ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๔๕
สนทนาธรรม ที่ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ผู้ฟัง เรียนถามท่านวิทยากร การที่เราจะดำรงชีวิต ในการประกอบอาชีพการงาน การเป็นปุถุชนคนธรรมดา ในการทำงาน เราเองจะใช้ประโยชน์จากพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นสิ่งประเสริฐสูงสุด ในการดำเนินชีวิตของเราอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็เป็นปัญหาซึ่งไม่หมด ก็ยังคงมีปัญหาต่อไปเรื่อยๆ แล้วก็เวลามีปัญหาเกิดขึ้น เราก็จะหาที่พึ่งกัน ว่าเราจะพึ่งอะไรที่จะทำให้แก้ปัญหานี้ได้ และบางคนก็บอกว่าต้องใช้พระพุทธศาสนาโดยทั่วๆ ไป แต่ลืมว่าพระพุทธศาสนาคืออะไร ไม่ใช่สิ่งซึ่งเป็นสิ่งของที่เราจะเอามาใช้ได้ แต่ว่าศาสนาคือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ยินว่าคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนที่สนใจก็มี คนที่ไม่สนใจก็มี และบางคนก็อาจจะสนใจวิชาการอื่น หรือว่าบุคคลอื่น คิดว่าพอที่จะแก้ปัญหาได้ แต่ลืม ลืมที่ว่าเราพูดว่าเรามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อมีปัญหาจริงๆ พึ่งอะไรได้ล่ะพึ่งใครได้หรือ หรือว่าพึ่งคนโน้นคนนี้ได้ ก็ไม่มีใครสามารถที่จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงได้แต่ว่าถ้าเราไม่ลืมว่า เรามีพระรัตนตรัยคือ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสาวกเป็นที่พึ่ง เราก็จะรู้ว่าถ้าเข้าใจถูกต้อง ในความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในพระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ๔๕ พรรษา ก็จะเป็นที่พึ่งได้จริงๆ แต่ว่าส่วนใหญ่ เราคิดง่ายๆ ว่าเราจะใช้ละ แล้วเราจะใช้คำไหนดี ตั้ง ๔๕ พรรษา ตรัสไว้มากมาย และแต่ละคำใครตรัสลืมไม่ได้เลย ผู้ที่ไม่มีใครเปรียบได้เลย ไม่ใช่เฉพาะในโลกนี้ สากลจักรวาลทั้งหมด
เพราะฉะนั้นชาวพุทธยังไม่ได้ รู้คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ ตราบใดที่ไม่ได้ศึกษาธรรม ไม่ได้ฟังธรรม แล้วก็มีความเข้าใจความห่างไกลกันมาก ระหว่างความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับผู้ที่ไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงได้ยินชื่อ แล้วเขาก็กราบไหว้กันต่อๆ มา เราเกิดมาเราก็กราบไหว้ตามๆ กันไป แต่ก็ยังไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้แต่ว่าเป็นผู้ที่ควรบูชา เพราะเหตุว่าเป็นผู้ที่เหนือบุคคลใดทั้งสิ้น แต่พอไหม ยังไม่รู้จักพระองค์จริงๆ แค่ได้ยินเสียงแล้วพระองค์เป็นผู้ที่ควรบูชาอย่างไร ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้เลย จนกว่าจะได้ฟังคำของพระองค์ จึงสามารถที่จะเข้าใจได้ว่า คำที่เราได้ยินชินหู แต่ถ้าไม่ศึกษาไม่ฟังจริงๆ ก็จะไม่รู้ว่าผู้ที่ตรัสคำนี้อย่างที่เราเคยได้ยิน และได้ยินบ่อยๆ คือคำว่าธรรม ผู้นั้นต่างกับบุคคลอื่นห่างไกลแสนไกล เพราะฉะนั้นก็ประมาท ในคำที่เรากล่าวว่าเป็นที่พึ่งไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าโลกจะวุ่นวายสักเท่าไหร่ มีปัญหามากมายสักเท่าไหร่ คนนั้นคิดจะแก้ คนนี้คิดจะแก้ก็แก้กันไปเถอะ แต่ว่าแก้ไม่ได้ อย่างที่เห็น แก้ไม่ได้แน่นอน จนกว่าจะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเข้าใจกันมากเท่าไหร่จะไม่มีปัญหา หรือว่าปัญหาก็จะน้อยลง ตราบใดที่ยังไม่ได้ศึกษาธรรม ไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ ยังไงยังไงก็แก้ไม่ได้
