ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๒๑
สนทนาธรรม ที่ โรงแรมนิวซีซั่น หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นหลังจากเป็นพระอรหันต์แล้ว มีวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกรรมในอดีต แต่ไม่มีกรรมที่จะทำให้เกิดวิบากอีกต่อไป หลังจากที่ปรินิพพาน เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรม ๑ เลือกได้ไหม แล้วแต่กรรมเพราะเป็นอนัตตา ปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน จิตขณะแรกที่ทำกิจสืบต่อจากชาติก่อน อารมณ์ไม่ปรากฏ เพราะไม่ได้อาศัยตา ไม่ได้อาศัยหู ไม่ได้อาศัยจมูก ไม่ได้อาศัยลิ้นไม่ได้อาศัยกาย และขณะนั้นจิตเพิ่งเกิด เป็นขณะแรก แล้วก็ทำกิจปฏิสนธิเท่านั้น ทำกิจอื่นไม่ได้เลย แต่ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์ไหม เริ่มไตร่ตรองไง นี่ไงไตร่ตรอง แต่ไม่ใช่เราเห็นไหม จิตเจตสิกกำลังทำงาน เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตมีอารมณ์ไหม เห็นไหมกลับไปตั้งต้นใหม่ การศึกษาธรรมนี่ถ้าไม่มั่นคงจริงๆ ก็คือต่อไปไม่ได้สับสน นี่เป็นเหตุที่ทำให้คนไม่มั่นคงในเรื่องอนัตตาไม่ใช่เรา พราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นต้องมีอารมณ์ไหม เพราะอะไร เพราะจิตเป็นสภาพรู้ อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงอารมณ์ต้องหมายความมีจิตที่กำลังรู้อารมณ์นั้น ถ้าพูดถึงจิตต้องรู้อารมณ์ ๑ อารมณ์ใดเสมอจะขาดอารมณ์ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตมีอารมณ์ไหม เริ่มเป็นความเข้าใจของแต่ละคนที่มั่นคงขึ้น
ผู้ฟัง จะต้องมีอารมณ์ แต่ว่าไม่รู้
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิต มีอารมณ์ไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เห็นไหมคำตอบเดียวคือมีแน่นอน อารมณ์ปรากฏเมื่อมีตา อาศัยสิ่งที่กระทบตา ทำให้ธาตุรู้เกิดขึ้นเห็นสิ่งที่กระทบตา เพราะฉะนั้นสิ่งที่กระทบตา ปรากฏให้เห็นว่าขณะนั้นมีจริงๆ เพราะจิตกำลังเห็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ จิตเกิดขึ้นโดยไม่ทำกิจการงานไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นกิจของจิตแต่ละ ๑ เปลี่ยนไม่ได้ แลกกันไม่ได้ เกิดอย่างไรก็ทำกิจอย่างนั้น เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิต ทำกิจสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน เพราะฉะนั้นอารมณ์ไม่ปรากฏ ไม่ปรากฏแน่นอนแต่ว่ามีอารมณ์ เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์เดียว กับจิตใกล้จุติจิตของชาติก่อน ไม่ใช่อารมณ์เดียวกับจุติจิต แต่เป็นอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จุติจิตของชาติก่อน คือก่อนจุติจิตจะเกิด ก็ต้องมีจิตก่อนนั้นแหละจิตก่อนนั้นมีอารมณ์อะไร ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์เดียวกัน แล้วเรารู้ไหม ชาติก่อนมีแน่ๆ
