พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 782
ตอนที่ ๗๘๒
ณ สำนักงานมูลนิธิ ศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕
อ.กุลวิไล ต้องเป็นผู้ที่ตรง สีหลากหลายทางตา ลองกระทบสัมผัส อะไรปรากฏ สีเหมือนกัน หรือต่างกัน แต่พอจับแล้ว เย็น หรือร้อน อ่อน หรือแข็ง ตึง หรือไหว นี่คือจับสีไม่ได้เพราะว่า จับเมื่อไหร่ต้องเป็น ธาตุดิน หรือธาตุไฟ หรือธาตุลม นี่คือความจริงของธรรม
เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรม สะสมความเห็นถูกไม่ผิดปกติ แต่รู้ตามความเป็นจริงนั่นเอง นี่คือปัญญาที่ค่อยๆ เข้าใจในสิ่งที่มีจริง และสิ่งที่มีจริงทนต่อการพิสูจน์ด้วย เพราะคุณอยู่ที่นี่ก็มีธรรม ไปที่บ้านก็มีธรรม แต่ถ้าเราสะสมความเห็นถูก ธรรมไม่ต้องแสวงหา เพราะว่าตลอดเวลาต้องมีธรรมที่ปรากฏทางหนึ่งทางใดในหกทาง
ผู้ฟัง ฟังแล้วกับคุณพรทิพย์ ก็เข้าใจไม่ตรงกัน คือ ความเข้าใจของดิฉันก็คิดว่า สีเสียงคือปรากฏทั้ง ๕ ทาง หลากหลายไม่ใช่อย่างเดียวกัน และจิตคิดก็จำว่าสัณฐานต่างๆ เป็นอะไร แต่คุณพรทิพย์บอกว่าเหมือนกัน สี หรือเสียงเหมือนกัน แต่การที่ต่างเป็นเพราะคิดแล้วก็เลยไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ เวลาต่างกัน เป็นสองอย่าง หรืออย่างเดียว
ผู้ฟัง ก็ต้องมากกว่าหนึ่งอย่าง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏ ปรากฏสองอย่าง หรือปรากฏทีละหนึ่ง
ผู้ฟัง ปรากฏทีละหนึ่ง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเปลี่ยนสิ่งที่ปรากฏหนึ่งนั้นให้เป็นอื่นได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วสงสัยอะไร
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ เสียง ก็คือ สิ่งที่ปรากฏให้ได้ยิน จิตได้ยินรู้เสียง
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง แต่เสียงก็หลากหลาย
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ทีละหนึ่ง
ผู้ฟัง แต่ทีละหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ไม่เหมือนกันเลยแต่ละหนึ่ง แม้แต่ดอกกุหลาบ ใช่ไหม รูปๆ หนึ่งเป็นสิ่งที่จิตกำลังรู้ และรูปก็ดับ จิตก็ดับ ถ้าเปรียบเทียบตอนเช้ากับตอนเย็น เห็นว่าต่างกัน ว่าจิตเห็นตอนกลางวันกับตอนเย็น ไม่ใช่จิตเดียวกัน และรูปที่ปรากฏให้เห็นซึ่งเกิดดับด้วย ก็ไม่ใช่รูปเดียวกัน อันนี้พอที่จะเข้าใจได้ เป็นแต่ละหนึ่งฉันใด เสียง หรืออะไรก็เหมือนกันหมดคือ ปรากฏทีละหนึ่ง และความหลากหลายมากมายแล้วแต่ว่าสิ่งนั้น เสียงนั้นเป็นเสียงเบา เสียงนั้นเป็นเสียงดัง หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ก็ปรากฏว่าเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่นแล้วก็ดับ
อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้น ฟังด้วยดี ท่านอาจารย์ให้ความเข้าใจว่าไม่ได้ทำ เพราะทำไม่ได้แน่นอน แต่ก็ต้องเป็นความเข้าใจในสิ่งที่มีจริง ที่ได้ยินได้ฟังนั่นเอง ซึ่งก็มีข้อความต่อไปจะกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า เงี่ยโสตสดับตั้งจิตเพื่อรู้ทั่ว กราบเรียนท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ภาษาธรรมดาว่ายังไง เงี่ยโสต หรือไม่ เดี๋ยวนี้ หรือว่าฟัง
อ.กุลวิไล ฟังด้วยความตั้งใจ
ท่านอาจารย์ นั่งเฉยๆ ไม่ฟังก็ได้ อยู่ในห้องนี้แต่ก็ไม่ฟัง เพราะฉะนั้น ฟังต้องใช้คำว่า กำลังเงี่ยโสต หรือเปล่า หรือว่ากำลังฟัง เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของภาษาอย่าง โส-ตะ ก็ไม่ใช่คำภาษาไทย แต่เราใช้คำว่าเงี่ยหูฟัง จะได้ชัดๆ อันนี้ก็เป็นแต่ละคำของภาษา แต่ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่า เมื่อฟังแล้วเข้าใจความหมาย ฟังไม่ตั้งใจ จะเข้าใจได้ หรือไม่
อ.กุลวิไล ไม่ได้
