ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๔๔
สนทนาธรรม ที่ บัฟฟาโล รีสอร์ท อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นรวมคำว่ารูป อุปาทานกับ ขันธ์ ก็เป็นคำเดียวว่ารูปูปาทานขันธ์ จะจำก็ได้ไม่จำก็ได้ แต่รูปซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดถือ ความยึดถือในภาษาบาลีคืออุปาทาน เพราะฉะนั้นรูปซึ่งเป็นที่ตั้งของความยึดถือ ไม่ก็เป็นรูปูปาทาน และก็เป็นขันธ์คือเกิดดับด้วย เพราะฉะนั้นเรียกรูปขันธ์ก็ได้ เรียกรูปธรรมก็ได้ เรียกรูปูปาทานขันธ์ก็ได้ เพราะว่าใครบ้างไม่ยึดถือในรูป ยึดถือในรูปเพราะรูปนำความรู้สึกเป็นสุขมาให้ เพราะฉะนั้นเรายึดถือในความรู้สึก พราะฉะนั้นเวทนาสำคัญมาก เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นด้วย รวมกับคำว่าอุปาทาน รวมกับคำว่าขันธ์ ก็เป็นเวทนูปาทานขันธ์ ภาษาบาลีไม่ยากแต่สำหรับชาวมคธ สำหรับเราถ้าเข้าใจแล้วก็จำได้ ไม่พูดก็ได้แต่พูดก็รู้ พอใครพูดถึงรูปขันธ์เราก็รู้ พอพูดถึงเวทนาขันธ์เราก็รู้ เวลาพูดถึงอุปาทานี่ขันธ์เราก็รู้ แต่ต้องเข้าใจไม่ใช่ไปท่อง แล้วก็ไปจำ โดยที่ไม่เข้าใจ นั่นไม่มีประโยชน์ จำได้ใช่ไหม เวลาสุข สุขเพราะอะไร ชอบข้าวเหนียวทุเรียนไหม สุขใช่ไหม สภาพที่จำ จำรส สภาพที่จำ จำกลิ่น สภาพที่จำ จำสีสันวรรณะ จำหมดเลย แต่ไม่ใช่จิตเป็นเจตสิก ต้องไม่ลืมว่าจิตเห็น แต่เห็นแล้วชอบหรือไม่ชอบ จำหรืออะไรก็ตามแต่เป็นเจตสิกทั้งหมด เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท แล้วก็แล้วแต่ว่าขณะนี้เจตสิกอะไรปรากฏ เจตสิกที่เกิดดับโดยที่ไม่ปรากฏนี่เยอะมาก
เพราะฉะนั้นก็ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มีว่า สภาพจำนี่มีแน่ๆ จำว่านี่ใครใช่ไหม จะว่าเป็นเราจำด้วยว่านั่นอะไรนี่อะไร จำหมดเลยทุกอย่าง และก็ยึดถือมั่นคงใช่ไหม นี่ต้องเป็นคุณกุลวิไล จำแม่นเลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็เป็นการยึดถือด้วยการจำ ภาษาบาลีไม่ใช้คำว่าจำ แต่ใช้คำว่าสัญญาเจตสิก เป็นสภาพที่จำ ภาษาไทยเราก็มาสัญญากันจะได้ไม่ลืม ถึงกับทำสัญญาเพื่อไม่ให้ลืมด้วย แต่ว่าสัญญาก็เป็นสภาพจำ ไม่ต้องไปทำสัญญา ก็จำแล้ว เพราะว่าสภาพนี้เกิดขึ้น ห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เกิดแล้วทำหน้าที่อื่นก็ไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วจำ เพราะฉะนั้นจำไม่ใช่เรา จำเป็นธรรม จำเป็นนามธรรมเป็นธาตุรู้ จำไม่ใช่จิตแต่เกิดกับจิตทุกขณะเลย เพราะฉะนั้นยึดมั่นเพราะจำ ด้วยเหตุนี้สภาพที่จำก็เป็นเราจำใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็เป็นสัญญาที่เป็นอุปทานขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ๒ เจตสิกละ เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท ที่เหลือเป็นสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้นพอบอกว่าสังขารขันธ์ นี่คนฟังเข้าใจ เจตสิกไม่ใช่เรา ๕๐ ประเภท ไม่ใช่ให้ท่องแต่ให้เข้าใจ ขันธ์ ๕ รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ อีก ๑ ขันธ์ คือวิญญาณขันธ์ ครบ ๕ เกิดพร้อมกันทั้ง ๕ ขันธ์ ในภูมิที่มีรูปธรรม จิตต้องเกิดที่รูปไม่ได้เกิดนอกรูปเลย เพราะฉะนั้นจะบอกว่าวิญญาณล่องลอยได้ไหม วิญญาณไม่ได้ไปไหน
