ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๓๗

    สนทนาธรรม ที่ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑


    ผู้ฟัง กราบถามนำแทนนิสิตก่อน ธรรมมีทั้งเป็นของจริงที่เราเห็นอยู่ มีทั้งดี และไม่ดี เพราะฉะนั้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เราจะทราบได้อย่างไรว่ามันเป็นมิจฉาธรรมหรือว่าสัมมาธรรม ขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ด้วย

    ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องที่ต้องฟังอีกนาน เพราะเหตุว่าธรรมกำลังมีรู้ไม่ได้ทั้งๆ ที่มี เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ แล้วมั่นคงจริงๆ เราไม่รู้สิ่งที่กำลังมี ซึ่งเป็นธรรมทั้งหมดเพราะมีจริงๆ เพราะฉะนั้นกว่าเราจะรู้ว่า ธรรมไหนเป็นธรรมไหน เราก็ต้องเริ่มเข้าใจตั้งแต่ต้นว่า ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แต่ว่ามีลักษณะที่ต่างกันเป็น ๒ อย่างอย่าง ๑ มีอย่างแข็ง เสียง กลิ่น ไม่สามารถจะรู้อะไรได้แต่มี แล้วก็ต้องเกิดด้วย ถ้าไม่เกิดก็ไม่มี แต่ถ้าไม่มีสภาพธรรมซึ่งเป็นธาตุ หรือสภาพธรรมที่เกิดขึ้นรู้ เช่นเห็นบ้างได้ยินบ้าง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ไม่ปรากฏว่ามี เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่มีเกิดขึ้นมีแต่ต่างกัน อย่าง ๑ เกิดขึ้นแต่ไม่รู้อะไรเลย ไม่สามารถจะรู้ได้ แต่อีกอย่าง ๑ เกิดแล้วต้องรู้เช่นเดี๋ยวนี้กำลังเห็น จะบอกว่าเห็นไม่รู้อะไรไม่ได้ ใช่ไหม เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏตรงหน้า หลากหลายมาก สีสันวรรณะต่างๆ นั่นคือสภาพรู้ คนไทยคุ้นเคยกับคำว่าจิต แต่ถ้าถามว่าจิตคืออะไร จะตอบไม่ได้ใช่ไหม ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจิตอยู่ไหน แต่ถ้าศึกษาธรรมก็รู้ว่าขณะใดก็ตามที่ไม่ว่า จะเห็น จะได้ยิน จะคิด จะจำทั้งหมดมีจริงๆ หลากหลายมากเห็น ถ้าศึกษาต่อไป จะเห็นความละเอียด ไม่ใช่ชอบ ไม่ใช่ไม่ชอบ ไม่ใช่จำ แต่เห็นเกิดขึ้นแค่เห็น ๑ ละ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ว่าธรรมไหนดีธรรมไหนชั่ว ก็ต้องมีความเข้าใจมั่นคงจริงๆ ว่าสิ่งที่มีนี่เป็นสิ่งซึ่งมีแน่นอน และต้องฟังด้วยจนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ก่อนที่เราจะได้รับฟังเพลงธรรมคืออะไร มั่นใจไหมว่าจะได้ฟัง จะได้ฟังหรือไม่ฟังก็แล้วแต่ว่า ถ้าออกไปข้างนอกห้องก็ไม่ได้ฟังละใช่ไหมถ้าอยู่ในห้องก็ได้ฟัง และขณะที่ฟังนี่มั่นใจหรือว่าได้ฟังจริงๆ บางคนอาจจะคิดถึงเรื่องอื่น ไม่ได้ยินเสียงละ

    เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เพราะฉะนั้นก่อนที่จะบรรเลงเพลงธรรม นักศึกษาทั้งหลายเข้าใจธรรมหรือเปล่า เพราะชื่อเพลงว่าธรรมคืออะไร แต่ว่าพอฟังเรื่องธรรมคืออะไร สามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าทั้งหมดที่ได้บรรเลงไปแล้วนั้น ก็กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ แต่เพลงนั้นมีคำว่าจิตด้วย เพราะฉะนั้นจิตก็คือสภาพรู้ ธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน เกิดขึ้นไม่รู้ไม่ได้เลย ซากศพไม่มีจิต แม้มีตา มีหู มีแขนเหมือนเดิม แต่เมื่อไม่มีจิตก็ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องแยกธรรมให้ละเอียด รูปธรรม เสียง กลิ่น รส ดี ชั่วไม่ได้เลย เป็นกุศลเป็นอกุศลไม่ได้เพราะไม่รู้อะไร เพราะฉะนั้นสภาพรู้เท่านั้น ที่สามารถที่จะต่างๆ กันไปหลากหลาย โดยถ้าเป็นสภาพธรรมที่ดีเปลี่ยนเป็นไม่ดีไม่ได้ และถ้าเป็นสภาพธรรมที่ไม่ดีจะกลับเปลี่ยน หรือใครไปทำให้ดีก็ไม่ได้ เพราะว่าเพียงเกิดขึ้นแล้วดับไปทันที ไม่มีใครสามารถที่จะไปทำอะไรได้เลย แต่ว่าพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ความจริงโดยละเอียดโดยสิ้นเชิง และรู้ว่าสัตว์โลกสะสมความไม่รู้มานานแสนนาน พระธรรมที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ก็ถูกความมืด คืออวิชชาปกปิดไว้ไม่เห็นให้เห็นความจริง เพราะฉะนั้นกว่าจะได้ฟังทีละคำ แล้วก็เริ่มเข้าใจขึ้น ก็ต้องเป็นผู้ที่มั่นคงในความจริง คือเริ่มไตร่ตรองพิจารณา ที่มหาวิทยาลัยที่เชียงใหม่ ก็ได้ไปสนทนาธรรม อาจารย์ที่จัดการสนทนาธรรม มาขอบคุณที่ว่าทำให้ลูกศิษย์ของเขาเริ่มรู้จักคิด เพราะว่าธรรมดาโดยมาก ฟังแล้วก็ได้ยินแล้วก็ผ่านไปแล้วก็จำ แต่ว่าถ้าสามารถที่จะคิดไตร่ตรอง ความเข้าใจจะมั่นคง อย่างเพลงธรรมคืออะไร ก่อนฟังก็อาจจะไม่ค่อยมั่นใจ แต่พอได้ฟังธรรมเข้าใจแล้ว ทุกสิ่งที่มีจริงเป็นธรรม เนื้อเพลงทั้งหมดกล่าวถึงสิ่งที่มีจริงเป็นธรรม

    เพราะฉะนั้นแค่คำว่าธรรม แต่ถ้ามีความมั่นคงจริงๆ ว่าธรรมเป็นธรรม แล้วก็ธรรมที่ปรากฏต้องเกิด เกิดแล้วต้องดับ เราเริ่มสู่หนทางที่จะเข้าใจธรรมที่กำลังมีจริง ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นก่อนเข้าใจธรรม สนใจในเสียงดนตรี ฝึกหัดทุกอย่าง แล้วก็บรรเลงออกมา แล้วก็เป็นที่พอใจมากน้อยต่างกัน แล้วแต่ความสามารถแต่ละครั้ง แต่ว่าพอมีความเข้าใจธรรมแล้ว ขณะที่ฟังมีความเข้าใจด้วย เพราะฉะนั้นบูชาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความเข้าใจธรรม แม้ในการบรรเลงดนตรีก็ได้ทุกอย่างที่เป็นศิลปะ แต่ว่ามีความเข้าใจธรรม และเห็นประโยชน์ สามารถที่จะกล่าวถึงธรรมโดยนัยของกวี หรือว่าโดยนัยของบทเพลง หรืออะไรก็ตามแต่สนทนาธรรมหรืออะไรพวกนี้ เป็นการบูชาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแต่ละคน ไม่สามารถจะรู้ได้เลยคิดเองไม่ได้ แต่พอฟังแล้วทุกคนเดี๋ยวนี้ตอบได้ ธรรมคือทุกอย่างที่มีจริง ไม่ว่าจะพบใครที่ไหน เราอาจจะถามเขาว่ารู้ไหมว่าธรรมคืออะไร ถ้าไม่ได้ฟังมาก่อนไม่รู้แน่ แต่พอฟังแล้วตอบได้อย่างมั่นคง สิ่งที่มีจริงทั้งหมดมีจริง นั่นแหละภาษาบาลีใช้คำว่าธรรม เพราะฉะนั้นสภาพรู้เท่านั้น ที่จะเป็นกุศลหรืออกุศล จะดีหรือจะชั่ว แต่สภาพธรรมใดที่ไม่รู้ จะเป็นบุญเป็นบาปได้ยังไง จะคิดทำอะไรก็ไม่ได้ เพราะว่าไม่ใช่สภาพรู้ แต่สภาพรู้เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น เป็นใหญ่เป็นประธานเฉพาะเห็น แต่เห็นแล้วชอบหรือไม่ชอบ เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธาตุรู้เป็นนามธรรม

    เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าธรรมคืออะไร ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ซึ่งต่างกันเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือสภาพธรรมอย่าง ๑ เกิดตามเหตุตามปัจจัย แต่ไม่สามารถที่จะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้นเป็นรูปธรรม ไม่เปลี่ยนเลย แต่ว่าถ้ามีแต่รูปธรรมโลกไม่ปรากฏ อะไรก็ไม่ปรากฏแต่ใครจะห้ามไม่ให้ธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ไม่ได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้นเห็น มีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้นได้ยิน เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ ในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติใช้คำว่าจิตต คือจิต หรือจะใช้คำอื่นเช่นคำว่าวิญญาณก็ได้ แต่ก็มีความหมาย ก็หลากหลายออกไป แต่ให้ทราบประเภทใหญ่ว่า สภาพธรรมที่เป็นธาตุรู้เป็นนามธรรม สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเป็นรูปธรรม แต่นามธรรมต่างกันเป็น ๒ ชนิด คือจิตเป็นใหญ่ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ จะชอบหรือไม่ชอบไม่ใช่จิต จิตมีหน้าที่เดียว คือรู้สิ่งที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า เสียงกำลังปรากฏไม่ใช่อย่างอื่นปรากฏ จิตรู้เฉพาะเสียง กลิ่นกำลังปรากฏขณะนั้น เฉพาะหน้าที่กระทบจมูก เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นรู้กลิ่นที่กำลังปรากฏเท่านั้น กลิ่นนั้นก็ดับไปจิตก็ดับไป เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น และก็ดับไปเป็นธรรมดา เปลี่ยนคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เลย

    เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นจิต มีอีกคำหนึ่ง ใช้คำว่าปัณฑระ หมายความว่าสภาพของจิตเองเป็นสภาพที่ผ่องแผ้ว แต่ว่าบางครั้งจิตเป็นกุศล บางครั้งจิตเป็นอกุศล เพราะสภาพธรรมที่เกิดกับจิต เกิดในจิต เกิดพร้อมจิตแต่ไม่ใช่จิต มีลักษณะหลากหลายเป็น ๕๒ ประเภท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติเรียกว่าเจตสิกะ ซึ่งคนไทยใช้คำว่าเจตสิก เพราะฉะนั้นถ้าเราจะไปอ่าน ตำหรับตำรา ปรัชญาจิตวิทยาใดๆ ทั้งสิ้น จะไม่มีคำนี้ แต่จะมีคำว่าจิตแต่ไม่มีคำว่าเจตสิก เพราะเหตุว่าเขาไม่สามารถที่จะรู้ความต่างกันของธาตุรู้ ซึ่งเกิดพร้อมกันอาศัยกัน และกันเกิด ดับพร้อมกัน รู้สิ่งเดียวกัน แยกกันไม่ได้เลย สภาพธรรมที่เกิดกับจิต เกิดในจิต รู้พร้อมจิต ดับพร้อมจิตคือเจตสิก เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่จิตเกิด ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ใครจะรู้ว่าเห็นเดี๋ยวนี้ มีเจตสิกเกิดพร้อมจิตเห็น เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้จิตเห็นเกิดขึ้น เจตสิกที่เกิดพร้อมจิตอย่างน้อยที่สุด ๗ ประเภท นี่คือพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเมื่อกี้นี้ธรรมคืออะไรเห็นไหม ความรู้ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ก็คือสิ่งที่มีจริงเป็นเห็น เป็นได้ยิน เป็นเสียง เป็นกลิ่นทุกอย่างที่มี แต่ก็จำแนกเป็นประเภทที่ต่างกันว่า สภาพใดก็ตามที่เกิดขึ้นไม่รู้ จะเปลี่ยนสภาพนั้นให้รู้ไม่ได้ อย่างแข็งอย่างนี้ เกิดเมื่อไหร่เป็นแข็ง จะไม่สามารถรู้อะไรเลย ใครจะไปกระทบ ใครจะไปสัมผัส แข็งไม่รู้ แต่ธาตุรู้เกิดขึ้นต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้เลย แล้วก็ไม่มีรูปร่างใดๆ เจือปน สักขณะเดียวที่เกิดขึ้น เป็นสภาพรู้ธาตุรู้ซึ่งเกิดพร้อมกันได้แก่จิต และเจตสิก นี่คือคำตอบว่าธรรมคืออะไร ค่อยๆ เข้าใจขึ้นค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นจิต ผ่องแผ้ว แต่ว่าต่างกันเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกประเภท เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นประเภท ๑ และเจตสิกซึ่งเป็นโสภณเจตสิกฝ่ายดีเกิดขึ้นแล้วจิตดี และเจตสิกอีกประเภทหนึ่งเป็นเจตสิกที่ไม่ดี เกิดเมื่อไหร่จิตนั้นเศร้าหมอง เศร้าหมองที่นี่ไม่ได้หมายความว่าโศกเศร้า แต่หมายความว่าไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์ เพราะเหตุว่าแปดเปื้อนด้วยมลทิน คืออกุศลเจตสิก

    เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ก็คือธาตุรู้ซึ่งเป็นเจตสิกซึ่งเกิดกับจิต เพราะฉะนั้นนี่คือธรรมคืออะไร จะตอบคำถามทั้งหมดที่มีเลย ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ จิตก็มีเดี๋ยวนี้ เจตสิกก็มีเดี๋ยวนี้ รูปก็มีเดี๋ยวนี้ แต่เพราะไม่รู้จึงเข้าใจว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถ้าไม่รู้จะละความเป็นเราได้ไหม รักใครที่สุด ตอบให้ตรงจริงใจที่สุด อาจจะเป็นปัญหาที่คิดไม่ตรงกันก็ได้ แต่ตอบได้ ตามความคิด ใครจะตอบบ้าง ความรักความติดข้องมีแน่ ความผูกพันมีแน่ และก็มีมากด้วย แทบว่ารักทุกอย่าง ชอบทุกอย่าง อาหารก็อร่อย เสียงก็เพราะ แต่ว่ารักที่สุดคืออะไรหาเจอไหม คำตอบธรรมดารู้ว่ารักคืออะไร ติดข้องผูกพันต้องการ มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด เห็นไหมธรรมละเอียดลึกซึ้ง แม้ว่าต่างคนต่างคิด แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สิ่งซึ่งเปลี่ยนไม่ได้ ต้องเริ่มคิดเริ่มพิจารณาเริ่มไตร่ตรอง เพราะเหตุว่าปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ปัญญาของคนอื่น เป็นปัญญาของพระองค์ เพราะฉะนั้นปัญญาของใครก็ของคนนั้น ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเลยไม่มีอะไรจะคิด คิดไม่ออก แต่พอฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เป็นคำที่ต้องคิดละ ต้องไตร่ตรองต้องพิจารณา เพื่อประโยชน์สูงสุด คือความเข้าใจของตนเอง มิฉะนั้นจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าไม่เป็นความเข้าใจของตนเอง แต่เป็นความเข้าใจของคนอื่น เพราะฉะนั้นถ้าเป็นแต่ชาวพุทธที่ตามๆ กันไป ไปวัดแต่ว่าเข้าใจอะไรรึเปล่า ก็แสดงให้เห็นได้ใช่ไหมว่าประโยชน์ไม่ได้อยู่ที่ไป แต่อยู่ที่ความเข้าใจ ถึงไม่ไปวัดแต่เข้าใจธรรมได้ประโยชน์กว่าไหม เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง ผู้ที่จะตรงขึ้นก็ต่อเมื่อคิดมากขึ้นพิจารณาขึ้นไตร่ตรองขึ้น มิฉะนั้นก็จะเหมือนเดิม คือทำตามๆ กัน รักใครที่สุด

