ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๒๓

    สนทนาธรรม ที่ โรงแรมนิวซีซั่น หาดใหญ่ จ.สงขลา

    วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ คนที่เกิดมาแล้ว ไม่เคยได้ฟังพระธรรมเลย ก็จากโลกนี้ไป เขารู้อะไรหรือเปล่า ก็ไม่รู้อะไร เกิดอีกเป็นอะไรก็ตามแต่ และในที่สุดก็เกิดเป็นคนอีก เห็นบ้างได้ยินบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้างก็ไม่รู้อีก เพราะฉะนั้นจากชาติหนึ่งไปอีกชาติหนึ่ง ไปอีกชาติหนึ่งความไม่รู้ เห็นความมืดสนิทที่ยึดถือืสิ่งที่ปรากฏด้วยความไม่รู้ว่า สิ่งนั้นไม่มีแล้วเกิดมีจริง เป็นที่ตั้งที่จะถือ แล้วก็ดับไป แต่เมื่อไม่ไปจัดการเกิดขึ้น และดับไปซึ่งจริง พิสูจน์ได้ไม่ใช่ต้องเชื่อ แต่ค่อยๆ ฟังก็จะต้องเห็นจริงๆ ว่าได้ยินเกิดแล้วดับ เสียงเกิดแล้วดับ ขณะที่ได้ยินปรากฏ ต้องไม่มีเห็น แต่เพราะความรวดเร็วของสภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อกัน ก็ปรากฏเป็นนิมิตเป็นรูปร่างเป็นสัณฐาน ให้มีความเข้าใจสิ่งนั้นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปจนตาย ไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้นการเข้าใจความจริง ไม่ใช่เราเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่มีการได้ยินได้ฟังคำจริง คำที่ถูกต้องไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้เลย แต่เมื่อมีการได้ยินได้ฟังคำได้เข้าใจจริงๆ ในคำนั้น ใช้คำว่ารอบรู้ รู้ทั่วมั่นคง เป็นสัจจญาณเห็นมี ไม่ใช่เราแค่นี้ ถ้ามีอีกตั้งเยอะทั้งวัน ไม่ใช่ทั้งหมดสักอย่างเดียว แต่ก็ต้องเริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย และต้องมั่นคงด้วย ถ้าขณะนี้เข้าใจแล้วว่าเห็นเกิดเมื่อกี้ไม่เห็น แต่พอเห็นเกิดเห็นแล้วก็ดับไป ยังไม่ประจักษ์แจ้งแต่ความจริง เป็นอย่างนั้นฐานความจริงมั้ยเป็นอย่างนี้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสไม่ได้เลย จากการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมี จนสามารถประจักษ์แจ้ง สิ่งที่กำลังปรากฏทรงอนุเคราะห์ชาวโลก ให้สามารถรู้ความจริงได้ จนกว่าจะประจักษ์แจ้งความจริงนั้น

