ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๑๙
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมนิวซีซั่น หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ศึกษาด้วยความเคารพจริงๆ แม้แต่อนัตตาก็กลายเป็นอัตตาให้ทำสมาธิ สมาธิคืออะไรก็ไม่รู้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมทุกประเภท โดยความละเอียดยิ่ง โดยประการทั้งปวง เพื่อให้รู้ว่าไม่ใช่ใครทำ แต่มีปัจจัยก็ต้องเป็นไป ต้องเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้นพุทธบริษัทคือผู้ที่ศึกษาธรรมเข้าใจธรรม ไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือคฤหัสถ์ ก็ต้องต่างกันตามการสะสมว่า ถ้าเป็นภิกษุต้องรักษาพระวินัย ต้องเคารพอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าจะนำไปสู่การขัดเกลากิเลส ใครบัญญัติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครจะเปลี่ยน คิดดู พระองค์จะทรงทราบไหมว่า เมื่อปรินิพพานแล้วจะมีการสังคายนา พระองค์มีพระปัญญา เกินกว่าที่ใครจะรู้ได้ อดีตที่ผ่านมาแล้วเท่าไหร่ อนาคตเท่าไหร่ที่จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นก็รู้ด้วยว่าใครจะเป็นผู้สังคายนา ทรงแลกผ้าจีวรของพระองค์กับท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัสสปะเป็นภิกษุผู้ใหญ่อีกท่านหนึ่ง ก็คือนอกจากท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวกแล้ว ก็คือท่านพระมหากัสสปะ แต่ก็ไม่มีอัครสาวกที่ ๓ แต่มีผู้ที่เป็นภิกษุผู้ใหญ่ซึ่งจะกระทำสังคายนา และในการทำสังคายนา แม้แต่ใครจะอ้างที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ทรงอนุญาตไว้ก็ตามแต่ แต่ผู้ที่กระทำสังคายนาล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ไม่เปลี่ยนแปลงเลย แล้วภิกษุยุคนี้เป็นใคร แล้วเปลี่ยนแปลงคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคารพในพระปัญญาคุณ ในพระบริสุทธิคุณ ในพระมหากรุณาคุณหรือเปล่า แล้วกล้าที่จะเปลี่ยนได้ หรือในเมื่อสังคายนาโดยพระเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านไม่เปลี่ยนเลยสักข้อเดียว
เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งซึ่งพุทธบริษัท จะต้องมีความเคารพในพระธรรม และพระวินัย ศึกษาจริงๆ ต้องสอดคล้องกันทั้งหมดเลย อนัตตาเป็นอนัตตา แล้วใครให้ทำสมาธิ ให้เข้าใจเลยว่าสมาธิคืออะไร ไม่ใช่เรายังไงถ้ารู้จักสมาธิเป็นเราเลย สมาธิก็เป็นสมาธิ จะเป็นเราได้ยังไง แล้วเราไหนจะไปทำสมาธิ มีเราตรงไหน ในเมื่อได้ทรงตรัสรู้ว่า ทุกอย่างที่มีเป็นธรรมแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตน ทรงไว้ซึ่งสภาพนั้น ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็โดยความเป็นธาตุ ธ า ต ุ ลักษณะซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม เมื่อเข้าใจแล้วก็จะดำรงพระศาสนา คือคำสอนที่ถูกต้องไว้ สำหรับให้พระศาสนาดำรงอยู่ต่อไป เพราะเหตุว่าถ้ามีใครที่เข้าใจธรรมแล้ว สิ่งที่หวังดีต่อกันก็คือว่าให้สิ่งที่ดีที่สุดคือ ความจริง และความถูกต้อง ไม่ใช่สิ่งที่ผิดเป็นโทษ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะให้ใคร ธรรมก็ต้องไตร่ตรอง ลึกซึ้ง รอบคอบ สอดคล้อง พิสูจน์ได้ให้คนนั้นได้พิจารณาได้เข้าใจว่า นี่คือคำจริงตามคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เพราะฉะนั้นการสนทนาธรรมเป็นมงคล ที่ทำให้สามารถที่จะรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด แล้วก็ถ้าเป็นผู้ที่รู้คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะศึกษาต่อไป แล้วก็ถ้ามีความเข้าใจ และก็มีความหวังดีต่อทุกคน ไม่ว่าเขาเป็นใคร ต้องเลือกไหม ใช่ไหม ก็ยากไหมที่จะให้คนได้มีโอกาส ได้เข้าใจถูกต้อง แต่ถ้าเข้าใจถูกแล้ว ไม่แบ่งปันหรือ ไม่หวังดีหรือ
เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้เข้าใจธรรม แล้วก็พยายามทุกอย่าง ที่จะพูดคำจริงต้องกลัวอะไร ในเมื่อเป็นคำที่หวังดี ที่จะให้คนได้เข้าใจถูกต้อง แล้วก็จะได้ดำรงคำสอนที่บริสุทธิ์ และถูกต้องไว้ต่อไป ไม่เช่นนั้นก็คิดว่าไม่มีใครเข้าใจธรรม แล้วก็ช่วยกันทำลายพระศาสนาด้วย เมื่อให้เงินแก่ภิกษุ ภิกษุรับเงินหมายความว่ายินดีรับใช่ไหม แต่เป็นภิกษุเพราะสละแล้วใช่ไหม ตรงไหม สละแล้วกลับมารับ ถ้าจะรับก็เป็นคฤหัสถ์เมื่อไหร่ก็ได้ ลาสิกขาบทไม่มีใครห้ามเลย เป็นประโยชน์ทั้งกับตนเอง และพระศาสนาด้วย ว่าพระธรรม และพระวินัยต้องบริสุทธิ์ ใครจะทำลาย คือผู้นั้นไม่เคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะให้เงินพระภิกษุไหม ลองคิดดู เห็นกันอย่างนี้ แล้วถ้าไม่ปลงอาบัติไปสู่อบายภูมิเมื่อตาย แล้วใครจะตายเมื่อไหร่ จะรู้หรือ แล้วก็ชาวพุทธหรือใครก็ตามแต่ ให้เงินพระภิกษุ ให้เขาไปนรกหรือเปล่า เขาจะปลงอาบัติทันไหม และถ้าปลงหมายความว่ายังไง อาบัติหมายความถึงโทษที่ได้ล่วงเกิน ไม่ประพฤติตามพระวินัย ปลงหมายความว่าสำนึกที่จะเป็นพระภิกษุในธรรมวินัย ต้องแสดงโทษตามที่ได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าความผิดสถานใด จะพ้นจากโทษนั้นได้ โดยจะประพฤติปฏิบัติอย่างไร ต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยด้วย คฤหัสถ์ทำผิดเยอะไม่ต้องไปแสดงโทษกับใคร ทุจริตต่างๆ ไม่เห็นบอกใครเลย ใช่ไหม แต่พระภิกษุต้องประพฤติปฏิบัติ ขัดเกลากิเลส ถ้ากระทำผิดพระวินัย สำนึกว่าผิด จึงจะเป็นภิกษุ เท่านั้นไม่พอยังเปิดเผยโทษ แสดงโทษให้เห็นความจริงใจว่า นี่คือกิเลสซึ่งทำให้ประพฤติผิด โดยที่ว่าตั้งใจที่จะขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต แล้วก็ประพฤติผิดพระวินัย ซึ่งไม่ขัดเกลา นี่คือความจริงใจ สำนึกแล้วจะทำอีกไหม แต่กิเลสมีกำลังไหม ทำบ่อยๆ ควรเป็นภิกษุไหม ก็แสดงให้เห็นชัดเจนในความเป็นผู้ตรงใช่ไหม ไม่เห็นมีใครบังคับเลยว่าต้องเป็นภิกษุ ถ้าอยากจะเหมือนคฤหัสถ์ ก็ลาสิกขาบท ใช่ไหม
ทำไมพระภิกษุในครั้งพุทธกาลอยู่ได้ ด้วยคุณความดี ที่ทำประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นสมบัติที่ภิกษุ และวัดวาอารามได้มาทั้งหมด ไม่ว่าประเทศไทยหรือประเทศใดในโลก เป็นมรดกที่เขาถวายแก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งนั้น ไม่ใช่ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเลย ไม่ใช่ให้แก่พระภิกษุรูปนี้หรือรูปนั้น ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่เป็นมรดกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามอบให้ผู้ที่เห็นคุณ และมีศรัทธา ที่จะดำรงพระศาสนาไว้ แต่ว่าต้องรู้ว่าวัดคืออะไร ที่อยู่ของผู้สงบ ถ้าผู้นั้นไม่สงบ วัดเป็นวัดหรือเปล่า สถานที่นั้นเป็นวัดวาอารามหรือเปล่า อารามที่รื่นรมย์พ้นจากกิเลส เพราะขัดเกลากิเลส ไม่มีสิ่งแวดล้อม ที่จะมาทำให้กิเลสกำเริบ แต่วัดเดี๋ยวนี้ มีมหรสพในวัด กิเลสกำเริบไหม ผู้สงบหรืออยู่ที่นั่นใครไปทำให้ไม่สงบ คนที่ไม่ได้นับถือพุทธไม่ได้ทำหรอก ใช่ไหม แต่ชาวพุทธต่างหากที่ไม่เข้าใจ กล่าวว่านับถือพุทธศาสนา แต่เมื่อไม่เข้าใจพระธรรมวินัย นับถืออะไร ผ้ายันต์ของขลังอะไรก็ไม่รู้ ใช่ไหม แต่คำสอนไม่รู้เลย เพราะฉะนั้นชาวพุทธต้องรู้จัก พุทธบริษัทคือใคร และจะทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ ก็ต้องตามพระธรรมวินัย
ผู้ฟัง เมื่อใดที่สภาวธรรมที่เกิดดับไปแล้ว ยังมีความรู้สึกต่อไปอีกว่า เพราะเรารู้ว่าระดับไปแล้ว
ท่านอาจารย์ พอฟังธรรมแล้วถูกไหม ที่คิดอย่างนั้น
ผู้ฟัง ไม่ถูกเลย
ท่านอาจารย์ เริ่มเข้าใจถูกว่า เราไม่รู้ความจริง หลงผิดยึดถือสิ่งที่เกิด และดับ ว่ายังคงมีอยู่ ลองคิดดู ค่อยๆ พิจารณา สิ่งนั้นไม่มีแล้ว แต่ยังมีความติดข้องพอใจอยู่ในสิ่งนั้น ไม่ฉลาดเลยถูกต้องไหม เพราะฉะนั้น เริ่มรู้สึกว่าจริงจริงแล้ว ถ้าสามารถที่จะเข้าใจได้ถูกต้องดีกว่าปล่อยให้ไม่เข้าใจต่อไป ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แต่ว่าเป็นสิ่งซึ่งใครก็รับไม่ได้ ทั้งๆ รู้ฟังแล้วเห็นขณะนี้เกิด และดับ แต่เห็นนี่เกิดดับสืบต่อ
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ จนกระทั่งเหมือนไม่ได้ดับเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏ เป็นนิมิตในภาษาไทย ภาษาบาลี ก็คือนิมิตตะ สิ่งที่เป็นสัณฐานหรือว่าลักษณะที่ยังคงปรากฏ เหมือนอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเห็นจะเปลี่ยนเป็นได้ยินไม่ได้ แต่แม้เห็นขณะนี้เอง พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ว่าไม่ใช่เห็นเก่า แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ เกิดดับสืบต่อโดยมีจิตคั่นระหว่างนั้น ก่อนที่จะรู้ว่าเห็นอะไร นี่คือความน่าอัศจรรย์อย่างยิ่งของปัญญาที่สามารถจะค่อยๆ เริ่มจากฟัง เป็นโพธิสัตว์คือข้องอยู่ในการที่จะเข้าใจความจริง เพราะรู้ว่าเมื่อสิ่งนี้จริง ย่อมสามารถที่จะรู้ได้ ดีกว่าไม่รู้แล้วก็ปล่อยไป ซึ่งถ้าไม่รู้จะไม่รู้ต่อไปในสังสารวัฎฏ์ ออกจากความไม่รู้ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการที่จะออกจากความรู้ ไม่ง่าย แต่มีหนทาง และหนทางเดียวคือคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะนำออกจากสังสารวัฏฏ์ เพราะว่าแต่ละคำเป็นปัญญา เป็นความเห็นที่ถูกต้อง แต่ละคำพิจารณาไตร่ตรองเป็นคำจริงทุกคำ เพราะฉะนั้นก็เริ่มฟัง เริ่มค่อยๆ เข้าใจมั่นคง ขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเดี๋ยวนี้เกิดแล้ว ตามเหตุตามปัจจัย ไม่ต้องไปทำอะไรอีก ใช่ไหม ไปทำหมายความว่าสิ่งนั้นยังไม่เกิด และเราตัวเรานี่แหละจะไปทำ ก็ผิด หลงผิดไปทีละเล็กทีละน้อย จนในที่สุดก็ผิดใหญ่ ไม่สามารถที่จะกลับมาฟังคำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เพราะมีการเชื่ออย่างมั่นคงในความคิด ในคำของคนอื่น ซึ่งไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นตรงก็คือตรง ยากก็คือยาก ลึกซึ้งก็คือลึกซึ้ง แต่ปัญญารู้ได้ จากการไม่เคยฟังเลย ไม่รู้เลย ยังฟังได้เข้าใจได้ และคิดว่าถ้าฟังต่อไปอีก ก็ต้องเข้าใจมากกว่านี้อีกโดยไม่ใช่เรา แต่เป็นการค่อยๆ รู้ความจริงค่อยๆ มั่นคงว่าไม่ใช่เรา ทุกคนยังเป็นเราหรือเปล่า ถ้าปัญญายังไม่ถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นรู้ได้เลยว่าเป็นความต่างกัน ฟังเข้าใจ ก็เข้าใจ แต่ยังไม่รู้เฉพาะ ๑ ที่กำลังปรากฏ ด้วยความเข้าใจ ตามที่ได้ฟัง
อ.คำปั่น น่าพิจารณาอย่างยิ่ง แม้แต่ที่กล่าวถึงขณะที่ได้ยิน แต่ก่อนก็คิดว่าเป็นเราที่ได้ยิน แล้วก็เข้าใจผิดว่าเป็นหูด้วย ใช่ไหมที่ได้ยิน แต่พอได้เริ่มฟังเริ่มศึกษาพระธรรม ก็จะเริ่มเห็นถึงความเป็นจริงของธรรม ว่าอะไรที่ทำหน้าที่ได้ยิน ก็คือจิตประเภทหนึ่งที่ทำกิจนี้ ก็คือทำกิจได้ยิน เป็นนามธรรมที่เกิดขึ้นทำกิจได้ยิน แต่ก็ต้องมีสภาพธรรมอื่นๆ ที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้มีการได้ยินเกิดขึ้น หนึ่งนั้นก็คือต้องมีโสตปสาทเป็นรูปที่พิเศษ ที่สามารถรับกระทบกับเสียงได้ นี่คือเป็นหนึ่งปัจจัย ที่จะเป็นเหตุทำให้มีการได้ยินเกิดขึ้น ก็เป็นธรรมที่มีจริงทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นการที่มีโอกาสได้ฟัง ได้เริ่มไตร่ตรอง ในความเป็นจริงของธรรม จะทำให้มีความมั่นคงในความเป็นจริงของธรรมยิ่งขึ้น ว่ามีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ มีอะไรเป็นของใครจริงๆ บ้างไหม ไม่มี เพราะดับแล้ว หมดแล้ว ดับแล้ว หมดแล้ว ดับแล้ว ไม่เหลือเลยตลอดเวลา รู้ได้ไหม รู้ได้แน่นอน เพราะว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม มีสาวกผู้ฟังมากมายที่รู้ความจริง เพราะว่าได้เคยฟังมาแล้ว ทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งสามารถเข้าใจ จนถึงประจักษ์แจ้งความจริงได้
