พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 724
ตอนที่ ๗๒๔
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
อ.กุลวิไล เหตุใดขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระ
ท่านอาจารย์ โดยมากพอได้ฟังอะไรก็อยากจะเข้าใจสิ่งที่ฟัง แต่ว่าเผินหรือเปล่า รู้จักขันธ์ ๕ หรือยัง เพราะว่าพอได้ยินคำว่าขันธ์ ๕ เป็นภาระ มุ่งไปที่ขันธ์ ๕ เป็นภาระ แต่ว่าตามความเป็นจริง รู้จักขันธ์ ๕ หรือยัง เวลานี้ขันธ์ ๕ ก็มี และเราก็พูดถึงเรื่องขันธ์ ๕ และก็ตามข้อความต่างๆ ในพระไตรปิฏก เหมือนรู้จักขันธ์ ๕ แล้ว แต่ความจริงยังไม่ได้รู้จักขันธ์ ๕ เพราะฉะนั้น การที่จะพูดว่าขันธ์ ๕ เป็นภาระ โดยไม่เข้าใจขันธ์ ๕ กับเมื่อรู้จักขันธ์ ๕ แล้วจึงเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นภาระจริงๆ นี่ก็เป็นความต่างกัน ใช่ไหม
เพราะฉะนั้น พระธรรมไม่เผิน คือต้องเป็นผู้ที่ตรงว่า แม้แต่ได้ยินเพียงคำว่าขันธ์ ๕ ขณะนี้เป็นขันธ์ ๕ หรือเปล่า จะได้รู้ว่าขันธ์ ๕ นั้นแหละเป็นภาระ แต่ว่าถ้ายังไม่รู้จักขันธ์ ๕ เดี๋ยวนี้แล้วจะไปเข้าใจที่ว่าขันธ์ ๕ เป็นภาระได้อย่างไร ในเมื่อได้ยินแต่ชื่อว่าขันธ์ ๕ แต่เดี๋ยวนี้ขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ความละเอียดก็คือว่า ไม่ใช่ไปสนใจที่เรื่องราวที่อยากจะเข้าใจ เพราะว่าเป็นภาระแน่ๆ ตามที่ได้ทรงแสดงไว้ให้ทุกคนเข้าใจได้ ต้องทำอะไรบ้างคุณวิไลเมื่อสักครู่นี้
อ.กุลวิไล ท่านกล่าวในอรรถกถาถึงภาระที่จะต้องบริหาร กล่าวว่าอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นจำต้องบริหารด้วยการให้ยืน ให้เดิน ให้นั่ง ให้นอน ให้อาบน้ำแต่งตัว ให้เคี้ยว ให้กินเป็นต้น
ท่านอาจารย์ รู้จักเลยว่าภาระเป็นยังไงใช่ไหม แต่ไม่รู้จักขันธ์ ๕ รู้จักแต่เรื่องของขันธ์ ๕ ว่า เมื่อมีร่างกาย มีชีวิตจิตใจที่จะต้องดำเนินไป ดำรงไป ก็ต้องทำอย่างนี้ ก็เข้าใจเพียงเท่านั้น แต่ว่าตามความเป็นจริงก็คือว่า เมื่อพูดคำว่า ขันธ์ เดี๋ยวนี้ใครกำลังมีขันธ์ ๑ ขันธ์ใดที่ปรากฏ และกำลังเริ่มรู้จักขันธ์นั้นหรือยัง มิฉะนั้นแล้ว การศึกษาธรรมของเราก็จะเป็นไปในรูปนี้ คือเป็นเรื่องแล้วก็จบไปแต่ละชาติ โดยที่ว่าไม่รู้ลักษณะของขันธ์ใดขันธ์ ๑ เลย ทั้งๆ ที่ขณะนี้ก็มีขันธ์พร้อมที่ว่า เมื่อพูดถึงขันธ์กำลังเข้าใจขันธ์ นั่นเป็นประโยชน์กว่า เพราะว่า ถ้ากล่าวถึงภาระเพียงเท่านี้ก็เป็นที่รู้โดยที่ว่า ไม่รู้จักขันธ์ ๕ จริงๆ
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์พูดถึงว่ารู้จักขันธ์ ๕ ซึ่งขันธ์ ๕ ก็คือทุกอย่างที่มีจริงที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง ก็เผินอีกแล้ว ใช่ไหม พูดได้แน่นอนไม่มีใครปฏิเสธว่า ทุกอย่างที่เกิดแล้วก็ดับเป็นขันธ์ ๕ ก็ใกล้เข้ามาอีกนิดหนึ่ง คือทุกอย่างที่เกิดแล้วดับเป็นขันธ์ ขันธ์ ๑ ขันธ์ใดก็ตามแต่ใน ๕ ขันธ์ แต่ทุกอย่างกว้างมากจนกระทั่งไม่รู้สักอย่าง ทุกอย่างหมดเลย แต่เห็นเดี๋ยวนี้รู้จักหรือยังในความเป็นขันธ์ และสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเดี๋ยวนี้รู้จักหรือยังในความเป็นขันธ์ ก็ไม่รู้จัก รู้จักแต่ว่าทุกอย่างเป็นขันธ์
อ.กุลวิไล การที่จะรู้จักขันธ์ก็คือ ต้องรู้สิ่งที่ปรากฏในขณะนี้ อย่างเช่นเห็นกับสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ กำลังมีเดี๋ยวนี้เลย และเราก็รู้เรื่องได้ยินบ่อยๆ แต่เมื่อไหร่ที่จะเริ่มเข้าใจขันธ์ เพราะว่าได้ศึกษามาพอสมควร แล้วก็ลืมบ่อยๆ เพราะฉะนั้น ที่จะไม่ลืมก็คือ เดี๋ยวนี้มีขันธ์ ไม่ต้องเรียกขันธ์ก็เป็นขันธ์ อย่างหนึ่งใดที่มีจริงๆ ที่เริ่มจะเข้าใจลักษณะนั้นค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าจะรู้จักตรงกับที่ได้ยินได้ฟัง ทั้งเรื่องการเกิดดับ ทั้งเรื่องความเป็นภาระ
