ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๑๑
สนทนาธรรม ที่ บ้านทันตแพทย์หญิงวิภากร พงศ์วรานนท์
วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ผู้ฟัง เราทราบว่ากุศลธรรมเป็นธรรมฝ่ายดี เป็นกลุ่มเดียวกับปุ่น แต่ก็ยังมีคนที่กล่าวว่าเบื่อความดี
ท่านอาจารย์ น่าจะเป็นทุกคน ไม่ใช่เฉพาะบางคนใช่ไหม ถ้าคิดลึกๆ เพราะฉะนั้นฟังดูเหมือนแปลก ความดีใครๆ ก็น่าจะชื่นชมชอบ แต่เกิดไม่ได้ถ้าไม่มีปัจจัย เพราะฉะนั้นหมายความว่า ทุกคนสนใจอย่างอื่น ยังไม่เบื่ออย่างอื่น เพราะฉะนั้นก็มีความสนใจในเรื่องอกุศลนี้มาก ใช่ไหม ลืมว่าในขณะที่ไม่เบื่อกุศล ก็เหมือนกับเบื่อกุศล เพราะฉะนั้นทุกคนหรือเปล่า แต่อาการหนักจนกระทั่งถึง แสดงความเบื่อใช่ไหม เพราะเหตุว่าเราชอบจริงใช่ไหม เราไม่ชอบก็จริง แต่พอบอกว่าเบื่อนี่ มันไม่ธรรมดาละ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเวลาที่ทุกคนปกติธรรมดา ก็เป็นอกุศลมากๆ กุศลน้อย ขณะนั้นก็ไม่รู้ว่ากำลังไม่เบื่ออกุศล เมื่อไม่เบื่อกุศลก็คือเบื่อกุศล แต่ยังไม่แสดงอาการออกมา แต่ถ้าแสดงอาการถึงกับเบื่อกุศล นี่หมายความว่า ขณะนั้นไม่รู้จักประโยชน์ของกุศล ไม่ใช่ว่าเรานี่นิดๆ หน่อยๆ แล้วก็เห็นประโยชน์ของกุศลมากมาย แต่ฟังแล้วกุศลดีแต่เห็นประโยชน์ของความดีมากแค่ไหน หรือแค่รู้ว่าดี เห็นว่าความดีมีประโยชน์มากมีหรือที่จะรีรอใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็เป็นไปตามความเข้าใจทั้งหมด ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา
ผู้ฟัง ก็ทราบว่าความดีนี่ดี แล้วก็เห็นผู้ที่กระทำกุศล เจริญกุศล ก็รับรู้ว่าขณะนั้นกำลังทำความดี แต่ก็รู้สึกว่าดีเกินไป
ท่านอาจารย์ เพราะยังชอบความไม่ดีอยู่นี่ สนุกดีกว่า ฟังเพลงดีกว่า อาหารอร่อยทุกสิ่งทุกอย่าง ไปเที่ยวสนุกสนานดีกว่า
อ.วิชัย แต่ก็น่าคิด เพราะว่าปกติแล้ว การเบื่อหรือการไม่พอใจในสิ่งที่มี อย่างเช่นรับประทานอาหารที่ซ้ำๆ กัน ก็รู้สึกว่าจะเบื่อในอาหารนั้น แต่ว่ามีความรู้สึกเบื่อไม่พอใจในความดีที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า เพราะยังพอใจในอกุศล จะเป็นความละเอียดยังไง
ท่านอาจารย์ เวลาที่เราเบื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด เราอยากได้สิ่งอื่นใช่ไหม
อ.วิชัย อยากได้สิ่งอื่น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นกำลังเบื่อๆ กุศล เพราะอยากได้อกุศล
อ.วิชัย ถ้ายกตัวอย่างง่ายๆ ท่านอาจารย์ ถ้ามาฟังธรรม มาพิจารณาธรรม ซึ่งไม่ได้เป็นไปด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่ว่าเป็นไปด้วยความปราณีตของปัญญาที่จะค่อยๆ เข้าใจธรรม
ท่านอาจารย์ และอกุศลจะยอมไหม ให้เป็นอย่างนั้นไปนานๆ เรื่อยๆ ทั้งวัน
อ.วิชัย อ๋อก็ไม่
ท่านอาจารย์