    ผู้ฟัง ถ้าตามพื้นฐานเราต้องรักตัวเองมากที่สุด ก่อนที่จะรักคนอื่น

    ท่านอาจารย์ ถูกไหม ทุกคนตอบว่าถูก ไม่มีใครที่จะรักคนอื่นเท่ากับตนเอง จริงหรือเปล่า ค้านได้ แสดงความคิดได้ ถ้าไม่เห็นด้วย

    อ.อรรณพ ขอถามคุณเรนโบว์ แล้วไม่รักคุณพ่อมากกว่าหรือ

    ผู้ฟัง ถ้าเรารู้จักตัวเอง ก็ต้องรักคุณพ่อคุณแม่มากที่สุดอยู่แล้ว แต่ว่าคำว่ารักตัวเองของเรนโบว์ก็คือ ถ้าเราอยากจะให้ท่านรู้สึกว่า เราได้มอบความรักให้ท่านจริงๆ เราก็ต้องดูแลตัวเอง แล้วก็ต้องเป็นคนดีให้สมกับที่ท่านดูแลมา ก็ต้องทำตัวเองให้ดีก่อน

    อ.อรรณพ ที่นี่คำตอบนี่ก็ถูกหรอก ว่ารักตัวเองมากที่สุด แต่ความลึกซึ้งของที่ว่ารักตัวเองมากที่สุดคืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ทุกคนจะได้ยินว่าพ่อแม่รักลูกมาก มากกว่าตัวเอง ใช่ไหม ถ้าจะถามคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ เขาก็จะตอบว่าเขารักลูกมาก และบางคนก็อาจจะบอกว่าเค้ารักลูกมากกว่าตัวเขาเองด้วย เขาสามารถที่จะทำทุกอย่างให้ลูกได้ หรือบางคนอาจจะบอกว่าตายแทนลูกก็ได้ เวลาที่ลูกเจ็บ พ่อแม่ขอเจ็บแทนยังไม่ได้เลยใช่ไหม จะไปขอร้องยังไงก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นแสดงความจริงซึ่ง ถูกปกปิดหรือลวงว่าที่รักคนอื่นมากสักเท่าไหร่ จะทำทุกอย่างให้คนนั้นได้ทุกอย่าง แต่รู้ไหมว่านั่นเพราะรักตัวเอง ที่อยากจะให้ตัวเองไม่เป็นทุกข์ เพราะคนที่เรารักต้องได้รับความทุกข์ แต่ทั้งหมดก็เพื่อความรู้สึกของตัวเอง ที่จะต้องไม่เป็นทุกข์อย่างนั้น เพราะอะไรลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นก็คือว่า เกิดมาคนเดียวใช่ไหมอยู่คนเดียว นี่คือความจริงซึ่งใครๆ ก็มองไม่เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วเหมือนกับเราอยู่กับหลายคน แต่ความจริงถ้าจิตนั้นไม่เกิดขึ้นเห็น จะมีคนอื่นไหม ก็ไม่มีใช่ไหม ถ้าไม่จำ และคิดเรื่องราวต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้นความจริงแล้วก็คือว่าไม่ใช่เราเลย ฉันใดก็ต้องไม่ใช่คนอื่นฉันนั้น ทั้งหมดเป็นสิ่งที่มีจริงคือเป็นธาตุ ธาตุแต่ละอย่างซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป ดับไป จนกว่าจะรู้จริงๆ ว่าไม่มี เพราะอะไรเหมือนมีตลอดเวลา แต่ความจริงที่ถูกต้อง คือไม่มีตลอดเวลา

