พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
ตอนที่ ๖๙๑
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ผู้ฟัง ความหมายที่คิดว่าเป็นอาลัยนี้คงไม่ใช่บาลี สภาพที่เกิดนั้นคืออาวรณ์มากกว่า เพราะเป็นโทสะ
ท่านอาจารย์ ความจริงก็เป็นเรื่องที่อยากรู้จักชื่อ ถูกต้องไหม ทั้งๆ ที่สภาพธรรมนั้นก็เคยเกิดแล้ว แต่ตอนที่ยังไม่ได้ฟังธรรมเ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกใดๆ ก็ตาม ก็เป็นเราทั้งหมด อย่างที่คุณแก้วตาบอกว่าเคยอาลัย เคยอาวรณ์แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร อยากได้ชื่อ แต่ความจริงเป็นธรรมที่มีลักษณะอย่างนั้นแม้จะไม่เรียกชื่อ หรือจะเรียกชื่ออะไรก็ตามแต่ก็เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นประโยชน์จริงๆ ก็คือเมื่อสภาพธรรมใดเกิดปรากฏเข้าใจความเป็นธรรม แทนที่จะไปนึกถึงชื่อว่า ชื่ออะไร หรือว่าเรียกว่าอะไร นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นธรรมทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตายทุกชาติ แต่เพราะไม่รู้ว่าเป็นธรรม พอได้ยินธรรมก็จึงสงสัยว่าขณะไหนเป็นอะไร แต่ว่าจะรู้จักลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ก็ต่อเมื่อสภาพธรรมนั้นเกิดขึ้น เช่น ได้ยินคำอธิบายความหมายของคำว่า “อาลัย” แล้วถ้าความอาลัยลักษณะนั้นไม่เกิด ไม่มี จะรู้จักไหม ก็เป็นแต่เพียงได้ยินชื่อในเมื่อสภาพธรรมนั้นไม่เกิด แล้วเวลาที่สภาพธรรมนั้นเกิดก็ไม่รู้ว่าเป็นชื่อนั้นที่เคยสงสัย เพราะเหตุว่าไม่ได้รู้ความจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ประการที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่ต้องคำนึงถึงชื่อ แต่ให้รู้ลักษณะที่เป็นธรรมแล้วก็จะเข้าใจชื่อ ถ้ายังไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม อย่างไรๆ ก็ไม่เข้าใจชื่อ แต่ถ้าเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เมื่อได้ยินคำนี้ก็รู้ว่าหมายความถึงขณะไหน เกิดแล้ว หรือเคยเกิด
ทุกคนมีโลภะแน่นอน ละยากไหม ละได้บางกาล แต่ว่าละจริงๆ หรือยัง เช่น ขณะนี้ได้ฟังว่าเห็นเป็นธรรม มีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่เรา ได้ยินเป็นธรรม ทุกอย่างเป็นธรรมหมด ก็เพียงแค่ได้ยิน ทั้งๆ ที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก แสดงให้เห็นว่าปัญญาระดับนั้นไม่สามารถที่จะเข้าใจความเป็นธรรมซึ่งเป็นธรรมจริงๆ แม้ในขณะนี้ก็เป็นอย่างนั้น แต่เพราะเหตุว่าการฟังยังไม่เข้าถึงความเข้าใจลักษณะหนึ่งลักษณะหนึ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นการที่จะรู้จักลักษณะของสภาพธรรมได้แม้ว่าฟังเรื่องของธรรมมาก ก็คือเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่าง ไม่ใช่หลายๆ อย่างพร้อมกัน เพราะฉะนั้นเราได้ยินได้ฟังมามาก ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่ไม่มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดจริงๆ ในขณะที่สภาพธรรมนั้นปรากฏ เช่น ในขณะนี้ก็มีเห็น มีได้ยิน มีแข็ง มีคิด มีสุข มีทุกข์ แล้วอะไรที่จะแสดงให้เห็นว่าได้เริ่มรู้จักสภาพของธรรมแต่ละอย่างจึงสามารถที่จะเข้าถึงแม้คำว่า “อาลัย” พูดง่ายใช่ไหมว่าธรรมไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่กำลังเห็นนี้เป็นอย่างนั้น หรือไม่ อาลัยไหมที่จะไม่มีเราที่กำลังเห็น เพราะฉะนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องคำ แต่เป็นเรื่องความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นถึงความละเอียด แข็งกำลังปรากฏรู้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่งแน่นอน เป็นเพียงแข็ง เกิดเป็นแข็ง บังคับไม่ให้เป็นแข็งก็ไม่ได้ ปรากฏแล้วจะไม่ให้ปรากฏก็ไม่ได้ แล้วความจริงก็เกิดแล้วดับแล้วด้วย แต่อาลัยไหมที่เป็นเราที่กำลังรู้แข็ง หรือแข็งนั้นก็คือส่วนหนึ่งส่วนใดในร่างกายของเรา กระดูก ฟัน หรืออะไรก็ตาม แต่ที่แข็งปรากฏขณะนั้นก็เป็นเราแน่นอน เพราะเหตุว่าปัญญายังไม่ได้เข้าถึงความเป็นธรรมของแต่ละอย่าง
เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้นแล้วเป็นเรื่องที่ละเอียด เป็นเรื่องที่ตรง ผู้ที่ตรงจะได้สาระจากพระธรรมคือไม่เผิน และไม่ข้ามด้วย แม้แต่คำที่ได้ยินอย่างคำว่า “อาลัย” นี้เหมือนกับว่าเข้าใจแล้วว่าไม่ใช่เรา แต่พอถึงลักษณะจริงๆ ปรากฏ เป็นเรา หรือไม่ และปัญญาขณะนั้นถึงระดับที่ไม่อาลัยในความเป็นเรา สละคืนไม่ใช่เราอีกต่อไป เป็นแต่เพียงลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมไม่ใช่ไปติดที่คำ แต่เข้าใจลักษณะจริงๆ ว่าเป็นอย่างนั้นไหม ถ้าเข้าใจลักษณะนี้อาลัยในทุกอย่างที่เป็นที่พอใจเพราะว่ายังคงยึดถือสิ่งนั้นว่าเป็นเราประการหนึ่ง อาลัยในความที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วไม่ใช่เรา เสียดายไหมที่ไม่มีเรา ไม่มีเลยสักอย่างเดียว ไม่ว่าอะไรก็ตามที่เกิดปรากฏ มีปัจจัยที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดปรากฏแล้วก็หมดไป เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องละเอียด แต่ละคำที่จะต้องเข้าใจ แม้แต่คำว่า “อาลัย หรืออาวรณ์” หรือคำไหนก็ตามแต่ไม่ใช่ได้ยินชื่อแล้วอยากรู้ว่าแปลว่าอะไร แล้วจะได้ไปหาเมื่อไรเป็นอาลัย เมื่อไรเป็นอาวรณ์ แต่เวลาที่สภาพธรรมนั้นปรากฏจะแสดงให้เห็นว่าเมื่อไรที่รู้ถึงความอาลัยจริงๆ เมื่อนั้นใช้คำนี้เมื่อไรก็เข้าใจได้ทันที