วิญญาณเป็นอีกคำหนึ่งของจิต หมายความถึงสภาพที่รู้ รู้ทางตาก็ใช้คำว่าจักขุวิญญาณ รู้ทางหูก็ใช้คำว่าโสตวิญญาณ รู้ทางจมูกภาษาบาลีเรียกว่าฆาน เพราะฉะนั้นจิตที่กำลังได้กลิ่น ก็เป็นฆานวิญญาณ พอพูดคำว่าโสตวิญญาณต้องไม่ใช่เรา แต่ว่าความเข้าใจไม่พอ พูดไปก็ยังเป็นเราใช่ไหม จนกว่าจะมั่นคงว่า เมื่อพูดแล้วความเข้าใจระดับไหน เพราะฉะนั้นทุกคำก็แสดงความจริงว่า เป็นผู้ที่ตรงพูดได้แต่เข้าใจแค่ไหน ความเข้าใจแค่นั้นยังไม่พอที่จะละกิเลส แต่ว่าสามารถที่จะเข้าใจขึ้นได้ โดยไม่ท้อถอย โดยไม่ใช่ความเป็นเรา แต่รู้ว่าการที่มีคำว่าอารมณ์ของบิดา อารมณ์นี่เป็นคำใหม่แล้วใช่ไหม จิตเป็นสภาพรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ถูกรู้ ภาษาบาลีใช้คำว่าอารัมมนะ แต่คนไทยพูดสั้นๆ ว่าอารมณ์ เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นต้องรู้ สิ่งที่ถูกรู้นั้นคืออารมณ์ จิตเกิดขึ้นโดยไม่รู้อารมณ์ได้ไหมไม่ได้ จะมีอารมณ์โดยไม่มีจิตได้ไหม เพราะฉะนั้นเสียงที่ไม่เป็นอารมณ์มีไหม เสียงที่ไม่ได้ยินเยอะเลย ไม่ใช่อารมณ์ แต่เสียงที่กำลังปรากฏเท่านั้น ที่เป็นสัททารมณ์ เป็นเราหรือเปล่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเปล่า ฟังธรรมเพื่อให้มีความเข้าใจมั่นคงขึ้นว่าไม่มีเรา แต่มีธรรม
เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงคำว่าขันธ์อะไรก็ตาม จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ก็หมายความถึงสิ่งที่เกิดแล้วดับ นั่นคือความหมายของคำว่าขันธ์ รูปก็เกิดแล้วดับ ไม่ว่ารูปอะไรทั้งหมด เสียงก็เกิดแล้วดับ กลิ่นก็เกิดแล้วดับ รูปทุกอย่างเกิดแล้วดับเป็นรูปขันธ์ เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงขันธ์ ก็หมายความทุกอย่างที่มีที่ปรากฏ เพราะเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ที่ดับไป แต่ความจริงเกิดก็ไม่รู้ ดับก็ไม่รู้ รู้ว่ามี ความไม่รู้มีแค่ไหน เห็นไหม กว่าจะรู้ว่าสิ่งที่มีนี่ เกิดแล้วก็มีปัจจัยให้เกิดด้วย เกิดตามใจชอบก็ไม่ได้ ต้องเป็นไปตามปัจจัย เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหมด เกิดเป็นไปตามปัจจัย แล้วก็ดับเป็นขันธ์ทั้งหมดเลย กำลังได้ยินเห็นไหม ต้องรู้สิ่งที่มี ต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้น จึงจะกล่าวว่าไม่ใช่เรา เพราะความจริงไม่ใช่เรากว่าจะรู้ได้นี่ไม่ง่ายเลย ต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ ตามลำดับ ตั้งแต่ต้นเลยว่าคืออะไร ได้ยินมีจริงที่กำลังรู้เสียง ได้ยินคือรู้ว่าเสียงที่ได้ยินมีลักษณะอย่างไร เสียงกลองไม่ต้องเรียกกลอง ก็เป็นเสียง ๑ เสียงระฆังไม่ต้องเรียกว่า เสียงระฆังก็เป็นอีกเสียง ๑
