พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
ตอนที่ ๗๐๓
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อ.กุลวิไล พระอภิธรรมก็ไม่พ้นสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เอง เพราะว่าทั้งหมดเป็นธรรม เรามีความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ หรือไม่ ถ้าไม่สะสมความเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริง ขณะนั้นก็เป็นไปกับอกุศลธรรมมากมาย เพราะว่าชีวิตประจำวันทุกท่านคงไม่ปฏิเสธ ความไม่รู้มีมาก และแน่นอนถ้ามีความไม่รู้ก็ย่อมมีความติดข้อง และมีความขุ่นเคืองใจ นี่คือชีวิตประจำวันนั่นเอง
เรามีการเห็น มีการได้ยิน มีการคิดนึก แต่คิดนึกด้วยกุศลจิต หรืออกุศลจิต เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ธรรมที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน โอกาสที่จะเจริญกุศลแม้แต่ขั้นทานขั้นศีลก็ไม่ได้มีบ่อยมาก นี่คือกุศลทั่วๆ ไป แต่ปัญญาที่เห็นถูกในสิ่งที่มีจริงในขณะนี้เป็นปัจจัยให้กุศลธรรมเจริญได้ถ้ามีความเห็นถูกนั่นเอง เพราะว่าความเข้าใจถูกความเห็นถูกในธรรมเป็นปัญญา ท่านอาจารย์เคยให้ความเข้าใจว่า “การศึกษาธรรมจุดประสงค์ก็คือเพื่อความเข้าใจในสิ่งที่มีจริงในขณะนี้” เพราะทั้งหมดเป็นธรรม
สำหรับความคิดก็มีการสนทนาค้างมาตั้งแต่เมื่อวานนี้ในเมฆิยสูตร ผู้ที่มีความตรึก หรือว่าคิดเป็นไปในฝ่ายอกุศลก็ต้องมี เราตรึกไปในกาม หรือว่าตรึกไปในความพยาบาท หรือว่าตรึกไปในความเบียดเบียน นี้ก็คือเป็นไปในอกุศลนั่นเองถ้าไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง เพราะว่าสภาพธรรมที่เป็นวิตก หรือวิตกเจตสิกเป็นสิ่งที่มีจริง โดยสภาพธรรมแล้วก็แล้วแต่จะเกิดกับจิตชาติใด แต่เมื่อใดที่เกิดกับอกุศลจิตขณะนั้นเป็นชาติอกุศล แล้วขณะนั้นก็ตรึกไปในกามนั่นก็คือในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ด้วยความติดข้อง และไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง บางครั้งมีความขุ่นเคืองใจถึงขั้นให้เกิดความพยาบาท คิดขุ่นเคืองใจบ่อยๆ โดยที่ไม่รู้ว่าขณะนั้นจิตนั้นเป็นอกุศล และก็มีสภาพธรรมที่เป็นโทสะ หรือความโกรธเกิดขึ้นแล้ว หรือแม้แต่คิดจะเบียดเบียนผู้อื่นได้ สิ่งนี้ก็คือสภาพธรรมที่เป็นฝ่ายไม่ดีนั่นเองที่ทำให้เราคิดไม่ดีคิดผิดซึ่งเป็นไปในฝ่ายอกุศล
ซึ่งมีคำถามค้างอยู่เมื่อวานนี้เพราะว่าข้อความในเมฆิยะสูตรท่านกล่าวถึงว่า “พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก” กราบเรียนท่านอาจารย์ถึงความละเอียดของการที่เป็นผู้ที่เจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก เพราะว่าทั้งหมดก็คือธรรมที่มีในขณะนี้เอง แต่ถ้าเราไม่เข้าใจสภาพธรรมที่เป็นจริงก็บ่อยครั้งที่เราเข้าใจผิดแล้วก็คิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมที่ทุกท่านอาจปรารถนาจะเป็นผู้ที่มีอานาปานสติ เพื่อที่จะตัดวิตกที่เป็นอกุศลวิตก
