พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
ตอนที่ ๖๙๓
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ท่านอาจารย์ ธรรมละเอียดมาก มีศรัทธาในกุศลก็เป็นกุศลที่ให้ผลระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าเป็นการทำกุศลซึ่งไม่ใช่เพียงแต่มีศรัทธาเท่านั้น ไม่ต้องกล่าวถึงเลยใช่ไหมว่าประโยชน์ต้องมากกว่าเพียงการที่มีศรัทธาในกุศล เพราะฉะนั้นในขณะที่มีการฟังพระธรรมก็ต้องรู้ว่าขณะใดที่เป็นความเห็นถูก ความเข้าใจถูก นั่นคือปัญญาในภาษาบาลี แต่เป็นขั้นของการฟังซึ่งเป็นแสงสว่างที่จะนำทางไปสู่การรู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะว่าคนที่ไม่ได้ฟังก็เหมือนคนตาบอดสนิท แล้วลองคิดดูว่าในบรรดาผู้ที่ตาบอดสนิททั้งหลายอยู่ในโลกของความไม่รู้ คือโลกของโลภะ โทสะ โมหะ วันแล้ววันเล่าจนกระทั่งจากโลกนี้ไปก็ไม่สามารถที่จะมีแม้แสงสว่างที่จะทำให้รู้ว่าหนทางนี้เป็นหนทางที่จะรู้ความจริงพ้นจากความไม่รู้ได้ ด้วยเหตุนี้การศึกษาธรรมต้องเพื่อความเข้าใจในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ เพราะถ้าไม่เข้าใจไม่สามารถที่จะละความไม่รู้ และอกุศลได้
ใครจะคิดอย่างไร จะพูดอย่างไร เป็นสิ่งที่แต่ละหนึ่งที่ได้สะสมมาซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้สะสมความเป็นผู้มีเหตุผล ความศรัทธา จิตที่เลื่อมใสผ่องใสในความจริงก็จะทำให้คนนั้นไม่ละทิ้งสิ่งที่ได้ฟังซึ่งเป็นประโยชน์เพราะสามารถที่จะทำให้เข้าใจได้ว่า สิ่งที่มีในขณะนี้เป็นสิ่งที่สามารถที่รู้แจ้งจนกระทั่งละความไม่รู้ได้ คุณขจรก็คงไม่ต้องไปสนใจอะไร คือเป็นแต่เพียงความคิดของแต่ละคน
ผู้ฟัง เข้าใจว่าที่นี่ไม่ได้ชักจูงคนให้เข้าวัด ท่านอาจารย์สอนแบบนี้ เด็กรุ่นหลังก็จะไม่เข้ามาฟังเพราะว่ายาก จะทำให้ศาสนาหมดสิ้นเร็ว เขาเข้าใจว่าที่ไปปฏิบัติที่มีประชาชนไปนุ่งขาวห่มขาวมากๆ นั่นคือเป็นศาสนาที่เจริญ แต่ตัวดิฉันเข้าใจว่านั่นไม่ใช่ศาสนาเจริญ กำลังทำให้ศาสนาเสื่อมแต่ก็ไม่กล้าจะไปพูดคัดค้านเพราะเขาเพิ่งมาฟังไม่กี่วัน ประเดี๋ยวจะเป็นการทำลายไม่ให้เขามาฟัง ก็คิดว่าถ้าเขาฟังท่านอาจารย์ ถ้าเขามีความเข้าใจขึ้น เขาก็จะละสิ่งที่ไม่เข้าใจนั่นก็ไม่ได้ไปขัดคออะไรเขา
ท่านอาจารย์ ณ วันนี้พระวิหารเชตวันมีการแสดงธรรม หรือไม่ รกร้าง ว่างเปล่า แต่เมื่อเป็นพระวิหารเชตในวันที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพานที่นั่นก็เป็นที่ทรงแสดงธรรมไม่ว่าจะกับใครที่เดินผ่านไปมาแวะเข้าไป หรือว่าเทวดายามดึกได้มาเฝ้าก็ได้ฟังธรรมทั้งหมด และไม่ใช่แต่เฉพาะพระวิหารเชตวัน ไม่ว่าจะเสด็จไปสู่ที่ใด พบใครทรงแสดงธรรมที่นั้นเป็นวัด หรือไม่
