พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 787
ตอนที่ ๗๘๗
ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
อ.อรรณพ ฟังที่คุณจักกฤษสนทนากับท่านอาจารย์ ก็เห็นความไม่มั่นคง แม้จะคิดเจริญกุศลอะไร บางทีเจริญกุศลไปแล้วก็มีอะไรขัดใจ กระทบกระทั่งกันเลิกเลยไม่เอาแล้วใครอยากจะทำก็มาทำต่อไป ศรัทธาจะไปมั่นคงได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะมีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหว จึงต้องเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น พึงเห็นความเป็นใหญ่ของศรัทธาได้ ในโสตาปัตติยังคะ ก็คือ ศรัทธาของพระโสดาบันบุคคล
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ ดิฉันได้สนทนากับท่านที่มาใหม่ ซึ่งท่านเองก็ถามบอกว่า การมาฟังในชั่วโมงของพื้นฐานพระอภิธรรม ถ้าไม่ได้ศึกษา หลักสูตรพระอภิธรรม มาเลยจะฟังเข้าใจได้อย่างไร และจำเป็นต้องเรียน หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ อยากทราบว่า หลักสูตรพระอภิธรรม ว่าอย่างไร
อ.กุลวิไล ก็อย่างที่เรียนกัน ปริเฉทที่ ๑ ถึง ๙
ท่านอาจารย์ ปริเฉทที่ ๑ พูดว่าอย่างไร เป็นเรื่องอะไร
อ.กุลวิไล เรื่องของจิต
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องจิต เดี๋ยวนี้มีจิตไหม แล้วจะรู้จักจิตโดยเพียงชื่อจิต หรือจะสามารถเข้าใจได้ แม้แต่ธรรมในภาษามัคธี หรือภาษาบาลี ก็หมายความถึง สิ่งที่มีจริงที่หลากหลายต่างๆ กันไป และสิ่งที่มีจริงที่ไม่สามารถจะรู้อะไรเลยก็มี และมีสิ่งที่มีจริง ที่กำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เช่น เห็นเดี๋ยวนี้ มี จึงรู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น นั่นคือ ธาตุรู้ ซึ่งใช้ได้หลายคำ ใช้คำว่าจิตก็ได้ มโนก็ได้ มนัสก็ได้ ปัณฑระก็ได้ หทยก็ได้ เพื่อที่จะเข้าใจว่า กำลังเรียนอะไร ไม่ใช่เรียนสิ่งที่กล่าวไว้ในตำราหน้าหนึ่ง หรือหน้าสิบ หรืออะไรอย่างนั้น แต่ว่าเป็นสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้จริงๆ ให้เข้าใจความจริงว่า การศึกษาธรรม คือ เข้าใจสิ่งที่เป็นธรรม คือ สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ไม่ใช่ศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ว่า ขณะนี้เป็นจิตที่กำลังกล่าวถึง แต่ก่อนที่จะรู้เรื่องของจิตก็จะต้องรู้ด้วย ว่าสิ่งที่มีจริงเป็นแต่เพียงสิ่งที่มีเมื่อเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ก็จะต้องมีความเข้าใจอย่างละเอียด ถ้าศึกษาว่าจิตมีจำนวนเท่าไหร่ เช่น อกุศล และจิต ๑๒ ประเภท โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ รวมเป็น ๑๒ เดี๋ยวนี้เป็นจิตอะไร ถ้าไม่สามารถที่จะเข้าใจสภาพที่กำลังเห็นการศึกษา ทั้งหมดเป็นโมฆะ หรือเปล่า เพราะเป็นแค่จำชื่อเหมือนเรียนแผนที่ แต่ไม่เคยไปเลยแล้วจะรู้ได้ยังไง มีแต่เส้นต่างๆ มีลูกศรมีอะไรต่างๆ แต่ว่าขณะนี้มีธรรม
เพราะฉะนั้น ให้คิดถึงสมัยพุทธกาล ไม่มีหนังสือ ไม่มีตำรา แต่มีสิ่งที่มีจริง ที่ปรากฏเป็นความจริง ที่ถึงที่สุดที่ใช้คำว่า ปรมัตถ หมายความว่า ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนความจริงนั้นให้เป็นอื่นอีกได้เลย ความจริงนั้นเป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถที่จะฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้เป็นประโยชน์ นี่คือการศึกษาธรรม นี่เป็นพื้นฐาน ไม่ใช่ว่าตำราเป็นพื้นฐาน แต่ว่าสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ เป็นพื้นฐานให้เข้าใจความเป็นสิ่งที่มีจริงเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปแล้วก็ไม่กลับมาอีกเป็นอนัตตา
