ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๔๒

    สนทนาธรรม ที่ บัฟฟาโล รีสอร์ท อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

    วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑


    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ และท่านวิทยากรทุกท่าน ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้วตาเสียไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่ทั้งนี้วิทยาการสมัยใหม่ สามารถที่จะเปลี่ยนดวงตาได้

    ท่านอาจารย์ คำใดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส เป็นคำที่ทรงตรัสรู้ความจริง เพราะฉะนั้นเปลี่ยนไม่ได้เลย สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิดต้องดับ จิตเกิดดับเร็วมากแต่ว่ารูปที่มีจริงๆ ทุกประเภท จะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ หมายความว่าเกิดพร้อมจิตใดนับไป ๑๗ ขณะจิต รูปนั้นดับ ทันไหม นับได้ไหม

    ผู้ฟัง นับไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นับไม่ได้ แต่รู้ได้ว่า ไม่มีอะไรที่เที่ยงยั่งยืนเลย และสิ่งที่เกิดต้องมีปัจจัย ฆ่าคนตายแล้ว เขามีจักขุประสาทไหม ต้องรู้แน่นอนว่ามีแต่รูปใช่ไหม แต่ว่าไม่มีตัวปสาท ซึ่งตัวปสาทต้องเกิดจากกรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเอาตาใคร ไม่เอาตาใคร ไม่มีตาใครเลยก็ตามแต่ แต่ว่าถึงเวลาที่สามารถจะมีตาเกิดขึ้น ต้องเพราะกรรม๑ เป็นปัจจัยทำให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นให้มีความเข้าใจที่มั่นคงว่า จักขุปสาทใครก็ทำให้เกิดไม่ได้เลย จิตก็ทำไม่ได้ อุตุ ความเย็น ความร้อนหรือว่าอาหารที่กลืนกินเข้าไป อะไรอะไรก็ไม่สามารถที่จะทำให้ จักขุปสาทเกิดได้นอกจากกรรม เพราะฉะนั้นขณะนี้ ขณะนี้มีเห็น และขณะนี้มีได้ยิน ดับไปก็ไม่รู้ เกิดก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเอาตาอะไรมาใส่ของใครหรือไม่ใส่ก็ตามแต่ ถ้าจักขุปสาทไม่เกิด เพราะไม่ใช่กรรมของคนนั้น จักขุประสาทก็พยายามไปเถอะก็ไม่มี แต่ถ้ามีเกิดขึ้นคิดว่าเพราะอย่างนั้น เพราะอย่างนี้ แต่สมุฏฐานที่แท้จริงก็คือว่า กรรมเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น อย่างอื่นเป็นแต่เพียงส่วนประกอบ