ท่านอาจารย์ ถ้าใจคำว่า “อกุศลวิตก” ก็ง่ายขึ้น ใช่ไหม เพราะเหตุว่าใครจะไปตัดวิตกธรรมดาเป็นไปไม่ได้เพราะเหตุว่าวิตกเป็นสภาพที่เกิดกับจิตส่วนมากเว้นไม่เกิดกับจิตบางประเภท เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงเรื่องการตัดวิตกก็คือ หมายความถึงอกุศลวิตก ซึ่งขณะใดก็ตามที่จิตเป็นกุศลขณะนั้นวิตกเกิดด้วยแต่ว่าเป็นกุศลวิตก
เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่กุศลจิตเกิดขณะนั้นอกุศลวิตกก็ไม่มี ใช่ไหม เพราะฉะนั้น การที่จะฟังธรรมเพียงผิวเผิน และก็คิดว่าเพื่อที่จะไม่ให้มีวิตก หรือว่าตัดกุศลวิตกก็จะเจริญอานาปานสติ แต่ว่าตามความเป็นจริงคือ ขณะใดกุศลจิตเกิดขณะนั้นแม้วิตกก็เกิดแต่ว่าเป็นกุศลวิตก และใครสามารถที่จะมีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ได้ในขณะนี้ ถ้าไม่รู้จักสติแล้วจะให้มีอานาปานสติได้ไหม
อ.กุลวิไล ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคำสอนทั้งหมดเป็นเรื่องของปัญญา คือความเห็นถูกต้องในสิ่งที่มี หรือว่าในสิ่งที่ได้ฟัง เพราะแม้แต่ในขณะนี้สติเกิด หรือไม่ ตำราที่ทรงแสดงไว้ตามความเป็นจริงคือขณะใดที่จิตเป็นกุศลขณะนั้นมีสติเจตสิกเกิด และเพราะสติเกิดจิตนั้นจึงเป็นกุศล เพราะระลึกได้ที่จะเป็นไปในทางกุศล เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ว่าขณะนี้สติเกิด หรือไม่ แล้วสติจะมีอานาปานคือลมหายใจเป็นอารมณ์ได้ไหม
อ.กุลวิไล ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจถูกในสภาพธรรม ไม่ใช่เพื่อหวังว่าจะมีลมหายใจเป็นอารมณ์
อ.กุลวิไล ลมหายใจก็เป็นรูปที่เกิดจากจิต จริงๆ แล้วในชีวิตประจำวันก็มีสภาพธรรมที่เป็นรูปด้วยเพราะเราก็ศึกษากันมา สภาพธรรมที่เป็นรูปที่ปรากฏได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ถ้าหากผู้ที่ศึกษาแล้วเจาะจงที่จะรู้ลมหายใจดูเหมือนว่าการเลือก หรือเจาะจงที่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมต้องเข้าใจความละเอียด ทำไมตรัสเรื่องอานาปานคือลมหายใจ เพราะเหตุว่ากุศลทั้งหลายเกิดขึ้นสืบต่อกันเพียง ๗ ขณะแล้วก็มีภวังคจิตขั้น แล้วก็มีไม่มีการรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจใดๆ ทั้งสิ้นในขณะที่เป็นภวังค์ มีอารมณ์เหมือนปฏิสนธิขณะ หรือว่าขณะที่กำลังเป็นภวังค์คือหลับสนิท ซึ่งขณะนี้เป็นอย่างนี้แต่ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้นกุศลตั้งมั่นไม่นาน เพราะเหตุว่าเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นการฟังธรรมแล้วเข้าใจในขณะนี้ ขณะที่เข้าใจปัญญาก็มีความเข้าใจเกิดดับสืบต่อสั้นมากเพียง ๗ ขณะ แต่ไม่มีใครรู้ เพราะฉะนั้นการที่จะให้กุศลตั้งมั่นคงนานก็ต้องอาศัยปัญญาที่สามารถที่จะมีอารมณ์ที่ละเอียดที่ทำให้ไม่ไปสู่อารมณ์หยาบๆ และสามารถที่จะให้อารมณ์นั้นตั้งมั่นคงด้วยกุศลที่ปรากฏความตั้งมั่นขึ้นตามลำดับจึงสามารถที่จะไม่มีวิตกเป็นอารมณ์ได้ เพราะแม้แต่ขณะที่กำลังมีความตั้งมั่นคงที่อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ขณะนั้นก็มีวิตกเจตสิก