พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๗๐๘

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔


    ท่านอาจารย์ โลภะของคนที่เราอยู่ร่วมกันกับเค้าแล้วโลภะของคนที่ถามมี หรือไม่ โทสะของคนที่เราอยู่ร่วมกันกับเค้าแล้วโทสะของตัวเราเองมี หรือไม่ เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่ได้เข้าใจธรรมว่าเป็นธรรมไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน.

    อ.กุลวิไล พูดถึงว่าปัญญานี่เห็นถูกในสภาพธรรมที่เป็นจริง เพราะฉะนั้น สภาพธรรมก็ปรากฏกับบุคคลนั้นเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่รู้จักลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏก็ไปคิดนึกถึงสภาพธรรมที่ปรากฏกับบุคคลอื่น

    ท่านอาจารย์ สิ่งนี้ก็คงเป็นคำตอบได้แล้วใช่ไหม คือให้ทราบว่าทุกอย่างมีจริงๆ เมื่อเกิด ขณะนี้กำลังคิดเรื่องนั้น แต่เรื่องนั้นก็ยังไม่เกิด เพราะฉะนั้น ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นธรรมอะไร ศึกษาธรรมเพราะเหตุว่าทุกอย่างเป็นธรรม ชีวิตทุกขณะทุกเหตุการณ์เป็นธรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้นถ้าไม่ศึกษาธรรมก็เป็นเรื่องราวซึ่งคิดมาก ตอบยาก คิดยุ่ง แต่ว่าถ้าขณะใดก็ตามที่เข้าใจว่าเป็นธรรม ขณะนั้นก็จะเข้าใจว่าไม่ว่าที่คิดว่าเป็นเรื่องราว หรือว่าเป็นอะไรก็ตาม เหตุการณ์ต่างๆ ก็คือเป็นธรรมแต่ละอย่าง

    อ.กุลวิไล พอเราศึกษาเรื่องจิตเราจะทราบว่าชีวิตดำรงเพียงชั่วขณะจิตนั่นเอง เพราะจิตทำกิจการงาน และขณะนี้เองทุกท่านก็ต้องมีจิต มีการเห็นไหม มีการได้ยินไหม หรือมีการคิดนึกไหม จิตทำกิจการงานนั่นเอง แต่ถ้าเราไม่รู้ความจริงดูเหมือนเรื่องราวมาก แล้วพระธรรมที่ทรงแสดงท่านแสดงว่า ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว และสิ่งที่ยังมาไม่ถึง แต่ควรจะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ว่าขณะนั้นจิตเป็นกุศล หรืออกุศล สำคัญกว่า

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ คิดมีจริงแต่ว่าสิ่งที่คิดนี้ไม่จริง หรือ

    ท่านอาจารย์ ลองคิด คิดถึงอะไร

    ผู้ฟัง คิดถึงเรื่องราว

    ท่านอาจารย์ เรื่องอะไร

    ผู้ฟัง เรื่องที่กำลังสงสัย

    ท่านอาจารย์ เรื่องนั้นอยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง หาไม่เจอ

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่คิดจะมี หรือไม่

    ผู้ฟัง ถ้าไม่คิดก็ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น มีเมื่อคิด แต่เพียงเป็นเรื่องที่คิด ขณะนั้นจิตเกิดขึ้นรู้เรื่องแต่ไม่ใช่เห็นขณะนี้แล้วรู้ว่าเป็นธรรมที่กำลังมีจริงๆ โดยไม่ต้องทำอะไร เกิดแล้วปรากฏแล้วมีสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วจิตเห็นก็เกิดแล้วเห็นแล้วด้วย นี่คือธรรมที่เกิดแล้วรู้ว่าอะไรมีจริง อะไรไม่มีจริง

