พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 778
ตอนที่ ๗๗๘
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ผู้ฟัง ขอร่วมสนทนาในประเด็นเรื่อง การฝึกจิต ฝึกฝนตน ทุกคนก็ย่อมต้องการฝึกตน ที่จะเป็นคนที่กิเลสน้อยลง เป็นคนที่ดียิ่งขึ้น เป็นคนที่กุศลมากขึ้น อกุศลน้อยลง นี่คือจุดประสงค์ของคำถาม แต่ที่ท่านอาจารย์ตอบ กลับตอบแค่ว่า ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจในเรื่องของจิตก่อน แล้วจะรู้ว่าการฝึกจริงคืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ตนอยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง ตนก็อยู่ในร่างกาย
ท่านอาจารย์ ผิดแล้ว
ผู้ฟัง แล้วตนอยู่ที่ไหน
ท่านอาจารย์ เห็นหรือเปล่า เดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ เห็น เกิด และดับหรือเปล่า
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ ได้ยิน เกิดดับ
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ คิดนึก เกิดดับ แข็งปรากฎ เกิดขึ้น และดับไป ทุกอย่างเกิดดับ แล้วตนอยู่ที่ไหน ที่จะฝึกอยูที่ไหน ยังหาตนไม่ได้แล้วจะไปฝึกอะไร
ผู้ฟัง ถ้าไม่ฝึกตนแล้วจะฝึกอะไร
ท่านอาจารย์ ยังไม่เจอตน แล้วจะไปฝึกอะไร จะฝึกตนใช่ไหม ก็ต้องรู้ว่าตนอยู่ไหน
ผู้ฟัง ถ้าไม่รู้ก็ฝึกไม่ถูก ฝึกไม่ได้
ท่านอาจารย์ แน่นอน การฝึกอะไรก็ได้แค่พูด ฝึกตนฝึกตน ใครก็พูดอะไรได้ พูดสิ่งที่ไม่เข้าใจเลยก็พูดได้
ผู้ฟัง ตนเป็นเห็น เกิดขึ้น และดับไป แล้วจะฝึกอย่างไร
ท่านอาจารย์ รู้ความจริงว่า ไม่มีเรา และไม่มีตนที่เที่ยง
ผู้ฟัง นี่คือการฝึกหรือ
ท่านอาจารย์ เข้าใจถูกหรือเปล่า
ผู้ฟัง เข้าใจถูก
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจถูก รักตนที่เกิดดับ มากแค่ไหน
ผู้ฟัง มากแน่นอน รักตัวเองที่เกิดดับ
ท่านอาจารย์ ผิดหรือถูก ไปรักสิ่งที่เกิดดับ และไปก็ยึดถือว่าเป็นเรา ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นไม่มีแล้ว ไม่เหลือเลย แล้วก็ไม่กลับมาอีกด้วย เพียงแค่เกิดขึ้นปรากฏ แล้วหมดไปแล้ว อย่างคุณนิรันดร์ ก็ต้องมี ธาตุดิน น้ำไฟ ลม ถูกไหม
ผู้ฟัง ถูก
ท่านอาจารย์ แล้วก็มีสิ่งที่กระทบตา ของทุกคนขณะนี้ ปรากฏเป็นรูปร่าง สัณฐาน ที่จำได้ ไม่ต้องเรียกชื่อก็ได้ แค่เดินมา ไม่ต้องเรียกชื่อ ก็รู้ว่าใครใช่ไหม เพราะฉะนั้น นี่ก็คือถ้าเข้าใจจริงๆ แล้ว คุณนิรันดร์จะติดข้องอะไรที่เกิดแล้ว ดับแล้ว นี่ฝึกหรือเปล่า ฝึกที่จะไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เพราะรู้ความจริง ถ้าไม่มีปัญญา ไม่มีความเห็นถูก ความเข้าใจถูก อะไรฝึก ใครฝึก ฝึกอะไร
ผู้ฟัง ผมอ่านพระสูตร ผมก็เข้าใจผิดว่า มีตัวผมที่สามารถฝึกได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าศึกษาพระสูตรไม่ดี จะมีความเห็นผิด เพราะเป็นเราทั้งหมดเลย ได้ยินคำว่า เพียร ก็เพียรด้วยความเป็นเรา ไม่ได้เข้าใจถูกต้องว่า เพียรคืออะไร เกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร เพียรแล้วเกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น พระสูตร พระอภิธรรม พระวินัย ก็คือสิ่งที่มีจริง สิ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง โดยสิ้นเชิงโดย ประการทั้งปวง ซึ่งคนอื่นไม่ต้องไปคิดอะไรอีก เพียงแค่ฟังแล้วก็ค่อยๆ ไตร่ตรอง แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จะทำให้คลายความไม่รู้ และความเห็นผิดได้ เพระส่วนใหญ่คิดเอง คิดเองได้อย่างไร คิดเองก็ต้องผิด เพราะผู้คิดเป็นใคร
