พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 779
ตอนที่ ๗๗๙
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ผู้ฟัง ขอเรียนสนทนาในประเด็นว่า ที่พึ่ง คือ กุศลธรรม แล้วอกุศลธรรมก็ไปอบาย มีการเข้าใจผิดกันว่า ไม่ต้องสนใจอะไรทั้งนั้น ก็สนใจที่จะอบรมเจริญปัญญา เพราะทราบว่า ถ้ามีปัญญาก็จะออกจากสังสารวัฏฏ์ได้ กลายเป็นว่า มุ่งไปที่การศึกษา ส่วนกุศลอย่างอื่น ก็ไม่จำเป็น แต่ทำอย่างไรก็ได้ให้มีปัญญาที่จะรู้ความจริงแล้วก็จะได้ออกจากสังสารวัฏฏ์ ตรงนี้ก็มีการเข้าใจผิดกัน
ขอเรียนสนทนากับท่านอาจารย์ว่า จริงๆ แล้วถ้าเข้าใจจริงๆ ถ้าปัญญาเข้าใจจริงๆ ก็ทราบว่า อกุศลเป็นสิ่งที่ไม่ดีต้องขัดเกลา แล้วกุศลควรเจริญ อกุศลแม้เล็กน้อยก็ควรละหรือขัดเกลา แต่กุศลก็ควรเจริญ ซึ่งไม่ใช่ว่า พอมาศึกษาฟังท่านอาจารย์แล้วก็จะมุ่งไปที่จะอบรมปัญญาเท่านั้น มีการเข้าใจผิดเช่นนี้
ท่านอาจารย์ เข้าใจผิดได้ เพราะยังมีความไม่รู้อยู่ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ แล้วก็เห็นว่า ปัญญาไม่เคยชวนใครไปไม่ทำกุศล
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนี้ก็แปลว่า ไม่ใช่เข้าใจถูก
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า จะไม่ทำกุศล คิดดู นั่นเป็นหน้าที่ของปัญญาหรือเปล่า
ผู้ฟัง ถ้าปัญญาก็ต้องทำกุศล ที่เป็นเช่นนั้นก็เหมือนว่า บางครั้งจะทำอกุศลก็เพราะสะสมมา อะไรประมาณนี้ ก็เลยกลายเป็นว่า ศึกษาแบบเอาธรรมมาตีความเข้าข้างตัวเอง
ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่ถ้าไม่ละเอียดจะเป็นอย่างนี้ เป็นเราเสมอ เราเข้าใจแค่ไหน และเราจะทำอะไร เพื่อเราแน่ๆ แต่ว่าถ้าเข้าใจธรรมแล้ว ก็เป็นเรื่องของการชำระจิตจากอกุศล โดยกุศลทุกประเภท ไม่ใช่ว่า เว้นโน่นเว้นนี่ ใช่ไหม เพราะเหตุว่า เวลานี้ถ้าใครสามารถที่จะเห็นจิตของตนเอง เป็นอย่างไร พูดไม่ออก ใช่ไหม เน่าเหม็น ขยะ ประมาณอย่างไรได้ไหว กับความไม่รู้ซึ่งเพิ่มขึ้นๆ
เพราะฉะนั้น ชำระจิตให้สะอาดจากอกุศลหรือว่าปล่อยไว้เป็นอย่างนั้น จะเอาแต่ปัญญาหรืออะไร แต่ก็ต้องเข้าใจความจริงว่า ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ที่จะเป็นอกุศลนั้นไม่ได้เลย ไม่ว่าขณะใดก็ตาม ขณะนั้นต้องเป็นสิ่งที่ดีงามที่เกิดขึ้นตามควรแก่เหตุปัจจัยที่ได้สะสมมา บางคนสะสมมา ที่จะให้อาหารสัตว์เลี้ยงหรือว่าสัตว์ทั่วๆ ไปก็ได้ อย่างที่คุณอรรณพเคยพูดบอกว่า “ขณะนั้นสนุกหรือเปล่า?” ลองคิดดู เหมือนกับสงสารสัตว์ใช่ไหม กำลังหิว เราให้เขาจะได้หายหิวแต่ขณะนั้นก็เพลิดเพลินในการให้ ลิงไต่ขึ้นมาบนรถ “ตัวนี้ยังไม่ได้” หรืออะไรอย่างนี้ ก็แล้วแต่จะเป็นไป
เพราะฉะนั้น เรื่องของจิตเป็นเรื่องที่ละเอียดมากจริงๆ จะรู้ได้เมื่อเกิดแล้ว ไม่ใช่เป็นเราเตรียมตัวว่า จะทำอย่างนี้เพื่ออย่างนั้นเลย ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีวันจะรู้จักจิต ที่เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัยซึ่งยาก เพราะเราไม่คุ้นเคยต่อการเข้าใจสิ่งที่เกิดแล้วปรากฏตามปกติ ในขณะนี้ แต่คิดว่า มีตัวตนที่เราจะต้องไปทำให้เข้าใจ ให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้ แต่ลืมว่า ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลขณะใดก็ตาม สิ่งนั้นเกิดแล้วตามความเป็นจริงที่เป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น แม้แต่การที่จะชำระจิตให้ผ่องใส ที่จะค่อยๆ พ้นจากโรคร้าย หรือความเน่าเหม็น หรือความสกปรก หรือขยะทั้งหลายได้ ก็ต้องอาศัยกาลเวลา และคนอื่นช่วยไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะไปพึ่งใครเป็นไปไม่ได้เลย แต่ว่า สามารถที่จะช่วยให้คนอื่นเข้าใจถูกได้ถ้าเป็นไปได้ นั่นเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด เพราะว่า ถึงแม้จะช่วยสักเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องกลับมาเป็นอย่างนั้นอีก คือ ถ้าไม่มีปัญญาก็ยังเป็นเหมือนเดิม และอกุศลก็เกิดขึ้น และเพิ่มขึ้นด้วย
