ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๓๑
สนทนาธรรม ที่ นิกันติ กอล์ฟคลับ จ.นครปฐม
วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราต้องเกิดอีกแน่ แต่ถ้าเป็นผลของกรรมไม่ดี ไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์ อาจจะอยู่ในน้ำเป็นปลาได้ไหม อยู่ในป่าเป็นเสือ เป็นอะไรได้หมดเลย เราก็ถามเขาไม่ได้เลย ว่าเค้าอยากจะเกิดเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า แต่ก็มีปัจจัยที่เกิดแล้ว ทุกคนต้องเกิดจากโลกนี้ไป จะเป็นใครก็ไม่รู้ ก่อนที่จะได้ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นใครมาก่อน มากมายหลายอย่าง เพราะฉะนั้นเป็นคนนี้ชั่วคราวเหมือนชาติก่อนๆ ของพระโพธิสัตว์ ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเราใช้คำว่าโพธิสัตว์ หมายความว่ายังไม่รู้ความจริง หมายความว่าความจริงรู้แสนยาก กว่าเราจะได้ยินแต่ละคำที่ฟัง มาจากการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งก่อนที่จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดเป็นอะไรบ้าง คนขอทานเคยเป็นไหม? พระเจ้าแผ่นดินเคยเป็นไหม?
อ.ธีระพันธ์ คือพระองค์ทรงเป็นมาหลายอย่าง นับเฉพาะมนุษย์นี่ก็มากมาย ไม่รวมถึงเป็นพระโพธิสัตว์ ที่เสวยพระชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นพระยาวานรบ้าง เป็นนกคุ้มบ้างหลายอย่างเลย ความเป็นไปของสังสารวัฎฏ์ ก็ว่าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีมาอย่างยวดยิ่งเลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นใคร เป็นได้ชั่วคราว ชาติก่อนเคยเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เคยเป็นมหาอำมาตย์ เคยเป็นพ่อค้า เคยเป็นสารพัดอย่าง แต่ชาตินี้เป็นอย่างนี้ชั่วคราว จากโลกนี้ไปก็จะเป็นอะไรก็แล้วแต่อีกแล้วแต่ แต่ต้องเกิดแน่ เพราะฉะนั้นควรมีเมตตาไหม
ผู้ฟัง ควร
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความดี เป็นสิ่งที่ไม่มีใครไม่ชอบเลย ใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้าคนอื่นชอบความดี เราก็ทำความดี คนอื่นก็ต่างคนก็ต่างก็ชอบความดี
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์อีกครั้ง จากที่คุณนิได้ถามเกี่ยวกับความมีเมตตา แล้วบางครั้งการที่เรามีเมตตา กับสรรพสัตว์หรือว่าบุคคลที่เรามีเมตตาด้วยอย่างนี้ ตรงนี้นี่เราได้ทำบุญรึเปล่า หรือมันเป็นการให้โทษอะไรหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบนะ พูดคำที่ไม่รู้จักหรือเปล่า บุญ ใครรู้จักบุญบ้าง ถึงได้ถามว่าเป็นบุญหรือเปล่า ถ้ารู้จักเราคงไม่ถาม แต่พูดกันมากเลยใช่ไหม ทำบุญได้บุญ
