ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๐๒

    สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ ลำพูน

    วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ ใครๆ ก็ไปละความไม่รู้ให้ใครไม่ได้ นอกจากคำที่กล่าวถึงความจริงที่เข้าใจได้ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เบิกบานไหม หรือท้อถอยมีสองคำ เบิกบานด้วยท้อถอยตามความเป็นจริง ห้ามไม่ได้ใช่ไหม แต่จะรู้ระดับของปัญญาได้ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรพยากรณ์สุเมธดาบส อีก ๔ อสงไขยแสนกัปป์ จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าพระสมณโคดม คนที่ได้ฟังนี่ เขายังไม่ได้เข้าใจ ไม่ได้รู้แจ้งธรรมเลย เขาปลาบปลื้มยินดีว่าแม้อีก ๔ อสงไขยแสนกัปป์ เขายังมีโอกาสจะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกพระองค์หนึ่ง เมื่อเขาไม่สามารถที่จะรู้ความจริง จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้โดยประจักษ์แจ้ง แต่จากการเข้าใจที่สะสมไป ณบัดนั้นที่ปลาบปลื้ม เห็นคุณละ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดอย่างยิ่ง ที่จะต้องรู้ว่าฟังเพื่อเข้าใจไม่ใช่เราละกิเลส แต่ความเข้าใจเกิดขึ้นละความไม่รู้ และความไม่รู้มากแค่ไหน ถ้าไม่ใช่ปัญญาแล้วละไม่ได้เลย ไม่มีทางเลย ตัวตนแทรกเข้ามาทันที เพราะไม่รู้มานาน ความเป็นตัวตน ก็มีมากมายมหาศาล เพียงแค่ได้ฟัง ก็เบิกบานที่รู้ว่ามีหนทาง แม้หนทางนั้นจะยาวไกลสักเท่าไหร่ เข้าใจความหมายของคำว่า บารมี ๑๐ ไม่มีบารมีเลย แล้วไปนั่งทำอะไรกัน แล้วจะเอาความเข้าใจมาแต่ไหนที่จะละ เห็นรู้ประจักษ์แจ้งว่าเกิดดับไม่ใช่เรา แข็งก็เช่นเดียวกัน มากระทบแข็งเดี๋ยวนี้เลย ทรงแสดงว่ามีจริงไม่ใช่เราเป็นธรรม เป็นสภาพที่เกิดขึ้นไม่รู้เป็นแข็ง และขณะที่รู้แข็งก็มีสภาพที่กำลังรู้เฉพาะแข็งที่ปรากฏ ฟังไปฟังไป เอาอะไรไปละการยึดถือแข็งว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเป็นเรา เพราะตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า แข็งทั้งนั้น เราหมดเลย จะดีขึ้นจะละอกุศลไปก็เป็นเรา ไม่สามารถที่จะรู้ความจริง ที่จะละความไม่รู้ได้

    เพราะฉะนั้นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องต่างกับคำของคนอื่นทั้งหมด เพราะทำให้เกิดปัญญาความเห็นถูก ซึ่งตั้งแต่เกิด ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระองค์ ไม่มีทางที่จะเข้าใจธรรม ไม่มีทางที่ปัญญาที่รู้ความจริงจะเกิดได้ เพราะฉะนั้นการฟังธรรม และปัญญาที่เกิดจากการฟัง ก็มีต่างระดับขั้น ตั้งแต่ขั้นฟัง ได้ยินแต่ละคำประมาทไม่ได้เลยสักคำ แทนที่จะอยากไปไม่มีอกุศล ไตร่ตรองเข้าใจคำที่ฟัง นั่นแหละเป็นกุศล ที่จะทำให้ไม่เกิดอกุศลได้ในวันหนึ่ง ไม่ใช่ทำอย่างอื่นเลย แต่ความเข้าใจจริงๆ ที่มั่นคงเพิ่มขึ้น และเป็นหนทางเดียวด้วย คือแค่ฟังแค่นี้ไม่พอ ที่จะดับกิเลส ยังอยากมีกุศล ยังไม่อยากมีอกุศล ก็คือไม่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะขณะนั้นไม่อยาก เป็นธรรมหรือเปล่า เห็นไหม แล้วถ้าปัญญาไม่รู้ละได้หรือ เพราะฉะนั้นปัญญาต้องรู้ แม้ขณะที่คิดที่จะไม่มีอกุศล จะลึกลงไปเรื่อยเรื่อย ซับซ้อน จนกระทั่งสามารถที่จะรู้จริงๆ ว่าโลภะหนีไปไหนไม่ได้ เพราะปัญญารู้ตาม ไม่ว่าจะเป็นโลภะระดับไหนด้วย จึงสามารถที่จะดับกิเลส และละโลภะได้ตามลำดับขั้น ประการแรกคือต้องละโลภะ ที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด โลภะอื่นยังละไม่ได้ แต่ต้องละความเห็นผิด เพราะยินดีในความเห็นผิด ขณะที่กำลังอยาก อยากเป็นอกุศลหรือเปล่า