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรประมาท ในเหตุที่แท้จริงว่าเพราะความไม่รู้เพราะกิเลส และไม่รู้จักที่พึ่งก็หาที่พึ่งอื่น บางคนก็พึ่งเครื่องลางของขลัง แล้วจะพึ่งได้ยังไง ผ้ายันต์อย่างนี้ ตระกรุดอย่างนี้ จะทำอะไรได้ มีการตั้งเยอะแยะแต่ประเทศชาติก็ยังคงเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นจริงๆ ว่าเหตุต้องตรงกับผล เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาเพราะไม่รู้จึงมีปัญหา ปัญหานั้นจะหมดไปได้ ต่อเมื่อมีความเข้าใจว่าปัญหานั้นอยู่ที่ไหน และปัญหานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะแก้ปัญหาจริงๆ ก็ต่อเมื่อเป็นความรู้ความเข้าใจ ถ้ายังคงไม่รู้ ยังไงยังไงก็แก้ปัญหาไม่ได้ นี่ก็คงจะเป็นการตอบปัญหาข้อแรก ที่จะให้เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา ว่าเป็นสิ่งซึ่งสามารถที่จะทำให้คนที่ ไม่เคยรู้อะไรเลย และอาจจะเข้าใจว่ารู้ พอได้ฟังแล้วเริ่มรู้แล้วก็เริ่มเข้าใจ เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าใจในเหตุ รู้ว่าอะไรเป็นเหตุของความเป็นปัญหา ก็สามารถที่จะแก้ปัญหานั้นได้ด้วยความรู้ที่ถูกต้อง แต่พระพุทธศาสนาคนที่ฟังแล้วบอกว่าลึกซึ้ง ผิดหรือ ต้องถูกแน่ ถ้าไม่ลึกซึ้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงบำเพ็ญ พระบารมีนานแสนนาน หลังจากที่ได้รับคำพยากรณ์แล้ว จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ต้องทรงบำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ไม่ใช่วัน เดือน ปี เพราะฉะนั้นแต่ละคำที่ตรัสแล้วเราต้องเข้าใจจริงๆ
ว่าเป็นความจริงที่สามารถรู้ได้ แต่ไม่ใช่รู้ได้ทันที แต่ต้องเป็นผู้ตรงว่าค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจทีละเล็กทีละน้อย เพราะฉะนั้นถ้าได้เข้าใจคำสอน ก็จะช่วยประเทศชาติ และก็แก้ปัญหาได้มาก แต่ว่ายากลึกซึ้ง แต่รู้ได้เข้าใจได้ทุกคำ ตั้งแต่คำแรกแต่ต้องเป็นผู้ที่มั่นคงจริงๆ ว่าไม่ใช่ว่าเราจะสามารถเข้าใจคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้โดยง่าย แค่ไปที่ไหนสักแห่งหนึ่ง ไปนั่งๆ เดินๆ ยืนๆ แล้วก็จะสามารถหมดกิเลส หรืออะไรอย่างนั้น นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง
อ.วิชัย กราบอาจารย์ ท่านอาจารย์กล่าวถึง ปัญหาต่างๆ เกิดจากความไม่รู้ ซึ่งถ้าเราพิจารณาตามสื่อต่างๆ ก็จะเห็นถึงความประพฤติ ที่เป็นไปด้วยอำนาจของทุจริต ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือว่าวาจาก็ตาม ที่กล่าวว่าเพราะไม่รู้เป็นเหตุ ให้บุคคลนี้กระทำสิ่งที่ไม่ดี เช่นประทุษร้ายบุคคลอื่น หรือว่ามีการลักวัตถุสิ่งของๆ คนอื่น โทษต่างๆ ที่เกิดเพราะธรรมฝ่ายไม่ดีที่เป็นอกุศลธรรม เนื่องด้วยความไม่รู้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ไม่รู้ว่าไม่ดี แน่ๆ เลยใช่ไหม ดีหรือ อยู่เฉยๆ ก็ไม่มีความเดือดร้อนอะไรก็เกิดโกรธ จนกระทั่งประทุษร้ายคนอื่น ซึ่งถ้าเราถูกประทุษร้าย เราก็บอกว่าไม่ดีแน่ เพราะฉะนั้นการประทุษร้าย ต้องเริ่มคิดดีหรือไม่ดี ทุกเรื่องเป็นเรื่องที่ละเอียด ต้องเป็นคนตรงแล้วก็ไตร่ตรอง แล้วก็รู้เหตุด้วยว่าเพราะอะไรจึงเกิดสิ่งนั้นขึ้น