อ.กุลวิไล ขันธ์นี้ก็เป็นทุกสิ่งที่มีจริงซึ่งก็ไม่พ้นธรรม แล้วขันธ์เกิดแล้วก็ต้องดับไป เพราะว่าธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง และเมื่อปรากฏแล้วก็ต้องดับไป เห็นความที่ธรรมเหล่านี้ไม่เที่ยงนั่นเอง เพราะฉะนั้น แม้แต่ธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ เราก็ยังไม่รู้ก็ได้ท่านอาจารย์ แล้วนัยที่เป็นขันธ์ที่เกิด และดับไปก็ยังลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ท่านอาจารย์ ถ้าฟังเป็นเรื่องราวค่อยๆ พิจารณา ถึงเกิด และดับไม่เที่ยงก็ยังคงมีต่อไป เป็นภาระโดยประการทั้งปวง เพราะว่ายังต้องเป็นอย่างนั้น ยังต้องมีการบริหารร่างกาย เพราะว่าไม่มีใครไปยุติขันธ์ซึ่งเกิด และดับ และไม่ให้เกิดอีกได้ นอกจากปัญญา
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมจึงเป็นผู้ที่ตรงว่า แม้แต่จะพูดคำว่าขันธ์ รู้จักขันธ์ไหนบ้าง ทั้งๆ ที่ขันธ์กำลังปรากฏก็ไม่รู้จัก เพราะฉะนั้น มีหนทางที่จะรู้จักขันธ์แน่นอน ถ้าเป็นผู้ที่อดทน และมีการเข้าใจอย่างมั่นคง การฟังธรรมเมื่ออาทิตย์ก่อน เดือนก่อน ปีก่อน รวมไปถึงชาติก่อนๆ เพื่อเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏตามความเป็นจริงแล้วก็จะเข้าใจความหมายของคำว่าขันธ์ด้วย
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์จะขอความเข้าใจคำว่าขันธ์
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีแข็งไหม แข็งปรากฏหรือเปล่า
ผู้ฟัง ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ถ้าแข็งไม่เกิด จะปรากฏเป็นแข็งไหม
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ แล้วแข็งที่เกิดถาวรมั่นคงหรือว่าดับ เพียงชั่วขณะที่ปรากฏแล้วก็มีอย่างอื่นปรากฏซึ่งไม่ใช่แข็ง เพราะฉะนั้น ตามความเป็นจริงก็ค่อยๆ เข้าใจถูกต้องว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่ปรากฏ ปรากฏชั่วคราวแสนสั้น แล้วก็มีสิ่งอื่นซึ่งเกิดสืบต่อ โดยไม่ปรากฏการดับไปของสิ่งที่ปรากฏเมื่อสักครู่นี้เลย
เพราะฉะนั้น การฟังธรรม ก็คือ เดี๋ยวนี้ อะไรก็ตามที่ปรากฎ ไม่ใช่เราจะไปหาขันธ์ที่อื่นเลย ทุกอย่างคือสิ่งที่มีแล้ว ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก็ทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มีให้เข้าใจถูกต้อง ว่าเป็นขันธ์ เพราะเกิดแล้วดับไป แล้วก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แล้วก็ไม่มีแล้ว สิ่งที่ปราศจากไป จะไม่กลับไปอีกแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้ามีความติดข้องในสิ่งใด ก็หมายความว่า ยังไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังเป็นอย่างนี้ โดยการเกิดดับสืบต่อกัน จึงมีความเข้าใจว่าสิ่งนั้นไม่ดับ เมื่อสิ่งนั้นไม่ดับ ก็พอใจในสิ่งที่ยังเหมือนปรากฎอยู่ แต่ถ้ามีความละเอียด มีความเข้าใจว่า ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่าสิ่งที่เกิด และดับไป จริงๆ ไม่เหลือเลย ไม่ใช่สิ่งที่เกิดสืบต่อขณะนี้เลย และเป็นการถูกต้องสมควรไหม ที่จะมีความติดข้องในสิ่งซึ่งเกิดปรากฎ และหมดไป แล้วไม่เหลือเลย แต่ก็ยังติดข้องอยู่ แม้ไม่มี ไม่ปรากฎ นี่คือ การฟังธรรม เพื่อเข้าใจความจริง ไม่ใช่ฟังเพื่อให้ไปทำอะไรเลย แต่ให้มีความเข้าใจถูก มีความเห็นถูก ในสิ่งที่มี และกำลังปรากฎ จนกว่าสามารถที่จะมีความมั่นคง ประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่า สิ่งที่กล่าวเป็นความจริง เพราะปัญญาถึงขั้นที่จะละคลายการติดข้อง จนสภาพธรรมนั้นไม่มีอะไรบัง ไม่มีอะไรกั้น ก็ปรากฎตามความเป็นจริงสภาพธรรมนั้น