แม้ที่ลมหายใจ ถ้าขณะนี้ใครจะมีการรู้ลมหายใจด้วยสติ ไม่ใช่ด้วยความจงใจ แม้ขณะนั้นก็ต้องมีสติเจตสิก และวิตกที่จรดในลมหายใจเป็นอารมณ์ ไม่ใช่ว่าขณะที่มีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์แล้วไม่มีวิตก ยังไม่ใช่อย่างนั้น เพียงแต่ว่ามีวิตกที่เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญาสามารถที่จะมีลมหายใจจริงๆ ซึ่งเกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานเป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้นขณะนั้นเป็นกุศล หรือไม่ เพราะว่าสติขณะนั้นไม่ได้มีการจงใจที่จะเลือกแต่ว่าเป็นผู้ที่สะสมอัธยาศัยที่จะมีลมหายใจได้โดยที่สติสัมปชัญญะเกิดแล้วก็รู้ลักษณะของลมหายใจ ซึ่งขณะนี้ทุกคนมีลมหายใจ แต่ใครรู้ลักษณะของลมหายใจ ถ้าไม่ได้สะสมมาถึงระดับที่สติจะมีลมหายใจเป็นอารมณ์ แม้สติจะมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ เกิด หรือไม่ ไม่ต้องถึงลมหายใจเพียงแค่สิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วกุศลจิตจะเกิดพร้อมด้วยปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏก็ไม่มี หรือถ้าจะกล่าวโดยนัยของสมถภาวนา สมถะคือความสงบ ภาวนาคือเกิดปัญญาที่รู้ความสงบในขณะนั้นจึงสามารถที่จะเจริญความสงบยิ่งขึ้นได้ แม้ขณะนั้นก็ไม่มี เพราะฉะนั้น เรื่องของธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดไม่ใช่เรื่องที่พอได้ยินก็จะทำ หรือคิดว่าจะทำได้ โดยที่ไม่เข้าใจจริงๆ ว่า แม้ขณะที่กำลังมีลมหายใจก็ยังมีวิตกเจตสิก หรือวิตกเกิดร่วมด้วยแต่ไม่ใช่อกุศลวิตก
เพราะฉะนั้นกว่ากุศลวิตก วิตกเจตสิกที่สามารถที่จะมีลมหายใจเป็นอารมณ์ตั้งมั่นคงจนปรากฏความสงบขึ้นตามลำดับขั้นขณะนั้น จนกระทั่งถึงขณะที่เป็นทุติยฌาน วิตกเจตสิกจึงไม่เกิด นี่คือการศึกษาธรรมจริงๆ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ศึกษาธรรมเราคิดเองเราก็คิดว่าขณะใดก็ตามที่มีลมหายใจเป็นอารมณ์ขณะนั้นก็ตัดวิตกได้
อ.กุลวิไล แสดงว่าขณะที่ตัดวิตกขณะนั้นต้องได้ฌานจิตที่เป็นทุติยฌาน
ท่านอาจารย์ ยังไม่พูดถึงเรื่องตัด หรือไม่ตัด แต่หมายความว่าปกติเป็นอกุศลวิตก และเมื่อกุศลเกิดขึ้นเมื่อไรขณะนั้นเป็นกุศลวิตกแต่ยังมีวิตก เพราะฉะนั้นที่จะไม่มีวิตกเจตสิกได้ด้วยกำลังของปัญญาที่อบรมความสงบไม่ว่าจะมีลมหายใจ หรือไม่ใช่ลมหายใจก็ตามเป็นอารมณ์ แล้วแต่ขณะนั้นสะสมมาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดแล้วสงบ เมื่อถึงความสงบที่มั่นคง ขณะนี้ความสงบมี มั่นคง หรือเปล่า ๗ ขณะจิตที่เป็นกุศลเกิดแล้วดับมีภวังค์ขั้นแล้วก็ ๗ ขณะจิตที่เป็นกุศล แม้จะมากสักเท่าไรก็ยังไม่ปรากฏลักษณะของความสงบที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนี่ง เพราะว่ากุศลจิตทางตาบ้าง ทางหูบ้าง จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้นไม่ได้ตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์เดียว