พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 812
ตอนที่ ๘๑๒
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ท่านอาจารย์ ใครรู้บ้าง ว่าเดี๋ยวนี้มีจิต ก่อนฟังพระธรรม ได้แต่พูด แต่ว่าตอบไม่ได้เลย มี แล้วอยู่ไหน ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ แม้จิตแต่ละขณะเป็นอย่างไร ก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น จากการศึกษาพระธรรม ก็มีความเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริง เพราะว่า ตามความเป็นจริงแต่ละคน ก็เป็นแต่ละหนึ่งโลก เกี่ยวข้องกันได้ไหม แลกกันได้ไหม แต่ว่า เพราะโลกที่เกิดมา มีทั้งเห็น และมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น มีความจำเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏ ก็ดูเหมือนว่า อยู่กับคนมากหน้าหลายตา ลืมว่าอยู่กับสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นได้ กับความคิด และไม่ใช่คนอื่นคิด ตัวเองนั่นแหละ คิดเพราะจำ เพราะฉะนั้น ก็มีเรื่องราวเหมือนมีคนมากมาย แต่ว่าขณะใดก็ตามที่ไม่คิดอะไรๆ ก็ไม่มี เพราะเหตุว่า เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ เมื่อเห็นเกิดขึ้น แล้วก็หมดไป และก็ไม่เป็นอะไรเลยทั้งสิ้น ถ้าไม่คิด
เพราะฉะนั้น พระธรรมก็เหมือนกระจกเงา จะใสแค่ไหน หรือว่ายังมองไม่ค่อยออกเพราะว่าเป็นฝ้า ยังไม่ชัดเจน ก็ขึ้นอยู่กับปัญญาที่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เวลาเห็นรูปภาพ บางทีเป็นภาพปริศนา ต้องดูตั้งนาน กว่าจะรู้ว่าเป็นรูปอะไร เพราะฉะนั้น ในขณะนี้กว่าจะรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอะไร ก็ไม่ใช่ว่าทันทีที่เห็นแล้วจะรู้ได้ เหมือนเด็กเล็กๆ เห็นก็ไม่รู้ว่าอะไร สัตว์อื่น เช่น สุนัข แมว วัว ควายรู้อย่างคนรู้ไหม เห็นผีเสื้อ เห็นนก เห็นงู เห็นคน ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ แม้การฟังเสียงก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจสำเนียงที่ปรากฏเป็นลักษณะที่เป็นภาษาต่างๆ แล้วก็เป็นเรื่องราวต่างๆ เพราะฉะนั้น ทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่พระธรรม จะให้เห็นความจริงในชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายว่า แท้ที่จริงสิ่งที่มี คือ อะไร เพราะถ้าไม่มีการฟังเลย ก็ยังคงยึดถือด้วยความไม่รู้ว่าเป็นเรา และเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง โดยที่ความจริงตรงกันข้าม เราไม่มีเลย มีสิ่งที่ปรากฏแสนสั้น แค่นี้หวั่นไหวที่จะละทิ้งการติดข้องหรือยัง แสนสั้นจริงๆ เพียงปรากฏแล้วหมดไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย ทุกคำเป็นคำจริง ที่สามารถที่จะรู้ได้ ว่าเป็นอย่างนี้เมื่อได้อบรมปัญญา ความเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย
ผู้ฟัง ข้อแรกที่ในกามชาดกในข้อ ๑๖๔๐ แม้จะให้ทรัพย์สมบัติ ข้าวสาลี ข้าวเหนียวโค ม้า ข้าทาสหญิงชายทั้งหมดทั้งแผ่นดิน ก็ยังไม่พอแก่คนๆ เดียว รู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรมสม่ำเสมอ ซึ่งท่านอาจารย์ ก็มาที่การบริโภคนั่นเอง เพราะว่า ถ้าท่านพูดถึงทรัพย์สมบัติ ข้าวสาลี ข้าวเหนียว โค ม้า ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่น่าใคร่ น่ายินดี แล้วสิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับกามอย่างไร แล้วก็เป็นโทษของกามอย่างไร กราบเรียนท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ มีกามไหม เมื่อสักครู่นี้มีกามไหม พ้นจากกามหรือเปล่า ไม่มีทางเลย เมื่อสักครู่นี้ มีกามที่รู้สึกว่าทุกคนสนใจ ผีเสื้อตัวหนึ่งแค่ตัวเดียว และก็เป็นผีเสื้อ แต่ก็ติดข้อง เห็นทุกคนก็มอง และก็ตามไป ที่จริงผีเสื้อตัวนี้ออกไปนอกห้องแล้ว และก็ไปบินอยู่ตามต้นไม้ เห็นไหมว่ากามหรือเปล่า พอใจหรือเปล่า ในสิ่งที่เพียงปรากฏ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นผีเสื้อ ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ที่มีปรากฏให้เห็นได้ ก็เป็นที่ตั้งของความยินดี ไม่จบ เพราะเหตุว่า นอกจากผีเสื้อ มีอะไรอื่นอีกไหม ก็มี กามหรือเปล่า ทั้งเป็นวัตถุที่ตั้งของความยินดีพอใจ และสภาพที่ยินดีพอใจ ก็ไม่พ้นไปเลย เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏให้เป็นที่พอใจ ความพอใจก็เกิดซ้ำทุกขณะ ที่มีสิ่งที่ปรากฏให้ยินดี เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่ามากด้วยความติดข้อง พอใจในสิ่งที่ปรากฏไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่า แล้วจะเห็นโทษของกามเมื่อไหร่ ถ้าไม่มีการเข้าใจความจริงเลย มีใครจะเห็นโทษไหม เห็นแล้วเป็นผีเสื้อ เห็นแล้วเป็นคน เห็นแล้วเป็นเสื้อผ้า เห็นแล้วเป็นดอกไม้ เห็นแล้วก็เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เป็นที่ตั้งของความพอใจเรื่อยมา และก็ต่อไปด้วย โดยไม่เห็นว่า ถ้ายังคงมีความยินดีพอใจ ติดข้อง จะไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น การที่จะละกิเลสไม่ใช่ให้ไปละความติดข้อง นั่นคือคิดเอง และคิดว่าเป็นตัวตนที่สามารถที่จะละความติดข้องได้ แต่ว่าตามความเป็นจริง แม้เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ก็บังคับไม่ได้ แล้วจะมีตัวตนที่ไหน ที่จะไปบังคับไม่ให้มีความไม่ยินดีพอใจในสิ่งที่ปรากฏได้
เพราะฉะนั้น ธรรมซึ่งเป็นสัจจธรรม เป็นวาจาสัจจะ ก็ต้องเป็นคำจริง เพราะฉะนั้น การที่จะมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง พึ่งทุกคำ ไม่ใช่พึ่งเฉพาะบางคำ หรือว่าไม่ใช่พึ่งเฉพาะข้อความที่อ่าน แต่พึ่งตั้งแต่ ขอถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง หรือที่เรากล่าวสั้นๆ ว่า ขอถึงพระพุทธเป็นที่พึ่ง เป็นที่พึ่ง คือ ไม่มีคนอื่นอีกแล้ว นอกจากพระผู้มีพระภาค ซึ่งได้ทรงตรัสรู้ความจริง เพราะถ้าไม่ทรงตรัสรู้จะมีใครเป็นที่พึ่ง คิดว่ามีคนอื่นเป็นที่พึ่งได้ แต่ความจริงไม่ใช่จะพึ่งได้เลย เพราะเหตุว่า ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา ความเห็นถูก แล้วจะมีใครที่สามารถที่จะทำให้หมดกิเลสได้ ในเมื่อมีความติดข้องมากมายในทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นเมื่อฟังพระธรรมแล้ว มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง พึ่งทุกคำ แม้แต่ขณะนี้ก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏไม่รู้ความจริง จึงฟังเพื่อให้เข้าใจความจริงว่า ขณะนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป แล้วก็มีความยินดีในสิ่งที่ปรากฏ แม้ความยินดีนั้นก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น จะดับอะไรก่อนที่พูดถึงว่าจะดับกิเลส ก็ต้องดับความเห็นผิด ที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้น ก็จะรู้ได้ว่าขณะใดก็ตามที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ แล้วไม่เข้าใจความจริง เพราะเห็นว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ขณะนั้นก็คือว่า จะต้องพึ่งพระธรรมที่ทรงแสดง จนกว่าความเข้าใจความจริงที่ทรงแสดงเพิ่มขึ้น จึงสามารถที่จะรู้ว่า ขณะใดกำลังพึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และขณะใดไม่ได้พึ่งเลย