ขอยกตัวอย่าง ขณะนี้มีเห็น ยังไม่มีชื่อ แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่มีจริงทุกอย่างเป็นธรรม เราเข้าใจความหมายของธรรมแล้วใช่ไหมว่า เห็นก็เป็นธรรมเพราะเป็นสิ่งที่มีจริง แทนที่จะธรรมแปลว่าอะไร ธรรมคืออะไร แต่ว่าสิ่งที่มีจริงขณะนี้ไม่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นถ้าเรากล่าวถึงธรรมที่มีจริงแน่นอนคือเห็น คิด นึก สุข ทุกข์ แข็ง อ่อน เย็น ร้อน พวกนี้เป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงจะเรียกอะไร เพราะฉะนั้นจะไปเรียกว่าแข็ง จะไปเรียกว่ากล้วยไม้ จะไปเรียกว่าอะไร กับสิ่งที่มีจริงแน่นอนว่าสิ่งนั้นมีจริงๆ สิ่งที่มีจริงเป็นธรรม เพราะฉะนั้นต่อจากนี้ไปไม่ใช่เราไปจำธรรมก่อน แล้วเราไปหาว่าธรรมอยู่ที่ไหน เห็นเป็นธรรม หรือไม่ เป็นความสงสัย แต่แทนที่เราจะตั้งต้นอย่างนั้น ขณะนี้มีเห็นจริง หรือไม่ ถ้าจริง สิ่งที่มีจริงจะเรียกอะไร พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติคำว่า “ธรรม หรือธา-ตุ หรือธาตุ” เพราะว่าลักษณะที่แท้จริงของสิ่งนั้นก็คือเป็นสิ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตนซึ่งใครก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่นได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจสิ่งที่มีจริง คิดนึกมีจริงไหม คิดนึกมีจริง คิดแล้วกำลังคิดด้วย มีจริงๆ ด้วย สิ่งนั้นก็ต้องเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าเข้าใจสิ่งที่มีจริงก็ตรงกับคำว่าธรรม เมื่อได้ยินธรรมเมี่อไร เราก็เข้าใจได้ว่าหมายความถึงไม่เคยปราศจากธรรมตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะว่ามีสิ่งที่มีลักษณะปรากฏโดยที่เราไม่เคยรู้ว่าเป็นธรรม แต่เราไปจำ และไปเรียกชื่อธรรมเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมขณะนี้ เห็นมีจริง สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงไหม มีจริง ๒ อย่างนี้เหมือนกันไหม ไม่เหมือน อย่างหนึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้ นี่คือความเข้าใจสิ่งที่ปรากฏว่ารู้อะไรไม่ได้ เพียงปรากฏเมื่อมีธาตุที่สามารถเห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น ๒ อย่างนี้ต่างกัน เพราะฉะนั้นธรรมที่ต่างกันก็คือว่าอย่างหนึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ยังไม่ต้องเรียกชื่อ และอีกอย่างหนึ่งก็เป็นสภาพซึ่งเมื่อเกิดแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น เสียงอย่างนี้มีปรากฏเมื่อจิตเกิดขึ้นได้ยิน แต่เสียงที่จิตไม่ได้ยินเสียงก็เกิดแล้วก็ดับไปโดยไม่มีจิตได้ยิน ขณะนั้นจะรู้ไหมว่ามีเสียงปรากฏถ้าจิตไม่ได้ยิน ก็ไม่มี เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ต้องมีคนมาบอกเราไหมว่า ๒ อย่างนี้ต่างกัน ซึ่งความจริงต่างกันอยู่แล้ว เมื่อต่างกันจะใช้คำอะไรสำหรับให้รู้ว่า ๒ อย่างนี้ต่างกัน ก็คือสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร เกิดขึ้นไม่รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่คิด ไม่จำ ไม่สุข ไม่ทุกข์ สภาพธรรมทั้งหมดเป็นลักษณะของรูปธรรม ส่วนธาตุรู้ ซึ่งไม่มีรูปใดๆ เลย เช่น โกรธ หน้าตาโกรธมีไหม เกลียด หน้าตาเกลียดมีไหม ชัง