    เพราะฉะนั้นแต่ละคำ ก็เป็นคำที่เข้าใจแล้ว อย่างวันนี้จักขุนทรีย์ ภาษาบาลี จักขุคือตาอินทรีย์คือเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้นทุกคนกำลังมีใช่ไหม จักขุนทรีย์นี่แหละไม่ใช่ใครเลย และก็ไม่ใช่ของใครด้วย กำลังเกิดดับไม่รู้เลยแค่ฟัง แต่ฟังเรื่องสิ่งที่มีจริง จนกว่าจะค่อยๆ รู้ความจริงที่กำลังมีจริง จนกว่าความจริงคือสิ่งนั้นเกิดแล้วดับ เป็นปัญญาแต่ละขั้น ความเห็นถูกเป็นปัญญินทรีย์ไม่ใช่จิต จิตเป็นธาตุรู้เป็นมนะ หรือมโนเป็นมนินทรีย์ แต่ปัญญาเป็นความเห็นที่ถูกต้องเป็นปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นอินทรีย์ก็ถ้ามีความเข้าใจแล้ว เราก็สามารถที่จะก้าวไปถึงขณะอื่น เช่นกำลังได้ยิน ต้องมีหูถ้าไม่มีหูไม่ได้ยินใช่ไหม เพราะฉะนั้นหูเป็นไหม ลองคิดดู โลกทั้งโลก ตาก็เป็นใหญ่ หูก็เป็นใหญ่ เพราะว่าถ้าหูไม่มีเสียงกระทบอะไรไม่ได้ แต่เสียงกระทบหู นี่คือการที่จะต้องค่อยๆ เข้าใจความจริงซึ่งกำลังมีเดี๋ยวนี้ ประโยชน์สูงสุดคือการฟังธรรม ก็คือเข้าใจขึ้นหรือว่าเข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วแต่การสะสม ที่สะสมมามากน้อยเท่าไหร่ แต่ประโยชน์ไม่ใช่อย่างอื่นเลยไม่ใช่ลาภ ไม่ใช่ยศ ไม่ใช่เกียรติ ไม่ใช่อะไรทั้งหมด แต่สิ่งที่มีค่าเกินกว่าทุกสิ่งก็คือว่าความเห็นที่ถูกต้อง คือความจริง ซึ่งเป็นใหญ่จริงๆ เป็นอินทรีย์ เพราะฉะนั้นกว่าจะได้ถึงอินทรีย์ที่เป็นปัญญาระดับขั้นต่างๆ ขั้นพระโสดาบัน ขั้นพระสกทาคามี พระอนาคามีจนถึงพระอรหันต์ ปัญญาก็เป็นใหญ่ ในหน้าที่ที่กำลังเข้าใจสิ่งนั้นในขณะนั้น เพราะฉะนั้นพอได้ยินคำว่าอินทรีย์ ใหญ่ ตาใหญ่ไม่ใช่ขนาดใหญ่ แต่เป็นใหญ่เพราะเหตุว่าสามารถที่จะกระทบ กับสิ่งที่กำลังปรากฏ โดยขณะนั้นจิตก็เป็นใหญ่ มนินทรีย์ เพราะเหตุว่าสามารถรู้ว่าเดี๋ยวนี้เป็นอย่างนี้ คิดดู แต่ละคำ กำลังปรากฏให้เข้าใจ ขณะนี้จิตเป็นใหญ่ในการเห็นสิ่งที่ปรากฏ ให้รู้ว่ามีสิ่งนี้สิ่งนี้ในขณะนี้ เพราะอาศัยตาซึ่งเป็นใหญ่ ทางหู โสตะในภาษาบาลี ร่วมกับคำว่าอินทรีย์ เป็นโสตินทรีย์เป็นใหญ่ เพราะเหตุว่าเสียงสามารถ กระทบโสตประสาทเท่านั้น เป็นรูปชนิดหนึ่ง เราพูดเรื่องหู และเราไม่ได้คิดถึงปสาท ซึ่งเป็นรูปที่สามารถกระทบเสียง แต่เรารู้ว่ามีแน่ แต่พอพูดถึงหู เราคิดถึง ใบหูใช่ไหม มากกว่าที่จะคิดถึงตัวปสาทรูป แต่นี่คือเรื่องทั้งหมด ซึ่งไม่มีการที่จะเข้าใจได้ด้วยตัวเอง และคิดว่าไม่สำคัญ แต่สำคัญคือเมื่อมีความเข้าใจถูกต้องยิ่งขึ้น ก็จะรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรละเว้น อะไรเป็นสิ่งที่ควรถือเอา

