พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
ตอนที่ ๗๑๙
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ท่านอาจารย์ ชาติก่อนอยู่ที่ไหน พามาแล้วสู่ที่นี่ โลกนี้ เพราะฉะนั้นกรรมหนึ่งที่กระทำแล้ว ในชาตินี้หรือในชาติไหนก็ตามแต่ ที่สามารถจะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดได้ เมื่อจิตขณะสุดท้ายของชาตินี้ดับ ไปแล้ว สู่ที่ต่างๆ ตามกรรมที่ได้กระทำกรรม ๑ เพราะฉะนั้นก็เป็นมือที่มองไม่เห็น พามาแล้วสู่โลกนี้ แล้วพามาสบายหรือไม่ พามาให้เป็นอย่างไร ให้ออกจากโลกนี้ยังไม่ได้ จากโลกนี้ไปยังไม่ได้ ยังต้องอยู่ในโลกนี้ ใครทำ มองไม่เห็นเลย ใช่หรือไม่ แต่กรรมที่ทำให้ดำรงความเป็นบุคคลนี้ ยังไม่ถึงกาลที่จะสิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ ก็ต้องอยู่ไปในโลกนี้ เพราะฉะนั้นอยู่ไป อยู่อย่างไร เกิดแล้ว และปฏิสนธิจิตก็ดับ ไม่มีสภาพธรรมใด ซึ่งเกิด และไม่ดับ แล้วก็ดับอย่างเร็วสุดที่จะประมาณได้ แม้ขณะนี้เดี๋ยวนี้จิตก็เกิดดับ เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตดับพร้อมจิต โดยที่ไม่รู้เลยว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมก็คือ ให้เข้าใจสิ่งที่มี ซึ่งไม่เคยเข้าใจทุกคำ เช่นแม้แต่คำว่ากรรม ก็จะต้องรู้ด้วย ว่าได้แก่อะไร ไม่ใช่เรา แต่ต้องเป็นธาตุหรือเป็นธรรม ซึ่งเป็นเจตนาเจตสิก ซึ่งจงใจ ถ้าจงใจจะให้คนหนึ่งตาบอด จงใจแล้ว ใช่หรือไม่ ผลคืออะไร ไม่ใช่คนอื่นเลย เจตนา ซึ่งเป็นกรรมที่ได้กระทำแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิ ถึงกาลที่จะมีจักขุปสาทเกิด ก็ไม่เกิด เพราะความจงใจที่จะไม่ให้มีจักขุปสาท หรือไม่ให้เกิดจักขุปสาท เพราะฉะนั้นก็เป็นมือที่มองไม่เห็น ที่สามารถที่จะทำได้ทุกอย่างไม่มีใครรู้เลย ว่าขณะต่อไปนี้จะเห็น หรือจะได้ยิน จะได้กลิ่นหรือว่าจะสุข จะทุกข์อย่างไร เพราะเหตุว่าเป็นธรรม ซึ่งมีปัจจัยทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ธรรมใดก็ตาม ซึ่งเกิดต้องมีปัจจัยเฉพาะธรรมนั้นๆ ที่ทำให้เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นถ้าจะศึกษาธรรมทีละคำ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ก็สามารถที่จะเข้าใจเรื่องของกรรมอีกมาก
อ.กุลวิไล สัตวโลกเป็นที่ดูกรรม และผลของกรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละคนแตกต่างกันมากมาย ก็เพราะว่ากรรมที่ทำแล้ว และผลของกรรมที่ได้รับ เพราะฉะนั้นกรรมก็คือเจตนานั่นเอง หรือความจงใจที่จะกระทำ แต่ก็มีทางออก ทางออกของกรรมก็ไม่พ้นทางกาย ทางวาจา เราเห็นเจตนาไม่ได้เพราะเป็นนามธรรม แต่กาย และวาจาเนื่องจากจิตนั่นเอง ทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อนเปล่าๆ มีความจงใจ ตั้งใจหรือไม่ และผลก็ต้องเกิดจากเหตุนั่นเอง เพราะฉะนั้นผลของกรรม ที่เห็นแต่ละคน รูปผิวพรรณแตกต่างกัน นี้คือส่วนของรูปที่เป็นผลของกรรม แต่วิบากที่เป็นนามธรรม ท่านอาจารย์ที่เราศึกษา เราก็พอทราบด้วยว่าขณะนี้ก็มีผลของกรรม เพราะบางคนก็กลัวผลของกรรมที่เป็นปฏิสนธิจิต หรือว่าจุติจิต แต่ลืมไปว่าขณะนี้เองก็มีผลของกรรม และกำลังรับผลของกรรมด้วย
