พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 750
ตอนที่ ๗๕๐
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม จะได้อย่างที่ต้องการที่น่าพอใจหรือเปล่า ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็เกิดขึ้น และก็ไม่ติดข้องแม้ว่าได้มา
ผู้ฟัง ถ้าเรามีแต่ความขวนขวาย ต้องการที่จะแสวงหาสิ่งต่างๆ ความสุขในชีวิต เพื่อจะให้ได้มา ก็เท่ากับเราไม่เข้าใจเลยว่า จริงๆ แล้วเราเป็นผู้อาศัยผลของกรรมอยู่แล้วทุกขณะ
ท่านอาจารย์ ฟังธรรมแล้วลืมเสมอว่าไม่มีคุณนิรันดร์ ความเพียรเป็นความเพียร เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ความเกียจคร้านก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ทุกอย่างเป็นธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีความเข้าใจที่มั่นคงอย่างนี้ ไม่มีทางที่จะเห็นว่าธรรมเป็นธรรม เพราะเป็นตัวเราตลอดเวลา เพราะฉะนั้น จึงต้องฟัง ที่มาฟังเพื่อให้เข้าใจถูกต้อง เกิดมาแล้วแต่ละชีวิตต้องเป็นไปตามอะไร ตามที่อยากหรือไม่ ตามที่ต้องการหรือไม่ หรือตามอะไร ตามเหตุปัจจัยคือกรรมที่ได้กระทำแล้ว
อ.วิชัย ในช่วงต้นท่านอาจารย์กล่าวเกี่ยวกับเรื่องของน้ำ คือกิเลสแล้วก็ท่วมทับสัตว์ทั้งหลายอยู่ ซึ่งก็ทรงแสดงเรื่องของห้วงน้ำใหญ่คือโอฆะ ก็มีกามโอฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ แล้วก็อวิชโชฆะ หมายความว่าคือท่วมทั้งรอบด้านเลย คือสัตว์ทั้งหลายไม่สามารถที่จะพ้นจากห้วงน้ำนี้ได้ ในส่วนของกามโอฆะ คือ ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ กับอวิชโชฆะ ก็คืออวิชชา ก็พอที่จะพิจารณาได้ แต่ในส่วนของภโวฆะ และทิฏโฐฆะ ที่ว่าปกติ ก็ไม่ปรากฏที่จะให้เข้าใจได้
ท่านอาจารย์ ได้ยินชื่อคุ้น จำชื่อได้ กามโอฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คุ้นหูหมดเลย กามคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ รอบตัว ในชีวิตประจำวัน กาม คือ ความใคร่ ความยินดี ความพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ "ภูมิ" คือที่เกิดของจิตความหมายหนึ่ง วันนี้เราอยู่ในโลกนี้เต็มไปด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นกามภูมิ ภูมิของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใครหนีพ้นกามบ้างไหม ไม่มีทางพ้นไปได้เลย ต้องทางหนึ่งทางใด ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย แล้วก็คิดนึกเรื่องสิ่งต่างๆ ที่เห็นบ้าง ได้ยินบ้างเหล่านี้ ไม่พ้นไปได้เลย เพราะฉะนั้น เวลาที่มีการเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตา ติดข้องไหม ถ้าไม่ได้เคยฟังธรรมเลย ไม่รู้เลยว่าติดแล้วทันทีที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ เพราะความรวดเร็วของจิต ซึ่งเกิดดับ จนไม่รู้เลยว่าจิตขณะนี้กำลังเกิดดับ แล้วก็เป็นจิตที่หลากหลายด้วย
เพราะฉะนั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แสดงถึงการตรัสรู้ความจริงที่ละเอียดยิ่ง ทันทีที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ มีความติดข้อง มากมายแค่ไหน น้ำท่วมยังน้อย แต่นี่ท่วมทุกขณะทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจด้วย ไม่พ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี่คือกามโอฆะ ตามความเป็นจริงอยู่ในห้วงของน้ำใหญ่ ที่เต็มไปด้วยรูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะแล้วออกได้ไหม ติดแล้ว ติดจริงๆ ติดหนักหนา ใครคิดจะออกบ้าง คนในครั้งพุทธกาลผู้ที่มีปัญญาเห็นโทษ เพราะว่าเมื่อเกิดแล้วต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย เพียงแค่หวั่นไหวเขาก็รู้ อยู่ดีๆ ก็เกิดติด หวั่นไหวหรือเปล่า ขณะนั้นก็หวั่นไหวไปแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นเห็นว่าไม่พ้นแน่ ตราบใดที่ยังมีการเห็น การได้ยิน ท่านจึงรู้ว่า ถ้าไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ก็ไม่เดือดร้อน เหมือนอย่างจิตที่ติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องมีปัญญาเห็นโทษ แล้วก็รู้ความต่างกันของขณะที่ ไม่ติดข้องกับติดข้อง ในขณะที่เป็นกุศล ไม่ใช่อกุศล เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นก็รู้ว่า ทางใดที่จะทำให้จิตเป็นกุศลเกิดขึ้นบ่อยๆ เราคิดอย่างนี้หรือไม่ วันนี้มีอะไรที่กุศลจิตจะเกิดขึ้นได้บ่อยๆ หรือว่าเต็มไปด้วยความยินดีพอใจ และแสวงหา และต้องการ ไม่คำนึงถึงว่าขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล แต่คนที่เห็นโทษของอกุศล เห็นภัยใหญ่ ว่าภัยไม่ใช่เกิดจากน้ำ เกิดจากไฟ เกิดจากลม แต่เกิดจากกิเลส เพราะว่ามีอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นเมื่อท่านมีปัญญา ท่านก็เจริญกุศลที่ทำให้จิตสงบจากอกุศลตั้งมั่น จนถึงสภาพของจิตอีกภาวะหนึ่ง คือจิตที่ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ แต่มีรูปที่ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นกุศลจนความสงบเพิ่มขึ้น ถึงขั้นสมาธิขั้นต่างๆ นี่คือแสดงเปรียบเทียบที่จะให้เข้าใจกามโอฆะกับภโวฆะ เพราะเหตุว่า เรายังอยู่ในโลกของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มีความพอใจในความเป็นอย่างนี้ เป็นรูปพรหมดีไหม ดีแต่ไม่ไป ใช่ไหม เพราะว่าไปไม่ได้ เพราะรู้จริงๆ ยังติดอย่างนี้แล้วจะไปได้อย่างไร
เพราะฉะนั้น ความหมายของ “ภวะ”นี้ก็คือว่า ความมี ความเป็น ไม่ว่าจะมีเป็นอะไรในภพไหน เกิดที่ไหน ภวราคะความติดข้องในภพนั้น เกิดเป็นหนอน อยากเป็นคนหรือไม่ ก็พอใจในความเป็นหนอน เพราะฉะนั้น เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทพ เกิดอะไรก็พอใจในความเป็น ด้วยเหตุนี้ถ้าเป็นภูมิอื่นๆ ที่ไม่ใช่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เช่น รูปพรหมภูมิ อรูปพรหมภูมิ เป็นภวราคะ หมายความว่ายังติดในความเป็น ในความเป็นพรหม ในความเป็นอรูปพรหม แต่ไม่ติดในความที่จะเป็นมนุษย์ และเป็นเทวดา เพราะฉะนั้น จะพ้นไหมจากกิเลสซึ่งท่วมอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในกามภูมิหรือรูปพรหมภูมิ อรูปพรหมภูมิ กามโอฆะ ภโวฆะ แม้แต่ขณะที่กำลังพอใจในความเป็นมนุษย์ ก็เป็นภวะความพอใจในภพ แต่เมื่อภพนั้นเป็นไปในกามก็ไม่พ้นจากกาม จึงเป็นกามโอฆะ แต่ถ้าพ้นไปจากกามสู่ภูมิอื่น ก็เป็นภโวฆะ แต่ว่าอีกสองโอฆะ คือ ทิฏฐิกับอวิชชา ทิฏโฐฆะกับอวิชโชฆะ ถ้าขณะใดที่ไม่ได้เข้าใจธรรมเลยทั้งสิ้น ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดที่จะรู้ว่าขณะใดเป็นโลภะที่เกิดขึ้นพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ แต่ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย แม้ว่าความเห็นผิดสะสมอยู่ในจิตเป็นอนุสัยกิเลส คือนอนยังไม่ตื่น ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่ทำกิจการงาน แต่มีอยู่เป็นประจำในจิตทุกขณะ ลองคิดถึงว่าแม้แต่จิตเห็น ก็ยังมีอนุสัยกิเลสเกิดร่วมด้วย แต่ว่าไม่มีอกุศลเจตสิกที่จะเกิดขึ้นทำกิจการงานของความเห็นผิด นี่เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เป็นเรื่องที่สภาพธรรมเกิดดับสืบต่อ เร็วนับประมาณไม่ได้ แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงจำแนกจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อเหมือนไม่ได้ดับเลยโดยละเอียดยิ่ง ว่าขณะไหนเป็นกามโอฆะ และขณะไหนเป็นทิฏโฐฆะ