    เพราะฉะนั้นปัญญานำไป ในการที่จะขัดเกลากิเลส ซึ่งมีคำอีกมากมายในพระไตรปิฏก แต่ว่าทุกคำถ้าเข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้น อย่างมั่นคง รอบรู้ ก็จะทำให้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งทุกชาติ เพราะเหตุว่าสามารถที่จะเข้าใจความจริง ได้ทีละเล็กทีละน้อย แม้วันนี้ก็ได้ฟัง และเข้าใจคำว่าอินทรีย์ ตา หู จมูก เป็นอินทรีย์หรือเปล่า ไม่ยากใครบอกว่าธรรมยาก ธรรมมีแต่อาศัยคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นคำที่ได้ตรัสรู้ประจักษ์แจ้งแล้ว จึงกล่าวคำซึ่งเปลี่ยนไม่ได้เลย เพราะถึงที่สุดโดยส่วนเดียว จะเปลี่ยนอะไรไม่ได้เลยทั้งสิ้น ตา หูจมูก ลิ้นเป็นใหญ่ไหม รับประทานอาหารทุกวัน ลืมเลยมีสภาพที่เป็นใหญ่ในขณะที่รับประทาน เพราะรสปรากฏได้ รสนั้นกระทบลิ้น แต่เราก็ไม่เคยคิดเลยว่ามีรูปที่สามารถกระทบลิ้น ถ้ารสนั้นไม่กระทบลิ้น จะไม่ปรากฏรสใดๆ เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นชีวิตแต่ละขณะ ก็เป็นไปตามความเป็นจริงซึ่งไม่มีใครรู้ จนกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงเปิดเผยความเป็นธรรม ไม่ใช่เป็นเรา แต่เป็นสิ่งที่มีจริงตามเหตุตามปัจจัย ซึ่งเกิด และก็ดับ ไม่มีใครสามารถที่จะให้กลับคืนมาอีกได้เลย เคยสนุก คิดสิ จะเป็นอย่างนั้นอีกได้ไหม ไม่มีทาง เคยโกรธมากๆ บางคนพยาบาท เขาบอกว่าไม่ลืมจนวันตาย ฟังแล้วน่ากลัวมาก โกรธอะไรปานนั้น ไม่ลืมจนวันตาย แต่ขณะนั้นดับ แล้วก็จำ แล้วก็คิดแล้วแต่ว่าความคิดนั้น จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งทั้งโลกหรือกี่โลกก็ตามแต่ก็เป็นธรรมคือสิ่งที่มีจริง แต่ละ ๑ ซึ่งค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    อ.วิชัย กราบอาจารย์ ถ้ากล่าวถึงอินทรีย์ที่พระภูมิภาคตรัส ที่จะอบรม และก็เป็นไปเพื่อการตรัสรู้ธรรม พระองค์ก็แสดงธรรมที่เป็นอินทรีย์ ๕ ประการก็คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ และปัญญิณทรีย์ ๑

    ท่านอาจารย์ แค่เพิ่มแล้วใช่ไหม ทีละคำทีละคำ เพิ่มเร็วๆ จะจำได้มั้ย แต่ว่าค่อยๆ เข้าใจทีละคำ เพราะฉะนั้นที่เรากล่าวมาเมื่อกี้นี้ จักขุ ตาเป็นใหญ่ ตารู้ไหมว่าตาเป็นใหญ่

    อ.วิชัย ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร

    อ.วิชัย เพราะตาเป็นธาตุที่ไม่รู้อารมณ์

    ท่านอาจารย์ เพราะตาไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น แม้เป็นใหญ่แต่ตัวเองก็ไม่รู้ เพราะเหตุว่าเป็นลักษณะของธรรมอย่าง ๑ ซึ่งเป็นใหญ่ในการเห็น แต่ว่าสภาพธรรมสามารถที่จะจำแนกออกได้ ไม่ลืมเลย คือสิ่งที่มีจริง อย่างหนึ่งก็คือว่าเกิดแล้วไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย เสียงไม่รู้ว่าใครได้ยิน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่มีจริงแต่ไม่รู้เช่นแข็ง เสียง กลิ่น พวกนี้ ใช้คำว่ารูปธรรม รูปธรรมที่ดับไปเมื่อกี้นี้ จะกลับมาอีกได้ไหม