    ผู้ฟัง แต่ว่าทางวิทยาศาสตร์นี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ ก็ช่างเขาเถอะ เขาจะรู้ไหมว่าขณะนี้รูปเกิดจากกรรม รูปเกิดจากจิต รูปเกิดจากอุตุ รูปเกิดจากอาหาร เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช่รูปที่เกิดจากกรรม ก็เป็นรูปที่เกิดจากจิต ถ้าไม่ใช่รูปที่เกิดจากกรรม ไม่ใช่รูปที่เกิดจากจิต ก็เป็นรูปที่เกิดจากอุตุ โต๊ะไม้เช่นเราก็คิดได้ใช่ไหม ว่าคนตายแล้ว รูปที่ตัวคนตายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตาหรือเป็นอะไรก็ตามแต่ ก็เป็นรูปที่เกิดจากอุตุ มีแต่จะเน่าเปื่อยผุพัง แต่ว่าไม่สามารถที่จะเป็นปสาทที่จะเอาไปใส่ตาของคนอื่นได้เลย เพียงแต่ว่าเป็นส่วนประกอบเท่านั้นเอง ที่เป็นอุตุที่เหมาะสม ที่จะทำให้รูปอื่นที่เกิดจากอุตุ สามารถที่จะเป็นไปได้ แต่ต้องมีกรรมเท่านั้นที่ทำให้ปสาทรูปเกิด เพราะฉะนั้นจะไปเพียรพยายามกันสักเท่าไหร่ ถ้าไม่มีกรรมที่จะทำให้ปสาทรูปเกิด ก็ไม่สามารถที่จะมีปสาทรูปได้ เกิดมานี่มีตัวไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มี รู้ไหมว่าที่ว่าตัวนี้คืออะไร เห็นไหม นี่คือก่อนฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่รู้เลยเป็นตัวของเรา แต่ถ้าฟังพระธรรมก็คือว่า แต่ละรูปมีอากาศธาตุแทรกคั่น แตกทำลายได้ละเอียดยิบ แต่ก็มีเหตุที่จะให้เกิดอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่ประจักษ์แจ้งรูปใดที่เกิดรูปนั้นดับ เพราะฉะนั้นเราก็จำไว้ แม้ว่ารูปนั้นไม่ปรากฏก็เข้าใจว่ามี เพราะฉะนั้นความจำวิปลาส คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง สิ่งที่เกิดแล้วดับไปแล้วก็ยังหลงเข้าใจว่ายังมีอยู่ แต่ลองพิจารณา รูปที่ตัวทั้งหมดเกิดจากกรรมก็มี เกิดจากอุตุความเย็นความร้อนก็มี เกิดจากอาหารก็มี เกิดจากจิตก็มี แล้วรวมกันอยู่หมด ใครจะแยกออก ถ้าเราจะทำแกงสักชนิดหนึ่ง เครื่องปรุงต้องมีอะไรบ้าง พริกกะปิหอมกระเทียมข่าตะไคร้ โขลกทำให้ละเอียดยิบ กลืนเข้าไปเนื้อเดียว แยกออกไหมว่ากระเทียมอยู่ไหน พริกอยู่ไหน เกลืออยู่ไหน ทุกอย่างอยู่ไหน แต่ต้องอยู่ตรงนั้นแหละมีหมด เพราะฉะนั้นไม่ว่าตรงใดก็ตามที่มีรูป แม้เป็นรูปที่เกิดจากสมุฏฐานใดก็ตาม แต่ก็ครบทั้ง ๔ สมุฏฐาน ไม่ได้ขาดสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐานใดเลย แต่ไม่รู้ เช่นกระทบสัมผัสกาย มีธาตุที่ปรากฏอ่อนหรือแข็ง เกิดดับก็ไม่รู้ รวมกันก็ไม่รู้ ว่าตรงนั้นแหละมีทั้งที่เกิดจากกรรม มีทั้งที่เกิดจากจิต มีทั้งที่เกิดจากอุตุ มีทั้งที่เกิดจากอาหาร เหมือนน้ำแกงก็ไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นอะไร แต่ก็มีครบทุกอย่าง