    ผู้ฟัง อยากเป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ ไม่พ้นอยากใช่ไหม เพราะไม่ใช่ปัญญา ก็ต้องถามอีกเบิกบานไหม ตามระดับขั้นของปัญญา ยังเบิกบานไม่ได้ เต็มไปด้วยความเป็นเรา แต่เบิกบานเพราะรู้ว่ามีหนทางแน่ๆ และต้องรู้จักหนทางนั้นจริงๆ อย่าไปถูกหลอก โดยคิดว่านั่นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ทางเป็นหนทาง นั่นคือผิดแล้ว เพราะโลภะ เพราะไม่รู้ เพราะความอยาก พอเกิดมาก็ทันทีที่รู้สึกตัวเป็นอะไร โลภะ ในบรรดาอกุศลธรรมทั้งหมด เกิดมาขณะเกิดไม่มีใครรู้สึกตัว เป็นจิตประเภทที่เป็นผลของกรรม ที่ทำให้จิตประเภทนี้เกิดขึ้นเป็นคนนี้ พร้อมทั้งรูปอย่างนี้ ขณะที่เกิดกรรมหนึ่งเป็นปัจจัย ทำให้จิต และเจตสิก ซึ่งเป็นผลของกรรมคือวิบากจิต และเจตสิก อาศัยกัน และกัน เป็นปัจจัยโดยต่างก็เป็นวิบาก โดยกรรมนั้นเป็นปัจจัย ให้เกิดพร้อมกับรูป ซึ่งเกิดจากกรรม ได้มายังไงรูปนี้ ตั้งแต่เกิดเปลี่ยนได้ไหม ให้เป็นรูปอื่นได้ไหม ไม่ได้ กรรมจำกัดแล้ว จะต้องผิวพรรณอย่างนี้ หน้าตาอย่างนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นรูปนก รูปงู รูปช้าง รูปมดหรือรูปอะไรก็แล้วแต่ เลือกไม่ได้เลย ขณะเกิดไม่มีการรู้อะไรเลย เพราะว่าเป็นผลของกรรม ที่ทำให้เกิดสืบต่อจากจิตสุดท้ายของชาติก่อน ไม่มีการเห็นโลกนี้ ไม่มีการได้ยินโลกนี้เลย

    เพราะฉะนั้นโลกนี้ไม่ปรากฏ เหมือนขณะที่ฝันไม่ใช่ว่าไม่มีจิต มีจิต แต่ไม่ใช่จิตเห็น จิตได้ยิน จิตคิดนึก แต่เป็นจิตที่ดำรงภพชาติเป็นประเภทเดียวกันกับจิต ซึ่งเป็นผลของกรรมเดียวกันทำให้หลับไม่รู้ตัว แต่สิ่งที่มีอยู่ในจิต มากมายมหาศาล เพียงแค่รู้สึกตัวลืมตาขึ้นมาตั้งแต่เกิด หลังจากนั้นก็คือโลภะ พอรู้สึกตัวก็โลภะ ยินดีในความเป็น มากมายระดับไหน ถ้าไม่ทรงแสดงโดยละเอียด ผู้คนก็ประมาทหมด หาทางดับกิเลสกันไปเป็นฤาษีในป่า บำเพ็ญเพียรต่างๆ นานา แต่ก็ไม่สามารถที่จะรู้หนทาง ที่จะไปสู่การเข้าใจสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นธรรม ถ้าไม่ใช้คำว่าเป็นธรรม ก็เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละ ๑ ซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย จะย้อนกลับไปเป็นชาติก่อนๆ สักหนึ่งก็ไม่ได้ แม้แต่เพียงชั่วขณะจิตเมื่อกี้นี้ที่ดับไป จะย้อนกลับไปให้เป็นอย่างนั้นอีกก็ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งซึ่งเกิดใหม่แล้ว ตามเหตุตามปัจจัยใหม่ ทุกขณะ เพราะฉะนั้นฟังธรรมะเพื่อเข้าใจ เพื่อสะสม เพื่อปัญญาจะเจริญขึ้น นี่คือภาวนา อบรมจนสามารถเข้าใจถูก