หน้าตาชังมีไหม แต่ก็เป็นความรู้สึก เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ลักษณะใหญ่ๆ ที่ต่างกันก็คืออย่างหนึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรเลย อีกอย่างหนึ่งก็เป็นสภาพรู้ แต่จำเป็นต้องใช้ชื่อเพื่อที่จะให้รู้ว่าหมายความถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด จึงมีคำว่า “รูปธรรม " กับ " นามธรรม” เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจธรรม แล้วเวลาได้ยินชื่อเราจะสงสัยไหมในคำว่า “รูปธรรม" กับ" นามธรรม” เพราะเรามีความเข้าใจ แต่ความละเอียดของพระธรรมมากกว่านั้นอีก มีการยกเว้นด้วยประการต่างๆ ไม่ใช่ตามที่พระองค์ประสงค์ที่จะให้เป็นอย่างนั้น แต่เพราะลักษณะของสภาพธรรมนั้นเป็นอย่างไร ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริงอย่างนั้น
อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมก็คือเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้
ท่านอาจารย์ ไม่อย่างนั้นศึกษาอะไร
อ.กุลวิไล เรื่องราว
ท่านอาจารย์ อยู่ที่ไหน เป็นแต่เพียงชื่อ
อ.กุลวิไล แล้วก็ต้องรู้ถึงลักษณะที่ต่างกันแต่ละทางด้วย เพราะฉะนั้นเราก็ยังยึดถือรวมกันว่าเป็นเรา ไม่รู้ถึงความเป็นธรรม ท่านอาจารย์กล่าวถึงนามธรรมกับรูปธรรม จริงๆ แล้วก็ชีวิตประจำวันนั่นเอง และถ้าเป็นพระอภิธรรมก็คือสภาพธรรมที่มีจริง เพราะว่าขณะนี้ก็ต้องมีสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ อย่างทางตาก็เหมือนมีคน แต่คนก็ต้องมีสภาพรู้เพราะว่ามีใจครองมีนามธรรมด้วย แต่โต๊ะเก้าอี้สิ่งของก็ปรากฏทางตาด้วยแต่ไม่มีจิต ไม่มีเจตสิก ไม่มีสภาพรู้ เพราะฉะนั้นรูปที่ปรากฏทางตาไม่ใช่สภาพธรรมที่รู้อารมณ์ แต่เพราะว่ามีนามธรรมที่เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ถึงรู้ถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ขณะที่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจขณะนั้นต้องไม่ใช่ไม่เข้าใจ เข้าใจเมื่อไร จะกล่าวว่าไม่เข้าใจได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เข้าใจไม่ใช่ไม่เข้าใจ กำลังเข้าใจแล้วจะบอกว่าไม่เข้าใจได้ หรือ
ผู้ฟัง นั่นหมายความว่าในขณะไม่เข้าใจก็คือเป็นอวิชชาที่ไม่รู้ แต่ถ้าเข้าใจก็เป็นปัญญาที่รู้
ท่านอาจารย์ แต่ต้องรู้ด้วยว่าเข้าใจอะไร
ผู้ฟัง ขออนุญาตถามอาจารย์วิชัย ประเด็นสำคัญก็คือว่ารู้ว่าหลงลืมสติ นี้เป็นสติสัมปชัญญะใช่ไหม
อ.วิชัย คือขณะที่สติเกิดจะไม่รู้ได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
อ.วิชัย ดังนั้นบุคคลที่จะอบรมเจริญ เมื่อมีเหตุปัจจัยสติเกิด ขณะนั้นมีความรู้คือปัญญาเกิดร่วมด้วย เพราะเหตุว่าขณะนั้นสติกำลังระลึก และปัญญาก็รู้ในลักษณะชั่วขณะนั้น แต่ว่าเมื่อสติเกิดก็ต้องดับ ใช่ไหม ขณะนั้นดับแล้ว ขณะที่ไม่ใช่จะเป็นการที่จะระลึกขณะนั้นก็รู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เป็นการระลึกในลักษณะ ก็จะมีความต่าง ก็จะมีความรู้ขึ้นมาอีกว่าขณะที่สติเกิดกับขณะที่ไม่ใช่สติที่ระลึกต่างกันถึงจะอบรมเจริญสติได้