    เพราะฉะนั้นพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีใครสามารถที่จะประมาณได้เลย เพราะว่าทรงตรัสรู้ว่าแต่ละ ๑ กลาป หรือกลุ่มที่เล็กที่สุด เฉพาะกลุ่มนั้นเกิดจากอะไร แล้วมีกี่รูปด้วย เช่นที่ตากระทบสัมผัสแข็ง แข็งก็ตรงอื่นก็มีใช่ไหม แต่ที่ตามีจักขุปสาท ตรงอื่นไม่มีจักขุปสาท ถ้ากระทบที่แขนก็มีมหาภูติรูป มีสี มีกลิ่น มีรส และก็รูปนั้นก็เกิดจากกรรมได้ เกิดจากจิตได้ เกิดจากอุตุได้ เกิดจากอาหารได้ เพราะว่าที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งที่กระทบ ความจริงมีรูปตั้งเท่าไหร่ที่รวมกันละเอียดมาก ตราบใดที่ปัญญาไม่ถึง การประจักษ์แจ้งตราบนั้น ก็เข้าใจว่าเป็นชิ้นเดียวกัน เป็นส่วนเดียวกัน แต่ความจริงส่วนประกอบหลากหลาย และแต่ละ ๑ ก็เกิด เพราะฉะนั้นถ้าไม่ประประจักษ์ย่างนั้นจริงๆ ก็ต้องเป็นเราไปตลอด จนกว่าปัญญาจะค่อยๆ รู้ความจริงเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีพระสาวก มีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงประจักษ์แจ้งความจริง แต่จากการที่เราได้ฟัง ทีละเล็กทีละน้อยทีละเล็กทีละน้อย ไม่ใช่ไปจำไปท่อง แต่เริ่มมีการที่จะรู้ว่าไม่ใช่เราแน่นอน จากการฟังค่อยๆ เพิ่มความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ปัญญาคือความเข้าใจถูก กำลังทำหน้าที่ค่อยๆ ละคลาย ถ้าไม่มีความรู้ไม่มีทางที่จะละคลายความเป็นตัวตนได้เลย ตัวตนไปพยายามจะละคลายไม่มีทางสำเร็จ แต่ต้องเป็นความเข้าใจ และความเข้าใจมากหรือน้อย ก็ทำหน้าที่ตามลำดับ

    ถ้าปัญญานิดเดียวจะไปประจักษ์แจ้ง แล้วจะไปละคลายการยึดถือสภาพธรรมได้ไหม แข็งก็แข็งอย่างนี้ จับทีไรก็แข็ง เห็นก็เห็นอย่างนี้แล้วเราก็พูดเรื่องเห็น พูดแล้วพูดอีก แต่การเกิดดับของเห็นก็ยังไม่ปรากฏ เพราะปัญญายังไม่ถึงขั้นที่จะประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้นทรงแสดงขั้นของปัญญา ไว้มากมายตั้งแต่ขณะที่เริ่มฟัง ถ้าฟังไม่เข้าใจไม่มีทางเหมือนกัน ที่จะละกิเลส ฟังเข้าใจยังไม่พอ ต้องรู้ว่าค่อยๆ รู้ว่าไม่ใช่เราในขณะไหน เห็นเดี๋ยวนี้ มีใครบ้างที่จะเริ่มเข้าใจ และเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ นี่เป็นขั้นต้นจากการฟังที่รอบรู้ว่า ไม่ว่าขณะไหนก็ตาม มีสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป แต่ลักษณะที่เกิดดับยังไม่ปรากฏ จนกว่าจะแยกเป็นแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้นกำลังเห็นต้องมีความเข้าใจว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย และเห็นก็ไม่ใช่เราเห็น ค่อยๆ เข้าใจทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งถึงเวลาที่สภาพธรรมจะปรากฏ ในความเป็นเห็นไม่ใช่เรา ในความเป็นสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่ใครทั้งสิ้น คอยไหวไหม

