ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๐๔

    สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ ลำพูน

    วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ จิตที่ดับแล้วเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดได้ ถ้าจิตนั้นยังไม่ดับ จิตอื่นจะเกิดสืบต่อไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ทรงแสดงอนุขณะของจิตว่า ขณะเกิดไม่ใช่ขณะดับ ขณะที่ตั้งอยู่ไม่ใช่ขณะเกิด ไม่ใช่ขณะดับ ขณะที่ดับไม่ใช่ขณะที่ตั้งอยู่ไม่ใช่ขณะที่เกิด ในหนึ่งขณะจิตซึ่งเกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ ทรงแสดงความต่างกัน เพราะมีเหตุที่จะให้แสดงความต่างกัน ว่าจิตเป็นปัจจัยให้เกิดรูปในขณะไหน เห็นไหม เฉพาะในขณะเกิดอุปาทาขณะ แต่ถ้ากรรมเป็นปัจจัย ให้เกิดรูปทุกอนุขณะ นี่คือพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจเริ่มทีละเล็กทีละน้อย ให้รู้ว่าไม่มีเราเพียงในขั้นฟัง ต้องละเอียดอย่างยิ่ง กว่าจะค่อยๆ ไปรู้ว่า จากความมืดสนิทที่ไม่รู้อะไรเลย ค่อยๆ รู้ทีละนิดทีละหน่อยจากการฟัง แต่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้นฟังคำไหนต้องเข้าใจคำนั้น ละเอียดจริงๆ ชัดเจนจริงๆ ถูกต้องจริงๆ จะไม่มีการสับสน เพราะฉะนั้นจิต และเจตสิกดับ จิต และเจตสิกเป็นปัจจัย ให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อทันทีไม่มีระหว่างคั่น เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นปัจจัย ให้จิตเจตสิกขณะต่อไปเกิดขึ้น ไม่มีระหว่างคั่นภาษาบาลีก็ใช้คำว่า อนันตรปัจจัย เท่านั้นเอง เราก็รู้แล้วว่าอนันตรปัจจัยหมายเฉพาะจิต และเจตสิกซึ่งเกิดดับสืบต่อโดยไม่มีระวังคั่น เป็นธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่มีขณะเดียว ทันทีที่จิตนั้นดับไปใครก็ยับยั้งไม่ได้ ไม่ให้เกิดไม่ได้เลย เกิดแล้วไม่ให้ดับก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นมีคำว่าตายจริง แต่ก็ยังมีคำว่า ปรินิพพาน ถ้าตายธรรมดาก็มีการเกิดสืบต่อ แต่ ปรินิพพาน ดับโดยรอบ ไม่มีปัจจัยที่จะให้มีอะไรเกิดได้เลย เป็นอีกความหมายหนึ่งคือ สมุจเฉทมรณะ โดยสิ้นเชิงโดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้นการฟังธรรม เพื่อเข้าใจสิ่งที่มี ไม่ต้องไปคิดถึงชื่อ ยากยากในภาษาบาลี เพราะว่าพอเข้าใจ และพูดได้ เข้าใจเลยแต่ถ้ายังไม่เข้าใจ ไปเอาคำนั้นมาพูดแต่ไม่เข้าใจ ไม่มีทางที่จะเข้าใจได้ มีแต่การสับสน และคิดเอง พอคิดเองก็ผิด หรือเข้าใจเว้าๆ แหว่งๆ ถือว่าไม่เข้าใจโดยสมบูรณ์โดยเต็มที่จริงๆ ด้วยเหตุนี้พูดถึงจิตต้อง หมายความถึงเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นจิตเกิดเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตดับเจตสิกดับด้วย จิต และเจตสิกที่ดับ เป็นปัจจัยให้จิตเกิดสืบต่อรวมทั้งเจตสิกด้วย เพราะฉะนั้นเราเกิดมาตั้งแต่เล็ก ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ ตอนเล็กมองไม่เห็นเลยขณะที่เกิด กว่าจะสืบต่อมาเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง จำบ้าง คิดบ้างจนถึงเดี๋ยวนี้ จิตแต่ละ ๑ ขณะที่เกิด และดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด เพราะฉะนั้นจิตขณะต่อไปเกิดจากอะไร เกิดจากจิตก่อนที่ดับไป ไม่ใช่เกิดจากจิตอื่นเลย เพราะฉะนั้นเมื่อจิตที่เกิดต่อ เกิดสืบต่อจากจิตที่ดับ จึงสืบทอดทุกอย่างจากจิตที่ดับทำให้แต่ละ ๑ ก็สืบทอดมาเป็นแต่ละ ๑ บุคคลใช่ไหม แล้วแต่จิตเจตสิกที่เกิดดับสืบต่อมา ถ้าเข้าใจชัดเจน ต้องรู้ว่าจิตไม่ใช่เจตสิก เกิดดับพร้อมกัน แยกกันได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ จิตที่เกิดดับไปเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจิตขณะที่เกิดต่อจากจิตนั้นต้องมีทุกอย่าง จากจิตดวงนั้นใช่ไหม ถ้าเราเกิดความโกรธในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ได้แค่ครั้งเดียว คิดอีกโกรธอีก เรื่องเดียวกัน เพราะจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งเรื่องนั้น มีเรื่องนั้น คิดเรื่องนั้น รู้เรื่องนั้น เจตสิกที่เคยไม่ชอบ ดับแล้วไม่กลับไปอีกเลย ไม่เกิดอีกเลยหรือ ไม่ได้กลับมาแน่นอน แต่ปัจจัยที่เคยเกิดแล้วสะสมอยู่ในจิต ทำให้เวลาที่มีสิ่งนั้นเกิดขึ้น หรือว่าระลึกถึงก็ตามแต่ เห็นก็ตามได้ยินก็ตามความโกรธที่สะสมมาก็เกิดขึ้น ถูกต้องไหม