อ.กุลวิไล ซึ่งท่านอาจารย์ยกตัวอย่าง ว่าแม้แต่จิตก็ คือ ขณะนี้เองรู้จักจิต หรือยัง และท่านก็แสดงถึงจักขุวิญญาณ และโสตวิญญานในปริเฉทที่หนึ่ง ซึ่งเห็น และได้ยินในขณะนี้ท่านอาจารย์ก็ได้ให้ความเข้าใจว่าต่างกันอย่างไร เพราะว่า เห็นกับได้ยินก็ต้องมีในขณะนี้ แต่สิ่งเหล่านี้มีความต่างกันโดยไม่ต้องใส่ชื่อ หรือเปล่า เพราะว่าลักษณะของเห็น ก็ไม่ใช่ขณะที่ได้ยิน เพราะว่าต่างก็เป็นจิต แต่เกิดขึ้นต่างทางกัน ไม่ใช่ทางตาอย่างเห็นก็เกิดขึ้นทางตา แต่ไม่ได้เกิดทางหู และเห็นในที่นี้ ก็คือเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแต่ไม่เห็นเสียง เพราะฉะนั้น เห็นไม่ใช่ได้ยิน
ท่านอาจารย์ แม้แต่เพียงเห็นขณะนี้ดับแล้ว จิตที่ได้ชื่อตามที่ได้เรียนมาก็เกิดแล้วโดยไม่รู้เลย ใช่ไหม ความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏก็ต้องเป็นโลภมูลจิต การไม่รู้ไม่ใช่ความติดข้องก็ต้องเป็นโมหมูลจิต หรือว่า ถ้าการขุ่นเคืองไม่พอใจในสิ่งที่ปรากฏก็ต้องเป็นโทสมูลจิตไม่ใช่ไปจำชื่อเท่านั้น แต่สามารถที่จะเข้าใจถูก เช่น ขณะนี้ใครจะบอกได้ ว่าเห็นดับไปแล้วจิตที่เป็นอกุศลเกิด หรือกุศลจิตเกิด ยังไม่ต้องไปถึงว่าอกุศลประเภทไหน หรือว่ากุศลนั้นประกอบด้วยปัญญา หรือไม่ประกอบด้วยปัญญา หรือว่าเมื่อจิตเห็นดับไปแล้วไม่รู้ ไม่ใช่ความติดข้อง หรือขณะที่เห็นแล้วติดข้องนี่ก็ต่างกันแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นอะไรไม่ใช่ตำราบอก แต่ว่าศึกษาเพื่อให้เข้าใจว่าสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้เป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นความติดข้องมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย หรือเปล่า เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ หรือว่าโสมนัส นี่ก็เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจสิ่งที่มีจริงโดยไม่เรียกชื่อ แต่จำเป็นต้องเรียกชื่อ แสดงความหลากหลาย และความต่างกันของสิ่งที่มี
แต่จุดประสงค์ของการศึกษาต้องทราบ ศึกษา ใช้คำว่า พระอภิธรรม หรือ จะใช้คำว่าอภิธรรมมัตถสังคหะ เพื่ออะไร เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เพื่อสอบแต่ว่าเพื่อเข้าใจถูก เห็นถูก ค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจ มิฉะนั้นแล้ว การศึกษาเป็นโมฆะเพราะว่า ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง จึงไม่ใช่การศึกษาธรรม
อ.กุลวิไล จะเห็นได้ว่าการศึกษาธรรม ไม่ใช่ศึกษาวิชาพุทธศาสนา เพราะว่า ถ้าศึกษาวิชาพุทธศาสนา มีชื่อธรรมมากมาย มีเรื่องราว มีความหมาย แต่ธรรมเหล่านี้ ต้องมีในขณะนี้เองแม้แต่จิต จิตก็มีจริงในขณะนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้จิตตามความเป็นจริงโมฆะ เพราะว่า จิตไม่ได้อยู่ในหนังสือ อยู่ในตำรา แต่ขณะนี้เอง มีเห็น มีได้ยิน และมีความติดข้องด้วย มีความขุ่นเคืองใจด้วย และก็มีการไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริงด้วย ขณะนี้เองก็ต้องมีจิตที่หลากหลายแตกต่างกัน เพราะว่า มีสภาพธรรมที่เกิดกับจิตนั้นไม่เหมือนกัน
