ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1163


    ตอนที่ ๑๑๖๓

    สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ ลำพูน

    วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐


    ท่านอาจารย์ ทรงแสดงกำกับไว้ด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ถ้าแต่ยังทรงแสดงธรรมกำกับ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ ไม่ให้หลงผิดเลย เพราะเหตุว่า หาหนทางสิ ทำอย่างไรสิ่งที่ปรากฏทางตานี่ ถึงจะเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ไปให้เกิดดับพยายาม ให้เกิดดับแลกแสนโกฎกัลป ที่เคยไม่รู้แหละเคยจำไว้ค่อยๆ คลายไปเมื่อไหร่ถือสามารถประจักษ์ได้

    ธรรมไม่ใช่ฟังวันนี้ ประจักษ์แจ้งวันนี้ แต่กว่าจะค่อยๆ คลาย คนนั้นก็สามารถรู้ตามตรง คลายหรือยัง เห็นนี่ก็เป็นคุณอรรณพ คุณนพดล คลายหรือยัง เพราะฉะนั้น หนทางคลายๆ ยังไงไม่ใช่ตัวตนไปคลาย แต่ความเข้าใจเพราะสติระลึก เข้าใจอีก เข้าใจอีก เข้าใจอีก

    ค่อยๆ ขัดเกลา ชำระจิตไป ทีละเล็ก ทีละน้อย จนอวิชชาความไม่รู้ และความต้องการไม่สามารถจะเกิดขึ้นปิดบัง เป็นสัจจญาณ ปฏิ ปฏิ กาลรู้ และการถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่ละหนึ่ง จึงเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่มีเราไปนั่งเลือก จะรู้ลมหายใจ หรือปิดจะรู้ รูปนั้น รูปนี้

    เพราะว่าถ้าทำ ก็คือว่า มีความต้องการจะรู้ สิ่งหนึ่งสิ่งใด นั่นก็คือว่า เป็นความต้องการแล้ว เป็นความเห็นผิดแล้ว เป็นการเลือกแล้ว ไม่รู้ว่า ไม่ได้ชำระจิต ถ้าชำระจิตจะรู้ได้ วันนี้เราตื่นขึ้น เมื่อคืนนี้ก่อนนอน ก็ฟังธรรม แต่พอตื่นไม่เห็นนึกว่า ขณะนี้เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เราได้ยินคำนี้บ่อยแค่ไหน มากแค่ไหน พอหรือยัง พอที่จะสติที่เกิดพร้อมกับความรู้ที่ถูกต้องว่า แค่เห็น แล้วก็ไม่มี สองคำด้วยกว่าจะถึงกาล ที่มั่นคงขึ้น สมบูรณ์ขึ้น

    ในขณะที่เห็นว่า แค่เห็น แล้วก็ไม่มี มีแต่เฉพาะขณะที่เห็น และเห็นก็ดับ กว่าจะนำไปสู่การที่สามารถที่จะถึง สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นสติปัฎฐาน ต้องมาจากปริยัติ ซึ่งรอบรู้ในพระพุทธพจน์ ไม่ขัดกันเลย สอดคล้องกันทั้งหมด เพราะทุกคำเป็นคำจริงทุกคำ จนกระทั่งเป็นสัจจญาณ ก็คือ ปัญญา ไม่ใช่เรา เห็นไหม

    นั่นคือ สัจจะที่มั่นคงว่า ทุกอย่าง ทุกสิ่งไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ถึงจะสามารถมี กิจจญาณ คือ สติสัมปชัญญะได้ ยังไม่ใช่การประจักษ์แจ้ง ด้วยการไปนั่งทำอย่างไร ให้รู้ว่าเห็นขณะนี้ดับ สิ่งที่ปรากฏถึงตาดับ ไม่มีการชำระความไม่รู้ และความสงสัย และความเป็นเรานานแสนนานมาได้เลย เพราะฉะนั้น ไม่ใช่หนทางจึงเป็นมิจฉามรรค