    อ.วิชัย ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่มีทางเลย เพราะฉะนั้นไม่มีเรา ไม่มี แต่มีปัจจัยที่จะให้ธรรมเกิดขึ้นแล้วก็หมดไป ด้วยความไม่รู้จึงยึดถือว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้นความเข้าใจจะค่อยๆ เป็นอินทรีย์ เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่เมื่อกี้เราพูดถึงตา หู ใจ มูก ลิ้น กายคิดเอง ตาบอกแล้ว หูบอกแล้ว จมูกลิ้นกายก็รู้ได้ใช่ไหม นั่นคือรูปธรรม แต่นามธรรมที่เป็นใหญ่ก็มี เพราะฉะนั้นธรรมได้เป็นสิ่งที่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริง ในโลกทุกโลกเปลี่ยนไม่ได้เลย เป็นจริงขณะนี้อย่างไรอยู่ที่ไหน ก็ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นถ้าจะกล่าวถึงนามธรรมที่เป็นอินทรีย์ก็มี ไม่รู้จบ หมายความว่าค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละ ๑ ทีละ ๑ แต่ให้เข้าใจความหมายของอินทรีย์ก่อนว่า ในบรรดาธรรมทั้งหมดรูปที่เป็นอินทรีย์ก็มี และก็นามธรรมสภาพรู้ ธาตุรู้ที่เป็นอินทรีย์ก็มี นอกจากจิตซึ่งเป็นมนินทรีย์ ก็ยังมีอินทรีย์อื่นด้วย เช่นศรัทธา มีหรือไม่เดี๋ยวนี้ ไม่รู้ใช่ไหม ฟังเพื่อรู้ รู้ขึ้น รู้ขึ้นจนกระทั่งเข้าใจมั่นคงขึ้นในขั้นการฟังไม่มีเรา และในที่สุดไม่ใช่ไม่มีเราเท่านั้น ไม่มีทุกอย่าง เพราะเหตุว่าก่อนมีไม่มีเลยพอเกิดมีแล้วหมด ไม่กลับมาอีกเลย ไหนล่ะ ก็คือไม่มี ถ้ามีความเข้าใจมั่นคง ไม่มี ถึงที่สุดแล้วก็คือไม่มี จึงจะละความติดข้องได้ ไม่มีแล้วจะติดข้องได้ยังไง แต่เพราะว่าดับไปแล้วก็จริง แต่มีอย่างอื่นเกิดสืบต่อไม่มีระหว่างคั่นเลยทั้งสิ้น รวดเร็วสุดที่จะประมาณได้ เพราะฉะนั้นการไม่รู้ก็นำมาซึ่งความยึดถือว่ายังอยู่ ยังมีอยู่ ยังมีเราตั้งแต่เกิดจนตาย ตอนเด็กๆ ก็ไม่เป็นอย่างนี้ แต่ก็ยังเป็นเรา ขณะนี้ไม่ได้เป็นอย่างตอนเด็กๆ ก็ยังเป็นเรา เพราะฉะนั้นไม่ว่าอะไรก็ยึดถือไว้หมดเลย แต่ความจริงให้รู้ว่าไม่มี ไม่ว่าขณะไหนก็ตาม มีเพียงชั่วคราวแล้วก็หมด

    อ.วิชัย ดังนั้นการที่มีความรู้ความเข้าใจ ความเป็นอินทรีย์ก็เป็นปัญญา ซึ่งเป็นปัญญินทรีย์ แต่ถ้ากล่าวถึงธรรมที่เกิดพร้อมกัน เช่นศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ การที่ธรรมเหล่านั้นเป็นไปพร้อมกับปัญญา ที่ค่อยๆ เข้าใจธรรมมากขึ้น ก็แสดงถึงธรรมที่เป็นใหญ่นั้นค่อยๆ เจริญขึ้น ที่จะถึงความเป็นอินทรีย์ คือปรากฎความเป็นใหญ่ของธรรมเหล่านั้น

    ท่านอาจารย์ ศรัทธาคืออะไร เพราะฉะนั้นทุกคำ ต้องมีการฟัง และก็เข้าใจคำนั้น อย่าจำเพียงชื่อ ว่าขณะนี้เรารู้อินทรีย์เพิ่มอีก ๕ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เอาชื่อไป ๕ ชื่อ ไม่มีความหมายเลย ใช่ไหม แต่ว่าถ้าเข้าใจจริงๆ ต้องตอบได้ว่า เดี๋ยวนี้มีศรัทธาหรือเปล่า เห็นไหม ยังไม่รู้จักศรัทธารู้จักชื่อ และก็บอกว่าเป็นอินทรีย์ด้วย เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจธรรมละเอียดขึ้นมากๆ เลย จนกระทั่งรู้ว่าเมื่อไหร่ศรัทธาเป็นอินทรีย์

    อ.วิชัย ดังนั้นถ้ากล่าวถึงศรัทธา เป็นสภาพธรรมที่ผ่องใส ที่จะเป็นเหตุให้ธรรมที่เกิดร่วมกันผ่องใสด้วย เป็นความเลื่อมใสเป็นไปในกุศลธรรม คุณความดี