เพราะฉะนั้นสภาพที่ได้ยินเสียง ไม่มีหน้าที่อะไรเลยทั้งสิ้น แค่เกิดขึ้นได้ยิน คือรู้เฉพาะเสียงที่ปรากฏ ไม่ต้องบอกว่าเสียงดนตรีประเภทไหน หรือเสียงใคร เฉพาะเสียงแท้ๆ เสียงจริงๆ ที่กำลังได้ยิน เพราะฉะนั้นได้ยินเป็นธาตุรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งเสียง ชัดเจน บางคนก็คิดว่าพอพูดว่าโสตวิญญาณจะเข้าใจดี แต่ได้ยินกับโสตวิญญาณ อะไรจะเข้าใจมากกว่ากัน ตัวธรรมไม่ใช่ชื่อ ต้องได้ยิน เพราะฉะนั้นตราบใดที่เราตอบได้ว่าโสตวิญญาณ ยังไม่ชัดเจนเท่ากับได้ยินนี่แหละมีจริงๆ แต่ไม่ใช่เรา เพราะว่าขณะนั้นไปจำชื่อว่า โสตวิญญาณใช่ไหม แต่พอบอกว่าได้ยิน เราไม่ได้คิดถึงคำ แต่กำลังนึกถึงขณะที่กำลังได้ยิน มีสภาพที่ได้ยินจริงๆ นั่นแหละไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าไม่ใช่เรา ได้ยินเกิดเพราะมีเสียงกระทบหู แล้วได้ยินก็กำลังได้ยินเสียงที่กระทบหูเท่านั้น เหมือนรสกระทบลิ้น หวาน ไปบอกคนอื่นว่าหวานแค่ไหน หวานน้ำตาลหรือว่าหวานอะไรก็ตั้งหลายหวาน ต่างๆ กันไป ปรากฏกับจิตที่กำลังลิ้มรสเท่านั้น ไม่สามารถที่จะไปพรรนณให้คนอื่นได้รู้รสนั้น เท่ากับขณะที่จิตกำลังลิ้มรสนั้น
เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ทำหน้าที่อื่นเลย ภาษาบาลีก็ใช้คำว่าวิญญาณะ แต่เนื่องจากเป็นสภาพที่เกิดดับ ทุกอย่างที่เกิดดับใช้คำว่าขันธ์ หมายความว่าขันธ์ที่ดับเป็นอดีต ฉะนั้นที่ยังไม่เกิดแต่จะเกิดเป็นอนาคต แต่ขันธ์ที่กำลังมีขณะนี้เป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเมื่อมีการเกิดดับจึงเป็นอดีต เมื่อล่วงลับไปแล้วหมดสิ้นไปแล้ว แต่เป็นอนาคตเมื่อยังไม่เกิดแต่จะเกิด ขณะกำลังปัจจุบันคือไม่ใช่อดีตไม่ใช่อนาคต แต่ทุกอย่างที่เกิดดับต้องเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต จึงใช้คำว่าขันธ์ และยังมีภายในภายนอกอีกใช่ไหม มีหยาบมีละเอียดอีก ก็คือหมายความถึงสภาพที่เกิดแต่ละ ๑ ไม่ซ้ำ ไม่เหมือนกัน หลากหลายมากประมาณไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็รวมประเภทเป็นรูปขันธ์ และจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้ง เฉพาะสิ่งที่กำลังปรากฏกับจิต ซึ่งขณะนั้นก็ต้องมีเจตสิกเกิดพร้อมกัน แล้วก็ดับพร้อมกัน แต่เจตสิกไม่ใช่จิต เจตสิกหลากหลายเป็น ๕๒ ประเภท ความรู้สึกก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่งคือไม่ใช่เรา ทั้งหมดคือไม่ใช่เรา เพียงเข้าใจขันธ์ ก็จะนำไปสู่การเข้าใจถูกต้องว่าไม่มีเรา แต่ต้องเริ่มต้น และเข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นเข้าใจธรรมไม่ใช่จำ แต่เข้าใจแล้วจำด้วย ไม่ต้องท่อง เพราะจำเกิดพร้อมกับเข้าใจ มีเข้าใจผิดไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
ผู้ฟัง อกุศล
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจผิดเป็นขันธ์อะไร
ผู้ฟัง เข้าใจผิดเป็นสังขารขันธ์
