ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๒๒

    สนทนาธรรม ที่ โรงแรมนิวซีซั่น หาดใหญ่ จ.สงขลา

    วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อทำแล้ว ผลก็คือความผิดปกติ เพราะเหตุว่าถ้าไปสำนักปฏิบัติ ไปทำใช่ไหม ใช้คำว่าปฏิบัติก็เลยคิดว่าทำ แต่หารู้ไม่ว่าในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้ ไม่มีการให้ทำ แต่ว่าทรงแสดงธรรมให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจเกิดขึ้นแล้ว ความเข้าใจก็นำไปสู่ความประพฤติต่างๆ ที่ถูกต้องยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นกุสลาธัมมาไม่ใช่เรา เป็นจิต และเจตสิกที่ดี ความประพฤติเป็นไปของจิต เป็นศีล เพราะฉะนั้นแต่ขณะนั้น ความประพฤติเป็นไปในทางที่ดี ก็เป็นกุศลศีล ไม่ใช่แต่เฉพาะรักษาศีล แต่ความดีทั้งหมดเป็นกุศล และเป็นศีล คือความประพฤติเป็นไปของจิตเจตสิกไม่ใช่รูป เพราะฉะนั้นศีลที่เป็นกุศล ก็คือจิตเจตสิกที่ดีงาม ศีลที่เป็นอกุศลก็คือจิตเจตสิกที่ไม่ดีงาม ศีลที่ไม่ใช่กุศล และอกุศล ก็เป็นอัพยากตะ สำหรับพระอรหันต์มีกุศลไหม ไม่มี มีอกุศลไหม และท่านมีสิ่งที่ดีงามไหม เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีงามไม่ใช่กุศล และอกุศล ก็เป็นอัพยากตะ ตรงตามความเป็นจริงทุกอย่าง เพราะฉะนั้นพระธรรมไม่หลอกไม่ลวง ไม่ใช่บอกให้ทำ โดยที่ไม่ให้เข้าใจว่าคืออะไร บังคับใครได้ ใครเขาจะทำชั่วแล้วบอกเขาว่าอย่าทำสิ คนที่ทำดีบอกเขาว่าอย่าทำ ห้ามได้ไหมก็ห้ามไม่ได้ เพราะเหตุว่าเป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นสูงสุดของความดีก็คือปัญญา ในบรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ปัญญาประเสริฐสุด เพราะสามารถที่จะเห็นถูก เข้าใจถูกตามความเป็นจริง

    เพราะฉะนั้นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับปัญญาคืออะไร ความไม่รู้ อ ไม่ วิชชา วิชารู้ เพราะฉะนั้นอวิชาก็คือความไม่รู้ เดี๋ยวนี้มีไหม มี แต่เมื่อฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มเข้าใจถูกตามลำดับขั้นจากปริยัติ รอบรู้ ในคำที่ได้ฟัง หมายความว่าพิจารณาไตร่ตรองจนมั่นคง สิ่งที่มีจริงเป็นธรรมไม่ใช่เรา มั่นคงหรือยัง เห็นไหม นี่ก็คือฟังไปฟังไปจนกระทั่งมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น จึงรู้ว่าไม่ว่าอะไรทั้งหมด ก็เป็นธรรมแต่ละ ๑ ซึ่งถ้าไม่มีปัจจัยที่สมควร ที่จะเกิดก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นจากปริยัติ จะนำไปสู่ปัญญาอีกขั้นหนึ่งคือปฏิปัตติ แต่ไม่ใช่ใครไปทำเลย เพราะฉะนั้นความไม่รู้ นำไปสู่ความเห็นผิดหันหลังให้พระสัทธรรม ไม่พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้ายิ่งไม่ผละออก ยังคงเห็นผิดต่อไป ทุกชาติก็จะเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าเริ่มเข้าใจถูกต้อง มีบุญที่ได้สะสมไว้แต่ปางก่อน ทำให้พอฟังก็สามารถที่จะเข้าใจถูกได้ ว่าอะไรผิดอะไรถูก ปัญญาที่รู้ว่าผิดจะไม่ทำผิดปัญญาที่รู้ว่าอะไรถูก ก็จะทำสิ่งที่ถูกต้อง

