ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๔๓
สนทนาธรรม ที่ บัฟฟาโล รีสอร์ท อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการรู้ว่าไม่ใช่เรา ก็ทรงแสดงความละเอียดว่าแต่ละ ๑ จิตมีหน้าที่มีลักษณะเฉพาะของตนของตน ไม่สับสนไม่ปะปนกันเลย เพื่ออะไร ไม่มีเราเลยถ้ามีความเข้าใจละเอียดขึ้น และทรงแสดงด้วยว่าจิต ๑ ขณะ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ เพราะอะไร คือกลายเป็นว่า เป็นเราไปสรุปเอาเองว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรากำลังฟังปริยัติ แต่ธรรมที่เกิดขึ้นได้ยินแล้ว ก็คิดแล้วก็เข้าใจ เพราะฉะนั้นเข้าใจเป็นปัญญา ซึ่งเกิดจากการได้ยินได้ฟังแล้วก็คิด
ผู้ฟัง ฉะนั้นในเรื่องของการจงใจที่จะไปละเป็นเราทั้งนั้น
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ตลอดจนถึงความเป็นพระอรหันต์ จะไม่พ้นจากธรรมไม่ใช่เราใช่ไหมเป็นอนัตตา แต่ละ ๑ ก็คือมีปัจจัยเกิดแล้วดับ ไม่มีใครไปทำให้ได้เลย เพราะเหตุว่าไม่มีตัวตน แต่เป็นธรรมทั้งหมด คือจิตเจตสิกรูป ไม่ว่าจะหลับ จะตื่น จะเห็น จะได้ยิน จะรัก จะชัง จะทุกข์ จะสุข ทั้งหมดในชีวิตก็เป็นธรรม ซึ่งเป็นจิตเป็นเจตสิก เป็นรูป
ผู้ฟัง ความหลงผิดหรือความเข้าใจผิด มันช่างซับซ้อนลึกซึ้งเหลือเกิน
ท่านอาจารย์ แล้วก็ไม่ใช่แค่ชาตินี้ ไม่ใช่แค่ชาติไหนกี่ชาติมานับไม่ถ้วนเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอดีตชาติ ก่อนที่จะถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความไม่รู้ที่เรามีมากมายอย่างนั้นแหละ
ผู้ฟัง ความอดทนหรือความพยายาม เป็นทางที่จะไปให้เกิดปัญญาร่วม
ท่านอาจารย์ ความพยายามมีจริงๆ ไม่ใช่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ เห็นไหม เรากล่าวได้แต่ไม่ปรากฏ กำลังพูดมีความพยายามไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ วิริยะเจตสิกก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นธรรมที่ไม่ปรากฏ มากกว่าที่ปรากฏเท่าไหร่ มองเห็นทะเล ข้างใต้มีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ก็มองไม่เห็นนะ ใต้ทะเลมันก็จะมีอะไร
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ปรากฏเพียงแค่เห็น ไม่รู้ว่าก่อนเห็นมีอะไร หลังเห็นมีอะไร ปรากฏแต่ว่าได้ยิน ก่อนนั้นก็ไม่รู้ว่ามีอะไร กำลังหลับก็ยังไม่รู้ว่ามีอะไร ทั้งหมดอยู่ในความมืดซึ่งไม่รู้
ผู้ฟัง เราจะรู้ได้เฉพาะขณะนั้นเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคำว่าพุทธะคือผู้ตื่น คุณวีระลองคิดดูถ้าขณะนี้ไม่รู้อะไรเลย เหมือนหลับไหม
ผู้ฟัง เหมือนหลับ
ท่านอาจารย์ ไม่ตื่นเลย เพราะอะไรถ้าหลับไม่รู้ว่ามีอะไร หลับไปเรื่อยๆ จะรู้ไหมว่ากำลังหลับ
ผู้ฟัง ก็จะไม่รู้อะไรทั้งสิ้น