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่า ปัญญาที่เริ่มที่จะเข้าใจความจริง นั่นคือปัญญาที่กำลังฝึกจิต
ท่านอาจารย์ แน่นอน จากความไม่รู้เป็นความรู้ ถูกต้อง ถ้ายังคงไม่รู้อยู่ ก็ทำอย่างที่ไม่รู้ ด้วยความไม่รู้ เหมือนเดิม
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์หมายถึงว่า ถ้าไม่มีปัญญาที่เข้าใจความจริง ผมก็จะติดข้องสิ่งต่างๆ เพราะรักตัวเอง อย่างนั้นหรือ
ท่านอาจารย์ โกรธมีจริงไหม
ผู้ฟัง โกรธมีจริง
ท่านอาจารย์ ดีไหม
ผู้ฟัง ไม่ดี
ท่านอาจารย์ แล้วโกรธหรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็ยังโกรธอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง รักตัวเอง ต้องการให้สิ่งต่างๆ ได้ดีต่อตัวเอง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เพราะมีตน ซึ่งเป็นที่รัก ซึ่งความจริงตนไม่มี มีแต่สิ่งที่มีจริงๆ แต่ละหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ละหนึ่ง คุณนิรันดร์ก็คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา แล้วก็มีจิต มีเจตสิกที่กำลังคิด กำลังพูด แต่ละหนึ่ง ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น แต่เป็นสิ่งที่มีจริง แต่ละหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้น และดับไป
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กำลังบอกว่า หนทางที่จะฝึกจิตก็คือ การเข้าใจความจริงว่า เป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ภาษาบาลีใช้คำว่า ปัญญา แต่ไม่ต้องพูด ก็คือเข้าใจแล้วเห็นไหม ความเข้าใจธรรมถูกต้อง ไม่ต้องใช้คำอื่นก็ได้
ผู้ฟัง ถ้าไม่เข้าใจความจริง ก็ฝึกอะไรไม่ได้
ท่านอาจารย์ คุณนิรันดร์ก็เหมือนเดิม
ผู้ฟัง เหมือนเดิมอย่างไร
ท่านอาจารย์ วันก่อนเป็นอย่างไรบ้าง
ผู้ฟัง ก็ยังติดข้อง เป็นตัวเรา รัก โลภ โกรธ หลง
ท่านอาจารย์ แล้วก่อนโน้นๆ ที่ไม่ได้ฟังธรรมเลย เพราะฉะนั้น ที่ไม่มีความเข้าใจ เหมือนเดิมไหม
ผู้ฟัง ก็เหมือนเดิม อย่างนี้ผมก็ต้องเลิกคิดจะฝึกตนเอง แต่ฟังแพื่อข้าใจความจริง
ท่านอาจารย์ เข้าใจนั้นคือฝึก ถ้าไม่เข้าใจอะไรจะฝึก ความไม่รู้ฝึกไม่ได้ ยิ่งไม่รู้เข้าไปใหญ่
ผู้ฟัง จะ เห็นว่า ในแต่ละคำ คำว่า “บัณฑิต” คำว่า “ฝึก” คำว่า “จิต” ถ้าผู้ถามไม่เข้าใจในคำนั้นจริงๆ แล้ว ก็จะไม่เข้าใจว่า สิ่งที่ถามคืออะไรเลย ความเข้าใจคืออะไร
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เคยฟังพระธรรมเลย พูดคำที่ไม่รู้จักตั้งแต่เกิด
ผู้ฟัง การศึกษาให้ละเอียด เป็นการศึกษาทีละคำ ทีละคำ เพื่อให้เข้าใจความจริง
ท่านอาจารย์ แน่นอน ไม่อย่างนั้นก็ไขว้เขว คลาดเคลื่อน เพราะเติมความคิดของตัวเองเข้าไปวิจัยวิจารณ์ด้วย
อ.กุลวิไล คุณวิชัย ที่มีในพุทธพจน์ที่ว่า “ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน” ช่วยให้ความเข้าใจด้วย เพราะว่าหลายท่านถ้าอ่านพระสูตรมาโดยไม่แยบคาย ท่านก็แสดงถึงตนเหมือนกัน ขอความเข้าใจด้วย