ท่านอาจารย์ และเข้าใจก็ไม่ครบถ้วนด้วย และเวลาฟังไม่ตั้งใจก็ไม่คิด จบแล้วถึงเวลาจบก็จบไป นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้น จริงๆ ก็คือว่าฟังจริงๆ เพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง เพราะพูดถึงสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏเท่านั้นเอง คือว่า ยังไงๆ ก็ต้องให้ถึงความหมายว่า ฟังเพื่อที่จะเข้าใจ ถ้าใครก็ตามมาฟังเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง จะคิดถึงอย่างอื่นไหม เพราะฟังเพื่อเข้าใจ อยากฟัง หรือว่าได้ฟังจะได้เข้าใจสิ่งที่มีจริง เพราะพูดถึงสิ่งที่มีจริงซึ่งเป็นสัจธรรม
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเราต้องไปตามตัวหนังสือในพระไตรปิฎก และก็ตีความแปลความหมาย แต่ต้องรู้อรรถว่าคำนั้นหมายความถึงอะไร
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์แม้แต่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่ว ก็ไม่ใช่เราที่ตั้งจิต
ท่านอาจารย์ ประเดี๋ยวทุกคนก็เงี่ยโสตลงฟัง ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่ว แต่ว่าตามความเป็นจริงที่จะเข้าใจได้ ก็คือฟังเพื่อเข้าใจ
อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ฟังเพื่อความเข้าใจสิ่งที่มีจริง จะรู้ถึงความเป็นธรรม เป็นอนัตตานั่นเอง ไม่เช่นนั้น จะมีความเป็นเราแฝงอยู่ แม้แต่ข้อความที่อ่านในพระสูตรความเป็นเรามีมาก แต่ความจริงแล้วทำไม่ได้ และผู้ใดทำได้ เพราะธรรมทั้งหลายบังคับบัญชาไม่ได้ บางท่านยังกล่าวว่า ตั้งใจที่จะมาฟังแต่ก็มีเหตุ มีปัจจัยให้ไปคิดเรื่องอื่นแล้วก็ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังฟังอยู่
ท่านอาจารย์ แม้แต่มหาภูตรูปสี่กับรูปที่เกิดกับมหาภูตรูป ได้ยินได้ฟังแล้วมีความเข้าใจแค่ไหน ถ้าศึกษาพระพุทธศาสนาตอบได้เลย มีรูป ๔ รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน เมื่อมีรูปสี่รูปแล้ว ต้องมีรูปอื่นเกิดพร้อมกับรูปนั้น แต่ต้องอาศัยรูปนั้นเกิด จะเกิดตามลำพังโดยไม่มี ๔ รูปนั้นไม่ได้เลย ก็ตอบกันได้ พอพูดถึงกลาปที่เล็กที่สุด คือ กลุ่มของรูปที่หลายๆ รูปรวมกัน และเกิดดับพร้อมกัน ก็บอกว่าอย่างน้อยที่สุดก็มี ๘ รูป คือ ต้องมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตาได้ จะใช้คำว่าวรรณ วรรโณ หรือรูปปารมณ์ นิภา อะไรก็แล้วแต่ ให้เข้าใจว่าหมายความถึงสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ เป็นสิ่งหนึ่งที่มีจริง และสิ่งนั้นไม่สามารถจะรู้อะไรได้ จะปฏิเสธว่าไม่มีรูปนี้ในเมื่อเห็นเกิดไม่ได้เลย แต่เห็นก็ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น
เพราะฉะนั้น ที่ใดที่มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็มีสี มีกลิ่น มีรส และมีโอชา คือรูปที่ทำให้รูปอื่นเกิดขึ้นเป็นอาหาร ที่ทำให้มีกลุ่มของรูปเกิด เพราะอาหารรูปนั้น นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าถ้าจะศึกษาธรรมก็ศึกษาทีละคำให้เข้าใจจริงๆ จะมีประโยชน์กว่า แทนที่จะทั้งหมดทีเดียวแล้วเลยเข้าใจเพียงเล็กน้อย หรือว่าสับสน ช่วยไปหาเข็มมาให้หน่อย หาได้ หรือไม่ หาได้ เพราะอะไรถึงหาได้ แล้วถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏรูปร่างสัณฐานให้เห็นว่าเป็นสิ่งนั้น จะไปหาได้ไหม
เพราะฉะนั้น นี่ก็แสดงความจริงว่า แต่ละคำต้องเข้าใจไม่ว่าจะพูดถึงอะไรก็ตามมีสิ่งที่ปรากฏสามารถกระทบตาให้เห็นเป็นสีสันวรรณต่างๆ แต่ว่าอย่าเข้าใจผิด ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เพียงแต่ว่าเป็นรูปซึ่งเมื่อมหาภูตรูปดับ รูปนั้นก็ต้องดับไปด้วย จะให้รูปนั้นไม่ดับได้ยังไง เพราะฉะนั้น มหาภูตรูปเกิดดับ ฉันใด สิ่งที่เกิดกับมหาภูตรูปก็ต้องเกิดดับ ฉันนั้นด้วย