    ผู้ฟัง ก็ต้องคอย

    ท่านอาจารย์ ไหวหรือไม่ไหว ก็ไม่มีทางที่จะเป็นอย่างอื่นได้เลย นอกจากท้อถอยเมื่อไหร่เมื่อนั้น ก็หมดหนทางที่จะเข้าใจคำว่า เพราะฉะนั้นการฟังวันนี้ เข้าใจวันนี้จะสะสมเป็นปัจจัย ให้มีโอกาสได้ยินได้ฟังอีก อีก ๒๐๐๐ ปี จากแต่ละชาติ จะเกิดเป็นอะไรก็ไม่รู้ แต่ถ้าชาติต่อไปมีโอกาสได้ฟังเพิ่มเติม เพราะเหตุว่าชาตินี้จะได้ฟังเท่าไรก็ไม่รู้ จะเข้าใจเท่าไหร่ก็ไม่รู้ แต่ก็สามารถได้ยินได้ฟัง และก็ค่อยๆ เก็บเล็กผสมน้อยอย่างมั่นคง ว่าสิ่งที่มีจริงเป็นสิ่งที่สามารถรู้ความจริงได้ จากการที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครไปทำให้เกิด เกิดแล้วทั้งนั้น เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปทำอะไร แต่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ใครทำอะไรได้เห็นไหม ไม่มีใครไปทำอะไรได้ ก็ยังหลงไม่รู้ แล้วพยายามไปทำก็ผิด เพราะฉะนั้นคำสอนทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช่วยไม่ให้เข้าใจผิด ไม่ให้หลงผิด ไม่ให้ปฏิบัติผิด ถ้าหลงผิดห่างไกลจากพระสัทธรรม คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้พระองค์ประทับอยู่พระพุทธเจ้าพระองค์ไหนก็ตามแต่ที่ตรัสรู้ และถ้าผู้ใดมีโอกาสได้อยู่ใกล้แต่ไม่ได้สะสมมา ก็ไม่คิดที่จะได้ฟังคำ เหมือนยุคนี้สมัยนี้ พระธรรมก็ยังมีใช่ไหม แต่ก็มีคนที่ไม่คิดจะฟังธรรม

    ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณ

    ผู้ฟัง กราบท่านวิทยากร ลักษณะของการไปสำนักปฏิบัติ มีการสั่งสอนที่ไม่ได้สอดคล้องกับพระธรรม ที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัส เพราะฉะนั้นตรงนี้มันเป็นลักษณะคล้ายๆ กับการจดจ้อง จะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วมันเป็นไปไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องพิจารณา เป็นคนที่ต่อไปนี้ก็ช่างคิด แต่ไม่ได้คิดเรื่องอื่น คิดเข้าใจคำที่ได้ฟัง ดีกว่าคิดอย่างอื่นใช่ไหม เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจหรือให้ดู

    ผู้ฟัง ผมว่าให้เข้าใจมากกว่า

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปสนใจเรื่องดูใช่ไหม ดูไม่เข้าใจแน่ ดูไปสิ เข้าใจอะไร แต่ว่าคำที่ได้ฟัง พูดถึงสิ่งที่มีที่กำลังปรากฏ เช่นเดี๋ยวนี้ เห็นมีเห็นแน่นอน ใครทำให้เห็นเกิดขึ้น

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่มี เพราะฉะนั้นควรเข้าใจเห็นที่เกิดให้ถูกต้องว่า ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เกิดแล้วด้วย ตามเหตุตามปัจจัยด้วย ถ้าไม่มีเหตุปัจจัย ไม่มีตาไม่เห็นแน่ๆ ไม่มีสิ่งที่กระทบตา ข้างหลังกระทบตาไม่ได้ เพราะอยู่ข้างหลัง จะมากระทบตาที่อยู่ข้างหน้าได้ยังไง ก็ไม่ปรากฏว่ามี แต่ขณะใดก็ตามมีสิ่งใดปรากฏ สิ่งที่ถูกต้องก็คือว่าสิ่งนั้นต้องกระทบตาใช่ไหม แค่นี้ กระทบตาแล้ว สิ่งที่กระทบตาไม่เห็น ตาก็ไม่เห็น มีธรรมคือไม่ใช่เรา แต่อาศัยการกระทบของสิ่งที่กระทบกันได้ คือสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นกับตา ทำให้เกิดธาตุอีกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับ ค่อยๆ เข้าใจแต่ไม่ใช่ไปดู เพราะเหตุว่าเราดูใช่ไหม