เพราะฉะนั้นก็เป็นธรรมดานี่คือธรรม ถ้าใครไม่เบื่อกุศลนั่งอยู่ที่นี่ทั้งวันสิ ใช่ไหม อ่านหนังสือบ้าง ทำอะไรบ้าง ฟังอย่างนั้นหรืออกุศลไม่ยอม
อ.วิชัย ดังนั้นจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาของบุคคลที่สะสมมา ที่จะมีความเป็นอย่างนั้นได้
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ฟังวิทยุ รายการธรรมฟังแล้วหลายรอบ คุณวิชัยทำยังไง
อา.วิชัย ก็บางครั้งก็จะไปฟังเรื่องอื่น
ท่านอาจารย์ แล้วถ้าเรื่องอื่นก็ฟังอีกหลายรอบ
อ.วิชัย ก็หาฟังเรื่องอื่นไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ทั้งวันหรือ กี่ครั้งที่หาเรื่องอื่น บางทีก็ไม่ต้องหาเรื่องอื่นเลย แค่นี้พอแล้ว เพราะฉะนั้นก็เป็นปกติ ให้ทราบว่ากำลังของอกุศล นี่มหาศาลแค่ไหน ประมาทไม่ได้เลย ขณะที่กำลังไม่ประมาท ชั่วขณะนั้นเท่านั้นที่ไม่ประมาท ขณะต่อไปก็ประมาทละ
อ.วิชัย แต่ถ้าคิดถึงว่า บุคคลที่ถึงกับกล่าวว่าเบื่อความดี มีความเข้าใจในความดีแค่ไหน หรือว่ากุศลแค่ไหน
ท่านอาจารย์ ถึงไม่พูดทำก็ได้ เบื่อละ อ่านหนังสือธรรมมากหลายเล่มละ เบื่อละไปทำอย่างอื่น ไปทานขนม ไปทำอะไรๆ ก็ได้ เห็นไหม ไม่ต้องพูด แต่ขณะนั้นก็เป็นอย่างนั้นแสดงอาการเบื่อแล้ว
อ.วิชัย ก็หมายถึงว่ายังมีอัธยาศัย ที่สนใจในเรื่องที่น่ายินดีพอใจ ต่างกับขณะที่อาจจะอ่านหนังสือ หรือว่าอาจจะฟังธรรม แล้วก็มีความสนใจในเรื่องอื่น
ท่านอาจารย์ กิเลสสะสมมานานเท่าไหร่ แล้วกุศลสะสมมานานเท่าไหร่
อ.วิชัย อกุศลนี่ก็สะสมมานานมาก ประมาณไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอะไรจะชอบอะไร มากกว่ากัน ธรรมดา
อ.วิชัย อกุศลก็ยังมีกำลังมากอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าผิดธรรมดา จะรู้ความจริงไหม นี่คือสิ่งที่คนไม่รู้ และไม่เข้าใจ แล้วก็เผินมาก ลืมว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะละกิเลส จนกระทั่งดับได้เป็นสมุทเฉธละเอียดแค่ไหน ปัญญาต้องค่อยๆ สะสม จนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่มีทั้งหมดที่ปรากฏ โดยความที่ว่าไม่หลงเหลือ ความเป็นตัวตน หรือความเป็นเราได้ ไม่เหลือเลย
อ.วิชัย อย่างเช่นที่กล่าวถึงว่ากุศลธรรม อกุศลธรรม แล้วก็อัพยากตธรรม แสดงให้เห็นถึงความต่างกันของธรรมแต่ละประเภท ที่จะเป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง หรือธรรมที่ไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศลบ้างอย่างไร
