเกิดแล้วโดยไม่มีใครไปทำให้เกิดได้ แต่จะต้องมีปัจจัยที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นใครจะพูดก็จริง ใช่ไหม และต่อไปเมี่อเข้าใจมากขึ้นก็จะรู้ว่าใครรู้
อ.กุลวิไล เพราะว่าพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการอบรมปัญญา ถ้าผู้นั้นไม่ได้สะสมมาในการที่จะฟังพระธรรม
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน สนใจฟังความจริง หรือไม่เท่านั้น ไม่ต้องใช้คำว่าอะไรทั้งสิ้น มีเรื่องที่เราได้ยินได้ฟังมากมายตั้งแต่เช้ามาก็หลายเรื่อง แต่ว่าเรื่องจริงของสิ่งที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้สนใจที่จะฟัง หรือไม่ ถ้าไม่สนใจใครก็จะไปบังคับให้สนใจไม่ได้
อ.กุลวิไล ผู้ถามถามต่อว่า “ขอคำอธิบายความไม่สันโดษในกุศลธรรม”
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720