    อ.อรรณพ ที่ใช้การแสดงให้เห็นโทษ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมอย่างหนึ่งนี่ ที่ที่พระองค์ไม่ทรงเล็งเห็นเลยว่า จะมีอะไรที่ร้าย ยิ่งกว่ามิจฉาทิฏฐินี้เลย ทิฏฐิก็เป็นอกุศล และเจตสิกที่มีโทษมาก แล้วยังมิจฉาสตินี่ ไม่มีสภาพธรรมเลย แต่ด้วยโลภะ ด้วยทิฏฐิอวิชชา ก็ทำให้คิดว่าอันนี่แล้วจดๆ จ้องตามติดเลย ดูจิตก็จิตทำอะไร กำลังคิดกลับมาอะไร ให้ดูความคิดให้ดูเลย เหมือนตามติดคิดไปเลย คนก็เลยดูว่า นี่เป็นการเจริญสติ เป็นสติปัฎฐาน แต่ว่าไม่มีสติ เจตสิกเลย โล่งเปล่าจากสติ เพราะว่ามิจฉาสติ ไม่ใช่สติที่เห็นจริง

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ สภาพธรรมเกิดดับหรือเปล่า

    อ.อรรณพ เกิดดับ

    ท่านอาจารย์ อะไรปิดกั้น ไม่ให้เห็นการเกิดดับของสภาพธรรม ที่กำลังเกิดดับ

    อ.อรรณพ ความสืบต่อที่รวดเร็ว ของสภาพธรรม ที่เกิดดับนั้น แล้วก็ความที่ปัญญายังไม่เจริญมากพอ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น รู้จักความไม่รู้หรือยัง

    อ.อรรณพ ค่อยๆ รู้จัก ตั้งแต่ขั้นศึกษา

    ท่านอาจารย์ ความไม่รู้ แม้สิ่งนั้นปรากฏเผชิญหน้าเฉพาะหน้า ก็ไม่รู้ แล้วไม่รู้อย่างนี้มานานเท่าไหร่แล้ว เหมือนฉากกั้นที่ดำมืดสนิท หนาแน่น ปิดกั้น ฟังตั้งเท่าไหร่ว่าสภาพธรรม เกิดดับสภาพธรรม ก็ยังไม่ได้ปรากฏการเกิดดับ เพราะความไม่รู้ และการที่เคยยึดถือว่าเป็นเรานี่ หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดนี่ หนาแน่นมากมายมหาศาลระดับไหน แล้วจะให้สามารถละการยึดถือ สภาพธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใดอย่างคุณอรรณพนี่ ได้ทันทีหรือ

    เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ หนาแน่นปานนั้น ถ้าไม่ค่อยๆ ละ ค่อยๆ คลายไปทีละเล็ก ทีละน้อยนี่มีโอกาสที่สภาพธรรม จะปรากฏให้เห็นไหม เราพูดเรื่องจิตก็ไม่ได้ปรากฏเลย เรื่อง เจตสิก แต่ละหนึ่งๆ เกิดดับสืบต่อพร้อมจิต ทำกิจอยู่ตลอดเวลา มากมายมหาศาล นับไม่ถ้วนประมาณไม่ได้ เพราะกว่าจะเห็นเป็นแจกันนี่ ก็คิดดูละกัน จิตจะต้องกระทบสัมผัสกับสิ่งที่ปรากฏทางตา และคิดนึกติดตามมา และ ก็มีจิตคั่นระหว่างนั้น มากมายเท่าไหร่ที่ทรงแสดงไว้ เพื่อให้ไม่ประมาท

    เพราะฉะนั้น สิ่งที่หนาแน่นมากมาย มืดทึบที่ปิดกั้นนี่ คนมีปัญญารู้ว่า ถ้าไม่ละคลาย สภาพธรรมปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้น ละคลายความไม่รู้ ที่มืดหนาแน่น มากมาย ด้วยความเข้าใจความจริง ทีละเล็ก ทีละน้อย ไม่มีใครไปทำอะไรได้เลย

    เพราะฉะนั้น เวลาที่เราฟังธรรมแล้ว ขณะที่กำลังฟังนี่ ได้ยินคำว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง สิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ต้องเกิดแล้วก็ดับด้วย เข้าใจ ไม่มีใครบอกว่าไม่เข้าใจ แต่ไม่ว่าจะเดี๋ยวนี้ หรือเมื่อไรก็ตาม ตื่นนอนขึ้นมาเป็นปกติที่จะไม่รู้

    เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ไปฝืนทำให้รู้ แต่ขณะนั้น ผู้มีปัญญาย่อมรู้ว่า ปัญญาต้องรู้ทั่ว จึงสามารถจะรู้จริงๆ ว่า ขณะนั้น ไม่ใช่เรา เป็นธรรมที่เกิด และดับ

    เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่มี สำหรับผู้มีปัญญา เตือนให้รู้ว่า ยังเข้าใจไม่พอ ที่จะให้สภาพธรรมปรากฏ แต่ถ้าคนที่ฟังธรรมเผินๆ ก็คิดว่า ต้องมีความเพียรไปพยายามที่จะให้รู้ นั่นก็คือ หนทางผิด นิดเดียวที่ปิดบังกันอยู่ ถ้าเป็นผู้ที่ไม่รอบคอบ โลภะกับความเห็นผิด ก็นำไปอีกทางหนึ่ง ให้ไปนั่งปฏิบัติ ไปสู่สำนักไปทำอะไร ไปก้าวเดินผิดปกติ รับประทานผิดปกติไปหมด

    เพราะความไม่รู้ และความต้องการ แต่ถ้ามีปัญญา แค่ลืมตาก็รู้ว่า ยังไม่สามารถรู้ได้ เพราะเราเพิ่งได้ฟัง ในสังสารวัฎนี่ กี่ชาติแล้ว และชาตินี้ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ถ้าเกิดระลึกได้ ก็ขณะนั้นรู้เลยว่า ไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา ไม่มีใครสามารถไปทำให้เกิดเข้าใจทันทีที่ตื่นขึ้น เพราะว่า สติ สามารถจะเกิดเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ไม่มีใครไปทำให้สติเกิดตามเวลา เข้าห้องไป นั่งขัดสมาธิ สติเกิด เป็นไปได้อย่างไร

    ผู้ฟัง ที่มีปัจจุบัน บุคคลที่สอนผิด และให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม แล้วก็ได้ลาภสักการะเยอะมากมาย เขาก็รู้สึกว่า สิ่งที่เขาทำนั้นถูก ทำไมตอนที่เขาทำไม่ดี ผลวิบากที่เป็นลาภสักการะ แม้จะไม่ใช่เกิดจากผลของการกระทำ ณ ตอนนั้น แต่ก็แปลกว่า ทำไมมาให้ผลตอนที่ทำไม่ดี

    ท่านอาจารย์ ทุกคนกำลังเห็น เดี๋ยวนี้ แต่ละคน เพราะกรรมชาติไหน ทำอะไรมา คำตอบคือ ไม่รู้ เพราะฉะนั้น เขาได้รับผลดี ต้องจากกรรมดี ชาติไหนก็ไม่รู้ และการกระทำที่ไม่ดี ขณะนี้ จะให้ผลในชาติไหน ก็ไม่มีใครรู้ ได้ยินเดี๋ยวนี้เป็นผลของกรรมชาติไหน

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ที่เขาทำดี ไม่ดี ชาตินี้ ใครจะรู้ว่ากรรมที่เขาทำไม่ดีชาตินี้ จะให้ผลเมื่อไร และที่เขากำลังได้รับผลดี มาจากกรรมดีในชาติไหนของเขา

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าเรามั่นคงว่า ผลของกรรมดี ย่อมให้ผลดี แต่จะเมื่อไหร่ ก็แล้วแต่แค่

    ท่านอาจารย์ แต่ละคำ ก็ไตร่ตรอง เหตุกับผล ต้องตรงกัน กรรมเป็นสภาพที่ปกปิด เพราะขณะที่ทำ ก็ไม่รู้ว่า จะให้ผลในชาติไหน และผลของกรรม ก็ปกปิดเหมือนกัน คือไม่รู้ว่าผลที่ได้รับในชาตินี้ เกิดจากกรรมในชาติไหน

    อ.อรรณพ ขออนุญาติ สนทนาในประเด็นที่ว่า การสอนที่ผิด การเผยแพร่ที่ผิด ทำให้ได้ลาภสักการะใช่ไหม แต่เรื่องของปัจจัยนี่ เป็นเรื่องที่กว้างขวาง อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบากได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    อ.อรรณพ ไม่ได้ โดยกรรมปัจจัย เพราะกุศลกรรมต้องให้ผลเป็นกุศลวิบาก อกุศลกรรม ให้ผลเป็นอกุศลวิบากถูกไหม แต่เป็นปัจจัยอะไรได้ เป็นประตูนิสสยปัจจัยได้ แต่ไม่ใช่กรรมปัจจัย แล้วก็ไม่ได้เป็นอย่างนี้ตลอดไป คนบางคนทำไมดี ตำรวจจับทันทีติดคุกมีไหม