ท่านอาจารย์ อัพยากตธรรมก็เดี๋ยวนี้ กุศลก็เดี๋ยวนี้ อกุศลก็เดี๋ยวนี้ ไม่ได้พูดถึงสิ่งที่ไม่มี พูดถึงสิ่งที่แม้มีก็ไม่รู้ ให้รู้เสีย เพราะไม่รู้ความจริงก็คือว่า เป็นอกุศลต่อไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นคนส่วนใหญ่ คิดถึงผลจึงต้องการกระทำ อยากหมดกิเลสใช่ไหม หรือยัง ใช่ไหม หรือว่ายังไม่ต้องหมดกิเลส อยากเข้าใจธรรมมากขึ้น ใช่ไหม เห็นไหม จะไม่พ้นความอยากไปได้เลย แต่หารู้ไม่ว่านั่นไม่ใช่หนทาง ที่จะไปทำยังไง เราถึงจะอยากเป็นกุศลมากขึ้นหรืออะไร นั่นก็คือความเป็นตัวตน ซับซ้อนมาก ลึกซึ้งมาก แต่ต้องไม่ลืมกิเลสทั้งหลายจะหมดไปได้ ก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจ จะไม่ใช้ความรู้ก็ได้ ใช้คำว่าเข้าใจ เข้าใจได้แค่ไหน อย่างอัพยากตธรรม กุศลธรรม อกุศลธรรม พูดแล้วเข้าใจได้แค่ไหน ไม่ใช่ว่าไม่รู้ รู้จนพูดได้ กุศลาธัมมา อกุศลาธัมมา อัพยากตาธัมมา รู้จนพูดได้แต่เดี๋ยวนี้เป็นอะไร เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ตามที่ได้ฟังหรือเปล่า เพราะฉะนั้นแม้แต่ความคิดหรือความเข้าใจเล็กๆ น้อยๆ แต่ละเอียด ก็จะค่อยๆ ทำให้รู้ว่า หนทางที่จะนำไปสู่การรู้แจ้งสภาพธรรม ตามความเป็นจริง นี่ลึกซึ้งแค่ไหน แล้วก็ไม่มีใครสามารถจะไปทำได้เลย นอกจากความเข้าใจ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
เพราะฉะนั้นขณะที่ฟังเข้าใจ และเริ่มที่จะรู้ว่าอะไรคืออะไร เข้าใจต่อไปก็จะรู้ว่าหนทาง ที่จะทำให้เข้าใจนี่คืออย่างไร จะไม่ไปทางผิดเลย เพราะรู้ว่าทางผิดไม่เข้าใจอะไร เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราจะต้องมีคำมากมาย ข้อความในพระไตรปิฏกอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ให้รู้ตามความเป็นจริงว่า เพียงฟังเรื่อง แต่ว่าตัวจริงของธรรม แม้กำลังปรากฏก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นฟังเพื่อเข้าใจถูกต้อง ในสิ่งที่มีตามที่ได้ฟัง แม้แต่คำว่าจิตอย่างนี้ ไม่มีใครหรอกที่บอกว่าเขาไม่มีจิต แต่ใครรู้จักจิต แล้วก็เข้าใจจิตด้วย เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงเบื่อ ถ้าเราเข้าใจจิต เราจะเดือดร้อนไหม เบื่อเป็นเราหรือเปล่า เกิดแล้วมีลักษณะอย่างนั้น เป็นอะไรไม่ต้องเรียกชื่อ แต่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงซึ่งละเอียดมาก แม้แต่โลภะลักษณะเดียว ก็แสดงคำหลากหลายตามความเป็นจริงว่า มีกำลังมากน้อยแค่ไหน อย่างคำว่าเยื่อใย เห็นไหม กับคำว่าโลภมากก็เห็นชัด ในภาษาบาลีก็ใช้คำที่ชาวบ้านชาวเมืองในยุคนั้น เขาเข้าใจได้ แต่ให้รู้ตามความเป็นจริงว่า ไม่ว่าจะใช้คำอะไรภาษาไหน ก็เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรม ในขณะนั้นที่เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้นไม่ได้ แต่ไม่เคยรู้ แม้แต่จะฟัง ยังไม่เคยฟังเลย เพราะฉะนั้นคนที่ไม่เคยฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะพูดคำที่เขาไม่รู้จัก แต่เขาคิดว่าเขารู้ แต่ว่าผู้ที่ไม่ประมาทรู้ว่าคำเดียวกัน เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับคนอื่นพูด ปัญญาระดับไหนที่ต่างกัน