    อ.อรรณพ สิ่งที่ตรงกันข้าม ท่านอาจารย์ อย่างการที่จะไปสู่สำนักปฏิบัติเหล่านี้ แล้วก็จะไปฝึกสติกัน ไปจดจ้องตามรู้ ฝึกสติได้ไหม แล้วก็การที่จะไปตามรู้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ฟังด้วยดีคือทีละคำ รู้เลยจะด้วยดีหรือไม่ด้วยดี ก็คือว่าถ้าตราบใดที่ไม่ฟังทีละคำ ให้เข้าใจจริงๆ โดยตลอด โดยละเอียด โดยมั่นคง โดยลึกซึ้งไม่ใช่ฟังด้วยดี

    อ.อรรณพ ฝึกสติ

    ท่านอาจารย สติคืออะไร คนบอกต้องรู้สิ แค่คนบอกไม่รู้จะมาให้เราทำสติได้หรือ เห็นไหม ไม่มีตัวอย่างแล้วไปบอกให้ฝึกสติ เพราะฉะนั้นการฟังด้วยดี ด้วยดีจริงๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีคำตอบทุกคำ ทุกปัญหา เพราะว่าตรัสรู้ทุกอย่างโดยประการทั้งปวงถึงที่สุด เพราะฉะนั้นจะรู้ว่าถึงที่สุดหรือไม่ ก็คือสนทนากัน ถึงจะรู้ว่าถึงที่สุดไหมแค่บอกว่าสติเป็นการระลึกรู้ขอตัวอย่าง ไม่มีตัวอย่างหมายความว่าไม่รู้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่ได้ฟังด้วยดี แค่บอกให้ระลึกรู้รับไปเลย

    ผู้ฟัง แค่แปลว่าสติระลึกรู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่รู้ ว่าสติคืออะไร แค่พูดคำแปล

    ผู้ฟัง แค่พูดคำแปล

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าตัวจริงของสติมีไหม

    ท่านอาจารย์ สติมีจริงๆ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม นี่คือไม่ได้ฟังด้วยดีเลย แล้วไม่มีแล้วพูดทำไม และให้ไปทำทำไม ทำอะไรก็ไม่รู้ ไม่มีแล้วให้ไปทำให้ไม่มีหรือ ใครก็ตามแค่ตอบแค่แปล รู้หรือเปล่าว่าไม่เข้าใจอะไร ฉะนั้นพอได้ยินคำไหนก็ควรจะเข้าใจแต่ละคำให้ชัดเจน ได้ยินคำว่าสติ ยังไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น ถ้าคิดเองนี่ สติดีไหม การพูดเรานี่ เราพูดคำที่ไม่รู้จักตั้งแต่เกิดจนตาย

    ผู้ฟัง ใช่ ใช่ มันสะสมมา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องรู้ว่า ผู้ตรัสรู้มี แล้วจะพึ่งใคร ก็ต้องพึ่งคำของพระองค์เท่านั้น ไม่ใช่คำของคนอื่น ถ้าเป็นคำจริงใครพูดก็คือคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ผู้ฟัง ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แค่ได้ฟังว่าสติยังคิดไม่ออกเลยว่าดีหรือเปล่า เพราะไม่รู้จักสติใช่ไหม แต่ถ้าเราพูดถึงสภาพรู้ เดี๋ยวนี้มีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ อะไร พูดแล้วต้องรู้ถึงที่สุด

    ผู้ฟัง รู้ทางตา รู้ทางหู สภาพรู้

    ท่านอาจารย์ สภาพรู้ มีสิ่งที่ถูกรู้ไหม

    ผู้ฟัง มีสิ่งที่ถูกรู้

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ตารู้อะไรรึเปล่า

    ผู้ฟัง ตาเฉยๆ ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นตามีจริงเกิด ถ้าไม่เกิดไม่มี

    ผู้ฟัง ถ้าไม่เกิดไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นตาคืออะไร

    ผู้ฟัง ตาคือรูป

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่รู้อะไร

    ผู้ฟัง ไม่รู้อะไร

    ท่านอาจารย์ มีจริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง มีจริง มาจากการเกิด

    ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้บอกว่าตาเป็นรูป ไม่ผิดเลย แต่เป็นยังไง รูปนั้นน่ะ เห็นไหม มีจริงๆ แท้ๆ อยู่ที่ตัวทุกคนทุกอย่างก็ไม่รู้ ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นประมาทคำของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เลย พระองค์เป็นใคร ปัญญาระดับไหนตรัสคำนั้น และเราไม่ศึกษาโดยละเอียด ด้วยความเคารพจริงๆ เราจะเข้าใจไหม เพราะฉะนั้นถ้าเราใช้คำว่าตาเป็นรูปพิเศษ ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่เย็น ไม่หวาน ไม่ขม รูปนี้สามารถกระทบ กับสิ่งที่กระทบได้อย่างเดียว คือสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น ชัดเจนไหม มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นมีจริงๆ จะรู้ได้ว่ามีจริง เพราะว่าขณะนี้ปรากฏแต่ไม่ได้ปรากฏตา กระทบตา แล้วมีธาตุรู้เกิดขึ้นเห็น เพราะฉะนั้นกำลังเห็น นี่รู้ว่าอะไรอยู่ข้างหน้า ตรงนั้นตรงนี้ เป็นสภาพรู้ไม่ใช่เรา แค่เกิดขึ้นเห็นแล้วดับ

    เห็นมาเท่าไหร่แล้วในสังสารวัฎฏ์ ไม่เคยรู้เลย ว่าเห็นไม่ใช่เราเลย ทุกอย่างที่มีจริงแต่ไม่รู้ ก็ยึดถือว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เพราะไม่รู้ความจริงถึงที่สุด ของแต่ละ ๑ ไม่ว่าจะเป็นสภาพรู้เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ด้วยเหตุนี้ กว่าจะเข้าใจคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามั่นคง ว่าธรรมไม่ใช่เรา ธรรมมีจริง เป็นธรรมแต่ละ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด คือเป็นจิตสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งเช่นเห็น ได้ยิน ได้ยินนี่รู้เฉพาะเสียงแจ้งชัด ทำไมเราบอกว่าเสียงต่างกัน เพราะได้ยินเสียงชัดเจนแต่ละ ๑ จึงรู้ว่าต่างกัน ถ้าคล้ายๆ กันใช่ไหม หรือว่าคิดเอาก็ไม่ใช่ แต่นี่กำลังได้ยินจริงๆ อธิบายสิว่าเสียงเป็นยังไง ยากที่จะอธิบายได้ ไม่เหมือนขณะที่กำลังได้ยิน ซึ่งไม่ต้องอธิบายเสียงนั้นเป็นอย่างนั้น เมื่อกี้นี้ก็เสียงหนึ่งใช่ไหม เพราะฉะนั้นธรรมนี่ก็ตรงตัวที่สุด คือเป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ซึ่งบางอย่างเกิดขึ้นไม่รู้อะไรเป็นรูปธรรม บางอย่างเกิดขึ้นต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้เป็นนามธรรม ซึ่งมี ๒ อย่าง คือจิต และเจตสิก กว่าจะไปถึงคำว่าสติ เห็นไหม ถ้าไม่มีความเข้าใจเป็นพื้นฐาน เลย เขาบอกว่าสติคือระลึกได้ก็ยังเป็นเรา แล้วเราก็ระลึกไปสิ แต่นี่ไม่ใช่เลย เพราะฉะนั้นพื้นฐานก็คือว่า ต้องมีความเข้าใจแต่ละคำตั้งแต่ต้นที่คำว่าธรรม ถึงจะรู้ว่าธรรมหลากหลายมาก เกิดปรากฏแล้วไม่มีอีกเลย สิ่งที่ได้เห็นจะไม่กลับมาถูกเห็นอีกเลย แต่ยังจำไม่หมดเลย ว่าเห็นอะไร ยังชอบในสิ่งที่ไม่มี ยังติดข้อง เห็นความไม่รู้ไหม โง่ มีคำนี้ในพระไตรปิฏก แต่พูดได้ไหม บางคนก็ไม่กล้า จะบอกว่าความไม่รู้ดีหรือ ฉลาดหรือเป็นไปไม่ได้เลย ไม่รู้จะโง่จริงๆ คือเกิดเมื่อไหร่ต้องไม่รู้ ไม่มีทางที่จะรู้เลย เดี๋ยวนี้ก็กำลังมี เห็นแล้วก็ไม่รู้ ติดข้องเลย เราเห็นน่ะ แต่ความจริงเห็นดับแล้ว เพราะฉะนั้นมีเห็นใหม่อีก ก็ไม่รู้อีก