เพราะฉะนั้นวัดคืออะไร อาราม คือที่นำมาซึ่งความยินดีในธรรมไม่ใช่ความเพลิดเพลินอย่างที่อื่นใช่ไหม ถ้าที่อื่นเราก็ไปที่โน่นบ้างที่นี่บ้างซึ่งไม่มีการแสดงธรรมไม่มีการเข้าใจธรรม แต่ว่า “อาราม” คำที่ทำให้เพลิดเพลินเป็นสุขที่ได้เข้าใจความจริง
เพราะฉะนั้นพระวิหารเชตวันก็คือที่ประทับที่ทรงแสดงพระธรรมในกาลครั้งหนึ่ง แต่ ณ บัดนี้ ถ้าใครไปสู่พระวิหารเชตวันจะได้ฟังธรรมอะไร หรือไม่ ถ้าเพียงแต่เข้าไป และไม่มีการกล่าวถึงธรรมไม่มีการสนทนาธรรมเลย และก็ต้องคิดด้วยว่าธรรมไม่ได้อยู่เฉพาะที่หนึ่งที่ใด แต่ที่ใดที่มีความเข้าใจธรรมที่นั่นเป็นที่ๆ ควรไป
เพราะฉะนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไม่ได้ไปที่วัดหนึ่งวัดใดก็ได้ ใช่ไหม ระยะทางระหว่างนั้นก็ประทับแรมในที่ต่างๆ ที่จะมีผู้ที่มาเฝ้า และก็ฟังธรรม เพราะฉะนั้น ต้องมีความตรงว่าการไปเพื่ออะไร และการได้ฟังธรรมเข้าใจ ณ ที่ไหนจะไปสู่ที่นั้น หรือไม่ไปสู่ที่สามารถที่จะได้ฟัง และได้เข้าใจธรรม ต้องเป็นคนที่ตรง บารมี ๑๐ ทานบารมี การให้เป็นการสละความเห็นแก่ตัวเพราะว่าคิดถึงประโยชน์สุขของคนอื่น ถ้าเรามีทรัพย์สินเงินทองเราก็เก็บไว้สำหรับส่วนตัว แต่ที่สามารถสละให้คนอื่นได้เพราะรู้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์กับบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นก็เป็นการเริ่มที่จะคลาย และสามารถสละ จนกระทั่งสละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ถ้าไม่มีการสละเลยความเห็นแก่ตัวมากขึ้นความเป็นตัวตนก็เพิ่มขึ้นมากขึ้นทุกที ไม่สามารถที่จะสละการที่จะเข้าใจถูกว่าแม้ขณะนี้ก็ไม่มีเรา
ทุกคนกำลังนั่งอยู่ที่นี่ เห็น คิดต่างๆ เพียงถ้าปราศจากจิตเพราะจิตขณะสุดท้ายเกิด และดับไป ไม่สามารถจะทำอะไรได้ เห็นก็ไม่ได้ คิดก็ไม่ได้ พูดก็ไม่ได้ เดินก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้ แล้วร่างกายนี้เป็นของใคร แสดงชัดเจนว่าไม่มีเจ้าของ ไม่เป็นของใคร ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นจริงๆ ว่าการฟังธรรมนั้นเพื่อละความติดข้องเพราะความไม่รู้ ซึ่งจะละได้ก็ต่อเมื่อมีความรู้เข้าใจเพิ่มขึ้น การละคลายก็จะค่อยๆ เป็นไปตามลำดับ เพราะฉะนั้นถ้าสามารถที่จะให้เพื่อประโยชน์สุขแก่คนอื่นไม่ว่าจะเป็นวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ก็เป็นสิ่งซึ่งสละความเห็นแก่ตัว