ผู้ฟัง เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด ก็ไม่ได้ความอิ่มด้วยใจตราบนั้น
ท่านอาจารย์ ถูกต้องไหม ผ่านไปก็ไม่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง แต่ถ้าไม่ผ่าน ก็จะเข้าใจได้เลย วันทั้งวันคิดถึงกามหรือเปล่า คิดแล้วก็ยังไม่อิ่มยังมีกามต่อไปที่จะให้คิดอีกแต่ละวัน แต่ละเรื่อง เรื่องนี้จบแล้ว เรื่องนั้นมาใหม่ ก็เป็นการที่แม้คิดถึงกามก็ไม่มีวันที่จะอิ่ม ใครอิ่มบ้าง ไม่มีเลย เป็นธรรมดา ถ้าไม่มีปัญญา จะให้อิ่มได้อย่างไร แต่ว่าถ้ามีปัญญาก็จะเริ่มที่จะรู้ว่าอิ่มไปทำไม ในกามซึ่งไม่มีวันที่จะอิ่ม เพราะเหตุว่า ไม่มีวันที่จะไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่ไม่รู้เลยว่าขณะนั้น กำลังบริโภคด้วยความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ โดยไม่รู้จักอิ่ม แน่นอนไม่มีใครเคยอิ่มในเรื่องของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเลย ต้องเข้าใจความจริง ว่าความจริงเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ปัญญาที่จะรู้ความจริง จะละเอียดลึกซึ้ง และยาก แต่ก็ต้องเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ด้วยความเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ผิวเผิน และก็ด้วยความอดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ที่จะทำให้ไม่สามารถที่จะมีการฟัง หรือมีการไตร่ตรอง หรือมีการเข้าใจได้
ผู้ฟัง ชนเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา
ท่านอาจารย์ แค่นี้ก็รู้ตัวแล้วใช่ไหม ทุกคำเตือนให้รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ว่าเข้าใจปัญญาว่าอย่างไร ไม่ใช่ปัญญาเรื่องอื่นเลย เพราะว่า ปัญญาจริงๆ ต้องรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เพราะฉะนั้น บริบูรณ์หรือยัง อีกไกลไหมกว่าจะบริบูรณ์ เพราะว่า ก่อนจะบริบูรณ์ ก็ต้องมาจากความเข้าใจ สิ่งที่ได้ฟังโดยละเอียดทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งค่อยๆ เพิ่มขึ้น ไม่ใช่มีใครหวังจะไปเข้าใจ จิตเห็นที่เกิดขึ้นแล้วดับไปทันที ซึ่งต่างกับขณะที่กำลังมีความติดข้องพอใจในสิ่งที่เห็น นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งไม่ใช่เราจะกะเกณฑ์ว่าเมื่อไหร่ แต่เป็นเรื่องที่จะเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ทีละเล็กทีละน้อยเพิ่มขึ้นหรือเปล่า และการเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยให้รู้ว่า น้อยจนไม่รู้สึกว่ากำลังค่อยๆ เข้าใจขึ้นแล้ว ต่อเมื่อไหร่มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็จะค่อยๆ เห็นว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการที่ไม่เคยเข้าใจ แต่กว่าจะถึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยก็จะมีความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย ที่ละเอียดจนกระทั่งไม่สามารถที่จะรู้สึกได้ เช่น ในขณะที่กำลังฟัง แค่เข้าใจสะสมแล้ว สามารถที่จะเข้าใจเพิ่มขึ้นมาก หรือน้อย ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นตัวตนที่จะไปคิด แต่ก็ต้องรู้ได้ ว่าความเข้าใจนั้นมั่นคง เมื่อวานนี้ ก็มีผู้ถามว่า แล้วแค่นี้เป็นสัจจญาณหรือยัง ชื่อมาอีกแล้วไม่ทราบว่าต้องการสัจจญาณทำไม ไม่ตรงกับความเป็นจริงว่า เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้แค่ไหน แค่ไหนเป็นเครื่องที่จะบ่งชี้ว่า เป็นสัจจญาณหรือไม่ใช่สัจจญาณ แต่ไม่ใช่พอได้ยินคำว่าสัจจญาณ ก็คิดว่าแล้วอย่างนี้เป็นสัจจญาณหรือเปล่า นี่คือ ความเป็นตัวตน และความต้องการ ซึ่งไม่อิ่มใช่ไหม จากเรื่องนี้ก็ไปเรื่องนั้น จากรูป จากเสียง จากกลิ่น จากรส จากโผฏฐัพพะ จากเรื่องราวต่างๆ ก็มาถึง แม้ฟังธรรมก็ยังมีความเป็นเรา ที่จะรู้ว่า แล้วฟังอย่างนี้เข้าใจแค่นี้ เป็นสัจจญาณหรือยัง ต้องถามใครหรือเปล่า ถ้าเป็นสัจจญาณ เพราะเหตุว่า ญาณเป็นปัญญา แล้วสัจจะ คือ ความจริง เพราะฉะนั้น ปัญญาที่เข้าใจความจริงที่กำลังปรากฏ ผู้นั้นก็จะรู้ได้ ถึงสัจจญาณหรือยัง และมีอะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเป็นสัจจญาณ ก็ไม่ได้มีความเข้าใจธรรมอย่างละเอียดลึกซึ้ง เพียงแต่ว่า อยากจะถึง อยากจะรู้ อยากจะเข้าใจ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าฟังธรรมเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะแม้กำลังปรากฏ ก็เพียงฟังเรื่องของสิ่งที่ปรากฏจนกว่าเริ่มเข้าใจรางๆ ในสิ่งที่ปรากฏ ว่ามีแน่ๆ อย่างนี้แหละ แต่ก็ยังมีความไม่รู้อีกมากมายในสิ่งต่างๆ ที่ทำให้คิดถึง แล้วอะไรอีก แล้วอย่างนี้ใช่ไหม เป็นต้น แต่ว่าตามความเป็นจริง ก็คือว่า เข้าใจไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปเพียรพยายามที่จะไปเจาะจงให้รู้ว่าขณะนี้กำลังเริ่มเข้าใจ เห็นที่กำลังปรากฏหรือเปล่า เพราะขณะนั้น ถูกบังแล้วด้วยความต้องการ ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด แม้สิ่งที่ปกปิดหรือบังไว้ก็ละเอียดด้วย เพราะอวิชชา ความไม่รู้ จึงทำให้สภาพธรรมไม่สามารถปรากฎตามความเป็นจริง ต่อเมื่อไหร่ ความต้องการที่ละเอียดที่บังไว้ ค่อยๆ หมดไป เพราะปัญญารู้ว่า ตราบใดที่ยังมีอย่างนี้ สภาพธรรมจะปรากฏตามความเป็นจริงไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ กว่าปัญญาจะบริบูรณ์ไม่ใช่เรื่องที่เราไม่รู้อะไรเลย เพียงแค่ฟังประโยคนี้ก็อยากจะรู้อย่างนั้น อยากจะรู้อย่างนี้ แต่ก็ต้องมีการพิจารณาจริงๆ ตามความเป็นจริง ทั้งวันมีแต่กาม รูป เสียง กลิ่น รสที่ปรากฏ มีความยินดีติดข้องไม่อิ่ม และก็มีการฟังธรรม กว่าจะเข้าใจตรงกันข้ามกับความติดข้องในกาม ไม่ต้องรอเลยใช่ไหม สะสมมามากเป็นอุปนิสสย ที่อาศัยที่มีกำลัง เพียงสภาพหนึ่งสภาพใดปรากฏ ก็ติดข้องทันที เพราะอวิชชา และความติดข้อง มีกำลังมาก จากการสะสมมานานแสนนาน เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้จักสัจจความจริง ว่าขณะนี้ก็เป็นธาตุที่สะสมมา ที่จะเป็นอย่างนี้ แต่ก็ยังมีการฟังธรรม มีการเริ่มเข้าใจ แต่การเริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย ก็สะสมไปอีกนานไหม กับกิเลส ความไม่รู้ และความติดข้อง ซึ่งกว่าจะละได้
เพราะฉะนั้น ก็เป็นผู้ที่ตรง ที่จะรู้ว่าขณะนี้เป็นผู้มากด้วยอวิชชา และโลภะ ยังไม่ใช่เป็นผู้ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญา แต่กำลังสะสม ถ้าไม่มีการสะสมเลย ไม่มีวันที่จะบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ถึงวันที่จะเข้าใจธรรม แม้เป็นพระธรรมที่ตรัสโดยพระโอษฐ์ แล้วก็มีคำกล่าวว่า ขอถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ก็ต้องพึ่งทุกคำด้วยความเข้าใจจริงๆ