ผู้ฟัง นั่นหมายความว่า ผู้ที่คิดว่า เข้าใจธรรมแต่ไม่ขัดเกลากิเลส ก็เหมือน ความรักตัวเอง แล้วก็เข้าใจว่า เข้าใจธรรม แล้วก็มุ่งที่จะศึกษาว่า ขณะนี้เป็นลักษณะสภาพธรรมแต่ละลักษณะอย่างไร ควรรู้อย่างไร ก็เป็นการที่ไม่เข้าใจจริงๆ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็มานั่งเทียบ “วันนี้เราเข้าใจแค่ไหน” มาแล้ว “แล้วเมื่อไหร่เราจะรู้มากกว่านี้” หรือถึงกับว่า “แล้วทำอย่างไรถึงจะรู้แจ้งสภาพธรรมตามที่ได้ฟัง” นี้ก็คือ ผิดทั้งหมด เพราะเหตุว่า เป็นเรา ฟังด้วยความเป็นเรา และเพื่อเราเพื่อความเป็นตัวตน ไม่ใช่เพื่อรู้เมื่อไหร่ ขณะนั้นก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็มีปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ การที่จะรู้จักธรรมจริงๆ ก็คือ รู้ธรรมที่เกิดแล้วคือ เดี๋ยวนี้ที่กำลังปรากฏ นี่เป็นหนทางเดียว
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่า “ธรรมเป็นเรื่องละเอียด” เพราะฉะนั้น เข้าใจผิดนิดเดียวก็ผิดแล้ว จะมีตลอดเลยว่า เข้าใจผิดนิดเดียวก็ผิดแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ใครดับสีลัพพตปรามาสกายคันถะ และสีลัพพตุปาทาน เห็นไหมแค่ชื่อก็งง เพราะว่า เป็นภาษบาลี แต่ทั้งหมดคือ ความประพฤติเป็นไปในความเห็นผิดทั้งหมด อะไรจะดับได้ เป็นธรรมที่มีจริง การเห็นผิดก็มีจริง การประพฤติที่ผิดๆ ก็มีจริง เพราะฉะนั้น อะไรจะดับสีลัพพตปรามาสกายคันถะ และสีลัพพตุปาทานได้
ผู้ฟัง เท่าที่ศึกษาก็เป็นโสดาปัตติมรรค
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นอริยมรรคคือ โสตาปัตติมรรค เพราะฉะนั้น ระหว่างที่ยังไม่ถึง รู้ไหมว่า ขณะไหนเป็นสีลัพพตปรามาส ผิดเมื่อไหร่ เมื่อนั้นแล้วแต่ว่าจะมากหรือน้อย คนที่ยังไม่รู้หนทาง ไม่เข้าใจธรรมเลย ก็เชื่อไปหมดเลย เชื่ออะไรบ้าง ต้นกล้วยประหลาดๆ อะไรที่ประหลาดๆ เชื่อหมดเลย นับถือหมดเลย บูชาหมดเลย นั่นอะไร ช่วยอะไรได้ เป็นที่พึ่งอย่างไรได้
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ นั่นอย่างหยาบ แล้วอย่างละเอียดขึ้นแม้แต่การเข้าใจธรรมผิดซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิด ก็เป็นสีลัพพตปรามาส มัดไว้ คล้องไว้ ไม่ให้ไปสู่ความเห็นที่ถูก “ฟังธรรมต้องใส่สีขาวหรือเปล่า” สีลัพพตปรามาสกายคันถะหรือเปล่า ถ้ายึดมั่นก็อุปาทาน บางคนก็บอกว่า “มาฟังธรรมต้องใส่สีขาวหรือเปล่า” “ต้องแต่งตัวอย่างไร” ไม่มีเลยในพระไตรปิฎก เป็นปกติ ใครที่ไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปทั้งๆ ที่เป็นปกติอย่างนั้น ไม่ต้องไปเปลี่ยนเสื้อผ้า ไม่ต้องไปทำอะไรเลยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า อย่างหยาบเห็นหรือยัง ยังไม่เห็น แล้วอย่างละเอียดล่ะ แม้แต่ความจงใจที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่มรรคมีองค์ ๘ ไม่ใช่ด้วยเจตนาต้องการ แต่ก็มี ตราบใดที่ยังไม่ใช่หนทางที่ถูก เพราะฉะนั้น ความเห็นถูกเท่านั้นที่ค่อยๆ ละความเห็นผิด และการปฏิบัติผิด จนผู้นั้นก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า ปัญญาจริงๆ ก็คือ เข้าใจในธรรมที่เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ แล้วก็สามารถที่จะละคลายความติดข้องด้วย