    ผู้ฟัง มีครับ

    อ.อรรณพ เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่กรรมจะให้ผล ไม่รู้ที่ชัดแจ้งกล่าว ซึ่งก็แล้วแต่ว่า จะเป็นไปตามเหตุปัจจัยใด แต่หนึ่งไม่เกิดขึ้นลอยๆ และบังเอิญไม่มี สองกิดขึ้นต้องมีเหตุมีปัจจัยหลายๆ

    ท่านอาจารย์ ความไม่รู้มีมากมาย เติมคำว่าก่ายกองก็ได้ มากมายก่ายกอง การที่จะเข้าใจทุกอย่างเลย ต้อง ค่อยๆ เข้าใจจริงๆ ตามระดับขั้น

    ด้วยเหตุนี้ ในพระไตรปิฏกก็มีข้อความ ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุด กล่าวถึงสิ่งหนึ่ง สิ่งใดที่เกิดขึ้น ใช้คำว่า สิ่งนั้นเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่อาศัย ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น แสดงว่าต่างก็อาศัยซึ่งกัน และกัน

    เพราะเหตุว่า ล้วนก็เป็นธรรม แต่การอาศัยซึ่งกัน และกันกิดขึ้นนี่ หลากหลาย โดยปัจจัยโดยฐานะต่างๆ กัน เพราะฉะนั้น ต้องเป็นการที่เราเข้าใจสิ่งที่มีก่อน ก่อนที่เราจะรู้ว่าเกิดจากปัจจัยอะไร เพราะฉะนั้น อย่างเวลานี้ที่กำลังเห็น รูปปัจจัย ก่อนเห็นหรือเปล่า ฟังเรื่องปัจจัย เพื่อให้เข้าใจเห็น ถูกต้องไหม

    เพราะฉะนั้น ไม่ว่าฟังเรื่องอะไรทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นเรื่องอื่น ก็เพื่อให้เข้าใจ สิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่อย่างงั้น เราพลาดไปอีกแล้ว มีโลภะความต้องการ อยากจะเข้าใจ ปัจจัยนี้แหละได้ยินชื่อ แล้วก็อธิบายให้ละเอียด เราจะได้เข้าใจปัจจัยนี้ ก็มีความอยาก มีความเจาะจง โดยไม่รู้ตัวเลย

    เพราะฉะนั้น การฟังธรรม ต้องละเอียด ระแวดระวัง เหมือนอยู่ท่ามกลางกองหนาม จะก้าวเท้าไปแต่ละก้าวนี่ ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ที่จะไม่ให้หนามตำ หนามก็คือ กิเลสอกุศลทั้งหลาย ประเภทใดประเภทหนึ่ง

    เพราะฉะนั้น การฟังธรรมะ เพื่อเข้าใจ ถ้าเราคิดว่าเราจะต้องไปศึกษาปัจจัย ๒๔ ให้จบ ถ้าคิดว่าอย่างนั้น ผลคือให้จบ แต่เข้าใจหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุด เข้าใจ เข้าใจอะไร เข้าใจตัวหนังสือ หรือว่าเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพื่อมีความค่อยๆ เข้าใจความจริงว่า ไม่ใช่เรา

    มิฉะนั้น ก็ต้อง ยืดยาวต่อไปสังสารวัฎอีกนับไม่ถ้วน เพราะเรามัวแวะตรงนั้นบ้าง แวะตรงนี้บ้าง ตกไปบ้างกว่าจะขึ้นมาใหม่

    เพราะฉะนั้น ให้ลูกปัญญาของตัวเองว่าปัญญาของเราเนี่ยระดับไหน แค่ได้ยินแต่ละคำเนี่ย เข้าใจเช่นสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมได้ค่าไม่อาศัยสิ่งอื่น เป็นการอุปถัมภ์สนับสนุนให้เกิดขึ้น ก็เกิดไม่ได้ ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ เห็น ถ้าไม่มีตาก็ไม่เห็น

    เพราะฉะนั้น ตาเป็นที่อาศัยใช่ไหม เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีตาจิตเห็นเกิดไม่ได้ และจิตเห็นก็เกิดที่ตา ซึ่งเป็นรูปด้วย เพราะฉะนั้น ฟังเพื่อเข้าใจอะไร ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นคำว่า อาศัย คือ นิสสยะ