    เพราะฉะนั้นความไม่รู้เต็มชีวิตทุกชาติ ตั้งแต่เกิดจนตาย จนกว่าจะค่อยๆ รู้ขึ้น ยังไม่ถึงปฏิปัตติเลย เพราะฉะนั้นใครบอกว่าให้ปฏิบัติ ให้รักษาศีล ให้ทำอะไรก็คือว่าเขาไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือผู้ที่ทรงตรัสรู้ความจริงทุกอย่าง ไม่เว้นเลยถึงที่สุดโดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้นพระธรรมที่กล่าวถึง สิ่งหนึ่งหลากหลายมาก โดยนัยของขันธ์ โดยนัยของอายตนะ โดยนัยของธาตุ โดยนัยของอริยสัจจะ ทุกอย่างเพื่อค่อยๆ เห็นว่าไม่ใช่เรา เพราะยึดมั่นมานานแสนนาน ประมาณไม่ได้เลย แกะยังไงก็ไม่ออก ถ้าไม่มีความเข้าใจจริง ทีละเล็กทีละน้อยที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น และความเข้าใจก็ต้องตามลำดับ ปริยังติคือความเข้าใจคำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริง และเริ่มเข้าใจ เพราะฉะนั้นปริยัติไม่ได้หมายความว่าไม่เข้าใจ ไม่ได้หมายความว่าจำได้ว่า ว่าจิตมีเท่าไหร่ ๘๙ เจตสิกมีเท่าไหร่ แต่ไม่รู้อะไรว่าเดี๋ยวนี้อะไร เพราะฉะนั้นความเข้าใจคำที่ได้ฟังก็ไม่ใช่เรา ขณะนั้นเป็นปริว่าติ อาศัยการฟังค่อยๆ มั่นคงขึ้น กว่าสติซึ่งเป็นธรรมฝ่ายดี จะเกิดขึ้นตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้นสติซึ่งเป็นธรรมฝ่ายดี ระลึกไปในทางที่ดี ถ้าคิดว่าจะไปฆ่าเขา นี่สติหรือเปล่า ระลึก ไม่ใช่ใช่ไหม แต่ระลึกเป็นไปในทางที่ดีทุกอย่าง แม้แต่การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น เราก็ไม่ได้ใช้ เสียดายทำไมเก็บไว้ทำไม แต่คนอื่นพอได้รับเขาปลาบปลื้มใจใช้เลย เห็นไหม สติระลึกเป็นไปในการให้ สิ่งที่เป็นประโยชน์ แต่ถ้าเผินๆ ระลึกเป็นไปในการให้ ให้สิ่งที่เป็นโทษกับคนอื่นก็ได้ นั่นไม่ใช่สติ เห็นไหม ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เมื่อไม่ใช่เราแล้วเป็นอะไร ค่อยๆ ลึกซึ้งขึ้นตามลำดับขั้น

