ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๓๘

    สนทนาธรรม ที่ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นตอบใหม่ได้ใช่ไหม ว่าธรรมคืออะไร ไม่เหมือนเดิมว่าธรรมชาติ

    ผู้ฟัง ธรรมก็เกิดขึ้นแล้วก็เป็นอยู่

    ท่านอาจารย์ ก็ยังไม่ละเอียดพอ ทีละ ๑ เพราะธรรมหลากหลายมาก ปนกันไม่ได้ ถ้าปนกันก็คือว่าไม่เข้าใจ ทีละ ๑

    ผู้ฟัง ธรรมก็คือผมมาตอบอยู่นี่

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าขณะนี้มีตัวเราใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ลองยกมาทีละ ๑ สิ ตัวเราอยู่ไหน คืออะไร

    ผู้ฟัง ตัวเราอยู่ในห้อง

    ท่านอาจารย์ อยู่จริงๆ หรือ

    ผู้ฟัง อยู่จริงๆ

    ท่านอาจารย์ ลองกระทบที่ตัวสิ ตัวเราอยู่ไหน

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่มีแต่มีอะไร

    ผู้ฟัง คือมีจิตอยู่ในกายนี้

    ท่านอาจารย์ อันนี้เราคิดเอง หยาบ ยังไม่ละเอียด แต่ต้องละเอียดกว่านั้น ธาตุรู้จิตรู้ใช่ไหมจิตเกิดขึ้นต้องรู้ เพราะฉะนั้นขณะนี้อยู่ไหน

    ผู้ฟัง ก็ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม แล้วจริงๆ มีตัวเราหรือ ลองแยกตัวเราออกมาสิ ว่าอะไรเป็นเราบ้าง

    ผู้ฟัง อะไรเป็นเราบ้าง

    ท่านอาจารย์ ที่ยืนอยู่แล้วบอกว่าเรายืนอยู่ มีอะไรบ้าง

    ผู้ฟัง ก็มีร่างกายเรา

    ท่านอาจารย์ ร่างกายไหนลองบอกสิ ตรงไหน ทีละ ๑

    ผู้ฟัง ก็มีตัวมีแขน มีมือ

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม แยกออกไปได้ตั้งหลายส่วน ไม่ใช่ทั้งตัวใช่ไหม แขนจะเป็นอื่นไม่ได้นอกจากแขน แขนเป็นเหตุได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่ว่าเป็นเราอยู่ตรงนี้ ถูกไหม หรือว่าเป็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่ละ ๑ รวมกัน ไม่รู้ว่ากำลังเกิดดับเข้าใจว่ายังอยู่ครบถ้วน ก็เข้าใจว่าเป็นเรา เห็นเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ใช่ไหม ได้ยินเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ โกรธเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่

    ท่านอาจารย์ แล้วเราอยู่ไหน

    ผู้ฟัง เราไม่มี

    ท่านอาจารย์ เราไม่มี ต้องมั่นคง

    ผู้ถาม ระหว่างหลับตากับลืมตาต่างกันไหม

    ผู้ฟัง ต่างกัน

    ผู้ถาม ลืมตาเห็นอะไร

    ผู้ฟัง ลืมตาก็เห็นข้างหน้า เห็นปัจจุบัน

    ท่านอาจารย์ ยังไม่รู้เลยว่าอะไรใช่ไหม ตอบได้แค่ว่าปัจจุบัน

    ผู้ฟัง ผมอาจจะยังไม่มีปัญญาพอ

    ท่านอาจารย์ เห็นไหมพระธรรมคำสอน ทำให้เราเริ่มรู้ว่าเราไม่รู้ ถ้าคนที่เขาคิดว่าเขารู้แล้วเขาจะไม่ฟัง เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ฟังมี ๒ อย่าง ไม่เห็นประโยชน์ของการที่เกิดแล้วมีโอกาสได้ฟังก็ไม่ฟัง กับคนที่ไม่สนใจเลย ไม่คิดว่ามีประโยชน์ ไม่มีทางที่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นไม่รู้กับรู้ อะไรดีกว่ากัน