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์สุจินต์ เข้าใจคำว่าแต่ละ ๑ ในขั้นฟัง แล้วก็ได้ยินคำว่าสะสมในส่วนของสะสมนี่คืออยู่ในส่วนของสัญญาใช่ไหม แล้วก็ในบุพเพสันนิวาสบ้านธัมมะจะไม่ค่อยพูดถึง หรือว่าคำนี้ไม่มีในพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เข้าใจธรรมก็เชื่อเลยใช่ไหม แต่พอฟังธรรมแล้วรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ผิดเพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นก็มีเรื่องราว ที่ต่างคนก็ต่างคิดไป แต่ว่าความจริงต้องเป็นความจริง เพราะฉะนั้นการเข้าใจธรรม เนื่องจากว่าเวลานี้ทุกอย่างแต่ละ ๑ เป็นธรรมเกิดแล้วดับแล้ว เร็วสุดที่จะประมาณได้ เพราะฉะนั้นก็ยากแสนยาก ที่จะเข้าใจให้ถูกต้อง ก็คงไม่ลืม ต้องละเอียด ต้องลึกซึ้ง ต้องรอบคอบจริงๆ และทุกคำต้องสอดคล้องกัน เพราะฉะนั้นพอได้ยินคำไหน บุพเพสันนิวาสนี่อะไร เชื่อไปเลยใช่ไหม ขอเชิญคุณคำปั่นให้ความหมายภาษาบาลี
อ.คำปั่น ก็จริงๆ ก็จะคุ้นกับคำว่าบุพเพนิวาสะ คือความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมที่เคยเกิดแล้วในอดีต ในชาติก่อนๆ ในขณะก่อนๆ ก็เรียกว่าบุเพเพนิวาสะ คือหมายถึงว่าเป็นธรรมที่เกิดแล้วในอดีต ซึ่งไม่กลับมาอีกเลย ซึ่งก็จะเห็นได้ ว่าพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ถึงอดีตไม่มีที่สิ้นสุดเลย ทั้งชีวิตของพระองค์ในอดีต ในครั้งที่เป็นพระโพธิสัตว์ ทรงเกิดเป็นอะไร เกิดเป็นลูกใคร กระทำอะไร ทั้งหมดเพราะปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้ทั้งหมดเลย รวมถึงของบุคคลอื่นๆ ด้วย ที่เคยเกิดขึ้นเป็นไปทั้งหมด พระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหยั่งรู้ได้ทั้งหมด นี่คือความหมาย แต่ทีนี้เวลาที่ได้อ่านข้อความในพระสูตรต่างๆ ก็จะมีคำที่กล่าวถึง อันนี้เป็นพระพุทธพจน์ด้วย ก็คือความรักเกิดเเพราะหตุ ๒ อย่าง ๑ ก็คือเคยอยู่ร่วมกันมาในกาลก่อน ก็จะเป็นคำๆ นี้ที่กล่าวถึง และอีกเหตุหนึ่งก็คือเพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ก็เป็นเหตุให้เกิดความสนิทสนมรักใคร่กันได้ อันนี้ก็เป็นคำจริง เป็นความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ตราบใดก็ตามที่ยังมีกิเลสอยู่ ยังมีอวิชชาความไม่รู้ ยังมีความติดข้องอยู่ ยังต้องเกิด แล้วก็เกิดในฐานะต่างๆ ก็มีมากใช่ไหม ผู้ที่ไม่เคยเป็นพ่อเป็นแม่ไม่เคยเป็นลูกกัน หาได้ยาก เพราะว่าสังสารวัฏฏ์ยาวนานมาก เพราะฉะนั้นก็เห็นถึงเลยว่า ตราบใดก็ตามที่ยังไม่ดับเหตุ คือยังไม่ดับกิเลส ซึ่งเป็นเหตุให้มีการเกิด ก็ยังต้องเกิดอยู่ร่ำไป