    อ.ชุมพร พูดถึงว่าการกระทำทางกายวาจาที่ไม่ดีกับครอบครัว เราคิดขึ้นมาได้ว่ามันไม่ดี ท่านอาจารย์ ก็บอกว่าขณะที่คิดแล้ว อยากจะทำให้ดีขึ้น ความเป็นตัวตนมาแล้ว ก็มีความรู้สึกว่า อย่างบางคนที่เขาเห็นว่า ควรจะกระทำความดี แล้วเขาก็มีเจตนาที่จะกระทำ แล้วก็กระทำได้ แบบนั้นมันไม่ดีหรือ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเขากระทำได้ถูกไหม

    อ.ชุมพร ก็ผิด

    ท่านอาจารย์ ดีไหม ผิด

    อ.ชุมพร เขาเห็นว่าการพูดแบบนี้ไม่ดี แล้วก็ตั้งใจที่จะไม่กระทำอีก แต่ก็เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่สามารถ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นอนัตตา แต่ไม่เข้าใจขณะนั้นว่าเป็นอนัตตา ยังไม่ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นพูดไม่ยากเลย ทุกอย่างเป็นอนัตตาแต่ทุกอย่างจริงๆ หรือยัง

    อ.วิชัย ความดีมีจริงใช่ไหม ความดีเกิดขึ้นต้องดีแน่นอน แต่ขณะที่ยึดถือว่าเป็นเราไม่ดี จิตเกิดดับสืบต่อกันไม่ขาดสาย แล้วแต่ว่าอะไรจะมีปัจจัยให้เกิด บางบุคคลไม่ต้องคิดเลยใช่ไหมว่า เราต้องทำดี แต่เขามีปัจจัยของความดีเกิดก็ทำดี โดยที่ไม่ต้องคิดเลยหรือจะคิด คิดถูกหรือคิดผิด ว่าเป็นเราที่ทำได้ ธรรมจึงเป็นเรื่องที่ละเอียด แต่ต่างกับบุคคล ที่เข้าใจความเป็นธรรม ดีเกิดเข้าใจสภาพธรรม เป็นอย่าง ๑ ฝ่ายดีงามเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เหมือนฟังธรรมขณะนี้ บางครั้งฟังอาจจะไม่มีกุศลจิตเลยก็ได้ ฟังแล้วไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ซึ่งอาจจะคิดหรือว่าคาดว่า ฟังเมื่อต้องการความเข้าใจ แต่ไม่มีปัจจัยของความเข้าใจเกิด ก็เกิดไม่ได้ เหมือนบุคคลที่ตั้งใจจะทำดี ถ้าไม่มีปัจจัยของความดีจะเกิด ที่เขาคิดว่าเป็นเขา จะให้ความดีเกิด ความดีจะเกิดได้ไหม เพียงแต่คิดต้องเป็นความเข้าใจจนมั่นคง ว่ามีเราจริงๆ หรือเปล่า หรือมีจิตของเขาที่มีปัจจัยให้คิดอย่างนั้น แต่ความดีจะเกิดหรือไม่เกิด ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย

    ท่านอาจารย์ ต้องไม่ลืมฟังธรรม เพื่อละความไม่รู้ เพราะว่าความไม่รู้มีมาก ไม่ใช่ด้วยโลภะ ที่อยากจะรู้มากๆ แต่ฟังธรรมเพื่อละความไม่รู้ จะละความไม่รู้ ก็ขณะที่กำลังเข้าใจ เพราะฉะนั้นเข้าใจแค่ไหน ตื้นแค่ไหน ลึกแค่ไหน ผู้ที่กำลังไตร่ตรองก็รู้ได้ด้วยตัวเอง แต่รู้ว่าการฟังทั้งหมดไม่ว่าจะเมื่อไรก็ตาม เพื่อละความไม่รู้ซึ่งมีมาก

    ผู้ฟัง กราบสวัสดีอาจารย์สุจินต์ จากการศึกษาพระธรรมก็ทำให้เห็นว่า สภาพธรรมที่เรียกว่าสุข ยังไม่เคยปรากฏเลย