อ.วิชัย เพราะว่าถ้าจากคำถามของท่านคณบดีได้กล่าวถึง การที่มีพระพุทธศาสนา ในการดำเนินชีวิต ท่านอาจารย์ที่กล่าวถึงพุทธะคือผู้รู้ การได้ฟังพระธรรมแล้วเกิดความรู้ จะเป็นไปในการที่จะดำรงชีวิต ที่ดีงามสู่ความเจริญอย่างไร
ท่านอาจารย์ คุณวิชัยต้องตายไหม
อ.วิชัย ก็ต้องตาย
ท่านอาจารย์ ก่อนตายเป็นคนดีหรือเปล่า รู้อะไรหรือเปล่า เพราะฉะนั้นเราจะรู้ไหมว่าเราจะตายเมื่อไหร่ วันนี้ก็ได้ โดยที่ยังเป็นคนที่ไม่รู้อะไรเลย กิเลสก็เยอะ โลภะก็มากโทสะก็มาก จะฆ่าใครวันไหน จะทำร้ายใครแค่ไหน จะทุจริตยังไง ก็ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นได้หรือเปล่า เพราะเหตุว่าเราไม่รู้ว่า กิเลสที่มีกำลัง จะเกิดเมื่อไหร่ วันไหน เพียงแค่คำพูดของคนอื่นไม่กี่คำ เป็นปัจจัยให้เกิดการทำร้ายร่างกายได้ เป็นไปได้ยังไง เพราะฉะนั้นก่อนตายสิ่งที่ควรรู้ ก็คือว่าเกิดมาแล้วต้องตาย โดยที่ไม่รู้อะไรเลย กับรู้ความจริง ทีละเล็กทีละน้อย อย่างน้อยที่สุดก็คืออะไร เพราะอะไร อะไรดีอะไรชั่ว ก็ยังดีกว่าไม่รู้เลย ถ้าทุกคนมีความเมตตา แล้วก็ช่วยกันทำประโยชน์ จะเดือดร้อนไหม
อ.วิชัย ก็ไม่เดือดร้อน
ท่านอาจารย์ แต่ทำไมเดือดร้อน ก็เพราะไม่ได้เป็นมิตรสหายกันอย่างจริงใจ ถ้าหวังประโยชน์ตน แล้วก็ไม่พอ เท่าไหร่ก็ไม่พอ อยากได้ทุจริตกรรมก็ทำ เบียดเบียนคนอื่นก็ทำ เพราะไม่รู้ว่าเป็นโทษ ปัญญาความเห็นถูกต้องว่า ดีคือดี ชั่วคือชั่ว ถูกคือถูก ผิดก็ผิด ปัญญาตรงมาก เพราะฉะนั้นปัญญาไม่มีทางที่จะนำไปสู่ การประพฤติที่ไม่ดี เราเห็นเพียงการกระทำ และคำพูดที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง แต่เพียงได้ฟังพระธรรม และเข้าใจขึ้น จะเริ่มเห็นความละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งไม่คิดเลยว่าจะมีบุคคลใด ที่สามารถที่จะรู้ความจริงยิ่งกว่านี้อีกมาก นั่นคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น สามารถที่จะเข้าใจขึ้นได้เรื่อยๆ ถ้ามีความสนใจที่จะได้ฟังพระธรรม ที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ ถ้าได้ฟังคำสอนของพระองค์ที่ลึกซึ้ง และมีปัญญาก็จะทำให้ไม่ทำชั่ว
อ.อรรณพ ขออนุญาติคำถามที่หนึ่งนิดหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าพระพุทธศาสนาย่อมเป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้ศึกษา และเข้าใจพระพุทธศาสนาแน่นอน เช่นทำงานร่วมกันต้องมีการกระทบกระทั่งกัน โทสะเกิดในชีวิตประจำวัน เคยเป็นเราที่มีโทสะ แต่พอเราได้ยินได้ฟังว่าโทสะ เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ถ้าเข้าใจอย่างนี้จะคลาย โดยปรุงแต่งไปเอง แต่ไม่ใช่ความเป็นเรา ที่คิดจะเอาพุทธศาสนามาปรับใช้ มาประยุกต์ใช้ ก็คือมีเราที่จะไปเอาพุทธศาสนามาใช้ แต่จริงๆ แล้วพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่ควรศึกษาให้เข้าใจ แล้วความเข้าใจนั้นก็ปรุงแต่ง นำไปในทางที่เป็นประโยชน์เอง ไม่ว่าจะเป็นชีวิต การงาน ชีวิตประจำวัน หรือกระทั่งชีวิตในสังสารวัฎฏ์ ที่จะเป็นไป