แต่ถ้าขณะนั้นความสงบตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์เดียวจะสงบลักษณะที่ปรากฏจะเป็นสมาธิจึงใช้ส่วนใหญ่ ไม่ได้กล่าวถึงปัสสัทธิเจตสิก แต่กล่าวถึงสมาธิว่าสมาธิตั้งมั่นเพราะลักษณะของความสงบต้องมีตั้งแต่ต้นขณะที่เป็นกุศล และเมื่อสงบขึ้น ตั้งมั่น ลักษณะของความตั้งมั่นก็ปรากฏเป็นระดับขั้นของสมาธิขั้นต่างๆ ขั้นต้น ถ้าจะไม่กล่าวถึงบริกรรมคือการเริ่มต้นจริงๆ ก็จะถึงอุปจารสมาธิยังไม่ใช่ฌานจิต ยังมีนิวรณธรรมเกิดสลับได้จนกระทั่งถึงอัปปนาสมาธิเมื่อไร จิตตั้งมั่นแนบแน่นในอารมณ์เดียว ขณะนั้นก็ยังมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยจนกระทั่งเห็นโทษของปฐมฌาน ฌานขั้นแรกที่เป็นอัปปนาสมาธิ ใกล้ต่อรูปเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นถ้ายังคงมีการตรึกนึกถึง มีวิตกแม้ในกุศล บางครั้งก็จะเป็นปัจจัย หรือโอกาสของวิตกที่จะตรึกถึงรูปด้วยอกุศล
เพราะฉะนั้นเมื่อมีปัญญาที่เห็นโทษของวิตกก็สามารถที่จะรู้ว่าจะสงบได้เมื่อมีความชำนาญโดยไม่ต้องมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย นั่นคือจากการที่บรรลุฌานที่เป็นอัปนาสมาธิขั้นแรกคือขั้นปฐมฌานยังมีวิตก จนกว่าจะขณะถึงที่สามารถที่จะสงบในอารมณ์เดิมอารมณ์นั้น แล้วก็ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย
เพราะฉะนั้นธรรมไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราไม่ฟัง ไม่พิจารณาแล้วก็จะตัดโดยที่ไม่เข้าใจว่าหมายความถึงขณะนั้นสภาพธรรมนั้นเกิดไม่ได้เพราะอะไร
อ.กุลวิไล คุณขนิษฐาจะร่วมสนทนาด้วย ขอเชิญ
ผู้ฟัง วันนี้อยากจะมาขอบคุณท่านอาจารย์สุจินต์เป็นอย่างสูง หลังจากที่ได้ฟังธรรมเรื่องเมตตา ครั้งหนึ่งก็โกรธเพื่อนมากแล้วก็มาที่มูลนิธิได้ MP๓ เรื่องเมตตาไป ฟังแผ่นนั้นอยู่อาทิตย์หนึ่งก็เข้าใจว่าความเมตตาที่เราคิดว่าเรามีนั้นน้อยนิดมากกับที่ท่านอาจารย์บรรยายออกมา ฟังแล้วอยากจะพูดอย่างที่สมัยที่พระพุทธคนที่ฟังธรรมแล้วบอกว่า “แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้า” มีความรู้สึกอย่างนั้น ขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์มากได้รู้เรื่องอื่นด้วยบางสิ่งที่เราคิดว่าสิ่งนี้เป็นกุศลแต่กลับไม่ใช่แต่เป็นอกุศล กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ และทุกๆ คน
ท่านอาจารย์ ก็ต้องระลึกถึงพระคุณของพระธรรม พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงแล้ว
อ.กุลวิไล มีผู้เขียนมาถาม “ว่าวิตกอันเลวทราบหมายความว่าอย่างไร” เรียนเชิญคุณอรรณพ
อ.อรรณพ ก็คงพอเข้าใจเจตสิกอย่างหนึ่งก็คือวิตก วิตกเจตสิกเป็นสภาพที่เกิดกับจิตส่วนใหญ่ ถ้าเป็นวิตกที่เลวทรามก็คือเป็นอกุศลวิตก เพราะฉะนั้น ตอนที่อกุศลจิตเกิดขึ้นอกุศลจิตต้องมีวิตกเจตสิกซึ่งทำหน้าที่จรดในอารมณ์นั้น หรือตรึกในอารมณ์นั้นตามการสะสม วิตกที่เป็นอกุศลที่เป็นไปในอกุศลประการต่างๆ มีกามวิตกคือด้วยความติดข้อง ด้วยโลภะ หรือตรึกด้วยโทสะเป็นพยาปาทวิตก