    ผู้ฟัง ถ้าเช่นนั้นขณะที่คิด สภาพธรรมก็คือสภาพคิด

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง โดยมากคนจะสงสัยมากเพราะเคยคิดแล้วไม่รู้ว่าคิดเป็นอย่างไร ภาวะจริงๆ ของคิดเป็นอย่างไร แต่ลองเทียบเคียงเห็นมีสิ่งที่กำลังปรากฏ ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้น มีธาตุที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏ ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ แต่เวลาที่เกิดความคิด สิ่งนั้นกำลังมีจริงเหมือนสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา หรือไม่ เหมือนเสียงที่กำลังปรากฏ เหมือนกลิ่นที่กำลังปรากฏ หรือไม่ เพราะฉะนั้น ก็เป็นคิดเรื่องราวของสิ่งที่เคยเห็นเคยได้ยินนั่นเอง

    ผู้ฟัง แล้วสภาพที่เป็นธรรม นี้คือสภาพคิดเท่านั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังคิด พระนครสาวัตถี ที่นี่กรุงเทพ ไม่มี ใช่ไหม แล้วก็คิดถึงพระนครสาวัตถี แต่เวลาที่อยู่ที่นั่นไม่ใช่แล้วใช่ไหม แต่ก็ยังคิดคำว่า “พระนครสาวัตถี” เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม คิดเป็นคิดไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏให้เห็น ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏเป็นเสียงให้ได้ยินจริงๆ โดยไม่ต้องคิด ถ้าจะทราบว่าเห็นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เป็นการอุปัตติ เกิดขึ้นเพราะสิ่งที่สามารถปรากฏในขณะนี้กระทบจักขุปสาท ไม่ต้องไปทำอะไรแล้วก็ไม่ต้องคิดด้วย ปรากฏแล้วเพราะจิตเกิดขึ้น และเห็นในสิ่งที่ปรากฏใครก็ยับยั้งไม่ได้

    เวลานี้เสียงปรากฏอุปัตติเกิดขึ้นเพราะเสียงกระทบกับโสตปสาท ถ้าจิตได้ยินไม่เกิดเสียงก็ไม่ปรากฏ ชั่วขณะพยายามให้รู้ตามความเป็นจริงว่าสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายเป็นการอุปัตติของสภาพธรรมที่มีลักษณะจริงๆ ที่สามารถปรากฏได้เฉพาะทาง เช่น ทางตามีสิ่งปรากฏในขณะนี้ปรากฏได้ เสียงไม่สามารถจะปรากฏทางตาได้ แต่คิดนึกก็ประมวลมาทุกสิ่งทุกอย่างเพราะความจำแล้วก็คิด แล้วแต่ว่าจะคิดเป็นเสียงเป็นคำเป็นเรื่อง หรือว่าจะคิดถึงรูปร่างสัญฐานที่เคยเห็น คิดถึงกลิ่น คิดถึงรส แต่ขณะนั้นไม่ได้มีกลิ่นมีรสจริงๆ เพราะฉะนั้น เห็นก็เป็นชั่วขณะที่ไม่ใช่การปรากฏของสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้น เวลาคิดอะไรจริง ลองคิดถึงสิ่งอื่น มีไหม คิดถึงปอดได้ไหม มีจริงๆ เดี๋ยวนี้ปรากฏ หรือไม่ ก็ไม่ใช่

    ผู้ฟัง แล้วทำไมถึงมีคิดถูกกับคิดผิด

    ท่านอาจารย์ ถ้าคิดตรงตามความเป็นจริงก็ถูก ถ้าคิดไม่ตรงตามความเป็นจริงถูก หรือผิด ไม่ตรงนี้ ถูก หรือผิด

    ผู้ฟัง ผิด แล้วที่กล่าวว่าเป็นอนัตตานี่อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ยิ่งชัดเจน บังคับบัญชาได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้ แต่ทำไมถึงคิดอย่างนี้แล้วคิดอย่างนู้น

    ท่านอาจารย์ แล้วทำไมคนอื่นเขาคิดอย่างนู้นแล้วคิดอย่างนี้คนละอย่าง ไม่เหมือนกันเลยใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะชีวิตของแต่ละคนตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง ณ บัดนี้ก็เห็นบ้างได้ยินบ้างสิ่งที่ปรากฏกระทบเป็นเรื่องเป็นราวของแต่ละคน จะให้คิดเหมือนกันได้อย่างไร