    ผู้ฟัง รู้ดีกว่า

    ท่านอาจารย์ รู้ดีกว่า เพราะฉะนั้นเพียงแค่เห็น ถ้ารู้จริงๆ ว่าคืออะไร ดีกว่าไม่รู้ใช่ไหม ถ้าอย่างงั้นถามอีกนิดหนึ่งให้คิด เดี๋ยวนี้เห็น

    ผู้ฟัง เห็น

    ท่านอาจารย์ หลับตาเห็นอะไร

    ผู้ฟัง ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ ลืมตา

    ผู้ฟัง เห็น

    ท่านอาจารย์ เห็นเยอะไหม

    ผู้ฟัง เห็นเยอะ

    ท่านอาจารย์ เยอะเลยใช่ไหม พอลืมตามีคนตั้งเยอะแยะใช่ไหม มีดอกไม้ มีโต๊ะ มีเก้าอี้ แล้วลองหลับตาหายไปไหนหมด แค่เพียงแค่หลับตา บังคับบัญชาหรือเปล่า ว่าให้หายไปไม่ให้เหลือ หรือว่าความจริงเป็นอย่างนี้ เพราะเห็นไม่ได้เกิดขึ้นเห็น สีสันวรรณะต่างๆ เหมือนลืมตา หลับตาสีต่างๆ ไม่เหลือเลย เพราะฉะนั้นเห็นสิ่งที่สามารถกระทบกับตา ถ้าไม่กระทบตาไม่เห็นใช่ไหม ข้างหลังมีอะไรบ้าง ไม่มีใครเห็นหรอก เพราะไม่ได้กระทบตา เพียงเท่านี้ก็เห็นความที่ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา และเกิดแล้วก็หมดไป เพราะว่าขณะที่ได้ยินก็ไม่ใช่เห็นละ เพราะฉะนั้นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงแสดงลึกซึ้งไหม ให้รู้ความจริงว่าไม่มีเราที่เห็นเลย เห็นเป็นเห็น พอเห็นแล้วก็ดับ แล้วพอหลับตามีอะไร

    ผู้ฟัง มีความมืดอย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ แต่มีธาตุรู้เห็นไหม เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า สภาพรู้นี่หลากหลายมาก เห็นก็เป็น ๑ ได้ยินก็เป็น ๑ ได้กลิ่นก็เป็น ๑ ได้กลิ่นก็เป็น ๑ ลิ้มรสก็เป็น ๑ กระทบสัมผัสร่างกายก็รู้แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ เพราะฉะนั้นสภาพรู้เกิดขึ้น แต่เมื่อไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ จริงไหม เป็นอวิชชาได้แก่โมหเจตสิก ไม่มีเราเลย ถ้าศึกษาธรรมต้องตรงกับคำแรกที่ได้ฟังว่าไม่มีเรา แต่ไม่พอไม่มีเราแล้วมีอะไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เพียงตรัสว่าอนัตตา แต่ทรงแสดงว่าสิ่งที่มีที่ไม่ใช่เรา นั่นแหละคืออะไร ให้เข้าใจมั่นคงขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าตอบว่า เห็นเพียงสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็น ถูกต้องไหม

    ผู้ฟัง ก็ถูกเพราะว่าเราเห็นแค่สิ่งที่ปรากฏเท่านั้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นจิตได้ไหม

    ผู้ฟัง เห็นจิตไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เห็นเจตสิกได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เห็นโกรธได้ไหม

    ผู้ฟัง เห็นโกรธไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เห็นเสียงได้ไหม

    ผู้ฟัง เห็นเสียงก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เห็นโลภะได้ไหม

    ผู้ฟัง เห็นโลภะก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เห็นแข็งได้ไหม