เพราะฉะนั้น หนทางนี้ก็เป็นหนทางที่จะนำไปสู่ การที่จะไม่ต้องเกิด อย่างที่บางคนบอกว่า“แล้วไม่เกิดจะทำอย่างไร?” ไม่ใช่ทำ หนทางเดียวคือ เข้าใจเพิ่มขึ้นในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ตรงนี้ท่านอาจารย์ก็จะย้ำว่า แม้ผิดเพียงนิดเดียวก็ไม่ใช่แล้ว ก็จะขอความกรุณาท่านอาจารย์ตอกย้ำให้พวกเราที่ผิดตรงนั้นให้ถูก เพราะว่าจะไม่เจอหนทางที่ถูกเลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น หนทางมีจริง แต่เห็นยาก และลึกซึ้ง ปกติธรรมดาอย่างนี้เอง กำลังเข้าใจธรรม สัมมาทิฏฐิเกิด เป็นหนทางหรือเปล่า
ผู้ฟัง ถ้าเข้าใจถูก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แม้แต่ฟังแล้วมีวิตกคือ ตรึกถึงสิ่งที่ปรากฏด้วยความเห็นที่ถูกต้อง เพราะมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นก็เป็นหนทาง แต่ว่า ยังไม่ถึงกับการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมจนสมบูรณ์ เพราะเหตุว่า มีสีลัพพตปรามาสซึ่งจะต้องค่อยๆ คลาย ไม่ใช่ใครจะไปดับสีลัพพตปรามาสได้ทันทีใช่ไหม กำลังจงใจจะรู้ ถ้าไม่มีปัญญาก็นั่งจ้องไป จงใจไป เพราะไม่เข้าใจ แต่พอได้ฟังรู้ว่า ขณะนั้นผิด เพราะโลภะความต้องการเกิดขึ้นก็จะทำให้ไม่เป็นอย่างนั้น แต่ก็ไม่ใช่ตลอดไป เป็นเมื่อไหร่ ก็รู้เมื่อนั้น เพราะฉะนั้น ทั้งหมดก็เป็นเรื่องของปัญญา ความเห็นถูกต้องที่เพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่า “ไม่ต้องทำอะไร ฟังให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง” เพราะท่านอาจารย์กล่าวถึงว่า ขณะนี้มีลักษณะสภาพธรรมแต่ละอย่างที่ปรากฏ ซึ่งถ้าเข้าใจก็คือ เป็นสังสารวัฏฏ์ การเกิดดับสืบต่อเนื่องของขันธ์ ๕ ก็คือ ขณะนี้นั่นเอง ในตรงนี้ถ้าฟังให้เข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่กำลังฟังก็จะไม่ไปผิดเช่นนั้น
ท่านอาจารย์ แล้วก็ดับ แล้วก็จดจ้อง แต่ปัญญาก็สามารถที่จะรู้ว่า ขณะนั้นผิด เพราะฉะนั้นค่อยๆ ละคลายจนกว่าจะดับ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็ไปดับได้เลย กิเลสทั้งหมด เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะมีปัญญาเกิดขึ้นมีกำลัง โดยไม่มีการสะสมทีละเล็กทีละน้อยจึงสามารถที่จะรู้ได้ว่า คลายหรือเปล่า หรือยังคงเป็นเราเหนียวแน่น ฟังธรรมทีไรก็เรานั่นแหละฟัง ฟังแล้วก็เรามีโลภะ เรามีโทสะ ไม่ได้เข้าใจเลยว่า ขณะนั้นก็เป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดแล้วดับไป
เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัยความเข้าใจที่มั่นคง สัญญาความจำที่มั่นคง ไม่ได้ไปจำเรื่องอื่น แต่จำในความเป็นสิ่งที่มีจริง ที่มีลักษณะแต่ละอย่าง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แม้แต่ในขณะนี้เห็นอะไรก็ลืมอีกแล้วใช่ไหมว่า เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ เมื่อไหร่มั่นคงเมื่อนั้นคือ ไม่มีการที่จะจดจ้อง ไม่มีการที่จะต้องการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะสิ่งนั้นเกิดแล้วดับ
อ.กุลวิไล ถ้าศึกษาธรรมต้องมีความมั่นคงว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ที่เป็นอนัตตาเพราะว่า ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด บังคับบัญชาไม่ได้ และขณะนี้ก็มีธรรมที่กำลังปรากฏ แต่เรารู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏหรือเปล่า ต้องอาศัยการฟังพระธรรมนั่นเอง ท่านอาจารย์พูดถึงเรื่องขยะ ท่านอาจารย์กล่าวว่า ถ้าเรารู้ลักษณะจิตจริงๆ จะรู้สึกว่า ทั้งเหม็น ทั้งเน่า นี่ก็คือ สภาพของอกุศลจิตมีมากในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ ถามนิดเดียวใครมีขยะน้อย