อ.อรรณพ กราบเรียนถามท่านอาจารย์ เกี่ยวกับความเสื่อม และความเจริญของศรัทธา ว่าถ้ายังมีความยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ศรัทธาจะไม่เจริญอย่างไร และ การที่มีความเข้าใจ ขัดเกลาความเป็นตัวตน ศรัทธาจะมั่นคงขึ้นได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ คุณอรรณพก็กล่าวถึงศรัทธาที่มั่นคง จะเห็นได้ในโสดาปัตติมรรคพระโสดาบันบุคคล เพราะฉะนั้น ขณะนี้มั่นคง หรือเปล่า ศรัทธา มั่นคงถึงระดับของพระอริยบุคคล หรือเปล่า ไม่ถึง แต่ก็เป็นศรัทธาที่ค่อยๆ เจริญขึ้นค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น เวลาที่มีความเข้าใจแล้วจะไม่มีศรัทธา หรือ หรือว่ายิ่งเข้าใจศรัทธาก็ยิ่งเพิ่ม และมั่นคงขึ้นเพราะปัญญา เพราะฉะนั้น จะอาศัยให้ศรัทธามั่นคงโดยไม่มีปัญญาได้ไหม ไม่มีทางเป็นไปได้เลย
อ.อรรณพ อย่างเช่น เรามีความยึดถือว่าเป็นตัวเราเยอะๆ ใครมากระทบกระทั่งก็ไม่ได้เราเป็นคนที่มีคุณความดี หรือเรามีอะไร เมื่อมีความยึดถือว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น ก็คือ แทนที่จะเจริญกุศลก็กลับเป็นอกุศล แต่ถ้าได้มีการอบรมเจริญปัญญาที่ความเข้าใจสภาพธรรม จะเป็นการขัดเกลาตัวตน และศรัทธาก็จะมีกำลังขึ้นจริง ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ โดยมากเป็นเรื่องคิด ขณะที่กำลังคิดเรื่องอื่น หลงเข้าใจว่าสนใจธรรม วัญจกธรรมที่ใช้บ่อยๆ ว่าธรรมที่ลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้ที่สนใจที่จะเข้าใจความต่างของแต่ละบุคคล แต่จะนำมาสู่การเข้าใจ เห็นที่กำลังเห็น ได้ยินที่กำลังได้ยิน คิดนึกที่กำลังคิดนึกได้ หรือ ในเมื่อคิดถึงแต่เรื่องอื่น เพราะฉะนั้น แต่ละอัธยาศัยที่สะสมมา พระผู้มีพระภาคจึงทรงพระมหากรุณา แสดงความละเอียดยิ่ง เพื่อน้อมจิตซึ่งเคยไปสู่ทางอื่นให้กลับมาสู่การที่จะเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ เพราะว่าพูดถึงความจริงของสิ่งที่มีจริงในความเป็นอนัตตา ในความที่แต่ละหนึ่งก็ต่างกันไป อย่างศรัทธาไม่ใช่ปัญญา
เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ว่า ศรัทธา เป็นสภาพจิตที่ผ่องใส เพราะเหตุว่ามีโสภณเจตสิก โสภณธรรม เกิดร่วมด้วยทั้งอโลภะ แสดงว่าไม่มีโลภะขณะนั้น อโทสะอโมหะ จิตจะไม่ผ่องใสได้อย่างไร แต่ถึงอย่างนั้น เพียงศรัทธาก็ไม่สามารถที่จะทำให้รู้ความจริงของสภาพธรรมได้ ด้วยเหตุนี้ ศรัทธาจะมั่นคงขึ้น เพิ่มขึ้น บุคคลนั้นก็รู้เอง มีศรัทธาเพียงขั้นให้ทาน แต่ไม่มีศรัทธาในการฟังพระธรรม เพราะฉะนั้น ศรัทธานั้นก็เป็นไปในเรื่องของการให้ สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น แต่ไม่มีศรัทธาที่จะเข้าใจธรรม นี่ก็เป็นศรัทธาที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ไม่มั่นคง
อ.กุลวิไล จะกราบเรียนให้ท่านอาจารย์ ช่วยให้ความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง สำหรับสภาพธรรมที่เป็นจิตเจตสิก และรูป
ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ยังไม่ต้องคิดถึงคำอะไรเลยทั้งสิ้น ไม่ต้องคิดถึงคำว่าจิต ไม่ต้องคิดถึงคำว่าเจตสิก แล้วก็ไม่ต้องคิดถึงคำว่ารูป เพียงแต่ว่าขณะนี้ มีอะไรที่เป็นสิ่งที่มีจริง หรือเปล่า หรือว่าไม่มีเลย ไม่ต้องไปคิดคำที่จะทำให้งง หรือสงสัย คำง่ายๆ ธรรมดาๆ ขณะนี้ มีอะไรที่กำลังมีจริงๆ หรือเปล่า มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีจริง หรือเปล่า มีจริงแต่ไม่รู้ความจริงของสิ่งนั้นเลย หรือว่าใครรู้ แล้วมีก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น แม้แต่เดี๋ยวนี้อะไรจริง บางคนก็บอกไม่รู้ว่าอะไรจริง แต่ถ้าถามว่า เห็นมีจริงๆ หรือเปล่า กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เห็นจริง หรือเปล่า จะตอบว่าไง ก็ต้องตอบว่าจริง
เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงได้ ต้องเป็นผู้ที่ตรงตามความเป็นจริงในเหตุในผล และในความเป็นจริงของสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น เห็นขณะนี้มีจริงๆ ทุกคนเห็น แต่ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยรู้ว่า เห็นขณะนี้เป็นอะไร เพราะฉะนั้น เห็นเมื่อไหร่ก็เป็นเราเห็น เพราะว่าไม่รู้ความจริงว่าแท้ที่จริงแล้ว เห็น ก็คือ มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้แน่นอน มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นได้แน่นอน
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีธาตุ หรือสิ่งที่กำลังเห็น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็มีไม่ได้ เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะไปพูดเรื่องจิต อธิบายคำว่าจิตยาวมาก แต่ไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นจิต ในขณะที่กำลังเห็นนี่เองเป็นจิต หรือว่าในขณะที่เสียงกำลังปรากฎขณะนี้ เสียงต่างกับสิ่งปรากฎให้เห็น แต่ว่าถ้าไม่มีการได้ยิน ภาษาไทย ใช้คำว่าได้ยิน ถ้าไม่มีการได้ยิน เสียงก็ปรากฏไม่ได้เลย นี่คือ ต้องเข้าใจในขณะที่เดี๋ยวนี้ เสียงปรากฎให้ถูกต้องว่า ที่เสียงปรากฎได้เพราะเหตุว่า มีได้ยิน เพราะฉะนั้น ถ้าได้ยินไม่มี เสียงก็ปรากฏไม่ได้ ไม่ต้องเรียกอะไรหมดเลยทั้งสองอย่าง เสียงภาษาไทยมีจริง สิ่งที่กำลังปรากฎให้เห็นขณะนี้ มีจริง และขณะนี้อ่อน หรือแข็งมีจริงเมื่อปรากฏ เย็น หรือร้อนมีจริงเมื่อปรากฏ ตึง หรือไหว มีจริงๆ ในขณะที่ปรากฏ เมื่อสิ่งต่างๆ ปรากฏว่ามีจริง ก็เพราะเหตุว่า มีจิตเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาจึงปรากฏให้เห็นว่ามีจริงๆ
ขณะที่จิตได้ยินเกิดขึ้นได้ยินเสียง เสียงจึงปรากฏว่าเสียงมีจริงๆ เพราะฉะนั้น เริ่มใช้คำว่าจิต ซึ่งใช้กันมาก่อนที่จะฟังธรรม ใช้คำว่าจิตแล้วใช่ไหม แต่ก็ไม่รู้จักจิตตามความเป็นจริงแต่รู้ว่ามี ใช้คำนี้ ได้ใช้มาแล้วด้วย ทุกคนมีจิตก็ใช้ จิตของแต่ละคนต่างกันก็ใช้อีก คนนั้นจิตใจดี คนนี้จิตใจไม่ดี ก็ใช้คำ หมายความถึง สิ่งที่มีจริง แต่ก็ไม่รู้ความจริงว่าสิ่งนั้น คืออะไรทั้งๆ ที่รู้ว่ามีจริงไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน และเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป และเกิดรู้เฉพาะสิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ได้ทีละอย่าง
เพราะฉะนั้น จากชีวิตประจำวันจริงๆ ก็จะรู้ได้ว่าความไม่รู้ ก็ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มี พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่มีทุกขณะ สามารถที่จะพิสูจน์ได้ จากความไม่รู้เป็นการค่อยๆ เข้าใจขึ้น ด้วยเหตุนี้ จากการที่เคยใช้คำว่าจิตมาก่อนนี้ ก็จะได้เริ่มเข้าใจว่า จิต ก็คือ ขณะนี้ ที่กำลังเห็น ที่กำลังได้ยิน ที่กำลังได้กลิ่น ที่กำลังลิ้มรส ที่กำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ และที่คิดนึก ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เคยขาดจิตเลย เพราะว่า ถ้าไม่มีจิต ซึ่งเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ที่สามารถรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏให้รู้ได้ โลกนี้ก็ไม่ปรากฏ ถ้าไม่มีจิต