อ.วิชัย ก็ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจ ตั้งแต่ต้น อย่างเช่นที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า ตนคืออะไร ถ้าไม่มีธรรมเลย ทุกอย่างก็ไม่มี เช่นถ้าไม่มีธาตุรู้เลย การที่จะรู้ว่าเป็นสิ่งต่าง บุคคลต่างๆ ก็ไม่มี ดังนั้นถ้าสิ่งที่จะเป็นที่พึ่ง ก็คือเริ่มต้นด้วยความรู้ ความเข้าใจ ถ้าไม่มีความรู้ ความเข้าใจ จะพึ่งอะไร
เพราะเหตุว่า โดยปกติแล้ว ก็คือไม่รู้ จึงได้มาฟังพระธรรม ไม่รู้ จึงมีการกระทำที่เป็นทุจริต อกุศลประเภทต่างๆ การที่จะมีที่พึ่ง ก็คือความรู้ ความเข้าใจ เพราะเหตุว่าเมื่อฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ก็เพื่อความรู้ความเข้าใจถูก ไม่ใช่ว่าฟังว่าจะพึ่งตนเอง โดยที่คิดเอาเองว่า “เรา” แต่ว่าไม่รู้ตามความเป็นจริงเลย ฉะนั้น ก็ไม่มีที่พึ่ง แต่ที่พึ่งได้จริงๆ ก็คือ เริ่มด้วยความรู้ตั้งแต่ต้นว่าความจริงนั้นคืออะไร ทีละอย่าง ทีละอย่าง อย่างเช่น ทรงแสดงเรื่องของจิต ถ้าไม่เข้าใจจิตเลย จะฝึกจิตได้ไหม
เพราะเหตุว่า จิตเกิด เป็นปกติ มีเหตุปัจจัยก็เกิดเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ปกติของจิตเป็นจิตที่ดี หรือไม่ดี ก็ไม่รู้ เพราะเหตุว่า ยังไม่รู้จักจิตเลย แต่เมื่อฟังเรื่องของจิต ว่าเป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ เริ่มเข้าใจว่า ขณะนี้ก็มีธาตุรู้ มีสภาพรู้ ซึ่งมีหลากหลายประเภท ตามเหตุปัจจัย จิตที่ไม่ดีก็มี เพราะเหตุว่า มีปัจจัยเกิดแล้ว มีแล้ว เป็นอกุศลแล้ว ขณะนั้นเป็นจิต แต่ก็ไม่รู้เลยว่าเป็นจิต กุศลจิตก็มี ถ้าไม่ฟังพระธรรมเลย เป็นกุศลก็ไม่รู้ว่า จิตเป็นจิตที่เป็นกุศล แต่เมื่อเริ่มฟังพระธรรม ก็เริ่มเข้าใจว่า เป็นธรรมทีละอย่าง เมื่อมีความเข้าใจถูก มีความแห็นถูก ขณะนั้นก็เริ่มรู้จักจิต และก็เริ่มรู้ว่าไม่มีใครที่จะบังคับบัญชาอะไรได้เลย แต่เมื่อฟังพระธรรมขณะนั้น มีปัจจัยที่จะให้เกิดความเห็นถูก จากการได้ยินได้ฟัง ขณะที่ฟังก็ไม่ได้บังคับเลย ว่าจะให้จิต หรือว่าความเข้าใจปัญญาเกิดได้ แต่เมื่อมีปัจจัยแล้ว จึงเกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นการเริ่มจากการที่ฟังว่า ไม่มีบุคคลใดที่จะบังคับบัญชาได้ แต่ว่าธรรมทุกอย่าง ก็ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย การที่จะมีที่พึ่ง ก็ต้องเริ่มจากความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงจะเป็นที่พึ่งได้
อ.กุลวิไล บัณฑิตก็เป็นผู้ที่รอบรู้ ในสิ่งที่มีจริงนั่นเอง และเมื่อวานนี้เราก็ได้สนทนากัน คงได้ยินคำว่า “ฐานะ” และ “อฐานะ” สิ่งที่เป็นไปได้ กับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือว่า “รู้เหตุ” และ “ไม่ใช่เหตุ” นั่นเอง เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นบัณฑิต ยังเป็นผู้ฉลาดในฐานะ และ อฐานะ พอพูดถึง ตนเป็นที่พึ่งของตน ตามความเป็นจริงแล้ว ตนในที่นี้ก็ต้องกุศลธรรมนั่นเอง อกุศลธรรมพึ่งไม่ได้ เพราะว่ากุศลธรรมให้ผล คือกุศลวิบาก แต่อกุศลธรรมให้ผลคือ อกุศลวิบากนั่นเอง ที่เราได้รับทุกข์ทางกาย ก็เป็นเพราะผลของอกุศลกรรม แต่ถ้าสุขทางกายก็เป็นเพราะผลของกุศลกรรมนั่นเอง
