พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
ตอนที่ ๗๐๗
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ท่านอาจารย์ จิต ๑ ขณะจึงรู้อารมณ์ได้เพียง ๑ อย่าง เพราะฉะนั้นในขณะนั้น ถ้าเข้าใจจริงๆ รอบรู้จริงๆ มั่นคงจริงๆ เป็นสัจจญาณก็จะต้องมีการเข้าใจได้ว่าขณะนั้นไม่มีโลกอื่นเลย ที่กำลังมีในขณะนี้ไม่เหลือเลย ลองคิดถึงขณะนี้ไม่มีอะไรทั้งสิ้นมีแต่ได้ยินกับเสียง ในขณะที่ได้ยิน และก็เสียงปรากฏ อย่างอื่นไม่มี นั่นคือการรู้ลักษณะของธาตุ หรือธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้ซึ่งกำลังมีเสียงปรากฏเท่านั้นในขณะนั้น ก็ยังไม่เข้าใจในความเป็นปัจจัย
เพราะว่าไม่ใช่เป็นการนึกถึงชื่อว่าขณะนั้นมีปัจจัยอะไรบ้าง เป็นสัมปยุตตปัจจัย หรืออะไรอย่างนั้นก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นวิปัสสนาญาณ การรู้แจ้งสภาพธรรมโดยการประจักษ์จริงๆ ก็ต้องตามลำดับ เพราะฉะนั้นเคยเป็นโลกที่รวมกันเพราะไม่รู้ความจริงว่าแต่ละโลกนี้แยกขาดจากกัน เห็นเกิดขึ้น มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นแล้วก็ดับ เห็นไม่ได้คิด ไม่ได้ทำอะไรนอกจากเมื่อเป็นธาตุที่เกิดขึ้นเห็นก็เพียงเห็นแล้วก็ดับ เวลาที่จิตได้ยินเกิดขึ้นก็เป็นธาตุที่เกิดขึ้นได้ยินเสียงแล้วก็ดับ จิตเห็นกับจิตได้ยินเกิดพร้อมกันไม่ได้ในขณะนี้โลกปนกันจนดูเสมือนพร้อมกัน แต่ตามความเป็นจริงเมื่อจิตเกิดขึ้นได้ทีละ ๑ ขณะ เพราะว่าจิตขณะต่อไปจะเกิดได้ต่อเมื่อจิตนี้ดับ ปราดไป ไม่เหลือ
ที่จำแนก หรือว่ากล่าวถึงจิต ๑ ขณะนี้โดยอนุขณะก็คือว่า ขณะเกิดแล้วก็ดับใช่ไหม เพราะฉะนั้น ขณะเกิดไม่ใช่ขณะดับจึงชื่อว่าอุปาทขณะ เกิดยังไม่ดับ และขณะที่ดับก็เป็นภังคขณะ ไม่ใช่ขณะที่เกิด เพราะฉะนั้น หลังจากที่เกิดแล้วยังไม่ดับนั่นคือฐีติขณะ เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดแล้วต้องหมดไป ไม่มี ไม่เหลือ ปราดไปเลยทั้ง ๓ ขณะจึงเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นได้ จิตที่ดับไปนั้นเองเป็นอนันตรปัจจัยทำให้จิตขณะต่อไปเกิดดับสืบต่อโดยไม่มีระหว่างคั่นแต่ต้องเมื่อจิตนั้นปราดไปโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้จึงมีคำว่าวิคตปัจจัย และนัตถิปัจจัย นัตถิคือไม่มี จิตต้องไม่มี คือไม่เหลือ และก็ไม่เหลือ หรือไม่มีนี้ โดยการปราดไปโดยสิ้นเชิง
เพราะฉะนั้น โดยการรอบรู้ในเรื่องของการศึกษาปริยัติก็สามารถที่จะเข้าถึงความหมายของปัจจัยได้ แต่ความจริงจิตก็เป็นอย่างนี้แต่ยังไม่ถึงปัญญาที่สามารถที่จะรู้ความเป็นปัจจัย เพราะว่าลักษณะของจิต หรือธรรมนั้นต้องปรากฏก่อนว่า ไม่มีเรามีแต่ธาตุรู้กับสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น แขนไม่มี ขาไม่มี โลกไม่มี ต้นไม้ไม่มี อะไรก็ไม่มี บ้านเรือนก็ไม่มี มีแต่ธาตุซึ่งเกิดขึ้นในขณะนั้น