    ผู้ฟัง แล้วความคิดของคนหนึ่งบอกว่าคนหนึ่งถูกแล้วก็ความคิดของอีกคนหนึ่งบอกว่าผิด นั้นก็ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ของใคร แต่คิดถูก หรือคิดผิดตามความเป็นจริง ถ้ามีคนบอกว่าจิตเที่ยง ถูก หรือผิด

    ผู้ฟัง ไม่ถูก

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะไม่เที่ยง

    ท่านอาจารย์ เพราะความจริงจิตไม่เที่ยง

    ผู้ฟัง ทำอย่างไรถึงจะทราบว่าเวลาคิด มีเพียงแค่คิดเท่านั้นเป็นสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ถ้าคุณสุกัญญาถามคนที่นั่งอยู่ทุกคนก็จะตอบว่าทำไม่ได้ หรือใครจะตอบว่าทำได้ เพราะฉะนั้นคำถามว่าทำอย่างไร ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “ธรรม และอนัตตา” กำลังคิดมีจริงๆ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ เป็นอะไรที่คิด อะไรคิดได้ อะไรกำลังคิด เพราะฉะนั้นจิตเป็นคุณสุกัญญา หรือว่าเป็นธรรมที่เป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง จิตก็เป็นจิต

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรม หรือไม่

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นอนัตตา หรือไม่

    ผู้ฟัง เป็น ตอบได้แต่ว่าไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ทุกคนฟังเรื่องราวของธรรม และคิดว่าจะรู้ได้ทันที หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ พรุ่งนี้รู้ได้ หรือไม่

    ผู้ฟัง ก็ยังไม่ได้

    ท่านอาจารย์ อีก ๑๐ ปีรู้ได้ หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นเป็นความเข้าใจของแต่ละคนที่จะเป็นผู้ตรงที่จะรู้ว่า ฟังแล้วเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อยก็ยังดีกว่าที่จะไม่ได้ยินไม่ได้ฟัง และก็ไม่ได้มีความเห็นที่ถูกต้องเลย แม้ในขั้นความคิด คุณสุกัญญากำลังคิด หรือเปล่า

    ผู้ฟัง คิด

    ท่านอาจารย์ ทำไมรู้

    ผู้ฟัง เพราะว่าคิดมีอยู่ตลอดเวลา

    ท่านอาจารย์ เริ่มรู้จักแล้วใช่ไหม คุณสุกัญญาเห็น หรือไม่

    ผู้ฟัง เห็น

    ท่านอาจารย์ ได้ยิน หรือไม่

    ผู้ฟัง ได้ยิน

    ท่านอาจารย์ คิด หรือไม่

    ผู้ฟัง คิด

    ท่านอาจารย์ ก็เท่านั้น ขณะใดที่ไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสก็คือคิด เพราะฉะนั้น การฟังต่อไปก็อาจเข้าใจว่าคิดอีกแล้ว ไม่ใช่เพียงแค่เห็นใช่ไหม มีเห็นแล้วมีคิด เพราะฉะนั้น ก็คิดอีกแล้ว เพราะฉะนั้น คิดอยู่ตลอดเวลาหลังที่เห็นแล้วได้ยินแล้ว หรือมิฉะนั้นไม่ได้เห็นไม่ได้ยินก็ยังคิด ก็แสดงว่าคิดมาก และยังไม่รู้จักคิด ฟังเท่าไรก็ยังไม่รู้จัก แต่เริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยได้เวลาคิด เวลาคิดนี้ไม่รู้ว่าเป็นธรรมเพราะคิดเรื่องอื่นแต่หลังจากนั้นคิด คิดหมดแล้วเป็นเห็นแล้ว เรื่องที่คิดต้องหมด ทีละคำๆ ใช่ไหม แล้วแต่สามารถที่จะเข้าใจได้คิดหมดแล้วคิดแล้วไม่คิดอีกแล้ว ไม่ใช่คิดแล้ว

    เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าสามารถที่จะเริ่มเข้าใจลักษณะของคิด เหมือนอย่างที่ว่าขณะนี้เห็นแล้ว ขณะนี้ได้ยินแล้ว ขณะนี้ก็คิดแล้ว

    ผู้ฟัง ต่างจากเมื่อก่อนนี้มาก เพราะว่าเมื่อก่อนนี้จะหมกหมุ่นอยู่กับเรื่องราวที่คิด จะไม่รู้ตัวด้วยว่าคิด จะมาถามท่านอาจารย์อยู่ตลอดเวลาว่าคิดเป็นอย่างไร แต่ปัจจุบันนี้เริ่มรู้สึกตัวว่าขณะที่คิดเป็นเราคิดยังไม่ใช่สภาพคิด

    ท่านอาจารย์ เหมือนเห็น เป็นเราเห็นใช่ หรือไม่

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็คือว่าเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมโดยไม่เจาะจงว่าจะเข้าใจเห็นที่กำลังเห็น หรือเข้าใจคิดที่กำลังคิด แล้วแต่ว่าการฟังจนกระทั่งสามารถที่จะไม่ลืม ก็จะเป็นปัจจัยทำให้เกิดระลึกได้ ซึ่งขณะนั้นก็เป็นสภาพของสติ ถ้าระลึกตรงลักษณะ และเริ่มเข้าใจลักษณะนั้นก็เป็นสติสัมปชัญญะ คือสามารถจะเข้าใจลักษณะที่เพียงปรากฏ ถูกต้อง ไม่ใช่เห็นก็สักแต่ว่าเห็นคิดเอา แต่สามารถเข้าใจลักษณะของธรรมที่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างการฟังทุกครั้งนั้นเพื่อเข้าใจ แม้ว่าลักษณะนั้นปรากฏแต่ไม่เคยเข้าใจว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น เวลาฟังแล้วสภาพธรรมก็ปรากฏเหมือนเดิม แต่เริ่มรู้ตรงลักษณะ และเข้าใจตามความเป็นจริงโดยไม่ต้องพูดเป็นคำๆ ไม่ต้องคิดเป็นคำๆ

    ผู้ฟัง สืบเนื่องมาจากเรื่องเพิกอิริยาบถ ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า อย่างขณะที่ได้ยินถ้าเราคิดว่าสภาพที่ได้ยินอยู่ตรงหู ขณะนั้นก็ยังไม่ได้เพิกอิริยาบถ พอดีขณะที่ทุกข์กายเกิดแล้วก็มีลักษณะของมัน แต่ว่าหลังจากนั้นก็จะมีความรู้สึกว่าก็คือที่หู นั่นก็ไม่ใช่เพิกอิริยาบถเหมือนกันใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้เพิกตามใจชอบใช่ไหม แต่ปัญญาเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมแต่ละหนึ่งว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย นี่เป็นหนทางเดียวที่จะละความเป็นตัวตน ซึ่งที่กายมีทั้งตา หู จมูก ลิ้น กายปสาท

    เพราะฉะนั้น เวลาที่สภาพธรรมปรากฏก็มักจะจำได้ว่าตรงไหน อย่างที่คุณแก้วตาพูดว่าตรงหูก็แสดงว่ายังจำว่ามีหูใช่ไหม เพราะฉะนั้น ที่ตัวจะจำตรงไหนก็ได้ พอกลิ่นปรากฏก็ตรงจมูก ซึ่งความจริงตรงนั้น แต่ความจำด้วยการเป็นจมูก ไม่ใช่การเข้าใจว่าเป็นธาตุ หรือเป็นธรรม และธรรมที่นั่นก็เกิด ขณะที่กำลังรู้ลักษณะของธรรมนั้นจะไม่รู้จมูกแต่อดคิดไม่ได้ว่าเป็นจมูก เพราะว่ากายตั้งแต่เกิดมาจนถึงเดี๋ยวนี้อยู่ตรงนี้หมดใช่ไหม ตา หู จมูก ลิ้น กายอยู่ที่นี่หมด เพราะฉะนั้นเวลาที่อะไรปรากฏก็เหมือนอยู่ตรงนั้น ไม่ผิด แต่ยังมีความเป็นเรา ใช่ไหม หูก็ของเรา ขณะนั้นตรงหูแต่หูของเราเพราะว่ากายทั้งหมดยังเป็นของเราอยู่ จนกว่าลักษณะของสภาพธรรมจะปรากฏทีละหนึ่ง ไม่เกี่ยวข้องกันเลยเมื่อไร เมื่อนั้นก็จะรู้ว่าลักษณะของธรรมหนึ่งก็เป็นหนึ่งอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น