ผู้ฟัง คือเป็นขั้นคิดนึก หรือไม่ สติเกิดแต่เป็นขั้นคิดนึกไม่
อ.วิชัย ขณะที่สติระลึกต้องมีลักษณะหนึ่งของธรรมปรากฏขณะนั้น ขณะนั้นปัญญาก็ต้องรู้ตรงในลักษณะแน่นอน จะไม่รู้ก็ไม่ใช่สติที่ระลึกใช่ไหม ถ้าไม่ใช่ปัญญาที่รู้ในลักษณะ
ผู้ฟัง เมื่อสักครู่อาจารย์วิชัยถามท่านอาจารย์ อยากให้อาจารย์วิชัยอธิบายเพิ่มเกี่ยวกับความเข้าใจกับการประจักษ์
อ.วิชัย ขณะนี้คุณชาลีประจักษ์แจ้งลักษณะของธรรม หรือยัง แต่ว่าเริ่มที่จะเข้าใจ หรือยัง
ผู้ฟัง ยัง คือการประจักษ์นี่ต้องเป็นวิปัสสนาญาณ หรือไม่
วิชัย ก็ต้องเป็นความรู้ที่ขณะนั้นเป็นความประจักษ์แจ้งธรรม ก็ยังไม่เกิดตอนนี้ใช่ไหม แต่ว่ามีหนทางที่จะถึงได้ด้วยการที่จะเริ่มการฟังแล้วก็มีปัจจัยที่จะให้สติค่อยๆ ระลึก ปัญญาที่จะถึงขั้นการประจักษ์จะเร็ว หรือไม่
ผู้ฟัง ช้ามาก
อ.วิชัย เพราะเหตุแม้การฟังความเข้าใจที่จะเกิดก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะเข้าใจ เพราะเหตุว่าธรรมมีในขณะนี้แต่ก็ยากที่จะเข้าใจแม้จะฟังบ่อยๆ เนืองๆ เพราะเหตุว่าปัญญาคือความรู้ความเข้าใจ เป็นธรรมไม่ใช่เราที่จะบังคับบัญชาให้เกิดได้ ต้องมีปัจจัย ต้องเกิดจากการสั่งสมด้วยที่จะมีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นรู้ เข้าใจแล้วก็ดับ แล้วก็เริ่มที่จะอบรมใหม่อีก
ท่านอาจารย์ ธรรมต้องเป็นเรื่องที่ตรง ขณะไหน ใครรู้บ้าง เกิดแล้วดับแล้วเร็วสุดที่จะประมาณได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ว่าถ้าไม่มีการที่นับวันเดือนปี เราก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าวันเวลาล่วงไปนานเท่าไร แต่ว่าประโยชน์ของการที่ได้มีวันเวลาใหม่ทุกๆ ขณะ ทุกๆ วันก็คือเพื่อที่จะได้เข้าใจธรรม นี่เป็นประโยชน์สูงสุด เพราะว่าเกิดมาแล้วก็จากโลกนี้ไป เก็บขยะ หรือว่าเก็บอะไรไป โลภะ โทสะ โมหะ การไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้เพิ่มขึ้นๆ แต่ละขณะจนกว่าจะถึงปีหน้า ปีนี้ที่จะเป็นปีเก่าของปีหน้า เพิ่มขยะ หรือความไม่รู้เพิ่มมากขึ้นเท่าไร
เพราะฉะนั้นคนที่มีปัญญาเห็นประโยชน์ของการมีชีวิตเพราะเราไม่สามารถที่จะรู้ว่าจะจากโลกนี้ไปขณะไหนได้ทั้งสิ้น แต่ว่าถ้าเป็นขณะที่กำลังเข้าใจธรรมจนกระทั่งสามารถที่จะรู้ลักษณะที่กำลังเป็นธรรมในขณะนี้ได้ขณะนั้นก็ประเสริฐที่สุด เพราะว่าจากไปด้วยความเห็นถูกความเข้าใจถูกในสิ่งที่ไม่มีสาระ ถ้าขณะนั้นเป็นอกุศลตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะฉะนั้นต้องเห็นคุณค่าของขณะ ถ้าเป็นขณะที่เป็นกุศลก็เป็นขณะที่ประเสริฐ กุศลนั้นก็ยังต้องเป็นความเข้าใจธรรมด้วย ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสิ่งที่ไม่ใช่อกุศลเป็นคุณธรรมเท่านั้นก็ยังไม่พอ เพราะเหตุว่าเกิดมาหลากหลายมากด้วยกรรมที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิต ถ้าศึกษาธรรมโดยละเอียดเราก็ทราบว่ามีเจตสิกเกิดร่วมด้วยทั้ง ๒ เป็นวิบากซึ่งเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย ไม่มีใครสามารถที่จะเลือกได้ ให้จิตที่เป็นอกุศลวิบากผลของอกุศลกรรมเกิด หรือว่าเป็นกุศลวิบากที่ประกอบด้วยเจตสิก และสิ่งที่สะสมมาในสังสารวัฏฏ์หลากหลายมากมายสุดที่จะประมาณได้ ทำให้แต่ละคนเกิดมาเป็นแต่ละหนึ่งไม่มีซ้ำกันเลย เพราะว่ากรรมที่ได้ทำมาแล้วในสังสารวัฏฏ์นั้นก็หลากหลาย แม้ขณะนี้เป็นการฟังธรรมก็ยังหลากหลายตามศรัทธา ตามความเข้าใจ ตามการเห็นประโยชน์ และคุณค่าของพระธรรมที่ได้ฟัง เพราะฉะนั้นข้างหน้าต่อไปอีกหนึ่งปีก็จะหลากหลายสักแค่ไหน แต่ก็คือแต่ละขณะซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป ซึ่งเมื่อได้มีโอกาสฟังพระธรรมก็จะรู้ในความเป็นอนัตตาว่าฟังเพื่อเข้าใจถูก เพื่อเห็นถูก แต่ไม่ใช่เพื่อไปทำอะไร ถ้าใครคิดว่าจะไปทำอะไร เมื่อไรจะรู้ เมื่อไรจะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ก็คือว่าไม่ได้เข้าใจธรรมที่ได้ฟัง เพราะเหตุว่าการฟังนี้เพื่อความเข้าใจถูก ความเห็นถูกในสิ่งที่กำลังมีเพื่อละความไม่รู้ เพราะฉะนั้นแต่ละคำที่เป็นพระธรรมเทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเพื่ออนุเคราะห์ ก็เป็นเรื่องของธรรมที่มีจริงทั้งในอดีต ปัจจุบัน และต่อไปในอนาคตก็จะเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นการที่ได้บูชาพระรัตนตรัยด้วยการฟังธรรม สนทนาธรรมด้วยความเคารพ ด้วยความละเอียดรอบคอบอย่างยิ่งก็เป็นการบูชาเพื่อถึงความเป็นอริยสาวิตรีคือเป็นผู้ที่มีพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะเป็นที่พึ่งที่แท้จริง เพราะอย่างอื่นพึ่งได้ไหม "เห็น" ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ พึ่งอะไร โลภะเกิด หรือโทสะเกิด หรือโมหะเกิด ชื่อว่าขณะนั้นไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง แต่ว่าสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ที่พึ่งคือปัญญาที่มีโอกาสที่ได้ฟังแล้วเข้าใจ ก็จะรู้ว่าบุคคลผู้ได้ตรัสรู้ความจริงที่ทำให้แต่ละคนแม้ในยุคที่ห่างไกลพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงจากพระโอษฐ์ด้วยพระองค์เองมาถึงสองพันห้าร้อยกว่าปี ก็ยังมีกาลที่บุคคลที่ได้สะสมบุญ และศรัทธาในอดีตมีโอกาสจะได้ฟัง ไตร่ตรอง เข้าใจ เพื่อรู้ และเพื่อละความไม่รู้ เพราะฉะนั้นทั้งหมดเก็เป็นสิ่งซึ่งแต่ละขณะมีค่ายิ่ง เพราะฉะนั้นขณะไหนจะเป็นปีใหม่ปีเก่าก็เป็นแต่ละขณะซึ่งผ่านไป เพียงแต่เป็นการกำหนดกาลเวลาให้รู้ว่าผ่านไปหนึ่งปีให้รู้ได้เท่านั้นเอง