    ท่านอาจารย์ เริ่มรู้จักคำศรัทธา มีคนชื่อศรัทธาไหม ก็อาจจะมี แต่เค้ารู้ ไหมว่า ศรัทธาคืออะไร เพราะฉะนั้นศรัทธาเป็นสภาพจิตที่ผ่องใส ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสใดๆ เลยในขณะนั้นผ่องใส เพราะไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ และกิเลสอื่นๆ แต่ว่าใครจะรู้ เพราะว่าสภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก เพียงแค่ได้ยินชื่อ ไม่มีทางจะรู้จักได้เลย ต้องอาศัยความเข้าใจว่าเป็นธรรมจริงๆ ตั้งแต่ต้น และการฟังธรรมก็จะค่อยๆ เห็นความเป็นธรรมของแต่ละ ๑ ซึ่งขณะนี้ที่ฟังธรรมผ่องใสไหม หรือว่าไม่เท่ากับรับประทานอาหารอร่อย หรือยังไง คนละเรื่องเลยใช่ไหม อาหารอร่อยทุกคนชอบ แต่ฟังธรรมเข้าใจ คิดถึงสิ เข้าใจต่างกับขณะที่ไม่เคยฟัง ไม่เคยเข้าใจ เพราะฉะนั้นขณะนั้นที่ฟังเข้าใจ ไม่มีอกุศลสภาพธรรมที่ไม่ดีงาม เพราะขณะนั้นจิตต้องปราศจากสภาพธรรมที่ไม่ดี ไม่มีโลภะ ไม่ได้ ต้องการรับประทานอาหารอร่อย แต่ว่าฟังธรรมแล้วเข้าใจ ขณะที่เข้าใจ จะรู้เลยต่างกับขณะที่ไม่เข้าใจ แต่ไม่ได้สังเกต ไม่ได้คิดอะไรเลยทั้งนั้น ต้องอาศัยคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำ ที่จะค่อยๆ นำไปสู่ความเข้าใจขึ้น ความเข้าใจขึ้น ในสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหนเลยทั้งสิ้น ไม่ต้องไปปรุง ไปแต่ง ไปทำ ไปซื้อ ไปหาแต่มีแล้วแต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นก็ขณะใดก็ตาม ที่สภาพจิตผ่องใส เป็นไปในทางที่ดีงาม เราไม่รู้เลย ว่าความเข้าใจต่างกับความไม่เข้าใจ แค่นี้นิดเดียวต่างกันแล้วใช่ไหม แต่ถ้ายิ่งเข้าใจมากขึ้น ลักษณะของสภาพความผ่องใส ศรัทธาจะเพิ่มขึ้นไหม จนเป็นที่ปรากฏได้ จนกว่าจะถึงเป็นอินทรีย์ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมทั้งหมด ซึ่งหลากหลายมาก แล้วก็มีหลายระดับด้วย แม้แต่ปัญญาความเข้าใจถูก ต้องตั้งแต่เริ่มฟัง ถ้าไม่ฟังเลย จะไปนั่งปฏิบัติ สำนักปฏิบัติ จะไปดับกิเลสถึงความเป็นพระโสดาบัน ใครพูด ไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ต้องรู้จริงๆ ว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นคำของพระองค์ ทำให้ผู้ฟังสามารถรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด แล้วไม่ถือเอาสิ่งที่ผิด เพราะปัญญาเข้าใจ ถูกต้องตามความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้การฟังธรรม จึงฟังด้วยความเคารพยิ่งในแต่ละคำว่า คำนี้เพียงแค่ได้ยินเท่านี้แล้วที่ ๔๕ พรรษาที่ทรงแสดง ก็เป็นเรื่องของคำเหล่านี้ทั้งหมด จะมากมายที่จะทำให้เข้าใจละเอียดขึ้น ลึกซึ้งขึ้น แจ่มแจ้งขึ้นได้เพียงใดนี่เป็นขั้นฟัง และยังมีขั้นที่สามารถ ที่จะอบรมจนกระทั่ง เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะได้ฟังแล้วจึงมีปัจจัยที่จะทำให้ปฏิปัติ เข้าใจเพียง ๑ ที่กำลังปรากฏซึ่งขณะนี้ถามว่าเห็นอะไรตอบได้เยอะเลย ไม่ใช่เพียง ๑ แต่ถ้าเป็นปฏิปัตติ ซึ่งคนไทยใช้คำว่าปฏิบัตินะคะ เฉพาะ ๑ โดยความเป็นอนัตตา ซึ่งเกิดความเข้าใจแล้ว ไม่ใช่ไม่เข้าใจอะไรเลย แล้วก็จะไปนั่งปฏิบัติ นี่ก็คือแต่ละคำนี่มีค่ายิ่ง ที่ทำให้เราไม่เข้าใจผิด ไม่หลงตามคำที่ไม่ใช่คำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นทุกคำต้องเข้าใจ ศรัทธาเป็นสภาพธรรมที่ดี ขณะนั้นเป็นจิตที่ประกอบด้วยศรัทธา เพราะฉะนั้นจะได้ยินคำว่าจิตกับศรัทธา ศรัทธาไม่ใช่จิต แต่ศรัทธาเกิดกับจิต เป็นสภาพรู้เป็นนามธรรม ซึ่งใช้คำว่าเจตสิก ด้วยเหตุนี้แต่ละคำก็นำไปสู่ความเข้าใจคำอื่นๆ ให้ค่อยๆ มั่นคงขึ้นทีละเล็กทีละน้อย พอที่จะรู้ได้ว่าขณะไหนที่กระทำสิ่งที่ดี หรือจิตใจที่ดีงามเกิดขึ้น ขณะนั้นจิตผ่องใสจากอกุศลแต่ไม่ปรากฏ เพียงแต่เริ่มเข้าใจ