    ผู้ฟัง แข็งไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม เริ่มเข้าใจถูกต้องมีสิ่งเดียวเท่านั้น ธรรมอย่างเดียว ไม่ว่าโลกไหนกี่ชาติ สิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นได้ คือสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ที่กำลังปรากฏ ที่ใดที่มีมหาภูติรูป ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมที่ใดที่มีแข็ง ที่นั่นมีสิ่งที่กระทบตาได้ แต่สิ่งที่กระทบตาได้ไม่ใช่แข็ง ความละเอียด เป็นแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ซึ่งถ้าเข้าใจขึ้นไม่มีเราเลยแต่เป็นธรรมทั้งหมด นี้คือปริยัติยังไม่ถึงปฏิบัติ ไม่มีทางที่จะไปปฏิบัติที่สำนักใดทั้งสิ้น เพราะเหตุว่าต้องเป็นความรู้ความเข้าใจ ที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่เราต้องเป็นอนัตตา แต่เป็นปัญญาเจตสิก ที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจ สิ่งที่กำลังปรากฏตรงตามที่ได้ฟัง อยาง่แข็งปรากฏขณะนั้นไม่เห็น แข็งปรากฏแต่ก่อนนี้ คิดว่าโต๊ะ เก้าอี้ นิ้วเท้า นิ้วมือ ไหล่ แขนเข้าใจว่าอย่างนั้น แต่ต่อไปแข็งเท่านั้นที่ปรากฏ เมื่อกระทบสัมผัส จะเป็นอื่นไม่ได้ ถ้าไม่มีแข็ง มีแขนไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีแข็งมีภูเขาไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีแข็ง มีดินไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีแข็ง มีอาหารไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นรสหวาน รสเค็มไหม

    ผู้ฟัง ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ เห็นไม่ได้ เห็นได้เพียงสิ่งเดียว แต่ต้องอยู่ที่รูปซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน ซึ่งคนโบราณแล้วก็คงจะเคยได้ยินว่ามหาภูติรูป รูปที่เป็นใหญ่ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็คือลักษณะใดที่แข็งหรืออ่อน เป็นสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่ง ตรงนั้นแหละมีสิ่งที่สามารถกระทบตา แต่แข็งกระทบตาไม่ได้ เป็นแต่ละ ๑ เพราะฉะนั้นสิ่งที่กระทบตาเป็นอีกรูปหนึ่ง ซึ่งต้องเกิดขึ้นไม่เกิดไม่มี และเกิดที่ไหนก็เกิดที่แข็งนั้นแหละไม่มีเราใช่ไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ นี่คือคำตอบที่ถูกต้อง ทำไมคนไม่ศึกษาธรรม

    ผู้ฟัง เพราะคนส่วนใหญ่จะคิดว่าธรรม เป็นเรื่องของคนแก่ เรื่องไกลตัว

    ท่านอาจารย์ เพราะคิดว่าธรรมใกล้ตัว เป็นเรื่องของคนแก่เฒ่า แล้วจริงๆ แล้ว ไม่รู้จักธรรมใช่ไหมจึงพูดอย่างนั้น ว่าธรรมเป็นเรื่องไกลตัว เห็นไหม พอเริ่มฟังธรรมจะรู้ว่าธรรมอยู่ที่ตัว ไม่ต้องไปซื้อไปหา ไม่ต้องไปทำอะไรเลยทั้งสิ้น เดี๋ยวนี้ก็มีแต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีคุณค่าเหนือสิ่งใดทั้งหมด แต่คนไม่รู้มองไม่เห็น เหมือนไก่จะรู้ไหมว่านี้เพชรนี้พลอย เห็นแต่หนอน เห็นแต่สิ่งที่มีชีวิต ที่เป็นอาหารที่กินเข้าไป แต่ว่าคนที่เห็นค่าของ ความเข้าใจถูกซึ่งยากแสนยาก ซึ่งจะมีได้เพราะว่าคิดเองก็ไม่ได้ และเข้าใจอะไรถูกเข้าใจสิ่งที่มีจริงทั้งหมดเลย ไม่เว้นเลยสักอย่างเดียวสามารถที่จะเข้าใจถูกได้ เกิดมาแล้วไม่รู้ และไม่รู้ต่อไป เพราะไม่เห็นประโยชน์ แต่ลองคิดดูวิชาใดจะเทียบเท่ากับวิชชา ที่ทำให้รู้จักสิ่งที่มีที่ตัวที่ใกล้ที่สุด ที่เป็นประโยชน์ที่สุด เพราะคนเราจะดีจะชั่ว เลือกได้ไหม