    ผู้ฟัง ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นนี่คือการสะสม จิตเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ สืบต่อใช่ไหม สะสมอะไรบ้างคุณธิดารัตน์

    อ.ธิดารัตน์ ถ้าโดยอรรถของจิต จิตที่จะสะสม เขาต้องทำชวนกิจ ถึงจะสะสมเพิ่ม แต่การสืบต่อด้วยความเป็น สันตานะ ที่จิตดวงเก่าดับไป เป็นปัจจัยให้จิตดวงใหม่เกิดขึ้น ทุกอย่างที่สะสมสืบต่อ อันนี้ทุกดวง ทุกประเภท เพราะว่าขณะเห็นไม่สะสมอะไรเพิ่ม แต่สิ่งที่เคยสะสมมาเดิมๆ ไม่ได้หายไปไหน ไม่ว่าจะสะสมทั้งความชำนาญ ธรรมฝ่ายดีก็สะสมเป็นอัธยาศัยต่างๆ แต่ถ้าเป็นกิเลส เป็นอกุศลสะสมเป็น อนุสัย ซึ่งนอนเนื่องไปตามจิต ถ้ายังเป็นปุถุชนอยู่ อนุสัยนี้ก็จะมีครบ แล้วก็ทุกครั้งที่อกุศลเกิดก็สะสมเพิ่ม อกุศลนี่เกิดทำ ชวนกิจ ทั้งนั้นเลย กุศลก็ทำชวนกิจ เพราะฉะนั้นขณะที่ทำชวนกิจ จึงสะสมเพิ่มอีก เพราะฉะนั้นขณะที่เป็นกุศล ก็สะสมเพิ่ม ความเข้าใจ ศรัทธาทุกอย่างก็เพิ่มสืบต่อไป เพิ่มแล้วก็สืบต่อด้วย ไม่ได้หายไปไหน ความเข้าใจไม่ว่าจะจากอดีต นานแค่ไหน ก็ยังสืบต่อมา มาเป็นปัจจัย ให้มีความเข้าใจเพิ่มอีก หรือว่าอกุศลหรือว่ากิเลสพอกพูนมาจน ท่านใช้คำว่าจักรวาลก็ใส่ไม่หมด แต่จริงๆ สะสมในรูปของนามธรรมจึงไม่มีรูปร่าง แต่ขณะที่มีโลภะเกิดขึ้นโทสะเกิดขึ้น จากปัจจัยที่เคยมี กิเลสนั้นๆ นั่นแหละมาเป็นปัจจัย ทุกอย่างสะสมแล้วสืบต่อ แต่สะสมเพิ่มในขณะที่ทำชวนกิจ