การศึกษาธรรม ไม่ใช่ให้เราเอาตัวหนังสือมาก่อน แต่ให้เข้าใจความจริงว่า พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ เพื่อที่จะให้ผู้ที่ไม่เคยรู้ความจริงนั้นได้เห็นถูกต้อง ซึ่งความเห็นที่ถูกต้อง ต้องถึงความเป็นอนัตตา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เคยเข้าใจว่าเป็นสิ่งนั้นที่เที่ยง แต่ต้องเป็นแต่ละหนึ่งซึ่งปรากฏได้แต่ละทาง และก็ไม่ยั่งยืนเลย ชั่วคราวที่นี่สั้นมาก คือเพียงปรากฏแล้วก็หมดไป เพื่อที่จะละการยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแม้เป็นเรา นี่คือคำสอนทั้งหมด มาจากการที่ทรงตรัสรู้
เพราะฉะนั้น การฟังธรรม ก็คือ ฟังให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง แม้ว่าจะซ้ำแล้วซ้ำอีกแต่ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า ถ้าไม่ได้ฟังเลยจะมีความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างนี้ได้ หรือไม่
เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นเรื่องรูป ก็พอที่จะรู้ว่าก็ต้องมี ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม และ มีสี มีกลิ่น มีรส มีโอชา แต่ว่าอะไรจะปรากฏ ก็ปรากฏได้ทีละหนึ่งไม่ปะปนกัน และนามธรรมก็ไม่ใช่รูปธรรม เพราะเหตุว่า รูปไม่สามารถที่จะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จากสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็จะมาถึงธาตุเห็น ซึ่งเกิดขึ้นขณะนี้ไม่ใช่เรา ก็เป็นแต่ละขณะ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งที่มีจริง จนกว่าจะเข้าใจความจริงในความเป็นอนัตตา เท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงก็ต้องฟัง และก็ไตร่ตรอง เพราะฟังแล้วก็ลืม เพราะว่ามีเรื่องอื่นซึ่งสะสมมาที่ติดข้องทำให้คิดถึงบ่อยๆ แต่ว่าการฟังธรรมถ้าเทียบกับเรื่องอื่นก็น้อยมาก เพราะฉะนั้น ก็ต้องอาศัยการฟังแล้วฟังอีก
อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์กล่าวถึงธรรม ก็คือ เริ่มที่จะเข้าใจถูกว่าแต่ก่อนก็เคยสำคัญว่าเป็นบุคคลต่างๆ จากการฟังพระธรรม ก็เริ่มที่จะเข้าใจว่าเป็นธรรมแต่ละอย่างที่ปรากฎ และคิดถึงตามการที่ได้ทรงจำว่าเป็นบุคคล เป็นดอกไม้ เป็นโต๊ะ เป็นอะไรต่างๆ และก็เข้าใจถึงว่า ความไม่เที่ยงของธรรม คือ เสียงที่ดับไปแล้ว คือเกิดแล้วก็ต้องดับไป แต่การที่จะรู้ถึงความเป็นอนัตตาที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงนี้ คือว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวตน ในขั้นของการฟัง คืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ก่อนฟังธรรม รู้มั้ยว่าเป็นอะไรเป็นสิ่งที่มีจริง ก่อนฟังคิดว่ามีคนจริงๆ มีโต๊ะ มีดอกไม้ มีโลกจริงๆ แต่ว่าสิ่งที่มีจริง ซึ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมี ที่จะตรัสรู้ต้องเป็นความจริงของสิ่งที่มี ซึ่งยากที่จะรู้ได้ เพราะว่าไม่เคยคิดที่จะรู้ หรือที่จะเข้าใจ เพราะว่าเกิดมาแล้วบางคนก็มีชีวิตเป็นไปตามการสะสม แล้วก็จากโลกนี้ไปแต่ก็ไม่รู้เลยว่าไปไหน และอะไรเกิด และอะไรตายด้วย
แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าเป็นผู้ที่แสวงหาความจริง หรือต้องการที่จะเข้าใจ สิ่งที่กำลังมีจริงเดี๋ยวนี้ น่าเข้าใจ หรือไม่ว่าคืออะไร ไม่ใช่เกิดมาแล้วก็ผ่านไป เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รับประทานอาหาร กินนอนแล้วก็ติดข้อง และก็หลับสบาย แล้วก็ตื่นมาใหม่ แล้วก็เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทุกวัน สำหรับคนที่มีความคิด ก็ต้องการที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วจะคิดเรื่องอื่น แต่ไม่คิดที่จะรู้ว่าสิ่งที่กำลังมีขณะนี้ความจริงของสิ่งนั้นคืออะไร จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม
เพราะฉะนั้น ก็จะรู้ได้ว่าเวลาฟังพระธรรม พระผู้มีพระภาคตรัสสรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง แล้วก็แสดงให้ผู้อื่นได้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงนั้นด้วย เช่น ขณะนี้เข้าใจว่าเป็นคน แล้วสิ่งมีจริงๆ ที่กำลังปรากฏให้เห็นเป็นอะไร ถ้าไม่คิดไม่ได้ฟังธรรมเลยก็ยังต้องเป็นคน แล้วยังต้องเป็นโต๊ะ ยังต้องเป็นสิ่งต่างๆ แต่ว่าความลึกซึ้งของธรรมก็คือว่า ความจริงของขณะนี้ที่เห็น เห็นต้องเกิดขึ้น และก็กำลังเห็น นี่ถึงจะเป็นความจริงในขณะที่กำลังเห็น
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏให้เห็น ไม่ใช่เห็น น่าสนใจ หรือไม่น่าสนใจ ควรจะรู้ หรือไม่ควรจะรู้ อยู่ดีๆ ทำไมต้องมาคิดเรื่องอย่างนี้ด้วย ใช่ไหม แต่อะไรจะจริงยิ่งกว่านี้ ถ้าจะหาความจริง จะรู้ความจริง ต้องไม่มีความจริงอื่น นอกจากความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ และก็เริ่มฟังเพื่อที่จะได้เข้าใจ พูดถึงสิ่งที่มีจริง ไม่ใช้คำอะไรเลยก็ได้ ให้เข้าใจว่ากำลังฟังเรื่องอะไร เวลานี้กำลังฟังเรื่องอะไร
นี่คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม คือ สิ่งที่มีจริง ซึ่งภาษาไทยไม่ต้องใช้คำว่าธรรมก็ได้ พระองค์ตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง และแสดงความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ให้คนอื่นได้เข้าใจความจริงดี นี่คือ การศึกษาให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงต้องใช้คำว่าศึกษาธรรม หรือไม่
อ.วิชัย ไม่ต้องใช้คำก็ได้
ท่านอาจารย์ ถ้าใช้คำว่าศึกษาธรรม งงไหม ไม่ได้เคยได้ยินได้ฟังเลย แล้วบอกว่าศึกษาธรรม งงไหม ว่าธรรม คืออะไร และจะศึกษาอะไรที่เป็นธรรม แต่ถ้าพูดว่าขณะนี้มีสิ่งที่มีจริง และก็จะรู้ความจริงโดยการฟัง และพิจารณาว่าสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้เป็นจริงอย่างที่ได้ฟัง หรือไม่ นี่คือ ศึกษาธรรม หรือไม่ หรือว่าไม่ใช่ศึกษาธรรม
เพราะฉะนั้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คำที่ใช้ ก็ปิดกั้นไม่ให้เข้าใจได้ บางคนก็คิดว่าไปศึกษาธรรมก็เลยมีสมุดมีตำรา แต่ว่าเดี๋ยวนี้เห็นมีจริงๆ หรือไม่ สิ่งที่มีจริงจะเรียกอะไร หรือไม่เรียกอะไรก็ได้ แต่ต้องใช้คำที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจในภาษาของตนๆ เพราะฉะนั้น ในภาษาไทย ก็เรามาฟังเรื่องสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ขณะนี้เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ซึ่งมีผู้ที่ทรงตรัสรู้ความจริงที่ทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มีจริงโดยละเอียดยิ่ง โดยประการทั้งปวง เพื่อให้มีความเห็นถูกต้อง ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น
อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ เคยได้ยินที่ท่านอาจารย์สนทนากับท่านผู้ฟัง แล้วท่านผู้ฟังก็กล่าวว่า เช่น การที่จะกระทำ คือ กระทำปัญญาบ้าง หรือว่าปฏิบัติบ้าง คือ มีความพยายามบ้างท่านอาจารย์ก็กล่าวว่า ขณะนั้นยังเป็นอัตตา จะถามว่า การเริ่มที่จะเข้าใจธรรมกับการที่บุคคลที่ไม่เข้าใจธรรม และมีความเห็นอย่างนั้น เป็นอัตตาอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็ถามคนที่จะทำ ว่าจะทำอะไร ช่วยบอกหน่อยจะทำอะไร
อ.วิชัย บ้างก็ตอบว่า ทำปัญญา
ท่านอาจารย์ ทำปัญญา ปัญญารู้อะไร
อ.วิชัย รู้สิ่งที่มีจริง
ท่านอาจารย์ รู้สิ่งที่มีจริงโดยทำ หรือว่าโดยเข้าใจ