ผู้ฟัง เราไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ ชาติก่อนก็ตายแน่ๆ ด้วย ถ้าก่อนยังไม่ตาย ชาตินี้ก็ไม่มีใช่ไหม ทุกคนต้องตายแต่ก่อนตาย อะไรเกิดไม่รู้ จิตประเภทไหนก็ไม่รู้ แต่ต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด คือเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต ซึ่งจะเป็นเหตุให้จิตที่เกิดต่อจากจุติเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก เพราะมีอารมณ์เดียวกัน ด้วยเหตุนี้เราไม่รู้ว่าก่อนตายเราอยู่ไหน ใช่ไหม จะตายที่ไหนชาติก่อนโลกอะไรไม่รู้เลย พ่อแม่พี่น้องอยู่ล้อมรอบรึเปล่าก็ไม่รู้ หรือจะอยู่คนเดียวกลางถนน หรือที่ไหนก็ไม่รู้ทั้งนั้น แต่ว่าก่อนตายจิตมีอารมณ์อะไร ปฏิสนธิจิตรับรู้อารมณ์นั้นสืบต่อ เพราะว่าตามธรรมดา เวลาที่เห็นแล้ว ทางใจจะรับรู้อารมณ์นั้นต่อทุกครั้ง เป็นเหตุให้เรารู้ว่าเห็นอะไร เพราะทางใจเกิดหลายวาระที่จะจำ และก็คิดถึงสิ่งที่เคยจำแล้วก็รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดต่อจากจุติจิต จึงมีอารมณ์เดียวกับจิตที่ใกล้จุติจิตของชาติก่อน ซึ่งปกติถ้ายังไม่ตายมโนทวารวิถีจะรับรู้อารมณ์นั้นต่อ เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตของใครก็ตาม ประมวลมาซึ่งกรรมที่ได้กระทำแล้ว ที่สามารถจะให้ผลได้ ตามปฏิสนธิจิตว่า ปฏิสนธิจิตเป็นอะไร เป็นสัตว์เดรัจฉานกับเป็นคน เห็นไหมต่างกันละ กรรมที่มีโอกาสจะให้ผลก็ต่างกัน
ผู้ฟัง แล้วการประมวลตรงนี้หมายความถึงว่า จะต้องดำเนินไปกระทั่งเข้ากับกาลเวลาของชีวิต ของแต่ละชีวิตถูกไหม
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเรากำหนดไม่ได้เลยใช่ไหม กรรมไหนจะให้ผลเมื่อไหร่ จะจุติเมื่อไหร่ จะปฏิสนธิเมื่อไหร่ แล้วแต่กรรม เพราะกรรมเป็นปัจจัยให้ผลของกรรมเกิด
ผู้ฟัง แล้วมีโอกาสไหม ที่ว่าเราจะทำกรรมใหม่
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะฉะนั้นเราไม่ได้มีแต่เห็น มีแต่ได้ยิน เห็นแล้วคิดดีหรือไม่ดี ทุจริตหรือสุจริต
ผู้ฟัง แต่ก็แยกส่วนกันกับกรรมเดิม ที่กำหนดมาแล้วถูกไหม
ท่านอาจารย์ จะเป็นกรรมเดิมไม่ได้เด็ดขาด เพราะกรรมใดเกิดแล้วดับแล้วไม่กลับไปอีก แต่ผลของกรรมมี นี่คือแรงกรรม ตายที่มนุษย์ไปเกิดบนสวรรค์ก็ได้ ตกนรกก็ได้ เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ได้ กรรมทำให้จิตที่เป็นผลเกิดขึ้น พร้อมกับรูปที่เกิดจากกรรมนั้น เพราะฉะนั้นตอนนี้ทราบแล้ว ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์อะไร
ผู้ฟัง มีอารมณ์เดียวกันกับจิตก่อนที่ จุติจิตของชาติที่ผ่านมา ตอนแรกเข้าใจว่าอาจจะเป็นกรรม ของชาติที่ผ่านมาเท่านั้น หรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ สะสมอยู่ในจิตทุกขณะ เพราะฉะนั้นจิตเดี๋ยวนี้มีทุกอย่างในแสนโกฏฏ์กัปป์ที่ผ่านมา ที่เป็นกุศล และกุศล
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นชนกกรรมที่จะเป็นจุติจิตนี่ หมายความว่าก็เป็นกรรมที่จะชาติใดก็ได้ ที่พร้อมที่จะให้ผลที่สุกงอม พอที่จะเป็นผลในชาติต่อไป ก็เป็นปฏิสนธิจิตได้