ได้ยินคำว่า “ขยะ” น้อยแค่ไหนหรือว่ามากแค่ไหน นี่คือ การที่เพียงได้ยินคำนี้ก็สามารถที่จะเข้าใจจิตของตนเองด้วยความตรงว่า ขณะใดก็ตามที่ไม่รู้ความจริง ขณะนั้นก็ต้องเป็นอกุศล และอกุศลก็มีตั้งแต่ ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา แล้วยังมีต่อไปอีก ติดข้อง แล้วยังมีต่อไปอีก เมื่อไม่ได้สิ่งที่พอใจก็โกรธเคือง แล้วยังมีต่อไปอีก โกรธคนนั้น พยาบาทคนนี้ ทำทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วอย่างนี้จะไม่เน่าหรือ สะสมไปเรื่อยๆ ทกวันมากมาย แล้วกลิ่นจะแค่ไหน แล้วความเน่าจะแค่ไหน ถ้าไม่มีธรรมที่จะเยียวยารักษา ก็เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เพิ่มขึ้นด้วย
อ.กุลวิไล มีผู้ถามว่า เวลานั่งฟังพระธรรม ก็มักจะได้ยินว่า “ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้” ข้อความดังกล่าวนี้ มุ่งหมายถึงอะไร มีความละเอียดเพียงใด
ท่านอาจารย์ มีสัตว์ มีบุคคล มีทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเดิม เป็นความรู้อะไรหรือเปล่าในการฟัง ถ้าฟังก็ยังคงมีสัตว์ มีบุคคล มีตัวตนเหมือนเดิม ก็ไม่ต้องฟังอะไร เพราะเหตุว่า เหมือนเดิม แต่ที่ฟังเพราะได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง แล้วก็จะรู้ได้ว่า ข้อความที่ได้ยินนี้มาจากไหน เป็นจริงหรือเปล่า ไม่ใช่พอฟังแล้วก็เชื่อทันทีว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล แต่แล้วมีอะไร ถ้าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล แล้วมีอะไร
เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้มีอะไรหรือเปล่าจริงๆ หรือว่าไม่มีเลย ถ้าไม่มีเลย ถูกไหม ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่มีจิต ไม่มีคิดนึก จริงหรือเปล่า ก็ไม่จริง เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงทั้งหมดที่เคยเข้าใจว่า เป็นสัตว์ บุคคล เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ ความจริงที่สุดของสิ่งนั้นซึ่งเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย คืออะไร ก็ได้ฟังสิ่งซึ่งไม่เคยฟังมาก่อน แล้วก็พิจารณา แล้วก็เข้าใจความจริงว่า ถูกหรือผิด จริงหรือไม่ ถ้าเป็นสิ่งที่ถูกก็ต้องถูก ถ้าไม่จริงจะไปบอกว่าถูกก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น การฟังเพื่อประโยชน์ของผู้ฟัง ให้เข้าใจโดยการที่พิจารณาจนกระทั่งเป็นความเห็นถูก ไม่ใช่ถามคนอื่น ถ้าถามคนอื่นก็คือว่า ขณะนั้นไม่ได้ฟัง แต่ฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่ได้ฟังมากน้อยแค่ไหน ก็สามารถที่จะสนทนาเพื่อที่จะให้เข้าใจเพิ่มขึ้นได้
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ได้เปิดประเด็นถามว่า “ถ้าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล แล้วมีอะไร” ต้องรู้ความจริงว่า สิ่งที่มีจริงก็คือ “ธรรม” นั่นเอง แต่เพราะเราไม่รู้ความเป็นธรรมนั่นเอง แล้วเรายึดถือสิ่งที่ปรากฏในขณะนี้ว่า เป็นคน สัตว์ สิ่งของ แล้วความจริงเหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งท่านอาจารย์ก็ให้ความเข้าใจอยู่สม่ำเสมอว่า ถ้าเป็นธรรมแล้วต้องมีลักษณะ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน และสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไม่ได้เพราะว่า ถ้าเป็นธรรมแล้วก็ต้องเป็นสิ่งที่เป็นเฉพาะสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏให้รู้ได้ทางทวารต่างๆ มีท่านที่เขียนคำถามมาก็อาจจะสืบเนื่องจากที่เราสนทนาช่วงแรก ท่านผู้ถาม ถามว่า “ในเมื่อศาสนาพุทธเป็นสุญญตา ทำไมจะต้องมีเสื่อมไป และดับด้วย”
