พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
ตอนที่ ๖๖๖
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ท่านอาจารย์ พระธรรมแสดงโดยใคร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นจะเทียบกับความคิดความเข้าใจ หรือปัญญาของเราได้ไหม แม้แต่เพียงฝุ่นละอองกับเขาสิเนรุ ซึ่งความจริงก็จะต้องเปรียบมากมายกว่านั้นอีก แสดงให้เห็นความต่างของสภาพธรรมที่สามารถจะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ แล้วก็ทรงแสดงความจริงโดยประการทั้งปวง โดยนัยต่างๆ เพื่อที่จะให้เกิดความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในความจริงของสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้นขณะนี้ทุกคนก็เห็น มีจริงๆ ใช่ไหม มีใครปฏิเสธว่าเห็นไม่มีจริง นี่ปัญญาเล็กๆ น้อยๆ เริ่มต้นยังไม่ต้องไปถึงไหน
เพราะฉะนั้นทุกคนก็ต้องยอมรับว่าเห็นมีจริง แต่ความจริงของเห็นคืออย่างไร เห็นต้องเกิดขึ้น เห็นแล้วดับ เห็นอะไร เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น ถูกต้องไหม นี่คือเริ่มต้นที่จะเข้าใจแม้แต่เพียงส่วนเล็กน้อยนิดเดียวของสภาพธรรมซึ่งกำลังเกิดดับอย่างรวดเร็วสุดที่จะประมาณได้ ถ้าดับช้าๆ ใครๆ ก็ต้องรู้ความจริงของสภาพธรรมไม่ต้องมีความสงสัย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปแต่เพราะเหตุว่าการเกิดดับสืบต่อเร็วมาก เพราะฉะนั้น จึงมีคำที่แสดงความรวดเร็วว่า “จิตตั้งขึ้นพร้อมนิมิต” หรือสิ่งใดก็ตามที่ปรากฏเกิดตั้งขึ้นสิ่งนั้นพร้อมนิมิต จริงไหม เห็นเดี๋ยวนี้เห็นอะไร พร้อมนิมิต หรือเปล่า แสดงความรวดเร็วว่ากว่าจะเป็นนิมิตได้ต้องมีสภาพธรรมซึ่งเกิดแล้วก็เห็นสิ่งที่ปรากฏ จนกว่าการเห็นจะบ่อยมาก และสิ่งที่ปรากฏก็เกิดดับสืบต่อจนปรากฏเป็นนิมิต แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปรมัตถธรรม ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม ไม่มีสิ่งที่มีจริงขณะนี้ก็ไม่มีเห็น ก็ไม่มีสิ่งที่ปรากฏ แต่ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏเพราะมีธาตุรู้คือเห็นเกิดขึ้น แต่ตั้งขึ้นพร้อมนิมิตนี่คือความรวดเร็ว
เพราะฉะนั้นจึงต้องเข้าใจว่าปรมัตถธรรม มี แต่ที่จะปรากฏเพียงเล็กน้อยนิดเดียวจะปรากฏกับใคร ในเมื่อการเกิดดับเร็วมากแล้วไม่เคยมีการที่จะพิจารณาเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็เป็นความไม่รู้แต่ทุกคนก็จะตอบว่าเห็น ไม่ใช้คำว่า “นิมิต” เห็นคน เห็นโต๊ะ เห็นเก้าอี้ นั่นคือ “นิ มิต ตะ” ของรูปนั้นซึ่งเกิดดับอย่างรวดเร็ว แล้วเวลานี้ไม่ใช่เห็นคนเดียว เห็นหลายคนแล้วก็ยังเห็นนาฬิกา เห็นฝาผนัง เห็นอะไรหมด เพราะฉะนั้นจะกล่าวถึงวาระของจิตที่เกิดขึ้นได้ไหม ว่าเกิดดับเร็วสักเท่าไร ถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างนี้จะรู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม ทรงแสดงความจริงทุกคำ แต่กว่าจะรู้ทุกคำว่าจริงก็ต้องเข้าใจธรรม การได้ยินได้ฟัง การพิจารณาทีละเล็กทีละน้อยในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง เพราะฉะนั้นเวลานี้สิ่งที่เกิดปรากฏตั้งขึ้นพร้อมนิมิต ไม่ใช่แต่เฉพาะรูปอย่างเดียว ไม่ใช่แต่เฉพาะสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แม้ความรู้สึกทุกคนมีความรู้สึกแต่ไม่เคยสังเกตว่าความรู้สึกในวันหนึ่ง วันหนึ่งเปลี่ยนไปนับไม่ถ้วน เร็วมาก ปรากฏไหม อะไรที่ปรากฏตั้งขึ้นพร้อมนิมิต คือความรู้สึกนั้นไม่ใช่เพียงเกิดพร้อมหนึ่งขณะจิตแต่จะต้องเกิดซ้ำพอที่จะปราฏกว่าความรู้สึกในขณะนั้น เป็นความรู้สึกอะไร อย่างขณะนี้เป็นความรู้สึกเฉยๆ ต้องเกิดกับจิตแล้วก็กี่ขณะถึงจะปรากฏว่าไม่มีความรู้สึกอย่างอื่นแทรก เป็นความรู้สึกเฉยๆ เพราะฉะนั้นก็เป็นการเกิดดับสืบต่อที่นาน ยาวพอที่จะรู้ได้โดยเป็นนิมิตตะ ซึ่งความจริงสิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ไม่มี มีสิ่งนั้นแต่เกิดดับพร้อมกับที่ปรากฏเป็นนิมิตต่างๆ ไม่ใช่ว่าปรากฏให้เห็นว่าเห็นเสียก่อน แล้วค่อยๆ ดับไปแล้วก็ถึงภวังค์คั่นแล้วก็มโนทวารวิถีจิตก็รู้ต่อนานจนกว่าจะปรากฏเป็นนิมิตไม่ช้าอย่างนั้น แต่เร็วคือทันทีที่ปรากฏก็สิ่งนั้นตั้งขึ้น คือเกิดขึ้นปรากฏพร้อมนิมิตไม่ว่าจะเป็นรูป สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือเสียง บางคนก็บอกว่าเสียงรู้ง่ายเกิดแล้วก็ดับ จากไม่มีก็มีก็หมายความว่าเกิดแล้วก็ดับ แต่ถ้ารู้ขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้เสียงจะต้องมีจิตอะไรเกิดก่อนตามลำดับ และเมื่อเสียงเกิดกับจิตที่ปรากฏทางโสตทวารจนเสียงนั้นดับแล้ว ภวังค์คั่นแล้ว มโนทวารเกิดขึ้นรับรู้ต่อเสียงนั้นทันทีในความเป็นปรมัตถธรรม
เพราะฉะนั้นที่เราว่าเสียงเกิดแล้วดับพอจะรู้ได้ รู้จริงๆ หรือไม่ หรือเพียงแต่คิดว่านั่นไม่มีแล้วก็มี แล้วก็หามีไม่พอที่จะรู้ได้ แต่ความจริงสภาพธรรมทั้งหมดต้องเหมือนกัน รูปธรรมทุกรูปที่เป็นสภาวรูปจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ไม่ต้องพูดแล้วใช่ไหม ๑๗ ขณะ แต่แสดงความจริงว่ารูปไม่มีอายุยาวเกินกว่านั้น เพียงแค่ ๑๗ ขณะจิตแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจึงจะได้สาระ และความจริง ซึ่งการที่เข้าใจธรรมแต่ละภพแต่ละชาติเป็นปัจจัยสะสมที่จะทำให้สามารถเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏเมื่อได้ฟังเรื่องของสิ่งนั้น