ท่านอาจารย์ เหมือนเห็นเดี๋ยวนี้เลย ไม่รู้กรรมไหนพร้อม ที่จะทำให้เห็นเดี๋ยวนี้เกิดขึ้น ไม่มีใครรู้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเคยสะสมมา ขณะที่เป็นสัตว์เป็นอะไรต่างๆ ก็สามารถจะเป็นชนกกรรมของเราในชาตินี้ก็ได้
ท่านอาจารย์ เมื่อครบองค์ ด้วยเหตุนี้เลย การศึกษาธรรมต้องค่อยๆ ฟังค่อยๆ ไตร่ตรอง และก็เข้าใจในเหตุในผล ไม่งั้นเราก็ลืม เป็นเราไปอีกแล้ว เพราะฉะนั้นฟังแล้วก็จิตไม่ใช่เรา เจตสิกไม่ใช่เรา กรรมไม่ใช่เรา ผลของกรรมไม่ใช่เรา เป็นธรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้นยิ่งเข้าใจ ยิ่งเห็นความไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นถ้ายังสงสัยก็ยังเป็นเรา ไม่เข้าใจก็ยังเป็นเราเลย จะค่อยๆ ลดความเป็นเรา ต่อเมื่อค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นสำคัญที่สุด คือคำที่ได้ฟังแล้วไม่เปลี่ยน เมื่อเป็นการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจตสิกทั้งหมดมีเท่าไหร่
ผู้ฟัง ๕๒
ท่านอาจารย์ ที่ต้องเกิดกับจิตทุกดวง มีกี่เจตสิก
ผู้ฟัง ๗
ท่านอาจารย์ ๗ ตอนนี้ยังไม่จำชื่อใช่ไหม แต่ถ้าเข้าใจแต่ละ ๑ รู้ว่าขาดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นประโยชน์คือ ซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าจะเข้าใจ เดี๋ยวนี้เห็นไหม ไม่ใช่จำเดี๋ยวนี้เข้าใจเดี๋ยวนี้ แต่ไม่เข้าใจสภาพธรรมที่เป็นอย่างนั้น ในขณะที่ปรากฏ
ผู้ฟัง ได้ฟังธรรมเรื่องของผัสสะ ก็เข้าใจมากขึ้นว่าผัสสะเขามีบทบาทมาก แต่เพียงแต่เราไม่เคยรู้จักเขา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าเป็นเจตสิก ก็ใช่ว่าจะปรากฏให้รู้ เพราะเป็นอนัตตา แล้วแต่ว่าขณะนั้นปัญญา มีปัจจัยเกิดขึ้นที่จะรู้อะไร บังคับบัญชาไม่ได้เลย แต่เริ่มเข้าใจผัสสเจตสิก สำคัญไหม
ผู้ฟัง สำคัญ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีผัสสเจตสิก จิตเกิดได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ เพราะไม่มีการกระทบกัน
ท่านอาจารย์ เพราะอะไรเห็นไหม ถ้าเรารู้เหตุผลความจำความเข้าใจของเรา ไม่หายไปไหนเลย แต่ถ้าเราเพียงแต่จำชื่อไว้ให้ครบ ๗ แต่ไม่รู้เหตุผล เราก็ไม่เข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นเห็นความสำคัญของผัสสเจตสิกไหม เจตสิก ๕๒ กล่าวถึงประการแรกคือผัสสเจตสิก คืออะไร
ผู้ฟัง คือการกระทบกัน
ท่านอาจารย์ สภาพธรรมที่กระทบอารมณ์ ไม่ได้กระทบอื่นเลย ถ้าเป็นธาตุรู้ต้องกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏที่กระทบ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีการกระทบ ธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ไม่ได้ เพราะธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้ง แต่ไม่ได้กระทบ เห็นไหมกว่าจะเป็นแต่ละ ๑ ขณะซึ่งเกิดแล้วดับไป ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง เจตสิกแต่ละ ๑ ล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดจิต โดยฐานะต่างๆ กัน เพราะฉะนั้นถ้าคิดให้ลึก ค่อยๆ เข้าใจมั่นคงขึ้น ทุกอย่างเกิดเพียงเพราะกระทบ ถ้าไม่กระทบจะปรากฏไหม ทางตา