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เวทนาขันธ์ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ไม่ใช่รูปขันธ์ ไม่ใช่สัญญาขันธ์ แต่เข้าใจผิดเป็นสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้นต้องชัดเจน จำอย่างเดียวเป็นสัญญาขันธ์ ไม่ว่าจะจำอะไรทั้งนั้น จำชื่อจำก็เป็นสัญญาขันธ์ จำเรื่องจำอะไรทั้งหมด สภาพที่จำเป็นสัญญาขันธ์ไม่ใช่เรา ถ้าเป็นความรู้สึกไม่ว่าความรู้สึกใดๆ ทั้งหมดเลย จะสุขจะทุกข์จะเฉยๆ ก็ไม่ใช่เรา แต่เป็นอีกเจตสิก ๑ เรียกก็ได้ไม่เรียกก็ได้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าเวทนาขันธ์ เราก็เข้าใจว่าหมายความถึงความรู้สึก ส่วนไม่ชอบมีจริงไหม
ผู้ฟัง มีจริง
ท่านอาจารย์ เกิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง เกิด
ท่านอาจารย์ ดับหรือเปล่า
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ เป็นขันธ์รึเปล่า
ผู้ฟัง เป็นขันธ์
ท่านอาจารย์ เป็นขันธ์อะไร
ผู้ฟัง สังขารขันธ์
ท่านอาจารย์ เว้นจากเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ แล้วที่เหลือทั้งหมดเป็นสังขารขันธ์ จิตเป็นสภาพรู้
ผู้ฟัง จิตเป็นสภาพรู้
ท่านอาจารย์ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้ เพราะฉะนั้นทางตาขณะนี้ เห็นนี่เป็นใหญ่เป็นประธาน รู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏนี่่เป็นอย่างนี้ เวลาลิ้มรส รสก็เป็นอย่างนี้ เวลาได้ยินเสียงก็เสียงที่ได้ยินเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏให้รู้ จะหวานจะเค็มสักเท่าไหร่ จิตก็รู้แจ้งในลักษณะนั้น สภาพที่รู้แจ้งเป็นจิต เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง ถ้าไม่มีจิตเกิดขึ้นรู้ ชอบไม่ชอบก็เกิดไม่ได้ จำก็เกิดไม่ได้ รู้สึกก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน แต่สภาพธรรมอื่นซึ่งเกิดกับจิต ก็จำในสิ่งที่จิตเห็น ชอบในสิ่งที่จิตเห็น หรือไม่ชอบในสิ่งที่จิตเห็น ก็แล้วแต่ แต่ไม่ใช่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังดับ ละเอียดไหม ธรรม
ผู้ฟัง ละเอียด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นกว่าจะไม่ใช่เรา ต้องเข้าใจ ไม่ใช่จำ แต่ต้องเข้าใจค่อยๆ เข้าใจขึ้นมั่นคงขึ้น เพราะฉะนั้นระหว่างนี้ก็ยังไม่ค่อยจะชัดเจน ในเรื่องชื่อ แต่ว่าไม่ใช่เพียงชื่อ ต้องเข้าใจชื่อนั้นๆ ด้วย อย่างคำว่ารูป ใช้คำว่ารูป หมายความถึงอะไร
ผู้ฟัง รูปคือที่สิ่งที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริง แต่ไม่รู้อะไร อันนี้ฟังแล้วไม่เปลี่ยน มั่นคง ถามกันได้เลย ว่ารูปขณะนี้เป็นรูปอะไร ปรากฏทางไหน รูปปรากฏไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ รูปอะไร
ผู้ฟัง เป็นเสียงปรากฏ
ท่านอาจารย์ เสียง ถ้าไม่มีจิตที่ได้ยิน เสียงปรากฏได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นได้ยิน ได้ยินเสียง เสียงจึงปรากฏว่ามีเสียงนั้น ในขณะที่ธาตุรู้คือจิตเกิดขึ้นได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นธาตุรู้นี่มีแน่ๆ ใช่ไหม