เพราะฉะนั้น ต้องเป็นความรู้ความเข้าใจจริงๆ แล้วทำไมต้องคิดถึงคำว่าสัจจญาณที่ว่าเรา หรือว่ามีสัจจญาณหรือยัง ไม่ต้องคิดเลย ฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง จนกระทั่งเป็นความเข้าใจขึ้นๆ ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย ถ้ามีคนบอกว่าเดี๋ยวนี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ต้องรู้อย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่ขณะนี้ คนที่มีความมั่นคงมีความเข้าใจจริงๆ ก็จะรู้ว่าไม่ถูกต้อง เพราะเหตุว่า ได้มีความเข้าใจที่ค่อยๆ มั่นคงขึ้น แต่ถ้ายังไม่ถึงความเป็นสัจจญาณ ก็เป็นผู้ที่เข้าใจถูกต้องว่า กำลังเริ่มเข้าใจที่จะถึงความมั่นคงเพราะเหตุว่า เมื่อมีสัจจญาณแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้เกิดกิจจญาณ เมื่อมีกิจจญาณ ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดกตญาณ นี่คือ พระธรรมที่ทรงแสดงไม่ให้คนอื่นเข้าใจผิดหรือว่าหลงผิด แล้วก็อย่าลืม มีพระธรรมเป็นกระจกเงา หรือที่ใช้คำว่า แว่น ส่องอะไร ให้เห็นอะไร
ผู้ฟัง ก็คือ เหมือนกับชีวิตเป็นไปกับความประพฤติทางกาย วาจา ในแต่ละวัน ถ้าเต็มไปด้วยอกุศล ก็ต้องรู้ตัวว่าอกุศลยังมาก
ท่านอาจารย์ จะเอาแว่นกระจกนี้ ไปส่องใครดี หรือส่องตัวเอง ส่องใจ ไม่มีอย่างอื่นเลย ที่จะทำให้รู้จักใจหรือจิตของแต่ละคนได้ ถ้าไม่ใช่พระธรรม ที่ฟังแล้วเข้าใจแล้วว่า กล่าวถึงสิ่งที่มีจริง ที่ทุกคนเข้าใจว่าเป็นเรา ความจริงก็เป็นธรรม แต่ว่าเมื่อไม่เข้าใจถูกต้อง ก็สะสมแต่อกุศลไว้มากมายแค่ไหน ถ้าเป็นกระจกวิเศษละเอียดเลย ใช่ไหม สะสมมาตั้งแต่กี่ชาติ และก็เป็นโลภะ โทสะ โมหะ ในทุกอย่าง ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสุข ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรสที่ไม่ได้รู้ความจริงมานานแสนนาน ส่องให้เห็นจิตของแต่ละคน ไม่ใช่จิตคนอื่น เพราะฉะนั้น แว่นนี้ไม่ใช่ส่องดูคนอื่น แต่ว่าส่องดูจิตของแต่ละคน เห็นอะไรบ้างหรือยัง
ผู้ฟัง ทราบว่าอกุศลแต่ละวันมาก
ท่านอาจารย์ เพียงเห็นรางๆ ใช่ไหม ยังไม่ชัดเจน เพราะเดี๋ยวนี้ เป็นอกุศลหรือเปล่า เป็นความติดข้องหรือเปล่า และติดข้องในอะไรต้องชัดเจน เพราะฉะนั้น แว่นนี้ก็จะยิ่งชัดเจนขึ้น เมื่อเป็นปัญญา ที่สามารถที่จะเข้าใจสัจจะ คือ ความจริงไม่ใช่เพียงแต่ประมาณ ว่าเดี๋ยวนี้กุศลก็มี อกุศลก็มี วิบากก็มี กิริยาก็มี ตามที่ได้ฟัง แต่ต้องชัดเจนในแต่ละขณะ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ถ้าไม่รู้ตัวว่าเข้าใจระดับไหน เช่น คิดว่าตัวเองศึกษาโดยเป็นปริยัติ แต่จริงๆ แล้ว ศึกษาโดยไม่ใช่ปริยัติ ก็จะทำให้ไม่ไปสู่ปัญญาที่จะสามารถละกามได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงมีปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ ไม่ใช่เพียงอ่าน เรียกชื่อแต่ต้องเป็นความรอบรู้ในปริยัติ คือ ในพระพุทธพจน์ เช่น แต่ละคำที่เรากล่าวถึงเพื่อให้เข้าใจจริงๆ ไม่เข้าใจผิวเผิน แล้วก็คิดว่าเข้าใจแล้ว เรียกชื่ออกุศลได้ทั้งวัน บางคนก็บอกว่าโลภะบ้าง อารัมมณูปนิสสยปัจจัยบ้าง หรืออะไรบ้าง แล้วเดี๋ยวนี้ เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏ ตรงตามที่พูดหรือยัง หรือเท่ากับที่พูดหรือเปล่า หรือว่าเป็นความเข้าใจถูกต้อง ซึ่งเป็นความเข้าใจรอบรู้ในพระพุทธพจน์ แต่ยังไม่ถึงปฏิปัตติ คือ การที่จะเข้าใจลักษณะนั้นจริงๆ ทีละหนึ่งอย่าง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ แล้วสัญญาที่มั่นคงนี้ จึงจะเป็นปัจจัยให้ปฏิปัตติ คือ รู้ตรงลักษณะสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏแต่ละขณะ