    ท่านอาจารย์ สุขมีไหม

    ผู้ฟัง สังขารธรรมเป็นทุกข์

    ท่านอาจารย์ พอได้ยินคำไหน เราคิดเองไปไกลมันก็ผิดนะ แล้วเราจะไม่ลืมว่าเราผิดใช่ไหม แต่ว่าถ้าฟังคำที่ได้ฟังไตร่ตรองจนเข้าใจ ทีละคำทีละคำจะไม่ผิด อย่างพูดถึงว่าความสุข มีไหม เห็นไหม ธรรมต้องตรงจริง ไม่คัดค้านกับสิ่งที่เป็นจริง เพราะฉะนั้นความสุขมีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มีใช่ไหม จะว่าไม่มีได้ไหม นี่คือเริ่มเป็นผู้ตรง ตรงเมื่อไหร่รู้ความจริงเมื่อนั้น แต่ถ้ายังไม่ตรง ยังไม่รู้ความจริง ยังไม่ใช่ความจริง เพราะความจริงต้องจริง สุขมีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มีเห็นไหมก็ต้องมี แน่ๆ เกิดขึ้น เพราะเราอยากมีความสุขได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ แม้แต่ความรู้สึกสุข ก็ต้องอาศัยปัจจัย ที่จะทำให้เกิด เช่นเดียวกับทุกข์ต้องอาศัยปัจจัย ทุกอย่างที่มีนี่เกิดเองไม่ได้เลย แต่ถ้าไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย อย่างร่างกาย เพราะมีร่างกาย จึงมีปวดมีเจ็บมีป่วยไข้ ใช่ไหม เป็นทุกข์ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าร่างกายทำไมปกติไม่ทุกข์ เห็นไหม มีเหตุมีปัจจัยทั้งหมด ศึกษาแล้วจะเข้าใจในความเป็นธรรม สิ่งที่มีจริงซึ่งไม่ใช่เรา ตอนที่เราไม่ต้องไปคิดเอง แต่ฟังแล้วไตร่ตรองตามที่ได้ฟัง เราก็ตรงขึ้น

    ผู้ฟัง ทุกข์ในที่นี้จากที่ผมเข้าใจนะ เป็นสภาพเกิดดับ

    ท่านอาจารย์ ประจักษ์แจ้งหรือยัง

    ผู้ฟัง ยัง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นยังไม่รู้จักทุกข์ แล้วสุข เกิดดับไหม

    ผู้ฟัง สุข ก็เป็นสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ เกิดดับไหม

    ผู้ฟัง ในความเข้าใจผมคือ สภาพที่ตรงกันข้ามกับทุกข์ที่เกิดดับ สุขก็ต้องไม่เกิดไม่ดับ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เราต้องไปคิดไม่ใช่หรือ เวลาสุขเกิดก็เป็นสุข โดยที่เราไม่ต้องไปคิดว่าไม่สุขหรือเปล่า เกิดขึ้นได้ยังไง ไม่ใช่เลย เป็นผู้ตรงต่อความเป็นจริง ว่าสิ่งนั้นมีแน่นอนเพราะเกิดแล้ว ไม่ใช่ไม่เกิด ใช่ไหม เกิดเป็นสุขขึ้นมาก็ต้องเป็นสุข จะเปลี่ยนสุข นั้นได้ยังไง จะเปลี่ยนลักษณะของสุขให้เป็นอื่นได้ไหม นี่คือปรมัตถธรรม สุขเกิดแล้วเปลี่ยนไม่ได้ แต่สุขเที่ยงไหม เกิดแล้วต้องดับใช่ไหม เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังไม่ประจักษ์การดับไปของสุข จะกล่าวว่าสุขเป็นทุกข์ได้ไหม เพราะฉะนั้นความหมายของทุกข์ก็ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้สึก แต่ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จากไม่มีเลย ไม่มีเสียง ไม่มีได้ยิน แล้วก็เกิดได้ยิน เกิดเสียงปรากฏแล้วหมดไป ทุกข์หรือสุข