    ด้วยเหตุนี้ สภาพธรรมใด ซึ่งเป็นที่อาศัยสภาพธรรม นั้นเป็น นิสสยะ ตาเป็นที่ตั้งที่อาศัย ให้จิตเห็นเกิดขึ้นเป็นที่อาศัยให้เกิดจิตเห็น โดยเป็นที่ตั้งของจิตเห็น จิตเห็นเกิดที่ไหน ไม่ใช่เกิดที่หูแน่ๆ เกิดตรงตา

    เพราะฉะนั้น การที่เข้าใจธรรม แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง ก็ต้องหมายความว่า เราค่อยๆ เริ่มเข้าใจ ทีละเล็ก ทีละน้อย นี่ก็แสดงให้เห็นว่า แม้แต่คำที่ว่าจิต และเจตสิกอาศัยกัน และกันเกิดขึ้นนี้ นี่แสดงความเป็นปัจจัยแล้ว แต่โดยที่ว่า สหชาตปัจจัย เพราะเรารู้ว่าจิต และเจตสิกต้องเกิดพร้อมกัน แต่ดับพร้อมกันหรือเปล่า

    เพราะฉะนั้น สหชาตปัจจัยที่ผลกับเหตุไม่ดับพร้อมกัน มีไหม ถ้าไม่ศึกษาไม่มี แต่ถ้าศึกษา และมี นี่ แสดงว่าเราประมาทไม่ได้เลย จิต เจตสิก เป็นสหชาตปัจจัย เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ใช่ไหมแล้วรูปที่เกิดจากจิต มีจิตเป็นปัจจัยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ครับ

    ท่านอาจารย์ มีจิตเป็นปัจจัย และดับพร้อมกับรูปหรือเปล่า นี่ก็แสดงให้เห็นว่า สภาพธรรมที่อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น และก็ดับพร้อมกัน ได้แก่จิต และเจตสิก แต่รูปที่เกิด พร้อมจิตมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ

    เพราะฉะนั้น จิตที่ทำให้รูปเกิดขึ้น รูปยังไม่ดับ แต่จิตนั้นดับไป ๑๗ ขณะ รูปนั้นจึงได้ดับ ทั้งหมด เพื่อค่อยๆ ชำระความไม่รู้ จากการที่หลงยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา แต่ไม่ได้มุ่งหวังว่า จะต้องวันนี้ เดี๋ยวนี้รู้ให้หมด รู้ให้มากนั่น คือ ความอยาก ซึ่งปิดกั้นทันที

    เพราะฉะนั้น ความอยาก เป็นอาจารย์ แล้วก็เป็นลูกศิษย์ อยากรู้อาจารย์บอกละ ลูกศิษย์ตาม เปิดหนังสือหนังหา ฟังโน่น ฟังนี่ ไม่คิดไตร่ตรอง ทุกเรื่องหมดเลยค่ะไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น

    เพราะฉะนั้น ธรรม ประมาทความละเอียดความรักซึ่งไม่ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ชาติก่อนเคยได้ฟังปัจจัยมา ๒๔ ปัจจัย ชาตินี้จำได้ไหม เหมือนชาติก่อนเคยพูดภาษาอะไร ชาตินี้ไม่รู้สักคำ อาจจะเคยอยู่ที่แคว้นมคธ

    ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือสาวกในภาษามากค่ะที่เข้าใจเดี๋ยวนี้ใครรู้ภาษาบาลีบ้าง ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง สะสมความเห็นถูก คือความเข้าใจถูก แม้ว่าจะได้ยินในภาษาไหน ความเข้าใจที่สะสมมา ก็สามารถที่จะเข้าใจได้

    เพราะฉะนั้น ธรรม เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง ละเอียด กว้างขวาง เพราะปัญญาของพระสัมมาสัมเจ้า ที่กตรัสแสดงธรรมกับเรา ตามที่พระองค์กลับว่าเสมือนเท่ากับ ใบไม้สอง สามใบในฝ่าพระหัตถ์ แต่ว่าความเข้าใจ ความรู้ เพราะปัญญาของพระองค์อุปมาเหมือนใบไม้ในป่าแค่ต้นเดียว ก็กี่ใบละ แต่นี่ใบไม้ในป่า

