พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
ตอนที่ ๗๑๗
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ท่านอาจารย์ ฟัง เข้าใจเรื่องของธรรม แล้วก็ไม่เข้าใจลักษณะของธรรม
อ.วิชัย เพียงเข้าใจเรื่อง
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ขณะนี้กำลังฟังเรื่องธรรม ลักษณะต่างๆ จิตเห็นเกิดแล้วก็ดับไป รู้เฉพาะสิ่งที่ปรากฏที่กระทบจักขุปสาทเท่านั้น นี่คือความเข้าใจจิตประเภทหนึ่ง เพราะว่าตั้งแต่เกิดจนตายไม่ขาดจิตเลย แล้วก็เป็นจิตที่เกิดเพราะปัจจัยต่างๆ กันด้วย ด้วยเหตุนี้ถ้าจะกล่าวถึงเฉพาะในขณะที่เห็น ต้องเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้ คือต้องมีธาตุรู้ จึงเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นได้ เพราะฉะนั้นเราเรียกจิตที่เป็นใหญ่เป็นประธานนี้ว่าจิต ธาตุรู้ประเภทที่สามารถรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏ เป็นจิต แต่ก็ต้องมีเจตสิกสภาพนามธรรมซึ่งเกิดกับจิต ซึ่งหลากหลาย และเป็นความติดข้องบ้าง เป็นความขุ่นใจบ้าง เป็นอะไรอีกมากมาย เป็นเจตสิก ขณะนี้ก็คือว่ากำลังฟังแล้วก็จะเข้าใจ แต่เข้าใจลักษณะที่เป็นจิต หรือว่าเป็นธรรมอื่นๆ หรือไม่
อ.วิชัย ยังไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ยังไม่เข้าใจ แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่มีความเข้าใจจากการฟังเลย จะมีทางหรือไม่ที่จะเข้าใจลักษณะที่เป็นจิตในขณะนี้
อ.วิชัย ก็ไม่มีทาง
ท่านอาจารย์ ไม่มีทาง จนกว่า ไม่ทราบเมื่อไหร่ แต่ว่าผู้นั้นเป็นผู้รู้ ว่าปกติธรรมดา ก็เห็น ก็ได้ยิน ก็คิดนึก ก็มีสิ่งที่ปรากฏเวลากระทบสัมผัส ไม่เคยรู้ตรงลักษณะหนึ่งลักษณะใดเลยทั้งสิ้น ก็ฟังไปเรื่อยๆ เข้าใจว่าเป็นจิต เป็นธาตุรู้ที่กำลังเห็น แต่ตัวธาตุรู้จริงๆ ยังไม่ได้ปรากฏให้รู้ว่า ขณะนั้นต้องไม่มีอย่างอื่นเลยทั้งสิ้น นอกจากธาตุที่มืดสนิทที่เกิดขึ้นรู้ นั่นคือลักษณะของจิต นามธรรมทั้งหลาย และรูปอื่นๆ นอกจากสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้ว ไม่สามารถจะปรากฏให้เห็นได้เลย ด้วยเหตุนี้ ฟังไปๆ กำลังรู้ลักษณะของแข็ง ซึ่งปกติไม่สนใจเลย เมื่อสักครู่นี้ คุณวิชัยกระทบสัมผัสอะไรบ้าง แข็งต้องมีแน่ แต่ไม่เคยรู้เฉพาะแข็งที่ปรากฏ ถูกต้องหรือไม่ แต่พอฟังแล้ว กำลังรู้ตรงแข็ง ความต่างมีแล้วใช่ไหม
อ.วิชัย ท่านอาจารย์กล่าวถึงแข็ง ก็คิดถึงแข็งทันที