อ.วิชัย กราบเรียนท่านอาจารย์ สำหรับผู้ที่ศึกษาแล้วฟังอบรมเพื่อความเข้าใจยิ่งๆ ขึ้น แต่ความต้องการ หรือว่าโลภะก็สามารถติดข้อง หรือพอใจ หรือปรารถนาความรู้ความเข้าใจซึ่งก็จะเป็นความอยาก แต่ว่าขณะนั้นก็ไม่ใช่ความเข้าใจถูก ในขณะที่ฟังก็จะเป็นความหวังต้องการเพื่อเข้าใจให้มากๆ ในคำ หรือในพยัญชนะต่างๆ แต่ไม่รู้ถึงว่าแม้ปัญญาเองก็ต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุ และปัจจัย เพราะฉะนั้นความเป็นผู้ที่จะตรงในการที่จะรู้จักตนเองว่าสามารถเข้าใจได้แค่ไหน และเข้าใจความเป็นอนัตตาของธรรมว่าต้องเป็นอนัตตาจริงๆ คือต้องมีความจริงใจต่อการฟังจริงๆ ที่จะเข้าใจขึ้นโดยที่ไม่เป็นไปพร้อมกับความหวังต้องการเพื่อเข้าใจมากๆ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าฟังธรรมเข้าใจก็จะรู้ว่าเป็นไปเพื่อการละ แม้แต่ในขณะที่ฟังก็มีสภาพธรรมกำลังปรากฏแล้วไม่รู้จึงฟังเพื่อเข้าใจ สิ่งนี้สำคัญที่สุด “ฟังเพื่อเข้าใจ” เพราะฉะนั้นแต่ละคนก็จะรู้จักตัวเองว่าแม้จะได้ยินได้ฟังเรื่องเห็น เรื่องได้ยิน เรื่องคิดนึกสารพัดเรื่อง ความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏว่าเป็นธรรมมีมากน้อยแค่ไหน ก็เป็นเรื่องของแต่ละคน และถ้าฟังแล้วมีความเข้าใจขึ้นก็จะทำให้มีการคลายความไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่ว่าทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะว่าโลภะกับความไม่รู้มีมานานแสนนานมากจนกระทั่งสามารถที่จะเกิดเมื่อไร ขณะไหนก็ได้ แต่กุศลทั้งหลายก็ยังเกิดได้ เห็นไหมทุกคนก็รู้ว่าสะสมอกุศลมามาก ความไม่รู้ และโลภะ โทสะ อกุศลอื่นๆ อีก แต่แม้กระนั้นก็เห็นกำลังของกุศลในขณะที่เกิดว่ายังเกิดได้ แสดงว่ามีกำลังพอ แต่ว่าไม่พอถึงกับการที่จะดับอกุศลจนกว่ากุศลนั้นจะมีกำลังเพิ่มขึ้น เกิดมาเพราะกุศลกรรมทำให้เป็นมนุษย์แล้วก็เป็นมนุษย์ที่ทำความดี เป็นคนดี ทำความดี และเข้าใจธรรม มิฉะนั้นก็เป็นแต่เพียงเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วเป็นอย่างไร ถ้าไม่เป็นคนดีขณะนั้นก็เป็นอกุศล และอกุศลทำอะไร อกุศลก็ทำสิ่งที่เป็นความไม่ดี เพราะฉะนั้นก็ไม่มีทางที่จะสามารถดับกิเลสได้ ขณะนี้กำลังมีศรัทธาในความดีไหม พอได้ยินความชั่วไม่มีใครชอบแต่ก็ยังมี เพราะฉะนั้นแม้ศรัทธาที่จะชื่นชมอนุโมทนาในกุศลในคุณความดีแต่ละกาลที่เกิดขึ้น แม้เพียงแค่อนุโมทนาก็เป็นการรู้คุณของกุศล ขณะนั้นก็เป็นศรัทธาในกุศล แต่ว่านั่นคือศรัทธาในกุศล และถ้าจะกล่าวถึงว่าทำความดีด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ชื่นชมอนุโมทนาในกุศลของคนอื่น ศรัทธาในกุศลแต่ไม่ได้ทำความดี เพราะฉะนั้นเมื่อมีศรัทธาในกุศลแล้วทำกรรมดีด้วย ก็ลองคิดดูว่าความต่างกันของเพียงศรัทธาในกุศล กับสามารถที่จะกระทำกุศลนั้นด้วยได้ นี่ก็เป็นขั้นของศรัทธาที่เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นก็เจริญกุศลทุกประการที่สามารถที่จะเป็นไปได้
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720