อย่างท่านพระสารีบุตรถ้าไม่ได้สะสมความเห็นถูกความเข้าใจถูกพร้อมการละคลายความติดข้อง ไม่มีกำลังของปัญญาที่สามารถที่จะรู้ลักษณะซึ่งอวิชชา ทาไว้ ปิดไว้ กั้นไว้ ไม่ให้เห็นความจริงว่าขณะนี้เป็นธรรมซึ่งเกิดดับ เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ก็ต้องฟังเพื่อที่จะเข้าใจความจริง และสะสมความรู้ความเข้าใจจนกว่าสามารถที่จะเริ่มรู้ลักษณะ ซึ่งก็คือลักษณะของ “นิมิตตะ” ของปรมัตถธรรมนั่นเอง เพราะเวลานี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตาจะไปเห็นรูปไหนซึ่งเกิดดับสืบต่อ แต่ว่าสามารถที่จะเข้าใจความต่างของสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นได้ในขณะนี้ ซึ่งก็คือถ้าไม่มีสิ่งที่กระทบจักขุประสาท มีจิตที่เห็นเกิดดับสืบต่อ “นิมิตตะ” ขณะนี้ก็มีไม่ได้
เพราะฉะนั้นนิมิตตะ เป็นนิมิตตะของปรมัตถธรรมซึ่งเกิดดับขณะนี้ที่ปรากฏ ทุกคนฟังธรรมก็รู้ตามความเป็นจริงได้ว่ากำลังเห็นอะไร เห็นสิ่งที่ปรากฏโดยเป็นนิมิตตะของสิ่งที่สามารถจะปรากฏให้เห็นได้ ไม่อย่างนั้นจะเป็นคุณอรวรรณ จะเป็นคุณบุษกร จะเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ได้ หรือ ใช่ไหม นี่คือการฟังธรรมแล้วก็รู้ว่าธรรมจริงๆ มีปรมัตถธรรม มี ไม่ใช่ไม่มี ถ้าไม่มีปรมัตถธรรมจะมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นขณะนี้เป็นอย่างนี้ได้ หรือ ขณะนี้เห็นอะไร เห็นรูปนิมิต หรือเวทนานิมิต หรือสัญญานิมิต หรือสังขารนิมิต หรือวิญญาณนิมิต
รูปนิมิตไม่ใช่เวทนานิมิตแสดงว่ารูปที่ปรากฏให้เห็นได้มีแน่นอน แต่ตั้งขึ้นพร้อมนิมิตจึงได้ติดข้องยินดีพอใจในสิ่งที่ปรากฏเพราะไม่รู้ความจริงว่าเป็นเพียงสิ่งที่สามารถจะปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ขณะนี้ ออกจากที่นี่แล้วจะมีไหม คุณอรวรรณเดินออกไปข้างนอกมีใครเห็นคุณอรวรรณบ้างไหม เมื่อเดินออกไปแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีรูปนิมิตจะเป็นคุณอรวรรณ ได้ไหม แต่เมื่อมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นแล้วจำได้เพราะนิมิตของรูปนั้นที่เกิดดับสืบต่อ แต่ก็เป็นนิมิตของรูปที่จะให้รู้ได้ว่ารูปคือสิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงๆ จนกว่าจะเข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของรูปก็คือว่าเป็นสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นได้
ผู้ฟัง คือสภาพธรรมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นรูป หรือนามธรรมก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง แต่ว่าสภาพที่หมดไปยังไม่ใช่สภาพการเกิดดับ
ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้บอกว่ารูปที่เกิดแล้วก็ดับไป รูปเป็นอย่างนี้ใครจะรู้ หรือไม่รู้ รูปก็เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นศึกษาธรรมทำไม มีสิ่งที่ปรากฏทุกชาติในสังสารวัฏฏ์แล้วก็ไม่เคยเข้าใจสิ่งที่เป็นจริงคือไม่มีสิ่งใดเหลือสักอย่างเดียว เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป ไม่ว่าชาติก่อน ชาตินี้ หรือชาติต่อไป
อ.คำปั่น การศึกษาพระธรรมก็เป็นประโยชน์จริงๆ จากที่ไม่รู้ก็ค่อยๆ รู้ขึ้น แต่ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมอยู่บ่อยๆ เนืองๆ ก็จะคุ้นกับคำนี้อยู่คือ “สติสัมปชัญญะ” มีคำอยู่สองคำรวมกันมีทั้ง “สติ” และ “สัมปชัญญะ” สติคือสภาพธรรมที่ระลึกเป็นไปในกุศลประการต่างๆ เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม ส่วนสัมปชัญญะหมายถึงความรู้พร้อม หรือรู้ด้วยดี ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงเช่นเดียวกัน เมื่อกล่าวโดยสภาพธรรมแล้วก็เป็นปัญญาเจตสิก ซึ่งสติสัมปชัญญะก็มีหลายระดับขั้น ถ้าเป็นกุศลขั้นที่เป็นการอบรมเจริญความสงบของจิตก็มีสติสัมปชัญญะด้วย และในขั้นที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน อบรมมรรคก็มีทั้งสติ และสัมปชัญญะ สิ่งนี้คือโดยความหมายของสติ และสัมปชัญญะ
ท่านอาจารย์ คุณวิชัยขณะนี้มีสติ และก็มีสติสัมปชัญญะด้วย หรือไม่?
อ.วิชัย ขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นก็มีสติเกิดร่วมด้วย แต่การที่จะเจริญขึ้นของสติ และสัมปชัญญะก็ต้องเป็นผู้ที่อบรมเจริญที่ยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะเหตุว่าในชีวิตประจำวันก็มีโอกาสที่กุศลจะเกิดขึ้น ขณะนั้นก็มีสติเกิดร่วมด้วย แต่การที่จะเจริญจนเป็นสติสัมปชัญญะก็ต้องเป็นผู้ที่อบรมเจริญเป็นไปในทางของการที่จะรู้แจ้งคือวิปัสสนา และก็สมถภาวนา ต้องเข้าใจ และอบรมเจริญกุศลที่ยิ่งๆ ขึ้น
เพราะเหตุว่าถ้าเราพิจารณาศึกษาธรรมในขั้นแรกๆ ก็จะเริ่มมีความเข้าใจ แต่เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นกำลังของสติ และปัญญาก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น เริ่มจะมีความรู้ความเข้าใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ สาตถกสัมปชัญญะ สัปปายะสัมปชัญญะ โคจรสัมปชัญญะ หรือว่าอสัมโมหสัมปชัญญะ ขณะนั้นก็เป็นความเจริญขึ้นของปัญญาที่จะค่อยๆ เจริญขึ้น ซึ่งก็แตกต่างกับขณะที่บุคคลที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจ และมีอกุศลจิตเกิดบ้าง อาจมีความเห็นถูกในเรื่องกรรม และผลของกรรมบ้าง คือมีความเข้าใจถูกบ้างแต่ก็ไม่ถึงระดับเป็นบุคคลที่เริ่มจะมีการอบรมเจริญกุศลยิ่งขึ้นไปที่จะเป็นไปในสมถภาวนา หรือว่าวิปัสสนาภาวนา
ที่ท่านอาจารย์ถามก็มีสติ ค่อยๆ เริ่มอบรมความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น
ท่านอาจารย์ คุณธีรพันธุ์จะเพิ่มเติมไหม?