ผู้ฟัง ไม่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่กระทบเสียงจะปรากฏไหม เห็นไหม เพราะฉะนั้นเจตสิกนี้ทำกิจกระทบ เพราะฉะนั้นจิตรู้ตามผัสสเจตสิกที่กระทบอะไร จิตก็รู้สิ่งที่ผัสสะกระทบ เห็นไหม สำคัญไหม
ผู้ฟัง มาก
ท่านอาจารย์ เห็นเดี๋ยวนี้ผัสสะกระทบ กับสิ่งที่ปรากฏทางตา ได้ยินเดี๋ยวนี้เพราะผัสสะกระทบเสียง ถ้าขณะนั้นผัสสะไม่กระทบเสียง ไม่มีทางที่จิตธาตุรู้จะเกิดขึ้นได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นชีวิตดำรงอยู่ เกิดขึ้นเป็นไป เพราะผัสสเจตสิกใช่ไหม เห็นไหม เปราะบาง สร้างก็ไม่ได้ ทำก็ไม่ได้ ต้องแล้วแต่ปัจจัยจริงๆ แม้แต่แค่สภาพรู้ที่กระทบ ก็เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นรู้แจ้ง ความรู้สึกเกิดขึ้นเป็นไปในสิ่งที่ปรากฏที่เป็นอารมณ์ สภาพจำก็จำทุกอย่าง เกิดเป็นไปในขณะนั้นตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้นเป็นเราหรือเปล่า หมดแล้วทุกขณะ และจะเป็นอะไรก็เพราะผัสสเจตสิก ด้วยเหตุนี้ผัสสเจตสิกนำมาซึ่งจิต และเจตสิกที่ผัสสะกระทบอารมณ์ใด จิต และเจตสิกไปรู้อื่นไม่ได้ ต้องรู้สิ่งที่ผัสสะกระทบ เพราะฉะนั้นผัสสะเป็นอาหารปัจจัย นำมาซึ่งจิต และเจตสิก และรู้ด้วยว่าแค่เพียงผัสสะไม่กระทบอะไรก็ไม่ปรากฏ แต่ที่ปรากฎก็แล้วแต่ผัสสะกระทบอะไร ธาตุรู้จึงเกิดขึ้นรู้เฉพาะสิ่งที่ผัสสะกระทบ
ผู้ฟัง ก่อนที่ข้าพเจ้าจะมาศึกษาทางธรรม ก็เริ่มจากทำบุญ กุศลอะไรก็ทำทุกอย่างความรู้สึกลึกๆ อยากให้อยู่เหนือบนเหนือบาป
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นไหม ฟังด้วยดีแค่คำเดียว ประโยชน์มหาศาล ถ้ารู้ด้วยดีคืออะไร ฟังสิ่งที่มีจริงถ้าไม่มีจริงจะมีประโยชน์อะไร ฟังด้วยดีคือคำที่กล่าวให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง ถูกต้องตามความเป็นจริง นั่นคือฟังด้วยดี เพราะฉะนั้นเห็นโทษของการไม่ใช่ฟังด้วยดี โทษคืออะไร ที่ว่าเห็นโทษของการไม่ฟังด้วยดี เชื่อในบุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยที่ไม่รู้เลยว่าคำที่ได้ฟัง ทำให้มีความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏหรือเปล่า เพราะฉะนั้นด้วยดีก็ต้องแยก ถ้าฟังแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ขึ้น เข้าใจขึ้น ถูกต้องขึ้นนั่นคือฟังด้วยดี และถ้าฟังเรื่องอื่นให้เชื่อให้ทำตาม ให้กินอาหารมื้อเดียวเห็นไหม ไม่มีเหตุผลเลย ใช่ไหม คนที่กินอาหารมื้อเดียวโดยอัธยาศัยมี ทั้งๆ ที่กำลังเรียนหนังสือ พ่อแม่เป็นห่วงมากเลย ลูกกินอาหารมื้อเดียว แต่เขาก็ไม่ฟังอะไรด้วยดีเลย เพียงแต่ว่ามีความคิดว่า ถ้าเขากินอาหารมื้อเดียวก็ดี แต่ความจริงไม่มีเหตุผลไม่ใช่ปัญญา เพราะฉะนั้นปัญญาต้องพูดถึงสิ่งที่มีจริงให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ทุกคำ ทีละคำด้วย ใครกิน เห็นไหม แล้วทำไมกินมื้อเดียว ถ้ามีเหตุผลจริงๆ เข้าใจถูกต้องจริงๆ นั่นดีถูกต้อง แต่ถ้าไม่มีเหตุผลเลย ก็คือว่าคำก็ไม่ดี คนฟังก็ไม่ได้ฟังด้วยดี ก็เชื่อทันที ผิดนิดเดียว ผิดไปตลอด จากการฟังให้เข้าใจว่าด้วยดี แต่ความจริงไม่ใช่ฟังด้วยดี