ท่านอาจารย์ แต่ละท่านมีส่วนที่จะแก้ปัญหา เมื่อมีความเข้าใจ เพราะฉะนั้นก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่เราจะไม่คิดถึงคนอื่น หรือมอบภาระนี้ให้คนอื่น และคนอื่นก็มอบภาระให้คนอื่น แล้วคนอื่นก็มอบภาระให้คนอื่น ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ไม่มีวันที่จะแก้ปัญหาใดๆ ได้เลย เพราะฉะนั้นทุกคนมีความจริงใจ ที่จะเสียสละที่จะทำประโยชน์ เพื่อที่จะแก้ปัญหา แต่ต้องมาจากความเข้าใจที่ถูกต้อง ทีละเล็กทีละน้อยเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเริ่มเห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าปราศจากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาใดๆ ได้เลย เพราะปัญหานั้นอยู่ที่ตัวทุกคน ที่ยังไม่ได้เข้าใจพระธรรม ที่ได้ทรงแสดงไว้อย่างละเอียด และมั่นคงพอ แล้วก็เป็นความคิดความเห็นส่วนใหญ่ของแต่ละคน ซึ่งอ่านธรรมจากตรงนั้นบ้างตรงนี้บ้าง แต่ก็ไม่ได้ความละเอียดไม่ได้ความชัดเจน เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราไม่ได้เข้าใจจริงๆ เราแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องเห็นว่า การฟังธรรม หรือการสนทนาธรรมประโยชน์จริงๆ คือเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง แม้แต่เพียงเล็กน้อยสักคำเดียว ก็ยังดีกว่าเข้าใจผิด หรือว่าเข้าใจเพียงนิดหน่อย ไม่กระจ่างไม่ชัดเจน ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นก็ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ไตร่ตรอง แล้วก็สนทนากัน ถ้ามีข้อสงสัยก็จะได้ช่วยกันคิดไตร่ตรองให้ชัดเจนขึ้น
อ.วิชัย ท่านอาจารย์ แล้วอย่างไรจึงเป็นการเริ่มต้นที่จะรู้จักพระธรรม แล้วก็จะได้เป็นแนวทาง ในการที่จะศึกษาพระธรรมที่ละเอียดยิ่งขึ้นไป
ท่านอาจารย์ น่าคิด พระธรรมทรงแสดง ๔๕ พรรษาในครั้งนั้นมีผู้ที่เข้าใจ สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมเป็นจำนวนมาก นี่คือในอดีตเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปี แต่สำหรับยุคนี้สมัยนี้ห่างไกลกันมาก และการที่จะศึกษาธรรมนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องอดทน เพราะเหตุว่าต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ ของแต่ละคน ไม่ใช่เชื่อคำที่ใครพูด ฟังแล้วไตร่ตรอง แล้วก็เข้าใจถูกต้องเมื่อไหร่ ไม่เปลี่ยนแปลง
ผู้ฟัง ผมมีข้อสงสัยว่าถ้าเกิดว่าเป็นภิกษุ คาบเกี่ยวเนื่องด้วยปัจจัยเรื่องเงิน พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่าอย่างไร แล้วก็ตรงนี้มันจะมีผลยังไงกับพระพุทธศาสนา
อ.ทวีศักดิ์ ในเรื่องของภิกษุ สิกขาบทในพระวินัยมี ๒๒๗ ข้อ ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ เพื่อเป็นการขัดเกลากิเลส ทั้งๆ ที่ท่านคณบดีได้กล่าวถึงว่า เงินทองนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะควรแก่ภิกษุหรือไม่นั้น ในสิกขาบทพระวินัยนั้น เป็นโทษสถานหนึ่งที่เรียกว่าเป็นอาบัตินิสคิยะปาจิตตีย์ แล้วถ้าเกิดอาบัติแล้ว ภิกษุไม่ปรงอาบัติ ก็เป็นภิกษุทุศีล