ของผู้ที่เปล่งคำแม้คำเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราจะประมาทคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เลย ทุกคำพูดถึงสิ่งที่มีซึ่งไม่เคยเข้าใจมาเลย แล้วก็หลงหาทาง เบื่อแล้วจะทำยังไง เบื่อเป็นยังไงก็ทั้งหมดเลย ทั้งวันทุกวันปัญหาเยอะแยะหมด แต่เพียงแต่จะรู้ว่าจิตเป็นยังไง ฟังทั้งหมด ไม่ว่าเรื่องอะไรทั้งสิ้นก็เพื่อให้เข้าใจจิต ไม่เรียกว่าจิตก็มี นั่นแหละสิ่งนั้นแหละซึ่งไม่เคยรู้
อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้นเบื่อก็มีจริง สำคัญก็คือการฟังพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริง แน่นอนเมื่อกี้ก็พอเข้าใจได้ว่า ว่าเบื่อต้องเป็นอกุศลธรรม แล้วขณะที่เบื่อก็มีความรู้สึกไม่สบายใจ ทุกข์ใจ เพราะฉะนั้นแม้แต่สภาพธรรม ที่เป็นอกุศลธรรมก็มี ที่สำคัญก็คือว่า ค่อยๆ สะสมความเห็นถูก ในสิ่งที่มีจริงนั่นเอง แล้วแม้แต่คำที่เรากล่าว ถ้าไม่ศึกษาพระธรรม โดยละเอียดลึกซึ้ง แม้แต่ความเป็นเรา คำพูดก็ส่องให้เห็นว่า เราเข้าใจความเป็นธรรมแค่ไหน ฉะนั้นการที่เราได้ฟังคำที่เป็นคำจริง ก็เป็นการสะสมความเห็น ถูก แล้วธรรมก็ไม่พ้นจิตเจตสิก และรูปนั่นเอง ที่เกิดขึ้นทำกิจการงานในขณะนี้ แต่พระธรรมลึกซึ้งมาก เพราะฉะนั้นก็ค่อยๆ สะสมความเห็นถูก แล้วก็เข้าใจในสิ่งที่มีจริงขณะนี้ เพราะฉะนั้นแม้แต่ความเข้าใจสิ่งที่เกิดแล้ว ก็คือธรรมนั่นเอง
ผู้ฟัง หนูชอบคิดอย่างหนึ่ง เวลาเรารับวิบากกรรมอะไร อย่างเช่นรับเสียง เสียงที่แบบเราไม่ชอบนี่ ชอบคิดเทียบเคียงว่า ถ้าเป็นท่านผู้รู้อะไรอย่างนี้ ท่านแบบสั่งสมมาดีแล้วมันจะไม่มีกิเลสอะไรนี้
ท่านอาจารย์ ฟังธรรมเหมือนเข้าใจธรรม แต่เข้าใจว่าธรรมนั่นน่ะเป็นเรา ทุกเรื่องไปเลยเห็นไหม ฟังแล้ว เอ๊ะ คนนั้นเค้าคิดยังไงเขาจะเข้าใจยังไง เพราะฉะนั้นยังไม่ถึงความเป็นธรรมจริงๆ เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่าอกุศลธรรม เราพูดธรรมดา ลึกซึ้งไหม ถ้าไม่ลึกซึ้งใครตรัสคำนี้ เห็นไหมปัญญาของใคร แล้วเราบอกอกุศลธรรมไม่ลึกซึ้ง
อ.วิชัย ท่านอาจารย์จะกล่าวถึงอกุศล เป็นสภาพที่ลึกซึ้งแน่นอน และก็พระองค์ยังแสดงกำลังระดับของอกุศลด้วย
ท่านอาจารย์ แล้วทำไมว่าลึกซึ้ง เห็นไหม พูดแล้วต้องเข้าใจ ทำไมว่าลึกซึ้ง
อ.วิชัย เพราะว่ารู้ได้ยากมากเลย
ท่านอาจารย์ เพราะมี ก็ไม่รู้ กำลังมีด้วย ก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นเราจะไม่รู้เลย ว่าที่เราเริ่มมาสนทนากัน พูดเรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง เพื่อให้เข้าใจ ถูกไหม แม้ความเข้าใจก็เบาบาง เห็นไหม ยังไม่หนาแน่นมั่นคง ที่สามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏได้ แต่ถ้าไม่มีเลย เห็นไหมไม่มีหนทางเลย เพราะฉะนั้นการฟังแต่ละคำ แม้ว่าความเข้าใจจะไม่มากมาย อย่างที่คนที่ได้รู้ความจริงแล้วก็จริง แต่เป็นหนทางที่ว่าก่อนจะรู้ความจริงอย่างนั้นน่ะ ถ้าไม่มีทีละเล็กทีละน้อยอย่างนี้ แล้วจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้นจึงรู้ว่ามีหนทางเดียว ไม่ใช่ใครด้วย แต่ความเห็นถูกความเข้าใจถูกต่างหาก เกิดขึ้นจากการฟัง มีการเข้าใจ ไตร่ตรอง แม้เพียงเล็กน้อยค่อยๆ เป็นสังขารขันธ์ ผสมผสานกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีความเห็นถูกในคำที่ได้ฟัง และในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นขาดไม่ได้ แต่ว่าน้อยเหลือเกินก็จริง แต่ก็ค่อยๆ ทีละนิดทีละหน่อย เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจแล้วท้อถอยไหม เพราะเป็นหนทางที่ชัดเจนว่าไม่มีทางอื่น
ผู้ฟัง ไม่ท้อถอย
ท่านอาจารย์ ถ้าคนคิดว่ายังมีทางอื่น เขาอาจจะไปหาทางอื่น เขาถอยที่จะฟังให้เข้าใจ ใช่ไหม แต่ถ้ารู้ว่าไม่มีหนทางอื่นเลย หนทางนี้เท่านั้นไม่ท้อถอยเลย เพราะเหตุว่าได้เริ่มต้นค่อยๆ เข้าใจขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น เพราะฉะนั้นคำทุกคำเป็นการละ โลภะ ความติดข้อง ซึ่งถ้าไม่ละโลภะซึ่งปิดบังสภาพธรรมทุกอย่างที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ก็ไม่สามารถจะรู้ความจริงของที่ละ ๑ จนกว่าจะเข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นก็เป็นหนทางที่ละเอียด แต่ละคำต้องเข้าใจ เมื่อกี้นี้ได้ยินคำว่าสังขารขันธ์ กำลังพิจารณาสังขารขันธ์ ชื่อนี้ แล้วก็ความจริง ถ้าไม่พูดถึงจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ มีหน้าที่อย่างเดียว เห็นแจ้ง ลักษณะ สิ่งที่มีที่ปรากฏในขณะนั้น ก็รู้ว่าแยกไปต่างหากเลย ใช่ไหม จิตเมื่อไหร่เห็น รู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ ได้ยิน รู้แจ้งเสียง ได้กลิ่น ก็รู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้นขณะนั้นก็ยังมีความรู้สึกอีก และก็มีความจำอีกที่กำลังมี แต่ก็แยกเป็นแต่ละ ๑ ว่าขณะที่จิตกำลังรู้แจ้งลักษณะไม่ใช่ขณะที่จำ แต่เดี๋ยวนี้มีจำแน่นอน ใครจำอะไรไม่ได้บ้าง ถึงยังไงก็ต้องจำ จะรู้หรือไม่รู้ก็จำพร้อมกับการเห็น และใครจะรู้สึกยังไงก็ตามแต่ แต่ความรู้สึกก็เป็นความรู้สึก ที่เหลือทั้งหมดที่ไม่ปรากฏ เป็นธรรมที่เป็นสังขารขันธ์ เจตสิกทั้งหมด
เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าใจธรรม เรากล่าวถึงโดยนัยหลากหลาย ให้พิจารณา จนกระทั่งไม่ใช่เพียงเข้าใจแค่คำ สังขารขันธ์ แต่พอพูดถึงจิตเห็น เราไม่ได้คิดถึงว่าจะไปปรุงแต่งอะไร ใช่ไหม แต่ว่าเวลาที่รู้สึกก็รู้สึกแล้ว สุขบ้างทุกข์บ้าง เวลาจำก็จำแต่อื่นๆ ล่ะ ชอบบ้างไม่ชอบบ้าง ก็มีหน้าที่ของตนของตนๆ ซึ่งปรุงแต่ง ถ้าชอบก็ปรุงแต่งไปตามความชอบ ถ้าไม่ชอบก็ปรุงแต่งไปตามความไม่ชอบ เห็นไหมทั้งหมดนี่ เราก็เริ่มจะเข้าใจความจริงของชีวิตว่า ทำไมสภาพธรรมจึงต่างกันเป็นขันธ์ ๕ เจตสิกมีเท่าไหร่ ไม่ให้จำเพียงจำนวน แต่กล่าวให้รู้ว่าความจริงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ หมายความว่าสิ่งนั้นมีจริง แต่การฟังว่าเป็นเจตสิกไม่ใช่จิต จำนวนที่เราได้ฟัง และอ่านเจตสิกในหนังสือ ก็แสดงว่าเจตสิกมี ๕๒ ประเภท แต่เวลาที่เจตสิก ๑ ปรากฏ ไม่รู้ว่าเป็นเจตสิก แต่ว่าโดยการอ่าน เจตสิกในหนังสือมี ๕๒ ใช่ไหม อย่างความรู้สึกเกิดขึ้น เราก็ไม่ต้องไปเรียกว่าเจตสิก แต่เพราะมีจิตสิ่งนี้จึงมี ถ้าไม่มีจิตนี่จะมีความรู้สึกไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มี เพราะฉะนั้นไม่ต้องเรียกว่าเจตสิกก็ได้ แต่เริ่มเข้าถึงความหมายของคำว่าเจตสิก เพราะเหตุว่าจิตมี เพราะฉะนั้นสภาพธรรมอื่นๆ ก็เป็นไป ในขณะที่จิตเกิดขึ้นตามสมควร แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ทั้งหมดก็มีเจตสิก ๕๒ ประเภท จำจำนวนไว้ก่อนก็ได้ จะได้รู้ว่า วันนี้เจตสิก ลองคิดดูกี่เจตสิกที่เกิดบ้าง ที่พอจะรู้ได้ มีไหม เห็นไหม แม้เกิดก็ไม่รู้ก็เป็นเราไปหมดเลย แต่กว่าปัญญาจะรู้จริงๆ ไม่ใช่เพียงอ่านแล้วจำ แล้ว บอกว่านั่นเป็นเจตสิกอะไร นี่เป็นสัญญาเจตสิก นั่นเป็นเวทนาเจตสิก นั่นเป็นเจตสิก นั้นๆ ซึ่งเป็นสังขารขันธ์ ก็เอาความเข้าใจซึ่งไม่มีใครไปทำเลย แต่ขณะนี้ความเข้าใจ ค่อยๆ ปรุงแต่ง แต่ละ๑ หลากหลายมาก จนกระทั่งปรากฏว่าคิดก็ต่างกัน รู้ก็ต่างกันความเข้าใจก็ต่างกัน เป็นแต่ละ ๑ แม้ว่ารู้ความจริง ก็ความจริงซึ่งปรากฏกับแต่ละคน โดยการสะสมมา ซึ่งเป็นปัจจัยละเอียดมากเลย ทั้งหมดเพื่อให้รู้ว่าไม่ใช่เราในขั้นการฟัง ความเข้าใจปริยัตติศาสนา หรือปริยัตติสัทธรรม หรือคำว่าปริยัตธรรม คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บริบูรณ์เป็นสัจธรรม ต้องการยิ่งกว่านี้ไหม เอาไปถึงนิพพานเลยเอาไหม เพียงแค่ที่ว่าจะเข้าใจจริงๆ มั่นคง พร้อมกับการที่รู้ว่า แม้ว่าไม่ใช้คำว่าเจตสิก แต่นั่นแหละถ้าไม่มีจิตก็ไม่เกิดแน่ๆ เลย ไม่มีเหตุ จะไปชอบอะไร จะไปโกรธอะไร พอไม่มีการได้ยิน อยู่ดีๆ ก็ชอบขึ้นมาเฉยๆ จะไปชอบอะไรได้ ใช่ไหม นี่ก็แสดงให้เห็นว่าที่เราได้ฟังว่าจิต และเจตสิกอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น เกิดพร้อมกัน แต่แม้กระนั้นจิตก็ไม่ใช่เจตสิก เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ เจตสิกทั้งหมดไม่สามารถที่จะกระทำกิจของจิตได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นแต่ละ ๑ จริงๆ ฟังเพื่อขณะนี้ความเข้าใจเขาค่อยๆ เข้าใจ กำลังทำงานไป ไม่มีเราเลย
อ.วิชัย ฟังเพียงแค่นี้ คิดว่าเพียงพอหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่