เพราะฉะนั้น กุศลกรรมให้ผล ก็คือได้รับรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะที่ดีนั่นเอง แต่พึ่งแค่นี้ไม่เพียงพอ ถ้าจะพึ่งจริงๆ ก็ต้องถึงความเป็นผู้ที่หมดจดจากกิเลส แล้วก็เป็นผู้ที่พ้นทุกข์ได้ ซึ่งก็มาในประเด็นคำถามข้อที่ ๒ ท่านถามว่าในการเดินทางจากที่หนึ่ง ไปสู่อีกที่หนึ่ง ต้องมีเสบียง อันจำเป็นระหว่างทาง และอะไรจะเป็นเสบียงที่แท้จริงของบุคคลที่ยังเดินทางในสังสารวัฎฏ์
อ.ธิดารัตน์ การสะสมกุศลธรรม กุศลธรรมที่เป็นทรัพย์ก็คือ ศรัทธาเป็นต้น (อริยทรัพย์ ๗ คือ ศรัทธา ศีล หิริโอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา) เป็นทรัพย์ และเป็นเสบียงด้วย ท่านอุปมาศรัทธาไว้หลายอย่าง นอกจากเป็นทรัพย์แล้ว อย่างอุปมาเหมือนกับเป็นเมล็ดพืช เป็นเสบียง ซึ่งเวลาที่จะเดินทางไกล ที่จะข้ามสังสารวัฎฏ์ ก็คืออาศัยกุศลธรรม ที่เป็นทรัพย์ หรือว่าเป็นสามารถเป็นเสบียง คือเป็นปัจจัยให้ มีผลก็คือกุศลวิบาก ในชาติต่อๆ มาที่จะอุปถัมภ์ ให้ได้ยินได้ฟังธรรมอีก ขณะนี้ขณะที่กุศลธรรมเกิดมีความเข้าใจ มีศรัทธา มีปัญญา มีทรัพย์ทั้งหลายซึ่งเป็นกุศลธรรม ก็จะทำให้ค่อยๆ ที่จะสะสมเสบียง เพื่อที่จะเดินทางข้ามสังสารวัฎฏ์ อันนี้ก็เป็นเสบียงอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ พูดคำว่าเสบียง รู้จักเสบียงหรือยัง เสบียง คืออะไรคุณคำปั่น
อ.คำปั่น คำว่าเสบียงก็เป็นคำไทย แต่ถ้าหากว่าดูจากภาษาบาลี ซึ่งก็เคยอ่านในพระสูตร สูตรหนึ่ง ชื่อว่า ปาเถยยสูตร ซึ่งปาเถยยสูตรเป็นชื่อสูตร หมายถึงเสบียง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากศัพท์ที่เป็นภาษาบาลีว่า ปาเถยยะ ท่านก็ให้คำจำกัดความในเรื่องของศัพท์ วิเคราะห์ไว้ว่า สิ่งที่เป็นเครื่องเกื้อกูลในหนทาง อันนี้คือโดยความหมายของคำว่าเสบียง ซึ่งก็มีทั้งเสบียงที่เป็น สิ่งที่จำเป็นในการเดินทาง ก็จะต้องมีการเตรียมข้าวปลาอาหารต่างๆ ที่จะเป็นที่พึ่งในระหว่างทาง อันนี้ก็พูดถึงชีวิตโดยปกติทั่วไปที่ยังต้องมีการเดินทาง แต่ถ้าพูดถึงเสบียงที่จะเป็นที่พึ่งจริงๆ อย่างที่อาจารย์ธิดารัตน์ได้กล่าวไว้ ก็ต้องหมายถึง ธรรมฝ่ายดีเท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งได้จริงๆ ซึ่งในพระสูตรนี้ก็มีคำถามที่ เทวดาได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อะไรเป็นเครื่องรวบรวมซึ่งเสบียง ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสต่อเทวดาท่านนี้ว่า ศรัทธาเป็นสิ่งที่รวบรวมซึ่งเสบียง ก็จะขอกราบเรียนท่านอาจารย์ ได้อธิบายเพิ่มเติมด้วย
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วเข้าใจหมดไหม แต่ละคำ แต่ละคำ ที่ได้ยิน ต้องไตร่ตรอง และถ้าไม่เดินทาง ต้องมีเสบียงไหม หรือว่าเฉพาะเดินทางเท่านั้น ถ้าไม่คิดแล้วเราจะเข้าใจละเอียดขึ้นยิ่งขึ้นไหม ว่าเฉพาะเดินทาง ค่อยหาเสบียง ทุกวันนี้ไม่ต้องหรืออย่างไร นี้ก็เป็นสิ่งที่น่าคิดใช่ไหม ถ้าเราคิดเพียงเท่านั้น แต่ทุกเรื่องต้องเข้าใจอย่างหยาบๆ มาหาละเอียดขึ้น
เพราะฉะนั้น เวลาเดินทาง เราก็มองเห็นได้ ย้ายที่อยู่จากบ้านจะลำบากหรือจะสบาย ทุกคนก็บอกว่าบ้านเป็นที่ที่สบายที่สุด จะไปไหนทีจริงๆ แล้วลำบาก ต้องเตรียมจัดกระเป๋า ข้าวของ อาหารทุกสิ่งทุกอย่างหมดเลย ถ้าไม่ไปก็ไม่ต้องลำบากที่จะเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น ก็จะต้องไตร่ตรองทุกคำที่ได้ยิน ว่า แสดงเรื่องของการเดินทาง ให้เห็นการที่จะต้องเป็นภาระ ที่จะต้องจัดหาสิ่งที่อำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายฉันใด ไม่ต้องเดินทาง ต้องมีเสบียงไหม ต้องมีผลของกรรมไหม ที่แม้ไม่ต้องเดินทางก็เป็นทุกข์ได้ หิวไม่ต้องเดินทาง อยู่กับบ้านก็หิวได้ ป่วยไข้ได้เจ็บไม่ต้องเดินทางอยู่กับบ้านก็ป่วยไข้ได้ เจ็บได้