อ.ธีรพันธ์ ก็เป็นการฟังธรรม ขณะที่มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ขณะนั้นไม่ต้องบอกว่าเป็นสติก็ได้ แต่ว่าเป็นระดับของความเข้าใจระดับหนึ่งซึ่งยังไม่ใช่สติปัฏฐานที่ระลึกตรงลักษณะที่ได้ยินได้ฟัง เป็นเพียงความเข้าใจที่เป็นสังขารขันธ์ซึ่งค่อยๆ ปรุงแต่งจากการฟังนั่นเอง เพราะว่าการที่สติปัฏฐานจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ ต้องเป็นการอบรมที่อาศัยการฟัง การพิจารณา จนไม่ว่าสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจในขณะนี้ก็สามารถค่อยๆ รู้ความเป็นสภาพธรรมซึ่งไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ สติเป็นสัมปชัญญะ หรือไม่ สัมปชัญญะเป็นสติ หรือไม่ เพราะฉะนั้นสติมีจริงๆ สัมปชัญญะคือปัญญา เพราะฉะนั้นที่เราใช้คำคู่กันว่าสติปัญญาในภาษาไทยก็คือสติสัมปชัญญะในภาษาบาลี เพราะเหตุว่าปัญญามีหลายระดับขั้น สติเป็นสติ สติไม่ใช่ปัญญา สติไม่สามารถที่จะเข้าใจในประโยชน์ หรือสิ่งที่เหมาะที่ควรได้ แต่ถ้าเป็นปัญญาก็มีปัญญาหลายระดับ ตั้งแต่ความเห็นถูกต้องว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์
ชีวิตประจำวันถ้าไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ ชีวิตเป็นอย่างไร คิดว่าสิ่งที่ชั่วเป็นดี ทำ มากมายใหญ่โตใช่ไหม เพราะความไม่เข้าใจ ไม่ใช่ความเห็นถูกในสิ่งที่เป็นความจริง เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่าดีเป็นชั่ว ผิด หรือถูก เพราะฉะนั้นปัญญาเริ่มตั้งแต่รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วเพียงเท่านี้คือรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ และสิ่งใดไม่เป็นประโยชน์ การฟังธรรมคนที่ไม่เห็นว่าเป็นประโยชน์ มีไหม เพราะอะไร เพราะไม่ฟัง พิสูจน์ได้ จะพูดว่ามีประโยชน์สักเท่าไรแต่ถ้าไม่ฟัง จริง หรือเปล่าที่บอกว่าธรรมมีประโยชน์ หรือเพียงแต่พูด และก็บอกไม่ได้ว่าประโยชน์ของธรรมคืออะไร เพราะเหตุว่าแม้ตนเองก็ไม่ฟัง แล้วจะกล่าวถึงประโยชน์ของธรรมได้อย่างไร เพราะฉะนั้น แม้แต่เพียงการที่จะรู้ว่าการฟังธรรมคือการฟังให้เกิดความรู้ถูกความเข้าใจถูกในทุกสิ่งที่มีในชีวิตตามความเป็นจริงเป็นเรื่องละความไม่รู้ ก็เป็นผู้ที่มี “สาตถกสัมปชัญญะ” เห็นประโยชน์ไม่ใช่แต่เฉพาะในเรื่องของการฟังธรรม แม้ในเรื่องอื่นๆ ด้วยก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง และแม้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยสัปปายะที่สมควร ถ้าไม่ถึงกาลที่สมควร ไม่ใช่บุคคลที่สมควร การที่จะกล่าวถึงธรรมมีประโยชน์ไหม ไม่มี เสียเวลาเปล่า