ท่านอาจารย์ นี่คือศึกษาธรรม ให้เข้าใจทุกอย่างเป็นธรรม นามธรรมเป็นนามธรรม รูปธรรมเป็นรูปธรรม กรรมให้ผลคือทำให้จิตเกิดขึ้น จิตที่เกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัยชื่อว่า วิปากจิตหรือวิบากจิตในภาษาไทย และกรรมก็ยังเป็นปัจจัยให้รูปเกิดด้วย เพราะฉะนั้นในขณะปฏิสนธิคือขณะแรก กรรมทำให้วิบากจิต ซึ่งเป็นผลของกรรมหนึ่ง แต่กรรมนั้นก็ประมวลมาซึ่งกรรมที่จะให้ผลในชาตินั้น ตามควรแก่ฐานะ เช่นคติ อุปธิ ปโยคะ เป็นต้น ก็แสดงให้เห็นว่าทุกอย่าง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ถ้าศึกษาธรรมเข้าใจละเอียดขึ้น ก็จะละความไม่รู้ และปัญญานั้นก็จะทำให้มีความเข้าใจธรรมจนกระทั่งสามารถที่จะหมดจดจากกิเลสได้ เพราะว่าทุกคนได้ยินคำว่ากิเลส ก็ไม่มีใครอยากจะได้ใช่หรือไม่ แต่ก็มีเยอะทั้งๆ ที่ไม่อยากก็มี เพราะเหตุว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นในขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น กรรมทำให้วิบากจิตเกิดพร้อมกับรูป ซึ่งใช้คำว่ากัมมชรูป เป็นเหตุที่แต่ละคนสูงบ้าง ต่ำบ้าง ใช่หรือไม่ ผิวพรรณต่างๆ กัน วรรณต่างๆ กันเพราะรูปซึ่งเกิดจากกรรม จะปราศจากธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา ไม่ได้ กลาปคือรูปกลุ่มหนึ่งๆ ก็มีอย่างน้อยที่สุด ๘ รูป แต่สำหรับรูปที่เกิดจากกรรม ต้องมีอีกรูปหนึ่ง คือชีวิตินทรียรูป เป็นรูปที่มีชีวิต ทำให้รูปกลุ่มนั้น กลาปนั้นต่างกับกลุ่มอื่น ต้นไม้ไม่ได้เกิดจากกรรม เพราะว่าไม่มีชีวิตินทรียรูป เพราะฉะนั้นนี่เป็นความละเอียดแม้แต่ของจิต ก็ต้องมีชีวิตนาม ซึ่งเป็นชีวิตินทรียเจตสิก ซึ่งต้องเกิดกับจิตทุกขณะ เพราะจิตเป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ มีชีวิตคือเกิดขึ้นรู้
เพราะฉะนั้นเมื่อจิตหนึ่งขณะเกิด จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุด ๗ ดวง ค่อยๆ จำไปทีละหนึ่งก็ได้ ต้องมีผัสสเจตสิกกระทบ ต้องมีเวทนาความรู้สึก ต้องมีสัญญาความจำ ที่จำได้ขณะนี้ก็เพราะสัญญาเจตสิก ต้องมีเจตนาเจตสิก ต้องมีชีวิตินทรียเจตสิก จิตทุกดวงเกิดขึ้นพร้อมกับชีวิตินทรียเจตสิก แล้วก็มีเอกัคคตาเจตสิก สภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง ซึ่งจิตหนึ่งขณะเกิดจะมีเจตสิกที่ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้เพียงหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จิตหนึ่งขณะเกิดขึ้นจึงรู้อารมณ์เพียงหนึ่ง แล้วก็มีมนสิการเจตสิก ซึ่งยังไม่ต้องไปจำทั้งหมดก็ได้ แต่ให้ทราบว่า ถ้ากล่าวถึงคำไหนก็รู้ว่าเป็นจิต