อ.วิชัย เพราะว่าเพียงเริ่มที่จะค่อยๆ รู้ขึ้นใช่ไหม ว่าธรรมชาติคือจิตเกิดขึ้นนี่ จะปราศจากเจตสิกไม่ได้ ฉะนั้นจิตเนี่ยที่มีความหลากหลาย เป็นประเภทต่างๆ เดี๋ยวโกรธบ้าง เดี๋ยวโลภบ้าง ใช่ไหม นั่นไม่ใช่จิตเป็นสภาพที่โกรธ หรือว่าจิตเป็นสภาพที่โลภ แต่ขณะนั้นจิตประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเจตสิกนั้นแหละ ที่เป็นความโลภ ความติดข้อง ที่ว่าเป็นโลภะบ้าง หรือว่าความโกรธ ความไม่พอใจ ที่เรียกว่าเป็นโทสะบ้าง งั้นความเข้าใจความเป็นจริงของธรรม จะค่อยๆ ละเอียดขึ้นจนมั่นคง ว่าทุกๆ ขณะของชีวิต ก็คือเป็นธรรมที่เค้าเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่จริงๆ แล้วแต่ว่าจะมีปัจจัยจากการสะสมที่จะให้ธรรมใด เกิดขึ้นก็เป็นอย่างนั้น แต่ปัญญาที่สะสมมาเข้าใจความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดแล้ว เหมือนอย่างนี้เลย เกิดแล้วทั้งหมด แต่ปรากฏหรือเปล่า ถ้าไม่มีคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะแสดงความเป็นจริง ของธรรมแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วจะรู้ได้อย่างไร ถ้าไม่มีคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ เจตสิกมีเท่าไหร่
ผู้ฟัง มี ๕๒
ท่านอาจารย์ ตอนนี้รู้แล้วนะ ถามว่าเจตสิกในชีวิตประจำวันที่มีที่รู้ ตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งปรากฏให้รู้ว่ามีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง สัญญา
ท่านอาจารย์ สัญญาเจตสิก แค่เดี๋ยวนี้จำ สัญญาละ เห็นไหม กว่าจะไปถึงตัวจริง ก็โดยเข้าใจว่าแม้ขณะเห็นนี่ก็จำ จะไปจำตอนไหนล่ะถ้าไม่เห็น จะมาจำอย่างละเอียดอย่างนี้ได้ไหม แต่ละดอก เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ชีวิตประจำวัน ตื่นมาก็จำแล้ว ทั้งวันก็จำหมด เพราะฉะนั้นสภาพจำนี่ไม่ใช่จิต แต่เกิดกับจิตแล้วก็จำทุกอย่าง เพราะฉะนั้นจะใช้คำว่าสัญญาเจตสิก หรือจะใช้คำว่าจำก็ได้ ๑ ละ มีจริงๆ ไหม
ผู้ฟัง มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ไงจำ ถ้วยแก้ว นี่โต๊ะ และก็กำลังมีจริงๆ เพียงแต่ไม่ได้ชี้ลงไปไว้นั้นคือธรรมมีจริง แต่ไม่ใช่เห็นเป็นสภาพที่จำ ๑ แล้วปรากฏให้เข้าใจได้ว่ามี เพราะฉะนั้นกำลังจำเมื่อไหร่ สามารถจะเข้าใจลักษณะนั้น ในความไม่ใช่เรา กว่าจะถึงวันนั้น ก็ต้องอาศัยการฟังแล้วฟังอีก อะไรอีก ๑ ละ ในชีวิตจริงของตัวเองไม่ต้องไปคิดถึงคนอื่น ที่ปรากฏที่รู้ได้อย่างจำได้ มีจริงๆ
ผู้ฟ้ง ไม่สบายใจ สบายกาย
ท่านอาจารย์ สบายใจเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก เป็นความรู้สึก
ท่านอาจารย์ เป็นความรู้สึก ๒ ละนะ ไม่ปนกันนะ สัญญาเจตสิกกับความรู้สึกคือเวทนาเจตสิก
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260