ท่านอาจารย์ หลับไปเถอะนานเท่าไรก็ไม่รู้ว่าหลับใช่ไหม ต่อเมื่อไหร่ตื่นถึงจะรู้ว่าไม่ใช่หลับ เพราะฉะนั้นความไม่รู้ทุกชาติทุกชาติทุกชาติ ก็เหมือนหลับ แต่รู้เมื่อไหร่ก็เหมือนตื่นจากความหลับ เพราะฉะนั้นจึงมีคำว่าพุทธะ ผู้ตื่นจากกิเลส จากความไม่รู้ ผู้เบิกบาน ผู้ดับกิเลสได้เพราะรู้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้เมื่อไหร่ก็เหมือนหลับ เพราะอะไร ในหลับมีฝัน มีทุกอย่างเหมือนจริงใช่ไหม เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีทุกอย่างเหมือนจริง แต่ความจริงมีอะไร มีสิ่งที่แค่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง ขณะนี้มีทุกอย่างเหมือนจริงก็เหมือนหลับ ก็ฝันถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้
ท่านอาจารย์ เหมือนมีจริง เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ก็เหมือนมีจริง แต่ความจริงไม่มี แค่เป็นธรรมที่เกิดดับ เหมือนฝันเลย
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่ตื่นอยู่ตราบใด ก็เหมือนคนที่ฝันไปเรื่อยเรื่อย แล้วก็ไม่รู้ว่าฝัน ยังไม่ตื่นจะรู้ได้ยังไงว่าไม่ใช่ฝัน ตื่นเมื่อไหร่ถึงจะรู้ว่าที่ตื่นนั่นแหละไม่ใช่ฝัน ฝันว่ามีเราชาตินั้นชาตินี้ พอตื่นขึ้นจริงหรือว่าไม่มี มีแต่ธรรมแต่ละ ๑
ผู้ฟัง น่าสงสารตัวเอง
ท่านอาจารย์ ซึ่งเกิดดับ ขณะนี้มีคุณวีระก็เหมือนฝัน พอรู้ความจริงไม่มีคุณวีระเลย มีเห็นซึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป มีได้ยินแล้วก็มีคิดเกิดขึ้น และดับไป ไม่มีคุณวีระ เพราะฉะนั้นมีคุณวีระเมื่อไหร่ ก็คือฝันว่ามี แต่ความจริงก็เป็นธรรมทั้งหมด
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดหมายความถึงว่า ขณะที่ฝันว่ามี หรือว่านึกว่ามี จริงๆ แล้วคือมันไม่มีอะไร
ท่านอาจารย์ ไม่มี เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังมี ตราบนั้นละกิเลสไม่ได้
ผู้ฟัง อ่อ
ท่านอาจารย์ ทุกคำต้องฟัง ไตร่ตรอง พิจารณา เพราะฉะนั้นจะรู้ว่าไม่มีเมื่อไหร่ เมื่อก่อนนั้นไม่มี แล้วก็เกิดขึ้นมี แล้วหามีไม่ ในสังสารวัฎฏ์จึงรู้ว่าไม่มี เพียงแค่เกิดขึ้นนิดเดียว ปรากฏว่ามี เพียงแค่เล็กน้อยแสนสั้น แต่ต้องเป็นปัญญาที่ประจักษ์จริงๆ จึงรู้ว่าไม่มี แล้วก็รู้ว่าทั้งหมดในสังสารวัฎฏ์ หลงติดข้องในสิ่งที่ความจริงไม่มี แต่หลงเข้าใจว่ามีอยู่ตลอดทุกชาติ ชาตินี้มีอย่างนี้
ผู้ฟัง จริงด้วย
ท่านอาจารย์ เหมือนชาติก่อนใช่ไหม ก็เป็นอย่างนี้ เห็นได้ยินบ้างอะไรบ้าง แต่ชาติก่อนอยู่ไหน
ผู้ฟัง ไม่มีอีกแล้ว
ท่านอาจารย์ แล้วก็ชาติหน้า
ผู้ฟัง ก็ยังไม่มี
ท่านอาจารย์ รู้เลยว่าไม่มีชาติที่กำลังเป็นเดี๋ยวนี้ เพราะว่าหมดแล้ว แต่ต้องถึงชาติหน้า แต่ถ้ายังไม่ถึงชาติหน้าก็คิดว่ามีจริงๆ คุณวีระกลับไปหาคนที่เคยเป็นในชาติก่อนได้ไหม ก่อนจะเป็นคุณวีระ
ผู้ฟัง ก็ไม่มีแล้วคนนั้น
ท่านอาจารย์ ถ้าประจักษ์แจ้งจริงๆ ในการเกิดดับของแต่ละ ๑ ชัดเจน ไม่ใช่คุณวีระทั้งตัวทั้งชาติ แต่แต่ละ ๑ เกิดขึ้น และดับไป เมื่อนั้นก็เข้าใจพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าการที่จะพูดคำว่าอนัตตา การที่จะรู้ว่าไม่ใช่เรา ไม่มีเรา ไม่ใช่ของเรา ก็ต้องด้วยปัญญาที่ประจักษ์ความจริง แต่ฟังไว้ก่อน เข้าใจทีละเล็กทีละน้อยไว้ก่อน จนกว่าจะเข้าใจขึ้น ว่าความจริงเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไม่ได้
ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มาก
อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีปัญญานี่จะไม่เห็นธรรม ตามความเป็นจริงเลย เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้เป็นผู้ตื่น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม ว่าแต่ละคำที่พระองค์ตรัสกว่าเราจะเข้าใจได้จริงๆ คุณของการที่สามารถเข้าใจคำนั้นได้ จากคำของพระองค์ นี่มากมายมหาศาลแค่ไหน แล้วถ้าเข้าใจผิด คือทำลายคำสอนของพระองค์ ไม่ให้คนอื่นสามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง แล้วก็เห็นคุณ แล้วก็หน้าที่ก็คือว่า สิ่งใดผิดก็ต้อง เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาให้รู้ทั่วกันว่าสิ่งนั้นผิดเพื่อประโยชน์เขาจะได้ไม่ผิด
อ.กุลวิไล กราบเรียนท่านอาจารย์ ถ้าหากเป็นผู้ตื่นนี่ก็คือ ตื่นจากความที่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะว่าธรรมก็เป็นสิ่งที่มีจริง และแน่นอนสิ่งเหล่านี้เกิดแล้วต้องดับไป
ท่านอาจารย์ ถ้ากำลังนอนหลับ และฝันจะรู้ไหมว่าฝัน ไม่มีทางรู้เลย ไม่มีทางเหมือนจริงใช่ไหม ตลอดไป พอตื่นเมื่อไหร่จึงรู้ว่าฝัน ไม่มี เพราะฉะนั้นกำลังไม่รู้ก็คือฝันว่ามี จนกว่าจะรู้ว่าความจริงเราจริงๆ ไม่มี มีแต่ธรรม
อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้นที่ท่านกล่าวถึงกันว่าปล่อยวาง หรือว่าละวางที่ท่านอาจารย์ให้ความเข้าใจตอนต้นว่า แม้นการละวางหรือปล่อยวาง ก็คือปล่อยวางจากการที่ไม่รู้ว่าเป็นธรรมนั้น
ท่านอาจารย์ เห็นเป็นเรา ปล่อยวางไม่ใช่เรา ถ้ายังเป็นเรา วางหรือเปล่า ไม่ได้วางเลย ก็ยังเหมือนเดิมคือเป็นเรา แต่นี้วางจากการที่หลงผิดว่าเป็นเรา ทั้งหมดทุกวันทุกอย่างด้วย
อ.กุลวิไล ดังนั้นขณะนี้เองก็ยึดถือ สิ่งที่มีจริงว่าเป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ยังไม่ปล่อยวาง
ท่านอาจารย์ ก็ฝัน ฝันว่าเป็นเรา แล้วก็ต้องรู้ด้วย ว่าปล่อยวางไม่ใช่เรา แต่เป็นความเข้าใจถูก ความเห็นถูก เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีจากการฟังให้เข้าใจ ก็หมดหนทางที่จะปล่อยวาง ก็ฝันเรื่อยไปในสังสารวัฏฏ์ไม่ตื่น
ผู้ฟัง คำกล่าวที่ว่า ปรมัตถธรรมในชีวิตประจำวัน บดบังบัญญัติ แล้วอย่างที่เราเห็นอยู่ แล้วบัญญัติบดบังเห็นยังไงล่ะท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ถ้าเห็นเกิดแล้วดับ จะมีคนมีสิ่งที่ปรากฏเป็นดอกไม้ เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ไหม เพราะแค่เห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น กว่าจะเป็นคุณเบน ลองแยกออกไปสิ แตกละเอียดได้ใช่ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ แต่พอมารวมกันเป็นคิ้วเป็นตาเป็นผม เป็นรูปร่างเป็นสัณฐานสภาพจำ เพราะไม่ประจักษ์การเกิดดับ ก็ยึดถือว่าสิ่งนั้นไม่ได้ดับไปเลย มีจริงๆ แต่ความจริง สิ่งใดที่เกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปไม่กลับมาอีกเลย สิ่งที่เห็นก็คือการเกิดดับสืบต่อของสิ่งที่มีจริงๆ ที่ปรากฏให้เห็นทางตา แต่ขณะนี้ไม่รู้ว่าแต่ละ ๑ เกิดแล้วดับแล้ว ลวงไหม ให้เห็นว่ายังนั่งอยู่ตรงนี้ ยังเป็นคนนี้ ยังเป็นโต๊ะอย่างนี้