    ท่านอาจารย์ ฟังแล้วเราต้องค่อยๆ เข้าใจในเหตุในผลด้วย คนที่ใหม่จะไม่เข้าใจ ว่าชวนกิจเลย ใช่ไหม อยู่ดีๆ ก็ ชวนกิจคืออะไร แต่ถ้าพูดถึงกิจเมื่อไหร่ก็จะเข้าใจ ชวนกิจ เป็นหน้าที่ของจิตซึ่งจิตแต่ละหนึ่งขณะ เกิดขึ้นต้องทำกิจหนึ่งกิจใดใน ๑๔ กิจ เพราะฉะนั้นเราก็จะรู้ละเอียดขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ว่าจิตเดี๋ยวนี้ทำกิจอะไรบ้างใน ๑๔ กิจ เพื่ออะไร เพื่อรู้ว่าไม่ใช่เรา แต่ว่าก็เป็นเรื่องที่ไม่ใช่จำชื่อ แต่ต้องมีความเข้าใจว่าจิตเกิดขึ้นต้องทำกิจหน้าที่หลากหลาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของจิต หน้าที่ของเจตสิกก็เป็นหน้าที่ของเจตสิก หน้าที่ของจิตก็เป็นหน้าที่ของจิต เพราะฉะนั้นก็ต้องแยกกัน เมื่อกี้นี้เราพูดถึงการสะสมใช่ไหม ตอนนี้รู้ชัดว่าไม่ว่าจะเป็นกุศลที่เกิดขึ้น ดับแล้วสะสมสืบต่อในจิตขณะต่อไป ทำให้แต่ละคนมีอัธยาศัย ตามประเภทของการที่สะสม แต่ละประเภท อย่างคนที่สะสมการให้ทาน เค้าจะคิดถึงทาน บางทีทั้งวันเลย มีแต่เรื่องให้ ตื่นมาก็ให้ เห็นอะไรก็ให้ทั้งหมด เพราะสะสมมาที่จะเป็นอัธยาศัย แต่บางคนสะสมอัธยาศัยของการฟังธรรม เรื่องอื่นเขาจะสนใจน้อยกว่าใช่ไหม แต่พอถึงธรรมจะมีความสนใจ ที่จะสะสมความเข้าใจธรรม บางคนก็สะสมอัธยาศัย ชอบทำอาหารหรืออะไรก็ตามแต่ เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ขณะ ไม่ใช่จิตเห็น ไม่ใช่จิตได้ยิน ซึ่งเป็นวิบาก เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจคำว่า กุศล อกุศล วิบาก กิริยา ๔ ชาติ

    อ.วิชัย ดังนั้นถ้ากล่าวถึงชาติของจิต ชาติ ก็คือการเกิดขึ้นจิตแต่ละขณะเมื่อเกิดขึ้น ก็ต้องเป็นชาติหนึ่งชาติใดใน ๔ ชาติ ก็คือกุศลชาติ อกุศลชาติ วิบากชาติ และกิริยาชาติ ดังนั้นกุศลชาติคืออะไร เป็นธรรมชาติที่ไม่มีโทษไม่มีโรค และก็ให้ผลเป็นสุข ก็คือจิต และเจตสิกที่เกิดขึ้นเป็นกุศลชาติ ถ้าเป็นอกุศลก็ตรงกันข้ามกัน เป็นโทษแน่มีโทษแน่ แล้วก็เป็นโรคด้วย แล้วก็ให้ผลเป็นทุกข์ด้วย ส่วนชาติวิบาก หมายถึงเมื่อกุศลเกิดขึ้นอกุศลเกิดขึ้น เป็นเหตุที่จะให้เกิดผลในภายหลัง ก็คือวิบาก คือเป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยความเป็นผลของกุศลหรืออกุศล ไม่ได้เป็นเหตุที่จะให้เกิดผลต่อไปในข้างหน้า แต่เกิดแล้วโดยความเป็นผล จึงเป็นชาติวิบาก ส่วนชาติกิริยาหมายถึงเป็นจิตเจตสิกที่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นเพียงกระทำกิจ ไม่ได้เป็นเหตุที่จะให้เกิดผลในกาลข้างหน้าเลย