ท่านอาจารย์ ยัง กำลังมีแข็งปรากฏ ปกติธรรมดาทุกคนที่กำลังนั่งไม่ได้คิดเฉพาะตรงแข็งเลย แต่ก็ถึงกาลเวลามีปัจจัยที่รู้ตรงแข็ง ต่างแล้วใช่หรือไม่ กับการที่ไม่เคยรู้ ความเข้าใจน้อยมาก ที่จะรู้ว่านั่นเป็นธรรมที่ฟังมาแล้ว ว่าเป็นธรรมชนิดหนึ่งปรากฏเมื่อจิตเกิดขึ้น รู้สิ่งที่กระทบที่แข็ง จิตจึงสามารถที่จะรู้เฉพาะแข็ง เพราะฉะนั้นขณะนั้นมีแข็ง แล้วก็มีธาตุรู้คือจิตที่กำลังรู้แข็ง รู้ลักษณะไหน เห็นหรือไม่ กำลังเริ่มจากฟัง เข้าใจ มาถึงการที่จะรู้ลักษณะหนึ่ง พร้อมกันไม่ได้เลยเพราะขณะนี้ที่แข็งปรากฎ แข็งมี และก็มีธาตุที่กำลังรู้แข็ง ซึ่งเราพูดบ่อยๆ ธาตุรู้ สภาพรู้ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้ เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ใช่ความจำ ไม่ใช่อะไร เฉพาะสิ่งที่ปรากฏซึ่งจิตกำลังรู้แจ้ง คือลักษณะที่แข็ง จากการฟัง แต่ว่าแข็งปรากฏ และจิตกำลังรู้เฉพาะแข็ง เข้าใจลักษณะไหน เห็นหรือไม่ เพราะว่าขณะนั้นมีแข็ง และสภาพรู้แข็ง
เพราะฉะนั้นความเข้าใจลักษณะเริ่มเกิด แต่ว่าเริ่มรู้อะไร ถ้าจะรู้แข็ง ความเข้าใจขณะนั้นก็คือว่า ไม่ได้เคยคิดถึงแข็งว่าเป็นแข็ง ซึ่งเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงเท่านั้นอย่างหนึ่ง ไม่เป็นอะไรเลย ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ ไม่ใช่คน ไม่ใช่เท้า ไม่ใช่ผม ไม่ใช่เสื้อ แต่ว่าแข็งเป็นแข็ง ที่ปรากฏให้รู้ลักษณะแข็ง น้อยมาก แล้วก็ไม่รู้อีก เพราะฉะนั้นการที่ฟังเข้าใจ ที่บางคนก็บอกว่าพอเข้าใจแล้วออกไปจากห้องก็ลืม เร็วกว่านั้นอีก เร็วกว่านั้นมากทีเดียว เพราะว่าเมื่อพูดเรื่องเห็น แล้วก็ไม่รู้ลักษณะของ เห็น เพราะฉะนั้นฉันใด เวลาที่เริ่มที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ปฏิบัตติ จากปริยติเป็นปฏิปัตติ รู้เฉพาะลักษณะหนึ่งซึ่งไม่เคยรู้ ผ่านไปทุกวันๆ แข็งก็กำลังกระทบอยู่ก็ไม่ได้รู้ แต่ขณะที่กำลังมีแข็งปรากฏ และเริ่มรู้ตรงนั้น ปฏิปัตติ แต่ปัญญาน้อยมาก เพียงรู้ว่าต่างจากการที่ไม่เคยรู้ตรงแข็ง แต่ความที่จะปรากฏเฉพาะลักษณะซึ่งไม่ใช่ตัวตนเลย ยังเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าลักษณะที่รู้แข็ง ก็ยังไม่ได้ปรากฏ ว่าเป็นธาตุหรือเป็นธรรม ซึ่งต่างกับแข็ง แต่ว่าให้เห็นความเจริญขึ้นของปัญญา ช้าแค่ไหน ละเอียดแค่ไหน เพราะเหตุว่าขณะนี้ที่ไม่รู้ เห็นแล้วอกุศลก็เกิด โดยไม่รู้เลยละเอียดแค่ไหน
เพราะฉะนั้นปัญญาที่เริ่มเข้าใจก็ละเอียดอย่างนั้น ค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจอย่างละเอียดยิ่ง เพื่อที่จะถึงการละสิ่งที่ละเอียดยิ่ง คืออนุสัยกิเลสได้ เพราะว่ากิเลสไม่ปรากฏ กับกิเลสที่เกิด ก็ยังไม่ปรากฏ เช่นเห็น ไม่มีใครรู้เลยว่า ติดข้องในสิ่งที่เห็น ไม่ใช่กิเลสประเภทซึ่งไม่เกิด เกิดแล้วแต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นความละเอียด ก็ละเอียดยิ่งขึ้นตามลำดับขั้น ด้วยเหตุนี้ปัญญาเพียงแค่กำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน ความเข้าใจเล็กน้อยแค่ไหน ก็ต้องค่อยๆ เห็นความต่าง กว่าจะคุ้น กว่าจะชิน กับการที่รู้แล้วก็ไม่รู้อีก เข้าใจลักษณะที่ปรากฏ แล้วก็ไม่เข้าใจอีก แต่ก็ต้องเป็นอย่างนี้ไป