เพราะฉะนั้น การฟังธรรมก็คือต้องเข้าใจทั้งที่ทรงอุปมา ทรงแสดงให้เห็น เป็นตัวอย่างที่เห็นชัด และตามความเป็นจริงว่า แท้ที่จริงแล้ว เมื่อเกิดแล้วต้องเป็นไป แต่ว่าการเป็นไปของแต่ละคน ตามเหตุ ตามปัจจัย ปัจจัยที่แต่ละคนสะสมมาแล้วมาก ก็เป็นปัจจัยที่จะให้ได้รับความสะดวกสบายมาก แต่ถ้าสะสมมาน้อย ความเดือดร้อนก็มาก
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเมื่อไหร่ทั้งหมด ก็คือความเข้าใจถูกต้องในความเป็นธรรม ในความเป็นปรมัตถธรรม ในความเป็นธรรมซึ่งต้องเกิด ไม่เกิดไม่ได้เลย มีใครที่จะไม่ให้เกิดบ้าง และเกิดแล้วก็ต้องเป็นไปตามการสะสม คือเสบียงด้วย เพราะฉะนั้น เสบียงของการเดินทางชาตินี้ กับ เสบียงของการเดินทางชาติหน้า ลองคิดดู ชาตินี้เตรียมเล็กๆ น้อยๆ ก็ไปได้แล้ว ใกล้ไกลแล้วแต่ แต่การเดินทางไม่มีสิ้นสุดจากชาติหนึ่งไปอีกชาติหนึ่ง
เพราะฉะนั้น เสบียงจริงๆ ไม่ใช่เฉพาะเดินทางชั่วครั้งชั่วคราวในขณะที่กำลังเป็นมนุษย์ แต่ทางไกลทุกชาติ ซึ่งถ้าไม่มีกุศลธรรม ไม่มีเสบียง ผลก็คือว่าอย่างที่เรามองเห็น แต่ละชีวิตก็ต่างกันไป มีทั้งสุข ทั้งทุกข์ มีทั้งลำบากมาก ลำบากน้อย ตามที่แล้วแต่ว่ามีเสบียงมากน้อยแค่ไหน
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของความจริง ที่ทรงแสดงให้เข้าใจตามลำดับ ซึ่งจะต้องพิจารณาด้วยว่า ถ้าจะกล่าวถึงศรัทธา ความผ่องใสของจิต ฟังธรรมเข้าใจขณะไหน ผ่องใสหรือเศร้าหมองในขณะที่เข้าใจ ก็ต้องเป็นความผ่องใสที่ได้เข้าใจ เทียบกันได้กับขณะที่ไม่ได้ฟัง หนักด้วยความไม่รู้ ด้วยโลภะ ด้วยโทสะ ด้วยเรื่องราวต่างๆ มากมาย แต่พอมีความเข้าใจถูกต้อง ในความเป็นจริงว่า เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้น เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ก็จะเข้าใจในเหตุในผลด้วย แล้วจะเข้าใจความหมายของเสบียงด้วยว่า การเดินทางไม่ใช่เพียงเฉพาะในโลกนี้ แต่จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นด้วย และขณะใดก็ตามที่ผ่องใสเป็นกุศล ขณะนั้นก็จะทำให้ กุศลต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย จากการที่ไม่เคยเข้าใจ เป็นเพียงขั้นทาน ขั้นศีล ก็จะมีขั้นฟัง จนกระทั่งมีความเห็นที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นด้วย
อ.กุลวิไล แสดงว่าเสบียงในที่นี้ ไม่ต้องคอยหา เวลาที่จะเดินทาง แต่ทุกขณะ ในขณะนี้เอง เป็นผู้กำลังเดินทางอยู่ เพราะว่ายังเป็นไปอยู่ ยังมีปัจจัยให้เกิด แล้วก็ยังต้องเดินทางทุกขณะ ซึ่งจะมีเสบียงหรือเปล่า เพราะว่าเสบียงในที่นี้ ก็ต้องหมายถึงธรรมฝ่ายดี ซึ่งท่านอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่าง แม้แต่สภาพธรรมที่เป็นศรัทธาด้วย แต่ปัญญาเป็นความเห็นถูกตามความเป็นจริง แล้วที่เรากล่าวถึงบันฑิตก็ไม่พ้นปัญญานั่นเอง เพราะว่า ต้องรู้สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ และเสบียงที่สำคัญอันหนึ่งก็คือปัญญาด้วย