เพราะฉะนั้น การจะกล่าวถึงสิ่งที่มี แต่ว่าไม่เคยสนใจที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งนั้น ก็จะเป็นเพียงพูดคำที่ไม่รู้จักตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ว่าเมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว แต่ละคำพูดด้วยความเข้าใจขึ้น เช่น ขณะนี้ถ้าจะพูดถึงจิต ก็คือ เดี๋ยวนี้ที่เห็นมีเห็น แต่คิดไม่เห็น เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้มีจิต และกำลังเข้าใจจิตที่กำลังมีในขณะนี้ ว่าหมายความถึง ขณะที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏรู้ได้ว่า ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้สิ่งนั้น สิ่งนั้นปรากฏไม่ได้ นอนหลับสนิทไม่เห็นอะไร จิตมีไหม ยังไม่ตาย นี่ก็คือ เริ่มเข้าใจมากขึ้น ว่าจิตเป็นสภาพรู้ ธาตุรู้ ซึ่งหลากหลาย ขณะใดก็ตามที่ไม่ได้อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้น แม้มีจิต สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ไม่ได้ปรากฏว่ามี เช่น ในขณะที่หลับสนิทมีจิตไม่ใช่เป็นคนที่ตายแล้ว แต่ว่าจิตขณะนั้นเพราะไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ลิ้มรส ไม่รู้ที่สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก แต่ก็ทำกิจเกิดดับสืบต่อดำรงภพชาติ เมื่อตื่นเมื่อไหร่ ก็รู้ว่าขณะนั้นเห็น ซึ่งเป็นจิตอีกประเภทหนึ่ง ไม่ใช่จิตที่กำลังเกิดดับ รักษาภพชาติความเป็นบุคคลนี้ในระหว่างที่ยังไม่เห็นไม่ได้ยิน
ก็เป็นเรื่องที่ฟังไป และก็สภาพธรรมก็กำลังมีจริงๆ และเกิดขึ้นหลากหลายตามที่ได้ยินได้ฟัง แต่ว่ายังไม่ได้เข้าใจจริงๆ ในลักษณะของจิตเพียงแต่ฟังเรื่องจิต และรู้ว่ามีจิต ขณะนี้เห็นมีจริงๆ ใช่ไหม ไม่ต้องเรียกจิตได้ไหม นี่คือความเข้าใจว่า ที่เห็นมีจริงกำลังเห็น ไม่ต้องเรียกว่าจิตก็ได้ ถึงไม่เรียกจิตก็เห็น ไม่ใช่ว่าพอไม่เรียกจิตแล้วจะไม่เห็น
เพราะฉะนั้น เห็นต่างหากที่มีจริง เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นมีจริงจะเรียกเห็นว่าอะไร เพราะเหตุว่า จำเป็นต้องใช้คำที่แสดงถึงสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่ง ซึ่งหลากหลายมาก เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่เสียง ก็ใช้คำว่าจิตได้ เป็นที่รู้กันว่า ขณะนี้เห็นนี่แหละเป็นจิตประเภทหนึ่ง คือ เป็นธาตุ หรือสิ่งที่มีจริง ซึ่งเป็นสภาพรู้ ธาตุรู้ ไม่เหมือนแข็ง แข็งไม่รู้อะไร ไม่คิดอะไร ไม่หิว ไม่โกรธ แต่ว่าลักษณะของจิต มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ได้ ว่ากำลังมีสิ่งนั้น เพราะจิตเกิดขึ้น และก็กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏจะใช้คำว่าเห็นขณะนี้ก็ได้ หรือเสียงมีจริงขณะที่เสียงกำลังปรากฏ ก็รู้ได้ว่า เพราะมีได้ยินแน่ๆ ไม่ใช่มีเห็น ถ้ามีเห็น เสียงปรากฏไหม ไม่ปรากฏ นี่คือ เราใช้คำเพื่อที่จะได้เข้าใจสิ่งที่มีจริงให้ถูกต้อง ว่าแต่ละคำ ความหมายถึง อะไร หมายความถึงสิ่งที่สามารถจะรู้สิ่งต่างๆ หลากหลายมาก แต่ความหลากหลายของสภาพรู้นั้น ก็ควรที่จะมีชื่อที่ทำให้เห็นความต่างกัน เช่น ในขณะที่เห็นก็เป็นขณะหนึ่ง กำลังรู้สิ่งที่กำลังปรากฏว่าเป็นอย่างนี้ไม่เป็นอย่างอื่นเลย อะไรที่กำลังปรากฏให้เห็นขณะนี้ เป็นอย่างนี้ เพราะจิตเกิดขึ้น และก็รู้แจ้งในสิ่งที่กำลังปรากฏ เวลาที่เสียงปรากฏก็ไม่ใช่เห็น แต่เพราะเหตุว่า เสียงหลากหลายมาก และในเสียงที่ปรากฏหลากหลาย เพราะจิตอีกชนิดหนึ่งไม่ใช่จิตที่เห็น จิตนี้เกิดขึ้นได้ยินเสียง
เพราะฉะนั้น สภาพรู้ มี จะใช้คำว่าอะไรก็ได้ จะใช้คำว่านามธรรมก็ได้ ใช้อะไรก็ได้ให้เข้าใจให้ถูกต้อง ว่าหมายถึงอะไร เพราะฉะนั้น เวลาใช้คำว่าได้ยิน รู้ทุกคนใช่ไหมว่าหมายความถึงอะไร เวลาใช้คำว่าเห็น ก็รู้ว่าหมายความถึงอะไร เวลาใช้คำว่าคิดก็รู้ว่าหมายความถึงอะไร แต่ก็หมายความถึง สิ่งที่มีจริงที่สามารถจะรู้สิ่งต่างๆ หลากหลายนั่นเอง เพราะฉะนั้น ก็ใช้คำกลางๆ ว่าจิตมาจากคำภาษาบาลีว่า จิต-ตะ