รู้แล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้น นี่ก็เป็นเพียงการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมซึ่งใช้คำว่า “นามรูป ปริจเฉทญาณ” เป็นญาณคือ การรู้แจ้งของปัญญาที่สามารถประจักษ์การแยกขาด คือลักษณะที่ต่างกันจริงๆ ของนามธรรม และรูปธรรม เพราะขณะนี้เราบอกว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่เห็น และเห็นก็ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ไม่ใช่ขณะที่กำลังประจักษ์จริงๆ ว่าไม่มีอะไรทั้งสิ้นนอกจากธาตุที่เห็นกับสิ่งที่ปรากฏให้เห็น
เพราะฉะนั้น การศึกษาต้องตามลำดับแม้แต่ปริยัติ ถ้าเข้าใจผิดก็ไม่สามารถที่จะทำให้ปัญญาถึงระดับของปฏิ-ปัตติ คือเริ่มที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมด้วยสติ สัมปชัญญะก่อนที่จะเป็นวิปัสสนาญาณ ก่อนที่จะถึงปัญญาขั้นต่อไปคือปฏิเวธ
อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ คือสนทนาเรื่องของปัจจัยก็มีผู้ที่สอบถามว่าความละเอียดของปัจจัยก็มากมาย ความรู้ความเข้าใจที่ศึกษาเนี่ยจะเกื้อกูลต่อความรู้ที่จะเข้าใจในลักษณะของธรรมที่ปรากฏขณะนี้ หรือไม่
ท่านอาจารย์ ค่อยๆ เข้าใจถูกว่าไม่มีเรา แต่มีธรรมซึ่งเกิดเพราะปัจจัยในขั้นของการฟัง ซึ่งถ้าไม่มีเลยก็ไม่สามารถที่จะคลายการที่เคยเข้าใจว่าเป็นเราได้ เพราะฉะนั้น การฟังเรื่องธรรมแม้ในขั้นของปริยัติ ก็จะทำให้เห็นความละเอียดของการที่ธรรมแต่ละอย่างหลากหลาย มีปัจจัยที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ทั้งหมดทุกขณะในชีวิตจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นชาติไหน พระธรรมที่ทรงแสดงจาการตรัสรู้โดยละเอียดโดยสิ้นเชิงโดยประการทั้งปวง แม้แต่เสียงเป็นธรรม เป็นปัจจัย หรือไม่
อ.วิชัย เป็น
ท่านอาจารย์ เป็น เห็นไหม ขณะนี้จิตได้ยินเสียง เสียงก็ต้องเป็นปัจจัย เพราะว่าถ้าไม่มีเสียงจิตได้ยินก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้จริงๆ ว่าขณะนั้นเสียงเป็นปัจจัยก็ต่อเมื่อลักษณะของได้ยิน และเสียงปรากฏโดยไม่มีอย่างอื่น แต่ก็ไม่ใช่ขั้นวิปัสสนาญาณที่เป็นนามรูปปริจเฉทญาณเท่านั้น เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่เคยรู้ความต่างโดยประจักษ์ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน เพราะว่าเป็นเพียงธาตุรู้กับสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นปัญญาขณะนั้นก็เป็นปัญญาที่สามารถเข้าถึง หรือว่าแทงตลอดความเป็นจริงที่เป็นเพียงนามธรรม และรูปธรรมแต่ยังไม่เกินกว่านั้นไป จนกว่าความรู้จะเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น ปัญญาก็จะน้อมไปสู่ความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น เมื่อเป็นอนัตตาก็รู้ว่าอะไรกำลังเป็นปัจจัยในขณะนั้น แต่ไม่ต้องเรียกชื่อ แต่ก็เข้าใจเลยขณะนี้อารมณปัจจัย สภาพธรรมนั้นเป็นปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ของจิต ซึ่งถ้าสิ่งนั้นไม่มีจิตก็จะเกิดขึ้นรู้สิ่งนั้นไม่ได้