    อ.วิชัย ก็เป็นความละเอียดอย่างยิ่งของพระธรรม ที่จะเป็นผู้ที่ฟังพระธรรม ฟังเรื่องอินทรีย์ จนเป็นผู้ที่มีความมั่นคงว่า ธรรมที่เกิดขึ้นแม้เป็นอินทรีย์ที่เป็นใหญ่ ก็ไม่ใช่เป็นบุคคลหนึ่งบุคคลใด ไม่ใช่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เป็นธรรมที่เมื่อเกิดแล้วมีแล้ว กระทำกิจหน้าที่ของตน แสดงความเป็นใหญ่ ในลักษณะของตนของตน หรือแม้ของการที่จะอบรมเจริญปัญญา ก็ต้องเป็นผู้ที่ฟังจนมีความมั่นคง ที่จะรู้ว่าธรรมต่างหากที่เป็นอินทรีย์ที่จะเป็นใหญ่ ที่จะเป็นเหตุให้เป็นไป ในการรู้แจ้งธรรม ไม่ใช่มีบุคคลที่จะไปกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ทราบแล้วใช่ไหม มีเห็นเป็นธรรม มั่นคงไหม หรือเราเห็น เห็นไหม ต้องเป็นคนที่ตรง สัจจะบารมีตรงต่อความจริง ขณะนี้ได้ฟังว่าเห็นไม่ใช่เราถูกต้อง เข้าใจได้ แต่กำลังเห็นเป็นเราเห็น เพราะฉะนั้นความเข้าใจอย่างนี้แค่นี้ ยังไม่เป็นอินทรีย์ เห็นไหม ก็แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจ เริ่มเข้าใจ แต่ยังไม่มากพอ ที่จะถึงความเป็นอินทรีย์ได้ ต้องมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นขณะนี้ตอบได้ว่า ขณะที่เข้าใจเป็นศรัทธา จิตผ่องใสแต่ก็ยังไม่ใช่สัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมไม่ใช่ฟังนิดเดียวแล้วก็คิดเองเยอะๆ แต่ต้องตรวจสอบสวน ไตร่ตรอง รอบคอบ ละเอียด ลึกซึ้ง ตามข้อความที่ได้ทรงแสดงไว้ ครบถ้วนในพระไตรปิฏก