    อ.คำปั่น ที่คุณสุเชาว์ได้สนทนาตั้งแต่ตอนต้น ถามถึงความสุขใช่ไหม ความสุขมีจริงๆ ซึ่งมีทั้งความสุขทางใจ และความสุขทางกาย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เคยได้รับสิ่งที่น่าพอใจใช่ไหม มีใช่ไหมในชีวิตประจำวัน แล้วก็เคยได้รับสิ่งที่สะดวกสบายทางกายก็มีใช่ไหม นี่คือความเป็นไปของธรรม แต่ไม่ว่าจะเป็นสุขกายหรือว่าสุขใจก็ตามแต่ ก็เป็นสภาพธรรม ที่เกิดแล้วดับไปเป็นทุกข์ โดยนัยที่เป็นธรรมที่เกิดแล้วดับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์หรือยัง

    ผู้ฟัง ยังไม่เข้าใจขั้นฟัง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ใช้คำพูดตามที่ได้ฟัง แต่ว่ารู้จริงๆ หรือยังประจักษ์แจ้งหรือยัง

    ผู้ฟัง ยัง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอะไรประจักษ์แจ้ง

    ผู้ฟัง ปัญญา

    ท่านอาจารย์ ปัญญาระดับไหน ไม่ใช่ขั้นฟัง เห็นไหม แต่ว่าปัญญากว่าจะประจักษ์ได้ ก็ต้องอบรม มีการละคลายความไม่รู้ตามลำดับ สภาพธรรมจึงจะปรากฏตามความเป็นจริงว่า เดี๋ยวนี้กำลังเกิดดับ เพราะฉะนั้นถูกปกปิดไว้หนาแน่นแค่ไหน ทุกขณะไปเลย ไม่ปรากฏการเกิดดับเลย ค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจนั่นแหละ เป็นหนทางที่จะทำให้สภาพธรรมปรากฏ เพราะไม่ได้ติดข้อง มั่นคงอย่างที่ไม่รู้เลย

    ผู้ฟัง ศึกษาเพื่อที่เข้าใจสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง และจะนำไปซึ่ง

    ท่านอาจารย์ ความเข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง เข้าใจขึ้น ปัญญา

    ท่านอาจารย์ ปัญญาก็คือเข้าใจ ปัญญาที่ไม่เข้าใจไม่มี เพราะฉะนั้นพอใช้คำว่าปัญญา เราอาจจะไม่รู้ว่าคือขณะที่เข้าใจ ต้องฟังอีกนานไหม

    ผู้ฟัง อีกนาน

    ท่านอาจารย์ นานเท่าไหร่

    ผู้ฟัง ปัญญาที่ตอบได้

    ท่านอาจารย์ นานจนกว่าจะเข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่ฟังก็คือหมดโอกาส หยุดเลย ฟังแค่วันนี้ ก็คือจบแค่วันนี้ ไม่มีการที่สามารถจะเข้าใจขึ้นอีกได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เห็นคุณของพระธรรมแต่ละคำ เห็นคุณค่าสูงสุดว่า ถ้าไม่มีการฟังเข้าใจจะไม่มีปัญญา จะไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่มีได้เลย จึงไม่ละเว้นที่จะฟัง เพื่อสะสมความเข้าใจจากการฟัง

    ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ การที่มาฟังสนทนาธรรม ที่จะให้เรามีความมั่นคง คงไม่ใช่แค่เรื่องของเวลาอย่างเดียวใช่ไหม แต่ต้องฟังด้วยความเคารพ ทีนี้ฟังอย่างไรถึงจะเรียกว่าฟังด้วยความเคารพ

    ท่านอาจารย์ ไม่เผิน ไม่เผิน แม้แต่ แต่ละคำ เช่นสิ่งที่มีจริงเป็นธรรม หมายความว่าไม่ใช่เรา หรือว่าไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด และก็มีปัจจัยก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แค่นี้สั้นๆ จะนำไปสู่การละกิเลส และการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะแม้แต่คำแรกที่ว่าสิ่งที่มีจริงเป็นธรรม มีจริงๆ แต่ละหนึ่ง แค่นี้ ก็จะรู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นความเข้าใจที่สะสมมาจากการที่ได้ฟังมามาก ก็สามารถที่จะเห็นตามความเป็นจริง เข้าใจอย่างมั่นคง ถ้าสะสมมาถึงขั้นที่จะประจักษ์แจ้งสภาพธรรม พร้อมเมื่อไรก็ประจักษ์แจ้งเมื่อนั้น เพราะว่าธรรมเป็นจริงอย่างที่ได้ฟัง ทุกสมัย ทุกกาล เกิดดับในขณะนี้ ประจักษ์ได้ เพราะฉะนั้นไม่เลือกกาลเวลา อาศัยที่ว่า พร้อมที่จะเกิดหรือยัง ถ้าไม่มีปัจจัยพร้อมก็เกิดไม่ได้ อย่างท่านพระสารีบุตร ตอนที่ท่านเป็นลูกศิษย์สัญชัย ท่านก็ไม่พร้อมที่ปัญญาจะเกิด แต่พอได้ฟังคำของท่านพระอัสสชิ ท่านเข้าใจได้ทั้งหมดทันที ประจักษ์แจ้งได้ ถึงเวลาที่จะประจักษ์แจ้ง ใครก็ยับยั้งไม่ให้สภาพธรรมปรากฏกับปัญญาระดับนั้นไม่ได้ ขึ้นอยู่กับปัญญาว่า มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นมั่นคงขึ้น พร้อมที่จะรู้สภาพธรรมใด