ผู้ฟัง แน่
ท่านอาจารย์ ภาษาบาลีใช้คำว่าวิญญาณธาตุ คือจิต เป็นขันธ์หรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นขันธ์
ท่านอาจารย์ ขันธ์อะไร
ผู้ฟัง วิญญาณขันธ์
ท่านอาจารย์ วิญญาณขันธ์ แค่นี้ จะใช้คำว่าจิตก็ได้ จะใช้คำว่าวิญญาณก็ได้ จะใช้คำว่ามโนก็ได้ มนัสก็ได้ หทยก็ได้ ปัณฑระก็ได้ แต่รู้จักทีละชื่อไปก่อน เพราะฉะนั้นอีกชื่อหนึ่งของจิตก็คือวิญญาณะ เหมือนกันเลย ต้องเป็นจิตซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สิ่งที่ได้ฟังแล้ว สัญญาสภาพจำ กำลังจำ แต่ว่าเพราะไม่คุ้นเคยกับสิ่งที่ได้ยิน จำเรื่องอื่นไว้เยอะมาก แต่สิ่งที่ได้ยินน้อยมาก เพราะฉะนั้นก็จำได้เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าฟังแล้วเข้าใจ จำสิ่งที่เข้าใจเพิ่มขึ้น เห็นดอกกุหลาบกับคิดถึงดอกกุหลาบ นี่ต่างกันไหม
ผู้ฟัง ต่างกัน
ท่านอาจารย์ ต่างกันเพราะ คิดถึงไม่ใช่เห็น
ผู้ฟัง แค่คิดถึง
ท่านอาจารย์ แต่จำ เพราะฉะนั้นสภาพเห็นเป็นจิตคือรู้แจ้ง ไม่เหมือนกำลังไม่เห็น แต่คิดถึง เพราะจำได้ นี่คือความต่างกัน เพราะฉะนั้นเห็นมีสิ่งที่ปรากฏกระทบตาจริงๆ เห็นสิ่งนั้นจริงๆ จึงใช้คำว่าเห็น แต่ไม่เห็นแล้วยังจำได้ ถูกต้องไหม แต่ไม่เหมือนที่เห็นเลย ไม่ครบ ไม่ละเอียด ไม่ชัดเจนใช่ไหม แต่เห็นนี่ไม่ต้องเรียกอะไรเลย ชัดเจนหมดทุกกลีบ แต่ถ้าไม่เห็น ถามว่าดอกกุหลาบมีกี่กลีบ เห็นไหมไม่เหมือนกับเห็น เพราะฉะนั้นเห็นความละเอียดว่า เห็นเป็นเห็น เมื่อมีสิ่งที่กระทบตาเท่านั้น แต่ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้กระทบตาจะไม่เห็น แต่คิดถึงสิ่งที่เคยเห็นแล้วได้ แต่ไม่ใช่เห็น เพราะฉะนั้นก็เป็นธรรมทั้งหมด ต่างกันเป็นแต่ละ ๑ ขณะ สืบเนื่องกันกี่ชาติมาแล้วก็เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่มีจริง ซึ่งสามารถที่จะเข้าใจได้ ชาติไหนก็ได้ ที่มีการได้ยินได้ฟังคำจริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็พิจารณาจนกระทั่งเข้าใจว่าไม่มีเรา แต่เป็นธรรมทั้งหมด นี่คือจุดประสงค์ของการที่ว่าฟังเพื่ออะไร ฟังเพื่อเข้าใจถูก เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ไปจำแต่เข้าใจ เพราะฉะนั้นภาษาทำให้เราสับสนได้ใช่ไหม อย่างเห็นอย่างนี้เป็นภาษาไทย ได้ยินก็เป็นภาษาไทย แต่ได้ยินคืออะไรล่ะได้ยินก็มีเสียง กำลังรู้เสียง กำลังได้ยินเฉพาะเสียงนั้นแล้วเห็นล่ะ ก็คือมีสิ่งที่กระทบตา ปรากฏให้เห็นจริงๆ หลับตาแล้วก็ไม่ใช่เห็นละ เพราะฉะนั้นลืมตาเป็นเห็น สิ่งที่ปรากฏจริงๆ หลับตาก็ไม่ใช่เห็นสิ่งที่เมื่อลืมตาจึงปรากฏแต่ละอย่างก็เป็นแต่ละ ๑ ซึ่งถ้าเข้าใจความละเอียด เราก็จะเคารพมั่นคงในคำที่ได้ฟังซึ่งเป็นคำจริงว่าเปลี่ยนไม่ได้ แต่เข้าใจขึ้น จนกว่าจะมั่นคงว่าเข้าใจจริงๆ เข้าใจเป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง ธรรม
ท่านอาจารย์ นามธรรมหรือรูปธรรม