    ผู้ฟัง อันหนึ่งผมเคยได้ยินเขาบอกว่า ไม่ต้องฟังอภิธรรม ปฏิบัติได้เลย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นปฏิบัติธรรมคืออะไร ถ้าตั้งต้นลึกคืออะไร ก็จะทำให้ชัดเจนว่ากำลังพูดถึงอะไร เพราะธรรมคืออะไร และปฏิบัติธรรมคืออะไร ต้องรู้ถ้าไม่รู้ก็ผิด เพราะฉะนั้นที่คนส่วนใหญ่ เข้าใจว่าปฏิบัติธรรม เขาคิดว่ายังไง

    ผู้ฟัง เขาบอกว่าส่วนใหญ่ว่า ไม่ต้องเลยเดี๋ยวธรรม เราบางคนนั่งสมาธิทำนุ่นนั่นนี่ก็เข้าใจแหละ คือผมว่ามันขัดแย้งมากกว่า

    ท่านอาจารย์ เพื่ออะไร

    ผู้ฟัง ส่วนใหญ่ก็เพื่อตัวตน อยากจะกิเลส

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่ปฏิบัติธรรม คือเราห้ามความคิดของคนไม่ได้ใช่ไหม แต่ว่าสำหรับเราเอง เกิดมาแสนโกฏฏ์กัปป์ จะมีโอกาสได้ยินได้ฟังคำที่จะทำให้เราเข้าใจ และเป็นอุปนิสสยะ นิสสยะคือที่อาศัย อุปปะคือที่มีกำลังที่จะทำให้สนใจ ในการที่จะได้ยินได้ฟังคำที่ถูกต้อง ก็แล้วแต่ว่าถ้าไม่มีการสะสมมาเลย ไม่มีการเห็นประโยชน์เลย คิดว่าเกิดมาแล้วก็สบายไปชาติหนึ่ง ก็ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร ทำไมจะต้องฝั่งนั้นฝั่งนี้ แต่เขาไม่รู้คุณค่าว่า เกิดมาแล้วไม่รู้อะไรไม่เข้าใจอะไร แต่มีคำว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงว่าบุคคลนั้นไม่ใช่คนอื่นที่ไม่รู้ แต่ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีใครเปรียบได้ เพราะสามารถที่จะรู้ความจริงได้ แล้วฟังไหม ถ้าไม่ฟังก็เรื่องของคนที่ไม่เห็นประโยชน์ แล้วไม่จำเป็นที่จะต้องฟัง แต่ถ้ารู้ว่าเกิดมาแล้วมีแต่ความไม่รู้ และไม่รู้ด้วยว่าไม่รู้ คิดว่ารู้ แต่พอฟังแล้วถึงได้เห็นคุณค่า ของการที่จากการที่ไม่เคยรู้มาเลยในสังสารวัฎฏ์ แล้วสามารถจะเข้าใจความจริง ของสิ่งที่มีจริงๆ ได้ ผู้นั้นก็เห็นประโยชน์ และก็ไม่ขาดการฟัง และรู้ว่าประโยชน์สูงสุด ก็คือว่าเกิดแล้วตาย สิ่งที่จะติดตามไปก็คือการที่จะสามารถเข้าใจธรรม ไม่กล่าวถึงกุศล และอกุศลอื่นๆ เพราะว่ากุศลอื่นก็เป็นธรรมดา อกุศลก็เป็นของธรรมดาเพราะไม่รู้ แต่ว่าการที่จะเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่งที่มี ไม่สามารถที่จะรู้ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจากคนอื่น หรือจากการที่เข้าใจว่าปฏิบัติธรรมก็เพราะไม่รู้ ว่าปัญญาสามารถที่จะรู้ความจริง ทุกคำที่ได้ฟัง แม้แต่ธรรมเวลานี้ปรากฏหรือยัง