ผู้ฟัง สมมติว่าดิฉันเห็นอาจารย์ธีรพันธ์เป็นรูปร่างอย่างงี้ใช่ไหม ก็เห็นน่ะ แล้วบัญญัติมัน
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา จะมีคุณธีรพันธ์ให้เห็นไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพียงแค่ ๑ เดียว จะเป็นคุณธีรพันธ์ไหม
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ กว่าจะเป็นคุณธีรพันธ์ เห็นไหม อะไรบ้าง กว่าจะเป็นคุณธีรพันธ์ มีคิ้วมีตามีผมมีเสื้อมีทุกอย่าง ถ้าเห็น ๑ จะเป็นคุณธีระพันธ์ไหม
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ แต่พอรวมกันแล้วเป็นคุณธีรพันธ์ จำได้ รูปร่างสัณฐาน พอไม่ใช่คุณธีรพันธ์ก็เห็นคุณสงบ เห็นไหม ทำไมรู้ว่าเป็นคุณสงบ ไม่ใช่คุณธีรพันธ์ ต้องเห็นตั้งเท่าไหร่กว่าจะเป็นคุณสงบ ต้องเห็นตั้งเท่าไหร่กว่าจะเป็นคุณกุลวิไล เพราะฉะนั้นเห็น ๑ ขณะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาต้องเกิดจึงกระทบตา และตาก็ต้องเกิดด้วย ถ้าไม่มีตาเกิดขึ้น สิ่งนี้ก็กระทบตาไม่ได้ เห็นก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ เล็กน้อยแค่ไหนเป็นแต่ละ ๑ แล้วก็เกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ แต่พระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถที่จะประจักษ์สิ่งที่เกิดดับ เร็วสุดที่จะประมาณได้ เป็นแต่ละ ๑ และแต่ละ ๑ ในประกอบด้วยอะไร อย่างแค่ตา จักขุปสาทรูปต้องมีรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม จึงจะมีสีสันวรรณะปรากฏเมื่อกระทบตาได้ ทุกอย่างแค่แต่ละ ๑
ผู้ฟัง แต่ทีนี้หมายความว่าบัญญัติปิดบังปรมัตถ์ ท่านอาจารย์ว่า
ท่านอาจารย์ นี่ใคร
ผู้ฟัง อาจารย์ธีระพันธ์
ท่านอาจารย์ เห็นไหม ความจริงเป็นหรือเปล่า หรือเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น
ผู้ฟัง หมายความว่าชื่ออาจารย์ธีรพันธ์บดบัง
ท่านอาจารย์ แค่จำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็สนใจก็คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะความจริงแค่เป็นสิ่งที่แค่ปรากฏ หลับตาแล้วไม่มี แต่สิ่งนี้ดับก่อนหลับตา
ผู้ฟัง ถึงไม่หลับตา
ท่านอาจารย์ ก็ดับ แล้วทรงแสดงไว้ว่า จิตเห็น ๑ ขณะเกิดขึ้น แต่จิตที่เกิดต่อจากจิตเห็นรูปนั้นยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดต่อก็รู้รูปนั้น เพราะจิตเห็นได้เกิดขึ้นเห็น เพราะฉะนั้นสัญญาความจำสืบต่อ และมีสิ่งนั้นปรากฏให้จำไว้ แล้วก็ไม่รู้ว่าดับไปแล้วด้วย เพราะมีสิ่งอื่นเกิดสืบต่อ ก็เหมือนกับว่ามีเพียงสิ่งเดียวที่ยั่งยืน
ผู้ฟัง เพราะว่าจำ
ท่านอาจารย์ เพราะจำ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นถ้าอธิบายว่า บัญญัติปิดบังปรมัตถ์ ก็คือจำไว้ว่าเป็นอาจารย์ธีรพันธ์ คือชื่ออาจารย์ธีรพันธ์ ที่บดบังสภาพปรมัตถ์ ที่ประกอบกันเป็นอาจารย์ธีรพันธ์
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่รู้จักชื่อก็ยังคงเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด คือคนหรือดอกไม้หรือโต๊ะหรือเก้าอี้ เพราะจิตเกิดขึ้นเห็นนับไม่ถ้วน ทำให้สิ่งที่ปรากฏรวมกันเป็นนิมิตตะ ปรากฏเป็นสัณฐาน สิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สภาพที่จำ ค่อยๆ จำว่าเป็นสิ่งนั้น จำว่าเป็นโต๊ะ จำว่าเป็นดอกไม้ จำว่าเป็นคน จำว่าเป็นเก้าอี้นี่คือสภาพจำ เพราะไม่รู้ความจริงว่าสภาพธรรมเกิด แต่จำต่อกันจนกระทั่งเหมือนไม่ดับเลย