เพราะฉะนั้นทาน สละความติดข้องในวัตถุที่ให้แม้ว่าเป็นธรรมทาน บางคนหวงคำพูดดีๆ เก็บไว้ก่อนอย่าเพิ่งให้ไป เอาไว้เวลานั้นเวลานี้ก็ได้ หรือเราจะแสดงให้คนได้เข้าใจเฉพาะบางที่บางแห่งก็ไม่สมควร เพราะใครจะรู้ว่าขณะต่อไปจะมีชีวิตอยู่ หรือไม่ ให้ทันทีเท่าที่สามารถจะให้ได้ตามกำลังของปัญญา เพราะผู้ที่ยังเป็นผู้ที่ติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในโผฏฐัพพะ ยังไม่ถึงความเป็นพระอนาคามีก็ย่อมจะมีความติด แต่ว่าประการแรกที่จะต้องละเหนือสิ่งใดคือการเป็นเรา หรือว่าเป็นตัวตน
เพราะฉะนั้นบางคนคิดมากเรื่องอื่น เรื่องทรัพย์สมบัติ เรื่องกิจกรรม เรื่องกิจการ เรื่องประโยชน์แต่ละอย่าง แต่ว่าจริงๆ แล้วลืมว่าขณะนั้นเข้าใจธรรมว่าเป็นธรรมซึ่งไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ของใครเพียงเกิดขึ้นปรากฏแล้วหมดไป และจะสิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ สูญสิ้นหมดทุกอย่าง ที่เข้าใจว่ามีความฉลาด ความคิด ความสามารถอะไรทุกอย่างไปสู่แม้ความเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดในนรก หรือเป็นเปรต เป็นอสุรกายก็ได้
เพราะฉะนั้นความไม่ประมาทนี้ละเอียดมาก ทุกขณะที่สามารถที่จะมีปัจจัยที่จะทำให้ระลึกได้ในการที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นก่อนอื่นไม่ใช่ไปสละโลภะโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม อารักขาคือสติที่สามารถที่จะเกิดขึ้นเข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรม ไม่ใช่เพียงแต่อารักขาไม่ให้อกุศลจิตเกิดไม่เป็นไปในโลภะ ในโทสะ แต่ต้องเพื่อการเห็นถูกว่าขณะนี้เป็นธรรม
เพราะฉะนั้นเราไปคิดถึงอารักขาด้านอื่น ใช่ไหม ไม่ให้อกุศลจิตเกิด ให้เป็นกุศลมากๆ ก็ยังเป็นเราซึ่งไม่มีทางที่จะทำให้อกุศลดับได้ ด้วยเหตุนี้ไม่คำนึงถึงอย่างอื่นที่เกิด เพราะโลภะเป็นของธรรมดาต้องเกิดเพราะมีปัจจัย โลภะไม่เกิดไม่ได้ ไม่มีใครจะไปทำให้โลภะไม่เกิดเพราะมีเหตุที่จะให้โลภะเกิดสะสมมามากที่จะติดข้องความติดข้องก็เกิดขึ้นแต่รู้ว่าเป็นธรรม
เพราะฉะนั้นประการเดียวที่จะทำให้ทุกคนพ้นจากความทุกข์ได้ก็ด้วยปัญญาที่มีความเห็นถูก ไม่หวั่นไหวในสภาพธรรมที่เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย เพราะรู้ว่าขณะนั้นเป็นธรรมซึ่งเพียงรู้ก็ดับแล้ว ไม่ต้องไปดับอะไรอีก ไม่ต้องมีเราไปทำอะไร เพียงสติระลึกสภาพนั้นก็ดับ จริง หรือเปล่า หรือยังอยู่ต่อไป เพราะว่าขณะนั้นคิดไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือไม่ใช่เสียง ไม่ใช่ธรรมอื่นใดเป็นสภาพที่คิด
เพราะฉะนั้นการฟังธรรมต้องละเอียดเพื่อเข้าใจจริงๆ ไม่ต้องไปคิดว่าแล้วเราจะเข้าใจคำนี้ได้อย่างไร และคำนั้นหมายความว่าอย่างไร แต่กำลังฟังให้เข้าใจว่ามีธรรมซึ่งยังไม่รู้ เพียงแค่ฟัง และเริ่มที่จะเข้าใจ
ผู้ฟัง ทุกวันนี้ก็มั่นคงว่าเห็นเป็นสภาพที่มีจริง