ผู้ฟัง ในขณะที่ตัวข้าพเจ้ากินมื้อเดียว แล้วก็พิจารณาก็คือปัจเวกด้วยว่า นี้เรากินเพื่ออยู่ อยู่เพื่อปฏิบัติธรรม กินเสร็จก็มีการแผ่เมตตา ส่งบุญกุศลให้ ทำอย่างงี้ทุกวันจนครบ ๓ เดือน
อ.คำปั่น คือเข้าใจใช่ไหมว่า การที่ความเข้าใจจะเจริญขึ้น จะเกิดขึ้นไม่ใช่อยู่ที่การบริโภคอาหาร
ผู้ฟัง ใช่ ใช่
อ.คำปั่น แต่อยู่ที่อะไร
ผู้ฟัง อยู่ที่การฟัง
อ.คำปั่น อยู่ที่การฟัง แล้วก็ต้องฟังด้วยดีด้วย
ผู้ฟัง ใช่ฟังด้วยดีด้วย
อ.คำปั่น ฟังคำของใคร
ผู้ฟัง ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเพียงคำว่าฟังด้วยดี เห็นไหม ต้องนำประโยชน์มาให้ถึงสูงสุดที่สุด ที่สามารถที่จะรักษาโรค ซึ่งทุกคนเป็นโดยไม่รู้คือโรคกิเลส คนที่ได้ยินคำว่าศีล อยากรักษาศีล แต่ว่าลืมคิดว่ารู้จักศีล และเข้าใจศีลหรือเปล่า นี่เป็นคำที่ต่างกันมาก ถ้าคำของคนอื่นก็พูดแต่เพียงสิ่งที่ดี เว้นชั่ว ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ถือเอาสิ่งของ ของคนอื่นมาเป็นของตนก็กล่าวได้ เพียงว่าอะไรดีอะไรชั่ว แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่เพียงแค่นั้น แต่ยังให้รู้ว่าศีลคืออะไร เพราะฉะนั้นแทนที่เราจะตามๆ ไปว่ารักษาศีลดี แต่ว่ารู้จักหรือยังว่าศีลคืออะไร อันนี้สำคัญกว่า เพราะฉะนั้นจะเห็นความต่างกัน ว่ารักษาศีลดีก็คือเราดี เราได้รักษาศีล แต่ว่าเรารู้หรือเปล่าว่าศีลคืออะไร เพราะฉะนั้นไม่ดีตรงที่ไม่รู้ว่าศีลคืออะไร ซึ่งใครก็ให้ความรู้ไม่ได้เลย นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่ละเอียดอย่างยิ่ง รักษาศีลโดยไม่รู้ว่าศีลคืออะไร กับรู้ว่าศีลคืออะไรแล้วประพฤติตาม ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ประพฤติตามด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ต่างกับรักษาศีล โดยไม่รู้ว่าศีลคืออะไร นี่ก็เป็นความละเอียด เพราะเหตุว่าปัญญาเท่านั้น ที่จะรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เพราะปัญญาตรงต่อความเป็นจริง
เพราะฉะนั้นแม้แต่ศีล ชาวโลกไม่มีทางรู้จักเลย แต่ว่ารักษากันมามาก ไม่ว่าจะเป็นพระรูปหนึ่งรูปใด หรือว่าพวกนับถือศาสนาอื่น พวกอัญญเดียรถีย์ต่างๆ ก็มีศีลรักษาศีลกัน แล้วแต่จำนวนมากข้อกี่ข้อก็แล้วแต่ แต่รู้จักไหมว่าศีลคืออะไร เพราะฉะนั้นปัญญาไม่ใช่สิ่งที่ใครจะไปคิดเอง เข้าใจเอง แต่รู้ว่าคิดเท่าไหร่ ก็ไม่ใช่คำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระมหากรุณา ให้มีความเข้าใจจากการตรัสรู้ของพระองค์ว่าศีลคืออะไร เพราะฉะนั้นถ้าเป็นคนที่ละเอียด ไม่ใช่เพียงแค่จะรักษาศีล แต่ต้องรู้ว่าศีลคืออะไร การเบียดเบียนคนอื่น ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ใครๆ ก็รู้ว่าเขาเดือดร้อนจะดีได้อย่างไร จากการกระทำนั้นๆ ไม่ว่าจะเดือดร้อนทางกาย ประทุษร้ายหรือว่าเดือดร้อนทางวาจาก็ตามแต่ ใช้คำพูดที่ทำให้จิตใจของเขาไม่สงบ ลำบากต่างๆ ความเมตตาก็คือว่ามีความเห็นประโยชน์ว่า ไม่ควรที่จะทำสิ่งที่เป็นโทษแก่คนอื่น แต่ก็ยังไม่รู้จักเมตตา ยังไม่รู้จักอยู่ดี จนกว่าจะรู้ว่าคืออะไร คืออะไร คืออะไร เพราะฉะนั้นจะรู้ว่าใครฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือว่าใครยังไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แต่คนอื่นบอกให้ทำอย่างนั้น ฟังดูก็เหมือนดีก็ทำตาม แต่ว่าหารู้ไม่ว่า ตราบใดที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร ขณะนั้นไม่มีทางที่จะรู้เลย ว่าสิ่งนั้นที่ดีคืออะไร และที่ไม่ดีคืออะไร
เพราะฉะนั้นศีลคือความประพฤติเป็นไปของจิต ทุกคนมีจิต จิตเกิดแล้วต้องประพฤติเป็นไปอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะฉะนั้นถ้าขณะนั้นเราพูดเพียง ๒ อย่างคือจิต เกิดกับเจตสิก สภาพธรรมที่เกิดร่วมกัน ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี จิตซึ่งเป็นปัณฑระ ตัวจิตเองนี่ผ่องแผ้ว ไม่ดีไม่ชั่วเลย จนกว่าเจตสิกประเภทไหนจะเกิดกับจิตนั้น จึงให้จิตนั้นเปื้อนไป หรือเป็นไปด้วยสภาพธรรมที่มาเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเป็นอกุศลจิต อกุศลไม่ดีใช่ไหม เกิดกับจิตจิตแปดเปื้อนด้วยอกุศล เพราะฉะนั้นจิตขณะนั้นไม่ดี ถ้าเป็นโสภณเจตสิก สภาพที่ดีงามเกิดกับจิตขณะนั้น จิตก็มีส่วนผสมที่ดีงาม ทำให้จิตนั้นเป็นจิตที่ดีงาม เพราะฉะนั้นความประพฤติเป็นไปของจิต ก็เมื่อมีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเป็นเจตสิกประเภทดี หรือว่าเป็นเจตสิกประเภทไม่ดี ทั้งหมดไม่ใช่เรา แต่มีจริงๆ เป็นธรรมแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ แลกเปลี่ยนก็ไม่ได้ มีปัจจัยที่จะให้เกิดเป็นอย่างนั้นเกิดแล้วก็ดับไป เกินวิสัยที่ใครจะไปทำอะไรได้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่เข้าใจ แต่คิดว่าเราทำได้ แล้วคิดถูกหรือคิดผิด เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรา แต่เป็นธาตุรู้คือจิต และเจตสิกเกิดขึ้นเป็นไป ถ้าเป็นจิตเจตสิกที่ดีก็เป็นกุศลศีลที่ดี ถ้าเป็นจิต และเจตสิกสิ่งที่ไม่ดีขณะนั้นก็เป็นอกุศล ศีล และถ้าไม่ใช่จิตที่เป็นกุศล และอกุศล ก็เป็นอัพยากตศีล
เพราะฉะนั้นการแสดงธรรม โดยประการทั้งปวง โดยละเอียดอย่างยิ่ง เพื่อให้มีความเข้าใจถูกต้อง ชัดเจน ไม่เปลี่ยน เพราะมาจากการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปงานศพ จะได้ยินเป็นประจำ กุสะลาธัมมา อกุสะลาธัมมา ต่อสิ อัพยากะตาธัมมา ฟังจนชินแต่คืออะไร เห็นไหม แม้แต่คำว่าธรรมก็ไม่ได้เฉลียวใจคิด ถ้าไม่มีคนบอกว่าธรรมไม่ใช่เรา แต่ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ จิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก รูปเป็นรูป สภาพธรรมที่มีจริงที่ไม่รู้อะไรเลย เกิดเมื่อไหร่จะรู้ไม่ได้เลยทั้งสิ้น มีลักษณะเฉพาะของตน เป็นเสียง เป็นหวาน เป็นแข็งเป็นต้น เป็นสภาพที่ไม่รู้เป็นรูปธรรม เป็นกุศลได้ไหมรูป ไม่มีทางที่รูปจะเป็นกุศล เป็นอกุศลได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม เพราะฉะนั้นอัพยากตะ หรืออัพยากตาธัมมาทั้งหลาย ที่ไม่ใช่กุศล และอกุศล ก็คือว่าคำนี้หมายความว่า ไม่ใช่กุศล และอกุศล คำว่าอัพยากตะ ก็ชัดเจนทุกคำ