    ผู้ฟัง แล้วในสภาพสังคมที่คนส่วนใหญ่ สนใจคำอื่น

    ท่านอาจารย์ ก็รู้ว่าคำนั้นจริงหรือเปล่า อย่างถ้ากล่าวว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้มีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้สภาพธรรมกำลังเกิดดับ เดี๋ยวนี้กำลังเกิดดับหรือเปล่า ถ้าจะประจักษ์แจ้งการเกิดดับ ต้องเมื่อไร เมื่อวานนี้ดับไปหมดแล้ว รู้ไม่ได้ อนาคตยังไม่เกิด เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช่ปัญญาที่ค่อยๆ เข้าใจ ทีละเล็กทีละน้อย ตามลำดับขั้นของปัญญา ในสิ่งที่กำลังปรากฏ โดยความเป็นอนัตตา ไม่ใช่ด้วยความจงใจ เพราะมีความเข้าใจที่มั่นคง ว่าต้องมีเหตุปัจจัยไม่ใช่เรา ค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจ ความเข้าใจนั้น ก็ค่อยๆ ละคลายความเป็นเรา จนกว่าในขณะนั้นสภาพธรรมปรากฏได้กับปัญญาที่เข้าใจแล้วว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่ถ้ายังไม่มีความเข้าใจว่าไม่ใช่เรา แล้วจะให้สภาพธรรมนั้นปรากฏกับอะไร ในเมื่อไม่มีความเข้าใจ เพราะฉะนั้นไม่มีตัวเรา แต่ปัญญาเท่านั้นที่กำลังทำหน้าที่ของปัญญาคือรู้ และเข้าใจสิ่งที่มี ซึ่งไม่เคยเข้าใจมาก่อน ตามลำดับ

    ผู้ฟัง มีความจงใจเมื่อไหร่ก็คือมีความต้องการ มีความอยาก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นปัญญา ต้องรู้ว่านั่นไม่ใช่หนทาง จึงสามารถที่จะละความจงใจตั้งใจ และค่อยๆ เข้าใจ ความเป็นอนัตตามั่นคงขึ้น แม้แต่เดี๋ยวนี้ ถ้าสติสัมปชัญญะจะเกิด เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นปัญญาก็รู้ว่าโดยความเป็นอนัตตา ไม่ได้คิดมาก่อนเลย เหมือนเดี๋ยวนี้ รู้ไหมว่าขณะต่อไปจะเป็นเห็น หรือจะเป็นคิด หรือจะเป็นอะไร

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ไม่รู้ฉันใด เวลาที่ปัญญาระดับไหน จะเกิดขึ้น ก็ไม่มีการรู้ล่วงหน้าเลย เพราะฉะนั้นแต่ละหนึ่งไม่ซ้ำกันเลย แต่ละคนได้พบได้เห็น ในชาติไหนอย่างไร ได้ฟังคำไหน เข้าใจแค่ไหนอย่างไร ไม่มีใครสามารถที่จะรู้หน้าที่ของสังขารขันธ์คือเจตสิกซึ่งเดี่ยวนี้เอง กำลังเกิดขึ้นปรุงแต่งให้ขณะต่อไป เป็นความเข้าใจขึ้น หรือเป็นอะไรก็แล้วแต่ ไม่มีใครรู้ล่วงหน้า แต่ก็ไม่ใช่เราเป็นจิต และเจตสิก จึงได้ทรงแสดงไว้โดยละเอียดอย่างยิ่ง โดยนัยของขันธ์ ทั้งๆ ที่เป็นจิตเจตสิกรูป ฟังไป เข้าใจไป ฟังไว้เข้าใจทีละเล็กทีน้อยเรื่อยๆ มั่นคงจนเพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ก็ขอบพระคุณท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ กำลังอดทนกำลังมีความเพียร เทียบได้กับความอดทน และความเพียรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม เห็นไหม เพราะฉะนั้นสาวกก็คือผู้ฟัง และประพฤติตาม ถ้าขาดความเพียรความอดทน ก็ไม่มีทางที่จะรู้ความจริง เพราะพระองค์เองยังต้องอาศัยความเพียร และความอดทน มากกว่าจะเข้าใจสภาพธรรมตามที่ได้ตรัสรู้