อ.วิชัย ในส่วนของทิฏฐิคือ ความเห็นผิด แม้ยังมีความเป็นเราอยู่ ก็คือยังมีสักกายทิฏฐิอยู่ ความคิดแม้ในการที่จะอบรมเจริญปัญญา ถ้ายังมีความคิดที่ยังเป็นเราที่จะกระทำต่างๆ คือความเห็นผิดก็พร้อมที่จะมีปัจจัยเกิดได้ตลอดเวลาใช่ไหม ถ้ามีความเห็นผิด
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ว่าจะเกิดเมื่อไหร่ เช่น ในขณะนี้ต้องเป็นผู้ที่ตรง ว่ามีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า หรือว่ามีแต่เพียงอกุศลจิตซึ่งไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย แล้วก็ต้องเป็นปัญญาที่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นทิฏฐิความเห็นในขณะนั้นที่ความเห็นนั้นปรากฏ เวลานี้คุณวิชัยคิดถึงว่านิ้วของเราหรือไม่
อ.วิชัย ก็ยังเป็นนิ้วของเรา
ท่านอาจารย์ ปกติธรรมดานั่งอยู่อย่างนี้ คิดถึงเล็บของเราหรือไม่ คิดถึงแขนของเราหรือไม่
อ.วิชัย ไม่ได้คิด
ท่านอาจารย์ ไม่ได้คิด แต่ถ้าขณะนั้นไม่มีอะไรเลย แต่มีธาตุที่แข็งตรงที่เคยเข้าใจว่าเป็นแข็ง มีแข็งไหมตรงนั้น สามารถจะปรากฏให้รู้ในสภาพแข็งซึ่งไม่ใช่แขนได้ใช่ไหม แต่อัตตสัญญาที่จำว่าแขนเรา ยังมีแน่ๆ กำลังนั่งนี่ ทั้งตัวเรา นั่งแต่ไม่ได้คิดถึงแขนนั่งใช่ไหม เพราะฉะนั้น ถ้าตรงไหนที่มีลักษณะที่แข็งปรากฏ และเคยยึดถือว่าเป็นแขน แม้รูปร่างแขนไม่ปรากฏ เพียงแข็งปรากฏ แต่ก็ของเรา เห็นไหมทิฏฐิขณะนั้น ปรากฏเลยว่านั่นคือขณะที่กำลังยึดถือสิ่งนั้นว่าเป็นของเราสักกายะ แข็งตรงนั้นเป็นเรา เห็นเราในรูป เห็นเราว่ามีรูป เห็นรูปนั้นว่าเป็นเรา เห็นเราว่าเป็นรูป เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เราจะมานั่งนึกคิดว่า คำนี้ตรงไหน เมื่อไร อย่างไร แต่เวลาที่สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นลักษณะของทิฏฐิก็ปรากฏ แต่ถ้าในขณะนั้นไม่มีทิฏฐิปรากฏ แต่มีการอยากเข้าใจ ขณะนั้นก็เป็นลักษณะของโลภะที่ปรากฏ
ด้วยเหตุนี้ สภาพทั้งหมดของธรรมเวลานี้เป็นอย่างนี้ แต่ไม่ได้รู้อย่างนี้ จนกว่าการฟังจะมีความเข้าใจละเอียดขึ้น และรู้ว่า การยึดถือสภาพธรรมมีหลายระดับตั้งแต่เป็นอนุสัยกิเลส จนกระทั่งเกิดขึ้นเป็นปริยุฏฐานกิเลส จนกระทั่งถึงสามารถที่จะกระทำตามความเห็นผิดว่าเป็นเราก็ได้ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมจึงต้องละเอียดที่จะรู้ว่าที่จะดับความเป็นเราได้หมด ไม่เหลือเลยเพียงนิดเดียว ไม่เหลืออยู่ในจิตทุกขณะด้วย ลองคิดดูว่าปัญญาระดับไหน คือปัญญาสามารถที่จะฟังเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่ต้องไปคิดว่าแล้วขณะนั้นละอะไร ก็ละความไม่รู้ ขณะใดที่เข้าใจ ปัญญาก็ค่อยๆ รู้ขึ้น แม้แต่ความคิดที่เป็นไปทางกุศลเพราะปัญญา ขณะนั้นก็เพราะได้ฟังมา จึงมีความคิดความเข้าใจอย่างนั้น เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่เป็นสังขารขันธ์ที่ทำกิจโดยละเอียดยิ่ง ไม่ใช่มีใครสามารถที่จะไปทำอะไรได้เลย ด้วยเหตุนี้ก็เข้าใจทั้ง ๔ โอฆะได้ใช่ไหม