อ.วิชัย ก็ต้องโดยฟังธรรม แล้วเข้าใจขึ้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ทำได้ หรือไม่ ใครจะทำปัญญา ถ้าฟังแล้วก็รู้เลย เกิดแล้วทั้งนั้นเลยเห็นก็เกิดแล้ว ใครทำ ทำได้ หรือเปล่า ต้องไปทำ หรือเปล่า ได้ยินขณะนี้เกิดแล้ว ได้ยินเกิดแล้วใครทำได้ยิน หรือเปล่า นี่คือการฟังให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ใครจะบอกว่าไม่ได้ศึกษาธรรม ถูกไหม ไม่ถูก เพราะว่าธรรมในภาษาบาลี คือ สิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้
อ.วิชัย เพราะฉะนั้น การศึกษาโดยความเข้าใจขณะนี้ ว่าเป็นธรรม ก็อุปการะต่อการเจริญปัญญามาก
ท่านอาจารย์ เพราะรู้ว่า ปัญญารู้อะไร ไม่ใช่พอถามว่าปัญญารู้อะไร แล้วก็จะตอบว่ายังไง สิ่งที่มีจริงยังไม่รู้ แล้วจะเป็นปัญญา หรือที่จะไปรู้สิ่งอื่น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้น แม้แต่คำ ก็ไม่เข้าใจ กล่าวได้จริงๆ ว่าตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม จะพูดคำที่ไม่รู้จักทั้งหมด เห็นพูดได้ คิดพูดได้ ชอบพูดได้ โกรธพูดได้ แต่ไม่รู้จักเลยว่าเป็นอะไร
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์กล่าวว่า เห็นเกิดแล้ว ได้ยินขณะนี้ก็เกิดแล้ว บางท่านบอกคิดจะทำคิด คิดก็เกิดแล้ว แล้วจะทำอะไร เพราะทำไม่ได้ เพราะธรรมมีปัจจัยให้เกิดขึ้นนั่นเองแต่เราไม่รู้ความเกิดขึ้นของธรรมแต่ละอย่าง แต่ละทางนั่นเอง เลยรวม ๖ ทางแล้วก็เที่ยงยั่งยืน และก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด นี่คือการไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง สภาพธรรมที่เกิดขึ้น สิ่งที่มีจริงเมื่อปรากฏเมื่อสติระลึกก็เป็นทีละหนึ่งอยู่แล้ว ทำไมถึงกล่าวคำว่าทีละหนึ่ง ทีละหนึ่งในเมื่อจิตมีอารมณ์หนึ่งอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ ไม่มีคุณชุณ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ จิตเกิดขึ้นที่ละหนึ่ง หรือทีละสองสามพร้อมกัน
ผู้ฟัง ทีละหนึ่ง
ท่านอาจารย์ และจิตเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ก็ต้องรู้สิ่งที่กำลังปรากฏที่ละหนึ่งในขณะนั้น เพราะจิตหนึ่งขณะ ก็รู้สิ่งที่ปรากฏหนึ่ง เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะมีสติที่ระลึกที่จะเข้าใจสิ่งที่ปรากฏ ก็ต้องฟังจนกระทั่งความเข้าใจนั้นมั่นคง อย่างขณะนี้ มีใครรู้ว่ากำลังเห็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็นได้ ฟังแล้วเข้าใจแล้ว และเดี๋ยวนี้มีใครกำลังเข้าใจจริงๆ ว่าเพียงเห็นสิ่งที่ปรากฏเท่านั้นเอง ชั่วคราวแล้วก็หมดไป ยังใช่ไหม
ผู้ฟัง ยัง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สติก็ยังไม่เกิดที่จะเข้าใจ และที่จะรู้ว่าขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏเป็นแค่นี้เอง จิตเกิดลำพังโดยไม่มีปัจจัยที่จะทำให้เกิด ได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้แน่นอน
ท่านอาจารย์ อะไรเป็นปัจจัย หรือเป็นสภาพธรรม ที่เกื้อกูล หรือว่าสนับสนุน หรือเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จิตอาศัยสภาพธรรมที่เป็นนามธาตุสภาพรู้ด้วยกัน อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น สภาพที่เกิดพร้อมกันเป็นนามธรรมด้วยกัน แต่ไม่ใช่จิต ภาษาบาลีใช้คำว่าเจตสิก เจ-ต-สิก-กะ ภาษาไทยก็พูดว่าเจตสิก ขณะที่กำลังรู้อารมณ์หนึ่ง จิตรู้อารมณ์ทีเดียวพร้อมกันหลายอารมณ์ไม่ได้ จิตหนึ่งขณะเกิดขึ้น ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยใช่ หรือไม่