หรือเป็นเจตสิก เพราะฉะนั้นสำหรับขณะแรกที่เกิดเป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม เกิดขึ้นพร้อมกับรูป ซึ่งเกิดเพราะกรรม จึงเป็นกัมมชรูป ในรูปที่เกิดเพราะกรรมขณะแรกซึ่งมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุไฟซึ่งเกิดเพราะกรรม ก็จะทำให้เกิดรูปต่อไป ซึ่งต่างกันตามกรรม มดก็เกิดจากกรรม ช้างก็เกิดจากกรรม แต่ปฏิสนธิจิตต่างกันใช่หรือไม่ ทำให้กัมมชรูปคือรูปที่เกิดจากกรรม ต่างกันที่ธาตุไฟนั้น จะทำให้การเกิดดับนั้นสืบต่อที่จะเติบโตเจริญขึ้นต่างกันอย่างไร
อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้นกรรมไม่ใช่เพียงนำเกิดอย่างเดียวคือปฏิสนธิจิต แต่ให้ดำรงภพชาติคือภวังคจิต และให้ผลหลังจากเกิดด้วย ขณะนี้เอง ท่านอาจารย์ที่กล่าวถึงว่าเห็น ได้ยินเป็นผลของกรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคุณณรงค์พอเห็นมือที่มองไม่เห็น เข้าใจได้หรือไม่ ก็คือกรรมนั่นเอง ตั้งแต่เกิด มองไม่เห็นเลยว่าทำมาอย่างไรบ้างทุกขณะ สุดแล้วแต่ที่จะให้เกิดจักขุปสาท โสตปสาท ที่จะทำให้เกิดจิตเห็น จิตได้ยิน
อ.กุลวิไล เชิญคุณวิชัย
อ.วิชัย กราบเรียนท่านอาจารย์ เมื่อตอนต้นผมได้ถามเกี่ยวกับเรื่องของธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อมาฟังช่วงสักครู่นี้ ท่านอาจารย์ก็กล่าวถึงเจตนา และก็กล่าวถึงเจตสิกอีกประเภทต่างๆ และสิ่งที่ควรรู้ ควรจะศึกษาอย่างไร หรือว่าจะรู้มากมายแค่ไหน
ท่านอาจารย์ ธรรมที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษา จะรู้ได้วันนี้หรือไม่
อ.วิชัย ไม่ได้แน่นอน
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ได้ยินคำไหนเข้าใจคำนั้น ทบทวนอีกครั้งว่าคุณวิชัยพูดถึงคำอะไรบ้าง
ท่านอาจารย์ ควรรู้ยิ่ง ก็รู้ไปบ้างแล้ว
อ.วิชัย รูป
ท่านอาจารย์ รูปควรรู้ยิ่ง ก็รู้ไปบ้างแล้ว
อ.วิชัย จักขุวิญญาณ
ท่านอาจารย์ จักขุวิญญาณ กำลังเห็น ควรรู้ยิ่ง ก็รู้ไปบ้างแล้ว
อ.วิชัย จักขุสัมผัส
ท่านอาจารย์ จักขุสัมผัสก็ต้องมีผัสสเจตสิก เกิดกับจิตทุกขณะ ก็รู้ไปบ้างแล้ว
อ.วิชัย เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส
ท่านอาจารย์ ความรู้สึกต้องเกิดกับจิตทุกขณะ ก็รู้ไปบ้างแล้ว ว่าจิตเกิดขึ้นจะขาดเวทนาคือความรู้สึกไม่ได้เลย ฟังเรื่องอะไรก็เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง เข้าใจทั้งหมดทีเดียวไม่ได้เลย ทุกคำ มากมาย ไม่จบ ไม่ใช่ไม่จบเพราะหนังสือจำกัด ว่าอยู่ในปิฏกนั้น ปิฏกนี้ พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์หรืออะไร ไม่จบเพราะเกิดดับสืบต่อไม่ขาดสาย
อ.วิชัย กราบขอบคุณท่านอาจารย์
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์กล่าวถึงจักขุวิญญาณ ซึ่งก็เป็นผลของกรรม