เพราะฉะนั้นก็ให้เข้าถึงความหมาย ที่ว่าธรรมต้องเป็นธรรมไม่ใช่เรา แต่ว่าทรงแสดงธรรมโดยละเอียดอย่างยิ่ง ซึ่งบังคับบัญชาไม่ได้ จะไม่ให้อกุศลเจตสิกเกิดเป็นไปไม่ได้เลย เพราะไม่รู้ เห็นไหม ต้องรู้สาเหตุว่าทำไมจึงเป็นอกุศลต่างๆ เพราะไม่รู้ ถ้าไม่รู้ต้องติดข้องแน่นอน เพราะไม่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้วไม่มี ก่อนมี ไม่มี แล้วก็มีปัจจัยทำให้เกิด มี แล้วก็ดับไปไม่มีอีกเลย ในสังสารวัฎฏ์ เหมือนเดิมคือไม่มี เพราะฉะนั้นอยู่ในโลกของความไม่มี แต่มีเพียงชั่วคราวเมื่อเกิดแล้วก็ดับ ไปสู่ความไม่มีอีก เพราะฉะนั้นชาติก่อนทั้งชาติหายไปหมดเลย จากไม่มีชาติก่อนก็เริ่มมีชาติก่อน คือเกิดขึ้นเป็นไปต่างๆ นานา แต่ละอย่างที่เกิดก็หมดไป หมดไป จนถึงที่สุดคือไม่เหลือ ชาติก่อนไม่เหลือเลย ชาตินี้กับชาติก่อนไม่ได้ต่างกันเลย จากไม่มีคนนี้เลย ก็เริ่มมีคนนี้ จากกรรมที่ได้ทำแล้ว เป็นปัจจัยทำให้เกิดขึ้น ถ้าเป็นผลของกุศลกรรม ก็ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา แล้วแต่ว่าเป็นกุศลระดับไหน ประณีตหรือไม่ประณีต อย่างไรทั้งหมดเป็นธรรมคือสิ่งที่มีจริง ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหลาย ไม่เว้นเลยเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ว่าจะดีก็เป็นธรรมเกิดแล้วดับไป ไม่ว่าไม่ดี ก็เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ใช่ปัญญาที่เห็นตรงอย่างนี้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี เพราะฉะนั้นปัญญาก็นำไปในกิจทั้งปวง ที่เป็นธรรมที่ดีตามลำดับขั้นของปัญญา ถ้าปัญญารู้ว่าไม่มีเรา บังคับบัญชาไม่ได้ ใครจะบอกให้ทำรักษาศีล หรือว่าไปสำนักปฏิบัติ แต่ไม่ได้บอกเลยว่าไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นก็ให้เราทำสิ่งซึ่งเราไม่รู้ เพราะฉะนั้นเราก็ทำอย่าง เคร่งเครียด เคร่งครัด เตือนที่คนอื่นจะทำได้ หลงเข้าใจว่ายิ่งทำได้เคร่งครัดเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ผลคืออะไร ก็คือความผิดปกติ ซึ่งทั้งหมดมาจากความไม่รู้ ด้วยเหตุนี้ธรรมที่ตรงกันข้าม กับฝ่ายไม่ดีทั้งหมด ก็เริ่มด้วยความรู้ จึงสามารถที่จะค่อยๆ ละสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้ ถ้าไม่มีความรู้เลย ไม่เคยฟังเลย ก็ยังติดอยู่ด้วยเหตุนี้ยังมีคนที่ไปสำนักปฏิบัติ หรือว่าปฏิบัติตามคำ ซึ่งไม่ได้เกิดเพราะความรู้ ความเข้าใจเลย แต่ให้ทำ เพราะฉะนั้นเมื่อทำแล้ว ผลก็คือความผิดปกติ เพราะเหตุว่าถ้าไปสำนักปฏิบัติ ไปทำใช่ไหม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260