อ.กุลวิไล ซึ่งท่านอาจารย์ให้ความเข้าใจ ว่าเห็นเดี๋ยวนี้ไม่ต้องเรียกชื่อว่าจิตได้ไหม ถ้าเราไม่ได้ฟังพระธรรม ว่าเห็นเป็นจิต เราอาจจะคิดว่าเห็นเป็นเราเห็น หรือแม้แต่เห็นก็ไม่ใช่ได้ยิน เพราะได้ยินก็ต้องอาศัยหูนั่นเอง แล้วก็ต้องได้ยินเสียงเท่านั้น ส่วนขณะที่รู้แข็งก็ไม่ใช่ขณะที่เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จิตหลากหลายตามทวาร หรือตามทางที่ให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ และสิ่งที่จิตรู้ก็แตกต่างกัน
ถ้าไม่อาศัยการฟังพระธรรม จะไม่ทราบว่าสิ่งที่มีในขณะนี้เป็นจิต และไม่ใช่จิตอย่างเดียวเท่านั้น ความโกรธก็มี ความติดข้องก็มี ก็ไม่ใช่จิต แต่ขณะนั้นต้องเกิดกับจิตนั่นเอง จิตนั้นจึงมีความติดข้อง หรือแม้แต่ธรรมที่ไม่ใช่ธาตุรู้ ซึ่งเป็นรูปก็ต้องมีด้วยในขณะนี้ แต่สิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่อาศัยการฟังพระธรรมจะไม่ทราบเลย ถึงแม้ท่านจะแสดงชื่อไว้หลากหลาย แต่ก็ไม่พ้นขณะนี้เอง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เพียงแต่จำชื่อ พอถามว่า เห็นเป็นอะไร ก็จะตอบว่าจิตไปจำไว้เท่านั้น ไม่ได้เลย แต่หมายความว่า แม้ไม่ต้องเรียกอะไร สิ่งที่กำลังเห็นมีจริงๆ จะเรียกอะไรก็ได้ ให้เข้าถึงความหมายของสิ่งที่มีจริง ซึ่งใช้คำเพื่อที่จะให้เป็นที่รู้ว่าหมายความถึงอะไร เช่นเห็นมีจริง เป็นจิตที่เห็น ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏให้เห็น ได้ยินมีจริง ที่ได้ยิน คือ จิตที่กำลังได้ยิน ไม่ใช่เสียง นี่คือให้รู้ความจริงของสิ่งที่มีกำลังในขณะนี้ ให้เข้าใจไม่ใช่ให้จำ ว่าได้ยินเป็นจิต และเรียกชื่อต่างๆ หรือว่า เห็นเป็นจิตชื่อจิตเห็น แต่เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น เปลี่ยนสภาพเห็นไม่ได้เลย เห็นจริงๆ เพราะมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น และเห็นก็กำลังเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นนั่นแหละ นี่คือ สิ่งที่มีจริง จริง หรือเปล่า กำลังเห็น มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น
เพราะฉะนั้น ในขณะที่มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ขณะนั้นเป็นเห็นที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ถ้าจะกล่าวเพียงชื่อ ไม่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ไม่มีทางเข้าใจธรรมก็มี แต่ชื่อทั้งนั้นเลย จิตมีกี่ประเภท มีจำนวนเท่าไหร่ แต่ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่มี ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ หรือว่าขณะที่เสียงปรากฏ ก็ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่มีในขณะที่เสียงปรากฎว่ามี ได้ยินซึ่งกำลังได้ยินเสียง ถ้าไม่มีได้ยิน เสียงก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม คือ สิ่งที่มีจริง ก็จะทำให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ชื่อให้รู้ความหลากหลายของสิ่งที่มี
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 781
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 782
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 783
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 784
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 785
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 786
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 787
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 788
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 789
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 790
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 791
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 792
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 793
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 794
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 795
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 796
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 797
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 798
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 799
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 800
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 801
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 802
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 803
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 804
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 805
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 806
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 807
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 808
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 809
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 810
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 811
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 812
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 813
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 814
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 815
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 816
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 817
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 818
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 819
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 820
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 821
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 822
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 823
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 824
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 825
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 826
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 827 --- ไม่ถอดเทป
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 828
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 829
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 830
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 831
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 832
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 833
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 834
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 835
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 836
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 837
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 838
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 839
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 840