ท่านอาจารย์ ใครไม่รู้จัก จักขุวิญญาณบ้างเป็นภาษาบาลี ส่วนภาษาไทยก็ เห็น จักขุแปลว่าตา วิญญาณแปลว่ารู้ รู้ที่ต้องอาศัยตา จึงรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏได้ทางตาคืออะไร เพราะฉะนั้นก็เรียกว่าจักขุวิญญาณ สภาพรู้ที่อาศัยตา ถ้าไม่อาศัยตา สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ปรากฏไม่ได้เลยไปนึก ไปฝัน ไปคิด ให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ก็ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นในขณะนี้
อ.กลุวิไล ทราบแล้วว่า เห็นเป็นผลของกรรม เพราะว่ากรรมทำแล้วให้ผล ไม่ใช่เพียงนำเกิดอย่างเดียว แต่ให้ผลหลังเกิดด้วยเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย เป็นผลของกรรม
ท่านอาจารย์ กำลังทำกรรมหรือไม่ ทางกายกรรม ทางวจีกรรมวิทยากรคงทำ มโนกรรม กำลังฟังธรรมเข้าใจ เป็นกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญาในขณะที่เข้าใจ เกิดอีกเป็นอย่างไร เป็นผลของกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา ถ้ากรรมนี้ให้ผล ก็จะเกิดในสุคติภูมิ พร้อมด้วยปัญญาเจตสิก และโสภณเจตสิกทั้งหมด
อ.กุลวิไล คุณธิดารัตน์ กิเลสคืออะไร
อ.ธิดารัตน์ กิเลสก็หมายถึง อกุศลเจตสิกทั้งหลาย ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง คำว่ากิเลส แปลว่าเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต หรือว่าลักษณะของอกุศลเจตสิกที่เกิดขึ้นแล้วทำให้จิตเศร้าหมอง เพราะฉะนั้นเวลาท่านอธิบายถึงโลภมูลจิต จิตที่มีโลภะเป็นมูล เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นโลภเจตสิกเหล่านี้ ก็เป็นกิเลส อวิชชาความไม่รู้ก็เป็นกิเลส แล้วก็อกุศลทั้งหลายเป็นกิเลสหมดเลย อกุศลเจตสิกส่วนใหญ่ บางครั้งท่านก็แสดงกิเลส ๑๐ อย่าง แต่บางทีท่านก็แสดงกว้างขวางมากเลย เป็นอกุศลที่ทำให้เศร้าหมอง
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ มีผู้ถามว่า กัมมกิเลสต่างกันกับกิเลสอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีกิเลส ก็ไม่มีกรรม แน่นอนที่สุด แต่ว่ากิเลสที่ไม่ใช่กรรมก็มี
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ อย่างไรกิเลสที่ไม่ใช่กรรม
ท่านอาจารย์ เมื่อเช้านี้ คุณกุลวิไลรับประทานอาหารอร่อยหรือไม่
อ.กุลวิไล อร่อย
ท่านอาจารย์ กรรมอะไร
อ.กุลวิไล ก็ไม่ได้เบียดเบียนใคร
ท่านอาจารย์ แต่เป็นกิเลสหรือไม่
อ.กุลวิไล เป็นกิเลส เพราะฉะนั้นขณะที่อกุศลจิตเกิดขึ้น เบียดเบียนใครหรือไม่ ก็เป็นแต่กิเลสเท่านั้นเอง แต่ไม่ได้ทำกรรมที่จะให้คนอื่นเดือดร้อน เชิญคุณชาลี
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ อาจารย์วิทยากร เรียนถามท่านอาจารย์ กรณีที่เป็นอกุศลกรรมบถ ที่ล่วงทางใจอย่างเดียวอย่างเช่นอภิชชา การเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น พยาปาทะ ความคิดปองร้ายหรือมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิด ถ้าแค่คิดอย่างเดียว ไม่ล่วงทางกาย วาจานี่ จะทำให้เกิดอกุศลวิบากหรือไม่