ท่านอาจารย์ แล้วอย่างอื่นนอกจากเห็น
ผู้ฟัง ได้ยิน ก็เป็นสิ่งที่มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ แล้วอะไรอีก
ผู้ฟัง ได้กลิ่น ก็มีจริง
ท่านอาจารย์ อะไรอีก
ผู้ฟัง ลิ้มรส ก็มีจริง
ท่านอาจารย์ อะไรอีก
ผู้ฟัง กระทบสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็งมีจริง
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเป็นธรรม ที่ฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะรู้ลักษณะแต่ละอย่างจริงๆ ที่กำลังปรากฏว่าเป็นธรรม คุณสุกัญญาพูดว่าทุกอย่างเป็นธรรม เห็นก็เป็นธรรม ได้ยินก็เป็นธรรม แข็งเดี๋ยวนี้ปรากฏ หรือไม่
ผู้ฟัง ปรากฏ
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม หรือไม่
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ แน่ใจ
ผู้ฟัง จากคิด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คิดเป็นแข็ง หรือไม่
ผู้ฟัง คิดไม่ใช่แข็ง
ท่านอาจารย์ แข็งดับไป หรือยัง
ผู้ฟัง แข็งดับไปแล้ว
ท่านอาจารย์ ค่อยๆ เข้าใจอย่างนี้ จนกว่าโดยตลอด โดยไม่สงสัย ตอนนี้ก็ลืมแล้วใช่ไหมว่าอะไรเป็นธรรม เพราะฉะนั้นฟังแล้วก็ลืม ฟังแล้วก็ลืม จนกว่าขณะไหนที่กำลังรู้ลักษณะจริงๆ ขณะที่แข็งกำลังปรากฏ ปรากฏกับจิตซึ่งอาศัยกายปสาทเกิดจากการกระทบกันของแข็งกับกายปสาททำให้จิตเกิดขึ้นรู้แข็ง เป็นธรรมดาไม่มีใครไม่รู้แข็งแต่ไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นธรรม ถูกต้องไหม
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจากการฟังบ่อยๆ นี้มีการรู้แข็งโดยที่ขณะนั้นเข้าใจลักษณะที่เป็นแข็งว่าลักษณะนั้นเป็นอย่างนั้น ไม่มีอย่างอื่นเจือปนทั้งสิ้น เพียงแข็งอย่างเดียวที่ปรากฏในขณะที่แข็งกำลังปรากฏ มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นเราไปรู้ หรือว่าเพราะได้ฟังมาจึงเริ่มเข้าใจว่านอกจากแข็งไม่มีอะไร มีธาตุที่กำลังรู้แข็งกับแข็ง นี่คือการค่อยๆ เจริญขึ้น เพราะฉะนั้นแข็งวันนี้เกิดดับ ไม่ได้ปรากฏลักษณะแข็งที่เป็นธรรม เพียงแต่ว่าแข็งนั้นเป็นช้อน แข็งนั้นเป็นโต๊ะ แข็งนั้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วก็ดับไปโดยที่ไม่รู้ ไม่รู้ว่าในอาการของแข็งว่าเป็นธรรม