ท่านอาจารย์ แน่นอน กุศลธรรมทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีศรัทธาจะฟังธรรมไหม
อ.กุลวิไล ไม่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เป็นธรรมฝ่ายดีก็เกิดร่วมกัน ต่างก็ทำกิจหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นๆ
อ.กุลวิไล อาจารย์พูดถึงลักษณะของศรัทธา ถ้าท่านไม่เคยฟังพระธรรม ก็อาจจะไม่คุ้นเคยกับสภาพธรรม ที่มีจริงในขณะนี้ แม้แต่ศรัทธา ศรัทธาไม่ได้ปรากฏทางตา เห็นศรัทธาไม่ได้ศรัทธาเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม ขณะที่เข้าใจธรรมขณะนี้ ทุกท่านฟังธรรมอยู่ จะรู้หรือไม่ก็ตาม ขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นผ่องใส เบา ไม่ได้หนักเหมือนขณะที่ไม่รู้ หรือว่าสงสัย
เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่เป็นกุศลธรรม ไม่ใช่อกุศลธรรม ปัญญาเท่านั้น สามารถจะรู้ตามความเป็นจริงได้ ขณะนี้ก็ต้องมีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ได้ แต่เราจะรู้ตามความเป็นจริงหรือเปล่า และสิ่งเหล่านี้เป็นเสบียงแน่นอน เพราะว่าธรรมฝ่ายดี ต้องให้ผลที่ดี คุณคำปั่นมีคำว่า สังสารวัฎฏ์ ความหมายของคำว่าสังสารวัฎฏ์เป็นอย่างไร
อ.คำปั่น จากที่ได้ฟังท่านอาจารย์กล่าว เมื่อสักครู่นี้ ก็ไพเราะ แล้วเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญขึ้นของกุศลธรรมในชีวิตประจำวัน ที่ต้องมีศรัทธา ซึ่งก็เป็นความผ่องใสแห่งจิต เพราะมีศรัทธา จึงมีการฟังพระธรรม เพราะมีศรัทธา จึงมีการเจริญกุศลประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงในชีวิต และเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูล ให้เดินทางในสังสารวัฎฏ์ ด้วยความไม่เดือดร้อน จนกว่าจะมีปัญญาถึงขั้นที่จะเจริญขึ้น สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องเดินทางอีก ไม่ต้องเดินทางไกลในสังสารวัฎฏ์ ซึ่งคำว่า สังสารวัฎฏ์ ผู้ที่เป็นชาวพุทธก็คงจะได้ยินคำนี้อยู่เสมอๆ ซึ่งเมื่อแปลโดยศัพท์ ก็หมายถึง การท่องเที่ยว วนเวียนไป สังสาระ คือการท่องเที่ยว วัฎฎะ คือการวนเวียน จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ตัวตน สัตว์บุคคลที่วนเวียน แต่ว่ามีธรรมที่เกิดดับ สืบต่อกัน อย่างไม่ขาดสาย ซึ่งความหมายของสังสาระ ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านก็ได้ขยายความไว้ว่า ลำดับแห่งการเกิดดับ สืบต่อกัน ของขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นไปอย่างไม่ขาดสาย ชื่อว่า สังสาระ
เพราะฉะนั้น แม้แต่ขณะนี้ ก็เป็นขณะ แต่ละขณะในสังสารวัฎฏ์ด้วยเช่นกัน เพราะเหตุว่า มีธรรมเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวอย่างกว้างๆ ท่านก็แสดงถึงการ ท่องเที่ยวจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในสังสารวัฏฏ์ที่ผ่านมาแต่ละคน แต่ละท่านนั้น เกิดมานับชาติไม่ถ้วน เป็นมาทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว แต่ว่าในขณะนี้ ก็ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งก็เป็นผลของกุศลกรรม แล้วเพราะความดี ที่ได้สะสมมาแล้วแต่ปางก่อนจึงทำให้มีศรัทธา มีการเห็นประโยชน์ที่จะฟังพระธรรม ที่จะศึกษาพระธรรม