    เพราะฉะนั้น เราฟังแต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีการที่จะถึงความเข้าใจนั้น โดยรวดเร็ว แต่ว่าต้องอาศัย การไตร่ตรอง และการเข้าใจ โดยการที่ว่า เพื่อรู้ว่า ไม่ใช่ตัวตน และการเข้าใจความรู้อย่างนี่ ไม่หายไปไหนเลย สะสมอยู่ในจิต เมื่อไหร่ล่ะ เข้าใจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ในสิ่งที่ปรากฏ ไม่ว่าปัญญาระดับไหนทั้งสิ้น มาจากที่เคยสะสมความเข้าใจ ทีละเล็ก ทีละน้อย

    เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังเข้าใจ สภาพธรรม ทุกคนกระทบแข็ง เข้าใจแค่ไหน เห็นไหม ไม่เหมือนกัน เด็กเล็กๆ ก็บอกว่าแข็ง ชาติไหนภาษาไหน ก็รู้ว่าแข็ง นักวิทยาศาสตร์อะไรศาสตร์ต่างๆ ก็แข็งทั้งนั้น

    แต่รู้ไหม แข็งนั้นไม่ใช่สิ่งหนึ่ง สิ่งใดที่เที่ยง และไม่ใช่สิ่งหนึ่ง สิ่งใด ซึ่งเขาจำไว้ ว่าเป็นวัตถุสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นวิชาการต่างๆ แต่ลักษณะที่แข็ง เพียงปรากฏ และดับ แล้วจะไม่มีปัจจัย แล้วจะรู้อย่างนี้ได้อย่างไร

    เพราะฉะนั้น กว่าจะชำระจิต ซึ่งเต็มไปด้วยความไม่รู้ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น การที่สิ่งหนึ่งสิ่งใด จะดับหมดสิ้นไปได้ ต้องมีการละคลาย

    เพราะฉะนั้น ที่ว่าวางเสีย ปล่อยเสีย กำไว้อออกแน่น อย่างแน่น แล้วยังไม่รู้หนทาง โดยมันจะปล่อยอย่างไร บางคนยิ่งตกใจยิ่งกำแน่น ใช่ไหม นี่ก็แสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องเป็นความละเอียดอย่างยิ่ง และฟังเข้าใจ แค่ที่จะเข้าใจว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างเกิดเดี๋ยวนี้ เพราะปัจจัยหลากหลายมาก ค่อยๆ เข้าใจไป แต่ว่าไม่ใช่มีความ จงใจ อยากจะรู้จำไว้เยอะๆ จบแล้ว เรียนปัจจัยจบแล้ว จบเลย มีจบไหม แค่ชื่อ

    เพราะฉะนั้น การฟังธรรม ก็คือว่าได้ยินชื่อจริง เข้าใจตาม ที่จะเข้าใจได้ ถึงไม่มีชื่อ แต่เข้าใจได้ ใช่ไหม จิตกับเจตสิกนี่ ไม่ได้แยกจากกันเลย เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน แสดงว่าสหชาตปัจจัยด้วย และสัมประยุตตะปัจจัยด้วย

    สัมประยุตตะ แต่ หมายความว่า นามธรรม เท่านั้นที่อาศัยกันเกิดขึ้น เข้ากันสนิทเป็นไป คือทั้งเกิดพร้อมกัน แล้วก็ดับพร้อมกันด้วย และก็รู้สิ่งเดียวกันด้วย แล้วก็เกิดตรงรูปที่เดียวกันด้วย ไม่ได้แยกกันเกิดว่า เจตสิกเกิดตรงนี้ จิตเกิดตรงนั้น

    นี่ คือ แม้ได้ยินคำว่าสหชาตปัจจัย อาศัยกันเกิดขึ้นก็ยังมีความเข้าใจต่อไปว่า ถ้าจิตเป็นปัจจัยให้รูปเกิดเป็นสหชาตปัจจัยใด แต่เป็นสัมปะยุตปัจจัยไม่ได้ เพราะเหตุว่ารูปไม่สามารถ ที่จะเป็นสภาพรู้ และจิต เจตสิก เกิดพร้อมกันอาศัยกัน และกันรู้สิ่งเดียวกัน และดับพร้อมกัน