    ผู้ฟัง เราดู

    ท่านอาจารย์ ผิดไหมล่ะ เรา ไม่ได้เข้าใจเลยว่าธรรมอะไร ที่เริ่มเข้าใจสิ่งที่ปรากฏ ที่ใช้คำว่าปฏิปัติ แม้แต่คำก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ขณะที่ฟังอย่างนี้ ไม่ใช่ปฏิปัติ ซึ่งคนไทยใช้คำว่าปฏิบัติ เพราะอะไรจึงไม่ใช่ปฏิปัติ ไม่ใช่ปฏิบัติ เพราะเหตุว่าเพียงจะเริ่มฟังเรื่องเห็น และก็ค่อยค่อยมีความเข้าใจว่าเห็นไม่ใช่เราเห็น ให้เข้าใจ แล้วก็เห็นเกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้นจะไปทำให้เห็นเกิดขึ้น จะไปดูเห็นไม่ได้ แต่เมื่อเห็นกำลังมีนี้แหละค่อยๆ เข้าใจ จนกว่าสามารถที่จะเข้าใจขึ้นละความเป็นเรา เพราะเข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้น ไม่มีความไม่รู้ และความเป็นเราปิดกั้น เห็นจึงปรากฏกับปัญญาที่ค่อยๆ ละคลาย การยึดถือเห็นเป็นเรา คน ได้ยินคำเยอะ ละวาง ง่ายจังใช่ไหม ละวางเสีย ละยังไง วางยังไงกำลังเห็น เป็นตัวตนจะละ เป็นตัวตนจะว่าได้หรือ ละอะไรวางอะไรก็ยังไม่รู้ เพียงบอกให้ละวางก็จะละวางล่ะ คุณวีระจะละวางอะไร ถ้าได้ยินคนบอกว่าให้ละวาง

    ผู้ฟัง เป็นการเหมือนนึกคิดว่าอันนี้มันเป็นโทษ เพราะฉะนั้นเขาไม่ได้

    ท่านอาจารย์ อะไรเป็นโทษ

    ผู้ฟัง สมมติว่าสุราเมรัยนั้นเป็นเรื่องของโทษ เราก็เลยละวางที่จะไม่เสพสุรา

    ท่านอาจารย์ งดเว้นการดื่มสุรา แต่ละวางอะไร ดื่มสุราต้องยินดีที่จะดื่มใช่ไหม

    ผู้ฟัง มีความต้องการที่จะดื่ม

    ท่านอาจารย์ มีความต้องการ เพราะฉะนั้นจะไม่ดื่ม ต้องเป็นผู้ที่จริงใจ โดยรู้จริงๆ ว่าดื่มเพราะต้องการดื่ม เพราะฉะนั้นละวาง เขาให้ละวางอะไร

    ผู้ฟัง ละวางตัวตนที่แค่ต้องการจะดื่ม

    ท่านอาจารย์ แค่ไม่ดื่มก็เป็นเราไม่ดื่ม ไม่เห็นละวางอะไร

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นสิ่งนี้เป็นโทษ แล้วเราจะละเว้นงดเว้น

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นเราอยู่นั่นแหละ ไม่ได้ละวางอะไร

    ผู้ฟัง คำสอนของศีล ๕ เห็นชัดเจนว่า สอนให้ได้ครบถ้วน

    ท่านอาจารย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องศีล ว่าเป็นธรรมหรือเปล่า เป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ศีลเป็นศีล

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นละวางอะไร

    ผู้ฟัง ก็ละวางความไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ไม่รู้อะไร

    ผู้ฟัง ก็ไม่รู้ความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ ของอะไร

    ผู้ฟัง ของสภาพที่เกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ สภาพอะไรกำลังเกิดปรากฏ