ผู้ฟัง ถ้าเกิดว่าไม่มีความจำเลย นี่ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น
ท่านอาจารย์ ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ว่าคุณเบนจะไม่ให้แข็งเกิดขึ้นเป็นแข็งได้ไหม
ผู้ฟัง อ๋อไม่ได้แน่นอน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะไม่ให้สภาพจำเกิดขึ้นจำได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ คำว่าอนัตตารวมทุกอย่าง ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา จะให้จำ เป็นกลิ่นได้ไหม จำก็ต้องเป็นจำ กลิ่นก็ต้องเป็นกลิ่น เพราะฉะนั้นทุกอย่างหมดเป็นธรรมแต่ละ ๑ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ นี่คือความหมายของธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม มีลักษณะซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงใช้คำว่าธาตุ หรือธาตุ ทรงไว้ซึ่งลักษณะนั้นๆ ของตน ไม่มีใครสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นถ้าเราบอกว่าเราเห็นดอกไม้ นี่ก็คือบัญญัติ
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเลย
ผู้ฟัง ทั้งหมดเลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอยู่ในโลกของบัญญัติ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นในโลกของบัญญัติ กับที่ฝันเมื่อกี้ที่พูดกัน ก็คือ ก็เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเลย เพราะไม่รู้ความจริงแต่ละ ๑ ว่าไม่มีดอกไม้ก็ไม่มี ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่เกิดดับรวมกันจนปรากฏเป็นนิมิตตะ สีสันต่างๆ ทำให้รู้ว่าดอกกุหลาบ ไม่ใช่ใบกุหลาบ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ใครๆ ก็ได้ยินคำว่าขันธ์ ๕ แต่ทำไมจากขันธ์ ๕ ทำไมถึงมีอะไรที่มันมากมาย เกินที่จะเชื่อว่ามาจากขันธ์ ๕
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขันธ์คืออะไร มีจริงหรือเปล่า เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง มีจริง เป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเยอะไหม ดับไปแล้วก็ไม่กลับไปอีก นับประมาณได้ไหมว่าเท่าไหร่
ผู้ฟัง ประมาณไม่ได้
ท่านอาจารย์ คือแต่ละ ๑ คือ ๑ จะประมาณได้ยังไงใช่ไหม มากมายจนกระทั่งว่า ประมวลได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ใหญ่ยังไง สภาพใดก็ตามที่เกิดไม่ใช่สภาพรู้ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เป็นประเภทหนึ่ง ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ต่างกันโดยสิ้นเชิงโดยเด็ดขาด ว่าไม่สามารถจะรู้อะไรได้ แต่มี แต่อีกสภาพ ๑ เกิดขึ้นต้องรู้ไม่รู้ไม่ได้ แต่ไม่มีรูปร่างใดๆ เลยทั้งสิ้น มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นโดยประเภทใหญ่ๆ แม้ว่าธรรมแต่ละ ๑ นับไม่ถ้วนประมาณไม่ได้ แต่ก็จำแนกเป็นประเภท