จนกว่าความเข้าใจจะมั่นคงขึ้น ความรู้ก็เพิ่มขึ้น แล้วก็เป็นความต่างของหนทางนี้เป็นหนทางเดียว ที่จะเริ่มรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ปรากฏจริงๆ แต่ไม่เคยรู้ เพราะฉะนั้นก็ปรากฏกับอวิชชา แล้วก็ปรากฏจริงๆ เหมือนเดิม แต่ว่าปรากฏกับสติสัมปชัญญะ แล้วก็ปรากฏอีกเหมือนเดิม มากขึ้นๆ ๆ จนละความติดข้อง นี่คือความเจริญขึ้นของปัญญา ก่อนที่จะประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป เพราะเหตุว่าเริ่มชินกับลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏทีละหนึ่ง ไม่ปะปนกัน
อ.วิชัย เมื่อฟังแล้วพิจารณามากขึ้น ที่สำคัญคือ บุคคลที่มีความเข้าใจว่าเป็นปกติจริงๆ คือทราบถึงความที่จะเริ่มฟัง เริ่มเข้าใจ และเป็นการปรุงแต่งของสังขารขันธ์จริงๆ แต่บางครั้งก็มีความที่อยากจะรู้มากขึ้น ก็รู้ว่าสิ่งนั้นก็ไม่ถูกแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะปัญญารู้ ว่าอยากเมื่อไหร่ ก็คือไม่ใช่ความเห็นที่ถูกต้อง
ผู้ฟัง การเข้าใจสภาพธรรม เป็นการสะสม การเข้าใจเรื่องราวไม่สะสมหรือ
อ.ธิดารัตน์ คุณพรทิพย์คงกังวล เพราะว่าเราก็ศึกษาชื่อ ศึกษาเรื่องกันมาก ก็เลยคิดว่าถ้าเข้าใจแค่ชื่อ แค่เรื่อง แต่จริงๆ ที่สะสม คือสะสมความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ปัญญามีหลายระดับ ปัญญาขั้นการฟัง เวลาที่ฟัง แล้วเข้าใจในสิ่งที่ฟัง ไม่ได้สะสมชื่อ แต่สะสมความเข้าใจ สิ่งที่สะสมก็คือความเข้าใจ ความเข้าใจที่ท่านอาจารย์ถามว่า ปริยัติคืออะไร ปริยัติก็คือการศึกษาด้วยความเข้าใจ รอบรู้ รู้เข้าใจสิ่งที่เราศึกษา แต่ถ้าเรียนชื่อ เพียงแค่จำ จำได้ว่ามีชื่ออะไรบ้าง เราศึกษาด้วยความจำ จำชื่อมากมาย แต่ไม่ได้เข้าใจถึงชื่อนั้น ว่าชื่อนั้นมีความหมายถึงสภาพธรรมอย่างไร อย่างนั้นคือจำชื่อ ศึกษาแบบจำชื่อ จำเรื่องไม่ได้เข้าใจ แต่ถ้าเข้าใจด้วย จำด้วย เข้าใจด้วย เข้าใจในเหตุในผลของเรื่องราวที่เราเรียน จุดประสงค์เพื่ออะไร เพื่อเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แต่ในขณะที่สภาพธรรมยังไม่ได้ปรากฏกับปัญญา ก็คือยังไม่ถึงขั้นปฏิปัตติ เพราะฉะนั้นการศึกษา ที่เป็นไปกับความเข้าใจเรื่องราวทั้งหลาย ขณะที่เข้าใจ ความเข้าใจนั้นสะสมทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าความเข้าใจชื่อเรื่อง ที่ส่องให้เห็นสภาพธรรมนั้น จะมีกำลังพอที่จะเป็นปัจจัยให้ปัญญาระลึกลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่างได้ ถึงจะเป็นปฏิปัตติก็คือถึงเฉพาะลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมนั้นๆ เพราะว่าไม่ใช่ว่าเรียนแล้ว ถึงแม้สภาพธรรมมี เหมือนอย่างสิ่งที่ปรากฏทางตา ฟังท่านอาจารย์อธิบายมานับครั้งไม่ถ้วน แต่เรารู้ถึงสิ่งที่ปรากฏทางตาโดยความเป็นรูปธรรมทันทีเลยหรือไม่ แต่ความเข้าใจจากการฟัง ค่อยๆ ที่จะเข้าใจขึ้นๆ เมื่อได้ยิน ได้ฟังอีก ก็เข้าใจขึ้นอีก
เพราะฉะนั้นที่สะสมคือสะสมความเข้าใจ แล้วความเข้าใจเหล่านี้ ก็สืบต่อไปเรื่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ เพราะว่าเมื่อเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ เวลาที่ไม่ว่าจะไปเกิดชาติไหน ก็มีลักษณะสภาพธรรมนั้นอีก และเมื่อมีคำอธิบายให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้นอีก ก็สามารถที่จะเข้าใจได้อีก คือความเข้าใจกับความจำ คนละสภาพธรรมกัน ถ้าจำไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา ความจำนั้นก็ไม่ได้มั่นคง สัญญาที่มั่นคงคือสัญญาที่เกิดร่วมกับความเข้าใจ จำด้วย เข้าใจด้วย จึงจะเป็นสัญญาที่มั่นคง
ท่านอาจารย์ ธรรม คืออะไร
ผู้ฟัง ธรรมคือสิ่งที่มีจริง
ท่านอาจารย์ ได้ยินที่ไหนก็รู้ใช่หรือไม่ ใครพูดถึงธรรม เข้าใจได้ ว่าหมายความถึงสิ่งที่มีจริง ถูกต้องหรือไม่
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำว่าธรรม เข้าใจว่าเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นได้ยินคำว่าธรรม เริ่มเข้าใจความหมายของคำว่าธรรม ต้องเป็นสิ่งที่มีจริงๆ แม้เราไม่เรียกอะไร นี่คือเริ่มเข้าใจเพิ่มขึ้น จากเสียงที่ใช้คำว่าธรรม แล้วก็ได้ยินว่าธรรม ไม่ว่าจะที่ไหน ก็คือไม่ใช่เพียงคนที่พูดเรื่องธรรม แต่ไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร ถูกต้องหรือไม่ มีคนจำนวนมากที่พูดถึงธรรม ยุติธรรม ไม่ยุติธรรมอะไรก็แล้วแต่ แต่ก็ไม่รู้ว่า ธรรมคืออะไร ถูกต้องหรือไม่ แต่คนที่ได้ฟังแล้วก็เข้าใจว่าธรรมคำนี้ ไม่ใช่เป็นคำเปล่าๆ ลอยๆ ไม่มีความหมายอะไร แต่คำนี้หมายความถึงสิ่งใดก็ตาม ที่มีจริงๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งนั้น ก็เป็นธรรม เพราะมีจริง อย่างนี้เข้าใจ ใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นพอได้ยินคำว่าธรรม ไม่เหมือนคนที่ไม่เคยเข้าใจ แต่เพราะได้ฟังแล้วก็มีความเข้าใจว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ ไม่เปลี่ยนแปลงความเข้าใจนี้ ถูกต้องหรือไม่ แต่เพียงเข้าใจแค่นี้เอง ถ้าถามว่าเห็นขณะนี้ เป็นธรรมหรือไม่ ตอบว่าอย่างไร
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม หมายความว่าเข้าใจคำถาม แล้วก็รู้ว่าธรรมหมายความถึงสิ่งที่มีจริง เมื่อเห็นมีจริง เห็นก็เป็นธรรม ถูกต้องหรือไม่
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ แต่รู้ลักษณะที่เป็นธรรมของเห็นหรือยัง เป็นอีกขั้นหนึ่งแล้วใช่หรือไม่ จึงมีปริยัติ ปฏิปัตติ และปฏิเวธ เพราะฉะนั้นคุณพรทิพย์เองจะเป็นผู้ทราบ ว่าขณะนี้เป็นปริยัติ หรือว่าเริ่มที่จะรู้เฉพาะลักษณะที่กำลังปรากฏด้วยความเข้าใจจากการฟัง ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เห็น เห็นไม่มีรูปร่าง