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ แล้วสภาพของขันธ์ก็จะต้องมี ๑๑ อย่างก็คือ
ท่านอาจารย์ ไปจำหนังสือมาใช่ไหม ๑๑ อย่าง ใช่ ที่ตัวคุณพรทิพย์มีแข็งไหม มี และโต๊ะ เก้าอี้ กระดาษที่จับอยู่แข็งไหม แข็ง เราก็ว่าเข้าใจว่าเป็นกระดาษแล้วก็เลยถืออยู่ มีแข็งไหม มีอ่อน แข็งที่กระดาษที่จับเป็นตัวคุณพรทิพย์หรือเปล่า หรือไม่ใช่ กระดาษที่แข็ง ที่กำลังจับที่กำลังกระทบแล้วแข็งเป็นตัวคุณพรทิพย์หรือเปล่า เมื่อสักครู่ เราใช้คำว่ากระดาษที่จับ ที่ถืออยู่ เพราะฉะนั้น แข็งที่ปรากฏ เวลาที่จับแข็ง แข็งนั้นเป็นตัวคุณพรทิพย์หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นภายนอก ไม่ใช่ให้เราต้องไปจำชื่อ ๑๑ อย่างต้องจำให้ได้ถึงจะรู้ว่าเป็นขันธ์ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่ขันธ์ แต่ละขันธ์ก็ปรากฏตามความเป็นจริง แต่มือคุณพรทิพย์ที่จับกระดาษแข็งไหม
ผู้ฟัง แข็ง
ท่านอาจารย์ แล้วมือนั้นเป็นของคุณพรทิพย์ใช่ไหม ที่จับกระดาษ
ผู้ฟัง ยึดถือว่าเป็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นภายใน ภายใน คือที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา ภายนอกไม่ยึดถือว่าเป็นเราโดยนัยหนึ่ง แต่โดยนัยที่ละเอียดกว่านั้นก็ยังมีอีก ในความเป็นภายใน และภายนอก เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมเพื่อมีความเห็นถูก เข้าใจถูก ไม่ใช่ให้ไปกางตำรา จำตำรา และก็สงสัยว่าอะไรเป็นภายนอก อะไรเป็นภายใน แต่ขณะนี้ก็พิสูจน์อยู่แล้วใช่ไหม กระดาษก็แข็ง มือคุณพรทิพย์ก็แข็ง ๒ อย่างอะไรเป็นภายในคือเป็นของคุณพรทิพย์
ผู้ฟัง ภายใน ก็คือมือทิพย์
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะรู้ว่าไม่ใช่เราเพราะเพียงปรากฏแล้วก็ดับไป จะเปลี่ยนลักษณะแข็งได้ไหม อย่างแข็งภายนอกจะให้มาเป็นมือคุณพรทิพย์ก็ไม่ได้ เพราะเป็นภายนอก และแข็งที่นิ้วที่มือคุณพรทิพย์จะให้เป็นกระดาษก็ไม่ได้ เพราะเป็นภายใน เพราะเคยยึดถือไว้ว่าแข็งนี้เป็นเรา หรือว่าเป็นของเรา
เพราะฉะนั้น ก็สามารถที่จะเข้าใจความหมายของขันธ์ว่า ทุกอย่างไม่เว้นเลย เพียงแต่ว่าสิ่งนั้นอยู่ที่ไหน ที่ใช้คำว่าภายใน และภายนอกในความหมายหนึ่ง และยังมีความหมายอื่นอีกเมื่อมีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ลักษณะที่เราจะรู้ว่าภายใน ภายนอก มันเป็นลักษณะที่คิดแล้วใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีกระดาษ คุณพรทิพย์จับนิ้วตัวเอง ต้องคิดอะไรหรือเปล่า หรือว่าไม่สามารถที่จะลบความจำว่าเป็นมือเราออกได้เลย ทั้งๆ ที่ก็แข็ง ภายในภายนอกเท่าไหร่แล้ว
ผู้ฟัง ๒
ท่านอาจารย์ เกิดแล้วก็ดับเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคตเท่าไร
ผู้ฟัง ๕
ท่านอาจารย์ ไกลก็มี ใกล้ก็มีก็ได้ ใช่ไหม แล้วทำไมจะต้องมานั่งเรียน นั่งสงสัย นั่งคิด โดยไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏจะเข้าใจคำที่ทรงแสดงไว้ แต่ว่าถ้ายังไม่เข้าใจก็ไปนั่งหา ๑๑ อย่างอะไร เหลือ ๑๐ หรือเปล่าหายไปไหน ๑ แล้ว ๙ คืออะไร แล้ว ๘ คืออะไร อย่างนั้นไม่ใช่ นี่คือการให้รู้ตามความเป็นจริงว่า แม้ธรรม ก็มีทั้งภายในภายนอก อย่างคุณพรทิพย์เคยเห็นคนร้องไห้ไหม