    เพราะฉะนั้น จะไม่มีธรรมอื่นเลย ที่สามารถ จะเป็นสัมปะยุตปัจจัยได้ นอกจากจิต และเจตสิก ถึงแม้ว่าจะเกิดพร้อมกัน ก็ไม่ใช่ว่าจะดับพร้อมกัน ถ้าเป็นรูปธรรมดับจิต รูปดับพร้อมจิตได้ไหม

    เนี่ยค่ะกว่าปัญญาจะถึงตัวจริง ความเป็นผู้มีเหตุมีผล ความเป็นผู้ตรง ความเป็นผู้มั่นคง ในสภาพธรรม แต่ละหนึ่ งจิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก รูปเป็นรูป

    เพราะฉะนั้น เมื่อกี้นี้เราได้ยินว่ารูปที่เกิดเพราะจิตมี ใช่ไหม เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นเหตุให้เกิดรูปดับไปก่อน เพราะรูปยังดับไม่ได้ รูปมีอายุเท่ากับจิต ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น เกิดพร้อมกันแต่ดับไม่พร้อมกัน ที่นี่ถาม รูปดับพร้อมจิตได้ไหม เพราะฉะนั้น รูปดับพร้อมจิต แต่ไม่ใช่จิตที่เกิดพร้อมรูป

    นี้ค่ะ รูปอายุ ๑๗ ขณะแต่จิตเกิดดับสืบต่อไม่มีระหว่างคั่นเลย เพราะฉะนั้น รูปดับพร้อมกับจิตไหนก็ได้เมื่อรูปนั้นมีอายุครบ ๑๗ ขณะ เห็นไหมว่า การศึกษาธรรมนี่ ไม่ใช่ให้เราตามตัวหนังสือ แล้วก็จำ แต่ไม่เข้าใจ นั่นไม่มีประโยชน์เลย แต่ว่าฟังแล้ว ไตร่ตรอง ฟังแล้วเข้าใจ ฟังแล้วพิจารณา เพราะฉะนั้น แม้คำถามนิดๆ หน่อยเล็กๆ น้อยๆ ทบทวน ความเข้าใจ มั่นคงระดับไหน ที่จะรู้ว่า ธรรมแต่ละหนึ่ง เป็นธรรมแต่ละหนึ่ง

    ผู้ฟัง ที่ฟังท่านอาจารย์ คือ จิตรูปนี่ คือ จิต กับ รูป นี่เกิดขึ้นพร้อมกัน

    ท่านอาจารย์ คำว่า จิตรูป คืออะไร

    ผู้ฟัง รูปที่เกิดจากจิต

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า จิตนั้นเป็นปัจจัยให้รูปเกิด แต่ละรูป ที่ตัวเนี่ยมีเยอะไหม

    ผู้ฟัง เยอะครับ

    ท่านอาจารย์ บางกลุ่มหรือบางกะลาปะ ในภาษาบาลีเกิดจากกรรม กลุ่มของรูปไหนที่เกิดจากกรรม รูปนั้นจะเกิดจากจิตไม่ได้ เกิดจากอุตุไม่ได้ เกิดจากอาหารไม่ได้ รูปใดที่เกิดจากจิตรูปนั้นไม่ได้เกิดจากกรรม

    ผู้ฟัง จิตรูปก็มีอายุ ๑๗ ขณะ เหมือนกันใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่ประเภท ต้องศึกษาต่อไปอีก รูปที่เกิดดับพร้อมจิตก็มี ต้องศึกษาด้วยความละเอียด ด้วยความรอบคอบอย่างยิ่ง ด้วยความมั่นคง เป็นพื้นฐานให้สามารถที่จะเริ่ม มีการระลึกรู้ ลักษณะของสภาพที่ปรากฏดี ปรากฏดีเพราะเข้าใจอยู่ตรงนั้น

    เวลานี้สภาพธรรมก็ปรากฏ รูปแทนตาปรากฏตั้งเท่าไหร่ ไม่ได้ปรากฏดีเลย หมดแล้ว ดับแล้ว ก็ไม่รู้ ปรากฏดีต่อเมื่อ ขณะนั้น สติสัมปชัญญะเกิด เพราะเข้าใจถ้าไม่มีความเข้าใจ สติสัมปชัญญะเกิดไม่ได้ ต้องละเอียดมาก รู้เลยว่า ความรู้ที่ฟังๆ นี่เท่าไหร่ก็ยังไม่พอ จนกว่าเป็นสัจจญาณ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 186
    17 ต.ค. 2567