อ.อรรณพ สัญญาก็เป็นสภาพที่เกิดกับจิต ทำหน้าที่จำ จิตรู้สิ่งใดสัญญาก็จำในสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นจิตเกิดดับสืบต่ออยู่ทุกขณะ แต่ละขณะที่จิตเกิดขึ้นก็มีสัญญา ก็เป็นสภาพเจตสิก คือสิ่งที่เกิดกับจิต และทำหน้าที่จำ จิตรู้สิ่งใดสัญญาก็จำในสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อมีสัญญาที่เกิดขึ้นกับจิต ก็มีการที่เกือบจำทรงจำในสิ่งที่จิตรู้ จนเป็นความคุ้นเคย ถ้าจำเรื่องใดมาก ก็คิดเรื่องนั้นมากจริงไหม ในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นก็เลยมีปัจจัยหนึ่ง ก็คืออุปนิสสยปัจจัย เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง โดยความที่เคยมีอารมณ์นั้นบ่อยๆ คือสิ่งที่จิตรู้จิตก็รู้ในอารมณ์นั้นบ่อยๆ สัญญาก็จำในอารมณ์นั้นบ่อยๆ
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำว่าสัญญา คิดถึงอะไร
อ.อรรณพ ถ้าไม่ได้ฟังธรรม ก็นึกว่าตกลง ทำสัญญาอะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เพื่อจะได้ไม่ลืม
อ.อรรณพ จะได้ไม่ลืม
ท่านอาจารย์ ใช่ไหม เวลาใช้คำว่าสัญญา ถามว่าลืมหรือยัง สัญญากันไว้นี่ ลืมหรือยัง ใช่ไหม เพราะฉะนั้นสัญญาเพื่อจำ แต่ความจริงแล้วต้องทราบว่าเดี๋ยวนี้เอง เป็นธรรมทั้งหมด คือไม่ว่าจะได้ยินได้ฟังอะไรก็ตาม สิ่งใดที่มีจริงก็เป็นสิ่งที่มีจริงคือธรรมอย่างหนึ่งไม่ใช่เรา จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ ถามว่าเห็นไหมตอบว่าเห็น ได้ยินไหมตอบว่าได้ยิน แต่จำไหมไม่ใช่สิ่งที่กำลังเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง แต่เป็นธรรมอีกอย่างหนึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ เพราะฉะนั้นทุกคนได้ยินคำว่าจิต ได้ยินคำว่าวิญญาณ มโน มนะ หทยเป็นต้น แต่ว่าทุกคำก็แสดงความเป็นจริงของธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นรู้ เห็นไหม แสดงความจริงของธรรมอย่าง ๑ เดี๋ยวนี้ ความจริงของธรรมอย่าง ๑ ซึ่งเกิดขึ้นรู้ เพราะฉะนั้นอาศัยตา ธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ว่าขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างนี้ นี่คือหน้าที่ของจิตเห็น ทางหูเสียงกระทบกับรูปที่สามารถกระทบกันได้ เป็นปัจจัยให้ธาตุรู้เกิดขึ้นได้ยิน เพราะว่าหูไม่รู้อะไร จับหูหูเจ็บไหม เห็นไหม เราเริ่มเข้าใจธรรมละไม่อย่างงั้น เราก็บอกว่าเจ็บหู เจ็บตรงหู แต่หูไม่เจ็บ ความเจ็บมีจริง เป็นธรรมอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ซึ่งเคยเป็นเราก็คือธรรมทั้งหมด สภาพธรรมที่เป็นธาตุรู้ ต้องเกิดขึ้นรู้ ไม่รู้ไม่ได้ รู้เมื่อไหร่ไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรมที่เป็นจิต เป็นใหญ่เป็นประธาน แต่ว่าจิตจะเกิดตามลำพังไม่ได้ ต้องมีธรรมซึ่งอาศัยกัน อุปการะกันเกิดขึ้น สภาพธรรมที่เกิดพร้อมจิตเป็นธาตุรู้ จิตรู้อะไรสภาพธรรมนั้นก็รู้ เพราะเกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้สิ่งเดียวกัน สภาพธรรมที่เกิดกับจิต เกิดพร้อมจิตนี่เราใช้คำว่าเจตสิก ภาษาบาลีก็ต้องออก เสียงว่าเจตะสิกะ เดี๋ยวนี้มีไหม มีจิตโดยไม่มีเจตสิกได้ไหม ไม่ได้ มีเจตสิกโดยไม่มีจิตได้ไหม มีแต่เจตสิกกับ เจตสิก ไม่มีจิตได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตเกิดเมื่อไหร่ ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วแต่ว่าปัจจัยที่จะให้เกิดจิตนั้นน่ะมีเท่าไร ก็คือมีเจตสิกประเภทใดบ้างที่เกิดกับจิต เพราะจิตหลากหลายมาก จิตเห็นไม่ใช่ขณะที่กำลังโกรธ กำลังชอบ แค่เกิดขึ้นเห็น สำคัญอะไร ลองคิดดู แค่เกิดขึ้นเห็น แต่จิตที่เกิดต่อจำสิ่งที่เห็น จนกระทั่งเป็นเรื่องเป็นราวถูกต้องไหม เป็นคนนั้นคนนี้ กำลังเดิน กำลังพูด กำลังกระทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ต่างๆ เพราะเห็น ถ้าไม่เห็นจะมีไหม ความคิดที่จะเป็นอย่างนั้น แต่เห็นแล้วก็คิดถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ โดยเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ต่างทำหน้าที่ของเจตสิกนั้นๆ เช่นเจตสิก ๑ จำทุกครั้ง มีหน้าที่อย่างเดียวคือจำ ไม่เรียกชื่อก็ได้ แต่จะเปลี่ยนลักษณะเจตสิกนั้นไม่ได้ คือเกิดขึ้นแล้วจำ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติคือให้รู้โดยทั่วกัน ตามความเป็นจริงว่าสภาพนั้น เรียกว่าสัญญาเจตสิก แต่ไม่ได้เรียกสัญญาได้ไหม ได้ เปลี่ยนชื่อได้ไหม เปลี่ยนชื่อได้ แต่เปลี่ยนสิ่งนั้นไม่ได้ นี่คือธรรม เพราะฉะนั้นสัญญาขณะนี้ที่จำไม่ใช่เรา แต่เริ่มรู้จักละ ก็ธรรมอย่าง ๑ ไงล่ะ ซึ่งเกิดพร้อมจิตทุกขณะ และต้องทำหน้าที่จำ ดับพร้อมจิตด้วย อีกคำหนึ่งก็คือเมื่อจิต และเจตสิกเป็นสภาพรู้ สิ่งที่ถูกรู้ใช้คำว่าอารัมมณะในภาษาบาลี แต่ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะใช้คำว่าอารมณ์มากกว่า จิตเป็นสภาพรู้ สิ่งที่ถูกรู้คืออารมณ์ มีจิตเกิดขึ้นรู้โดยไม่มีอารมณ์ได้ไหม ไม่ได้ อารมณ์เป็นอะไรบ้าง ทุกอย่างที่จิตรู้ นิพพานเป็นอารมณ์หรือเปล่า เห็นไหม เราชินหูกับคำว่านิพพาน แต่ถ้าไม่ได้ฟังธรรมจริงๆ ก็เดาไปคิดไป แต่ธรรมต้องตรง จิตรู้นิพพานได้ไหม อริยสัจธรรม ๔ ใช่ไหม จิตรู้นิพพานได้ไหม ถ้ารู้ว่าไม่ได้ จะดับกิเลสได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ ในการรู้แจ้งนิพพาน เพราะว่านิพพานมีจริง เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่มี จิตรู้ได้ทุกอย่าง
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260