ผู้ฟัง นามธรรม
ท่านอาจารย์ จิตหรือเจตสิก
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ ขันธ์อะไร
ผู้ฟัง สังขารขันธ์
ท่านอาจารย์ อันนี้ตอบชื่อแต่อย่าเพิ่งพอใจ เพราะว่าบางคนพอบอกเด็กๆ นามธรรมรูปธรรม เด็กจำได้เลย ชื่อก็จำได้แยกได้หมด แต่ความเข้าใจต่างหาก ที่จะมั่นคงระดับไหน เพราะฉะนั้นก็ไม่มีใครสามารถที่จะบอกได้ จากการเพียงคำถาม และคำตอบ แต่คนตอบรู้ได้ว่าเข้าใจแค่ไหน และคนถามก็รู้ได้ ถ้าถามให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้น ก็จะรู้ว่าความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน แต่ประโยชน์ที่สุด ก็คือมีโอกาสได้ฟังวาจาสัจจะ ซึ่งสามารถจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ละคลายความยึดถือสภาพธรรมซึ่งเกิดจากความไม่รู้
อ.กุลวิไล ได้ยินเป็นธรรมอะไร
ผู้ฟัง จิตหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ จิตไม่ใช่เรา แต่เริ่มเข้าใจว่า ตลอดชีวิตต้องมีจิต ซึ่งเกิดดับไม่ซ้ำกันเลย เป็นแต่ละ ๑ เห็นเมื่อกี้นี้ไม่ใช่เห็นเดี๋ยวนี้ นั่นคือความหมายของขันธ์ คือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิดดับเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ ใช้คำว่ารู้แจ้ง เพราะเหตุว่าถ้าไม่เห็น จะบอกสักเท่าไหร่ก็ไม่แจ้ง ไม่เหมือนกำลังเห็น ใช่ไหม อย่างดอกกุหลาบมีตั้งหลายชนิด บอกว่าดอกกุหลาบ ก็แค่จะคิดถึงดอกกุหลาบไหนเท่านั้นเอง แต่ไม่รู้แจ้งเหมือนกำลังเห็น เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่าธาตุรู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏ เวลานี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ใช้คำว่าเห็น แต่ไม่เคยรู้เลยว่าเห็นคืออะไร แต่ต่อไปนี้ใช้คำว่าเห็น ก็เข้าใจได้ว่าขณะที่สิ่งนั้นกำลังปรากฏชัดเจน กับเห็นที่กำลังเห็น เพราะฉะนั้นเห็นมีจริง รู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏไม่ว่าจะทางตา ทางหู จิตรู้แจ้งในเสียงที่ได้ยินใช่ไหม พอไม่ได้ยินแล้วจะแจ้งไหม ไม่เหมือนเลย คิดถึงเสียงก็ไม่เหมือน กำลังได้ยินเสียงใช่ไหม เพราะฉะนั้นจิตที่รู้แจ้งเสียงเป็นธาตุรู้ เพราะอาศัยหูกับเสียง จึงใช้คำว่าโสตวิญญาณ ภาษาไทยก็ได้ยิน เพราะฉะนั้นเราพูดในภาษาไทย ว่าได้ยินมีจริง ได้ยินคืออะไร ก็ขณะที่เสียงหนึ่งเสียงใดปรากฏให้ได้ยิน เฉพาะเสียงนั้นเป็นอารมณ์ของจิตที่ได้ยิน เพื่อจะรู้ว่าจิตไม่ใช่เจตสิก เพราะฉะนั้นวันหนึ่งวันหนึ่ง จิตเกิดดับตลอดเวลา พร้อมเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย โดยไม่มีการปรากฏให้รู้เลย จนกว่าจะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเริ่มเข้าใจทีละคำ ชัดเจนขึ้นละเอียดขึ้น