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ขณะที่เห็นแล้วรูปที่ทางปรากฏตาให้เห็นยังไม่ดับ แต่อกุศลธรรมที่ได้สะสมมาแล้ว มีกำลังที่จะเกิด ในความติดข้อง ขณะนั้นเป็นกรรมอะไรหรือไม่ ทางกายหรือทางวาจาหรือเปล่า แต่ว่าเกิดแล้วใช่หรือไม่ แล้วก็เป็นเจตนาเจตสิก ที่เกิดกับอกุศลจิตนั้นๆ ด้วย เพราะฉะนั้นถ้าจะกล่าวโดยนัยนี้คือ เมื่อไม่ใช่ทางกาย ทางวาจา ก็เป็นมโนกรรม นี่คือความละเอียดของธรรมระดับหนึ่ง คืออกุศลจิตเกิด เพราะมีกิเลส และขณะนั้น ไม่มีการล่วงไปทางกายหรือทางวาจา แต่ในขณะที่เห็นเกิดแล้ว แต่ไม่ได้ทำอะไรเลย แต่เกิดแล้วเป็นอกุศลแล้ว ในรูปที่ยังไม่ดับ เป็นมโนกรรม เพราะฉะนั้นความหมายของมโนกรรมก็มีหลายอย่าง แต่ก็ต้องเข้าใจให้ถูก ด้วยเหตุนี้การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจ แม้ว่าจะใช้คำที่กล่าวถึงสภาพธรรมโดยนัยใด เช่นเมื่อไม่ใช่การกระทำทางกาย ทางวาจาก็เป็นมโนกรรม แต่ว่าไม่ใช่มโนกรรมที่เป็นกรรม ที่จะทำให้เกิดวิบาก เพราะเวลาที่เราพูดถึงอกุศลกรรมบถมี ๑๐ และกุศลกรรมบถก็มี ๑๐ คือเว้นจากอกุศลกรรมนั่นเองขณะใด ขณะนั้นก็เป็นกุศลกรรมบถ จะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม ขณะนั้นเกิดแล้วตามการสะสม เพราะฉะนั้นถ้าจะกล่าวถึงโดยความเป็นกรรมที่เป็นเจตนาเจตสิก ที่ยังไม่ถึงกับการกระทำทางกาย ทางวาจาจึงเป็นมโนกรรม แต่วันหนึ่งๆ เจตนาเกิดทุกขณะจิต เพราะฉะนั้นขณะใดที่เป็นกุศลก็เป็นกุศลเจตนา ขณะใดที่เป็นอกุศลก็เป็นอกุศลเจตนา ยังไม่ต้องกล่าวถึงทวาร ว่าทางกายหรือทางวาจา หรือทางใจ แต่เพราะมีกาย และมีคำพูดที่เปล่งออกมาได้ตามจิต เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเป็นกุศล ก็มีคำที่กล่าวด้วยกุศล เพราะฉะนั้นในขณะนั้นเป็นมโนกรรมหรือว่าเป็นวจีกรรม เพราะทรงแสดงมโนกรรมไว้ว่า ได้แก่อภิชชา พยาปาท และทิฏฐิ ทางฝ่ายอกุศลก็คือมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่มีการกระทำใดๆ เลยทั้งสิ้น ขณะนั้นก็เป็นมโนกรรม ในนัยที่ว่า เพราะไม่ใช่กายกรรม และวจีกรรม แต่เมื่อใดมีการกระทำทุจริตกรรมเกิดขึ้นเป็นอกุศลกรรม ก็จะต้องรู้ว่าขณะนั้น เป็นกายกรรมหรือมโนกรรม เป็นวจีกรรมหรือเป็นมโนกรรม นี่ก็เป็นความละเอียด ที่จะต้องศึกษา อย่างในขณะนี้มีความเข้าใจถูก เจตนาเจตสิกขวนขวายพร้อมจิตที่เกิดพร้อมปัญญาเจตสิก ในขณะนั้นทำกิจของเจตนาเป็นมโนกรรม แต่ถ้ามีการกล่าวทางวาจา ที่จะให้คนอื่นได้เข้าใจธรรมได้ประพฤติในทางที่ถูกต้อง ขณะนั้นเป็นวจีกรรม เพราะว่านั่งเฉยๆ เขาจะรู้ได้อย่างไร ใช่หรือไม่ ถึงแม้ว่าเป็นกุศลจิต ก็ยังต้องอาศัยคำพูดที่จะทำให้คนอื่นได้รับประโยชน์ เพราะฉะนั้นขณะนั้นก็เป็นวจีกรรมทางกุศล ถ้าเป็นทางอกุศลก็เช่นเดียวกัน โกรธมากๆ ไม่พูดก็ได้ ใช่หรือไม่ แต่ถ้าพูดเมื่อไหร่ เบียดเบียนหรือไม่ เจตนาระดับไหน บางคนพูดคำแรงๆ ในใจ ใช่หรือไม่ ไม่มีเสียงออกมาเลย แต่แรงมาก แต่ก็อยู่ในใจขั้นนึกคิด ยังไม่ประทุษร้ายใคร คนอื่นไม่ได้ยินไม่ได้เบียดเบียน เพราะฉะนั้นเรื่องของกรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แต่ให้เข้าใจให้ตรงถูกต้องว่าได้แก่ธรรมอะไร และก็ระดับไหนเท่านั้นเอง