เพราะฉะนั้นผู้ที่รู้ประโยชน์ว่าขณะไหนเป็นประโยชน์ ถ้าขณะนี้จะกล่าวถึงเรื่องนิพพาน ดีไหม ชอบไหม อยากฟัง และก็อยากถึง แต่เป็นประโยชน์ หรือไม่ เพราะว่ายังไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริงสักอย่างเดียว เพราะฉะนั้นนี่ก็แสดงให้เห็นว่า นอกจาก “สาตถกสัมปชัญญะ” ก็ยังต้องมีประโยชน์ด้วย “สัปปายะสัมปชัญญะ” ที่รู้ว่าประโยชน์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไร ควรเมื่อไร ก็เป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน แต่มีปัญญากับไม่มีปัญญาก็ต่างกันแม้เป็นเรื่องเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน ยิ่งกว่านั้นก็คือ “โคจรสัมปชัญญะ” จิตเกิดขึ้นต้องมีอารมณ์แล้วก็ “โคจร หรือ โคจร” ก็หมายความถึงอารมณ์ของจิต เพราะฉะนั้นจิตมีอารมณ์ของโลภะด้วยการสะสมโลภะ ต้องการโลภะ ขณะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าสะสมการที่จะไม่รู้ว่าอะไรควรที่จะเป็น “โคจรสัมปชัญญะ” เป็นอารมณ์ของปัญญา
อารมณ์ของโลภะไม่ใช่อารมณ์ของปัญญา อารมณ์ของอกุศลทั้งหมดก็ไม่ใช่อารมณ์ของปัญญา แต่ว่า “โคจรสัมปชัญญะ” ก็คือขณะที่รู้ว่าถ้ามีสิ่งที่กำลังปรากฏแล้วสามารถจะได้เข้าใจสิ่งนั้น เป็นประโยชน์ไหม ไม่ใช่ไปรู้อย่างอื่น เพราะว่าคนเราเกิดมาก็เห็นประโยชน์ส่วนตัวของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวิชาการความรู้ต่างๆ ก็เพื่อตัวเองใช่ไหม คิดว่าจะเจริญรุ่งเรืองได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ สุข แต่นั่นไม่ใช่ “โคจรสัมปชัญญะ” ไม่ใช่สิ่งที่ควรแสวงหา หรือว่าไม่ใช่สิ่งที่ควรจะรู้ เพราะเหตุว่ารู้แล้วก็จากโลกนี้ไป แล้วก็ไม่มีอะไรจะปรากฏได้อีก ความจำในโลกนี้เฉพาะชาตินี้ พอถึงชาติหน้าเห็นใหม่ จำใหม่ เรื่องใหม่ ก็เป็นวิชาการใหม่ หรือความคิดใหม่ แต่สิ่งที่สามารถที่จะเป็นประโยชน์จริงๆ ก็คือว่าเมื่อจิตเกิดขึ้นรู้ เพราะจิตเกิดแล้วต้องรู้ ควรรู้อะไรที่เป็นประโยชน์เป็นอารมณ์ที่เป็นประโยชน์ของจิตก็คือ “โคจรสัมปชัญญะ” การฟังธรรม การเข้าใจธรรม และไม่ใช่เพียงฟังเข้าใจ ไม่พอ เข้าใจคือความรู้ขั้นต้นแต่ยังไม่ใช่รู้จริงๆ
เพราะฉะนั้นรู้จริงๆ คือรู้ว่า “ขณะนี้เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง” สามารถที่จะเข้าใจถูกตามความเป็นจริงได้ แต่ไม่ใช่โดยคิดเอง โดยการฟังเข้าใจขึ้นในสิ่งที่เป็นอารมณ์ เพราะว่าจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นโดยไม่มีปัญญาคือจิตเกิดรู้อารมณ์แต่ไม่มีความเห็นถูกในสิ่งที่เป็นอารมณ์ แต่เมื่อจิตเกิดพร้อมด้วยสัมปชัญญะ มีปัญญาก็สามารถที่จะมีความเห็นถูกในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้ ขณะนั้นก็เป็น “โคจรสัมปชัญญะ” ปัญญาที่รู้ว่าควรจะรู้อารมณ์อะไร รู้ที่นี่คือเห็นถูกเข้าใจถูก ฟังอย่างนี้แล้วมีโอกาสที่จะเห็นผิดได้ไหม?