อ.คำปั่น ความหมายของบุญก็คือธรรมฝ่ายดีงาม ที่เกิดขึ้นเมื่อใดก็ชำระจิตให้สะอาดปราศจากอกุศล เพราะว่าถ้าความดีเกิดขึ้นเมื่อใด ก็เป็นบุญเมื่อนั้น เพราะว่าเป็นธรรมที่เกิดขึ้น แล้วก็สามารถที่จะขัดเกลา ละคลายสิ่งที่ไม่ดีได้ เพราะฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงคำว่าบุญเมื่อใด ก็ต้องหมายถึงเฉพาะธรรมที่ดีงามเท่านั้น ที่เกิดขึ้นในจิตของแต่ละบุคคล เมื่อเกิดขึ้นก็ชำระจิต จากที่เคยมากด้วยความไม่ดีทั้งหลาย ก็ค่อยๆ ขัดเกลาละคลาย แม้แต่คุณความดีที่เป็นเมตตา ความเป็นมิตร เป็นเพื่อนต่อผู้อื่น ก็เป็นความดีประการหนึ่ง เป็นธรรมที่ดีประการหนึ่ง ถ้าใส่ชื่อก็คือเป็นบุญ เพราะว่าเป็นธรรมที่ดีงามที่ไม่นำมา ซึ่งทุกข์โทษภัยแก่ใครๆ เลย นี่ก็เป็นความหมายเบื้องต้น ในความหมายของคำว่าบุญ สภาพธรรมที่ชำระจิตให้สะอาด ปราศจากอย่างกุศล
ท่านอาจารย์ เวลามีใจเมตตา หมายความว่าเป็นเพื่อน พร้อมที่จะช่วยเหลือคนอื่น หวังดี ขณะนั้นลำบากใจไหม
ผู้ฟัง ไม่ลำบาก
ท่านอาจารย์ เห็นไหม ความไม่ลำบากใจ ความไม่เป็นทุกข์ใจ ความไม่เดือดร้อน สภาพที่ช่วยเหลือคนอื่น เป็นสภาพของจิตใจที่ดีงาม ยกตัวอย่างถ้าเห็นกระดาษแผ่นหนึ่งตกจะหยิบไหม เอาไปทิ้งหรือปล่อยไว้เฉยๆ
ผู้ฟัง หยิบ
ท่านอาจารย์ นี่บุญ เห็นไหม จิตใจที่ดีงามไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามทั้งหมด เพราะอะไร ถ้ามีกระดาษหลายๆ แผ่น ตกทุกวันทุกวัน ที่นั่นก็แย่ใช่ไหม แต่เพียง ๑ ถ้าสามารถที่จะเก็บเอาไปทิ้งก็ช่วยกัน ในพระไตรปิฏก ก็จะมีอัธยาศัยของหลายท่านมาก บางท่านคิดว่าคนนี้ทำผิด แต่เขาไม่ได้ทำ แต่ถูกกล่าวว่าทำ เท่าก็ไม่ว่ากระไร ดีไหม ไม่ต้องไปบอกให้เกิดเรื่อง เกิดราวใหญ่โตมากมาย ทุกอย่างยุติได้ ด้วยความคิดที่ถูกต้อง ว่าเพียงแค่เราไม่ต้องไปพูดอะไร ก็ไม่มีเหตุเดือดร้อน ที่จะต้องก่อเป็นเรื่องใหญ่โต ความคิดนี่ละเอียดมาก เพราะฉะนั้นถ้าเราคิดดี ขณะนั้นก็เป็นบุญ แม้จะเล็กน้อยสักเท่าไหร่ก็ตาม เห็นคนหิวน้ำ เอาน้ำไปให้เขากิน บุญไหม เพราะฉะนั้นพอรู้จักบุญแล้ว คือคุณความดีเกิดจากใจที่หวังดี มีการไม่รีรอ หรือว่าไม่ขี้เกียจ ที่จะช่วยเหลือคนอื่น ขณะนั้นก็เป็นบุญ รู้อย่างนี้จะทำบุญไหม
ผู้ฟัง ทำ
ท่านอาจารย์ หรือจะต้องไปวัด
ผู้ฟัง ทำได้ทุกที่