เพราะฉะนั้น ขณะนี้ที่กำลังเห็นไม่มีทิฐานุสัย ไม่มีทิฏฐิโอฆะ หรือทิฏโฐฆะ จะเป็นไปได้อย่างไร เป็นได้ แม้ในขณะเห็น เพราะถ้าดับสนิท หมายความว่าไม่มีสภาพธรรมนั้นในจิตทุกขณะ และถ้ายังเป็นแขนเรา เพียงแค่สติสัมปชัญญะเกิด ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนถึงสภาพธรรมปรากฏว่าแข็ง แต่ความจำว่าเรายังมีอยู่นั้น ก็ยังเป็นเรา เพราะฉะนั้น ต้องแต่ละ ๑ เกิดแล้วดับ แล้วไม่เกี่ยวข้องกันเลยเมื่อไหร่ เมื่อนั้นจึงสามารถที่จะรู้ได้ว่าแต่ละ ๑ เกิดแล้วดับ จะเป็นเราได้อย่างไร เวลานี้เราเพียงแต่พูดใช่ไหม จิตเห็นไม่ใช่เรา เกิดขึ้นแล้วดับไป และก็ไม่กลับไปอีก และจะเป็นเราได้อย่างไร แต่ก็ยังเป็นเห็นที่ตาของเรา ใช่ไหม ในขณะที่เราเริ่มที่จะค่อยๆ เข้าใจธรรมก็ยังไม่หมดความเป็นเรา แต่ว่าถ้าจะหมดจริงๆ ไม่มีอะไรเหลือเลย นอกจากธาตุนั้น ธรรมนั้น กำลังเกิดขึ้น และดับไป แล้วก็ไม่เกี่ยวข้องกับอะไรเลยทั้งสิ้น จึงเป็นแต่ละ ๑ ซึ่งรู้ได้จริงๆ ว่าเป็นสภาพธรรมนั้นแล้วจึงไม่ใช่เรา ต้องทีละ ๑ ซึ่งแยกขาดจากกันด้วย
อ.กุลวิไล ทิฏฐิมีอยู่ในกายก็ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ มีความสงสัย ความต่างกันของสักกายทิฏฐิกับอัตตานุทิฏฐิ
ท่านอาจารย์ ขณะนี้เห็นอะไร เห็นคุณบุษกร อัตตะใช่ไหม เป็นคุณบุษกรได้อย่างไร เป็นเพราะมีรูปซึ่งเกิดดับสืบต่อ แล้วเป็นนิมิต รูปร่างสัณฐาน ยังไม่มีใครรู้จักชื่อก็ได้ แต่ว่าสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ต่างกับดอกไม้ใช่ไหม รูปร่างสัณฐานอย่างนี้ นิมิตอย่างนี้ก็เป็นดอกไม้ เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะไม่รู้ความจริงว่าเสมอกันหมด คือเป็นเพียงแต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้ ธรรมก็ชัดเจนว่าไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะเป็นธรรมแต่ละ ๑ ถ้ากล่าวว่าขณะนี้เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น ขณะนั้นจะเป็นใครได้ไหม ไม่ได้ แต่พอเห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดขณะนั้นภาษาบาลีก็ใช้คำว่า “อัตตา” หรือ “อัตตะ” ทิฏฐิคือความเห็น เห็นว่าเป็นดอกไม้ เห็นว่าเป็นโต๊ะ เห็นว่าเป็นเก้าอี้ แต่ความละเอียดยิ่งกว่านั้นก็คือว่าเป็นธรรมดา พระอรหันต์ทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เห็นอย่างนี้ เพราะว่าจิตจะต้องเกิดดับสืบต่อทีละ ๑ ขณะ จนกระทั่งสิ่งที่ปรากฏมีรูปร่างสัณฐาน ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรที่ใช้คำว่าบัญญัติ แต่ว่าผู้ที่มีความเข้าใจความจริงของสภาพธรรมแล้วไม่เห็นผิด แต่ว่ารู้ความจริง เพราะแต่ละโลก ได้รู้ความจริงของแต่ละโลก ซึ่งไม่ใช่โลกเดียวกัน อย่างสิ่งที่ปรากฏทางตา โลก ๑ จริงๆ จะเป็นอะไรได้ นอกจากว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ และสำหรับเสียงก็เป็นอีกโลกหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แต่เป็นสิ่งที่มีจริงสามารถได้ยินเมื่อไหร่ สิ่งนั้นก็ปรากฏว่ามีจริงๆ ถ้ามีความเข้าใจในธรรมแต่ละ ๑ ก็ไม่ได้รวมกันเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ว่าถ้ารวมกันมีความเข้าใจถูก เพราะว่าจิตจะต้องเกิดดับตามลำดับ และรู้ความหมาย หรือสิ่งที่ปรากฎโดยนิมิตสัณฐานว่าเป็นอะไร แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มี
เพราะฉะนั้น ต้องแยกว่าสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญญา ก็เห็นอย่างเดียวกันรู้อย่างเดียวกัน แต่ยึดมั่นเข้าใจผิด ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่รวมกันเป็น ๑ ไม่ได้เป็นแต่ละสิ่งซึ่งเกิดแล้วดับ แล้วก็ไม่กลับมาอีกแต่ละอย่าง ด้วยเหตุนี้ ถ้าสิ่งนั้นอยู่ภายนอกเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็เป็นอัตตานุทิฏฐิ แต่ถ้าที่ตรงนี้ที่แต่ ๑ ของแต่ละคนไม่ใช่คนอื่น เพราะฉะนั้น แม้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเหมือนข้างนอก แต่ว่ามีความยึดถือว่าเป็นเรา เป็น สักกายะ คือ เห็นผิด ยึดถือว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น เฉพาะตรงที่ยึดถือว่าเป็นเรา ก็เป็นสักกายทิฏฐิ แต่เมื่อไม่ใช่ส่วนที่ยึดถือว่าเป็นเราก็เป็นอัตตานุทิฏฐิ แต่ความหมายเหมือนกัน คือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นแต่เพียงว่ายึดถือ ถ้าเป็นภายนอกก็อัตตาทิฏฐิ ถ้าเป็นที่เราก็สักกายทิฏฐิ