    อ.อรรณพ กราบเรียนท่านอาจารย์ถึงปัญญาที่เข้าใจธรรมขณะนี้ ที่เราเข้าใจอินทรีย์แล้วนะว่าไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กายก็ไม่มีจิตเห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส ก็ไม่มีการที่จะรู้อะไรขึ้นมา ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องทราบว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แล้วก็มีหลายระดับ ความโกรธมีหลายระดับไหม หรือความติดข้องมีหลายระดับไหม ทุกอย่างมีตั้งแต่เล็กน้อยที่สุด จนถึงใหญ่ที่สุด เหมือนไฟตั้งแต่นิดเดียว จนกระทั่งไหม้บ้านได้ เพราะฉะนั้นปัญญาก็สามารถที่จะเผา ความไม่รู้ได้เมื่อมีกำลัง แต่ถ้ายังไม่มีกำลัง ไม่มีทางเลยบอกไปสิ เห็นไม่ใช่เรา ก็ยังเป็นเราใช่ไหม แต่ก็ตอบได้ว่าเห็นไม่ใช่เรา แค่คิด แค่จำ แต่ว่าไม่พอ เพราะว่าตลอดเวลาที่เห็น ยังไม่รู้จักลักษณะสภาพเห็น เพราะฉะนั้นจะเป็นอินทรีย์ได้ยังไง เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า จากการฟังค่อยๆ ฟังขึ้น ก็จะเข้าใจความหมายของธรรมเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเหตุว่าธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี ๓ ระดับ ที่ว่าปริยัติ ความรอบรู้ในพระพุทธพจน์ เช่นคำว่าธรรม ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ธรรมทั้งหลายไม่เว้นเลยทุกอย่าง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าผิดจากนี้คือผิด ใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่ว่าการกระทำใดๆ ทั้งสิ้น ที่หวังจะให้เกิดปัญญา ไม่ใช่การฟังธรรมแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่มีทางที่จะเป็นปัญญาที่จะดับกิเลสได้ เพราะขณะนั้นหวังเป็นความติดข้องเป็นตัวตน ไม่ได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งมั่นคงว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นแต่ละคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เปลี่ยนไม่ได้เลย แล้วก็จะรู้ได้ด้วยบอกว่าเห็น ไม่ใช่เรา ฟังทุกวัน แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจคำอื่นๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ที่จะช่วยทำให้ค่อยๆ เกิดความเข้าใจขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ซึ่งก็ต้องใช้เวลาที่นานมาก เพราะเหตุว่าแม้จะฟังมา ๒๐ ปี ก็เราเห็นใช่ไหม แต่เริ่มมั่นคงไหม พอฟังรู้เรื่องว่าเห็นไม่ใช่เราก็เชื่อต้องไม่ใช่เรา แต่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้นความรู้ขั้นนี้ที่ตรงคือปริยัติ จะนำไปสู่ขณะที่กำลังเข้าใจสิ่งหนึ่งเฉพาะสิ่ง ๑ อะไรก็ได้ จะเป็นเห็นก็ได้ จะเป็นคิดก็ได้ จะเป็นแข็งก็ได้ จะเป็นอะไรก็ได้ โดยความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นขณะนี้เราฟังเรื่องของธรรม แต่ยังไม่ถึงเฉพาะลักษณะ ๑ เพียง ๑ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นปฏิปัติ ปฏิหมายความว่าเฉพาะ ปัติแปลว่าถึง ปัญญาที่เริ่มถึงเฉพาะด้วยความเข้าใจ สิ่งหนึ่งที่กำลังปรากฏ ยกตัวอย่างที่พอจะเข้าใจได้ ขณะนี้มีแข็งไหม ไม่ถามไม่รู้ ใช่ไหม ไม่ถาม ไม่คิด แต่มีไหม มี ความรู้แข็งแค่ไหน คนที่ไม่เคยฟังเลย ก็บอกว่าแข็ง แต่ว่าถ้าได้ฟังธรรมี ก็รู้ว่ามีจริงๆ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ ไม่ใช่ดอกไม้ ไม่ใช่คน ไม่ใช่แขน แต่แข็งเป็นแข็ง มั่นคงขึ้นไหม และขณะที่แข็งปรากฏแข็งต้องเกิด ไม่เกิดมีแข็งไม่ได้ เพราะฉะนั้นเพียงแค่แข็งปรากฏ ความเข้าใจนี่จะต้องลึกซึ้งไปถึงว่า แข็งนี้เกิดขึ้น และผู้ที่ประจักษ์ความจริง ก็คือว่าทันทีที่ปรากฏแข็ง แข็งดับ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 187
    13 พ.ย. 2567