ท่านอาจารย์ ทำได้ทุกแห่ง เมื่อไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ใครกำลังต้องการดินสอเราส่งให้ นั่นก็บุญแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปทำอะไรที่มากมายเลย เพียงแต่ว่าอะไรที่พร้อมที่จะช่วยเหลือคนอื่น ทำได้ก็ทำนั่นคือบุญ ที่บ้านมีอะไรหลายอย่างไหม ที่บางคนก็ทำคนเดียวเหนื่อย คนอื่นก็นั่งเฉยๆ บุญหรือเปล่า คนนั่งเฉยๆ แต่ถ้าช่วยเขาช่วยให้เขาสบายขึ้นนิดหน่อย ไม่ต้องเหนื่อยมาก บุญไหม บุญ มีคนที่ช่วยเราทำอะไรต่างๆ แล้วเราพูดดีๆ กับเขา กับพูดร้ายๆ กับเค้า เขาสบายใจเมื่อไหร่เมื่อเราพูดดีด้วย ใช่ไหมบุญไหม อะไรที่ทำให้ใครสบายใจ ไม่เดือดร้อน แม้เพียงเล็กน้อย ขณะนั้นไม่ได้เห็นแก่ตัวเอง สละความสุขของตัวเอง แม้เพียงเล็กน้อยให้คนอื่น บุญไหม บุญ เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ทำบุญ โดยไม่ต้องไปที่ไหนเลยก็ได้ ใช่ไหม ที่บ้านก็ได้ที่โน่นก็ได้ ทีนี้่ก็ได้ ทุกคนทุกแห่งทำได้ เพราะฉะนั้นเมตตาเป็นบุญหรือเปล่า
ผู้ฟัง บุญ
ท่านอาจารย์ เมตตาเป็นบุญ ถ้าเมตตาแล้วทำอะไรบ้าง ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น นี่อีกบุญหนึ่งละ ชื่อว่าทาน การให้ เพราะฉะนั้นเราบอกว่าเราให้ท่า ไม่จำเป็นต้องให้คนยากไร้ ให้อะไรใครก็ได้ ที่เป็นประโยชน์กับเขา ขณะนั้นก็เป็นทาน เป็นธรรมหรือเปล่า เป็นเราหรือเปล่า เมื่อเช้านี้ฟังแล้ว ทุกอย่างที่มีจริงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป การช่วยเหลือช่วยแล้วหมดแล้ว ดับแล้วเป็นเหตุที่ดี ที่จะทำให้ผลที่ดีเกิดขึ้น คือเกิดดี เห็นดี ได้ยินดี ได้กลิ่นดี ลิ้มรสดี รู้สิ่งที่กระทบกายดี บางคนก็ไม่ค่อยป่วยไข้ เราก็บอกว่าเค้าทำบุญมาดี ใช่ไหม เห็นอะไรก็น่าดู ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าดีขณะใดก็เป็นบุญไม่ได้เลือกเลย นกมีบุญได้ไหม
ผู้ฟัง มีได้
ท่านอาจารย์ เมื่อไหร่ ถ้าเราจำไว้มั่นคง เกิดเป็นผลของบุญถ้าเกิดดี เกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาเป็นผลของบุญ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เท่าที่เรามองเห็น เห็นนกเปห็ปูปลาพวกนี้เป็นผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้นบุญให้ผลคือให้เกิดดี ไม่ใช่ให้เกิดไม่ดี เห็นดีได้ยินดี ได้กลิ่นดี ลิ้มรสดี รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกายดี ให้ทราบว่าเกิดมาแล้ว มีตามีหูมีจมูกมีลิ้นมีกาย รู้ไหมว่าอะไรทำให้เกิด ตาหูจมูกลิ้นกาย ภาษาไทยเราบอกว่าทำ ภาษาบาลีใช้คำว่ากัมมะ คือการกระทำ เพราะฉะนั้นมีกายกรรมการกระทำทางกาย วจีกรรมการกระทำทางวาจา พูดคำไม่ดี ผรุสวาท วาจาหยาบคายดีไหม เพราะฉะนั้นเกิดมาหน้าตานี่ก็ต่างกัน ตามกรรมที่ได้ทำไว้ผลของกรรม จะให้ผลโดยเราไม่รู้เลย ว่าปรุงแต่งละเอียดยิบ ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ ว่าในคนหนึ่ง มีส่วนไหนบ้างตาหูจมูกลิ้นทั้งหมด บุญธรรมกรรมแต่ง ภาษาโบราณใช้คำถูก แต่ว่าไม่เข้าใจละเอียดบุญทำให้สวยให้ดี แล้วก็ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ กรรมก็ยังตกแต่งส่วนละเอียดต่างๆ ที่จะต้องเป็นไปบุญทำกรรมแต่งทั้งนั้นเลย ที่นั่งอยู่ที่นี่ ใช่ไหม ถ้าเป็นสัตว์เดรัจฉาน อกุศลกรรม เหมือนกับบุญกรรมใช่ไหม แต่นี่ไม่ใช่บุญ เป็นบาปกรรม ก็ทำให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานแต่บุญมีบ้างรูปร่างหน้าตาน่ารัก เชิญเลย เราชอบใช่ นกมีตั้งหลายอย่าง นี่ก็เพราะว่าบุญทำกรรมแต่ง จะเลือกเป็นนกกระจิบ หรือจะเลือกเป็นนกอะไรก็ไม่ได้
เพราะเหตุว่าแล้วแต่บุญกรรมที่ได้ทำมา ละเอียดมาก ถ้าจะดูสัตว์สักตัว ทำไมนะใครจะไปทำให้สัตว์นั้นเป็นอย่างนั้นได้ บางทีก็มีจมูก บางทีก็จมูกยาวมากเลย ช้างใช่ไหม อะไรอย่างนี้ ก็แสดงให้เห็นว่า มั่นคงเถอะในเรื่องของธรรม ไม่มีอะไรที่จะนอกเหนือจากธรรมได้ ธรรมที่เป็นเหตุมีเท่าไหร่ ก็ให้ผลเพียงเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราจึงต่างกันตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ละวันไม่เหมือนกันเลย บางวันก็ดี บางวันก็สนุก บางวันก็ทุกข์ ล้วนแต่มีปัจจัยทั้งนั้น เพราะฉะนั้นไม่ลืมว่า การกระทำให้ผลตั้งแต่เกิด ถ้าเป็นผลของกรรมดีก็เกิดดีเป็นมนุษย์ ก็จำแนกไปตามผลของกรรมดีที่ได้ทำไว้ เป็นกรรมดีระดับไหน และก็ถ้าเป็นสัตว์เดรัจฉาน เราก็เห็นอยู่ เป็นผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้นเกิดแล้วเป็นผลของกรรม ยังต้องรับผลของกรรม โดยกรรมทำให้มีตา หูจมูกลิ้นกายเพื่ออะไรเพื่อเห็น การเห็นรับผลของกรรมล่ะ การได้ยินก็รับผลของกรรม การได้กลิ่นก็รับผลของกรรม การลิ้มรสก็รับผลของกรรม การกระทบสัมผัส รับผลของกรรม เด็กๆ เคยถูกตีไหม
ผู้ฟัง ไม่
ท่านอาจารย์ เป็นผลของกรรมหรือเปล่า แน่นอน เพราะเหตุว่ากรรมทำให้มีกายปสาท สิ่งที่สามารถกระทบกับสิ่งที่อ่อนแข็งได้ เพราะฉะนั้นเวลาสิ่งที่แข็งมากกระทบกาย เจ็บ เจ็บเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม
ผู้ฟัง นามธรรม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เห็นไหม กายไม่มีวันเจ็บ เพราะกายอ่อนหรือแข็ง เห็นไหม เจ็บไหมโต๊ะ ใครตีโต๊ะสิ ไม่เจ็บใช่ไหม แต่ถูกตัว ธาตุกระทบคือแข็ง ใช่ไหม ลองกระทบสิ นิ้วก็ได้แขนก็ได้ กระทบแข็ง แข็งไม่รู้อะไร ไม่รู้ว่าถูกกระทบ เพราะฉะนั้นธาตุรู้อาศัย การกระทบ เกิดขึ้นรู้สึกเจ็บ หรือรู้สึกสบาย ถ้าไม่กระทบไม่มีวันเจ็บ ถูกต้องไหม แต่พอกระทบแข็ง แข็งไม่รู้อะไรเลย แต่ธาตุรู้เจ็บ เจ็บนี่เป็นความรู้สึก ด้วยเหตุนี้กว่าจะเข้าใจธรรมได้ ต้องคิด ต้องไตร่ตรอง แต่ต้องตามลำดับ ไม่ลืมว่าทุกอย่างเป็นธรรม ธรรมหลากหลายมากมายก็จริง แต่ต่างประเภทแยกธาตุ เมื่อกี้นี้ ธาตุรู้เกิดขึ้นต้องรู้ ส่วนธาตุไม่รู้เกิดขึ้น รู้อะไรไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่รู้ไม่ได้เป็นรูปธาตุ หรือรูปธรรม สิ่งที่รู้เป็นนามธรรม เพราะฉะนั้นเว้น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน เห็นเป็นนามธรรมเป็นธาตุรู้ ได้ยินเป็นนามธรรม ต้องแยกกัน ได้ยินกับเสียง เสียงเป็นรูปไม่รู้อะไร แต่สภาพที่ได้ยิน กำลังได้ยินเดี๋ยวนี้ พิสูจน์ธรรมเลย กำลังได้ยินได้ยินเสียงใช่ไหม รู้เสียงนั้นใช่ไหม เสียงนั้นปรากฏ ให้รู้ว่ามีเสียงใช่ไหม เพราะฉะนั้นสภาพรู้นั่นแหละเป็นนามธรรม ไม่ใช่เรา เกิดขึ้นรู้แล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้นต้องมั่นคงว่าธรรมทั้งหลายทั้งหมดเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา และไม่ใช่ของเราด้วย เพราะอะไรเกิดขึ้นปรากฏเพียงชั่วคราว แสนสั้น แล้วหมดไป ธรรมเกิดขึ้นแล้วดับไหม ดับหมายความว่าไม่เหลือเลย ไม่เหลือสักนิดเดียว เหมือนไฟ ถ้าไม่มีน้ำมันไม่มีใส้ ก็ต้องดับ เพราะฉะนั้นขณะที่มีเสียงกับมีหูกระทบกัน ทำให้เกิดไฟคือได้ยินธาตุรู้ สมมติเปรียบเทียบ ไฟอาศัยน้ำมันกับไส้ตะเกียง จุดไฟมีถ้าไม่มีน้ำมัน ไม่มีไส้ตะเกียง ไฟก็ไม่มี เพราะฉะนั้นไม่มีเสียงไม่มีหู ได้ยินได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้นได้ยินเป็นธรรม เกิดได้ยินแล้วก็ดับไป ให้เข้าใจมั่นคงว่านี่คือผลของกรรม เพราะฉะนั้นกรรมทำให้เกิด เกิดแล้วต้องได้ยิน มีตาหูจมูกลิ้นกาย สำหรับได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ผลของกรรมทั้งนั้นเลย จะโทษใครไหม ถ้ามีคนยิงเราตีเรา เขาทำเรารึเปล่า เขาทำคือการตีได้ แต่นั้นใครเจ็บเห็นไหม เราเจ็บเองเพราะเราทำกรรมมา ที่จะให้ความเจ็บนั้นเกิดขึ้น ถึงเขาไม่ตีเราหกล้มก็ได้ ใช่ไหม ตกกระไดก็ได้ ไม่มีใครทำเลย แต่กรรมที่ได้ทำแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้ทุกอย่าง ที่กระทบตาหูจมูกลิ้นกาย และเกิดเป็นความรู้ การเห็นการได้ยินพวกนี้ เป็นผลของกรรม เลือกได้ไหม จะเห็นอะไร จะได้ยินอะไร เลือกไม่ได้เลย ต้องเป็นไปตามกรรม กรรมไหนละ่ทำตั้งแต่เมื่อไหร่ ทุกคนส่ายหน้าใช่ไหม เพราะกรรมเป็นสภาพที่ปกปิด นี่เป็นข้อความในพระไตรปิฎก ขณะที่ทำกรรมก็ไม่รู้เลย ว่ากรรมนี้จะให้ผลชาติไหน อีก ๑๐ ชาติ อีก ๑๐๐ ชาติ หรือชาติหน้าหรือชาติไหนก็ได้ ไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่า กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เป็นผลของกรรมชาติไหน กำลังได้ยินเสียง เป็นผลของกรรมชาติไหน แต่ก็รู้ว่าถ้าไม่มีกรรม ไม่มีการที่จะเห็น ไม่มีการเกิด ไม่มีการได้ยิน เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้ที่มั่นคง แม้แต่เมตตาเป็นเราหรือเปล่า เกิดขึ้นจึงมี แต่ไปคิดว่าเป็นเรา เวลาโกรธเกิดขึ้นยังไม่มีโกรธ แต่แล้วโกรธก็เกิดขึ้น ถ้าโกรธไม่เกิด ก็จะไม่ไปคิดว่าเราโกรธ แต่เพราะโกรธเกิดขึ้นแทนที่จะรู้ว่าโกรธเกิด และโกรธก็หมดไป ไม่ใช่เรา ก็กลายเป็นเราโกรธ เพราะฉะนั้นหลงเข้าใจว่าธรรมเป็นเรานานแสนนาน จนกว่าจะได้ฟัง และเริ่มเข้าใจถูก ทีละคำ การเข้าใจธรรมจริงๆ อย่าคิดว่าเราต้องไปฟังคำเยอะ แยกธาตุแยกขันธ์ แต่ก็ไม่เข้าใจอะไรเลย เพราะฉะนั้นจะเข้าใจคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องทีละคำ และก็จากการที่เราคิดเอง ไตร่ตรองเอง แม้ว่าได้ยินใครพูดใครบอก พระพุทธพจน์ที่สืบทอดกันมา ก็ต้องอาศัยการไตร่ตรองของเรา การคิดของเรา จนเป็นความมั่งคงว่าถูกต้อง เพราะฉะนั้นเมื่อไตร่ตรองแล้ว เปลี่ยนได้ไหม เราคิดเอง เราไตร่ตรองเอง เป็นเหตุเป็นผลเอง เพราะฉะนั้นถูกก็ต้องเป็นถูก ผิดก็ต้องเป็นผิด มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ที่ทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่า ทุกคำที่เราเคยพูดมาตั้งแต่เกิด เข้าใจแค่ไหน อย่างได้ยินคำว่าธรรม ได้ยินบ่อยใช่ไหม เข้าใจแค่ไหน เช่นคำว่ายุติธรรม เหมือนรู้เหมือนเข้าใจ แต่ยุติหมายความว่าอะไร ธรรมคืออะไรคุณคำปั่น
อ.คำปั่น ยุติหมายถึงสมควร ถูกต้อง แล้วก็ธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้นกล่าวถึงยุติธรรมก็คือสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สมควร
ท่านอาจารย์ ตอนนี้เข้าใจคำว่ากระทรวงยุติธรรม แล้วใช่ไหม สิ่งใดก็ตามที่ถึงที่สุดคือความถูกต้องที่สมควร เพราะฉะนั้นแต่ละคำที่เราพูด ต่อไปนี้แลเราเป็นคนที่รู้ขึ้น คือพูดคำที่รู้จัก
ผู้ฟัง สวัสดีท่านอาจารย์ พอดีก็จะมีความสงสัยว่า ถ้าทุกคนทำดีจะได้ขึ้นสวรรค์ ทำไม่ดีตกนรกภูมิ ก็เลยจะถามอาจารย์ว่า โลกที่สามมีจริงไหม
อ.อรรณพ เมื่อมีเหตุก็ต้องมีผลถูกไหม มีอะไรจะเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
อ.อรรณพ ถูกไหม สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นต้องมีเหตุ เพราะฉะนั้นพูดได้ ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ทำดีขึ้นสวรรค์ ทำชั่วตกนรก พูดก็คือพูดลอยๆ แต่ถ้าคนที่ศึกษาพระธรรม ต้องเป็นความจริง ดีคืออะไร ชั่วคืออะไร แล้วผลของดีผลของชั่วก็ต้องมี ตามเหตุตามผล เพราะฉะนั้นพูดเหมือนกัน แต่ความลึกซึ้งไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงต้องศึกษา ให้เข้าใจถึงตัวความเป็นธรรมจริงๆ แต่ละอย่าง