ผู้ฟัง เคย
ท่านอาจารย์ เขารู้สึกยังไงที่เขาร้องไห้ หรือว่าเป็นคุณพรทิพย์ที่ร้องไห้ที่รู้สึกขณะนั้น หรือว่าเป็นเขาที่รู้สึกอย่างนั้นแล้วร้องไห้
ผู้ฟัง เป็นเขา
ท่านอาจารย์ ภายนอกหรือภายใน
ผู้ฟัง ภายนอก
ท่านอาจารย์ ก็พอจะเข้าใจได้ ถึงความหมายแม้ความรู้สึกเวทนา ภายในก็มี ภายนอกก็มี ทุกอย่างที่มีเป็นธรรม และเมื่อมีการเกิดขึ้นดับไปก็คือต้องเป็นขันธ์ เพราะว่างเปล่าจริงๆ ขันธ์คือความว่างเปล่า เพียงเกิดปรากฏแล้วหมดไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย นี่คือความหมายของขันธ์ เพราะฉะนั้นรู้จักขันธ์หรือยังที่ว่าเป็นภาระ เห็นไหมต้องรู้จักขันธ์เสียก่อน ทำอะไรขันธ์ไม่ได้เลย เพราะขันธ์มีปัจจัยก็เกิดเป็นไปซึ่งต้องบริหาร
ผู้ฟัง ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตาก็มีสี แต่เราก็รู้ว่าอันนี้ใกล้ อันนี้ไกล
ท่านอาจารย์ ก็คือธรรมก็เป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นอย่างเดียวกันก็ไม่มีใกล้ ไม่มีไกล ที่ตัวคุณพรทิพย์มีสีสันวรรณะไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ที่ตัวคนอื่นมีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ อันไหนใกล้ อันไหนไกล
ผู้ฟัง ก็ที่ตัวก็ใกล้
ท่านอาจารย์ ก็ถูกต้อง
ผู้ฟัง แสดงว่าลักษณะขันธ์เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ส่วนอื่นๆ ก็เป็นความคิดนึกตามมา
ท่านอาจารย์ คุณพรทิพย์จะเอาสีที่คนอื่นมาเป็นของคุณพรทิพย์ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แต่เขาก็มีปรากฏตรงนั้นไม่ใช่ตรงนี้ แล้วจะให้เป็นอันเดียวกันได้ยังไง
ผู้ฟัง เป็นอันเดียวกันไม่ได้แน่นอน
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะฉะนั้น อันหนึ่งใกล้ อันหนึ่งไกล ภายใน ภายนอกก็ต่างกัน ศึกษาธรรมไม่ใช่ให้งง แต่สิ่งที่เคยมี เคยเข้าใจ ให้เข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริง แม้ไกลก็เป็นขันธ์ แม้ใกล้คือที่ตัวก็เป็นขันธ์ เพราะเป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วก็ดับ ศึกษาธรรมจะเอาชื่อ แล้วจะหายสงสัยในชื่อ หรือว่าสิ่งนั้นมีจริงๆ แล้วก็เริ่มเข้าใจถูกว่าแม้จริงก็ต่างกัน จริงตรงนี้กับจริงตรงนั้น ก็ห่างกันแล้วใช่ไหม
อ.กุลวิไล อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ จำต้องบริหารด้วยการให้ยืน ให้เดิน ให้นั่ง ให้นอนให้อาบน้ำแต่งตัว
ท่านอาจารย์ นี่คือภาระใช่ไหม เมื่อมีขันธ์ จะปราศจากภาระเหล่านี้ได้ไหม เพราะถึงแม้ว่าขันธ์เกิด และดับ ก็เกิดดับสืบต่อดำรงอยู่ จนกระทั่งปรากฏเป็นรูปร่างสัณฐานที่จะต้องบริหาร
อ.กุลวิไล ขณะนี้เอง ขันธ์ เพราะว่ามีการเกิดดับสืบต่อ ถ้าไม่มีการเกิดก็ต้องไม่มีขันธ์แน่นอน แต่เพราะว่าเกิดมาก็ต้องเป็นที่ตั้งแห่งขันธ์นั่นเอง ต้องมีรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ท่านอาจารย์ ก็น่าสังเกตแล้วก็น่าคิด สงสัย อยากรู้ แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมี ได้ยินคำว่าขันธ์สงสัย ภาระสงสัย แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมี เพราะฉะนั้น จะหมดไหมความสงสัย ในเมื่อไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมี
อ.กุลวิไล ไม่หมด
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจสิ่งที่กำลังมี ก็ค่อยๆ เข้าใจในความหมายที่ว่า เป็นสิ่งที่จะต้องบริหาร