เพราะฉะนั้นเสียง เราบอกว่าเป็นอารมณ์ของจิตได้ยิน แต่เป็นปัจจัยเพราะถ้าไม่มีเสียงจิตได้ยินก็เกิดไม่ได้ นี่คือแม้แต่เพียงชั่วขณะที่จิตได้ยินจะเกิดก็ต้องมีปัจจัย และไม่ใช่แต่เฉพาะอารมณะ อารมณ์คือเสียงเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นอีกในชั่วขณะที่แสนสั้นธรรมก็เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ซึ่งจะรู้ได้ถ้าเข้าใจเพิ่มขึ้นก็คือว่าหาความเป็นเรา หรือว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลในธรรมใดๆ ไม่ได้เลย
อ.วิชัย ขอกราบถามความละเอียดอีกนิด เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์กล่าวถึงการที่นามธรรม และรูปธรรมปรากฏโดยวิปัสสนาญาณแล้วก็ การที่จะอบรมเจริญปัญญาจนถึงปัญญาที่ยิ่งขึ้นไปที่จะรู้ความเป็นปัจจัยของนามธรรม และรูปธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น เพราะฉะนั้น ความรู้ที่อบรมยิ่งขึ้นไปเนี่ยก็คงไม่ใช่เป็นการนึก หรือคิด ขณะนั้นก็ไม่ใช่วิปัสสนาญาณแต่เป็นการปรากฏของความเป็นปัจจัยในลักษณะอย่างไร
ท่านอาจารย์ เพราะคิด มีจริงๆ ใช่ไหม ขณะนั้นที่คิดปรากฏปัญญาก็รู้ลักษณะของคิด ธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ เพราะฉะนั้น หนทางนี้เป็นหนทางละตั้งแต่ต้น ถ้าไม่ละมีความต้องการเมื่อไรก็คือตัน หรือว่าจบ หรือว่าไม่สามารถที่จะรู้ความจริงได้ เพราะว่าถูกความต้องการปิดบังไว้ อย่างในขณะนี้ ไม่ได้มีแต่เฉพาะเห็นกับได้ยินมีคิดนึกด้วย แต่ถ้ากำลังต้องการจะรู้เฉพาะเห็น ก็ไม่รู้แล้วว่าเห็นดับ และขณะนั้นก็มีคิดซึ่งเกิดต่อ เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นหนทางละจริงๆ
อ.กุลวิไล ธรรมก็ขณะนี้เอง ได้ฟังพระธรรมก็เพื่อความเห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมที่ต่างกันแต่ละทาง เพราะฉะนั้นขณะนี้ต้องมีธรรมที่ให้รู้ได้ซึ่งก็เป็นสิ่งที่มีจริง
ผู้ฟัง เราฟังเรื่องราวของธรรมแต่การที่จะน้อมระลึก หรือตรึกถึงธรรมก็เกิดขึ้นยาก แต่เมื่อมาฟังธรรมบ่อยครั้งก็จะเป็นการติดเรื่องราวของธรรม คำถามคือเช้านี้ท่านอาจารย์กล่าวถึงคำว่า “ปริยัติ และก็สัจจญาณหลายครั้ง
จะเรียนสนทนากับท่านอาจารย์ว่าการฟังที่ว่าเป็นปริยัติ หรือเป็นสัจจญาณ ดูเหมือนว่าไม่ใช่แค่เพียงเรื่องราว ทุกคนพูดได้ว่าอนัตตา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน และก็บังคับบัญญชาไม่ได้ ก็จำเสียงของคำว่าอนัตตา แต่ยังไม่ได้รู้ตรงลักษณะของความเป็นอนัตตาของธรรม หรือว่าท่านอาจารย์กล่าวว่าเห็นกำลังเห็นอยู่ เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็เหมือนการฟังนี้จะเป็นเรื่องราวก็ของเห็น ฟังแล้วเข้าใจเห็นสิ่งปรากฏทางตา