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เจตสิกหนึ่ง ซึ่งทำให้จิตตั้งมั่นรู้แจ้งในอารมณ์ที่ปรากฏอารมณ์เดียว จะตั้งมั่นทีเดียวหลายๆ อารมณ์ไม่ได้ เพราะจิตหนึ่งพร้อมกับเจตสิกแต่ละหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้น ก็ทำหน้าที่เฉพาะของตนๆ เพราะฉะนั้น ในขณะที่จิตหนึ่งขณะเกิด จะมีเจตสิกหนึ่งซึ่งต้องเกิดกับจิตทุกขณะเจตสิก นั้นคือ เอกคตาเจตสิก เป็นเจตสิกที่ตั้งมั่นในอารมณ์ จิตจึงรู้แจ้งอารมณ์ที่เอกคตาเจตสิกตั้งมั่น เวลานี้เป็นอย่างนั้น หรือเปล่า แต่ถ้าจิตตั้งมั่นที่อารมณ์หนึ่งนานๆ บ่อยๆ ลักษณะของการที่อารมณ์นั้นอารมณ์เดียวปรากฏบ่อยทำให้คนรู้ลักษณะของคำว่าสมาธิ คือสภาพที่ตั้งมั่นที่อารมณ์หนึ่ง เวลานี้จิตก็ตั้งมั่นที่อารมณ์เดียวทุกขณะที่เกิด แต่ว่าเดี๋ยวเปลี่ยนเป็นเห็นบ้าง เดี๋ยวเปลี่ยนเป็นได้ยินบ้างเป็นคิดนึกบ้าง ลักษณะของความตั้งมั่นก็ไม่ปรากฏ แต่ถ้าตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดนานๆ ลักษณะของความตั้งมั่นปรากฏที่ใช้คำว่าสมาธิ สมาธิสงบ หรือไม่ สมาธิเกิดกับจิตทุกประเภท ถ้าจิตไม่สงบ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยไม่สงบ เอกคตานั้นก็ไม่สงบ เพราะฉะนั้น สมาธิสงบ หรือไม่ ต้องเป็นเจตสิกอื่นที่สงบ คือ ปัสสัทธิเจตสิก ไม่ใช่เอกคตาเจตสิก
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม เพื่อเข้าใจถูก เพื่อเห็นถูก ยังไม่ต้องตามเรื่องที่ได้ยินได้ฟังไป ถึงถ้าสติเกิดสมาธิตั้งมั่น หรืออะไรทั้งสิ้น แต่จะต้องมีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเมื่อปรากฏความตั้งมั่น เพราะเจตสิก และจิตรู้อารมณ์เดียวนานๆ แต่ว่าเป็นกุศลก็ได้เป็นอกุศลก็ได้ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลจะเป็นกุศลไม่ได้ ขณะใดที่จิตเป็นอกุศลเกิดขึ้น เอกคตาเจตสิกก็เกิด แต่ขณะนั้นไม่สงบเพราะอกุศลสงบไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ก็ตั้งมั่นด้วยความไม่สงบก็เป็นอกุศลสมาธิ
เพราะฉะนั้น จะศึกษาธรรมให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมี เพื่อจะได้เข้าใจว่าไม่ใช่เราไม่ใช่ตัวตน แต่ถ้าเราพูดถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น สิ่งนั้นยังไม่เกิด เราไม่สามารถที่จะรู้ได้โดยไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้เสียก่อน เพราะฉะนั้น ปัญญา หรือความเข้าใจธรรม ต้องตามลำดับขั้นจริงๆ ที่จะรู้ว่า แม้เดี๋ยวนี้ก็มีเอกคตาเจตสิก เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ ก็สลับกัน สลับกันไป
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า มีปัจจัยที่อกุศลจะเกิดก็ต้องเป็นอกุศล ใครก็ไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ คือศึกษาให้เข้าถึงความเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น คำถามทั้งหมดก็จะมาสู่การเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ แล้วถึงจะรู้ว่าจริงๆ โดยที่ไม่ใช่คาดคะเน เพราะว่า แม้ขณะนี้เป็นอกุศล เอกคตาเจตสิกก็เกิด เวลาที่ฟังเข้าใจ เอกคตาเจตสิกก็เกิด แต่ลักษณะของเอกคตาเจตสิก ไม่ใช่สงบ และไม่ใช่ปัญญาความเห็นที่ถูกต้อง และไม่ใช่สติด้วย เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมที่จะเข้าใจแต่ละหนึ่ง ก็จะละเอียดชัดเจนมากกว่าที่จะรวมๆ กัน
ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง
อ.กุลวิไล เพราะว่าการศึกษา ก็เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ และเป็นความจริง จิตเกิดขึ้นทีละขณะ และจิตเกิดขึ้นก็ต้องรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ก็แล้วว่าแต่จะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ
ท่านอาจารย์ จากการฟังธรรม ก็จะทำให้พูดคำที่รู้จักขึ้น
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 781
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 782
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 783
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 784
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 785
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 786
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 787
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 788
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 789
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 790
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 791
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 792
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 793
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 794
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 795
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 796
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 797
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 798
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 799
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 800
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 801
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 802
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 803
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 804
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 805
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 806
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 807
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 808
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 809
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 810
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 811
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 812
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 813
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 814
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 815
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 816
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 817
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 818
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 819
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 820
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 821
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 822
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 823
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 824
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 825
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 826
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 827 --- ไม่ถอดเทป
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 828
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 829
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 830
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 831
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 832
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 833
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 834
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 835
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 836
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 837
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 838
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 839
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 840