อ.คำปั่น ก่อนอื่นก็ขออนุญาตแปลคำว่าขันธ์ เพราะว่าขันธ์โดยศัพท์แล้ว หมายถึงสภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่า คำว่าทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่านี้ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไร เป็นธรรมที่มีจริง แต่ว่าเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป ไม่มีอะไรที่เที่ยง ขันธ์แม้อย่างหนึ่งที่ชื่อว่าเที่ยงย่อมไม่มี เพราะอรรถว่า มีแล้วไม่มี คือหมายความว่าเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป ทุกขณะของชีวิตเป็นขันธ์ ซึ่งท่านอาจารย์ก็ได้ถามอยู่บ่อยว่ารู้จักขันธ์หรือยัง จริงๆ แล้วก็เป็นคำถามที่มีประโยชน์มากเลย เพื่อให้ผู้ฟังผู้ศึกษานั้นได้มีการพิจารณาไตร่ตรองในความเป็นจริงของธรรมโดยที่ไม่ให้ไปติดที่คำ ไม่ให้ไปติดที่พยัญชนะ
เพราะว่า ขันธ์ ก็คือขณะนี้ เห็นเป็นขันธ์ สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นขันธ์ ขณะที่คิดนึกเป็นขันธ์ ขณะที่เป็นกุศลเป็นขันธ์ ขณะที่เป็นอกุศลก็เป็นขันธ์ สิ่งที่มีจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นขันธ์ทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ขันธ์หรือขันธ ๕ หมายถึง สภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่า ว่างเปล่าจากความเที่ยง ว่างเปล่าจากความสุข ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
ผู้ฟัง ในขั้นฟังเข้าใจได้ว่า ขณะนี้ เห็นเป็นขันธ์
ท่านอาจารย์ คุณอรวรรณที่กล่าวว่าเข้าใจว่า ขณะนี้ที่เห็นนี้เป็นขันธ์ สามารถที่จะรู้ว่ากำลังเห็นจริงๆ เดี๋ยวนี้หรือเพียงพูดคำว่าเห็น นี่ก็คือความต่างกัน สิ่งที่มีจริงกำลังมี เพราะฉะนั้น ในขณะที่พูดถึงเห็น เห็นกำลังมี เพราะฉะนั้น ถ้าฟัง และเข้าใจว่าเห็นเป็นขันธ์ ก็หมายความว่า ขณะนั้นกำลังรู้ว่าเห็นขณะนี้เป็นขันธ์ ไม่ใช่เพียงชื่อเห็นเป็นขันธ์ แต่ขณะนั้นเหมือนกับไม่มีเห็น เพราะว่าไม่รู้ เห็นที่กำลังปรากฏว่าเป็นขันธ์ แม้ในขั้นการฟังก็ต้องรู้ความจริงว่าพูดถึงอะไร ให้คิดถึงสิ่งที่กำลังมีขณะนั้น พอพูดถึงเห็นก็มีเห็นในขณะนี้ ที่จะเข้าใจว่า นี่แหละสิ่งที่มีขณะนี้แหละเป็นขันธ์ พูดถึงแข็ง แข็งก็มีขณะที่แข็งปรากฏคือ ไม่ใช่พูดเพียงคำว่าแข็งเป็นขันธ์ แต่ขณะนั้นมีลักษณะแข็ง
เพราะฉะนั้น ก็สามารถเข้าใจแข็ง ที่กำลังปรากฏโดยการฟังว่า นี่แหละคือขันธ์ เพราะว่ามีจริงๆ เพราะฉะนั้น การฟังธรรมก็มีหลายระดับขั้น และก็ผู้นั้นเป็นผู้ที่รู้ตามความเป็นจริงว่า ฟังเรื่องชื่อ แล้วรู้ว่าเป็นขันธ์ หรือว่าแม้มีชื่อแต่ลักษณะของสิ่งนั้นก็มี ให้รู้ว่าหมายความถึงชื่อนั้น เช่นในขณะที่พูดถึงแข็ง มีแข็ง ตรงแข็ง รู้ตรงนั้น และก็รู้ว่านี่คือกำลังกล่าวถึงสภาพธรรมนี้เป็นขันธ์ ไม่ใช่เพียงได้ยินคำว่าแข็ง แต่ว่าไม่มีลักษณะขณะนั้นที่เป็นแข็งให้รู้
ผู้ฟัง แต่ว่าปัญญาเท่าที่ทราบก็มีหลายขั้น ตั้งต้นก็คือขั้นฟังให้เข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรมอย่างไร
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า แม้อย่างนี้ก็ยังต้องต่างกัน แม้เพียงพูดอย่างนี้ ขณะที่พูดก็ยังต่างกันว่า กำลังมีแข็งจริงๆ แล้วพูดถึงแข็ง หรือว่าขณะนั้นไม่ได้มีแข็งปรากฏก็พูดถึงแข็ง นี่คือเพียงเท่านี้ก็มีความต่าง
ผู้ฟัง ฟังแต่เดิมก็เหมือนกับว่าเป็นพยัญชนะเรื่องราว แต่ขณะนี้ท่านอาจารย์กล่าวว่า มีแข็งปรากฏไหม ก็จะรู้ขั้นคิดว่า จับอยู่อย่างนี้คือแข็ง