เพราะฉะนั้นแข็งที่รู้โดยกายวิญญาณเป็นธรรมดาไม่ใช่ปรากฏด้วยดี เพราะว่าแข็งก็หมดแล้วโดยไม่รู้ หมดไปอีกก็โดยไม่รู้ว่าเป็นธรรม ต่อเมื่อใดแข็งนั้นปรากฏด้วยดี กำลังปรากฏ หรือไม่ ด้วยดีคือด้วยการรู้ว่าแข็งเป็นธรรมอย่างหนึ่งไม่ต้องพูดสังสารวัฏฏ์นี้มีแข็งหนึ่งอย่างที่ปรากฏว่ามีจริงๆ นั่นก็ปรากฏว่าแข็งเป็นธรรมซึ่งขณะนั้นแข็งปรากฏด้วยดีกว่าตอนที่ไม่รู้ใช่ไหม เพราะตอนที่ไม่รู้ แข็งทั้งวันก็ดับไปโดยไม่รู้ แต่พอแข็งปรากฏ และเริ่มรู้ว่าขณะนั้นเป็นแข็งที่ปรากฏ แม้ชั่วระยะเวลาที่สั้นมาก เพราะการฟังมาแล้วจึงรู้แข็งขณะนั้น ซึ่งปกติทั้งวันนี้ถึงมีการรู้ก็หมดไป หมดไป โดยไม่เข้าใจ นั่นก็คือสติสัมปชัญญะเกิดไม่ใช่เราที่กำลังรู้แข็ง และไม่ต้องใช้ชื่อด้วยว่าเป็นสติที่กำลังรู้แข็งซึ่งต่างกับเวลาที่แข็งไม่ได้ปรากฏลักษณะแข็งที่เป็นธรรม ก็ยังไม่ใช่ดีโดยส่วนเดียวคือละความติดข้องในแข็งว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยความเข้าใจที่ประจักษ์ความจริงของแข็งซึ่งปรากฏเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นการเจริญขึ้นของปัญญาในชีวิตประจำวันตามปกติจริงๆ ถ้าผิดปกติคือเราคิดที่จะทำอย่างนั้นจะทำอย่างนี้โดยที่ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏเพราะไม่ได้ทำ เกิดแล้วจึงได้ปรากฏ เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญาต้องละเอียดจริงๆ เพื่อที่จะเข้าใจโดยไม่ได้คิดเอาเอง เช่นคิดว่า “ขณะนี้เราก็ได้ฟังแล้วว่าทุกอย่างเป็นธรรม แต่ก็ยังเป็นเรา” ก็ถูกต้อง ยังไม่ได้ดับความเป็นเราเพราะยังไม่ใช่ปัญญาที่รู้ความจริงของการเกิดขึ้น และดับไปของธรรม เมื่อมีความรู้ขั้นนี้ก็ต้องเป็นขั้นนี้จะไปถึงขั้นสูงกว่านี้ก็ไม่ได้ จนกว่าจะอบรมค่อยๆ เข้าใจขึ้นตามลำดับ
ผู้ฟัง ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในระดับของการละนี้เป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ อยากแล้วใช่ไหม คุณสุกัญญาต้องการประโยชน์อะไร
ผู้ฟัง ทราบว่าเป็นหนทางที่ถูก เพราะฉะนั้นก็มีความรู้สึกว่าเป็นประโยชน์
ท่านอาจารย์ ประโยชน์ที่ได้เข้าใจธรรม เห็นไหม ถ้าไม่มีการฟังเลยเป็นคุณสุกัญญาคนก่อนเมื่อยี่สิบปีมาแล้วคงไม่ได้เข้าใจคำว่า “ธรรม” ถูกต้องไหม แต่เมื่อมีการฟังการพิจารณาก็เริ่มรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ไม่ต้องไปแสวงหาธรรมที่ไหน เวลาที่ไม่รู้ว่าเป็นธรรมจะมีการสนใจที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่ปรากฏ หรือไม่
ถ้าไม่รู้ธรรมเลย ชีวิตทุกคนก็เป็นไปตามโลภะ โทสะ โมหะ แต่พอรู้ว่าเป็นธรรม และประโยชน์ก็คือว่าจากที่ไม่เคยรู้แล้วเป็นความรู้ที่ค่อยๆ รู้ขึ้นว่าจริงๆ และสิ่งที่มีชั่วคราว เห็นชั่วคราว ได้ยินชั่วคราว และก็ไม่สามารถที่จะบันดาลให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดได้ สิ่งที่เกิดแล้วก็จะไม่ให้หมดไปก็ไม่ได้ นี่คือความเห็นถูกความเข้าใจถูกเป็นประโยชน์ไหม ที่ได้รู้ความจริงอย่างนี้
เพราะฉะนั้นประโยชน์จะยิ่งมีมากขึ้นเมื่อมีความเข้าใจความจริงยิ่งขึ้น เพราะว่าเราพูดว่าเราบังคับบัญชาไม่ได้ แต่เราก็อยากให้เป็นอย่างนั้นอยากให้เป็นอย่างนี้ทั้งๆ ที่รู้ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ แต่ว่าถ้ารู้จริงๆ อะไรจะเกิดขึ้นเกิดแล้ว แสดงให้เห็นถึงความเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้จริงๆ เมื่อเกิดแล้ว
เพราะฉะนั้นความรู้ความเข้าใจของเราก็จะมาถึงสิ่งที่มีจริงไม่ใช่เป็นการอยากไปรู้ว่าแล้วตอนนั้นจะเป็นอย่างไรแล้วตอนนี้จะเป็นอย่างไร ประโยชน์ที่มากกว่านี้เป็นอย่างไร เพียงแต่ว่าประโยชน์ที่ได้เข้าใจแต่ก็ยังไม่พอ เพราะเหตุว่ารู้ว่าธรรมไม่มีใครบังคับบัญชา เกิดแล้วก็หมดไป เกิดแล้วก็หมดไปแต่ยังติดข้องในธรรมทั้งหมด ด้วยความเป็นเรา หรือว่าด้วยความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เพราะฉะนั้นการเข้าใจธรรมยิ่งขึ้นก็จะทำให้ละความเห็นผิดที่ยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นเราเป็นเขา เพราะเหตุว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่สามารถปรากฏทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกาย และทางใจก็คิดนึกแล้วหมดไป ความคิดของคุณสุกัญญาเมื่อวานนี้มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ยังอยู่ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่อยู่
ท่านอาจารย์ แล้ววันนี้ พรุ่งนี้จะยังอยู่ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้มี เดี๋ยวนี้มี หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ นี่คือการเข้าใจความไม่เที่ยง สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิดแล้วก็ดับไปควร หรือที่จะติดข้อง แต่ก็เพราะความไม่รู้นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงมีความเข้าใจ และความรู้เท่านั้นที่สามารถดับความติดข้องยึดถือ และความเห็นผิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้
ผู้ฟัง เข้าใจว่าธรรมมีอยู่บางครั้งจะฟังแล้วก็จะเผินเหมือนว่าว่าเข้าใจ แต่จะเข้าใจในบางขณะเท่านั้น กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์อนุเคราะห์ให้พวกเราได้ฟังความจริง
ท่านอาจารย์ ก็วิริยะบารมี ขันติบารมี จนกระทั่งถึงสัจจะ มั่นคงเป็นผู้ที่ตรง อธิษฐานบารมีทุกอย่างขาดไม่ได้ กว่าสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏได้เพราะว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง และยากที่จะเข้าใจ แต่พอมีความเข้าใจแล้ว ความเข้าใจนั้นก็จะค่อยๆ เจริญเพิ่มขึ้นอีกต่อไปได้
ผู้ฟัง การรู้ว่าเป็นธรรมจริงๆ นี้เป็นอุปนิพันธโคจร หรือไม่