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่มาก ที่เกี่ยวกับพระภิกษุกับเงิน และทอง เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเข้าใจแต่ละคำ แม้แต่คำว่าภิกษุคือใคร แล้วทำไมรับเงินรับทองไม่ได้ แล้วทำไมรับเงินรับทองกัน แล้วปัญหาที่เกิดขณะนี้ก็คือว่า มากมายมหาศาล เป็นที่สงสัยว่าภิกษุเป็นอย่างนี้หรือ ก่อนอื่นทำไมเป็นภิกษุ ต้องเท้าความไปจนถึงว่าธรรมดาอย่างนี้ ก็อย่างเราที่นั่งฟัง ถ้ามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ใช่ไหม ก็เหมือนเดี๋ยวนี้แม้พระองค์ปรินิพพานแล้ว แต่เราก็ยังมีโอกาสได้ฟังคำซึ่ง ณ กาลครั้งหนึ่งพระองค์ตรัสจากพระโอษฐ์แต่ละคำ เพราะฉะนั้นทุกคำที่ได้ฟัง เหมือนในครั้งนั้นเลย มาจากการตรัสของพระองค์ เพราะฉะนั้นจากคฤหัสถ์ธรรมดาอย่างนี้ แล้วทำไมเป็นภิกษุ ทุกอย่างต้องชัดเจน เป็นความละเอียดของความประพฤติ ความเป็นไปของผู้ที่เป็นภิกษุ ซึ่งก็มีความละเอียดในเรื่องของพระวินัยด้วย แต่ก่อนอื่นก็ควรจะทราบว่าภิกษุคือใคร และทำไมเป็นภิกษุแล้ว ทำไมจึงต้องรักษาสิกขาบท คือสิ่งที่จะต้องประพฤติปฏิบัติในเพศบรรพชิตมากถึง ๒๒๗ ข้อ ถ้ากล่าวจริงๆ ก็มากกว่านั้นอีก แต่อันนี้ก็เป็นหัวข้อใหญ่ๆ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องตรง เราฟังธรรมทำไม เราไม่เป็นภิกษุ แต่ว่าทำไมคนที่ฟังธรรมแล้วเป็นภิกษุ มีความต่างกันตรงไหน
อ.วิชัย ดังนั้นความหมายหนึ่งของภิกษุ ก็ถือเป็นผู้ที่เห็นภายในสังสารวัฎฏ์ ซึ่งแม้เป็นคฤหัสถ์ ถ้าเป็นผู้ที่มีปัญญาเห็นภัย ในสังสารวัฏฏ์ ก็ชื่อว่าภิกษุ และอีกประการหนึ่ง ภิกษุก็คือด้วยความเป็นเพศ หมายความว่าเป็นผู้ที่เห็นโทษ ของการครองเรือน คือเห็นว่าความที่จะประพฤติ ความดีงามให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ทั้งกายวาจา และก็ใจที่จะถึงความเป็นผู้สงบอย่างยิ่ง ที่จะประพฤติคล้อยตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเป็นผู้ที่ให้อุปสมบทในพระศาสนานี้
ท่านอาจารย์ เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด พระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ไม่มีภิกษุเลยในสวรรค์แต่ตรัสว่าภิกษุ ในความหมายที่ว่าผู้เห็นภัยในสังสารวัฎฏ์ เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ ว่าความเห็นภัยในสังสารวัฎฏ์ ตามอัธยาศัยที่ต่างกัน อย่างเราฟังธรรม เรารู้ว่าเราก็ต้องจากโลกนี้ไป แต่จากโลกนี้ไปแล้วต้องเกิด เพราะมีเหตุที่จะต้องให้เกิด เหมือนกับจากโลกก่อน มาจากไหนเป็นใครก็ไม่รู้ ก็มาเป็นบุคคลนี้ ตามเหตุคือกรรมที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเห็นว่าสังสารวัฎฏ์ไม่มีวันจบ เมื่อวานนี้ก็เห็นก็ได้ยินก็สุขก็ทุกข์ วันนี้ก็เหมือนเมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ก็อย่างนี้แหละ เรื่อยไปไม่รู้จักจบ แล้วก็ถ้ายังไม่เห็นโทษภัย ว่าเบื่อหรือยังสังสาระวัฏฏ์ หรือเกิดอีกก็ไม่เป็นไร ก็ไม่เห็นเป็นไรเลยก็แล้วแต่จะคิด แต่ให้คิดว่าถึงจะไม่อยากจะเป็นอย่างนี้ ก็ต้องเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุว่ามีเหตุที่จะให้เป็นอย่างนี้ ยังพ้นจากสังสารวัฎฏ์ไม่ได้ แต่มีผู้ที่เห็นภัยในสังสารวัฎฏ์ และรู้หนทางที่จะออกจากสังสารวัฎฏ์ด้วย บุคคลนั้นคือพระโพธิสัตว์ซึ่งบำเพ็ญพระบารมี จนถึงการตรัสรู้ความจริง ในขณะนี้ตามความเป็นจริง ทุกอย่างถึงที่สุดโดยประการทั้งปวง จึงไม่ต้องมีการที่จะต้องเห็นอีก ได้ยินอีก ไม่เป็นสังสารวัฎฏ์อีกต่อไป ด้วยเหตุนี้การฟังธรรมของแต่ละคน ก็ตามอัธยาศัยที่หลากหลายมาก บางคนฟังก็เพราะเหตุว่าบังเอิญได้ฟัง และก็สนใจ แต่บางคนได้ยินบ่อยๆ ทุกวันก็ยังไม่สนใจ เพราะฉะนั้นทั้งหมด ก็ให้ทราบว่าเป็นธรรมคือสิ่งที่มีจริง ซึ่งเพียงคำนี้ ขยายคำไม่ออกไปได้ทุกอย่างทุกวัน เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีจริงทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเวลาที่มีการฟังพระธรรมแล้ว ตามอัธยาศัยที่ต่างกัน บางคนก็สะสมมามีบารมีคือความดีที่ได้ฟังธรรมมาก่อนมาก จนกระทั่งมีปัญญาพอได้ยินคำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีศรัทธาที่จะสละเพศคฤหัสถ์สู่เพศบรรพชิต ต่างกันไหม คฤหัสถ์คือผู้ที่ครองเรือน สนุกสนานนึกอยากจะรับประทานอะไรก็ได้ จะไปไหนก็ได้ จะทำอะไรก็ได้ ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ว่าเห็นภัยในสังสารวัฎฏ์ เพราะรู้ว่ามีหนทางที่จะไม่ต้องเกิดอีก ไม่ต้องเป็นอย่างนี้อีก ก็มีอัธยาศัยที่จะขออุปสมบท คือขอประพฤติปฏิบัติตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามประพฤติตาม คิดสิยากไหม แต่ก็ศรัทธาที่สะสมมามีกำลัง จนกระทั่งผู้ที่ได้ฟังธรรมไม่ใช่ทุกคนบวช แต่ต้องเป็นคนที่มีอัธยาศัยที่มั่นคง ที่สะสมบุญมา ที่คิดว่าตนเองสามารถสละเพศคฤหัสถ์ได้ แค่คำว่าเพศคฤหัสถ์ พูดง่ายๆ แต่ทำจริงลำบากไหม ออกจากบ้านแล้วจะไปอยู่ที่ไหน ตามป่าตามเขาหรือยังไง สละหมดพ่อแม่พี่น้องวงศาคณาญาติเพื่อนฝูง ไม่มีการเกี่ยวข้องเหมือนเดิม เครื่องบันเทิงใจทั้งหลาย อุปกรณ์ทั้งหลายทั้งหมด ความสะดวกสบายในชีวิตทั้งหมด ยอมสละเพื่อที่จะได้รู้ความจริง ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์จึงมีความเคารพในภิกษุ ซึ่งสะสมมาที่สามารถที่จะสละเพศคฤหัสถ์สู่เพศบรรพชิต นี่คือภิกษุในธรรมวินัย เพราะเราจะได้เข้าใจความต่างกัน จึงสามารถที่จะรู้ได้ว่าภิกษุกับคฤหัสถ์ต่างกันอย่างไร ภิกษุจะมารับเงินรับทองอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้ เพราะเหตุว่าเป็นภิกษุสละแล้ว จะรับคืนทำไม จะเอาไปทำอะไร เพราะเหตุว่าเราเกิดมา เรามีตาเห็นสิ่งที่น่าพอใจ มีหูได้ยินเสียงที่น่าพอใจ มีจมูกได้กลิ่นที่น่าพอใจ มีลิ้นลิ้มรสอร่อยอร่อยที่น่าพอใจ มีกายที่กระทบสัมผัสสิ่งที่เราชอบ เก้าอี้ก็ต้องนั่งสบายๆ หนาวก็ต้องห่มผ้าให้อุ่นเป็นต้น ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดมามีใครพ้นจากตาหูจมูกลิ้นกาย และก็ใจ ก็เพื่อเพลินไปในเรื่องที่เราคิดนึกถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่คิดนึกเรื่องอื่นเลย คิดเรื่องทางตาหูจมูกลิ้นกายใจนี่แหละบ่อยๆ แล้วก็จะเห็นได้จริงๆ ว่า สามารถที่จะสละชีวิตเดิมเดิม สู่ชีวิตซึ่งไม่ติดข้อง ไม่ต้องการ ไม่ขวนขวายเหมือนเดิม ที่จะไปแสวงหาสิ่งที่เคยพอใจมาแล้ว ทางตาหูจมูกลิ้นกาย คฤหัสถ์รับประทานอาหารอร่อยอร่อย ภิกษุก็รับประทานอาหารอร่อยอร่อย เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าภิกษุจะไม่ได้รับประทานอาหารที่อร่อยอร่อย แต่ว่าไม่ติดข้องเหมือนเดิม เพราะเห็นว่าจะได้อาหารอร่อยอร่อยมา ลำบากไหม ในเพศคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้นชีวิตที่สะสมมาในสังสารวัฏฏ์ อัธยาศัยต่างๆ กันมากมาย ก็ทำให้เฉพาะผู้ที่จริงใจมั่นคงที่จะขัดเกลากิเลส ต่างจากเพศคฤหัสถ์ ขออุปสมบท เพราะฉะนั้นก็มีศรัทธามั่นคง ที่จะได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุว่าฟังแล้วรับประทานอาหารอร่อยเป็นเพศคฤหัสถ์ก็เป็นเพศคฤหัสถ์ แต่เข้าใจธรรมจากการที่รับประทานอาหารอร่อยเป็นเพศคฤหัสถ์แต่ไม่เข้าใจธรรม นี่ต่างกันแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้นรับประทานอาหารอร่อย เข้าใจธรรม แล้วยังคิดที่จะสละเพศคฤหัสถ์ ก็ต้องยิ่งมีศรัทธาที่มั่นคงมากขึ้น เพราะฉะนั้นนี่เป็นความต่างอย่างยิ่ง ที่คฤหัสถ์เพียงเห็นผู้ที่เคยเป็นคฤหัสถ์ เพราะอุปสมบทครองผ้ากาสาวพัสตร์ ก็กราบไหว้ในคุณความดี เพราะฉะนั้นที่กราบไหว้ภิกษุ ในคุณความดีของภิกษุ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1201
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1202
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1203
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1204
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1205
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1206
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1207
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1208
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1209
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1210
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1211
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1212
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1213
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1214
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1215
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1216
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1217
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1218
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1219
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1220
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1221
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1222
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1223
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1224
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1225
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1226
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1227
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1228
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1229
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1230
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1231
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1232
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1233
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1234
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1235
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1236
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1237
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1238
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1239
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1240
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1260