    เพราะฉะนั้นถ้าใช้คำว่าสติ ก็หมายความว่าสภาพธรรมที่ดีงาม เพราะระลึกเป็นไปในสิ่งที่ดี ตั้งแต่ในการให้ถึงไม่ให้ เป็นเพื่อนหวังดีได้ไหม นั่นเพราะสติเกิด ของตกไม่เก็บหรอก กับของตกเก็บให้เจ้าของ ถ้าสติไม่เกิดก็ไม่ทำ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่ใช่เราเลย ความดีทางกายทางวาจาทั้งหมดเพราะจิตดี ใช่ไหม รูปไม่รู้อะไร ทำอะไรก็ไม่ได้ไปไหนก็ไม่ได้ ถ้าจิตไม่คิดที่จะทำให้ รูปนั้นเคลื่อนไหวไป ด้วยเหตุนี้แม้รูปไม่รู้อะไรก็จริง แต่รูปที่เกิดพร้อมจิต เป็นไปตามจิตในขณะนั้น มี แค่อยากได้เอื้อมมือไปละ ไปสั่งอะไรไปพูดอะไรหรือเปล่า เปล่าเลย แค่จิตที่ต่างกัน ก็เป็นอากัปกิริยาที่ทำให้ต้องการอะไร รูปก็ไหวไปตามจิตในขณะนั้น ตื่นขึ้นมาลืมตา ถ้าไม่มีจิตลืมตาได้ไหม ถ้าอยากนอนต่อลืมไหม ก็ไม่ลืมตาใช่ไหม เพราะฉะนั้นทุกอย่าง เป็นไปตามอำนาจของจิต ซึ่งเป็นสภาพรู้เป็นใหญ่เป็นประธาน แล้วก็ต้องมีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เป็นแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ นั้นเป็นอกุศลไม่ดี หรือเป็นกุศลโสภณที่ดี หรือเกิดกับกุศลก็ได้อกุศลก็ได้ นี่ก็คือความละเอียดอย่างยิ่ง ของผู้ที่ตรงตรัสรู้ ให้ดำรงพระศาสนา ด้วยความเข้าใจถูกไม่ใช่ให้ไปปฏิบัติ มีสำนักปฏิบัติแต่ก็ไม่รู้อะไรเลย เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ทีละคำแน่นอนเลย เพื่อที่จะเข้าใจตอนนี้เริ่มเข้าใจสติ ใช่ไหม แต่พอหรือยัง ไม่จนกว่าไม่ใช่เรา ถึงที่สุดของความจริงคือไม่ใช่เรา เป็นแต่ละ ๑ ซึ่งเกิดเมื่อมีปัจจัยเท่านั้น ถ้าไม่มีปัจจัยก็ไม่เกิด อยากเป็นคนดี อยากเสียสละ อยากทำอะไรก็ดี แต่ไม่มีปัจจัยที่จะทำให้เกิดขึ้น ก็เกิดเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าทุกคน ถ้าถามก็อยากดี ไม่อยากมียาเสพติด ค้าขายทุจริตอะไรต่างๆ แต่ทำกันทั่วบ้านทั่วเมือง ทุจริตทุกวงการ เพราะจิตที่ประกอบด้วยความไม่รู้ ว่าดีคืออย่างไร ชั่วคืออย่างไร เพราะฉะนั้นเห็นไหมว่า พระศาสนาเป็นประโยชน์มีคุณระดับไหน ไม่มีโทษเลยสักนิดเดียว แต่จะมีคุณเพิ่มขึ้น เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้น

    สนทนาธรรมที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๑

    ผู้ฟัง ผมเป็นคนหนึ่งซึ่งศึกษาพุทธศาสนา อันหนึ่งที่ผมอยากสงสัยอยู่ คือสิ่งที่เรียกว่าพละกับอินทรีย์ จริงๆ แล้วทั้ง ๒ อย่าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร แล้วมีความสำคัญอย่างไร