ที่จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูล ให้ความดีประการต่างๆ เจริญขึ้นในชีวิตประจำวัน และความดีเหล่านี้ก็จะเป็นที่พึ่ง เพราะเหตุว่า ในขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นนั้น ไม่นำมาซึ่งความทุกข์ ความเดือดร้อนแก่ใคร และเมื่อถึงคราวที่กุศลให้ผล ก็ให้ผลเป็นผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเท่านั้น นี้คือความเป็นจริงของสภาพธรรม ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากขณะนี้เลย แม้แต่ขณะนี้ก็เป็นสังสารวัฎฏ์ด้วย
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์เคยกล่าวว่า แข็งที่ปรากฏทางกาย ก็เป็นหนึ่งในสังสารวัฎฏ์ กราบเรียนท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีแข็ง และ รู้แข็ง แล้วสังสารวัฎฏ์จะอยู่ที่ไหน เพราะเป็นการเกิดดับสืบต่อ จะขาดสักหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะว่าสืบต่ออย่างเร็ว จนกระทั่งไม่ปรากฏการเกิดดับ เข้าใจมีศรัทธาไหม รู้หรือเปล่าว่าขณะเข้าใจผ่องใส จิตไม่เศร้าหมองด้วยความไม่รู้
เพราะฉะนั้น ศรัทธาเกิดกับจิตที่ดีงามทุกประเภท และก็มีระดับต่างๆ ขั้นด้วย เพราะฉะนั้น ศรัทธาของผู้ที่เป็นปุถุชน กับผู้ที่เป็นกัลยาณปุถุชน กับผู้ที่เป็นพระอริยบุคคล ก็ต่างกัน เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ที่จะเข้าใจธรรมแต่ละอย่าง อาศัยการฟัง แล้วเข้าใจ ไม่ใช่เวลาที่มีความเห็นผิดก็บอกว่าคนนั้นมีศรัทธา เป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่าขณะนั้นเมื่อเห็นผิด จะผ่องใสได้อย่างไร แต่ว่าขณะใดก็ตามที่จิตดี มีธรรมฝ่ายดีเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นสภาพที่ผ่องใส ปราศจากอกุศล เป็นลักษณะของศรัทธา
เพราะฉะนั้น ในขณะที่ให้ทาน หรือว่ามีกายสุจริต วาจาสุจริต หรือมโนสุจริต ไม่ได้คิดชั่ว คิดร้าย ขณะนั้นก็ต้องมีลักษณะของสภาพที่ผ่องใส เป็นกุศลหรือว่าเป็นสภาพที่ดีงาม และก็ตามลำดับขั้นด้วย ว่าขณะที่มีความเข้าใจธรรม ก็ต้องต่างกับขณะที่ไม่เข้าใจธรรม และก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าใจสภาพธรรมแต่ละอย่าง ก็คือให้เข้าใจขึ้น ให้เข้าใจขึ้น ในสิ่งที่ได้ฟัง ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจทั้งหมดได้ทีเดียว
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 721
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 722
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 723
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 724
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 725
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 726
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 727
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 728
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 729
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 730
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 731
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 732
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 733
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 734
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 735
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 736
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 737
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 738
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 739
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 740
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 741
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 742
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 743
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 744
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 745
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 746
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 747
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 748
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 749
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 750
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 751
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 752
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 753
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 754
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 755
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 756
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 757
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 758
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 759
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 760
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 761
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 762
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 763
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 764
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 765
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 766
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 767
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 768
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 769
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 770
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 771
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 772
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 773
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 774
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 775
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 776
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 777
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 778
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 779
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 780