หรือรุนแรงกว่านั้นถึงขั้นที่เป็นวิหิงสาวิตกคืออกุศลนั้นมาก อกุศลวิตกนั้นก็ตรึกจรดในอารมณ์ที่เป็นปัจจัยถึงขั้นที่จะทำให้อกุศลนั้นถึงขั้นล่วงทุจริตกรรม มีกายวาจาที่เบียดผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเสียหายนั่นคืออกุศลวิตก เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันอกุศลวิตกก็มีอยู่เนืองๆ ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงเป็นวิตกที่ตรึกถึงขั้นเบียดเบียน
เพราะฉะนั้น ยินดีพอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมู ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้นก็เป็นกามวิตกซึ่งก็มีตั้งแต่ระดับเล็กๆ หรือขุ่นใจนิดหน่อย อากาศร้อนไปนิดนึง อบอ้าวโทสะเกิด หรือว่ามีความไม่ชอบบุคคลโน้นบุคคลนี้ สิ่งนั้นก็เป็นพยาปาทวิตก แต่ถึงขั้นตรึกถึงเบียดเบียนแล้วมีการล่วงทุจริตกรรม อกุศลวิตกนั้นก็มีกำลังรุนแรงขึ้น
เพราะฉะนั้นเมื่อฟังอย่างนี้ ทุกคนก็มีวิตกอีกอย่างที่น่าจะพิจารณาว่าเป็นกุศล หรืออกุศล แม้เราศึกษาเรื่องวิตกซึ่งเป็นสภาพที่จรดในอารมณ์ที่มีทั้งอกุศลวิตก และกุศลวิตก กุศลวิตกก็คือตรึกไปในการที่จะไม่ติดข้องเมื่อได้ฟังอัปปิจฉกถาใช่ไหมเมื่อวานนี้คือคำสอนที่เป็นไปเพื่อความไม่มีความปรารถนาคือไม่มีโลภะ ขณะที่ฟังอย่างนั้นใจน้อมไปด้วยโสภณธรรมต่างๆ ขณะนั้นมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย และวิตกนั้นตรึกที่จะเห็นโทษของความติดข้อง ตรึกที่จะขัดเกลาความติดข้องขณะนั้นก็เป็นวิตกที่ดีงามใช่ไหม เป็นกุศลวิกตที่ตรึกที่จะไม่ติดข้อง หรือตรึกที่จะไม่เบียดเบียน ตรึกที่จะไม่เกิดโทสะ และประทุษร้ายอะไรลงไป เพราะฉะนั้น สิ่งนี้ก็คืออกุศลวิตก และกุศลวิตกในชีวิตประจำวัน แต่ทีนี้ฟังแค่นี้ก็ไม่สามารถห้ามอกุศลวิตกที่เป็นไปด้วยความเป็นตัวตนที่อยากไม่มีอกุศลวิตก และอยากจะมีกุศลวิตก ขณะที่มีความตรึกไปที่อยากจะไม่มีอกุศลวิตก และอยากจะมีกุศลวิตก การตรึกอย่างนั้นเป็นอะไร เป็นอกุศล เพราะว่าขณะนั้นต้องการที่จะมีกุศลวิตก และต้องการที่จะไม่มีอกุศลวิตก
และพอมาได้ยินถึงข้อความพระสูตรเมื่อวานที่พระองค์ท่านทรงแสดงซึ่งต้องเป็นความจริงแน่นอนว่า “อานาปานสติละวิตก” ก็อยากจะเจริญอานาปานสติ เพราะฉะนั้น ขณะที่คิดอยากจะเจริญอานาปานสติเพื่อละอกุศลวิตกขณะนั้นเป็นกุศลวิตก หรืออกุศลวิตก ก็เป็นอกุศลวิตกที่อยากได้อานาปานสติเพราะไม่เข้าใจ ก็เพ้อคำว่า “อานาปานสติ” กันแล้วก็เหมือนจะดีที่จะละวิตก จริงอยู่แน่นอน เพราะว่าพระองค์ท่านทรงแสดงต้องเป็นความจริงถ้าผู้ที่มีการอบรมความสงบของจิตโดยมีอารมณ์ที่ละเอียดคือลมหายใจเป็นที่ตั้งกรรมฐาน ฐานะก็คือลมที่ละเอียดนั้นนิมิตของลมนั้นเป็นที่ตั้งของการเจริญความสงบของจิต ซึ่งการเจริญความสงบของจิตที่เกิดขึ้นแม้ยังละวิตกไม่ได้แต่สามารถที่จะข่มอกุศลวิตกไว้ได้