อ.วิชัย ขณะที่สติเกิดระลึกได้ ไม่ใช่เพียงแค่ฟังเท่านั้น ใช่ไหม แต่ว่าความเจริญขึ้นจากขั้นการฟังก็เริ่มที่จะมีปัจจัยที่จะให้สติระลึกได้ในลักษณะของสภาพธรรมที่จะมีธรรมขณะนี้ปรากฏอยู่ แต่ปกติก็ไม่เคยรู้แต่ว่าเมื่อเริ่มมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น สติก็ค่อยๆ เจริญขึ้นที่จะรู้ และก็สามารถที่จะระลึกได้ในลักษณะที่ปรากฏ
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นจะขอความกรุณาให้แสดงต่อในความละเอียดของอารักขโคจรว่าแตกต่างจากอุปนิพันธโคจรอย่างไร
ท่านอาจารย์ เวลาที่โทสะเกิดขึ้นแล้วก็รู้ซึ่งปกติไม่รู้ใช่ไหมว่าเป็นธรรม ขณะนั้นเป็นความรู้ขั้นฟัง และถ้าสามารถที่จะเข้าใจได้ว่าขณะนั้นเพียงขั้นฟัง เห็นไหมก็จะทำให้ถึงอุปนิพันธว่าความจริงไม่ใช่ขั้นฟัง หรือขั้นคิดแต่ต้องเป็นการที่กำลังเข้าใจลักษณะที่เป็นธรรมจริงๆ
เพราะฉะนั้นแม้แต่การฟังแล้วก็เกิดอกุศลใดๆ หรือกุศล หรืออะไรก็ตามที่เกิดขึ้นนี้มีการระลึกได้ ระลึกได้เป็นคำก็มี ชั่วขณะ หรือว่าระลึกได้ที่เห็นโทษของอกุศล เพราะว่าบางคนที่เคยที่เป็นคนโกรธง่าย โกรธมาก แต่พอฟังธรรมแล้วก็เกิดระลึกได้เวลาที่โกรธว่าไม่มีประโยชน์ ทำร้ายตนเองแท้ๆ ซึ่งคนอื่นไม่สามารถที่จะทำร้ายได้ จะทำร้ายใครก็แค่กาย วาจากระทบกระทั่ง แต่ทำร้ายใจของคนที่กำลังไม่โกรธไม่ได้
เพราะฉะนั้นถ้าขณะนั้นที่กำลังโกรธ ขอยกตัวอย่างเรื่องโกรธ อกุศลทั้งหลายโลภะ หรือมานะ หรืออะไรก็แล้วแต่ ริษยาก็มีมากมาย แต่ว่าเวลาที่ความโกรธเกิดขึ้น และก็มีการระลึกได้ เห็นโทษของความโกรธ แต่ขณะนั้นไม่ใช่อุปนิพันธเพียงเป็นอารักขโคจรที่ทำให้มีการฟังจนกระทั่งสามารถที่ระลึกได้ในโทษของอกุศล
แต่ว่าขณะที่กำลังระลึกได้ในโทษของอกุศลกับระลึกได้ว่าไม่รู้ว่าเป็นธรรม เห็นไหมต่างกันแล้ว โกรธเกิดขึ้นรู้โทษขั้นหนึ่งทำให้กุศลจิตเกิดแล้วก็ขณะนั้นโทสะก็ไม่เกิดขณะที่กุศลจิตเกิด กับขณะที่โทสะเกิดไม่ใช่การรู้โทษของโทสะ แต่รู้ว่ายังไม่รู้ว่าโทสะเป็นธรรม ต่างกันแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นขณะนั้นอารักขาเพื่อที่จะถึงอุปนิพันธคือเริ่มเข้าใจลักษณะของโทสะว่าขณะนั้นเป็นธรรม
แต่ส่วนใหญ่เราคิดถึงชื่อ ใช่ไหม พอโทสะเกิดก็นึกเลยแล้วแต่ว่าจะนึกประการใด เห็นโทษประการใด หรือโทสะก็เป็นแต่เพียงลักษณะธรรมอย่างหนึ่งก็เป็นแค่การคิดนึก แต่อารักขาจริงๆ คือรู้ว่าขณะนั้นยังไม่รู้ความเป็นธรรมของโทสะ นี่จะเป็นหนทางที่จะทำให้ถึงอุปนิพันธโคจร
เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด เริ่ม หรือยังขณะนี้ ฟังธรรม เข้าใจธรรม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720