ท่านอาจารย์ คือ สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง กับสภาพธรรมในขณะนี้ตรง เช่น พูดว่าทุกอย่างเป็นธรรม แค่นี้ ตรงแค่ไหน ความจริง คือ เข้าใจจากการฟัง ทุกอย่างเป็นสิ่งที่มีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นปรากฏชั่วคราวแล้วก็ดับไป จะเป็นเราได้ยังไง นี่คือ เข้าใจ มั่นคงในลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้แต่ละหนึ่ง ว่าเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เพราะฉะนั้น จึงมีปริยัติ ปฏิปัตติ และปฏิเวธ แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจเลย ไม่เคยฟังมาเลย แข็งกำลังปรากฏไม่ได้รู้เลย ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงที่ปรากฏ ได้เฉพาะขณะที่กระทบ ไม่ปรากฏทางตา ทางหูเลย เพราะฉะนั้น ก็เป็นเพียงหนึ่งอย่างที่มีจริง ที่เคยเข้าใจว่าเป็นมือของเรา หรือว่าเป็นเท้าของเรา หรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในร่างกายของเรา ยังคงยึดถือว่าเป็นเรา แต่ความจริงเป็นเพียงสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่ง ไถ่ถอนการที่เคยยึดมั่นในสิ่งนั้น ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง
เพราะฉะนั้น ยังไม่เป็นอย่างนี้ใช่ไหม แต่เริ่มฟังสะสมความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ที่มั่นคง เพราะฉะนั้น เมื่อมีความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยจากการฟัง เวลาที่แข็งปรากฏ เช่น เดี๋ยวนี้เลย ความเข้าใจแข็งนั้นระดับไหน เห็นไหม ก็ยังมีต่างไปอีก ว่าเพิ่งเริ่มที่จะทั้งวันมีแข็ง แต่ไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจลักษณะที่แข็ง จนกระทั่งบางกาล แข็งปรากฏ และก็รู้ลักษณะที่แข็ง และก็เริ่มเข้าใจความจริงของแข็ง แล้ววันหนึ่งๆ ไม่ได้มีแต่แข็ง เห็นก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี เสียงก็มี จนกว่าทุกอย่างเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ทุกอย่างเป็นธรรมตั้งแต่ขั้นฟัง จนกระทั่งถึงปฏิปัตติ ซึ่งปฏิปัตติจะรู้ว่าน้อยมากเลย กว่าอย่างหนึ่งอย่างใดจะเป็นธรรม แต่ว่าต้องเป็นธรรมทั้งหมด เห็นไหม
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ เพราะทราบว่า ความจริงเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้ เช่นเห็นดอกไม้สวย แล้วก็คิด จำ จากรูปร่างสัณฐาน ศึกษาเช่นนี้เป็นศึกษาปริยัติหรือยัง
ท่านอาจารย์ ก็ยังสงสัยอยู่อีก ไม่ต้องสงสัยเรื่องชื่อได้ไหม แต่เข้าใจคำที่พูด คำที่ได้ยิน ถูกต้องว่าไม่มีอะไรเลย นอกจากสิ่งที่มีจริงเท่านั้น ที่ปรากฏเพียงชั่วคราว ในขณะที่ปรากฏ
ผู้ฟัง คือ ช่วงหลังท่านอาจารย์ก็จะย้ำมากว่า ธรรมไม่มีชื่อ และอย่างสิ่งที่ปรากฏเพียงปรากฏให้เห็นได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เมื่อสักครู่ที่พูด ตามคำพูดนั้นหรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็ตามแบบจะใส่ชื่อ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่ใช่ความเข้าใจ ในลักษณะแต่ละหนึ่ง เพราะพูดไป มีตั้งหลายอย่างแล้ว เห็นก็มี คิดก็มี จึงได้พูด เสียงก็มี ใช่ไหม แต่ว่าไม่รู้ความจริงของทีละหนึ่ง ก็แสดงว่าที่กล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรมขั้นฟังเข้าใจ แต่ทุกอย่างเป็นธรรมแต่ละหนึ่ง เป็นธรรมคิดดูว่า เมื่อไหร่แต่ละหนึ่งในชีวิตจริงๆ จะเป็นธรรม จนกระทั่งทุกอย่างเป็นธรรม
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 781
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 782
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 783
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 784
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 785
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 786
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 787
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 788
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 789
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 790
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 791
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 792
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 793
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 794
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 795
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 796
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 797
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 798
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 799
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 800
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 801
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 802
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 803
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 804
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 805
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 806
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 807
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 808
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 809
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 810
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 811
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 812
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 813
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 814
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 815
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 816
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 817
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 818
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 819
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 820
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 821
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 822
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 823
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 824
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 825
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 826
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 827 --- ไม่ถอดเทป
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 828
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 829
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 830
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 831
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 832
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 833
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 834
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 835
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 836
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 837
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 838
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 839
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 840