ว่าธรรมประเภทที่เกิดขึ้นแต่ไม่รู้เป็นรูปธรรม แต่ถ้ามีแต่รูปธรรมโลกก็ไม่ปรากฏ อะไรก็ไม่ปรากฏ เพราะไม่มีสภาพรู้ แต่จะไม่ให้สภาพรู้เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นมีธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้ เกิดขึ้นต้องรู้ รู้อะไร ก็รู้สิ่งที่มี เพราะฉะนั้นเมื่อมีรูปกระทบตา จะไม่เห็นคือรู้สิ่งนั้นหรือ ในเมื่อเป็นรูปที่สามารถกระทบกับตา ไม่ให้ตาเกิดก็ไม่ได้ ไม่ให้สีสันวรรณะกระทบก็ไม่ได้ กระทบแล้วเดี๋ยวนี้เห็นแล้วด้วย แล้วก็หมดแล้วด้วยแต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นพอฟังธรรม เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคำจริงวาจาสัจจะ เพราะฉะนั้นคุณธีรพันธ์เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ ธรรมอะไร
ผู้ฟัง เยอะแยะมากมายท่านอาจารย์ เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ก็เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ประมวลแล้วเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นจิตเจตสิกรูป
ท่านอาจารย์ เป็นรูปธรรมกับนามธรรม ๒
ผู้ฟัง สองใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แต่นามธรรมมี ๒ อย่าง แยกออกเป็นจิตเจตสิก คุณธีรพันธ์มีจิตไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มีเจตสิกไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มีรูปไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่ว่าเป็นคุณธีรพันธ์ ถ้าไม่มีจิตเจตสิกรูป จะมีคุณธีรพันธ์ไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความจริงเป็นคุณธีรพันธ์ หรือเป็นจิตเจตสิกรูป
ผู้ฟัง เป็นจิตเจตสิกรูป เพราะฉะนั้นก็
ท่านอาจารย์ เกิดดับหรือเปล่า
ผู้ฟัง เกิดดับ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดว่า อาจารย์ธีรพันธ์เป็นแค่จิตเจตสิกรูป เพราะฉะนั้นคนอื่นๆ ก็เป็นเช่นเดียวกันอย่างนี้หมด
ท่านอาจารย์ ธรรม ๑ เกิดขึ้นเป็นธรรมนั้น เปลี่ยนไม่ได้ รูปเป็นรูป จิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก เป็นแต่ละ ๑ เจตสิกแต่ละ ๑ หลากหลายมากเป็น ๕๒ ประเภท แต่ ๕๒ ประเภทประมาณระดับของ ความเป็นธรรมมากหรือน้อย ของธรรมนั้นๆ ไม่ได้เลยตั้งแต่มีความพอใจโดยไม่รู้ตัวเลย จนกระทั่งเป็นความพอใจที่สามารถจะปรากฏให้รู้ได้ ก็ต่างกันแล้วใช่ไหม
ผู้ฟัง ต่าง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแต่ละ ๑ เป็นธรรมที่มีจริง เกิดแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีก ถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างมั่นคง ละความยึดถือไม่ได้ รู้ว่าธรรมคืออะไร และอะไรเป็นธรรม ให้มั่นคงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ก็คุ้มกับการที่จะนั่งฟังทั้งเช้าทั้งบ่าย เพราะเหตุว่าไม่ว่าจะฟังเรื่องอะไร ก็ไม่พ้นจากนี่แหละคือสิ่งที่มีจริงนี้แหละ ค่อยๆ เข้าใจละเอียดขึ้นละเอียดขึ้นไม่ใช่ไปนั่งจำชื่อ แต่เข้าใจทุกคำที่ได้ยินได้ฟัง ไม่ว่าจะได้ยินคำไหนเช่นคำว่า ขันธ์ต่อไปนี้รู้แล้วก็ ธรรมนั่นเองที่เกิดดับ เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่เกิดดับเป็นขันธ์ทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นที่ว่าเป็นเราก็คือขันธ์ใช่ไหม และประเภทใหญ่ๆ ก็คือนามขันธ์กับรูปขันธ์ แต่ว่านามขันธ์ตามการยึดถือต่างกันเป็น ๔ เพราะฉะนั้นเป็นรูปขันธ์ ๑ นามขันธ์ ๔ จึงเป็นขันธ์ ๕ ตามความยึดถือ เพราะฉะนั้นยึดถือรูปธรรมไม่สงสัยแล้วใช่ไหม ทั้งตัวนี่ติดข้องมากเป็นรูปขันธ์ เวลาที่เราเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เรามีความรู้สึกในสิ่งนั้นแน่ๆ บางทีก็ไม่ค่อยสนใจก็เฉยๆ ใช่ไหม แต่บางครั้งก็ชอบ และบางครั้งก็ไม่ชอบ ชอบมีจริงไหม ไม่ชอบมีจริงไหม เฉยๆ มีจริงไหม เจ็บไข้ได้ป่วยทุกข์กายมีไหม เวลาไม่ทุกข์กายแต่สบายกายมีไหม เป็นความรู้สึก เพราะฉะนั้นไม่ใช่รูปใช่ไหม เพราะรู้สึกจึงเป็นนามธรรม เป็นเจตสิกไม่ใช่จิต เพราะจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้เท่านั้น วันหนึ่งวันหนึ่งที่จะรู้ว่าจิตเมื่อไหร่ก็คือ ขณะเห็น ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น ขณะลิ้มรส ขณะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ขณะคิดนึก นอกจากนั้นแล้ว นามธรรมอื่นเป็นเจตสิกทั้งหมด จำมีจริงไหม เป็นเราหรือเปล่า เป็นธรรม เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม เป็นขันธ์หรือเปล่า ความรู้สึกสำคัญไหม เกิดมานี่ความรู้สึกสำคัญไหม
ผู้ฟัง สำคัญ
ท่านอาจารย์ มีแต่คนต้องการสุขใช่ไหม ทำไมมีโรงแรมที่สบาย จะได้เป็นสุขใช่ไหมนอนสบายทุกอย่างหมด เพราะฉะนั้นเวทนาความรู้สึก เป็นสิ่งที่ติดข้องอย่างมาก ยึดมั่นอย่างมาก แสวงหาอย่างมาก เกิดมาแล้วมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคนเป็นสัตว์ต้องการแต่ความรู้สึกที่เป็นสุข ซึ่งเป็นเจตสิกไม่ใช่เรา เกิดเมื่อไหร่ต้องรู้สึกอย่างหนึ่งอย่างใด เช่นเดี๋ยวนี้ถ้าถามรู้สึกยังไง ลองตอบสิ ถ้าไม่สุขก็ทุกข์ ถ้าไม่เป็นทุกข์กายทุกข์ใจสุขกายสุขใจก็เฉยๆ แม้แต่คำต่อว่าเฉยๆ ก็เป็นความรู้สึกที่ไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นจึงมีคำว่าอทุกขมสุขเวทนา ไม่สุขไม่ทุกข์เป็นภาษาบาลี เพราะฉะนั้นแต่ละคำได้พอเข้าใจแล้วก็เพิ่มความจำได้ใช่ไหม ว่าเราเรียกว่าอุเบกขา ความไม่หวั่นไหว มีหลายอย่าง ไม่ใช่แต่เฉพาะความรู้สึกอย่างเดียว ยังมีอย่างอื่นอีกด้วย แต่ว่าสำหรับความรู้สึกนี่ถ้าจะให้ตรงก็คืออทุกขมขสุเวทนา แต่ถ้ายาวไปก็เรียกอุเบกขา คือไม่สุขไม่ทุกข์เฉยๆ เป็นเราหรือเปล่า ต้องการไหม สุข เพราะฉะนั้นถ้าเกิดมาแล้ว เห็นก็ตามการเห็นสิ่งที่นำความสุขมาให้ รสอาหารก็ต้องการรสอาหารที่นำความสุขมาให้ ของหวานของคาวสารพัดจะปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นการที่จำแนกธรรมทั้งหมดมากมาย นี่เป็นขันธ์ ๕ ก็เพื่อให้เข้าใจขึ้นว่าสิ่งที่สำคัญ ที่เป็นที่ตั้งของความยึดถือ คือรูปธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูกลิ้น กาย เป็นรูปขันธ์เป็นอุปาทานขันธ์ เพราะฉะนั้นรวมคำว่ารูปะ อุปาทานกับขันธ์ ก็เป็นคำเดียวว่ารูปูปาทานขันธ์
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260