ท่านอาจารย์ คืออย่างน้อยแข็งปรากฏให้รู้ว่ากำลังกล่าวถึงสภาพนี้ ธรรมนี้ ธาตุนี้ สิ่งนี้ให้รู้มีตัวจริงๆ ที่กำลังกล่าวถึงว่า นี่แหละคือขันธ์
ผู้ฟัง คำถามที่ท่านอาจารย์ถามว่า เข้าใจขันธ์ที่กำลังปรากฏขณะเดี๋ยวนี้หรือยัง เป็นอะไรที่บางครั้งก็เหมือนกับว่า ก็อยากเข้าใจอย่างที่ท่านอาจารย์ถาม แต่ก็ทราบว่าปัญญา ยังแค่เข้าใจขั้นฟังว่า เห็นขณะนี้เป็นขันธ์ เป็นธรรม เป็นอะไรโดยนัยหลายอย่างที่ท่านกล่าว แต่ให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้
ท่านอาจารย์ อย่างน้อยคือให้ทราบว่ากำลังพูดถึงสิ่งที่กำลังมี เพราะว่ามีลักษณะนั้นๆ แล้วกำลังพูดเรื่องนั้นเรื่องสิ่งที่มีนั่นแหล่ะให้เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น ก็จะรู้ได้ถึงความหมายของคำว่าเข้าใจขั้นฟัง เพราะว่าแม้ลักษณะนั้นมี ก็กำลังฟังเรื่องสภาพธรรมนั้นให้เข้าใจขึ้น
อ.กุลวิไล ท่านกล่าวว่า ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระ การถือภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก การวางภาระเสียได้เป็นสุข กราบเรียนอาจารย์
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด แล้วก็ค่อยๆ คิด ค่อยๆ เข้าใจ มีเราหรือเปล่า ตอบได้ ไม่มีเรา แต่มีธรรมคือมีรูปธรรม มีนามธรรม เพราะฉะนั้น ไม่มีเรา และอะไรจะเป็นภาระ ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ จะมีภาระไหม
อ.กุลวิไล ไม่มี
ท่านอาจารย์ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น แต่ละขันธ์ แต่ละขันธ์ก็ต่างกันไป ตามลักษณะของสภาพธรรมนั้น ถ้าเรามีความเข้าใจ เราก็จะรู้ได้ว่า รูปรู้อะไรหรือเปล่า
อ.กุลวิไล ไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ภาระของรูปเป็นอะไร รูปมีภาระหรือเปล่า ไม่รู้อะไรเลย หลับก็ไม่รู้ ตื่นก็ไม่รู้ ใครหยิบ ใครทำอะไรก็ไม่รู้ทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น รูปไม่ใช่สภาพรู้ ต้นไม้มีภาระไหม ไม่มี เพราะว่าเป็นแต่เพียงรูปธรรม แต่เมื่อมีขันธ์ทั้ง ๕ คือทั้งนามธรรม และรูปธรรมด้วย ไม่ได้มีแต่เฉพาะรูปธรรมซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ แต่ก็มีนามธรรมด้วย เพราะฉะนั้น จึงเป็นภาระทั้ง ๕ ขันธ์ เพราะว่าไม่ใช่มีแต่เฉพาะนามธรรมหรือว่าไม่ใช่มีแต่เฉพาะรูปธรรม เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้ว เราไม่มี แต่มีขันธ์ เพราะฉะนั้น อะไรเป็นภาระก็ต้องขันธ์นั่นแหล่ะเป็นภาระของแต่ละขันธ์ไป เช่นรูปที่ไม่มีนามธรรมเลยไม่มีภาระ แต่ว่ารูปที่เนื่องหรือมีพร้อมกับนามธรรมเป็นภาระ เพราะเหตุว่า จิตเป็นสภาพรู้ เพราะฉะนั้น เมื่อมีรูปแล้ว จะต้องเป็นปัจจัยที่ทำให้จิตประเภทนั้นๆ เกิดขึ้น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 721
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 722
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 723
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 724
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 725
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 726
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 727
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 728
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 729
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 730
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 731
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 732
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 733
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 734
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 735
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 736
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 737
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 738
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 739
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 740
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 741
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 742
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 743
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 744
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 745
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 746
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 747
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 748
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 749
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 750
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 751
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 752
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 753
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 754
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 755
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 756
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 757
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 758
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 759
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 760
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 761
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 762
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 763
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 764
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 765
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 766
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 767
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 768
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 769
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 770
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 771
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 772
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 773
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 774
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 775
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 776
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 777
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 778
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 779
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 780