ผู้ฟัง เรื่องของทิฏฐิ ความเป็นตัวตน ความยึดถือว่าเป็นเรา ทำให้มีความทุกข์มหาศาล จริงๆ แล้วก็ไม่ได้ทุกข์กาย ทุกข์อะไรเท่าไหร่เลย แต่ทุกข์ด้วยความเป็นเรา ทุกข์แม้แต่ว่าเห็นภาพถ่ายแล้วเราก็ไม่อยากให้เรามีหน้าตาอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ทุกข์เพราะเห็น เพราะฉะนั้น คิดเท่านั้นที่จะทำให้เกิดความทุกข์ ไม่ว่าจะคิดเรื่องอะไร เพราะไม่เข้าใจความจริงว่า แท้ที่จริงก็มีปัจจัยที่จะให้เกิดคิดอย่างนั้น คนที่รูปร่างผอมสูงอย่างนี้ก็มีตั้งหลายคน แต่ไม่คิดอย่างคุณนิรันดร์ก็ได้ คิดอย่างอื่นก็ได้ เพราะฉะนั้น ทุกข์ทั้งหลายก็มาจากความคิด
ผู้ฟัง เพราะเรามีความเห็นผิด เข้าใจผิดว่ามีนิรันดร์ที่อยู่ในภาพนั้น เราจึงคิดไปตามที่เราสะสมมาอย่างนั้น ไม่ได้มีความเห็นถูกต้องตรงความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ ต้องฟังแล้วก็ค่อยเห็นถูกต้องขึ้น หนทางเดียวคือเมื่อมีความเข้าใจถูกว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น แล้วจำ ว่าเป็นเรา แต่กระดาษนั้นไม่ใช่เราหรอก รูปนั้นอยู่ในกระดาษก็ไม่ใช่เราหรอก แต่ความจำมีใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ไม่พ้นทุกข์แน่ตราบใดที่ยังอยู่ในชาตินี้ ก็คิดถึงแต่รูปร่างอย่างนี่แหละ จนกว่าเมื่อไหร่ไม่คิด เมื่อนั้นก็ไม่ทุกข์เพราะคิด
อ.วิชัย เมื่อสักครู่ฟังเรื่องของสักกายทิฏฐิ และอัตตานุทิฏฐิ คือก็ยังมีความสงสัยว่า อย่างเช่นเราเห็นก็รู้ว่าเป็นพี่อรวรรณบ้าง การที่จะรู้เห็นอย่างนี้ กับความที่มีการที่รู้ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ชื่อนั้นชื่อนี้กับการที่จะมีความเห็นที่เป็นความเห็นผิด หมายถึงต้องมีความเห็นเลยว่าต้องมีจริงๆ หรือว่าเพียงรู้ว่าเป็นบุคคลนั้นบุคคลนี้ ขณะนั้นก็เป็นความเห็นผิด
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีคุณวิชัยหรือไม่
อ.วิชัย ก็ยังเป็นผม
ท่านอาจารย์ นั่นแหละ
อ.วิชัย คือก็เข้าใจพระธรรม
ท่านอาจารย์ ยังมีผมก็เป็นความเห็นผิดหรือเปล่า แม้ไม่ต้องพูด แต่เมื่อพูดก็พูดว่า ยังมีผม
อ.วิชัย แสดงว่าทิฏฐิก็ท่วมทับจริงโดยไม่รู้ตัว
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ว่าจิตเกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะ แล้วแต่ขณะนั้นจะเป็นกามาสวะ หรือกามโอฆะ หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่พร้อมกันใช่ไหม ถ้าขณะใดที่ติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ว่าไม่มีความเห็นอย่างนี้ก็ได้
ผู้ฟัง งงว่าคำถามจากคุณวิชัยเรื่องความเห็นผิด ทราบว่า อย่างพระพุทธเจ้าไม่มีความเห็นผิดแล้วก็รู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาสัณฐานเป็นพระสารีบุตร พระอานนท์ แล้วในพวกเราก็ทราบว่าเป็นท่านอาจารย์ อาจารย์กุล เมื่อรู้ว่าเป็นปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นบัญญัติ เป็นนิมิตสัณฐาน แล้วก็ต้องเป็นเช่นนั้น ตรงไหนเป็นความเห็นผิด ตรงไหนไม่ใช่ความเห็นผิด
ท่านอาจารย์ จำว่าเป็นคุณวิชัย เห็นผิดหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่
ท่านอาจารย์ ก็ยังตอบได้ว่าไม่ใช่ แต่สัญญาจำแล้วว่าเป็นคุณวิชัย แต่ไม่ได้มีความเห็นผิดใดๆ เพียงจำว่าเป็นคุณวิชัย จำว่านี่เป็นดอกกล้วยไม้ เห็นผิดอะไรหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้เห็นผิด