ไม่มีสีสัน ไม่มีอะไรเลย และกำลังเห็นด้วย เกิดแล้วจึงเห็น ถ้าจิตที่กำลังเห็นไม่เกิด ก็ไม่เห็นใช่หรือไม่ แต่ที่กำลังเห็น ก็เป็นธาตุหรือธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีจริงๆ เมื่อเกิดแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ แต่ตั้งแต่เกิดจนตาย เราได้ยินแต่ชื่อว่าจิต แต่ไม่รู้จักจิต แต่รู้ว่ามีจิต แต่ถ้าถามว่าจิตอยู่ที่ไหน จิตทำอะไรก็ไม่รู้ แต่เมื่อศึกษาแล้ว เริ่มฟังเข้าใจ ว่าขณะที่เห็น เพราะจิตเกิดขึ้นจึงเห็น ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏ แต่ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏ จิตก็เห็นไม่ได้ ถูกต้องหรือไม่
ผู้ฟัง ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้ความเข้าใจก็เพิ่มขึ้น ว่าเวลาพูดถึงเห็น หมายความถึงธาตุชนิดหนึ่ง จะไม่เรียกอะไรเลยก็ได้ แต่เป็นธาตุซึ่งต่างกับสิ่งที่ปรากฎ เพราะว่าเป็นธาตุที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏ เหมือนกับเสียงขณะนี้ เสียงมี ปรากฏว่ามีเสียง ทุกคนที่ได้ยินก็ต้องรู้ว่าเป็นเสียงที่ถูกได้ยิน หรือกำลังได้ยินเสียง แต่ไม่รู้ธาตุที่กำลังได้ยิน แต่รู้ว่าต้องมี ธาตุที่ได้ยินเสียงเกิดขึ้นได้ยิน เสียงจึงปรากฎได้ นี่คือความค่อยๆ เข้าใจธรรม แต่ยังไม่รู้จักตัวธรรม เพราะฉะนั้นก็มีความรู้ที่ต่างกัน ขั้นฟังก็เข้าใจสิ่งที่ได้ฟังในภาษานั้นๆ เกิดเป็นคนไทย พูดภาษาไทย ใช้คำภาษาไทย พูดถึงเห็น พูดถึงได้ยิน พูดถึงสิ่งที่มีจริง ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าใจธรรมได้ แต่ถ้าเราไม่ได้ใช้ภาษาไทย เราเป็นคนชาติอื่น ก็ไม่รู้เลยว่าหมายความถึงอะไร ได้ยินเพียงแค่เสียง สัตว์เดรัจฉาน นก แมว หนู สุนัข ก็ได้ยินใช่หรือไม่ เสียงต้องเป็นเสียง แต่ว่าไม่สามารถที่จะรู้ และเข้าใจ อรรถหรือความหมาย หรือคำที่เสียงนั้นส่องถึงว่า เสียงอย่างนั้นหมายความถึงอะไร เป็นแต่ละคำซึ่งหมายความถึงธรรมแต่ละอย่าง
เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมจึงเริ่มจากปริยัติ จนกว่าจะถึงปฏิปัตติ รู้เฉพาะลักษณะที่เป็นอย่างนั้นจริงๆ และค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่ใช่เข้าใจทั้งหมดเลย ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่า ในขณะที่กำลังฟัง ก็เข้าใจ แล้วก็ไม่ได้เข้าใจลักษณะของธรรมที่ได้ฟัง เข้าใจเพียงเรื่องของสิ่งที่ได้ฟัง แต่ไม่ได้เข้าใจลักษณะของสิ่งที่กล่าวถึง ซึ่งเป็นธรรม หรือว่าเข้าใจแล้ว จากการที่เพียงฟังก็เข้าใจได้
ผู้ฟัง แล้วการที่เข้าใจเพียงเรื่อง จะสะสมได้หรือไม่
ท่านอาจารย์ จะสะสมได้หรือไม่ ใช่ไหม คุณพรทิพย์คิดภาษาอะไร
ผู้ฟัง ภาษาไทย
ท่านอาจารย์ คิดภาษาไทย แล้วก็จำภาษาอะไร
ผู้ฟัง ภาษาไทย
ท่านอาจารย์ เข้าใจธรรมหรือเข้าใจภาษา