    ผู้ฟัง เลือกได้

    ท่านอาจารย์ เลือกได้ไหนเลือกสิ

    ผู้ฟัง ก็ถ้าผมเลือกที่จะไม่ปล้น ผมก็เป็นคนดี

    ท่านอาจารย์ แล้วโกรธไหม

    ผู้ฟัง ก็มีบ้าง

    ท่านอาจารย์ เลือกได้ไหม

    ผู้ฟัง เลือกที่จะ

    ท่านอาจารย์ ไม่โกรธ

    ผู้ฟัง เลือกที่จะไม่โกรธได้

    ท่านอาจารย์ เลือกไม่โกรธได้เหรอ

    ผู้ฟัง ก็น่าจะโกรธ

    ท่านอาจารย์ แล้วจะโกรธทำไมถ้าอย่างนั้น

    ผู้ฟัง แล้วก็ปล่อย ปล่อยไป

    ท่านอาจารย์ นั่น ไม่ใช่เพราะเราเลือก เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วก็คือว่าต้องไตร่ตรองให้ลึกซึ้งกว่านั้นอีก ว่าสิ่งนั้นเกิดแล้วต่างหาก ไม่ใช่ว่าเราไปเลือกให้เกิดหรือไม่เกิด ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น จะห้ามโกรธได้ยังไง โกรธเกิดแล้ว แล้วไปคิดจะห้าม แต่โกรธเกิดแล้วนี่ ใครห้ามไม่ให้เกิดได้ ใช่ไหม ทุกอย่างเป็นอย่างนี้เลือกเกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง เลือกเกิดไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เกิดแล้ว เลือกเห็นเลือกได้ยินได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม ทั้งหมด เริ่มเข้าใจถูกต้อง เป็นวิชาที่มีประโยชน์ไหม เพราะว่าอยู่ที่ตัว และคนเราทุกคนไม่ชอบความชั่ว เมื่อแต่ก็ชั่วเพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นถ้ารู้ จะไม่ชั่วใช่ไหม ก็ดีขึ้น ดีขึ้น แล้วเป็นประโยชน์ไหม สำหรับแม้ตนเอง และคนอื่น เป็นสิ่งที่คนมองไม่เห็นข้ามไปเลย คิดว่าต้องไปหาเหตุอื่นปัจจัยอื่น ที่จะทำให้ดี แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่ว่าต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ ซึ่งทำหน้าที่ของความเข้าใจถูก จึงเห็นถูกว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควร เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ ว่าคนแก่คนมีอายุจะเรียน แล้วเด็กๆ หรือว่าคนที่ยังไม่อยู่ในวัยแก่ จะไม่เรียนใช่ไหม ถ้าเห็นประโยชน์จริงๆ วัยไหนก็เรียน ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี ดีไหม เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง

    ผู้ฟัง คำว่ากิเลสหมายถึงคำว่าอยากใช่ไหม

    อ.วิชัย กิเลสหมายถึงธรรมชาติ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต ขณะใดที่จิตเศร้าหมองแสดงว่าขณะนั้น จิตประกอบด้วยกิเลส ถ้าจะกล่าวถึงกิเลสที่เป็นมูลหรือเป็นเหตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงไว้ ๓ อย่างก็คือโลภะ โทสะ และก็โมหะ แต่ถ้าเราจะคุ้นเคย เมื่อไหร่ติดข้องพอใจ เราจะรู้ว่าขณะนั้นเศร้าหมองแล้ว ด้วยความติดข้องยินดีพอใจ ในขณะที่โกรธขณะนั้น ก็จิตเศร้าหมองด้วยความโกรธ แต่ว่าความไม่รู้ยากที่จะรู้ เพราะว่าขณะนี้เป็นธรรมทั้งหมดเลย แต่ว่าไม่สามารถจะรู้ความเป็นจริงได้ นั่นคือความไม่รู้ อย่างที่ถามว่าธรรมคืออะไร ตอบหลายๆ อย่างตามที่เราเคยได้ยินฟังมา แต่นั่นคือแสดงถึงความไม่เข้าใจธรรม ก็คือไม่รู้ความเป็นจริงของธรรม ถ้าผู้รู้ย่อมต่างใช่ไหม ถ้าเข้าใจความเป็นจริงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถามมาก็รู้ตามที่เข้าใจแล้ว ดังนั้นนี่คือความเศร้าหมองคือกิเลส จะมีธรรมที่เป็นอกุศลหรือธรรมที่เป็นโทษ ๑๔ ประการ แต่พระสัมมาสัมพุทธแสดงเรื่องของกิเลส ที่เป็นธรรมที่เศร้าหมองไว้ ๑๐ ประเภท แต่ที่เป็นมูลหรือว่าเป็นเหตุก็คือโลภะโทสะ และโมหะ

    ผู้ฟัง ถ้าเราบวชเป็นพระเราต้องละซึ่งกิเลสถูกไหมทีนี้กิเลส ในความหมายของผมคือความอยาก ไม่ว่าจะเป็นอยากอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเกิดหิวข้าว อยากกินข้าวยังไง คือต่อให้เป็นอยากแบบไหนก็แล้วแต่ แต่ถ้าเกิดมีความอยาก นั่นคือผิดรึเปล่า

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วก็ต้องรู้ก่อน ว่าเป็นธรรมที่ดีหรือเปล่า ถ้าดีแล้วก็ไม่ใช่กิเลสไม่ใช่อกุศลใช่ไหม

    ผู้ฟัง เจตนาใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ มีหลายอย่าง เจตนาก็มีจริง ไม่ใช่จิตแต่เป็นเจตสิก เพราะฉะนั้นเจตสิกทั้งหมด มี ๕๒ ประเภท ที่เป็นอกุศลที่ไม่ดี ๑๔ เรายังไม่พูดถึงรายละเอียดว่า แบ่งเป็นประเภทอะไรบ้าง แต่ให้ทราบว่าความไม่รู้เป็น ๑ ละ เป็นโมหะเจตสิก เพราะฉะนั้นจะบวชใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ รู้จักหรือยังว่าบวชคืออะไร

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ แล้วจะบวชทำไม ถ้าไม่รู้เห็นไหม นี่ผิดแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นจะทำอะไร ถ้าทำด้วยความไม่รู้ก็ถูกไม่ได้ เพราะไม่รู้ แต่ถ้าทำด้วยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจึงถูกต้อง เพราะฉะนั้นบวชนี่ไม่ใช่ว่าใครก็จะบวช เพราะอยากบวชใช่ไหม คนที่บวชอยากบวชทั้งนั้นเลย ถ้าไม่อยากบวชจะบวชทำไม แต่ว่าเพราะอะไรจึงอยากบวช อย่างที่คุณทวีศักดิ์ได้กล่าวถึงแล้ว หลายสาเหตุเลย เพราะฉะนั้นนั่นไม่ใช่เหตุของการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ทรงอนุญาตการบวช ไม่ใช่ว่าใครก็จะบวชได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่ได้ฟังพระธรรมแล้วมี ความเข้าใจ และรู้จักตนเอง ทำไมคนโน้นคนนี้คนนั้นที่เป็นพระโสดาบัน พระอนาคามีบุคคล เป็นชาวบ้านเป็นคฤหัสถ์แต่ไม่บวช แล้วทำไมบางคนบวชแล้วเราจะเป็นอะไรดี