ท่านอาจารย์ ความจริง ความหมายของสุญญตาก็ตรงกับอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล สูญ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน หรือความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ที่กล่าวถึงเรื่องการเกิดดับ ต้องหมายความว่า มีสิ่งที่มีแล้วก็สลาย หรือว่าเสื่อมไป หรือว่าหมดสิ้นไป
เพราะฉะนั้น การที่สภาพธรรมนั้นเกิดแล้วดับไป จะเป็นอะไร แต่ละอย่างๆ อย่างเมื่อสักครู่นี้พูดถึงเรื่องธรรม ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ แต่ว่า สิ่งที่มีอยู่มีจริงๆ ถูกต้องไหม จะว่าไม่มีอะไรเลยได้ไหม มีสิ่งที่มีจริง แต่สิ่งที่มีจริงนั้นไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง อย่างที่เคยเข้าใจก่อนว่า ต้องมีคน มีสัตว์ แต่ว่าถ้าศึกษา หรือว่าฟังธรรมแล้วก็จะรู้ว่า แต่ละอย่างๆ ที่มี จะเป็นของใคร จะเป็นใคร หรืออยู่ในอำนาจบังคับบัญชาไม่ได้ อย่างขณะนี้เข้าใจว่า มีคน ถูกต้องไหม แต่เห็นมีหรือเปล่า แล้วเห็นเป็นอะไร เห็นเป็นเห็น หรือว่าเห็นเป็นคน นกก็เห็น คนก็เห็น เทวดาก็เห็น แต่เห็นเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย เป็นอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ นอกจากเห็นต้องเป็นอย่างเดียวคือ เป็นเห็นเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
เพราะฉะนั้น เห็นจะเป็นคน หรือจะเป็นสัตว์ หรือจะเป็นเทวดาได้ไหม ไม่ได้เลย แต่เป็นธรรมที่มีจริง เกิดแล้วก็ดับไป ว่างจากความเป็นของใครหรือความเป็นใคร เพราะเหตุว่า เกิดขึ้น และดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย เพราะฉะนั้น อนัตตากับสุญญตาก็มีความหมายอย่างเดียวกัน แค่ได้ยินคำว่า “ไม่ใช่ตัวตน” กับ “ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน” เหมือนกันไหม สิ่งนั้นมีแต่ไม่ใช่ตัวตน ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเพราะไม่ใช่ตัวตน
อ.กุลวิไล แสดงว่า สุญญตาก็รวมปรมัตถธรรม ๔
ท่านอาจารย์ ทั้งหมด
อ.กุลวิไล เพราะว่า จิต เจตสิก รูป และนิพพาน เป็นสิ่งที่มีจริง และเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ และใช้คำว่า “อนัตตา”
อ.กุลวิไล ผู้ที่ศึกษาก็ต้องเข้าใจว่า ถ้าเป็น จิต เจตสิก และรูปเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ แต่นิพพานก็มีจริง นิพพานก็เป็นธรรมที่เป็นอนัตตาเหมือนกัน จิต เจตสิก และรูปก็เป็นอนัตตา แต่จิต เจตสิก และรูปไม่ใช่พระนิพพาน เพราะว่า จิต เจตสิก และรูป เป็นธรรมที่เกิดเพราะปัจจัยปรุงแต่ง และเมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นต้องดับไป แต่พระนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานจึงไม่เกิดแล้วก็ไม่ดับ แต่ทั้ง จิต เจตสิก รูป และนิพพานเป็นอนัตตา เพราะว่างเปล่าจากความเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน
ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรมคงไม่ต้องรีบร้อนที่จะไปดับกิเลสหรือว่าจะไปรู้มากๆ เพียงแต่ว่า อะไรที่ได้ยินได้ฟัง มีความเข้าใจมั่นคงจริงๆ หรือยัง เพราะแม้แต่คำว่า “สิ่งที่มีจริง” ไม่ต้องใช้คำภาษาบาลีก็ได้ สิ่งที่มีจริง เห็นมีจริง ได้ยินมีจริง แล้วเป็นเราหรือที่ว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