ผู้ฟัง ถ้าคำว่าเข้าใจ ต้องเข้าใจสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ บางคนเข้าใจคำ ธรรมหมายความถึงสิ่งที่มีจริง แต่ไม่รู้ว่า เห็นเป็นธรรมหรือไม่ ได้ยินเป็นธรรมหรือไม่ คือไม่ได้ไตร่ตรองถึงคำที่ได้ยิน จนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่มั่นคง ว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ว่าจะในภาษาไหน เพราะฉะนั้นถ้าเพียงแต่จำคำ ก็จำว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริงในภาษาไทย โดยไม่รู้ว่าเห็นขณะนี้ก็เป็นธรรม มีจริงๆ คิดก็เป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เห็น มีจริงๆ โกรธก็เป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เห็น ไม่ใช่คิด แต่มีจริงๆ เพราะฉะนั้นเพียงคำเดียวว่า ธรรม ความเข้าใจของคนฟังระดับไหน เพียงเข้าใจคำ ว่าหมายความถึงสิ่งที่มีจริง แต่ก็ไม่เข้าใจว่า อะไรมีจริงขณะนี้ ก็ได้ ใช่หรือไม่ และก็พูดตามได้ แม้แต่ที่จะกล่าวว่าจิตเป็นธาตุรู้ คำว่า ธาตุหมายความถึงอะไร สิ่งที่มีจริง มีลักษณะเฉพาะสิ่งนั้นไม่ปะปนกับสิ่งอื่น เป็นแต่ละธาตุ โลภะเป็นธาตุ ไม่ใช่ของใคร ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับหรือทำให้เกิดขึ้นได้ นี่คือความเข้าใจคำนี้ที่ได้ยิน เมื่อมีปัจจัยจึงเกิด เกิดแล้วก็ดับ ดับแล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย นี่คือสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง แต่ว่าความเข้าใจในสิ่งนี้ที่กำลังมีขณะนี้ มั่นคงแค่ไหน ถ้าเป็นความเข้าใจธรรม ใช้ภาษาอะไร เกิดชาติไหนก็เข้าใจได้ เพราะเข้าใจธรรม ไม่ใช่เป็นการจำภาษา แล้วก็คิดว่าเข้าใจธรรม แต่เพียงจำความหมายของคำ แต่ความเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังความหมายนั้นลึกซึ้งแค่ไหน เช่นคำว่า เห็นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นธาตุ ซึ่งเกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับไป ไม่ได้พูดเพียงว่าเห็น ใครๆ ได้ยินคำว่าเห็น ก็รู้ว่าเห็นไม่ใช่ได้ยิน แต่ว่าจะเข้าใจหรือไม่ ว่าความจริงของเห็นก็คือเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ และก็ต้องเกิดเมื่อมีปัจจัย เกิดแล้ว เห็นแล้ว ก็ดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก นี่คือฟังแล้วเข้าใจ เปลี่ยนภาษาก็ได้ แต่ความเข้าใจไม่เปลี่ยน ไม่เหมือนคนที่จำแต่เพียงคำ และคิดว่าเข้าใจ แต่ว่าไม่ได้เข้าใจตัวธรรมที่กำลังเห็น