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ตราบใดที่ไม่เป็นผู้ที่ละเอียด ไม่เป็นผู้ที่ไตร่ตรองด้วยความเข้าใจที่มั่นคง ว่าปัญญาที่รู้ความจริงคือรู้สิ่งกำลังมีในขณะนี้ ไม่ไปทำอย่างอื่น ถ้าได้รับคำบอกเล่าว่าให้ไปทำอย่างอื่น จะไปทำอะไรก็แล้วแต่ จะไปสงบ หรือจะไปดูอะไร จะเพ่งอะไรก็ตามแต่ แล้วเดี๋ยวนี้ก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นประโยชน์จริงๆ คือฟังให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏจนกระทั่งสามารถที่จะไม่หลงผิด “อสัมโมหะสัมปชัญญะ”ไม่เข้าใจผิดในความจริงของสภาพธรรมที่เป็นจริงที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นสติสัมปชัญญะก็ต้องเข้าใจด้วยว่า สติเป็นสติ เกิดกับโสภณจิต แต่สัมปชัญญะเป็นปัญญาที่หลากหลายมากแม้ในเรื่องของสัมปชัญญะ ๔ ก็ยังจะต้องละเอียดต่อไปว่าที่กล่าวว่า “โคจรสัมปชัญญะ” ก็เข้าใจว่าควรจะเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่อย่าลืมหนทางที่ถูกจึงสามารถที่จะรู้ได้ มิฉะนั้นก็จะหลงผิดเข้าใจว่ารู้แต่ความจริงไม่ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ จะชื่อว่ารู้ถูกได้อย่างไร
ผู้ฟัง สติเกิดรู้สภาพธรรมซึ่งยากมากถ้าไม่มีปัญญา เพราะว่าปัญญาจากที่ท่านอาจารย์สนทนามีตั้งหลายขั้นตอน
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการได้ยินได้ฟัง ลองคิดดูว่าแข็งปรากฏบ่อยๆ ใช่ไหม เดี๋ยวนี้ก็กำลังปรากฏ แต่ถ้าในขณะนั้นไม่ลืมว่าหนึ่งขณะในสังสารวัฏฏ์เป็นแข็งที่มีจริงๆ ที่ปรากฏให้รู้ว่ามี แล้วก็ไม่กลับมาอีก แค่นี้สามารถที่จะคลายความติดข้องในสิ่งที่แข็ง ได้ไหม เพียงเป็นลักษณะหนึ่งจริงๆ กำลังแข็งปรากฏแล้วก็ไม่กลับมาอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ ไม่ว่าคำใดที่เป็นพุทธพจน์เป็นคำจริงที่มีค่ายิ่งกว่าคำใดๆ เพราะส่องไปถึงความจริงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และเป็นความจริงทุกขณะด้วย
เพราะฉะนั้นถ้ามีการเข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้นจนถึงขณะที่แข็งขณะนั้นเป็นธรรม ขณะนี้ก็เพียงฟังเรื่องราวของแข็งค่อยๆ น้อมไป “ปริคคหะ” คือน้อมไปตามภาวนา คือการอบรม การอบรมก็คือการได้ยินได้ฟังมากๆ ไม่มีใครจะน้อมใจไปในทางกุศล น้อมใจไปที่จะเข้าลักษณะของสภาพธรรมโดยคิดเองไม่ได้ แต่จากการฟังทีละเล็กที่ละน้อยทุกคำ จะเปลี่ยนจากการนึกถึงอารมณ์อื่นจนเป็นอุปนิสัยก็จะมาเป็นอุปนิสัยที่จะคิดถึงความจริงที่ได้ฟัง อย่างแข็งจริงๆ ตรงนี้พอพูดถึงอย่างอื่นแข็งปรากฏ หรือไม่
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 661
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 662
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 663
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 664
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 665
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 666
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 667
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 668
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 669
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 670
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 671
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 672
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 673
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 674
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 675
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 676
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 677
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 678
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 679
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 680
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 681
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 682
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 683
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 684
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 685
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 686
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 687
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 688
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 689
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 690
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 691
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 692
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 693
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 694
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 695
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 696
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 697
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 698
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 699
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 700
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 701
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 702
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 703
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 704
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 705
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 706
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 707
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 708
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 709
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 710
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 711
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 712
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 713
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 714
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 715
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 716
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 717
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 718
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 719
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 720