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องกรรมผลของกรรมด้วยจุดประสงค์อะไร ให้พุทธศาสนิกชนได้รับฟัง
ท่านอาจารย์ ทุกคำที่ตรัส เพื่อให้คนฟังมีความเห็นที่ถูกต้อง ไม่ใช่แต่เฉพาะกรรม และผลของกรรม
ผู้ฟัง เพื่อให้เห็นที่ถูกต้อง เพื่ออะไร เห็นที่ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ เข้าใจถูก ไม่เคยมีความเข้าใจเลย ไม่เคยมีความรู้ถูกตามความเป็นจริงเลย เพราะไม่ใช่พุทธ แต่เมื่อได้ฟังแล้ว ตรัสสัจจธรรม ความจริงที่สามารถจะเข้าใจได้ในขณะนี้ ให้คนที่ฟังมีความเข้าใจ มีความเห็นถูก ซึ่งถ้าเราคุ้นกับภาษาบาลี เราก็บอกว่ามีปัญญา แต่ปัญญาที่ไม่เข้าใจ มีหรือไม่ ถ้าเข้าใจนิดเดียว ก็มีความเข้าใจถูก ที่จะต้องเจริญอีกๆ ไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง เห็นถูกในเรื่องกรรม เห็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจว่ากรรมคืออะไร พูดว่ากรรม และกรรมคืออะไร
ผู้ฟัง กรรมคือเจตนาที่จะกระทำ ไม่ว่าจะกุศลหรืออกุศล
ท่านอาจารย์ เห็นถูกหรือไม่ ว่าไม่ใช่เรา เป็นธรรมที่เป็นสังขารธรรม เวลานี้ได้ฟังว่าอะไรเป็นอกุศลกรรม แต่ก่อนนี้เคยฆ่าสัตว์บ้าง พูดคำที่ไม่น่าฟังบ้าง เมื่อได้ฟังธรรมแล้วรู้ว่า ฆ่าสัตว์ก็ทำร้ายคนอื่น สัตว์อื่นเดือดร้อนสิ้นชีวิต แม้แต่วาจาที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ควรหรือไม่ที่จะประทุษร้ายกันด้วยวาจา ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ ห้ามได้หรือไม่ เห็นหรือไม่เพราะทั้งหมดเป็นธรรมที่เป็นสังขารธรรม ฟังเพื่อค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ ปรุงแต่งตามการสะสมว่า สะสมกุศลมาก ทางกายหรือทางวาจาก็เป็นไปอย่างนั้น สะสมอกุศลมาก ทางกายหรือทางวาจาก็เป็นอย่างนั้น เพราะว่าเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นธรรมที่เป็นสังขารธรรม
ผู้ฟัง แม้อกุศลกรรมจะนำไปสู่อบาย เป็นเปรต เป็นนรกอะไรต่างๆ ประมาณ ก็ยังห้ามไม่ได้ที่จะไม่กระทำ
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่เรา แต่เป็นสังขารขันธ์ เจตสิกมี ๕๒ ความรู้สึกคือเวทนาเป็นขันธ์ ๑ สัญญาเจตสิกสภาพที่จำเป็นขันธ์ ๑ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ แสดงว่าไม่มีเราจะไปบังคับ ให้สภาพธรรมเดี๋ยวนี้เกิดขึ้นเป็นกุศลอย่างนี้ แต่เพราะการฟัง เริ่มสะสมการปรุงแต่ง ซึ่งพร้อมเมื่อไหร่ก็เกิดเป็นอย่างนั้น ให้รู้ว่านี่เป็นธรรม แม้แต่คิดอย่างนี้ที่คุณนิรันดร์คิด ก็เพราะเคยฟัง เคยไตร่ตรอง