อ.กุลวิไล ตัวธรรมหรือว่าอรรถ ที่ให้รู้สภาพธรรมนี้ก็ไม่มีชื่อ ถึงแม้สภาพธรรมที่เป็นปัญญา ก็เป็นเจตสิกที่สะสมได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่เราเพียงจำชื่อ จำคำ จำภาษา ขณะนั้นก็ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย เหมือนกับขณะที่เข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ ถ้าชาติก่อน คุณพรทิพย์เกิดที่พระนครสาวัตถี พูดภาษาบาลี ภาษามคธีเก่งมาก พูดได้ภาษาเดียวด้วย แล้วก็มาถึงชาตินี้ ไปจำคำนั้นมาด้วยหรือไม่ แต่ถ้ามีความเข้าใจธรรมไม่ว่าในภาษาไหน พอได้ยินก็สามารถเข้าใจได้ ใช่หรือไม่ เช่นเกิดเป็นคนไทย คุ้นเคยกับภาษาไทย และสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาแล้วในภาษาอื่น แต่เข้าถึงความจริงที่เป็นธรรมไม่ว่าจะในภาษาไหน เพราะฉะนั้นพอเป็นภาษาไทยก็เข้าใจได้ แต่ไม่ได้ไปจำภาษาบาลี มคธี ตามมาเลยทั้งหมดใช่หรือไม่
ผู้ฟัง การที่เราศึกษาว่าจิตมี ๘๙ ประเภท แล้วต่อไปในอนาคต เหตุใดไม่สะสมในเรื่องราวของธรรมไปด้วย แต่สะสมเฉพาะสภาพธรรมที่เป็นจริง ความเข้าใจสภาพธรรม จะติดไปตลอดเลยหรือ
ท่านอาจารย์ ถ้าขณะนี้ มีสิ่งที่กำลังปรากฎ และเริ่มรู้ว่า ธรรมคืออะไร ไม่ใช่ชื่อ แต่หมายความถึงสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้เป็นธรรมเพราะอะไร เพราะมีปัจจัยเกิดขึ้นเท่านั้น ถ้าไม่มีปัจจัย ก็เกิดไม่ได้เลย จิตก็เกิดไม่ได้ เจตสิกก็เกิดไม่ได้ แม้แต่เพียงสีสันวรรณะที่กำลังปรากฏเพราะกระทบจักขุปสาทก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นเข้าใจธรรม คือรู้ว่าสิ่งที่มีจริงนี่เองเป็นธรรม ที่เราศึกษาธรรมก็คือ เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ถูกต้องว่า ไม่ใช่เรา ไม่เที่ยง ไม่ใช่เป็นของใคร แต่เป็นธรรมจริงๆ จนกว่าจะมีความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น
ผู้ฟัง ดังนั้นการเข้าใจ จะต้องเข้าใจในสภาพธรรมที่ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นต้องตามลำดับ ถ้าไม่ใช้คำว่าจิต แม้ว่าจิตมีจริงๆ แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าหมายความถึงอะไร เพราะสิ่งที่มีจริงหลากหลายมาก โกรธก็จริง เข้าใจผิดก็จริง เห็นถูกก็จริง ริษยาก็จริง มานะก็จริง ทุกอย่างที่มีจริงในชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเป็นธรรม ตรัสไว้ สัพเพธัมมา ทั้งหมดที่เป็นธรรม เป็นอนัตตา ให้เข้าใจความจริงให้ถูกต้อง ธรรมคือสิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นอนัตตา ไม่เว้นเลย หมายความว่า ไม่ใช่ของใคร และไม่ใช่ใคร เป็นเพียงธรรม ซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หลากหลายมาก เพราะไม่กลับมาอีกเลยสักหนึ่ง จึงใช้คำอธิบายว่าขันธ ว่างเปล่า คือเพียงเกิดขึ้นปรากฏแล้วหมดไป แล้วไม่เหลือเลย แล้วก็ไม่กลับมาอีก เพื่อที่จะให้มีความเห็นที่ถูกต้อง ว่าความจริงของสิ่งที่ปรากฏเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ให้ไปท่องจำทั้งหมดเป็นคำพูด ตกไปสักคำหนึ่งก็ไม่ได้ ต้องไปทวนใหม่ว่า หายไปหรือเปล่า อย่างนั้นก็ไม่ใช่
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720