พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 752
ตอนที่ ๗๕๒
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ท่านอาจารย์ ฟังเพื่อเป็นปัจจัยให้มีความเข้าใจถูก ให้มีความเห็นถูก แล้วปัญญาความเข้าใจถูกก็เหมือนแสงสว่างที่นำทาง ไปสู่ทางสว่าง ไม่รู้เลยใช่ไหมอยู่ในความมืด มืดที่ไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ยังคงมืดอยู่ ความมืดของอวิชชาความไม่รู้ ทั้งๆ ที่สภาพธรรมก็ปรากฏ แต่ไม่ได้เข้าใจความจริงของสภาพธรรมนั้น ตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง เมื่อเข้าใจว่า เป็นธรรมแต่ละลักษณะ แล้วจะเป็นปัจจัยให้กุศลอื่นๆ เจริญอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นธรรมแล้วจะโกรธใคร เพราะเป็นธรรม โกรธโลภะ โกรธโทสะ หรือว่าโกรธคน โกรธใคร ถ้าเข้าใจจริงๆ ที่เข้าใจว่า เป็นคนนั้น คนนี้ เลวร้ายขนาดนั้น ขนาดนี้ ความจริงก็คือ อกุศล ถ้าไม่ใช่อกุศลจะเลวได้ไหม ก็ไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น โกรธอะไร โกรธอกุศลไหนอกุศลนั้นก็ดับแล้วด้วย ไม่รอที่จะให้โกรธนานๆ เลย ปรากฏเกิดขึ้นแล้วก็หมดไปทั้งนั้น ไม่มีคนจริงๆ ที่เที่ยง แต่ว่า เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อตามการสะสม แต่ละคนจึงเป็นแต่ละ ๑ จะเป็น ๒ ได้อย่างไร เพราะว่า ขณะนี้ก็แต่ละ ๑ ของจิตที่เห็น แล้วก็มีการชอบ ไม่ชอบ ในสิ่งที่ปรากฏ และไม่ใช่แค่นี้ ไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ เรื่องราวต่างๆ อีกมากมายยังมาจากสิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางหู เพราะฉะนั้น โกรธอะไร ไม่ชอบอะไร อยู่ดีๆ ก็ไปไม่ชอบอกุศล โลภะ โทสะ โมหะหรือ มีประโยชน์อะไรในเมื่ออกุศลเป็นอกุศล กำลังไม่ชอบนั่นแหละเป็นอกุศลด้วย เสมอกันเลย ถ้าใครก็ตามที่เราคิดว่า เป็นคนนั้น คนนี้ ความจริงก็เป็นอกุศลของบุคคลนั้นที่สะสมมา เมตตาสงสารไหมที่เป็นอย่างนั้น เพราะว่า อนาคตเป็นอย่างไร ผลของอกุศลนั้นเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง ก็ต้องได้รับอกุศลวิบาก
ท่านอาจารย์ แล้วสงสารไหม เมตตาไหม คนตกทุกข์ได้ยากต่างๆ แล้วทำไม แทนที่จะโกรธก็สงสารเลยไม่ได้หรือ ที่เขาไม่เข้าใจธรรม ที่เขาไม่รู้ กุศล อกุศลใดๆ เลยทั้งสิ้นจึงเป็นอย่างนั้น และขณะที่กำลังมีความเมตตา มีความเข้าใจ มีความเห็นใจ ขณะนั้นไม่ได้เดือดร้อนเลย พร้อมที่จะช่วยเกื้อกูล โดยเฉพาะความเห็นถูก ให้เข้าใจความจริงของสภาพธรรม เพราะว่า จะช่วยให้คนหมดทุกข์ไม่มีวันหมด มิฉะนั้น พระโพธิสัตว์ไม่หาทางที่จะได้รู้ความจริง ซึ่งเป็นทางเดียวที่จะช่วยได้จริงๆ คือ ช่วยให้เขาหมดกิเลส หมดอกุศล ซึ่งเป็นเหตุที่จะให้เกิดความทุกข์
ผู้ฟัง นั่นหมายความว่า ฟังธรรมให้เข้าใจจริงๆ ว่า เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ และเห็นประโยชน์ของกุศลทุกประการด้วยว่า ไม่ได้นำความเดือดร้อนหรือไม่ได้นำความทุกข์เบียดเบียนใครเลยทั้งสิ้น
อ.วิชัย ถ้าถามบุคคลที่ไม่ได้ศึกษาธรรมก็รู้ว่า เช่น เห็นอาจารย์ เห็นดอกไม้ เห็นสิ่งต่างๆ แต่ถ้าถามบุคคลที่เริ่มมีการที่จะศึกษาบ้าง ก็มีความเข้าใจอย่างนี้ว่า ขณะที่เห็นก็มีสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็น ก็คือ เป็นสีสันวรรณะต่างๆ แต่ถ้าคิดขึ้นอีกว่า ขณะที่รู้ว่าเป็นท่านอาจารย์บ้าง หรือว่าเป็นดอกไม้ต่างๆ บ้าง ขณะนั้นก็เป็นขณะที่กำลังคิดจากการเคยทรงจำเอาไว้ ฉะนั้นที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า การศึกษาคือ เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นจริง แล้วที่จะให้เข้าใจยิ่งขึ้นคืออย่างไร