    เพราะฉะนั้นถ้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดมี สิ่งนั้นย่อมเป็นที่ตั้งของความยึดมั่น พอใจในสิ่งนั้น แต่ถ้าสิ่งนั้นไม่มีปรากฏให้เห็นเลย เกิดแล้วดับไม่เหลือเลย ไม่มีอีกแล้วในสังสารวัฏฏ์ แม้ชาติก่อนๆ ชาดกพระชาติต่างๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกชาติไม่ได้กลับมาอีกเลยสักหนึ่งขณะจิต เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ ขณะนี้ใครจะไปขอซื้อ วิงวอนขอร้องไม่ให้จากไป ไม่ให้หมดไปเป็นไปไม่ได้เลยนี่คือธรรม เพราะฉะนั้นจริงๆ ก็คือว่าเมื่อเกิดมาแล้ว ก็ยึดถือสิ่งที่มีว่าเป็นเราเพราะไม่รู้ แล้วก็ติดข้องในสิ่งนั้นนานแสนนาน ลืมตาเห็น เห็นคนอื่น แต่ใครเห็นเราเห็น เพราะฉะนั้นเราอยากเห็นสิ่งที่ดีๆ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นทั้งหมดก็เกิดมาก็รักความเป็นตัว ที่เข้าใจว่าเป็นเรา คือธรรมแต่ละ ๑ ขณะ จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม และรู้ว่าธรรมคืออะไร ค่อยๆ มั่นคงขึ้น ไม่ได้หมายความว่าเราที่มีกิเลสความไม่รู้มากมาย จะหมดกิเลสไปได้ทันทีเป็นไปไม่ได้เลย ต้องอาศัยกาลเวลาที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้น จากการที่ได้ฟังคำจริงของความจริงของสิ่งที่มีจริง และก็รู้ว่าไม่ใช่เราไม่มีเราเป็นธรรม เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ถ้ารู้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อเราจะได้ฟังคำของพระองค์ เราก็คงจะเห็นคุณค่ามากขึ้น และรู้ว่าสิ่งที่เราฟังยังมีอีกมาก ซึ่งจะทำให้เราค่อยๆ คิด ไม่ใช่ฟังแล้วเชื่อ ค่อยๆ ไตร่ตรอง จนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่มั่นคงของตนเอง ซึ่งไม่เปลี่ยน ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ นั่นคือจิตที่ผ่องแผ้วไม่มีกิเลสใดๆ เจือปน ในขณะนั้นเป็นศรัทธา ลักษณะของสภาพเจตสิกหนึ่ง ซึ่งชื่อว่าศรัทธาเจตสิก

    เพราะฉะนั้นเราใช้คำที่เราไม่รู้จัก ตั้งแต่เกิดจนตายมาตลอด แม้แต่ศรัทธาพูดไปโดยไม่รู้ อย่างความเห็นผิดเกิดขึ้น และบางคนเขาบอกว่าเขาศรัทธาในความเห็นอย่างนั้น นั่นไม่ใช่ศรัทธา เพราะศรัทธาเจตสิก ต้องเป็นสภาพจิตที่ผ่องแผ้ว เพราะมีศรัทธาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีความริษยา ไม่มีความสำคัญตน ไม่มีอกุศลทั้งหลาย ซึ่งทั้งหมดเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา แต่เป็นจิตเป็นเจตสิกเป็นรูป เพราะฉะนั้นแต่ละคำ ถ้ามีความเข้าใจขึ้น ก็จะค่อยๆ เข้าใจมากกว่านี้ จนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์ สภาพธรรมเดี๋ยวนี้ตรงตามที่ได้ฟัง คือเห็นเดี๋ยวนี้ต้องเกิดแล้วก็ดับ ทุกอย่างที่ปรากฏเกิดมีแล้วก็ดับไป รักตัวเองมาก ถ้าไม่มีปัญญาก็รักมากไปทุกชาติ แต่รักตัวเองเพราะไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรม จะไปรักธรรมไหนธรรมนั้นก็หมดแล้ว เกิดแล้วก็ดับเกิดแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจที่มั่นคงจริงๆ ละคลายความรักตัวเอง ในที่สุดก็จะรู้ได้ว่า รักตัวเองมานานแสนนาน กว่าจะรู้ว่าไม่มีเรา และไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยๆ คลายความติดข้อง ซึ่งไม่มีหนทางอื่นเลยนอกจากปัญญาของตนเอง มิฉะนั้นจะไม่มีพระอริยสาวก ที่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้ค่าของการที่ปัญญาจะรู้ความจริง ซึ่งสามารถจะรู้ได้จากการฟัง และไตร่ตรอง จะไม่ขาดการฟัง เพราะเหตุว่าจะทำให้เข้าใจขึ้น นั่นคือการรักตัวที่ถูกต้องคือไม่ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน

    ผู้ฟัง ธรรมคือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ให้รู้ตรงตามความจริงที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่สิ่งใด แท้จริงไซร้ เป็นรูปธรรม และนามธรรม อยากจะให้ท่านอาจารย์ได้ชี้แนะต่อ

    ท่านอาจารย์ ตรงกับที่เราได้กล่าวถึงตั้งแต่ต้นใช่ไหม คือสิ่งที่มีจริงแล้วก็กำลังมีด้วย แต่ว่าเคยเป็นเรามานาน เคยเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้มานาน จนกว่าจะฟังต่อไปแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เพราะกล่าวถึงทุกอย่างที่มีจริง แค่คำเดียว จะคิดออกไหม ถ้าถามขณะนี้เห็นอะไร เห็นไหม ต้องคิด ถ้าไม่คิดไม่มีทางที่จะเข้าใจได้เลย เริ่มรู้จักคิดเริ่มรู้ประโยชน์ของการไตร่ตรองว่า ความคิดมีสองอย่าง คิดถูกก็มีคิดผิดก็มี ถ้ามีแต่คิดถูกก็ไม่มีคำสอนผิดๆ แต่ถ้ามีแต่คำสอนผิดๆ ไม่มีคำสอนที่ถูกต้อง ก็ไม่มีใครที่จะเห็นถูกได้ เพราะฉะนั้นไตร่ตรองว่าคำที่ได้ฟัง เป็นคำจริงถูกต้องแค่ไหนเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นถามง่ายที่สุด เพราะว่าทุกคนกำลังเห็นใช่ไหม ถามว่าเห็นอะไร ทุกอย่างต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะว่าเป็นเรื่องที่ละเอียด และเป็นเรื่องที่จริงเปลี่ยนไม่ได้ แค่คำตอบว่าเห็นคืออะไร ถ้าตอบได้ตอบถูก เริ่มเป็นคนที่รู้ความจริง เพราะฉะนั้นที่เราตอบจริงหรือเปล่า ขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าใจธรรมแค่ไหน

    ผู้ฟัง เห็นความเป็นจริงของชีวิต

    ท่านอาจารย์ ความจริงของชีวิตคืออะไร

    ผู้ฟัง ผมคิดว่าธรรมคือธรรมชาติ อะไรที่เป็นธรรมชาติมันล้วนจะเป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ ลองบอกสิ ว่าอะไรเป็นธรรมชาติ

    ผู้ฟัง ธรรมชาติ คือมนุษย์ต้องกิน เพื่อให้มีชีวิตดำรงอยู่นั่นคือธรรมชาติ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมีคำว่าธรรมกับคำว่าชาติ ต้องละเอียดใช่ไหม ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ชาติแปลว่าเกิด ถ้าไม่เกิดไม่มีจริง ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้นเราไม่ได้พูดถึงสิ่งที่เราคุ้นเคย แต่ว่าเราไม่รู้แก่นแท้ ว่าแท้ที่จริงสิ่งที่เราคิดนั่นแหละ ถูกต้องแค่ไหน เพราะฉะนั้นตอนนี้ สองคำ ธรรมต้องเกิดใช่ไหม ธรรมชาติ แต่เกิดแล้วต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด คือเกิดแล้วไม่รู้ แข็งเกิดแล้วเป็นแข็ง รู้อะไรไม่ได้ ถูกต้องไหม แล้วก็สภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง เกิดแล้วต้องรู้คือเห็น เพราะฉะนั้นตอนนี้เราเริ่มเข้าใจละธรรมคืออะไร มากกว่าแต่ก่อนใช่ไหม ต้องหมายความถึงสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ เพราะเกิดปรากฏเดี๋ยวนี้ สิ่งนั้นต้องเกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้นตอบใหม่ได้ใช่ไหมว่าธรรมคืออะไร ไม่เหมือนเดิมว่าธรรมชาติ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 187
    18 ธ.ค. 2567