เพราะเหตุว่า เห็นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป จะรู้หรือไม่รู้ รับฟังไว้ก่อนเพื่อที่จะได้เข้าใจว่า จริงหรือเปล่า เพราะว่า ไม่มีเห็นตลอดเวลา มีคิดนึก มีได้ยิน มีตั้งหลายๆ อย่าง ได้กลิ่น ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสที่แข็งก็ไม่ใช่เห็น เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เราเข้าใจว่า เป็นสิ่งที่มีจริงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง คือ ไม่ได้เข้าใจถูกต้องว่า เป็นสิ่งที่มีจริง เพราะเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น แล้วก็ดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก ยังไม่สามารถที่จะรู้ความจริงอย่างนี้ได้จริงๆ แต่ก็ฟังแล้วพิจารณาว่า ค่อยๆ เป็นความจริงหรือเปล่าที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงๆ แต่ละ ๑ อย่าง ไม่ใช่เป็นอย่างเดียวกันเลย เช่น เห็นมีจริงๆ และก็ไม่ได้เห็นอยู่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น เห็นก็ต้องเกิดแน่นอน และเกิดแล้วก็หมดไป ดับไป แต่การเกิดดับอย่างเร็วคนที่ไม่ได้รู้ความจริง ที่ไม่อบรมเจริญปัญญา ไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งได้ แต่ว่า เมื่อสิ่งนี้เป็นความจริง ผู้ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมี ตรัสรู้ความจริงอย่างนี้ จะพูดหรือกล่าวคำที่ผิดจากความจริงได้ไหม ก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ แล้วคนอื่นไม่สามารถที่จะเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงนี้ ก็เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างๆ ไม่ใช่ว่า รวมกันแล้วก็ยึดถือด้วยความไม่รู้สักอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นผู้ที่รู้จริงๆ ก็ต้องสามารถเข้าใจตั้งแต่ขั้นต้นถึงสิ่งที่มีจริง ไม่ได้กล่าวว่า “คนมีจริง” ไม่ได้กล่าวว่า “โต๊ะมีจริง” ไม่ได้กล่าวว่า “ดอกไม้มีจริง” แต่พูดถึงสิ่งที่มีจริง นี่ก็แสดงความละเอียดแล้ว เห็นพระปัญญาคุณที่ต่างกับผู้ที่ไม่ได้บำเพ็ญบารมี ที่จะแม้เข้าใจ สิ่งที่มีให้ถูกต้องได้
เพราะฉะนั้น การฟังผู้ที่ตรัสรู้แล้ว ก็ค่อยๆ พิจารณา ว่าเป็นความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน เกิดแล้วไม่ตายมีไหม ไม่มี แล้วเกิดแล้วทำไมตาย เกิดกับตายไม่ใช่ขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้น เกิดต้องหมดไป และขณะที่ตายก็ไม่ใช่ขณะที่ยังไม่ตาย
เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดแล้วต้องเป็นไป จะมีแต่เพียงสภาพรู้ซึ่งเกิดขึ้นเท่านั้นไม่พอ ต้องมีเห็น ต้องมีได้ยิน ต้องมีได้กลิ่น ต้องมีลิ้มรส ต้องมีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เจ็บไข้ได้ป่วยหรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วก็มีการคิดนึก จริงหรือไม่จริง และแต่ละ ๑ ก็เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่า อยากจะเกิดก็เกิด หรืออยากจะให้เกิดก็เกิด แต่ต้องมีปัจจัยที่เกิดเป็นอย่างนั้น ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ อย่าง แข็งเกิดเป็นแข็ง แข็งมี ใครไปทำให้แข็งเกิดหรือเปล่า แต่สิ่งที่มีควรเข้าใจให้ถูกต้องว่า ต้องเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย จะเปลี่ยนจากเหตุปัจจัยไม่ได้ เช่น มีตาแล้วจะไปให้ได้ยินไม่ได้ มีหูแล้วจะให้เห็นก็ไม่ได้
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 721
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 722
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 723
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 724
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 725
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 726
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 727
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 728
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 729
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 730
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 731
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 732
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 733
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 734
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 735
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 736
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 737
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 738
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 739
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 740
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 741
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 742
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 743
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 744
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 745
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 746
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 747
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 748
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 749
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 750
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 751
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 752
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 753
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 754
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 755
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 756
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 757
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 758
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 759
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 760
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 761
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 762
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 763
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 764
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 765
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 766
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 767
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 768
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 769
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 770
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 771
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 772
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 773
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 774
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 775
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 776
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 777
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 778
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 779
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 780