ท่านอาจารย์ เป็นจริงแล้วเป็นปกติด้วย เห็นคุณอรวรรณ มีทั้งเห็น มีทั้งคิดว่า เป็นใคร นี่คือ ความละเอียดขึ้นของธรรม ถ้าไม่ศึกษาจะรู้ไหมว่า ขณะนั้นเห็นไม่ใช่คิด เพราะฉะนั้นเป็นปกติทุกอย่าง ทุกอย่างเป็นปกติ แต่ให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏเป็นปกติยิ่งขึ้น เช่น คำว่า “เห็นดอกไม้” ก็จะได้มีความเข้าใจที่ตรงว่า เห็นเป็นเห็น และคนที่ไม่ได้ศึกษาธรรมเลยก็จะไม่รู้เลยว่า ที่ “เห็นดอกไม้” ความจริง “เห็น” ไม่ใช่ขณะที่รู้ว่า สิ่งนั้นเป็นอะไร นี่คือ ประโยชน์ของการศึกษาเพื่อที่เราจะได้เข้าใจว่า ชีวิตประจำวันปกติอย่างนี้แหละ แต่ให้เข้าใจความจริงตรงตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง
อ.วิชัย เริ่มศึกษาก็มีความเข้าใจอย่างนี้ อย่างที่ท่านอาจารย์กล่าว แต่ว่าความเข้าใจที่จะ เจริญยิ่งขึ้นคืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ทีละเล็กทีละน้อยหรือว่าเยอะๆ เป็นก้อนๆ เหมือนก้อนน้ำมาจากทางนั้นทางนี้หรือเปล่า หรือว่าเข้าใจขณะนี้นิดหนึ่ง ต่อไปเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกๆ จนกระทั่งไม่มีความสงสัยเลยว่า ทุกอย่างเป็นธรรม สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้เป็นธรรมแน่นอน แล้วก็เป็นธรรมแต่ละอย่างด้วย หลากหลายด้วย ปรากฏแล้วก็หามีไม่ จบหมด เกิดใหม่ก็ดับไปอีก เป็นอย่างนี้เอง
อ.วิชัย อย่างเช่น ถ้าเริ่มฟังก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ว่า ถ้าเริ่มฟังมากขึ้น เข้าใจมากขึ้น การที่จะพิจารณาไตร่ตรองในพระธรรมที่ได้ยินได้ฟังก็ละเอียดยิ่งขึ้น
ท่านอาจารย์ ถึงต้องฟังให้ละเอียดขึ้นๆ จะได้เข้าใจในความเป็นจริงว่า เป็นธรรม ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือคนหนึ่งคนใดเลย ตอนนี้เข้าใจแล้วใช่ไหม ถ้าขณะนั้นปัญญาเกิด จะเห็นความเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏแล้วก็เริ่มคลาย แต่ว่า ไม่ใช่ว่าทันที ทีเล็กทีละน้อย ค่อยๆ เข้าใจความจริงไป ไม่ใช่ไปทำอะไรใหญ่โตมากมาย ให้หมดกิเลส แต่ค่อยๆ สะสมความเห็นถูก พิจารณาจนกระทั่งเข้าใจมั่นคงขึ้น กว่าจะคลายความติดข้องด้วยความไม่รู้ ก็ต้องอาศัยการฟังบ่อยๆ และเข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดถึงบ่อยๆ ว่า ทุกคนอยู่ในโลกของความคิด ก็คิดไปถึงว่า โลกที่มีความคิดที่คล้ายๆ กันก็จะมาอยู่ด้วยกัน ก็จัดเป็นโลกของผู้ใหญ่
ท่านอาจารย์ ยังไม่ถึงโลกผู้ใหญ่ โลกเด็ก เห็น ทุกคนเห็นเหมือนกันหรือเปล่า
ผู้ฟัง เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เห็นก็เหมือนกัน คิดเป็นธรรมที่คิดไม่ใช่คนที่คิด เพราะฉะนั้น คิดเป็นคิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง คิดเป็นคิด
ท่านอาจารย์ และแต่ละคนคิดไม่เหมือนกันเพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะสะสมมาไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ยับยั้งความคิดไม่ได้ เห็นแล้วก็คิด เพราะฉะนั้น จิตเห็นประเภท ๑ ไม่ใช่จิตที่คิด จิตคิดไม่เห็น จิตเห็นก็คิดไม่ได้ นี้แสดงถึงความหลากหลาย และความละเอียดของธรรม แม้เป็นจิตซึ่งเป็นธาตุรู้แต่ละขณะก็เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย จึงไม่ใช่เราหรือใครที่จะไปมีอำนาจบังคับบัญชา
ผู้ฟัง ทุกคนอยู่ในโลกของความคิด
ท่านอาจารย์ หมายความว่าทุกคนคิดใช่ไหม