เพราะฉะนั้นปริยัติคือรอบรู้ในพระพุทธพจน์ ไม่ใช่เพียงแค่ได้ยิน แต่เข้าใจลึกซึ้งมั่นคง ในความเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา จนกระทั่งสามารถที่จะทำให้เกิดปฏิปัติ ปัญญาอีกระดับหนึ่งซึ่งไม่ใช่ฟังรู้เรื่อง แต่กำลังเข้าใจเห็นเดี๋ยวนี้เลย โดยความเป็นอนัตตาว่าไม่ใช่เราไปพยายาม แต่มีปัจจัยที่จะเกิดเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย ก็รู้ระดับของความเข้าใจว่าแค่ไหน เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ตรงเป็นเรื่องที่จริง ที่บุคคลนั้นจะรู้เองเข้าใจเอง แต่ประมาทไม่ได้เลยว่า อย่าไปสนใจคิดจะจำแต่ชื่อแต่ตัวจริงกำลังมี อย่างเห็นนี่เป็นตัวจริงๆ เลยที่กำลังเห็น จะเรียกอะไรก็ช่างจะเป็นวิญญาณ จะเป็นขันธ์จะเป็นอะไรก็คือเห็นที่กำลังเห็น มีจริง แต่แสดงความต่างว่าต่างกับขณะที่คิด ไม่ใช่ขณะที่เห็น หรือขณะที่จำก็ไม่ใช่ขณะที่เห็น เพราะฉะนั้นก็เป็นสภาพธรรมทั้งหมดเลย ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นนั่นเป็นธรรม ถ้าฟังแล้วสามารถที่จะรู้ว่าเป็นขันธ์ไหน แต่ก่อนอื่นคือเป็นธรรมก่อนมีจริงๆ ก่อน แล้วค่อยๆ รู้ว่าสภาพนั้นรู้หรือไม่รู้อะไร ถ้าไม่รู้ก็เป็นรูปขันธ์ ไม่ต้องเรียกว่า รูปขันธ์ก็เป็นรูปขันธ์ เพราะฉะนั้นพอได้ยินคำว่ารูป ทุกคนที่นี่รู้เลยใช่ไหมหรือไม่รู้ พอได้ยินคำว่าขันธ์ ทุกคนก็รู้ใช่ไหมไม่ใช่ไม่รู้
เพราะฉะนั้นรูปขันธ์ทุกคนก็รู้ นามขันธ์ทุกคนก็รู้ นามขันธ์มีเท่าไหร่จากการฟัง ก็คือว่ากำลังเข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ไม่ใช่แค่ฟังชื่อ แต่เข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ และขณะอื่นเข้าใจไหม พอไม่ได้ฟังก็ลืมหมด ก็ฟังใหม่ จำได้อีก เข้าใจขึ้นอีกแล้วก็ลืมอีก แล้วก็ฟังอีก เข้าใจอีกเป็นธรรมดา เพราะความไม่รู้สะสมมามาก จะให้เป็นความรู้ทุกอย่างทันทีไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็รู้ว่าขณะไหนรู้ ขณะไหนเข้าใจ ขณะไหนไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ก็เข้าใจขันธ์ขึ้นมาเยอะ แต่สมัยก่อนหนูไม่เข้าใจ คือว่าพระก็จะบอกว่าเย็บกระทง ๕ กระทงแล้วก็เอาของใส่ๆ ไปแล้ว ให้ไปไว้ทาง ๓ แพร่ง แต่วันนี้พอเข้าใจขันธ์บ้างแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความเข้าใจ กำลังมีมากหรือว่าน้อยลงน้อยลงสำหรับคนทั่วไป ที่เข้าใจว่านับถือพระพุทธศาสนา แต่ถ้าไม่เข้าใจพระพุทธศาสนา ก็ไม่ชื่อว่านับถือพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นถ้าไม่เข้าใจ และเข้าใจผิดว่า เป็นพระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนาก็เสื่อม ในที่สุดก็อันตรธาน เพราะฉะนั้นหนทางเดียวที่จะดำรงไว้ซึ่งคำสอน ก็คือเข้าใจ ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ก็ไปวางไว้ที่ ๓ แพร่งใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่รู้ ตอนนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นหนทางเดียว ที่จะรู้ว่าภิกษุคือผู้ที่เข้าใจธรรม และกล่าวธรรม ไม่ใช่เป็นคนที่ทำลายคำสอน โดยไม่ได้ให้เข้าใจอะไรเลย และให้เข้าใจผิดด้วย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260