ท่านอาจารย์ เราไม่สงสัยในโลกมนุษย์ ในโลกนี้ใช่ไหม เพราะอะไร เพราะเราอยู่ที่นี่ แต่ว่าไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต ก็ต้องมีที่อยู่ที่เกิดใช่ไหม แล้วเราจะรู้เลย ว่าในจักรวาล สิ่งอื่นที่ไม่เหมือนอย่างโลกนี้ก็มี ที่เหมือนก็มี เรายังไม่ใช่เป็นผู้ที่ไปสำรวจจนกระทั่งรอบรู้หมด แต่ต้องไม่ลืมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โลกะวิทู ผู้ทรงรู้แจ้งโลกทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาเลย ไม่มีแน่ แต่เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นโลก ต่างกันแล้วใช่ไหม กับความคิดเรื่องโลกของเรา ลองคิดใหม่ ค่อยๆ ฟัง ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เลยนี้เลยจริงๆ ไม่มีสักอย่าง จะมีโลกไหม จะมีคนไหม จะมีอะไรไหม ไม่มีใช่ไหม เพราะฉะนั้นเมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น นั่นแหละโลก ภาษาบาลีใช้คำว่าโลกะ ภาษาไทยใช้คำภาษาบาลีหลายคำ แต่เพราะว่าไม่ได้เข้าใจความจริง โดยละเอียดก็เข้าใจเอาเองต่างๆ นานา ผิดผิด ถูกถูก พูดกันไป อย่างนามธรรมรูปธรรมเข้าใจผิดใช่ไหม แต่ถ้าศึกษาจริงๆ ต้องเข้าใจคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้ เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ เข้าใจอีกคำหนึ่งคำว่าโลกะ ที่คนไทยใช้คำว่าโลก หมายความว่าสิ่งที่เกิดขึ้น และแน่นอนสิ่งที่เกิดแล้วดับทั้งนั้นเลย ไม่มีอะไรสักอย่างเดียว ที่เกิดแล้วไม่ดับ แล้วไม่กลับมาอีกด้วย เพราะฉะนั้นขณะนี้ทุกอย่างที่มี เป็นโลก ถ้าไม่มีตามีหูมีจมูกมีลิ้นมีร่างกายมีคนไหม มีสัตว์ไหม มีอะไรไหมก็ไม่มี เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ เป็นโลกแต่ละโลกด้วย โลกทางตามีเสียงไหม ไม่มี โลกทางตาเห็นอย่างเดียว มีแต่สีสันวรรณะต่างๆ ปรากฏ โลกทางหูมีสีสันวรรณะไหม ไม่มี โลกทางจมูกเป็นอะไร กลิ่น โลกทางลิ้นเป็นอะไร รส คิดถึงโลกทีละโลก ไม่รวมกันก็เป็นแต่ละโลก แต่พอรวมกันแล้วก็เป็นคน หลายๆ คนรวมกัน ต้นไม้ใบหญ้าด้วยทั้งหมด ก็รวมกันเป็นโลก แต่ความจริงก็คือแต่ละ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป นี่คือโลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก แต่เราเกิดมาแล้วไม่เคยรู้อย่างนี้เลย เรารู้แต่โลกกลมใหญ่กว้างมีแม่น้ำ มีภูเขา มีคน มีสัตว์ต่างๆ เพราะไม่รู้ความจริงว่าแต่ละ ๑ เดี๋ยวนี้กำลังเกิดดับ นี่คือการเปรียบเทียบความห่างกันมาก ของพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับเรา เริ่มเห็นพระคุณที่ห่างกันมหาศาล แต่ละคำนี้เป็นคำจริง เพราะฉะนั้นเมื่อมีพระองค์เป็นที่พึ่ง จะเกิดปัญญาความเห็นที่ถูกต้อง ยิ่งกว่านี้อีกมาก
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260