    ผู้ฟัง จริงๆ อยากจะบวช

    ท่านอาจารย์ อยากเท่านั้นใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ รู้ไหมว่าบวชแล้ว จะเป็นอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้อีกต่อไป ทำหน้าที่ของคฤหัสถ์ไม่ได้เลย เพราะว่าต้องฟังพระธรรม เพื่อขัดเกลากิเลส เพราะรู้ว่าถ้าไม่เข้าใจธรรม กิเลสหมดไม่ได้เลย อย่างที่ถามเมื่อกี้นี้หิวข้าวพวกนี้ไม่ใช่ธรรมฝ่ายดี ไม่ใช่ทานไม่ใช่ศีล ไม่ใช่ภาวนา เพราะฉะนั้นก็เป็นจิตที่ประกอบด้วยโลภะเจตสิก เป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นวันทั้งวัน ถ้าไม่ได้ทำสิ่งที่ดี ไม่ได้เข้าใจธรรมก็เป็นอกุศลธรรมทั้งหมด เป็นอกุศลจิตประกอบด้วยอกุศลเจตสิก แม้แต่อยากบวช อยากดีไหม

    ผู้ฟัง อยาก ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอยากบวชดีไหม

    ผู้ฟัง ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ ไม่ดี แต่ถ้าบวชเพราะเห็นภัยในสังสารวัฏฏ์ เพราะได้ฟังธรรมเพราะรู้จักตนเองว่า สามารถที่จะไม่กระทำอย่างคฤหัสถ์เลย ล้อเล่นกันก็ไม่ได้นั่นไม่ใช่การ ละกิเลส แต่เป็นการเพิ่มกิเลส ทุกอย่างที่เป็นการเพิ่มกิเลส ไม่ใช่วิสัยของผู้ที่จะขัดเกลากิเลส เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่มั่นคง สละชีวิตจริงๆ ที่รู้ว่า ทุกอย่างตั้งแต่ตื่นจนหลับกาย วาจาต้องเป็นไปเพื่อการละกิเลส จึงสมควรที่จะบวช และจะบวชไหม

    ผู้ฟัง อยากจะบวช

    ท่านอาจารย์ เข้าใจธรรมหรือยัง

    ผู้ฟัง ยังไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่เข้าใจธรรม แล้วบวชเพื่ออะไร เป็นสิ่งที่ดีเพราะเหตุว่าทุกคนต้องตรง และจริงใจ ไม่ใช่ว่าเขาบวชกัน เขาชวนกันบวช แล้วก็บวชแต่ไม่รู้ว่าบวชคืออะไร เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่ตรง ไม่เช่นนั่นไม่ใช่ภิกษุในธรรมวินัย ต้องคิดไตร่ตรองพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เพื่อให้บวชหรือว่าให้เข้าใจธรรม

    ผู้ฟัง ต้องบวชเผื่อเข้าใจธรรม

    ท่านอาจารย์ บวชเพื่อเข้าใจธรรม แล้วคนที่บวชเข้าใจธรรมหรือเปล่า ถ้าเข้าใจธรรมไม่มีสำนักปฏิบัติ เพราะรู้ว่าไม่ใช่เรา จะไม่รู้แล้วก็ไปปฏิบัติ แต่ต้องเป็นปัญญาต่างหากที่ปฏิบัติ รูปปฏิบัติไม่ได้ใช่ไหม ต้องธาตุรู้ แล้วก็ต้องเกิดความเข้าใจที่ว่าเพราะเข้าใจ เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์ก็ปฏิบัติธรรมได้ บรรพชิตก็ปฏิบัติธรรมได้ โดยไม่ใช่ใคร แต่ต้องเป็นปัญญาระดับนั้น ถ้าไม่มีความเข้าใจอะไรเลย ปฏิบัติธรรมได้หรือ

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นความเข้าใจสำคัญที่สุด ถ้าคิดอยากจะบวช ต้องรู้ถ้ายังไม่เข้าใจธรรมเลย แต่อยากบวชถูกไหม

    ผู้ฟัง ไม่ถูก

    ท่านอาจารย์ ไม่ถูก เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจธรรม แล้วยังอยากบวช เป็นไปได้ไหม