    ผู้ฟัง ก็มีครับ

    ท่านอาจารย์ ถ้าปรากฏว่าเป็นธรรม ก็ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่ดอกไม้ ไม่ใช่คน แต่เป็นลักษณะของสิ่งที่มีจริง ตามความเป็นจริงแต่ละ ๑ นั่นคือธรรมปรากฏกับปัญญาแต่ธรรมไม่ปรากฏกับอวิชชา เพราะเหตุว่าคิดว่าสิ่งนั้นเป็นคนที่เที่ยง เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เพราะไม่รู้การเกิดดับ ที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ เพราะฉะนั้นเพียงแต่มีความเข้าใจถูกต้องว่า ขณะนี้สิ่งที่มี ไม่ใช่อย่างที่เคยจำ เคยคิด เคยเข้าใจ แต่เป็นแต่ละ ๑ ซึ่งมีตามเหตุตามปัจจัย ซึ่งเพียงเกิดขึ้นมีแล้วก็ดับไป ประโยชน์ไหม เพราะเหตุว่าไหนๆ ก็ต้องตาย ไหนๆ ก็ต้องจากโลกนี้ จากทุกอย่างในโลกนี้ ไม่เหลืออีกเลย โดยที่ไม่รู้เลย แต่เต็มไปด้วยความติดข้อง ซึ่งจะติดตามไปชาติต่อๆ ไปด้วย เห็นก็ไม่รู้แล้วก็ติดข้องต่อไป กับการที่ได้เริ่มมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่าแท้ที่จริงแล้วไม่มีอะไร เริ่มเข้าใจคำว่าสุญยตา ว่างจากความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง จากการที่เข้าใจว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นดอกไม้เป็นต้นไม้ อะไรก็ตามแต่ ว่างจากการที่เข้าใจว่า อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา เป็นอัตตา แต่รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีใครที่สามารถที่จะดลบันดาลได้ เพราะเป็นธรรมไม่ใช่ใคร ค่อยๆ รู้ถูกต้องตามความเป็นจริง แล้วก็จะเห็นค่าอย่างยิ่ง ของการที่จากความไม่รู้ เป็นสิ่งที่สามารถรู้ได้จากคำที่มาจากการตรัสรู้ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โอกาสที่จะได้ฟังก็ไม่แน่ใช่ไหม จะนานอีกเท่าไหร่ จะมากหรือจะน้อย แต่ทุกครั้งที่ได้ฟังเป็นประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีค่าที่สุดในชีวิตคือได้เข้าใจความจริง ฟังด้วยความละเอียด และก็ด้วยความเข้าใจ และก็รู้ว่าข้างหน้าต่อไปอีกไกล แต่ว่าเป็นการมีความเข้าใจที่เป็นพื้นฐานที่มั่นคง ที่ละเอียดจากการฟัง เพราะเหตุว่าเรื่องการฟังทั้งหมด เพื่อละความไม่รู้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เพื่อต้องการ อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้น แต่รู้ว่าความไม่รู้ไม่มีมาก แต่เท่าที่ได้ฟังมาแล้ว ก็ละความไม่รู้ไปตามที่ได้เข้าใจ แต่จะต้องละความไม่รู้ แม้แต่คิดอย่างนี้ก็ไม่ใช่เรา จนทุกอย่างเป็นธรรม ตรงตามคำที่ได้ฟังทุกคำ เพราะฉะนั้นการที่ได้ฟังคำใด แล้วมีความเข้าใจตรง ตามความเป็นจริงของคำนั้น นั่นคือประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจแล้ว จะไม่ถามเลยเห็นไหม ไม่ถามว่าใช่ไหมเพราะเหตุว่าเข้าใจ และก็มีความละเอียดที่จะรู้ว่า ก็เป็นเรื่องของธรรมทั้งหมด ไม่มีใครสามารถที่จะทำอะไรได้ แต่ธรรมก็ยังมีความละเอียดลึกซึ้งอีกมาก ซึ่งแต่ละคำมาจากคำที่ไม่ลืมคำแรก ธรรมทั้งหลายทุกอย่างทั้งหมดเป็นอนัตตา คำว่าเป็นอนัตตา จะมากน้อยตามความเข้าใจ บางครั้งก็นึกขึ้นมาได้ใช่ไหม เหมือนเสียงอยู่ในหูพวกนี้ ก็ขณะนั้นเป็นการสะสม และมีความจำ และรู้ด้วยว่าเพราะจำอย่างนี้ จึงปรุงแต่งอย่างนี้ ให้มีความเข้าใจที่ค่อยๆ ละเอียดขึ้น ก็เป็นหนทางซึ่งถ้ามั่นคงตลอดไป เป็นทางตรงที่จะทำให้เข้าใจสภาพธรรมโดยความเป็นอนัตตา สำคัญที่สุดเข้าใจธรรมโดยความเป็นอนัตตา เพราะว่าส่วนใหญ่จะเป็นตัวตน ที่พยายามแล้วก็ติดข้อง