ผู้ฟัง ทุกคนคิด คิดแล้วถ้ามีความคิดคล้ายๆ กัน ก็มาในโลกเดียวกัน คบหากัน
ท่านอาจารย์ ถ้าเห็นดอกไม้คิดเหมือนกันไหมว่า “เห็นดอกไม้” คิดเหมือนกันไหม
ผู้ฟัง คิดเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ก็ได้ ถ้าเห็นดอกไม้ไม่ได้คิดเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางตาหรือ หรือว่าทันทีที่เห็นไม่ได้คิดอย่างอื่น คิดอย่างอื่นไม่ได้ ยังไม่ใช่กาลหรือฐานะ หรือปัจจัย ที่จะทำให้คิดถึงอย่างอื่น เพราะฉะนั้น เวลาที่จิตเห็นดับไปแล้ว รูปยังไม่ดับ จิตอื่นเกิดขึ้นมีสิ่งที่ปรากฏนี้แหละใช่ไหม เมื่อดับแล้วจึงจำรูปร่างสัณฐาน และก็เข้าใจเหมือนกันด้วย เพราะว่า เห็นอย่างเดียวกันจะให้ต่างกันไม่ได้ ต่อเมื่อชอบหรือไม่ชอบ ที่เคยสะสมมาในสิ่งที่ปรากฏ ทำให้ความคิดหลากหลายตามการสะสม
ผู้ฟัง อย่างเช่น โลกของเด็กก็สะสมขณะของเด็ก
ท่านอาจารย์ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ เพียงเห็นก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ก่อนที่จะหลากหลายเป็นความคิดอื่นๆ ก็จะต้องคิดตามการสะสม (นาทีที่ ๙.๐๒ หลังคำว่า "ต้องคิดตาม ... เสียงหายไป) ขณะนี้คิดอย่างนี้ตามปัจจัยที่สะสม
ผู้ฟัง ตามปัจจัยที่ได้สะสมมา
ท่านอาจารย์ แน่นอน เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ แต่ละคำตามการสะสมด้วย เปลี่ยนความคิดได้ไหม ในเมื่อคิดเกิดแล้ว คิดเกิดตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไปแล้วด้วย แล้วก็มีปัจจัยที่จะคิดอีก ก็เกิดคิดอีกแล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง ถ้าเข้าใจตามความเป็นจริงอย่างนั้น ก็อยู่ได้ทุกสถานะ ไม่สงสัยเลยว่า ฟังธรรมแล้วจะไม่เหมือนของคนอื่น
ท่านอาจารย์ แต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การเข้าใจธรรมต้องเข้าใจตามลำดับจริงๆ จนกระทั่งสามารถที่จะรู้ได้ว่า ความละเอียดของเจตสิกซึ่งเป็นนามธาตุหลากหลายคล้ายคลึงกัน ซึ่งพระปัญญาคุณที่ทรงตรัสรู้ตามความเป็นจริง ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริงของธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งปะปนกันไม่ได้เลย แม้ว่าจะกล่าวว่า ในมรรคมีองค์ ๘ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะเป็นองค์ของปัญญา และสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ก็เป็นองค์ของศีล ส่วนสัมมาสติ สัมมาวายามะ และสัมมาสมาธิก็เป็นองค์ของสมาธิ ซึ่งต้องเข้าใจโดยละเอียดตั้งแต่ว่า วิตกเจตสิกเกิดเมื่อไหร่
เพราะอะไร จึงขาดวิตกเจตสิกไม่ได้ ขณะเห็นเกิดขึ้นไม่ต้องอาศัยวิตกเจตสิก วิริยเจตสิกก็ไม่ต้องอาศัย แต่ว่า มีปัจจัยที่ถึงกาลที่กรรมจะให้ผล ก็ทำให้มีการเกิดขึ้นของธาตุคือ ถ้าเป็นทางตาสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ต้องเกิด จักขุปสาทต้องเกิดกระทบกัน แล้วเป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณเกิดเห็นแล้วดับเท่านี้เอง วิตกเจตสิกไม่มี ไม่เกิดร่วมด้วย แต่ทันทีที่จักขุวิญญาณดับ จิตที่เกิดต่อคือ สัมปฏิจฉันนะ มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยทันที เห็นความละเอียดที่ต่างกัน เพราะว่า วิตกเจตสิกที่เกิดต่อจากจักขุวิญญาณไม่เห็น ไม่ได้ทำทัสสนกิจ วิตกจะทำทัสสนกิจได้ไหม ทำสายนกิจได้ไหม ทำกิจอื่นๆ นอกจากนี้ได้ไหม วิตกเจตสิกเจตสิกไม่เกิดกับจิต ๑๐ ดวง เพราะฉะนั้นนอกจากจิต ๑๐ ดวงนี้แล้วมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม มี