ความต่างของการฟังตรงนี้ดูเหมือนจะเป็นปัญญาคนละขั้น ขั้นที่ว่าแค่เรื่องราวกับฟังแล้วน้อมที่จะรู้ตรงเห็นกับลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เข้าใจก็เป็นปริยัติ แต่กำลังรู้ลักษณะที่กำลังเห็นต้องเป็นสติสัมปชัญญะที่เป็นปฏิ ปัตติ
ผู้ฟัง การเข้าใจขั้นฟัง ดูเหมือนว่า ฟังแล้วให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ซึ่งก็หมายถึงเห็นได้ยินขณะนี้ ตรงนั้นเมื่อฟัง เข้าใจถูก จึงจะสามารถเป็นปัจจัยให้ปัญญาขั้นรู้ตรงเกิดขึ้นได้
ท่านอาจารย์ แน่นอน ถ้าไม่มีความเข้าใจแล้วจะมีการรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏได้อย่างไร
ผู้ฟัง ถ้าฟังเป็นเรื่องราว หรือว่าจำเสียงของคำว่า “เห็น” ขณะนี้เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ ฟังคำว่า “เห็น” มีเห็นจริงๆ หรือไม่
ผู้ฟัง มีเห็นจริงๆ
ท่านอาจารย์ มีเห็น เพราะฉะนั้น รู้ว่ากำลังฟังเรื่องสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ให้เข้าใจขึ้นคือกำลังเห็นซึ่งยังไม่ได้เข้าใจว่าเป็นธรรม ยังไม่มีการประจักษ์แจ้งลักษณะซึ่งเป็นธาตุรู้แต่รู้ว่ามี เพราะฉะนั้น ก็ต้องอาศัยการฟังจนกว่าสามารถที่จะเข้าใจเห็นที่กำลังเห็นจริงๆ
ผู้ฟัง ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญญาที่ว่า จำ คำว่า “เห็น”
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ฟังด้วยความเพียงเข้าใจแต่ว่าไม่รู้ที่เห็น ไม่รู้อาการเห็น ไม่รู้ธาตุรู้ที่กำลังเห็น แต่รู้ว่ามี และก็เป็นอย่างนั้น ฟังเข้าใจแต่ยังไม่ถึงวาระ หรือเวลาที่จะรู้ได้จนกว่ามีความเข้าใจที่มั่นคง และเห็นความเป็นอนัตตาจริงๆ ว่าจะรู้เมื่อไร ใครบอกได้ แม้แต่ท่านพระสารีบุตร ท่านได้อบรมปัญญาถึงกาลที่จะเป็นอัครสาวก แต่ท่านรู้ไหมตอนที่ท่านยังไม่ได้เป็นพระอัครสาวกว่าท่านได้สะสมมาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่ได้ฟัง และก็ประจักษ์แจ้งความจริง
ผู้ฟัง เหมือนกับว่าก่อนที่ปัญญาขั้นที่รู้ตรงลักษณะจะเกิดก็ต้องมีการฟังให้เข้าใจจริงๆ ว่าเห็นเป็นธรรมขณะนี้
ท่านอาจารย์ ถ้าถามคุณอรวรรณ เห็นเป็นนาม หรือเป็นรูป
ผู้ฟัง เห็นเป็นนามคือสภาพรู้
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏเป็นนาม หรือเป็นรูป
ผู้ฟัง เป็นรูปเพราะว่าไม่รู้อะไร
ท่านอาจารย์ ได้ยินเป็นนาม หรือเป็นรูป
ผู้ฟัง ถ้าศึกษาอย่างที่ท่านอาจารย์ถามให้รู้ก็ไม่น่าจะทำให้รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เป็นการเพียงแต่ได้ยินแล้วก็จำไว้ๆ แต่ว่าสิ่งที่ได้ยินกำลังมีในขณะนี้ ฟังเพื่อให้เข้าถึงการรู้จริงๆ ว่าสิ่งที่มีจริงๆ เป็นอะไร ไม่ใช่เรา เพราะเกิดแล้วก็หมดไป ไม่ได้มีเห็นตลอดเวลา คิดนึกก็มี ได้ยินก็มี ก็เป็นสภาพธรรมหลากหลายซึ่งความจริงเป็นอย่างนี้ เมื่อประจักษ์แจ้งก็ประจักษ์แจ้งอย่างนี้ จะต่างกับที่ได้ยินได้ฟังอย่างนี้ หรือความจริงในขณะนี้ไม่ได้ แต่ไม่ถึงเวลาที่จะรู้อย่างนั้น เพราะว่าการฟังเนี่ยต้องเป็นการรอบรู้จริงๆ เข้าใจจริงๆ มั่นคงจริงๆ เป็นสัจจญาณ ถ้าเป็นสัจจญาณ เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น ฟังเรื่องเห็นแล้วก็รู้จริงๆ ว่ากำลังมีเห็นซึ่งค่อยๆ เข้าใจจากการฟัง จนกว่าเมื่อใดที่เริ่มเข้าใจเห็นมีลักษณะของเห็น ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา จะใช้คำว่า “รู้” หรือจะใช้คำว่า “เห็น” ก็คือเห็น จนกว่าจะชินกับการเห็น ธรรมที่เกิดขึ้นเห็น ธรรมที่ทำกิจเห็น ธรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้รู้อย่างอื่นนอกจากสิ่งที่ปรากฏให้เห็น
ผู้ฟัง ฟังว่าทุกอย่างเป็นธรรมเมื่อฟังเข้าใจว่าเห็นได้ยินขณะนี้เป็นธรรม ดูเหมือนว่าจะมีการคิด
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ห้าม คิดเป็นธรรม หรือไม่ คิดเป็นนาม หรือเป็นรูป
ผู้ฟัง มีลักษณะคิดว่าคิดถึงธรรมที่ฟัง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็คือความเข้าใจธรรมไม่ใช่เป็นการคิดถึงคำที่จะตอบ แต่เป็นการเข้าใจว่าคิดนี้ใครบ้างไม่คิด คิดก็ไม่รู้ว่าคิดเป็นธรรม นี่คือความต่างกัน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ตอนหลังก็จะค่อยๆ พิจารณว่าแม้คิดก็ต้องเป็นการที่กำลังรู้คำหนึ่งคำใด ถ้าคิดเป็นคำ แต่ว่าตามความเป็นจริงคิดที่ไม่เป็นคำก็มีแต่ว่าไม่รู้ ทุกอย่างไม่รู้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ก็ค่อยๆ รู้ขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น คิดมีแขนขาไหม มีหูมีตาไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นธาตุที่กำลังรู้คำเพราะจำ เห็นไหมเริ่มรู้ว่ามีสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งคือจำ จำอะไรไว้เยอะแยะหมดเลย ทุกขณะที่เห็นนี้จำจริงๆ จำสิ่งที่ปรากฏ จำแล้วก็หมดไปๆ เพราะฉะนั้น จำว่าเป็นคนนั้นคนนี้เนี่ยมั่นคงเหลือเกินใช่ไหม เห็นก็จำได้ แต่ที่จะจำว่าเป็นธรรมที่เพียงปรากฏให้เห็นนี่อีกนาน เหมือนกับที่กว่าจะจำได้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรก็ต้องใช้กาลเวลาด้วย เสียงแต่ละคำ ภาษาแต่ละภาษาเห็นไหมต้องอาศัยความจำ เพราะว่าเสียงปรากฏแล้วก็หมดไปหลากหลายเป็นเสียงสูงเสียงต่ำ จนกว่าจะชินกับเสียงนั้นแล้วรู้ว่าเสียงนั้นหมายความถึงอะไร
เวลาที่เริ่มต้นเรียนภาษาใหม่อีกภาษาหนึ่งจะรู้ได้เลย มีได้ยินแล้วก็ต้องจำเสียงให้ถูกต้องว่าเสียงนั้นเป็นอย่างไร และก็เข้าใจความหมายด้วย เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็คิดทั้งหมดจนกว่าจะเหมือนกับพอได้ยินก็รู้เลย เพราะความรวดเร็วความชำนาญ ชำนาญในการที่จะจำสิ่งซึ่งไม่ได้เป็นลักษณะของธรรมแล้วก็ฟังจนกว่าเริ่มจำลักษณะที่เป็นธรรม เพราะฉะนั้น กาลเวลาก็ต้องไม่ใช่เล็กน้อยที่จะเป็นไปได้ต้องอาศัยความเข้าใจ