    อ.คำปั่น ทำให้เห็นถึงคุณของพระธรรม ว่าคือแต่ก่อนเขาก็มีการประพฤติปฏิบัติผิด ไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรมคือไม่รู้ว่าทำอะไร คือไม่เป็นเหตุเป็นผล แต่พอได้ฟังความจริง เราก็เริ่มสะสมความเข้าใจ จากการฟังการศึกษาพระธรรมแล้วเข้าใจ ถึงความเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก็เลิกสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นเลย เพราะว่าไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้น เป็นไปไม่ได้ที่จะไปนั่งนิ่งๆ แล้วให้ปัญญาเกิดขึ้น ไปเดินแล้วจะให้ปัญญาเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเหตุที่จะให้ปัญญาเจริญขึ้น ต้องสำคัญก็คือได้ฟังได้ศึกษาพระธรรม ก็เป็นหลายท่านที่ได้เคยสนทนา ก็มีความคิดอย่างนี้ อันเกิดขึ้นจากการที่ได้ยินได้ฟังพระธรรม ว่าสามารถทิ้งความประพฤติ ในสิ่งเหล่านั้นที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ที่ไม่เป็นเหตุให้ปัญญาเจริญขึ้นได้

    ท่านอาจารย์ และเมื่อมีการฟังละเอียด ก็จะเข้าใจได้ว่าพระธรรมที่ได้ฟัง มีหลายระดับขั้น ขั้นฟังเข้าใจแต่ยังไม่ได้เข้าใจตัวธรรม เพราะฉะนั้นเราพูดถึงสิ่งที่มีในขณะนี้ เช่นเห็น เห็นเป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ เพราะฉะนั้นขณะที่ฟัง และเข้าใจขณะนี้ เข้าใจว่าอย่างนั้น แต่ธาตุรู้ใช่ซึ่งไม่ใช่รูปธรรม ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา ประจักษ์แจ้งเมื่อถึงเวลา เพราะฉะนั้นจากการที่เข้าใจตามลำดับอย่างมั่นคง ว่าขณะนี้มีธรรมแน่นอนกำลังปรากฏแน่นอน แต่ความเข้าใจที่เกิดจากการฟัง เพียงเริ่มที่จะรู้ว่าไม่ใช่เรา แต่จริงๆ แล้วอีกระดับหนึ่ง คือกำลังค่อยๆ เข้าใจ อย่างที่ใช้คำว่าที่พูดว่าปัญญาก็คือความเข้าใจนั้นถูกต้องที่สุด ในภาษาไทย ขณะนี้กำลังเริ่มเข้าใจเห็น ต่างกับขณะที่กำลังฟังว่าเห็นไม่ใช่เรา ความลึกซึ้งของธรรม ก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จากการที่ไตร่ตรอง ว่าพระธรรมที่ทรงแสดง จากการที่ได้ทรงตรัสรู้ประจักษ์แจ้งความจริง เพราะฉะนั้นคำที่ทรงแสดงสามารถประจักษ์แจ้งความจริง ไม่ใช่แค่ขั้นฟัง จึงเป็นอริยสัจธรรมค่อยๆ ฟังค่อยๆ เพิ่มความเข้าใจขึ้น จนกระทั่งปัญญาขณะนั้น สามารถที่จะรู้ความต่างกันว่า ขณะนี้เริ่มเข้าใจเห็น หรือได้ยิน หรือคิดอะไรหรือก็ตาม ที่เราใช้คำว่านามธรรม เราพูดได้ เห็นเป็นธาตุรู้เป็นสภาพรู้เป็นนามธรรม เจตสิกก็เป็นนามธรรมไม่มีรูปร่างไม่มีอะไรเลย ส่วนรูปธรรมก็มีจริงๆ แต่ว่าไม่สามารถจะรู้อะไรได้ นี่คือความรู้ที่มั่นคง ที่จะค่อยๆ นำไปสู่การที่จะเข้าใจแต่ละ ๑ โดยความเข้าใจขณะนั้นสามารถเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ถึงความเข้าใจถูก ในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะเหตุว่าปรากฏจริง แต่ยังไม่ได้เข้าใจอย่างนั้น ขณะนี้เห็นมีปรากฏจริง แต่ไม่ได้เข้าใจในธาตุรู้ที่เกิดขึ้นเห็นแล้วดับ เพราะฉะนั้นขณะนั้นก็ฟังเข้าใจ ตัวปัญญาสามารถที่จะเห็นความต่างของขณะที่ฟังเข้าใจ กับเริ่มถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรม ด้วยความเข้าใจ เพราะฉะนั้นปฏิปัตติ เป็นปัญญาระดับขั้นที่สามารถถึงความเข้าใจสิ่งที่ปรากฏตรงตามที่ได้ฟัง เริ่มเข้าใจความเป็นธาตุรู้ซึ่งไม่ได้ปรากฏ เพียงแต่ว่าเริ่มเข้าใจค่อยๆ ถึงเฉพาะทีละน้อย จนกระทั่งสภาพธรรมที่เป็นธาตุรู้ ปรากฏเปิดเผยทีละ ๑ ต้องเป็นความรู้ที่มั่นคงยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นถ้าปริยัติการฟังไม่ละเอียดไม่มั่นคง ก็จะไม่นำไปสู่ปฏิปัตติ ด้วยเหตุนี้แม้ผู้ที่สอนธรรม ก็มีสำนักปฏิบัติ ถูกไหม