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือความเข้าใจถูก ความเห็นถูก ซึ่งในภาษาบาลีใช้คำว่าปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ เพียงแค่ประโยคเดียว ถ้าเราคิดไตร่ตรอง พิจารณาก็จะรู้ได้ว่า ทำไมจึงต้องมีความเห็นถูก หรือว่าสัมมาทิฏฐิ ความเข้าใจถูก หมายความว่าเราไม่ได้เข้าใจสิ่งที่กำลังมี ตามความเป็นจริงใช่ไหม คือแทนที่จะคิดว่า เราเข้าใจหมดเลยทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ถ้ามีประโยคที่ว่า สิ่งที่สำคัญคืออะไร สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความเข้าใจถูก ความเห็นถูก ตามความเป็นจริงของสิ่งที่มี ประโยคหนึ่ง ประโยคหนึ่ง สามารถที่จะทำให้เราไตร่ตรอง พิจารณา และก็ค่อยๆ เข้าใจความจริงขึ้น มีความเห็นที่ถูกต้อง ในสิ่งที่กำลังปรากฏหรือเปล่า เพราะเหตุว่า ชีวิตเกิดมาแล้วมีทุกอย่าง ตั้งแต่เกิดจนตายไม่เคยขาดเลย ไม่มีใครไปเรียกร้องให้เห็น ขอเห็นหน่อย ขอได้ยินหน่อย ขอโน่นขอนี่ แต่ว่ามีสิ่งที่มีปัจจัยเกิดแล้วทั้งนั้น โดยไม่มีใครไปขอเลย เช่นนั่งอยู่เฉยๆ มีใครขอให้เห็นบ้างรึเปล่า มีใครขอให้ได้ยินไหม มีใครขอให้คิดไหม ไม่มีเลย ที่จะต้องไปขอร้อง แต่ว่ามีสิ่งที่เกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัย

    เพราะฉะนั้นที่สำคัญที่สุด ก็คือแม้สิ่งที่เกิดแล้วมีแล้ว ก็ไม่รู้ความจริงว่าสิ่งนั้นคืออะไร ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ผ่านไปด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยเหตุนี้ทีละคำจริงๆ ความจริงเดี๋ยวนี้ สิ่งที่มีจริงกำลังมี เห็นมี ได้ยินมี คิดมี ความจริงมี ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ได้ยินคำว่าอินทรีย์ ได้ยินคำว่าพละ ข้ามไม่ได้เลย เพราะว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เมื่อได้ยินได้ฟังคำไหน และมีความเห็นที่ถูกต้อง นั่นคือได้เริ่มเข้าใจสิ่งที่มีถูกต้อง เช่นความเข้าใจถูกต้อง กับความไม่รู้ต่างกันไหม ขณะนี้ก็ไม่รู้ เห็นก็ไม่รู้หมดแล้ว ได้ยินก็ไม่รู้หมดแล้ว คิดก็ไม่รู้หมดแล้ว ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มีสักอย่างเดียว เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นความเห็นที่ถูกต้อง หมายความว่าเป็นความเข้าใจถูกต้อง ในสิ่งซึ่งไม่เคยคิดเลยว่า จะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง เกิดมีแล้ว มีใครคิดบ้างไหม ว่าสมควรที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่มี ผ่านไป แล้วก็คิดไปเรื่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ แต่ความจริงก็คือว่าปัญญาความเห็นถูกต้อง เป็นอินทรีย์เป็นใหญ่ เพราะเหตุว่าจากความมืดสนิทไม่รู้ ก็กลายเป็นความเห็นถูกเกิดขึ้น เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีได้