แต่ว่าด้วยอารมณ์ที่ละเอียดที่เป็นที่ตั้งของฌานเนี่ยสามารถเป็นอารมณ์ได้ถึงปัญจมฌานซึ่งก็จะละวิตกทั้งหมดเลยในขณะที่เป็นฌานที่สูงกว่าปฐมฌานคือตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้นไป เพราะฉะนั้น เป็นความจริงเช่นนั้นว่าอารมณ์ที่ละเอียดนั้นสามารถเป็นที่ตั้งของการกระทำคือเป็นกรรมฐานที่เพื่อความสงบสมถกรรมฐาน ที่ตั้งของการกระทำก็คือสติปัญญา ความเพียร และก็องค์ของฌานต่างๆ ในระดับสมถะที่จะสงบตั่งมั่นอย่างไร แต่ว่าสะสมมาที่จะเป็นถึงขั้นนั้นไหม ก็ไม่ใช่ ใช่ไหม เหมือนตอนนี้จะมีบ้านใหญ่ๆ อยู่ในที่มีสภาพแวดล้อมดีมากๆ อยู่ต่างประเทศเช่นสวิสเซอร์แลนด์ ดีไหม ดีถ้ามีถ้าทำได้ แต่ว่ามีเงินอยู่ไม่กี่พันบาทต่อเดือนก็เป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น ทรัพย์สินไม่มี เงินไม่มี แล้วเราจะคิดว่าใช้เงินเยอะๆ ไม่ได้ฉันใด สิ่งนี้ยังห่างไกล แต่ปัญญาไม่มีถึงระดับนั้นแล้วเราไปคิดใช้สติ ใช้ปัญญาใช้ความเพียร ใช้สภาพธรรมที่เป็นองค์ของฌานขั้นสูง หรือว่าเป็นองค์ของการตรัสรู้ก็คือโพชฌงค์ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนาจนรู้แจ้งอริยสัจธรรมท่านก็อบรมเจริญองค์ของโพชฌงค์ต่างๆ อย่างชำนาญ
เพราะฉะนั้น ท่านก็สามารถที่จะน้อมไปที่องค์ของการตรัสรู้นั้นจะเกิดขึ้น มีความปีติโสมนัส มีความสงบปัสสัทธิอย่างมากก็เป็นปัจจัยให้จิตนั้นผ่องใส และจิตชรูปก็ผ่องใสก็หายจากโรคตามสมควร ถ้ายังไม่ถึงกาลที่จะต้องจุติไปก็หายจากโรคนั้นได้ อย่างพระผู้มีพระภาค พระมหากัสสปะ เป็นต้น เพราะฉะนั้นดีแน่นอนแต่ไม่ถึงอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น ในเรื่องของวิตกอันเลวทรามนี้ ถ้าย้อนมาคุยเฉพาะระดับพวกเราวิตกอันเลวทรามอันได้แก่กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตกในชีวิตประจำวันคลายได้ตามสมควร ถ้ามีปัญญามีความเข้าใจกุศลเกิดขึ้นก็คลายจากอกุศลวิตก เพราะฉะนั้น การจะคลายจากอกุศลวิตกท่านก็แสดงไว้ในมงคลคาถาก็คือการฟังธรรม การสนทนาธรรมเป็นมงคล
เพราะฉะนั้นการฟังธรรม และการสนทนาธรรม ถ้ามุ่งถึงการเข้าใจพระธรรมไม่ได้ตรึกที่จะเป็นอกุศลวิตกว่าคนโน้นเป็นอย่างไร คนนี้เป็นอย่างไร ใช่ไหม แต่ตรึกตาม พระธรรม ขณะนั้นเป็นการตรึกพร้อมปัญญาที่เข้าใจในคำสอน คำสอนนั้นจึงเป็นคำสอนที่ทำให้สะสมอุปนิสัยของความเข้าใจก็คืออุปนิสสยโคจร แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจไม่ใส่ใจ ถึงฟังพระธรรมอยู่แต่ตรึกไปอีกอย่าง อย่างเดียรถีย์ก็มาฟังพระธรรม ใช่ไหมแต่เขาก็ตรึกไปว่าเราก็จำไปเดี๋ยวก็เอาไปพูดบ้าง เราก็พูดได้เหมือนกัน อย่างนี้ก็คืออกุศลวิตก คลายด้วยศรัทธาความเห็นประโยชน์ และปัญญาที่เข้าใจพระธรรม ฟังพระธรรมสนทนาธรรมนี้ เป็นไปเพื่อคลายอกุศลวิตกในชีวิตประจำวันในระดับที่เป็นไปได้ ไม่ใช่ไปคิดถึงจะทำอานาปานสติที่จะละวิตกทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่เหลือวิสัย
อ.กุลวิไล เชิญคุณธิดารัตน์ช่วยตอบคำถามเพื่อให้ความเข้าใจกับท่านผู้เขียนมาถามว่า “สติกับปัญญาไม่เกิดพร้อมกันได้ไหม ถ้าได้เพราะเหตุใด ถ้าไม่ได้เพราะเหตุใด”
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720