    ผู้ฟัง สภาพเห็น สภาพได้ยิน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นกำลังมี เป็นเราเห็น ละวางความเห็นผิด ที่ไม่รู้ความจริงของเห็น ไหวไหม พูดง่ายมาก ใช่ไหม ละวางเสีย ถ้าใครสอนง่ายๆ นั่นหรือจะเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นตัวเขาทั้งนั้นเลย ไม่ได้ละวางความเป็นเราเห็น เราได้ยิน เราคิด เราละวาง เพราะฉะนั้นธรรมต้องละเอียด และก็ลึกซึ้งกว่านั้น ต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ ถึงจะค่อยๆ ละความไม่รู้ได้ ถ้าตราบใดที่ไม่ใช่ความเข้าใจ ก็เป็นความไม่รู้อยู่นั่นแหละ ละวางความเป็นเราจากอะไรล่ะ กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เมื่อไหร่จะละวางว่าไม่ใช่เราเห็น ต้องอาศัยพระธรรมที่ทำให้เข้าใจขึ้น ความเข้าใจค่อยๆ กว่าจะละวาง ต้องมากแค่ไหน ต้องรู้ลักษณะที่ไม่ใช่เราใช่ไหม จึงจะละวางความเป็นเราได้ ตราบใดที่สภาพที่ไม่ใช่เรายังไม่ปรากฏ ก็ยังสงสัยหรือว่ายึดมั่นว่าเป็นเรา ความไม่รู้มีจริงไหม

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ แล้วจะละวางยังไง

    ผู้ฟัง ก็ต้องรู้ถึงจะละวางได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าอะไรทั้งหมด เว้นไม่ได้เลยเลือกไม่ได้ ไม่ใช่เจาะจงลมหายใจ ไม่ใช่เจาะจงที่อิริยาบท นั่นคือเราหมดเลย เมื่อความเป็นเรามีอยู่จึงเลือกแล้วก็ไม่รู้ความจริงว่าไม่ใช่ธรรม เพราะฉะนั้นสำนักปฏิบัติ ไม่เข้าใจว่าปฏิบัติคืออะไร แล้วปฏิบัติ ก็คือทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ผู้ฟัง มันเหมือนกับมีขั้นตอนว่า ความเข้าใจที่จะเกิดขึ้น เป็นการเข้าใจเพียงเล็กๆ น้อยๆ แล้วค่อยๆ เข้าใจมากขึ้นมากขึ้น

    ท่านอาจารย์ กว่าจะเป็นคุณวีระตรงนี้ ก็ต้องมีคุณวีระตั้งแต่เกิดใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นปัญญาก็ต้องจากการฟังค่อยๆ เข้าใจขึ้น กว่าจะถึงระดับขั้นที่ละวาง เข้าใจพระพุทธพจน์ ต่างกับที่เคยได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เกิดใช่ไหม ไม่ว่าวิชาการใดๆ ทั้งสิ้น

    ผู้ฟัง ใช่ ต่างกัน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความเข้าใจพระพุทธพจน์ เข้าใจทั่วถึง มั่นคงจริงๆ หรือยังว่าไม่มีเรา แต่เป็นธรรม แค่นี้ไม่ต้องไปไหนเลย ถ้าไม่มีความมั่นคง ก็เป็นเราอยู่ร่ำไป เดี๋ยวก็เป็นเราเดี๋ยวก็เป็นเรา เห็นเดี๋ยวนี้เป็นเราใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้คิดก็เป็นเราใช่ไหม

    ผู้ฟัง ยังเป็นอยู่

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างก็เป็นเรา เพราะฉะนั้นเพียงแค่ปริญัติ ฟังพระพุทธพจน์แล้ว เข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้น ยังไม่รอบรู้อย่างมั่นคง ก็ยังไม่เป็นปัจจัยที่จะให้ปฏิปัติ ซึ่งเป็นปัญญาอีกขั้นหนึ่งเกิดขึ้น สามารถจะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ โดยความเป็นอนัตตา ไม่มีใครไปทำอะไรเลย แต่ความเข้าใจนั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งเข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟัง

    ผู้ฟัง ยังไงก็เป็นเราอยู่

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นถ้าเป็นอัตตาคือผิด

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นอนัตตาคือรู้ว่าไม่ได้ต้องการสติเลย ไม่ได้ไปพยายามจงใจ เพราะรู้ว่าอยากไม่ได้ จงใจไม่ได้ ขอไม่ได้ ทุกอย่างเกิดเมื่อมีปัจจัยมั่นคงอย่างนี้หรือยัง