ท่านอาจารย์ ก็แค่จำว่าเป็นสิ่งที่เคยเห็นอย่างนี้ไม่ใช่อย่างอื่น เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดยิ่ง ต้องแยกโดยละเอียดด้วยความเข้าใจขั้นฟัง แล้วเวลาที่สภาพธรรมปรากฏจริงๆ ตรงกับที่ได้ฟังทุกอย่าง อาศัยความเข้าใจจากการฟังทำให้เข้าใจความเป็นธรรมของธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ถ้าไม่พอก็ยังคงสงสัย ความสงสัยก็มีจริงใช่ไหม เพราะฉะนั้น แม้ความสงสัยเกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นธรรม แต่ก็ยังไม่หมดความเป็นเรา
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์ถามว่ามีคุณวิชัยไหม ก็ต้องจำว่าขันธ์นี้เป็นคุณวิชัย
ท่านอาจารย์ จำไว้ แล้วเวลานี้ไม่ได้มองคุณวิชัย กลับไปมองอีกที ยังคงเป็นคุณวิชัย
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะว่ายังจำไว้อยู่ใช่ไหม คุณวิชัยกลับไปบ้าน คุณอรวรรณกลับไปบ้าน ยังนึกถึงคุณวิชัยได้
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะจำนิมิตใช่ไหม และความจริงนิมิตที่คุณอรวรรณจำ ไม่ใช่ตัวสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเลย สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณวิชัยจะนั่งอยู่ตรงนี้ จะออกไปข้างนอกห้องหรือที่ไหนก็ตาม รูปที่เข้าใจว่าเป็นคุณวิชัยก็เกิดดับแต่ซ้ำ จนกระทั่งทำให้คนที่เห็นกลับมาเห็นอีกครั้งหนึ่ง ก็จำได้ และรูปนั้นเป็นคุณวิชัย แต่ความจริงถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง สิ่งที่ปรากฏว่าเป็นคุณวิชัยเพราะเห็น สิ่งที่ปรากฏซึ่งเกิดดับแล้วไม่เปลี่ยนใช่ไหมในนิมิตสัณฐาน ทำให้เวลาที่แม้ไม่เห็นก็ยังจำได้ว่ายังมีอยู่
เพราะฉะนั้น เมื่อยังจำได้ว่ามีอยู่ พอมีรูปนั้นปรากฏพร้อมนิมิตนั้นอีกที ก็เข้าใจว่านั่นแหละคือคุณวิชัย ซึ่งความจริงรูปนั้นก็ดับอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ตรงนี้หรือตรงไหน ไม่ใช่แต่เฉพาะรูป จิต เจตสิกก็ดับหมดด้วย ถูกต้องไหมคุณวิชัย อย่างนี้เราก็เห็น พรุ่งนี้ก็จะเห็นคุณอรวรรณหรือว่าอาทิตย์หน้า วันเสาร์หน้า อาทิตย์หน้าก็จะเห็น จำไว้ รูปนี้ก็เกิดดับเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่รูปเก่า แต่เพราะจำไว้ พอเห็นอีกก็เข้าใจว่าเห็นคุณอรวรรณ เพราะจำ แต่ความจริงรูปนั้นก็ไม่ใช่รูปเดิม เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่เพราะนิมิตก็ทำให้ยังจำได้ อีก ๒๐ ปีพบกันใหม่ เกือบจำไม่ได้ ก็เป็นได้ใช่ไหม บางทียังต้องถามว่า นี่ใคร บางทีก็ไม่ถามชื่อ ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ คิด ก็แล้วกันว่าเขาพูดเรื่องอะไร ก็คือคนนั้นแหละชื่อนั้นแหล่ะก็ได้ แต่ก็เป็นความจริงว่ามีเห็น แล้วก็มีจำ แล้วก็มีคิด แต่ว่าทั้งหมดเกิดแล้วก็ดับเป็นแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ซึ่งเมื่อรวมกันตราบใด ก็เข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 721
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 722
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 723
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 724
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 725
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 726
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 727
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 728
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 729
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 730
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 731
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 732
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 733
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 734
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 735
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 736
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 737
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 738
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 739
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 740
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 741
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 742
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 743
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 744
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 745
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 746
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 747
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 748
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 749
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 750
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 751
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 752
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 753
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 754
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 755
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 756
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 757
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 758
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 759
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 760
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 761
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 762
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 763
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 764
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 765
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 766
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 767
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 768
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 769
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 770
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 771
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 772
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 773
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 774
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 775
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 776
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 777
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 778
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 779
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 780