ผู้ฟัง สะสมมาที่จะจำเป็นคนนั้นคนนี้ คำนั้น คำนี้ จะสามารถเข้าใจ
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม
ผู้ฟัง แต่สามารถฟังพระธรรมเข้าใจ และจำใหม่ว่าเป็นลักษณะ
ท่านอาจารย์ ตอนนี้กำลังจำคำ และก็จำความหมาย แต่ว่าจำได้ไหมว่าขณะนี้เป็นธรรมที่กำลังเห็น หรือว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นธรรมที่เพียงปรากฏให้เห็นได้ แค่นี้เองแค่หลับตาก็ไม่เหลือแล้ว เพราะฉะนั้น เห็นการติดข้องในสิ่งที่ปรากฏเพราะไม่รู้นี้มากแค่ไหน เพราะฉะนั้น ปัญญาเท่านั้นที่จะทำให้การไม่รู้ และการติดข้องเนี่ยค่อยๆ จางลงน้อยลง
ความจริงสิ่งที่ปรากฏที่เป็น นิ-มิด-ตะ นี้เป็นนิมิตให้รู้บัญญัติว่าสิ่งนั้นคืออะไร หรือว่าเป็นนิมิตของปรมัตถธรรม สิ่งนี้ต้องรู้ด้วยปัญญา
ผู้ฟัง ผมขอเรียนถามว่าอาวัชชนจิตซึ่งเป็นจิตที่รำพึงถึงอารมณ์ ก่อนที่จะเป็นอกุศล หรือกุศลที่จะเกิดจะมีเจตสิตที่เกิดร่วมด้วยกับอาวัชชนจิตอื่นเช่นวิตก วิจาร เอกัคคตาด้วย หรือไม่
อ.ธิดารัตน์ อาวัชชนจิต หมายถึงจิตที่ทำอาวัชชนกิจ ก็จะมีจิตอยู่ ๒ ดวง หรือ ๒ ประเภทก็คือปัญจทวาราวัชชนที่ทำกิจก่อนวิถีจิตทางปัญจทวาร กับมโนทวารราวัชชนที่ทำกิจอาวัชนทางมโนทวาร ซึ่งทั้งปัญจทวารก็มีเจตสิกเกิดมากว่า ๗ อยู่แล้ว มีวิตก วิจาร มีอธิโมกข์ด้วยมี ๑๐ ดวง แต่ถ้าเป็นมโนทวาราวัชนจะมีวิริยะด้วย ก็คือมีเจตสิกตามสมควรของจิต แต่ไม่ใช่หมายความว่าเราต้องไปรู้ลักษณะของเจตสิกที่ประกอบร่วมกับจิตเหล่านี้ เพราะว่าเกิดขึ้นเป็นเพียงกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกกิริยา ๒ ดวง เกิดขึ้นแค่เพียงกระทำกิจหน้าที่คือรำพึงถึงอารมณ์เท่านั้นเองที่จะเป็นปัจจัยให้วิถีจิตเกิดต่อมา
ผู้ฟัง แต่ขณะนั้นก็จะมีเจตสิกทั้ง ๗ เกิดร่วมด้วยไหม
อ.ธิดารัตน์ มีอยู่แล้วมี ๑๐ และก็มี ๑๑
ผู้ฟัง อย่างน้อยก็ต้อง ๗ ใช่ไหม
อ.ธิดารัตน์ ๗ นี้ทั่วไปแก่จิตทุกดวง ส่วนวิตก วิจารเนี่ยเป็นปกิณณกเจตสิกซึ่งก็จะเกิดตามสมควรอย่างเช่นถ้าเป็นทวิปัญจวิญญาณปกิณณกจะไม่เกิด เพราะว่าทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวงเนี่ยมีเจตสิกแค่เพียง ๗ เท่านั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทริย์ มนสิการเหล่านี้ และจิตอื่นนอกจากนี้ก็จะมีเกิดมากกว่านี้ เช่นโลภะก็ต้องมีเจตสิกเกิดมากกว่านี้เพราะว่ามีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือว่าเป็นกุศลเจตสิกก็ต้องมีมากกว่านี้ กุศลจะมีมากกว่าอกุศล เพราะว่าโสภณสาธารณะเจตสิกที่จะเกิดกับจิตฝ่ายดีมี ๑๙ เพราะฉะนั้น แม้ขณะจิต ๑ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมาก โมหะเนี่ยน้อยที่สุดก็มีเจตสิก ๑๕ ประเภทซึ่งเหล่านี้ก็เป็นชื่อเป็นจำนวน แต่จริงๆ ควรเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏก่อน
ผู้ฟัง เฉพาะอาวัชชนจิต กระทำอาวัชชกิจแค่นั้นใช่ไหม ซึ่งเร็วมาก