    ผู้ฟัง ไม่มั่นคงอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ไม่มั่นคงก็ฟังจนกว่าจะมั่นคง ว่าทุกอย่างเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีปัจจัยพอที่จะให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ก็หลงทาง เพราะนี่เป็นปริญัติ ความรอบรู้มั่นคงจริงๆ ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม เกิดเพราะเหตุปัจจัยจึงไม่ใช่เราทำ และไม่มีเราด้วย เพราะเหตุว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แค่นี้ไม่ว่าจะฟังนานเท่าไร มากเท่าไหร่ ประโยชน์อยู่ที่ตรงเข้าใจความจริงข้อนี้ เพราะฉะนั้นไม่รีบร้อนที่จะไปละกิเลส เพราะเหตุว่าจะเป็นหนทางผิด เพราะว่าคิดว่าเราละ ก็มีความเป็นตัวตน แต่ถ้าเข้าใจว่าปัญญาความเข้าใจถูกค่อยๆ ละความเข้าใจผิด เห็นนี้ไม่ใช่เรา แค่นี้ ฟังแล้วมั่นคงไหม ไม่มีใครไปทำให้เห็นเกิดขึ้นได้ เห็นมีจริงๆ ทุกอย่างที่กำลังปรากฏมีจริงแต่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละอย่างหลากหลายมาก ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ๔๕ พรรษา ทุกวันทุกคำ เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมี ซ้ำแล้วซ้ำอีก เห็นไม่ใช่เรา ได้ยินไม่ใช่เรา ได้กลิ่นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ให้ไปท่อง แต่เริ่มพิจารณาความจริงว่าเป็นอย่างนั้น ทีละเล็กทีละน้อย

    ผู้ฟัง คือตรงนี้เห็นว่ามันเป็นความหนามากเลย ที่ว่าจะเข้าไปถึงจุดที่ว่าเป็นความจริง

    ท่านอาจารย์ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้นพระองค์ทรงเป็นใคร เรายิ่งเห็นความหนาของกิเลสมากเท่าไหร่ ก็เห็นพระปัญญาที่ทรงประจักษ์แจ้งความจริง จนกระทั่งสามารถที่จะดับกิเลส และก็ทรงแสดงธรรมด้วยวิริยะ ต้องมีแน่ๆ ใช่ไหม ด้วยพระมหากรุณา ด้วยความอดทน ด้วยความเป็นมิตรคือเมตตา ด้วยบารมีทั้งหมด เพื่อเราจะมีโอกาสได้ยินได้ฟัง เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่ได้ฟังธรรม ก็คือเป็นผู้ที่เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มเข้าใจขึ้น เป็นหนทางเดียว เพราะว่าแม้เข้าใจก็ไม่ใช่เรา เดี๋ยวก็เข้าใจ เดี๋ยวก็ไม่เข้าใจ เดี๋ยวก็เป็นเรา เดี๋ยวก็เข้าใจ เพราะฉะนั้นกว่าจะสะสมความเข้าใจมั่นคงขึ้น ค่อยๆ รู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา ก็จะเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะ ปฏิปัติ เริ่มรู้ตรงลักษณะที่กำลังปรากฏ โดยความเป็นอนัตตา ว่าเราไม่ได้เลือก เราไม่ได้หวัง

    ผู้ฟัง เริ่มรู้ถึงเฉพาะ ที่มันไม่ใช่เรานี่

    ท่านอาจารย์ คุณวีระกำลังกระทบแข็ง

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ก่อนฟังก็กระทบแข็ง

    ผู้ฟัง กระทบ

    ท่านอาจารย์ แต่ฟังแล้วเริ่มรู้ว่าแข็งเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็ถ้าเข้าใจกว่านี้ ก็คือว่าใครก็เปลี่ยนแข็งไม่ได้