    ผู้ฟัง ไม่ถูก

    ท่านอาจารย์ กี่ครั้งก็ต้องไม่ถูก ผิดไหม

    ผู้ฟัง ผิดมาก

    ท่านอาจารย์ ทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ทำลาย และก็ผิดปกติที่สุด

    ท่านอาจารย์ นี่คือความตรง ถ้าไม่ตรง ไม่สามารถที่จะรักษามสิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับปวงสัตว์โลก ที่จะเข้าใจคำจริงคือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเพื่อประโยชน์ที่คนอื่นจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็คือว่าต้องเป็นผู้ที่มั่นคง และก็ตรงต่อความจริงยิ่งขึ้น

    ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณอาจารย์

    ท่านอาจารย์ และให้ทราบว่าทุกคำเพื่อประโยชน์ของคนอื่นทั้งนั้น แม้แต่อะไรที่ผิดก็ต้องบอกว่าผิด ใช่ไหม มิฉะนั้นเขาก็อาจจะคิดว่า เขาจะฟังธรรมด้วยแล้วก็ไปสำนักปฏิบัติด้วย

    ผู้ฟัง อยากจะให้อาจารย์ช่วยขยายความคำว่าสติกับสติปัฏฐานให้ชัดเจน มันเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้สภาพธรรมเกิดดับนับไม่ถ้วน เร็วมาก ยากที่จะรู้ได้ว่าอะไรเกิดขึ้นอะไรดับไป ถ้าไม่อาศัยคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สามารถจะรู้สิ่งที่เกิดรวมกันแล้วก็ดับเร็วมากทุกขณะได้เลย เพราะรวมกันตั้งหลายอย่าง และก็เกิด และก็ดับไปเลย จะรู้ได้ยังไงง่ายๆ แต่อาศัยจากการฟัง โดยที่เราคงจะใช้ภาษาไทยได้ อย่างเมื่อกี้นี้ ถ้าฟังเข้าใจก็จะรู้ว่าความหมายของธรรมนั้น ในภาษาบาลีคืออะไร เช่นขณะที่ฟังขณะนี้มีเห็น แต่ก่อนนี้ก็เป็นเราเห็น ฟังละเอียดขึ้น เห็นต้องเกิด ถ้าเห็นไม่เกิดไม่มีเห็น แล้วก็เห็นไม่มีใครสามารถ จะทำให้เกิดขึ้นได้เลย ต้องมีปัจจัยที่เหมาะสม ที่จะให้เห็นเกิดขึ้นแค่เพียงธาตุรู้ซึ่งใครยับยั้งไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เหมือนแข็งเกิดเป็นแข็ง ใครอย่าบอกว่าอย่าเกิดคืออย่าแข็งไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นธาตุรู้มีจริงๆ เกิดขึ้นรู้ตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เห็นเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ นี่คือคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นผู้ฟัง รู้ความห่างไกลของปัญญา ความเข้าใจถูกของผู้ฟัง กับระดับที่สามารถที่จะเข้าถึงขณะที่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าขณะฟัง รู้เรื่อง เข้าใจ แต่ยังไม่ถึงขณะที่กำลังเข้าใจลักษณะของธาตุรู้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 187
    14 ต.ค. 2567