    ผู้ฟัง ขออนุญาตอีกครั้ง ตรงที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

    ท่านอาจารย์ เห็นแล้วเกี่ยวข้องกับได้ยิน หรือเปล่า รู้จัก เห็นรู้จักได้ยินไหม แค่เกิดเห็นแล้วดับคิดดู ตามความจริงเป็นอย่างนั้นแม้ว่าที่เกิดคือจักขุปสาท แต่ธาตุเห็นเกิดขึ้นเห็นแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีก เพราะฉะนั้นก็เป็นหนึ่ง ขณะนั้นถ้ารู้ตามความเป็นจริงก็ไม่มีตัวของเรา และตาของเราที่อยู่ตรงนั้นที่เห็น

    แต่ถ้าตราบใดยังคิดว่าเห็นตรงกลางตา และก็ได้ยินก็ตรงกลางหูก็แสดงว่ายังมีเรา ไม่ใช่ไปคิดเพิกอิริยาบถ แต่ความเข้าใจค่อยๆ คลายจากรูปแต่ละรูปซึ่งเกิดดับไม่เหลือเลย มีแต่เฉพาะลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งที่ปรากฏแล้วก็ดับไป ไม่อย่างนั้นก็ละความเป็นตัวตนในรูปไม่ได้ ใช่ไหม จึงเข้าใจความหมายของคำว่ายังไม่เพิกอิริยาบถ แต่ว่าการที่รู้ลักษณะเฉพาะแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่งในที่สุดก็ไม่มีรูปร่างกายเลยก็เป็นการเพิกอิริยาบถเมื่อประจักษ์ความจริง

    กุล. ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะว่าทั้งหมดเป็นธรรม แม้แต่ขณะนี้ทุกท่านนั่งอยู่แต่จริงๆ แล้วต้องมีสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏนั่นเอง มิฉะนั้นรู้สภาพธรรมเฉพาะแต่ละอย่างแต่ละทาง

    ผู้ฟัง อยากกราบเรียนสนทนาเรื่องความคิด แต่คราวนี้เป็นเรื่องความคิดเปรียบเทียบ ส่วนใหญ่เรามักชอบไปเปรียบเทียบกับคนอื่น โดยมักไปเปรียบเทียบว่าเราดีกว่าเขา ซึ่งต่อจากนั้นก็จะเป็นอกุศลก็คือว่าเราไปวิจารณ์ หรือไปตัดสินเขาด้วยความเป็นตัวตนว่าเราถูกกว่าเขา เพราะฉะนั้น เมื่อวานนี้ที่ท่านอาจารย์วิทยากรกล่าวว่า “มานะก่อให้เกิดอวิชชา” เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำซ้ำๆ ความมานะนี้เราคงโง่ลงใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ อวิชชามีมาก อวิชชาไม่ฉลาด อวิชชาไม่รู้ความจริง เพียงแค่เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ เราดีกว่าเขา หรือไม่ ไม่ เพราะฉะนั้นธรรมแต่ละหนึ่งก็เป็นแต่ละหนึ่งให้เข้าใจให้ถูกต้อง แม้แต่ขณะที่กำลังคิดก็เป็นแต่ละคำแต่ละหนึ่งที่คิด ซึ่งในขณะนั้นเหมือนกับว่าคิดด้วยเห็นด้วยยังไม่ได้แยกกันเลย

    เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจความจริง ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้นจะอาศัยอะไรทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าฟังธรรมเพื่อเข้าใจว่าเป็นธรรม ถ้าไม่มีความเข้าใจว่าเป็นธรรมก็ไม่สามารถเข้าใจความจริงของธรรมนั้นได้

    ผู้ฟัง ขอเรียนถามท่านอาจารย์ว่าอนุสัยกิเลส เกิดดับ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรมที่เกิดดับสภาพนั้นต้องเกิดแล้วจึงดับได้ ตอนที่เกิดมามีกิเลส หรือไม่ ขณะแรกที่จิตเกิดมีอนุสัยกิเลส หรือไม่ ขณะที่เกิดจิตเป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง เป็นวิบาก

    ท่านอาจารย์ เป็นวิบากไม่ใช่อกุศลจิต เพราะฉะนั้น ไม่มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมกับจิตที่เป็นวิบาก ไม่มีอกุศลเจตสิกเกิดที่ร่วมกับกิริยาจิต แสดงว่าอกุศลธรรมคืออกุศลเจตสิกทั้งหมดเกิดเมื่อไรเป็นอกุศล ถ้าไม่เกิดขณะนั้นเป็นวิบาก หรือว่าเป็นกุศล หรือว่าเป็นกิริยา

    เพราะฉะนั้น ขณะที่จิตเกิดขึ้นเป็นขณะแรกของชาตินี้ ไม่ใช่อกุศลใช่ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะมีอกุศลเจตสิกเกิด หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อกุศลเจตสิกจะดับ หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่ดับ

    ท่านอาจารย์ ไม่ดับ เพราะไม่เกิด ความรู้แค่นี้พอไหม ด้วยเหตุนี้อกุศลจึงมี ๓ ระดับ ถ้าเป็นอกุศลที่มีกำลังกระทำทุจริตกรรมก็ต่างกับขณะที่ยังไม่ได้ทำทุจริตกรรมใช่ไหม ขณะนั้นอกุศลก็มีกำลังแรงเป็นวีติกกมกิเลส

    ผู้ฟัง ซึ่งเกิดดับ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าเกิดก็ต้องดับ ถ้าไม่เกิดแล้วจะดับได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเวลาที่มีทุจริตกรรมเกิดขึ้น ไม่ว่าทางกาย ทางวาจา ขณะนั้นต้องมีอกุศลเจตสิกเกิดจึงสามารถกระทำกายวาจาที่เป็นทุจริตได้ นี่ความเข้าว่าเกิดขึ้นแล้วมีกำลังด้วยเป็นวีติกกมกิเลส ระดับหนึ่ง และอีกระดับหนึ่งก็คือกิเลสธรรมดาไม่ถึงการกระทำที่เป็นทุจริต แต่ขณะนั้นเป็นอกุศลเพราะอกุศลเจตสิกเกิด

    ตั้งแต่เช้ามา สมโลภะเป็นปกติ ใช่ไหม ทุกอย่างยังไม่ถึงกับจะกระทำทุจริตกรรมใดๆ แต่ว่าอกุศลเจตสิกก็เกิดขึ้นทำให้รู้ว่าขณะนั้นเป็นอกุศลจิตเพราะมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วเวลาที่กำลังเห็นไม่มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วยแน่นอน ถูกต้องไหม แต่ว่าหลังเห็นแล้วเป็นอกุศล หรือไม่ จะเป็นอกุศลได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วอกุศลหลังจากที่เกิดแล้วมาจากไหน

    ผู้ฟัง อกุศลมาจากมีพืชเชื้อถูกไหม

    ท่านอาจารย์ นั่นคืออนุสัยกิเลส

    ผู้ฟัง แต่ทำไมกุศล

    ท่านอาจารย์ ในจิตทุกขณะที่ยังไม่ใช่โลกุตตรจิต

    ผู้ฟัง หลังเห็นเป็นอกุศลได้ มาจากไหน

    ท่านอาจารย์ เพราะอกุศลเจตสิกเกิดทำให้จิตนั้นเป็นอกุศล ถ้าอกุศลเจตสิกไม่เกิดจิตจะเป็นอกุศลไม่ได้