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็รู้ว่าขณะที่แข็งปรากฏเท่านั้นที่แข็งมีจริงๆ กำลังเห็นแข็งหายไปไหน

    ผู้ฟัง พอเห็นอยู่

    ท่านอาจารย์ กำลังได้ยิน แข็งหายไปไหน เราแค่คิดว่าหายไป แต่ความจริงดับแล้ว แล้วก็เกิดอีกตามเหตุตามปัจจัย แต่ไม่ปรากฏ เพราะไม่มีธาตุรู้ที่กำลังรู้ เพราะฉะนั้นธาตุรู้เกิดทั้งวัน รู้ไหมว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายโดยไม่มีใครรู้เลยว่านั่นไม่ใช่เรา แต่เป็นธาตุชนิดหนึ่งเป็นธรรม ซึ่งใช้คำว่าจิต และเจตสิก ซึ่งเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ แม้เวลานี้ก็หลากหลายมาก จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน และเจตสิกแต่ละ ๑ ก็เป็นสภาพธรรมที่เว้นจากเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แล้วที่ปรากฏก็เป็นเจตสิกทั้งหมด แต่พระธรรมที่ทรงแสดงมากกว่านี้มาก แต่ปรากฏไหม

    ผู้ฟัง ไม่

    ท่านอาจารย์ ก่อนจิตเห็นมีจิตใช่ไหม และจิตก่อนจิตเห็นปรากฏหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ได้ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ พอจิตเห็นเกิดแล้วดับไป มีจิตอื่นเกิดต่อจากจิตเห็น และจิตที่เกิดต่อจากจิตเห็นปรากฏหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ได้ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ก็เห็นแค่นี้ทั้งวัน เกิดมาก็มีเห็น มีได้ยิน มีได้กลิ่น มีลิ้มรส มีรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส และก็มีคิดนึก คิดนึกถึงอะไร ก็คิดนึกถึงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เสียงที่ได้ยิน คิดนึกตามสิ่งที่ปรากฏ แต่สิ่งที่ไม่ปรากฏอีกมาก พระองค์ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงทำไม ให้เรารู้ว่าแม้แต่จิตเห็นเกิดขึ้นแค่ ๑ ขณะ จิตก่อนเห็นไม่เห็น หลังจากที่จิตเห็นดับ จิตที่เกิดต่อก็ไม่เห็น แต่ว่ารู้ว่าเห็นเป็นอย่างนี้ สิ่งที่ปรากฏเป็นอย่างนี้ แต่ไม่ได้ทำทัสนกิจ เพราะฉะนั้นเราจะไม่รู้เลยว่า ธาตุรู้หรือสภาพรู้เกิดขึ้นแล้ว ต้องมีหน้าที่ทำกิจเฉพาะของตนของตน โดยเราไม่รู้เลย ตื่นเป็นเราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ตื่นที่จริงก็เป็นเรื่องของธรรม

    ท่านอาจารย์ ทำหน้าที่แล้วใช่ไหม ทำหน้าที่เห็น หรือทำหน้าที่ได้ยิน เราก็บอกว่าตื่น

    ท่านอาจารย์ ตอนไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก มีจิตไหม

    ผู้ฟัง ตอนนั้นก็มีคิด

    ท่านอาจารย์ เกิดขึ้นทำหน้าที่อะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ทำหน้าที่อย่างอื่น

    ท่านอาจารย์ ทำหน้าที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก ทำหน้าที่ดำรงภพชาติ ยังมีอยู่ ยังเป็นอยู่ ยังไม่จากโลกนี้ไป เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นทำกิจแต่ละ ๑ กิจโดยเราไม่รู้เลย เพราะฉะนั้นการรู้ว่าไม่ใช่เรา ก็ทรงแสดงความละเอียดว่า แต่ละ ๑ จิต มีหน้าที่มีลักษณะเฉพาะของตนของตน

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 187
    19 ม.ค. 2568

    ซีดีแนะนำ