    อ.วิชัย ท่านอาจารย์ ที่พระองค์ตรัสถึงพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงในอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ เป็นอย่างไร ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจแต่ละคำ ทำความเพียร ทุกคนทำทุกวันใช่ไหม แต่ไม่รู้ว่านั่นอะไร และไม่รู้ว่านั่นคือเพียร แค่ตื่นขึ้นทั้งวันไม่รู้เลยว่า มีเพียรที่จะทำสิ่งนั้นสิ่งนั้น โดยเราไม่รู้เลย เพียรแม้แต่จะลืมตา เพียรแม้แต่จะยก แต่ไม่รู้ว่านั่นคืออะไร ด้วยเหตุนี้ เธอจงทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริง แค่นี้คิดไหม เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ไม่ใช่ง่ายๆ เลย ไม่ใช่ใครๆ จะไม่รู้จักทุกข์ใช่ไหม ปวดฟันก็ทุกข์ หิวก็ทุกข์ ไม่ชอบก็ทุกข์ ทุกอย่างเป็นทุกข์ แต่ไม่ใช่ว่าให้ทำความเพียรไปรู้ทุกข์อย่างนี้ เพราะฉะนั้นแต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อมีความเข้าใจแล้วจึงรู้ว่าเราไม่รู้ สิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงความจริงให้รู้ ด้วยเหตุนี้ขณะนี้ความจริงเพียรเพื่อได้รู้ความจริง เดี๋ยวนี้กำลังมีจริงๆ ให้รู้ความจริงว่านี้ทุกข์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าหยิบพระไตรปิฎกอ่าน เข้าใจ ทำความเพียรเพื่อที่จะไปรู้ทุกข์ นั่นคือไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นทุกคำต้องศึกษา เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าทุกข์ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส ไม่ใช่ทุกข์ที่ชาวบ้านรู้ เพราะฉะนั้นถ้าชาวบ้านรู้แล้วจะต้องตรัสทำไม แต่เพราะไม่รู้ และไม่เห็นความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงไม่สามารถจะรู้คำของพระองค์ โดยที่ว่าไม่ศึกษาให้ละเอียด ให้เข้าใจถูกต้อง เพราะฉะนั้นนี้ทุกข์ถูกไหม คนที่ถูกแต่ต้องบอกว่านี่ไง ไม่ใช่นี่เฉยๆ ใช่ไหม แค่คำว่านี้ทุกข์ ต้องชัดเจนนี้อะไรล่ะ ไม่ใช่นี้เฉยๆ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ นี้อะไร

    อ.วิชัย ก็ยังเป็นสิ่งต่างๆ นี้ดอกไม้ นี้โต๊ะ นี้เก้าอี้

    ท่านอาจารย์ ห่างไกลกับนี้มาก นี้ต้อง ๑ ไม่ใช่ ๒ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ๑ นี่ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นตามความเป็นจริงที่เป็นทุกข์ ก็ต้องต่างกับที่แค่นี้ดอกไม้ ใช่ไหม นี่ยังไม่ได้ทุกข์เลย นี้ดอกไม้จะทุกข์ ได้ยังไง นี้เสียงนกก็ทุกข์ไม่ได้ใช่ไหม ไม่รู้ว่าเป็นทุกข์ แต่นี้ความจริงของนี้ เพราะฉะนั้นเราประมาทไม่ได้เลย ว่าตั้งแต่เกิดไม่สนใจที่จะเข้าใจความจริง ของสิ่งที่มีแต่ละ ๑ ว่า ... นี้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 187
    8 ต.ค. 2567