อ.ธิดารัตน์ เข้าแค่ว่า วิถีจิต หรือว่าความเป็นไปของจิตมี แล้วจะต้องมีกิริยาจิตเหล่านี้ทำกิจทำหน้าที่ก่อนที่จะรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจเท่านั้นที่เราจะค่อยๆ เข้าใจได้
ผู้ฟัง เข้าใจแล้ว ขอบพระคุณมาก
อ.กุลวิไล ในขณะนี้ก็มีธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ จุดประสงค์ของการฟังพระธรรมไม่ใช่เพื่อจะจำชื่อ หรือเรื่องราวของธรรม แต่มีลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏให้รู้ได้ เพราะฉะนั้น ปัญญาเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง อภิธรรม ธรรมที่ละเอียดยิ่งจากการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงให้เห็นว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา และทั้งหมดเป็นธรรม ซึ่งขณะนี้ ถ้าเราไม่สนใจที่จะรู้ในสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ชีวิตที่ผ่านไปก็เป็นผู้ที่ไม่รู้ตลอดนั่นเอง เพราะว่าถ้าเรามีความไม่รู้เราก็ย่อมมีความสำคัญผิดแล้วมีความติดข้อง มีความขุ่นเคืองใจ ซึ่งทั้งหมดก็เป็นอกุศลธรรมที่ไม่ดีนั่นเอง เพราะฉะนั้น ทุกท่านคงไม่ชอบอกุศลธรรมซึ่งเป็นธรรมฝ่ายตรงกับข้ามกับฝ่ายดีก็คือกุศลธรรมนั่นเอง
พูดถึงอกุศลธรรมบางท่านก็อาจคุ้นเคยกับคำว่า “กิเลส” เพราะว่าทุกท่านแน่นอนถ้ายังเป็นปุถุชนอยู่ก็ยังเป็นผู้ที่มีกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น กิเลสมีตั้งสามระดับขั้น ระดับที่นอนเนื่องซึ่งเราก็เหมือนกับเป็นคนดีไม่โกรธ แต่หารู้ไม่ว่าขณะนั้นก็ต้องมีอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องนั่นเอง ยังไม่มีเหตุปัจจัยให้มีความโกรธเกิดขึ้น หรือแม้แต่ขณะนี้นั่งอยู่บางท่านอาจคิดถึงบ้าน หรือคิดถึงที่ต่างๆ จิตขณะนั้นก็มีกิเลสระดับที่ถูกกลุ้มรุมแล้ว เป็นไปกับอกุศลจิตแต่ไม่รู้ว่าเป็นอกุศลนั่นเอง เพราะว่ายังไม่ถึงขั้นที่ล่วงทางกายทางวาจาที่ให้รู้ว่าขณะนี้จิตเป็นอกุศล
กราบเรียนท่านอาจารย์ มีท่านที่เขียนคำถามมาผู้ถามเขียนว่า “เราจะอยู่ร่วมกับคนที่มีกิเลสอย่างไรจึงจะถูกต้องเป็นไปตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง”
ท่านอาจารย์ เขามีกิเลสแล้วคนที่ถามมีกิเลส หรือไม่ หรือเฉพาะคนอื่นมีกิเลสแล้วเราจะอยู่ร่วมกับคนที่มีกิเลสอย่างไรเหมือนกับว่าเราไม่มีกิเลส หรือไม่
อ.กุลวิไล ส่วนใหญ่ผู้ที่ถามลืมมองสภาพธรรมที่มีแก่ตนในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้การศึกษาพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ จึงเป็นประโยชน์ที่สุด ไม่ใช่ว่ามีคนที่มีกิเลส และเราจะอยู่ร่วมกับเขาอย่างไร นั่นก็คือยังไม่ได้เข้าใจว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจธรรม โลภะของคนที่เราอยู่ร่วมกันกับเขาแล้ว โลภะของคนที่ถามมี หรือไม่
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720