    ผู้ฟัง เป็นไปได้

    ท่านอาจารย์ เป็นไปได้ เพราะฉะนั้นวิธีที่จะรู้ว่าจะบวชได้ไหม มีไหม

    ผู้ฟัง มี ต้องเข้าใจธรรม

    ท่านอาจารย์ แล้วเข้าใจธรรม แล้วยังมีวิธีที่จะรู้ได้ไหมว่า จะบวชได้ไหม เพราะเข้าใจธรรมแล้วบวชก็มีไม่บวชก็มี ใช่ไหม เพราะฉะนั้นจะรู้ได้ไหม เมื่อเข้าใจธรรมแล้ว อยากจะบวช มีวิธีจะรู้ไหมว่า สมควรไหมบวชได้ไหม เพราะอะไร คฤหัสถ์ธรรมดาปกติก็ศีล ๕ เป็นศีลของคฤหัสถ์ ขาดตกบกพร่องบ้างไหม

    ผู้ฟัง ขาด

    ท่านอาจารย์ แล้วไปเป็นภิกษุมียิ่งกว่านี้หรือ แล้วเป็นโทษด้วย ถ้าคฤหัสถ์กระทำผิด ไม่ต้องแสดงอาบัติเลยใช่ไหม แต่ภิกษุไม่ได้เลย ต้องเป็นผู้ที่ตรงจริงใจ มิฉะนั้นเป็นโทษถ้าไม่ปลงอาบัติ ก็ไปสู่อบายภูมิเมื่อสิ้นชีวิต โดยที่ว่ายังไม่ได้ปลงอาบัติ ก่อนอื่นต้องทราบว่าอาบัติคืออะไร อาบัติคือสิกขาบทที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เพื่อให้เพศภิกษุประพฤติ ปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส ไม่ใช่ให้พอกพูนกิเลส แต่ทุกข้อเพื่อขัดเกลากิเลส ยิ่งกว่าเพศของคฤหัสถ์ แต่ว่าอัธยาศัยที่ไม่สามารถที่จะประพฤติตามสิกขาบทได้ ทำให้ล่วงสิกขาบท เพราะฉะนั้นสำนึกเลยทันทีว่าเรา ไม่ใช่ผู้ที่สมควรที่จะเป็นภิกษุ เพราะเหตุว่าไม่ได้กระทำตามพระวินัยบัญญัติ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วประสงค์จะเป็นภิกษุต่อไปไหม ถ้าประสงค์จะเป็นภิกษุต่อไป ต้องปลงอาบัติ ปลงอาบัติหมายความว่าสำนึก และแสดง และก็ต้องทำตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติว่า ถ้าเป็นการละเมิดสิกขาบทข้อนี้ จะพ้นโทษจากการละเมิด กลับคืนสู่ร่วมกับภิกษุอื่นๆ ได้ก็ต่อเมื่อ ได้กระทำให้ถูกต้องตามพระวินัย มิฉะนั้นแล้วก็ไม่สามารถที่จะพ้นอาบัติได้ละเอียดมาก เพราะฉะนั้นก็สามารถที่จะรู้ได้ แม้เข้าใจธรรมแล้วยังต้องรู้ตัวเพราะปัญญาที่เข้าใจธรรม ทำให้รู้จักตัวเองว่าสามารถที่จะขัดเกลากิเลส ในเพศคฤหัสถ์ หรือว่าจะขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิต เพราะว่าคฤหัสถ์สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นพระโสดาบันได้ เป็นพระสกทาคามีดับกิเลสได้มากกว่าพระโสดาบัน เป็นพระอนาคามีดับกิเลสได้มากกว่าพระสกทาคามี ดับความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ต่อเมื่อใดบรรลุอรหันต์เมื่อนั้นเป็นคฤหัสถ์ต่อไปอีกไม่ได้ หมายความว่าอะไร หมายความว่าเพศภิกษุเป็นเพศของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้นคนที่บวช ประสงค์ที่จะขัดเกลากิเลส จนถึงความเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้าไม่มีความรู้อะไรเลย อยากบวชเป็นโทษ จะบวชไหม

    ผู้ฟัง คงยังไม่ใช่ตอนนี้

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ตอนนี้ และเมื่อไหร่จะบวช

    ผู้ฟัง เมื่อเข้าใจธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่เข้าใจธรรม แล้วรู้ว่าสามารถที่จะประพฤติปฏิบัติตามได้ ยังไม่ต้องบวช ประพฤติตามก่อนได้ไหมลองดู ถ้าได้ครบถ้วนก็บวชได้ ไม่รับเงินรับทองได้ไหม