เคยคิดอย่างโน้นบ้าง อย่างนี้บ้าง พอถึงเวลาก็มีคำพูดที่ออกมาจากความคิดเพราะเป็นสังขารขันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโลภะโทสะ ปัญญา หรืออะไรๆ ก็ตามทั้งหมด บางครั้งก็เป็นความเห็นถูก บางครั้งก็เป็นความเห็นผิด บางครั้งก็เป็นเมตตา บางครั้งก็เป็นโทสะ ทั้งหมดเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่ง แล้วแต่ว่าจะเกิดขึ้นเป็นอะไร ก็เพราะได้มีสภาพธรรมนั้นที่สะสมเป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง แม้จะรู้ว่าการทำความชั่วเป็นอกุศลกรรม จะนำบาป นำนรกมาให้ ก็ยังมีปัจจัยที่จะทำ เช่นไปขโมยเงินเขา ๑๐ บาท ๒๐ บาท อะไรต่างๆ แต่ว่าผลที่จะต้องตกนรก ไม่รู้เท่าไหร่ ก็ยังไม่รู้ว่าสิ่งที่ต้องได้รับ มันมากกว่าสิ่งที่ได้มากมาย
ท่านอาจารย์ คิดแค่นี้ แต่ก็เป็นเรา ห้ามไม่ได้จนกว่าจะเป็นธรรม รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นพระโสดาบันเมื่อไหร่ สมบูรณ์ในศีล ๕
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์แล้วอย่างไรจะชื่อว่า เป็นผู้ที่เริ่มจะมีความมั่นคงในเรื่องกรรม และผลของกรรม
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ถามใคร เพราะเป็นตัวคุณนิรันดร์ จะถามคนอื่นว่าเวลานี้คุณนิรันดร์คิดอย่างไร คุณนิรันดร์เข้าใจแค่ไหน มั่นคงแค่ไหน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ผู้ฟัง เช่นเมื่อเช้านี้ แม้แต่ผมจะฟังเรื่องของกรรม และผลของกรรม
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครรู้ว่าคุณนิรันดร์มีความมั่นคง และมีความเข้าใจแค่ไหน
ผู้ฟัง ผมก็ยังไม่มั่นคง ผมก็ยังหวั่นไหว เมื่อได้ฟังในเรื่องว่าอนาคตอาจจะลำบากหรือว่าอะไร ก็รู้สึกว่าหวั่นไหว
ท่านอาจารย์ ลำบาก เพราะกรรมอะไร
ผู้ฟัง กรรมที่ไม่ดี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะสบายเพราะกรรมอะไร
ผู้ฟัง เพราะกรรมดี
ท่านอาจารย์ และจะทำกรรมอะไร
ผู้ฟัง ต้องทำกรรมดี แต่ก็แสดงให้เห็นถึงว่า มีความหวั่นไหว
ท่านอาจารย์ หวั่นไหว เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล
ผู้ฟัง เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ ยังมีอกุศลตราบใด ก็ยังต้องหวั่นไหว
ผู้ฟัง เช่นนั้นแม้จะฟังเรื่องของกรรม และต้องเข้าใจเรื่องของกรรมก็ยังต้องหวั่นไหว
ท่านอาจารย์ ไม่มีคุณนิรันดร์ แต่ธรรมเป็นไปตามปัจจัยของแต่ละขณะที่สะสม
ผู้ฟัง แล้วจนกว่าเมื่อใดที่จะไม่หวั่นไหว มีความมั่นคง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็ไม่หวั่นไหวเลย ว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นคุณนิรันดร์ ก็หวั่นไหว
ผู้ฟัง พระโสดาบัน ที่ท่านมั่นคงในเรื่องของสภาพธรรมแล้ว ท่านไม่หวั่นไหว
ท่านอาจารย์ ในเรื่องของศีล และก็ในเรื่องของธรรมด้วย ในพระรัตนตรัย
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720