    ผู้ฟัง แต่ที่อกุศลเจตสิกเกิด อาจารย์กำลังจะบอกว่าเพราะมีพืชเชื้อคือมีอนุสัยอยู่ ก็สงสัยต่อไปว่า แล้วทำไมกุศลจิตที่เกิดหลังเห็นไม่ต้องมีพืชเชื้อคือไม่ต้องมีนอนเนื่องอยู่ก่อน

    ท่านอาจารย์ ตราบใดที่โลกุตตรจิตยังไม่เกิด พืชเชื้อที่เป็นอนุสัยกิเลสยังอยู่เต็มทุกขณะจิต เพราะฉะนั้น จิตเห็นขณะนี้มีอนุสัยกิเลส หรือไม่

    ผู้ฟัง อนุสัยกิเลสมี แต่ไม่มีกิเลสที่เกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ใช่อกุศลจิตเพราะอกุศลเจตสิกไม่ได้เกิดร่วมด้วย ทุกขณะจิตที่ไม่ใช่โลกุตตรจิตจะมีอนุสัยกิเลสเพราะยังไม่ได้ดับ

    ผู้ฟัง อนุสัยกิเลสนี้เป็นปรมัตถธรรมไหน เป็นจิต เจตสิก รูป นิพพาน

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการเกิดขึ้นของกิเลส จะมีกิเลสต่อๆ ไปได้ไหม ขณะจิตต่อๆ ไปจะมีกิเลสเกิดร่วมด้วยได้ไหม ไม่ต้องเรียกชื่อ เพียงแต่มีความเข้าใจให้ถูกต้องว่ากิเลสมี ๓ ระดับ

    ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ แสดงว่ากิเลสจะต้องมีพืชเชื้อเขาถึงจะเกิดขึ้นมาได้

    ท่านอาจารย์ ทุกขณะจิตมีอาสยานุสยะคือการสะสมมาของทั้งฝ่ายดี และฝ่ายไม่ดีทั้งฝ่ายโสภณ และฝ่ายอกุศล แต่ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลจะใช้คำว่าอนุสัยกิเลส

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นการสะสมในจิตกับอนุสัยนี้คือสิ่งเดียวกัน หรือ

    ท่านอาจารย์ กล่าวถึงอนุสัยหมายความถึงเฉพาะอกุศล ถ้ากล่าวถึงอาสยะทั้งฝ่ายโสภณ และฝ่ายอกุศล ทำให้แต่ละคนต่างกัน บางคนมีกุศลมากบางคนมีกุศลน้อย

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น จากการศึกษาการสะสมกุศล และอกุศลในจิตมีทั้งคู่ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สะสมอยู่ในจิตเกิดแล้วดับแล้วก็จริง แต่ไม่ได้หมายความไม่เหลืออกุศลใดๆ เลยทั้งสิ้น ถ้าอย่างนั้นก็สบาย ใช่ไหม อกุศลดับไปแล้วก็ไม่เหลืออกุศลใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่จากการที่เคยเกิดแล้วก็จะเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยที่สะสมอยู่ในจิตขณะต่อๆ ไป

    ผู้ฟัง ที่เกิดความสงสัย หรืองงเพราะว่าจากการศึกษาการสะสมในจิตเข้าใจอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าพอสะสมในจิตของอกุศลเรียกชื่อว่าอนุสัยถูกไหม

    ท่านอาจารย์ อกุศลที่เกิดแล้วดับแล้วก็จริง แต่ก็ยังมีพืชเชื้อสืบต่อจากการที่เคยเกิดแล้วประเภทนั้นอยู่ในจิต

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น พืชเชื้อกับการสะสมในจิตนี้คือสิ่งเดียวกัน หรือ

    ท่านอาจารย์ ขณะใดก็ตามที่อกุศลจิตเกิดดับไปไม่ได้หายไปเลยทั้งหมด แต่ว่าจิตนั้นดับแล้ว แล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 183
    16 ม.ค. 2567