    ผู้ฟัง ตอนนี้ยังไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ก็บวชเป็นภิกษุไม่ได้ ไม่อย่างงั้นคฤหัสถ์ กับบรรพชิตจะต่างกันตรงไหน ทำทุกอย่างเหมือนคฤหัสถ์ เพียงแต่เสื้อผ้าที่ครองอยู่เท่านั้นเอง ผ้าสีขาวหรือสีใดๆ ก็เปลี่ยนบุคคลไม่ได้ สะสมไหมที่จะมีกิเลส ขณะนั้นธรรมดา ความเป็นไปของจิตคือศีลเป็นอกุศลศีลก็ต้องรู้ เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรม เป็นการขัดเกลาความไม่รู้ และคนที่ไม่ศึกษาธรรมไม่ฟังธรรม เพราะเขาไม่รู้ว่าคุณค่าสูงสุดในชีวิต ทุกชาติก็คือว่า ได้มีความเห็นที่ถูกต้อง ซึ่งไม่รู้เลยเกิดมาตายไป โดยไม่รู้เลยว่าเห็นอะไร ถ้าเป็นความเข้าใจที่มั่นคงไม่ลืม เพราะเข้าใจจริงๆ แต่ความเข้าใจแค่นี้ไม่พอ เพียงแค่ผ่านหูเพียงแค่จำ แต่ยังไม่ได้พิจารณาจริงๆ และเป็นความจริงว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้เลยว่าไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ เป็นเพียงสิ่งที่สามารถกระทบตา ถ้าจิตเห็นไม่เกิดก็ไม่ปรากฏสีสันต่างๆ เพียงแค่ไม่เห็น โลกนี้ก็ไม่มีสัตว์บุคคล ที่ปรากฏทางตาให้เห็น เป็นบุคคลนั้นบุคคลนี้ เป็นธรรมแต่ละ ๑ จริงๆ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งบวช เพราะว่าถ้าบวชโดยไม่เข้าใจธรรมเป็นโทษ เพราะว่าจุดประสงค์ของผู้บวชคือ เพื่อขัดเกลากิเลสถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นคฤหัสถ์ศึกษาธรรมให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นเรามีศีลมากกว่า ๕ ข้อได้ ถ้าศึกษาพระวินัยเท่านั้น จะเห็นเราสามารถมีศีลมากกว่า ๕ ข้อ เพราะว่าเป็นเรื่องของความประพฤติ ทางกายทางวาจาที่เหมาะควร ตั้งแต่ตื่นจนหลับ เราสามารถที่จะมีศีลมาก แต่ไม่ต้องบอกใครจะมีศีล ๖ ก็ได้ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ได้หมด ไม่นับเพราะอะไรไม่จำเป็นต้องนับ เราไม่ได้รักษาศีลเพื่อนับ แต่เรารักษาศีลเพราะเห็นคุณค่าของการที่จะประพฤติปฏิบัติตาม แล้วการประพฤติปฏิบัติตามนั้น ไม่เป็นโทษ และก็ไม่จำกัด และก็ไม่ต้องบอกใครด้วย แต่ว่าถ้าบวชแต่ไม่เข้าใจธรรม ลวงคนอื่นไหม

    ผู้ฟัง ลวง

    ท่านอาจารย์ ลวง เป็นโทษไหม

    ผู้ฟัง เป็นโทษ

    ท่านอาจารย์ จะบวชไหม

    ผู้ฟัง ไม่

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นคำตอบที่เกิดจากการคิด ไตร่ตรอง และมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ว่าศึกษาธรรมได้ ขัดเกลากิเลสได้ เพราะว่าเพศบรรพชิตเป็นเพศที่ไม่ใช่ทุกคน ที่ไม่ได้สะสมมาแล้วก็จะบวชเป็นภิกษุในธรรมวินัย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 187
    27 ธ.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