    เพราะฉะนั้นปัญญาจึงเป็นอินทรีย์เป็นใหญ่ แต่ว่าการที่สภาพธรรมที่มีจริงแต่ละ ๑ ไม่ใช่เราทั้งหมดเลย แต่เราก็ว่าเป็นเราไปหมดทุกอย่าง วันนี้โกรธ วันนี้หิว วันนี้เบื่อทั้งหมดเป็นธรรมแต่ละ ๑ แต่โกรธหิวเบื่อก็ไม่ใช่อินทรีย์ แต่ว่าอินทรีย์ก็ต้องเป็นสภาพธรรมที่เราคิดไม่ถึง เช่นปัญญา ปัญญารู้อะไร ปัญญาของชาวโลก ก็ต้องไปศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เรื่องต่างๆ วิชาการอาชีพต่างๆ แต่นั่นไม่ใช่ความเห็นที่ถูกต้องในสิ่งที่กำลังมี เพราะฉะนั้นปัญญา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ให้คนอื่นได้มีความเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ก็คือให้เข้าใจความจริง ซึ่งขณะนี้มีมาก แต่ไม่รู้สักอย่าง แล้วก็หมดไปเร็วด้วย ด้วยเหตุนี้การฟังพระธรรม จึงต้องเป็นคนที่เห็นพระคุณอย่างยิ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะไม่ข้ามคำหนึ่งคำใดที่ไม่รู้ แล้วก็คิดว่าอยากจะรู้คำนั้น หรืออยากจะเข้าใจคำนี้ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะคิดถึงอริยสัจจะ มรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอายตนะหรืออะไรก็ตามแต่ แต่ว่าถ้าเพียงแต่ชื่อ ไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ด้วย แค่คำว่าอินทรีย์ ก็ต้องรู้ว่าหมายความถึงสภาพที่เป็นใหญ่ และอะไรเป็นใหญ่เดี๋ยวนี้ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมคิดออกไหม เห็นเดี๋ยวนี้อะไรเป็นใหญ่ กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ตาเป็นใหญ่ จักขุ จักขุนทรีย์ จักขุซึ่งเป็นอินทรีย์ ภาษาบาลีก็รวมว่าสภาพธรรมนี้แหละเป็นใหญ่ คือตานี่แหละเป็นใหญ่ ถ้าเพียงไม่มีตา ไม่มีอะไรจะปรากฏให้เห็นเลย เรื่องราวต่างๆ ก็ไม่มี ที่จะคิดนึกมากมายเพราะการเห็น เพราะฉะนั้นแม้กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ก็ยังไม่รู้เลยว่า อะไรเป็นใหญ่ใช่ไหม แต่จริงๆ ก็คือตาเป็นใหญ่ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีตา ไม่มีสิ่งใดๆ ที่จะปรากฏให้รู้ได้เลย จิตเป็นใหญ่ไหม มีแต่ตา แต่ว่าไม่มีธาตุรู้เกิดขึ้น แล้วจะมีประโยชน์อะไร แต่ว่าตามีเป็นเหตุให้มีธาตุรู้เกิดขึ้นเห็น ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ นี่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นรู้ แต่ขณะเห็นเป็นธรรมที่เกิดรู้ โดยต้องอาศัยตา ถ้าไม่มีตา ไม่สามารถเห็น เพราะฉะนั้นเห็นก็เป็นธรรม เป็นใหญ่ มนินทรีย์ มนะ เป็นอีกคำหนึ่งของจิต จะใช้คำมโนก็ได้ หทยก็ได้ แต่ว่ามนินทรีย์ หมายความถึงจิตนี่แหละเป็นใหญ่เป็นประธาน เพราะฉะนั้นตาก็เป็นใหญ่เป็นประธาน แค่นี้เราก็ค่อยๆ รู้จักสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ทีละเล็กทีละน้อย โดยเริ่มเข้าใจว่าธรรมคือสิ่งที่มี ไม่ใช่ไม่มี แต่มีเมื่อไหร่ มีเมื่อเกิดขึ้น เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น แล้วก็ต้องดับไป ไม่มีใครสามารถที่จะหยุดยั้งการเกิดดับของสภาพธรรมได้เลย ไม่ให้เกิดเห็นก็ไม่ได้ เห็นแล้วให้เห็นต่อไปทั้งวัน ไม่มีอย่างอื่นมาแทรกคั่นก็ไม่ได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ความเป็นไปทุกวันตั้งแต่เกิดจนตาย ด้วยความไม่รู้ทั้งหมด จนกว่าจะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละคำ เริ่มจากคำว่าธรรมคือสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงมีลักษณะหลากหลาย ต่างกันมาก เห็นเกิดแล้วดับเป็นของใครหรือเปล่า เป็นใครหรือเปล่าไม่มีแล้ว ก่อนเห็นก็ไม่มีเห็น ทุกคำต้องพิจารณา ถึงจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งขึ้น ก่อนเห็นไม่มีเห็น แล้วมีเห็นเมื่อมีปัจจัยที่ทำให้เห็นเกิดขึ้น แล้วเห็นก็ดับไป และยิ่งกว่านั้นก็คือ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็ดับไปด้วย ถ้าไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครจะรู้ ไม่มีทางรู้ได้เลย คนที่เกิดมาแล้วไม่เคยได้ฟัง พระธรรมเลย ก็จากโลกนี้ไป เขารู้อะไรหรือเปล่า ก็ไม่รู้อะไร

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 187
    10 พ.ย. 2567