เพราะฉะนั้น จิตอื่นมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม กุศลจิต อกุศลจิต ก็ต้องมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพื่อให้เห็นตามความจริงว่า วิตกเจตสิกไม่ใช่วิริยเจตสิก สัมปฏิจฉันนจิตมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยแต่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น จะเห็นความต่างกันว่า เมื่อมีปัญญาแล้วก็ธรรมดาของวิตกเจตสิกก็จะเกิด หลังจากเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง พวกนี้ และจิตอื่นๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้ปัญญาที่เกิดแล้ว วิตกก็ตามปัญญาเมื่อเกิดพร้อมกัน เพราะเหตุว่า ถ้าปัญญาไม่เกิดวิตกก็เกิดกับจิตประเภทอื่น ไม่ใช่เป็นประเภทที่เป็นกุศลวิตกหรือสัมมาสังกัปปะ แต่เมื่อมีปัญญาที่สามารถที่จะฟังธรรม เข้าใจธรรม จนกระทั่งวิตกไม่คิดเรื่องอื่น ไม่จรดในอารมณ์อื่น แต่ว่า สามารถที่จะเกิดพร้อมสติสัมปชัญญะที่จรดในอารมณ์ที่สติกำลังระลึกรู้
เพราะฉะนั้น ด้วยปัญญาที่มีความเข้าใจถูก ทำให้วิตกจรดในอารมณ์ตรงตามที่ได้เข้าใจ ขณะนี้มีใครรู้ลักษณะของวิตกเจตสิกไหม ไม่มี และก็ได้ยินได้ฟังว่า คิดเพราะวิตกเป็นเท้าของโลก เพราะฉะนั้น ก็คิดเรื่องอื่นๆ แต่ว่า ก็ไม่มีใครรู้ลักษณะของวิตก แล้วแต่ว่า วิตกเจตสิกจะจรดในเรื่องอะไร เมื่อสักครู่เราก็ทราบแล้วว่า ไปเรื่อยเลย หลังจากเห็นแล้วไปเรื่องอื่นหมดเลย ไม่ได้มาจรดที่ลักษณะของธาตุที่กำลังเห็น และเริ่มเข้าใจถูกต้องว่า ขณะนี้เป็นธรรม เพราะฉะนั้น กว่าวิตกที่จะเกิดร่วมกับปัญญาเจตสิกที่จะเป็นสัมมาสังกัปปะได้ ก็ต้องอาศัยการฟังที่เข้าใจ จึงสามารถที่แทนที่จะฟังแล้วก็ไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏตามที่ได้ฟัง ได้ยินมี แต่ว่าวิตกก็ไม่จรดที่ลักษณะของได้ยิน ซึ่งเป็นธาตุที่กำลังได้ยินในขณะที่เสียงปรากฏ
เพราะฉะนั้น กว่าวิตกจะจรดที่ลักษณะของสภาพธรรมด้วยความถูกต้อง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เจตนา แต่ว่า เพราะปัญญาที่มีความเข้าใจ จนกระทั่งเป็นปัจจัยให้วิตกไม่ไปคิดเรื่องอื่น ไม่ไปจรดเรื่องอื่นเลย แต่กำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ด้วยเหตุนี้วิตกจึงเป็นองค์ ๑ ของมรรคซึ่งเป็นฝ่ายของปัญญา แต่ความเพียรแม้ว่า ขณะนี้จักขุวิญญาณดับไป สัมปฏิจฉันนจิตดับไป สันตีรณจิตดับไป ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย ด้วยเหตุนี้วิริยะก็เป็นแต่เพียงเป็นไปตามปัญญา เมื่อมีวิตก และสัมมาสติกำลังระลึกอารมณ์ใด และวิตกจรดที่อารมณ์นั้น วิริยะก็เป็นไปกับอารมณ์นั้น ด้วยการที่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ใครจะไปรู้ลักษณะของสภาพธรรมของเจตสิก แต่ละ ๑ ตามที่ได้ฟัง แต่ว่า ความหลากหลาย และความต่างกันของสภาพธรรมโดยละเอียด จากวิตกเจตสิกซึ่งเกิดกับสัมปฏิฉันนะ เกิดกับอกุศลจิต เกิดกับกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา หรือที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา จนกระทั่งเกิดกุศลที่กำลังเข้าใจธรรม จนกระทั่งเกิดสามารถรู้ลักษณะ จรดในสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นไปกับปัญญาทั้งสิ้น ที่จะเป็นมรรคมีองค์ ๘ ที่จะทำให้รู้แจ้งความจริงของสภาพธรรมนั้นได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นองค์ของปัญญา
อ.อรรณพ ท่านอาจารย์กล่าวว่า วิริยะเป็นไปในอารมณ์ที่ปัญญารู้ และวิตกจรด ท่านผู้ถามจึงถามว่า ทำไมวิริยะจึงเป็นองค์ของสมาธิ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงได้แสดงความต่างของวิตกเจตสิกกับวิริยเจตสิกว่า วิตกมีกิจลักษณะที่จรดในอารมณ์ เราอาจจะบอกว่าเรากำลังคิด หารู้ไม่ว่า เพราะวิตกที่จรดในอารมณ์ที่คิดในขณะนั้น ไม่ใช่ในอารมณ์อื่น ไม่ว่าจะคิดเรื่องอะไรก็ตาม เพราะฉะนั้น สภาพธรรมอื่นก็เป็นไปตามวิตก แม้วิริยะที่เกิดก็เป็นไปตามวิตก ซึ่งถ้าประกอบด้วยปัญญาเมื่อไหร่ก็เป็นสัมมาสังกัปปะ ประกอบด้วยการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏเป็นสติปัฏฐาน ขณะนั้นก็ต้องเป็นไปกับปัญญา เป็นองค์ของปัญญาซึ่งขาดไม่ได้เลย
อ.อรรณพ แล้ววิริยะก็เป็นองค์ของสมาธิ
ท่านอาจารย์ วิริยะเกิดเมื่อไหร่ต้องรู้ด้วย ใช่ไหม แล้วก็ถ้าเป็นไปในอกุศลก็เป็นฝ่ายอกุศล ตามอกุศล ตามสภาพธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหมด เวลาที่เป็นทางฝ่ายกุศลก็เป็นไปตาม แต่ว่าไม่ใช่องค์ของปัญญา เพราะว่าไม่ใช่มีกิจที่จะจรดในอารมณ์ด้วยความที่ได้ฟัง จนกระทั่งสามารถที่จะไม่คิดเรื่องอื่น เหมือนอย่างทุกวันนี้ฟังธรรมก็จริง คิดเรื่องอื่นหมดเลย แล้วก็บอกว่า คิดๆ อะไรคิด ก็วิตกเจตสิกนั่นเองซึ่งเป็นเท้าของโลก มีเห็นก็ไปที่อื่น ได้ยินก็เป็นเรื่องเป็นราวไปหมดเลย จนกว่าวิตกที่เกิดเพราะเข้าใจถูกในสภาพธรรม อาศัยการฟัง สามารถที่จะจรดด้วยความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ก็เป็นองค์ของปัญญา ถ้าวิตกไม่จรดในอารมณ์ที่เป็นปรมัตถธรรม ที่ลักษณะของสภาพธรรม สามารถที่จะเข้าใจความจริงได้ไหม ไม่มีทางเลย เพราะฉะนั้น เมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็มีสัมมาสังกัปปะ
ผู้ฟัง ธรรมที่ลึกซึ้งเหล่านี้ เดี๋ยวนี้กำลังมีเห็นแต่ว่า ก็เข้าใจเพียงสิ่งที่กำลังปรากฏต่างๆ เพราะฉะนั้น สภาพเห็นที่มีอยู่ จะต้องศึกษาตามลำดับอย่างไร
ท่านอาจารย์ เห็นมี เข้าใจถูกในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่า เห็นไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา ถูกต้องแล้วใช่ไหม
ผู้ฟัง ถูกต้องแล้ว มันต่างกัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏว่า มีจริงๆ แต่เห็นซึ่งกำลังเห็น ปรากฏหรือยังว่า เป็นธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏให้เห็น
ผู้ฟัง รู้ได้แต่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เพียงฟังแล้วก็เริ่มมีความเข้าใจในธาตุที่ไม่มีรูปร่างเลย ปราศจากรูปใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลย เป็นธาตุรู้ล้วนๆ แต่ว่าเมื่อเกิดแล้วต้องรู้ เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ที่ว่า เห็นคือ ธาตุนี้กำลังทำหน้าที่รู้ว่า ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏอย่างนี้โดยเห็น ไม่ใช่โดยคิดนึก แต่กำลังรู้จริงๆ คือ เห็นจริงๆ ว่า ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอย่างนี้ ค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจ ไม่ใช่ว่า ให้ไปทำอะไร แต่เริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย
เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีธาตุนี้ โลกไม่ปรากฏ ถ้าไม่มีธาตุรู้ โลกหรืออะไรๆ ก็ปรากฏไม่ได้เลยตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่า ขณะคิดก็เพราะมีธาตุที่กำลังรู้เรื่องที่กำลังคิด ขณะเห็นมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็เพราะมีธาตุที่กำลังเห็น เป็นธาตุรู้ ถ้าไม่เห็นคือ ไม่รู้ว่า สิ่งนี้เป็นอย่างนี้ ที่กำลังปรากฏทางตาเป็นอย่างงี้ หรือแม้แต่เสียงปรากฏก็เพราะมีธาตุที่ได้ยินเสียง รู้ว่า เสียง รู้เสียงที่ปรากฏว่า เสียงที่ปรากฏนี้เป็นเสียงอย่างนี้ไม่เป็นอย่างอื่น นี่คือ ธาตุรู้สิ่งไม่เคยขาดเลยตั้งแต่เกิดจนตาย และในสังสารวัฏฏ์ด้วย จากโลกนี้ไปแล้วเพราะจิตคือ ธาตุรู้เกิดขึ้นทำกิจของตนคือ พ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ ไม่กลับมาอีก แล้วมีปัจจัยที่ทำให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อทันที
เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่า ความตายก็คือ หน้าที่ ๑ ของชีวิต เกิดมาแล้วทำสารพัดอย่าง เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง คิดนึกบ้าง ทำกิจการงาน ทำอะไรต่างๆ แต่ยังไม่ได้ทำหน้าที่หนึ่ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของจิตคือ หน้าที่ตาย เพราะฉะนั้น ความตายก็เหมือนหน้าที่ทั้งหลาย หน้าที่เห็นก็เห็น ไป หน้าที่ที่คิดก็คิดไป พอถึงอีกหน้าที่หนึ่งก็คือ ทำกิจตาย ก็คือหน้าที่หนึ่งของจิตเท่านั้นเอง แล้วก็มีจิตที่ทำหน้าที่เกิดอีกก็คือ ตายแล้วเกิด ก็เป็นแต่เพียงหน้าที่ต่างๆ ของสภาพธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กรุณาให้ความละเอียด ค่อยๆ เข้าใจตามลำดับถึงสิ่งที่กำลังปรากฏก่อน เพราะว่า สภาพรู้ซึ่งละเอียดมาก ที่ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจว่า เดี๋ยวนี้ธาตุรู้ปรากฏ โดยรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งเราฟังแล้วรู้ว่า เพื่อให้คลายจากที่เรา คิดว่า มีเรากำลังมอง มีเรากำลังเห็นอะไรต่างๆ
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครที่ฟังธรรมครั้งเดียวแล้วจะรู้ความจริงได้ พระสาวกทุกท่านก็ต้องอาศัยการฟัง ฟังครั้งเดียวอย่าคิดว่า เท่านี้ที่เข้าใจแล้วก็สามารถที่จะรู้ความจริงได้ แต่ความจริงเป็นความจริง ขณะนี้ก็เป็นจริงอย่างนั้นแต่ว่า เมื่อฟังน้อยก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจถูกต้องในสิ่งที่มีจริงๆ จนกว่าความเข้าใจถูกจะเพิ่มขึ้น ต้องเป็นความค่อยๆ เข้าใจเพื่อละความไม่รู้ ตราบใดที่ยังมีโลภะเป็นเครื่องกั้น ไม่สามารถที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้
เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีความเป็นตัวตนที่ต้องการจะรู้ ธาตุที่กำลังเห็น ธาตุที่กำลังได้ยิน คือ ธาตุรู้นั่นเอง ด้วยความอยาก ความต้องการ ซึ่งไม่มีวันที่จะรู้ได้ แต่ถ้าคุณสุกัญญาค่อยๆ เข้าใจจะน้อยหรือจะมากก็ตามว่า ขณะนี้มีแน่ๆ คือ เห็นมี กำลังเห็นด้วย ถ้าค่อยๆ เข้าใจขึ้นก็จะถึงวันหนึ่ง ที่จะใส่ใจหรือเริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยว่า สภาพที่เห็นก็คือ ขณะนี้เองที่กำลังเห็น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 721
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 722
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 723
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 724
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 725
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 726
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 727
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 728
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 729
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 730
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 731
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 732
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 733
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 734
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 735
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 736
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 737
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 738
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 739
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 740
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 741
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 742
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 743
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 744
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 745
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 746
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 747
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 748
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 749
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 750
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 751
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 752
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 753
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 754
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 755
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 756
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 757
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 758
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 759
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 760
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 761
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 762
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 763
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 764
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 765
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 766
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 767
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 768
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 769
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 770
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 771
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 772
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 773
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 774
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 775
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 776
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 777
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 778
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 779
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 780